ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้  (อ่าน 1662 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
« เมื่อ: มกราคม 30, 2019, 12:49:57 pm »
0

การศึกษา ในพระพุทธศาสนา นี้ล้วนแล้วเป็นการศึกษา เข้าไปในจิต ทั้งหมด โดยการศึกษานั้น ใช้ ขันธ์ 5 เป็นที่ศึกษา

รูปขันธ์ มีธาตุ 4 ประกอบ มี กฏตายตัว อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีความเกิดเป็นที่เริ่มต้น มีความแก่ และ ความเจ็บเป็นตัวดำเนินไปและ มีความตายเป็นที่สุด

เวทนาขันธ์ มีความรู้สึก สุข ทุกข์ เป็นกลาง ที่ผลัดเวียนเปลี่ยนไปตามสภาพของ สังขาร(กาย) อุตุ(อากาศ) กาล(เวลา) ทั้งที่เป็นส่วนประกอบด้วยอามิส ( มีกิเลส) และ ไม่มีอามิส( ไม่มีกิเลส)

สัญญา มีความจำได้ ในเวทนาขันธ์ ในรูปขันธ์ ล้วนแล้วจำคำว่า สุข ทุกข์ ไว้อย่างสม่ำเสมอเป็นบ่วงผูกพันให้จิต นั้น ยังหลงกับคำว่า รัก ชัง ตลอดเวลา

สังขาร การปรุงแต่งความนึกคิด ไปตามอารมณ์ที่มีสติ และไม่มีสติ หรือ ทั้งที่เป็นกุศล และ อกุศล ตามสภาวะ เหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่เนื่องเข้ามา

วิญญาณ ความหมายรู้ อารมณ์ ทั้งปวงที่เกิดขึ้น จาก รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์

การศึกษา อธิจิต นั้น เป็นการศึกษาตรง คำว่า วิญญาณขันธ์ แต่ใช้การเรียนรู้จาก รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ จึงกล่าวได้ว่า ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น โดยย่อจาก ขันธ์ 5 นั่นเอง

เมธาวี(นักปราชญ์) ผู้ฉลาด ย่อมยังจิตที่ผูกพันกับ กามคุณทั้งห้า ที่เหมือนน้ำ ซัดขึ้นไปสู่ฝั่งแห่งวิปัสสนา ให้เหือดแห้งบนบกฉันใด

ผู้ตรงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าย่อม ยังจิตให้ ศรัทธา ปราโมทย์ ปีติ ในคำว่า พุทโธ อรหัง ไม่หยุด ฉันนั้นเช่นกัน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2019, 04:57:59 pm »
0
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ