ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คำแนะนำในการภาวนา โดยรวม ตอบ กระทู้เดียว ในพรรษา 23/8/2555  (อ่าน 16875 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



ปุจฉา

  รวมคำถามจากเมล ชุดที่ 1 ในพรรษา 2555 ที่ดูแล้วเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน เป็นของใครบ้างก็อ่านกันเอาเองนะ ส่งลิงก็ไปให้ในจดหมายแล้ว

  ปฏิบัติกรรม รู้สึก ติด ๆ ขัด ๆ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำอย่างไรครับ ?
  ไม่ค่อยมีกำลังใจในการฝึกกรรมฐาน เลยคะ นั่งกรรมฐานได้เล็กน้อย ?
  รู้สึกไม่มี บารมีบุญ ในการภาวนากรรมฐาน เลยคะ ?
  ปฏิบัติอย่างไร จึงจะสำเร็จในกรรมฐาน โดยไว ?
  ไม่รู้จะวางอารมณ์ อย่างไร ในกรรมฐาน ?
  สติ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา นับเนื่องด้วยกันหรือไม่ ครับ ?
  ปฎิบัติกรรมฐาน มีเพียงมรรคเดียว จะสำเร็จ ธรรมได้อย่างไร ?
  ต้องเรียนมากน้อยอย่างไร ในกรรมฐาน จึงจะเรียกว่า เรียนครบในองค์กรรมฐาน นั้น คะ ?
  ระหว่าง ทาน ศีล ภาวนา ควรจะเริ่มอะไรก่อน ในการบำเพ็ญบารมี บุญ ครับ ?
  มีหลักประกัน หรือไม่ ว่า ถ้าปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ แล้วจะสำเร็จกรรมฐาน ?
  กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ต้องปฏิบัติไปตามห้องครบทุกห้อง ใช่หรือไม่ คะ ถ้าอย่างนั้นไม่เสียเวลาในการปฏิบัติ หรือ เยิ่นเย้อ ช้ามากเกินเหตุ หรือไม่ คะ ?
  อานาปานสติ จะได้ภาวนาเมื่อไหร่ คะ ?

 
วิสัชชนา   
 
    เรื่องที่หลาย ๆ ท่านส่งกันมาถามนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นปัญหา เรื่องของการขาดกำลังใจในการภาวนา เป็นส่วนใหญ่ เรื่องของกำลังใจ หลายท่านมักจะฝากไว้ผิดที่ เพราะฝากกับครูอาจารย์ และ เพื่อนเพื่อให้กำลังใจ ซึ่งใช้ความรู้สึกของชาวโลก เป็นเครื่องปลอบประโลมใจ เวลาที่มีทุกข์หรือปัญหา ก็มักจะพึ่งพาคนอื่นเข้ามาช่วยกันเยียวยาใจ ที่บอบช้ำ เพราะมีนิสัยทุนเดิมไว้อย่างนี้ จึงทำให้ฝากการสร้างกำลังใจผิดที่

    การสร้างกำลังใจ ในการภาวนาไม่เหมือนกับความคิดของปุถุชน เพราะการสร้างกำลังใจต้องเกิดขึ้นจากการที่ตนเองมองเห็นเป้าหมาย ที่สำคัญคือการพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด สิ่งเหล่านี้ต้องมีได้เห็นได้ด้วยตนเอง และเป็นกำลังใจที่ตนเอง ต้องสร้างขึ้นไม่ใช่คนอื่นเป็นผู้สร้างให้ พระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า

   "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นแต่ เพียง ผู้บอกทาง เปรียบเหมือน บุรุษผู้หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ฉันนั้น "
 
   เมื่อผู้ใดต้องการพ้นจากสังสารวัฏ แล้ว ก็ต้องบำเพ็ญภาวนา เพื่อเข้าไปเห็นแจ้งประจักษ์ในธรรม มีพระโสดาปัตติมรรคเป็นเบื้องต้น และ มีพระธรรมอรหัตผลเป็นที่สุด

  ดังนั้น กำลังใจ อยู่ที่ท่านเห็นความทุกข์ กำหนดทุกข์ รู้กิจในทุกข์หรือไม่ กำหนดว่าได้เห็นทุกข์แล้วหรือยัง ?ถ้าท่านทังหลาย กำหนดแจ้งเห็นจริง ได้ดังนี้ ก็จะเข้าใจกระจ่างแจ้ง ว่า เราผู้เดียวเท่านั้น ที่จะเป็นที่พึ่งของตนได้อย่างแท้จริง จึงขอให้ท่านทั้งหลาย ทบทวนการกำหนดทุกข์ และเป้าหมายในการภาวนา ให้มากยิ่งขึ้น ก็จะได้มีกำลังใจ ในการภาวนาโดยไม่ต้องไปพึ่งพาใคร ๆ ให้เดือดร้อน
 
    เพราะเหตุที่ตน เป็นที่พึ่งแห่งตน บุคคลจะล่วงพ้นจากทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร นะจ๊ะ

 



ส่วนหัวข้อของคำถาม นั้นจะทะยอยตอบในกระทู้นี้ กระทู้เดียว เพราะเห็นว่า น่าจะมีประโยชน์ สำหรับผู้อ่านในกระทู้เดียวมากกว่า การแยกกระทู้ออกไป นะจ๊ธ ไม่เอาปริมาณ แต่เอาคุณภาพ ขอให้ได้อ่านกันหลาย ๆ คน อย่างน้อยก็ต้อง มี 13 คนที่ถามกันได้อ่านของกันและกันด้วย

เจริญธรรม / เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2012, 11:43:34 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
ปฏิบัติกรรม รู้สึก ติด ๆ ขัด ๆ ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำอย่างไรครับ ?


วิสัชชนา
  การปฏิบัติ ธรรม รู้สึก ติด ๆ ขัด ๆ นั้นเป็นมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน หลัก ๆ ก็มี
  1.เรียนกรรมฐาน ไม่ครบ ก็ต้องเรียนให้ครบก่อน เรียนให้ครบเท่าที่ต้องปฏิบัติ นั่นแหละ เช่น ตั้งฐานจิต ที่ไหน บริกรรม อย่างไร วางอารมณ์ แบบไหน ? ขั้นตอนมีอย่างไร ? อะไรเป็นสิ่งที่ควรทำเมื่อภาวนา ? ใช้เวลาเท่าใด ? แก้อารมณ์ ระหว่างภาวนาอย่างไร ? พึงเข้าหากัลยาณมิตร เพื่อฟังคำแนะนำ
  2.การวางอารมณ์ ก็มีความสำคัญ แนะว่า การวางอุเบกขา ก็เหมือนการวางอารมณ์ ของเด็กหัดเดิน เด็กหัดเดินไม่ได้หัดเดินเพื่อใคร แต่เขาหัดเดินไปหัวเราะ ล้มไป กลิ้งไป คลานไป เด็กหัดเดิน วางอารมณ์อย่างไร เราก็พึ่งวางอารมณ์ อย่างนั้น นี้เรียกว่าอุเบกขา คือสนุกกับการภาวนา ไม่ได้เดินเพราะอยากเดินได้ ทบทวนให้ดี เปรียบได้ง่าย ๆ ก็อย่างนี้
  3.ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของกรรมฐาน พอกพูนความสงสัยไว้ทุกวัน สะสมจนเป็น วิิจิกิจฉา ที่ใหญ่มาก ๆ จนกระทั่งเกิดความสงสัย ที่ยุติได้ยาก วิธีทำก็คือ ปฏิบัติตามขั้นตอนของพระกรรมฐาน เมื่อเราปฏิบัติบ่อย วิจิกิจฉา ก็จะแตกย่อย ๆ จนกระทั่งหมดความลังเลสงสัย
  4.ทานบารมี ไม่ได้กระทำ  ดังนั้นพึ่งสั่งสม ทานบารมี ด้วย
  5.ศีัลบารมี พร่อง มีบ้างหายบ้าง  ดังนั้นพึ่งสั่งสม ศีลบารมี ด้วย
 เบื้องต้นก็เท่านี้


 


Aeva Debug: 0.0005 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
ไม่ค่อยมีกำลังใจในการฝึกกรรมฐาน เลยคะ นั่งกรรมฐานได้เล็กน้อย ?


วิสัชชนา
 เรื่องของกำลังใจ ก็ดั่งที่กล่าวไว้ ในเบื้องต้นช่วงแรกแล้ว แต่จะเพิ่มคุณค่าของการเพิ่มกำลังใจให้ทบทวนดังนี้
  1.กำหนดเป้าหมาย การภาวนาให้ได้ ว่าภาวนานี้เพื่ออะไร
  2.ถ้ายังคิดไม่ออก ก็ให้ท่องประโยคนี้มาก ๆ
    .." ส่ิงใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา"
  3.กำลังใจภาวนา มาจาก บารมีที่สั่งสม ถ้าภาวนาไม่ค่อยได้ ก็อย่าไปเร่งรีบกันมาก ให้สะสมบารมี เบื้องต้น พอกพูนให้มากขึ้น ด้วยการสังสมบารมีในทาน ในศีล 2 ประการนี้ จักทำให้ความพร้อมให้เกิดขึ้นได้ในภาวนา คนที่มาภาวนา โดยไม่มีบารมี 2 ประการนี้เป็นไปได้ยาก นอกเสียจากเคยสร้างบารมีไว้พร้อมแล้ว
  4.ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน อันนี้อย่าลืม ถ้าลืม ก็จะไม่ก้าวหน้า เพราะคิดแต่จะพึ่งพาคนอื่นนั้นไม่ได้ การภาวนาไม่ใช่การใช้แรงกาย แต่เป็นเแรงของ สติปัญญา ที่มีต่อใจโดยตรง ไม่มีใครสามารถไปผลักดันแรงนี้ได้ นอกเสียจาก จิตใจ ของตนเอง



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รู้สึกไม่มี บารมีบุญ ในการภาวนากรรมฐาน เลยคะ ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2012, 12:15:19 pm »
0
ปุจฉา
รู้สึกไม่มี บารมีบุญ ในการภาวนากรรมฐาน เลยคะ ?


วิสัชชนา
   ความรู้สึก ก็เป็นเพียงเวทนา ที่เกิดขึ้นกระทบกับใจ มี 3 ประการ คือ โสมนัส ยินด โทมนัส ยินร้าย อุเบกขา วางเฉย เมื่อรู้สึก ก็สักแต่ว่า ความรู้สึก ก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญเมื่อรู้สึกแล้ว ก็ให้พิจารณา ว่า ความรู้สึก เป็น สุข เป็นทุกข์ หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ ก็เพียงพอ
  ส่วนบารมีบุญ ในกรรมฐาน มีการสะสม อยู่ 10 ประการ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ
  เป็นวิธีการสั่งสมบุญที่สมบูรณ์ที่สุด ถนัดแบบไหน มีโอกาสแบบไหน ก็ใช้โอกาสนั้นให้เกิดประโยชน์

๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน (ทานมัย) คือการเสียสละนับแต่ทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง ตลอดจนกำลังกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นโดยส่วนรวม รวมถึงการละกิเลส โลภะ โทสะ โมหะ ออกจากจิตใจ จนถึงการสละชีวิตอันเป็นสิ่งมีค่าที่สุดเพื่อการปฏิบัติธรรม

๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล (สีลมัย) คือการตั้งใจรักษาศีล และการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ไม่ว่าจะเป็นศีล ๕ หรือศีล ๘ ของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร หรือ ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุ เพื่อรักษากาย วาจา และใจ ให้บริสุทธิ์สะอาด พ้นจากกายทุจริต ๔ ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม และเสพสิ่งเสพติดมึนเมา อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท วจีทุจริต ๔ ประการ คือไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดปด ไม่พูดเพ้อเจ้อ และไม่พูดคำหยาบ มโนทุจริต ๓ ประการ คือ ไม่หลงงมงาย ไม่พยาบาท ไม่หลงผิดจากทำนองคลองธรรม

๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา (ภาวนามัย ) คือการอบรมจิตใจในการละกิเลส ตั้งแต่ขั้นหยาบไป จนถึงกิเลสอย่างละเอียด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยใช้สมาธิปัญญา รู้ทางเจริญและทางเสื่อม จนเข้าใจอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด

๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ (อปจายนมัย) คือการให้ความเคารพ ผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ ๓ ประเภท คือ ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์

๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ (เวยยาวัจจมัย) คือ การกระทำสิ่งที่เป็นคุณงามความดี ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม โดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรม มีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น ในฝ่ายสัมมาทิฎฐิ

๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป

๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา (ปัตตานุโมทนามัย) คือ การได้ร่วมอนุโมทนา เช่น กล่าวว่า “สาธุ” เพื่อเป็นการยินดี ยอมรับความดี และขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำ ก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น ผลบุญก็จะเกิดแก่บุคคลที่ได้อนุโมทนาบุญนั้นเองด้วย

๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม (ธัมมัสสวนมัย) คือ การตั้งใจฟังธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน หรือที่เคยฟังแล้วก็รับฟังเพื่อได้รับความกระจ่างมากขึ้น บรรเทาความสงสัยและทำความเห็นให้ถูกต้องยิ่งขึ้น จนเกิดปัญญาหรือความรู้ก็พยายามนำเอาความรู้และธรรมะนั้นนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สู่หนทางเจริญต่อไป

๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ธัมมเทสนามัย) คือ การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูปของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ ตามรอยบาทองค์พระศาสดา ให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุคคลอื่น หรือการนำธรรมไปขัดเกลากิเลสอุปนิสัยเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธา มาประพฤติปฏิบัติธรรมต่อไป

๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง (ทิฏฐชุกัมม์) คือ ความเข้าใจในเรื่อง บาป บุญ คุณ โทษ สิ่งที่เป็นแก่นสารสาระหรือที่ไม่ใช่แก่นสารสาระ ทางเจริญทางเสื่อม สิ่งอันควรประพฤติสิ่งอันควรละเว้น ตลอดจนการกระทำความคิดความเห็นให้เป็นสัมมาทิฏฐิอยู่เสมอ

บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ ยิ่งได้มีการเตรียมกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ตั้งใจจรดเข้าสู่ศูนย์กลางกาย หยุดในหยุด เข้าไปแล้วก็ยิ่งได้รับบุญมหาศาลตามความละเอียดประณีตที่เข้าถึงยิ่งๆ ขึ้นไป
   
   ในวิธีการสั่งสมบุญทั้ง 10 ประการนั้นพระพุทธเจ้า สรุปย่อว่า ธรรมทาน เป็นเลิศที่สุด และพระพุทธเจ้าก็ทรง ทำ ธรรมทาน มากที่สุด ใน 45 พรรษาของพระองค์

เป็นกำลังใจ ให้นะจ๊ะ โปรดเลือกเอา อย่ามัวติดอยู่ ใน ยินร้าย ยินดี วางเฉย เท่านั้นนะจ๊ะ



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะสำเร็จในกรรมฐาน โดยไว ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2012, 12:25:43 pm »
0
ปุจฉา
ปฏิบัติอย่างไร จึงจะสำเร็จในกรรมฐาน โดยไว ?


วิสัชชนา
 1.ปฏิบัติด้วยความฉลาด ใน องค์แห่งสมาธิ
    ความฉลาด ในสมาธิ มิได้ด้วยการตั้งมั่น ใน ฉันทะสมาธิ
 2.ปฏิบัติ ด้วยความสม่ำเสมอ มีความเพียรติดต่อ
 3.ปฏิบัติ ตามขั้นตอน ไม่บิดพริ้ว
 4.ปฏิบัติ ด้วยเป้าหมาย พ้นจากสังสารวัฏ
 5.ปฏิบัติ ด้วยการน้อมวิปัสสนา ธรรมคือ พระไตรลักษณ์ เข้าสู่ใจ

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ไม่รู้จะวางอารมณ์ อย่างไร ในกรรมฐาน ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2012, 12:32:39 pm »
0
ปุจฉา
ไม่รู้จะวางอารมณ์ อย่างไร ในกรรมฐาน ?


ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต
[๓๕] เรานอนอยู่ในป่าช้า เอาซากศพอันมีแต่กระดูกทำเป็นหมอนหนุน
เด็กชาวบ้านพวกหนึ่ง พากันเข้าไปทำความหยาบช้าร้ายกาจนานัปการ
อีกพวกหนึ่งร่าเริงดีใจ พากันนำเอาของหอม ดอกไม้ อาหาร และ
เครื่องบรรณาการต่างๆ เป็นอันมากมาให้เรา พวกใดนำทุกข์มาให้
เราและพวกใดให้สุขแก่เรา เราเป็นผู้มีจิตเสมอแก่เขาทั้งหมดไม่มี
ความเอ็นดู ไม่มีความโกรธ เราเป็นผู้วางเฉยในสุขและทุกข์ ใน
ยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มีใจเสมอในสิ่งทั้งปวง นี้เป็นอุเบกขา
บารมีของเรา ฉะนี้แล.
        จบมหาโลมหังสจริยาที่ ๑๕

ยก พระสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ 33 จริยาปิฏก ซึ่งได้ถูกรวบรวม ความประพฤติ  เพื่อสร้างบารมีธรรมนำไปสู่ความพ้นทุกข์ ที่พระพุทธเจ้าได้บำเพ็ญมา หลาย ๆ  ชาติ


   จากเรื่องที่ยกมานั้น เป็น เรื่องที่แสดงเรื่อง อุเบกขา  อันเป็นกำลังของผู้ประพฤติธรรมคือการวางใจเป็นกลาง ไม่ให้ยินดี  เมื่อเขาทำดีให้ ไม่ให้ยินร้าย เมื่อเขาให้ร้าย การวางใจเป็นกลางนี้  ถึงแม้จะเห็นว่าดูเหมือนง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ๆ  เพราะผู้ที่จะวางใจเป็นกลาง ต้องมีขันติ อดทน มีทมะ การข่มใจตนได้  เป็นพื้นฐานสำหรับ ผู้ที่ยังต้องปฏิบัติธรรมกันอยู่  ส่วนผู้ที่จะละได้โดยไม่ต้องใช้ขันติ หรือ ทมะแล้ว ก็ต้องเป็น  พระอนาคามีบุคคล ขึ้นไปจึงจักสามารถทำได้

  ดังนั้น  ผู้ที่ปรารถนาในความสงบ ที่เรียกว่า สันโดด นั้น พึงสังวรระวัง สติ  ตั้งไว้ในความอดทน และ ข่มกลั้นใจ ในขณะเดียวกัน ก็รู้จักฝึก กรรมฐาน 4  อย่าง คือ เมตตากรรมฐาน กรุณากรรมฐาน มุทิตากรรมฐาน อุเบกขากรรมฐาน ไว้ด้วย

ควรตั้งจิต ไว้ดังนี้
 1. การภาวนากรรมฐาน ทุกครั้ง ขอภาวนา บูชา แด่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 2. อย่าใส่ความอยากในการภาวนา แต่ให้ภาวนาด้วยอารมณ์เป็นกลาง
   เพราะกรรมฐานนั้น อยากได้ ก็ไม่ได้ ไม่อยากได้ ก็คือ ไม่ได้
   การวางอารมณ์เป็นกลาง ก็คือ การวางจิต ให้อยู่กับ นิมิต ทั้ง 3

  คือ 1. ปัคคาหะ นิมิต คือ ที่ตั้ง ฐานจิต

      2. บริกรรม นิิมิต คือ คำภาวนา "พุทโธ" ( สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา )

      3. อุเบกขา นิมิต คือ การวางเฉย ต่ออารมณ์ ที่ไปในอดีต และ อนาคต

  3. วางเป้าหมาย ในการภาวนา ด้วยการกำหนด เวลา จากน้อยไป หามาก

       ไม่ควรหักโหม ด้วยการภาวนาที่หนัก เพราะจะเข้า ข่าย อารัทธาวิริยะ  ปรารภความเพียรมากเกินไป จะฟุ้งซ่าน ได้ ดังนั้น ท่านที่ภาวนา ควรตั้งจิต  รำลึกไว้ อย่างนี้เบื้องต้น

   เจริญธรรมAeva Debug: 0.0005 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2012, 12:35:30 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
สติ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา นับเนื่องด้วยกันหรือไม่ ครับ ?


วิสัชชนา
  เกี่ยวพันกันเป็นอย่างยิ่ง เพราะสัมมาสมาธิ มิได้ เพราะสัมมาสติ
 สัมามาสติ เป็นธรรมเกื้อหนุน สัมมาสมาธิ
  ธรรม กรรมฐานเบื้องต้น ในกรรมฐาน มัชฌิมา ก็ใช้ พุทธานุสสติ คือ ตามระลึกพระพุทธคุณ ของพระพุทธเจ้า ในแบบสมาธิ ถ้าแบบ สติ ก็ต้องไปแตกพระพุทธคุณ ที่เป็นแบบปัญญา แต่ในแบบสมาธิ นั้นเข้าถึงพระพทธคุณด้วยการนอบน้อม พุทธะ สู่กายใจ โดยตรง ดังนั้น ผู้สำเร็จธรรมในห้องที่ 3 สุขสมาธิ นั้นเรียกว่า กายพุทธะ คือ สุขสมาธิ ที่มีพระพุทธเจ้า อยู่เต็มทั้งกายและใจ

  คนส่วนใหญ่ เจริญกรรมฐาน กันเพียงส่วนจิต แต่กรรมฐาน แท้ ๆ นั้น ต้องพัฒนา ทั้งกายและจิต แต่มีจิตเป็นกำลังมากกว่า ขึ้นอยู่กับการเข้าถึง ธาตุ มนธาตุ มนายตนะธาตุ หทัยวัตถุธาตุ อุปาทายรูป ...... เป็นต้นไป

  ดังนั้น สติ เป็น เครื่องสนับสนุนกรรมฐาน
  ส่วนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เป็นการบิดเกลียวเชือกที่ มี 8 เส้นให้รวมกันเป็นเชือกที่มั่นคง เพื่อเป็นอุปกรณ์ของ กายใจ ในการข้ามพ้นวัฏฏะสงสารนี้





บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
 ปฎิบัติกรรมฐาน มีเพียงมรรคเดียว จะสำเร็จ ธรรมได้อย่างไร ?
 


วิสัชชนา
     
   การปฏิบัติ พระกรรมฐาน เป็นการรวม มรรค ไม่ได้มี มรรคเดียวอย่างที่  คิดกัน แต่เป็นการรวมมรรค ให้เป็นหนึ่งเดียว เหมือนช่างปั้นหม้อ  ที่ปั้นหม้อ ต้องมีดินเหนียว ต้องมีความปัญญาในการคิดแบบ ต้องมีชำนาญ  ในการปั้น ต้องมีอุปกรณ์ ในการปั้น ต้องมีน้ำ ที่คอยหล่อเลี้ยงในการปั้น  เป็นต้นฉันใด
     
   การปฏิบัติพระกรรมฐาน นั้นเป็นการรวมมรรค ทั้ง 8 ให้เป้นหนึ่งเดียว  เพราะการข้ามฝั่ง คือ โอฆะ นั้น ต้องไปด้วย อริยมรรคมีองค์ 8 ประการนี้
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
ต้องเรียนมากน้อยอย่างไร ในกรรมฐาน จึงจะเรียกว่า เรียนครบในองค์กรรมฐาน นั้น คะ ?


วิสัชชนา
 จะกล่าวแสดงเฉพาะ กรรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เท่านั้นนะจ๊ะ ส่วนกรรมฐานอื่น ๆ นั้นก็พึงศึกษาเอาจากครูอาจารย์กรรมฐาน นั้น ๆ

  สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นจะกล่าวเพียงขั้นต้น ฐานจิตที่ 1 ห้องที่ 1 คือ พระขุททกาปีติ พระธรรมปีติ เท่านั้นนะจ๊ะ

  1.ศึกษาการขึ้นกรรมฐาน
  2.ศึกษาการขอขมาโทษต่อ พระรัตนตรัย
  3.ศึกษาขั้นตอนของพระกรรมฐาน
  4.ศึกษากิจในกรรมฐาน
  5.ศึกษาวิธีออกจากกรรมฐาน
  6.ศึกษาวิธีจบ เมื่อออกจากกรรมฐานแล้ว
  7.ศึกษาวิธี พอกพูนกรรมฐาน หรือ การเพิ่มบารมีกรรมฐาน
  8.ศึกษาวิธี การแจ้งพระกรรมฐาน

 8 วิธีการนี้ คือการเรียนกในกรรมฐาน ขั้นที่ 1 ห้องที่ 1 และห้องต่อ ๆ ไปก็น่าจะคล้าย ๆ กันอยู่บ้าง



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
ระหว่าง ทาน ศีล ภาวนา ควรจะเริ่มอะไรก่อน ในการบำเพ็ญบารมี บุญ ครับ ?


วิสัชชนา
   เริ่มพร้อม ๆ กัน ไปด้วยกัน ทาน ส่งเสิรม ศีล ศีล ส่งเสริม ภาวนา เหมือน ไตรสิกขา ศีล ส่งเสริม สมาธิ สมาธิ ส่งเสริมปัญญา


 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
มีหลักประกัน หรือไม่ ว่า ถ้าปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ แล้วจะสำเร็จกรรมฐาน ?


วิสัชชนา
  ดูผลการปฏิบัติ ของครูอาจารย์เป็นตัวอย่าง คือ ผู้ที่ผ่านธรรมแล้ว
  ที่นี้โดยเหตุนั้น ตนแล เป็นที่พึ่งแห่ง ตน ถ้าจะประกันความสำเร็จ เราพึงต้องตรวจทาน บารมีธรรม และการสั่งสมของตนเองก่อน ว่าพร้อมหรือไม่ เปรียบเหมือน ปลูกพืช ต้องมีดินดี พันธ์ดี น้ำดี คนบำรุงดี อากาศดี ปลอดภัยจากภัยธรรมชาต เป็นต้น ดังนั้น หลักประกันก็คือ เราต้องตรวจความพร้อมของเราเองเสียก่อน ว่า พร้อมดีขนาดไหน ธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงตรัสแสดงนั้น มีบคคลรับฟัง และปฏิบัติ ก็ไม่ใช่ว่า จะไปสู่ พระนิพพานได้ทุกท่าน ดูอย่างพระเทวทัตร ได้ฤทธิ์ แต่ก็ต้องลงนรก เพราะอะไร

  ดังนั้น ครูอาจารย์ไม่มาประกัน ความสำเร็จ ให้หรอกนะจ๊ะ เพราะอยู่ที่กำลังใจและการกระทำ ( กรรม )ของผู้ภาวนาด้วย


 


Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ปุจฉา
 กรรมฐาน  มัชฌิมา แบบลำดับ ต้องปฏิบัติไปตามห้องครบทุกห้อง ใช่หรือไม่ คะ  ถ้าอย่างนั้นไม่เสียเวลาในการปฏิบัติ หรือ เยิ่นเย้อ ช้ามากเกินเหตุ  หรือไม่ คะ ?
 



 วิสัชชนา
   ควรจะต้องปฏิบัติไปตามลำดับ ทุกห้อง ไม่ว่าจะเก่งมาจากไหน  ก็ต้องเป็นไปตามนั้น ในระหว่างปฏิบัติจะต้องมีการปรับจิต และ  ทิฏฐิให้ตรงตามแนวทางกรรมฐาน ด้วย ดังนั้นไม่ต้องวิตก ว่าจะเสียเวลา  คนเก่งผ่านเร็ว นอกเสียจากไม่เก่ง ก็จะผ่านช้า ถ้าได้มาจริงก็ผ่านไว  ถ้าไม่ได้มา ได้แต่คุย ก็ผ่านช้าหน่อย แต่ได้ผล ช้า ๆ ได้ พร้าเล่มงาน  รีบเกินเหตุ จะเสียผล
   
    ดังนั้นไม่ต้องห่วง ว่า จะช้า หรือ เนิ่นนาน ในการภาวนา  เพราะผู้ภาวนาจริง ย่อมได้ของจริง ธรรมะเป็นสิ่งที่ให้ผลจริง ในการภาวนา  จริงตามนั้น
     
Z ตอบสั้น ๆ ก่อน นะจ๊ะ เพราะ แบตโน๊ตบุ๊ค กำลังจะหมด อยู่สถานที่ ๆ ไม่มีไฟฟ้า นะจ๊ะ z
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ พระอาจารย์ มาตอบเองถึงแม้จะอ่านบางคำตอก็สั้น บางคำตอบก็ยาว ผู้ถามก็น่าจะพอใจในระดับหนึ่งนะครับ อย่างน้อยได้รับธรรมกันใหม่ ๆ ในพรรษา

  สังเกต เวลาพระอาจารย์ ตอบจะไม่ทำลิงก์ ไปคำตอบเก่า ๆ นะครับ
   :c017: :25: :49:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับพระคุณเจ้าเป็นคำตอบที่ไขข้อข้องใจตั้งแต่เริ่มปฏิบัติไปจนถึงแนวปฏิบัติได้แจ่มแจ้งนัก มีประโยชน์เป็นอันมาก ผมขอน้อมไปปฏิบัติด้วยครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ห้องนี้ ถ้าพระอาจารย์ไม่มาตอบแล้ว รู้สึกได้เลยว่า ขาดความอบอุ่น เงียบเหงาทันทีทันใด

 :25: :c017:
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยังเหลืออีกข้อยังไม่ได้ตอบนะครับ เกรงว่าพระอาจารย์ จะลืมนะครับ

 ข้อสุดท้าย ครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

fan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รวมคำถามอย่างนี้ ก็ดี นะคะ อนุโมนาสาธุ จะได้อ่านเรื่องอื่น ๆ ผสมกันไปด้วย คะ

  :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อานาปานสติ จะได้ภาวนาเมื่อไหร่ คะ ?

คิดว่า ข้อนี้พระอาจารย์ไม่ตอบ น่าจะเป็นปัญหาง่าย ๆที่ศิษย์กรรมฐาน ทุกท่านน่าจะเข้าใจดีอยู่แล้วคะ ว่าเป็นห้องกรรมฐาน ที่ 4 ซึ่งก็หมายความจะได้ปฏิบัติ ก็เมื่อผ่านไป 3 ห้องของพระพุทธานุสสติเสียก่อน แต่เคยได้ยินมาว่า มีการสอน อานาปานสติ กรรมฐานสันโดด เช่นเดียวกับ สติปัฏฐาน 4 สันโดด เช่นกัน แต่ต้องอยู่ที่ครูอาจารย์ ถ้าทุกคนที่เป็นศิษย์เข้าใจ และเคารพในครูอาจารย์ ก็จะต้องอดทน ต่อกรรมฐานที่ให้ นะคะ

  :s_hi: :67:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับ อันที่จริงผมนึกว่า พระอาจารย์ไม่ค่อยตอบปัญหาเสียอีก ดูจากจำนวนกระทู้ แต่เป็นความเข้าใจผิดของผมครับเพราะพระอาจารย์ตอบกระทู้เพิ่มมากขึ้นเพียงแต่นำมารวมในกระทู้เดียว ผมอ่านตามย้อนกลับไป รู้สึกว่าจะเริ่มตอบแบบรวมกระทู้ตั้งแต่ช่วงเข้าพรรษามา อนุโมทนา ครับ ถ้าแยกหัวข้อก็เท่ากับ ประมาณ 60 หัวข้อที่ผมอ่านมาผ่านมา

  :49:
บันทึกการเข้า

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ธรรมะ ที่พระอาจารย์มอบให้กับชาวธรรม ครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าสนใจฝึก อานาปานสติ ก็ต้องเจริญกรรมฐาน 3 ห้องให้ผ่านก่อนนะคะ

 อนุโมทนา ด้วยคะ ที่มีผู้ตั้งใจปฏิบัติ ตามแนวกรรมฐาน ที่ครูอาจารย์สอนไว้คะ
 :c017:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

montra

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 76
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ที่พระอาจารย์ ยังตอบปัญหาอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ครับ
ซึ่งในความคิดของผม คิดว่า ในพรรษา พระอาจารย์จะตอบคำถามทุกวัน เสียอีก เพราะไม่ได้เดินทางไปไหนมาไหน นะครับ ผิดจากที่คิดนะครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับพระอาจารย์ครับ ที่ยังมาตอบ มาโพสต์ ข้อความธรรมะ ให้ชาวธรรมได้อ่านเพิ่ม สติ ปัญญา อยู่นะครับ ถึงแม้ผมจะรู้ในใจว่า สักวันหนึ่งพระอาจารย์จะไม่ได้มาโพสต์อย่างนี้ อีกเพราะ พรรษา อายุ ก็คงจะไม่เหมาะที่มาทำอย่างนี้ ผมจึงเชื่อว่า พระอาจารย์คงจะใช้เวลาช่วงนี้ ถ่ายทอดความรู้ทางธรรม ที่สำคัญไว้ในเว็บให้ชาวธรรม ก็นับว่าเป็นจังหวะที่ดี ครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ ผมมาดึกตามชื่อครับ

  :c017: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ครับที่พระอาจารย์ มาตอบกระทู้ ครับ แต่ทั้่งพรรษานี้ มีกระทู้เดียวใช่หรือไม่ครับ

 ขอบพระคุณมากครับ

  :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ช่วงหลัง ที่ไม่ค่อยได้ ตอบ
  1.นั่งกรรมฐาน มากกว่าเดิม
  2.เห็นว่าเป็นคำถาม ที่ซ้ำ ๆ กันมามาก ก็รวบรวมตอบไว้เป็นหมวดไว้แล้ว จึงได้ ใช้ลิงก์ ตอบแทน ไปให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกัน
  3.เห็นว่า ข้อธรรมที่ตอบ สิ้นสุดแล้ว ตอบเพิ่มอีกก็ไม่มีประโยชน์ คือ หมดภูมิผู้ตอบแล้ว ( ยอมรับ )ดีงนั้นท่านก็ควรจะได้แสวงหาคำตอบจากแหล่งอื่นกันต่อไป
  4.ท่านจะเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ ก็อยู่ที่บารมีธรรม สะสมกันมาด้วย อย่าอ่านเพียงครั้งเดียวให้อ่านทบทวนกันไปหลาย ๆ หน
  5.ต้องการให้ในพรรษานี้ มุ่งเน้นไปที่การภาวนาอย่างจริงจัง
 
   วารี ไม่คอยท่า กาลเวลา ไม่คอยใคร
   ชีวิต ของเรากำลังเดินทางไป สู่ ความตาย
   ธรรม ใดที่ไม่เข้าถึง ก็ควรรีบเร่งให้ถึง ธรรม นั้น
   สังสารวัฏ มีทุกข์ รออยู่เบื้องหน้า มากกว่าที่รู้ในปัจจุบัน
   ตั้งสติ เจริญธรรม กรรมฐาน กันเถิด อย่าประมาท นะจ๊ะ

   เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)

 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nippan55

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มีคำถามตอบ ที่ควร ทบทวน อยู่หลายคำถาม ถ้าท่านไม่เข้าใจ ก็เปิดประเด็นคำถามขึ้นมากันเอง เลยไม่ต้องรอส่งจดหมาย มาก็ได้นะจ๊ะ

   บอกตรง ๆ ว่าช่วงนี้ไม่ได้อ่านจดหมายเลย pra_sonthaya@madchima.org อันนี้แทบไม่ได้อ่านเนื่องด้วยจำนวนจดหมายมีมาก ต้องคัดกรองจดหมาย

  ก็เจริญธรรม / เจริญพร ให้เข้าใจกันตามนี้


   thk56
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ