ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การกำหนดรู้ระงับดับความโกรธ อย่างนี้จัดเป็น วิปัสสนาหรือไม่ครับ  (อ่าน 5325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือผมเคยอ่านงานของคุณดังตฤณ และเคยได้มีโอกาสติดตามคุณดังตฤณ
อธิบายธรรม ตามyoutube  แล้วผมสนใจมาก ด้วยตัวผมเอง เป็นพวก
โทสะจริต โกรธง่ายโมโหง่ายมากครับ  ทีนี้คุณดังตฤณ บอกว่า ให้แค่ รู้
และยอมรับว่าเราโกรธ ไม่ต้องไปหยุด ไปห้ามอารมณ์นั้น ไม่ต้องไป
พยายามให้อารมณ์นั้นหายไป แค่มองดู

พอ ผมลองนำมาปรับใช้กับชีวิต  เวลาโกรธ แล้วผมมีสติรู้ตัวว่าโกรธ คือ จิตผมมันก็มากำหนดตรงลิ้นปี่ พอดีและมองดูอารมณ์นั้น แล้วคือ อารมณ์โกรธมันหายไปแบบ ชัวขณะสั้นๆ ทันทีอะครับ  จะอธิบายไงดี  ประมาณว่า พอโกรธปุ๊ปประมาณสองวินาทีก็จะรู้ตัว แล้วจังหวะที่รู้ตัวนั้นหล่ะ ความรู้สึกมันไปอยู่ที่ลิ้นปี่อัตโนมัติเอง และรู้ตัวว่าโกรธแล้วความโกรธก็หายไป   ผมก็มองอารมณ์ตอนนั้น มันก็ไม่ได้โกรธต่อ พอสักพักเผลอ จิตไม่ได้มองดูอารมณ์นั้น มันก็โกรธขึ้นอีก แล้วก็รู้ตัวอีก  เป็นเช่นนี้สักพักความโกรธจึงหายไป   

สิ่งที่ผมทำนั้น  เป็น แค่เพียงรู้  ว่าตัวโกรธอยู่   หรือ เป็นการไป ห้ามความโกรธนั้นไว้ครับ

คำถามการปฏิบัติอย่างนี้ เป็นการปฏิบัติวิปัสสนา หรือยังครับ

 :25:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

aom-jai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่เขียนมาดีค่ะ  โมทนาด้วย

เห็นตัวโกรธได้แล้ว..

เราไม่เชื่อเรื่องดูเฉยๆ หรือเพียงแค่รู้ก็พอนะคะ..

จะดูมันเฉยๆ ได้นี่ ต้องมี 2 อย่าง

1 จิตมีกำลัง
2 มีปัญญาเห็นความไม่เที่ยง เห็นว่ามันเป็นธรรมารมณ์เป็นของธรรมดา โดยไม่ปรุงแต่ง

คนที่เพิ่งฝึกปฏิบัติ สองอย่างนี้ทำยากค่ะไม่ง่าย.. (เว้นผู้ที่มีนิสัยวาสนามาก่อน)

ดังนั้นเราเลือกที่จะเชื่อครูบาอาจารย์หลายองค์ ท่านบอกว่า..
ใหม่ๆ ต้องตระครุบไว้ก่อน หินทับหญ้านั่นแหละ กระโดดเหยียบบ่อยๆ จนหญ้ามันแบนติดเท้า  คราวนี้ยกเท้าขึ้นดู มันจะเห็นหญ้าแบนอยู่  พอหญ้ามันไม่ผงกหัวขึ้นมา เราค่อยพิจารณามัน ดูมัน..

หรือถ้าเปลี่ยนจากหญ้าเป็นกองไฟจะชัดขึ้นอีก

ผัสสะแรงๆ เช่น โกรธ อิจฉา ราคะ  อย่างนี้ หยุดไว้ดีกว่าดูเฉยๆ ให้เปลวไฟมันลุกฮือ

อย่างกรณีคุณ ก็คือเอาจิต(สติ) ดูมันไว้นั่นแหละ ดูจนกว่ามันจะดับ  ถ้ามันลุกขึ้นมาอีก ก็ดูมันอีกอย่างนั้นแหละ..
บันทึกการเข้า

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุรุทธสูตรที่ ๒
             [๕๗๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า
ขอโอกาสเถิดท่านสารีบุตรผม ตรวจดูตลอดพันโลกด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ก็ผมปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา เออก็ไฉนเล่า จิตของผมจึงยังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า
ดูกรท่านอนุรุทธะ การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เราตรวจดูตลอดพันโลก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ดังนี้ เป็นเพราะ
มานะของท่าน
การที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า ก็เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อนตั้งสติมั่นไม่หลงลืม กายสงบระงับไม่ระส่ำระสาย จิตตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา
ดังนี้ เป็นเพราะอุทธัจจะของท่าน
ถึงการที่ท่านคิดอย่างนี้ว่า เออก็ไฉนเล่า จิตของเรายังไม่พ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็เป็นเพราะกุกกุจจะของท่าน

เป็นความดีหนอ ท่านพระอนุรุทธะจงละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจธรรม ๓ อย่างนี้ แล้วน้อมจิตไปในอมตธาตุ

ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ

ครั้ง นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีตนอันส่งไปอยู่ ไม่นานนัก ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องกันนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ก็แหละ ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ
บันทึกการเข้า

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ

เฮีย โดเรม่อน ครับผมไม่เข้าใจว่าละธรรม 3 อย่าง คืออะไรบ้างครับช่วยขยายความให้ผมด้วยครับว่า คืออะไรบ้าง
และมันเกี่ยวกับอะไรกับการกำหนดรู้ระงับความโกรธ ครับ ขอความกระจ่างด้วยครับ

 :character0029:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

doremon

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 171
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะต่อมาได้ละธรรม ๓ อย่างนี้ ไม่ใส่ใจถึงธรรม ๓ อย่างนี้ น้อมจิตไปในอมตธาตุ

เฮีย โดเรม่อน ครับผมไม่เข้าใจว่าละธรรม 3 อย่าง คืออะไรบ้างครับช่วยขยายความให้ผมด้วยครับว่า คืออะไรบ้าง
และมันเกี่ยวกับอะไรกับการกำหนดรู้ระงับความโกรธ ครับ ขอความกระจ่างด้วยครับ

 :character0029:

ขอโทษครับ ผมจำเขามาอีกทีครับ ผมเองก็ยังไม่รู้ว่า ธรรม 3 อย่างนี้มีอะไรบ้างครับ วานท่านผู้รู้ในบอร์ดช่วย
ขยายความต่อไปให้ด้วยนะครับ ว่าเหตุการณ์นี้ พระสารีบุตรหมายถึง ธรรมอะไร 3 อย่างครับ

 :c017:
บันทึกการเข้า

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลองไปค้นดูในอรรถกถาก่อน ก็ได้นะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมจะมาช่วยครับ
วันนี้ง่วงแล้ว

 :34: :bedtime2:
บันทึกการเข้า

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ป้าลองอ่านดูแล้ว....ป้าก็สรุปว่าน่าจะเป็น
        มานะ๑ อุททัจจะ๑ กุกกุจะ๑
ไช่ป่ะ....
..............................................
ส่วนเรื่องดูความโกรธนั้น ป้าก็เห็นด้วยน๊ะ ....และมีผลจริงๆด้วย   แต่ถ้าฝึกสติให้เร็วกว่านี้และรวดเร็วกว่านี้(รอบครอบ,ฉับไว,จับลักษณะได้เก่งกว่านี้เร็วกว่านี้)เราก็จะสังเกตุเห็นความเปลี่ยนไปของจิตเราตั้งแต่เริ่มไม่ชอบหรือก่อนนั้น(เพราะแม้ความโกรธก็มีระดับการพัฒนาหรือระดับการปรุงแต่ง..จากไม่ถูกใจ..เป็นไม่ชอบแบบเล็กๆ..เพิ่มขึ้น..หงุดหงิดเล็กๆ..เพิ่มขึ้น..โกรธเล็กๆ..เพิ่มขึ้น..โทษะเล็กๆ..เพิ่มขึ้น..(อารมณ์ค้างหลงโกรธนานๆ-บางคนพาลไปโกรธคนอื่นๆรอบๆข้างด้วยก็มี)...พัฒนาไปเป็นการผูกโกรธ...อาฆาต...พยาบาท.....เกิดไปเป็นวจีกรรม...กายกรรม...กรรมก็เกิดผล,.......
ถ้าเราสามารถกำหนดรู้ได้จับได้ตั้งแต่แรกๆต้นๆ เราก็จะสามารถหยุดได้เร็ว..ทีนี้ถ้าหยุดได้แล้วถ้าเราเผลอไป(หลงเพลิน)อยู่ในความสุขอีก สติก็จะอ่อนลง ความโกรธก็จะเข้ามาอีก......เราจะค้นพบความแตกต่างระหว่างใจที่เป็นปกติและใจในสภาวะที่เกิดความโกรธว่าแตกต่างกันเพียงใหน...เห็นความขุ่นมัวของใจเรา,ความดีดดิ้นของใจเราความไม่กระจ่างชัดในจิตเรา(สติ)..แม้แต่เวลาเราเข้าไปเสพสุขก็เช่นเดียวกัน........ลักษณะนี้ก็เป็นเช่นเดียวกันกับความโกรธ..คือความมัวเมาทั้งสิ้น......ซึ่งตรงกันข้ามกับความตื่นรู้ความอิสสระความเบาความสว่างความเป็นกลางของจิต......เมื่อเราเห็นลักษณะเช่นนี้(เห็นตั้งแต่เริ่มเกิดขึ้นจนมันพัฒนาไปจนกระทั่งมันหมดไปดับไป)บ่อยๆเข้า..บ่อยๆเข้า....ความดำหริที่จะออกจากกามออกจากทุกข์ก็จะเกิดขึ้นอย่าชัดเจน.....เมื่อนั้น มรรคทางดำเนินที่จะออกจากทุกข์ก็จะปรากฎชัด ว่าทำอย่างนี้แล้วจะเกิดทุกข์ทำอย่างนี้แล้วจะไม่เกิดทุกข์.......เมื่อเรารู้ดังนี้แล้วเห็นดังนี้แล้ว....ก็จะเลือกปฎิบัติเฉพาะสิ่งที่ทำแล้วไม่เกิดทุกข์,ทำแล้วไม่เบียดเบียน,ทำแล้วไม่เกิดโทษ,ทำแล้วให้ผลแห่ความเป็นอิสระแห่จิตเจริญขึ้น.....เมื่อดำเนินมรรคเต็มกำลังแล้ว....ผลย่อมเกิดเป็นธรรมดา....เมื่อนั้นเธอผู้ปฎิบัติก็จะพบธรรมที่แท้จริงเกิดขึ้นกันใจตนเอง(ปัจจัตตัง เวธิตัพโพ วิญญูหิตติ)..ความเป็นวิมุตติ, วิมุตติญาณทัศศนะ.ย่อมบังเกิดแก่เธอเป็นแน่แท้........สาธุ ด้วยน๊ะ
....................แม้เพียงขั้นเล็กๆของการปฎิบัติป้าก็ให้ความสำคัญเพราะเหตุว่าในขั้นเล็กๆนี้ก็เป็นส่วนสำคัญเป็นบาทฐานแห่งการรู้แจ้งเช่นกัน......ขอเป็นกำลังใจให้น๊ะ....พยายามต่อไป.......(ซาดังเงโย-flighting flighting)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 21, 2011, 10:47:55 am โดย prachabeodee »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ กุสินารวรรคที่ ๓
๘. อนุรุทธสูตรที่ ๒


               อรรถกถาทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘               
               พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

               บทว่า อิทนฺเต มานสฺมึ ความว่า นี้เป็นมานะอันเจริญแล้วโดยส่วน ๙ ของท่าน.

               บทว่า อิทนฺเต อุทฺธจฺจสฺมึ ความว่า นี้เป็นความฟุ้งซ่านของท่าน คือความที่จิตของท่านฟุ้งซ่าน.

               บทว่า อิทนฺเต กุกฺกุจฺจสฺมึ ความว่า นี้เป็นความรำคาญของท่าน.

               จบอรรถกถาทุติยอนุรุทธสูตรที่ ๘       

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=570

สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล)
๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น)
๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ )
๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร)
๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ)
๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง)
๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ)
๗. อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ)
๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่)
๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง)


มานะ อุทธัจจะ เป็นสังโยชน์ ของคนที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์

อาจเป็นอนาคามีผลก็ได้ เพราะอนาคามีผลยังละสังโยชน์ห้าข้อหลังยังไม่ได้

ส่วนกุกกุจจะ เป็นธรรมกลุ่มเดียวกับอุทธัจจะ

แต่โดยสรุปแล้ว ยังไม่ได้ตอบคำถามของคุณสถาพรเลย


คำถามที่ว่า เป็นวิปัสสนารึเปล่า ผมเองยังไม่มีภูมิธรรมพอที่จะตอบได้

แต่ถ้าเอาตำรามาตอบ ก็ต้องบอกว่า คุณเห็นไตรลักษณ์รึเปล่า

เพราะการวิปัสสนา คือ การเห็นตามความจริง ความจริงก็คือ ไตรลักษณ์นั่นเอง

ถ้าเอาวิปัสสนาญาณ ๑๖ มาคุย ก็ต้องถามที่ญาณแรกก่อน คือ

นามรูปปริเฉทญาณ หมายถึง การแยกรูปแยกนามได้

ขอพูดเล่นๆว่า ตัวโกรธ กับผู้รู้ว่าโกรธ คุณรู้สึกว่า มันเป็นสิ่งเดียวกันรึเปล่า

ถ้ายังรู้สึกว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ไม่น่าเรียกว่าวิปัสสนา


แต่ถ้ารู้สึกในตอนนั้นว่า มันเป็นคนละส่วนกันละก็ ขอแสดงความยินดีด้วย

ผมแค่ตีความตามตัวหนังสือนะครับ อย่าถือเ้ป็นจริงจั

 ;) :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 26, 2011, 07:54:11 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ใช้ได้ทัน หรือ ไม่ได้ทันนี่สิครับ สำคัญมาก บางครั้ง เราโกรธก่อน ถึงจะมีสติ  บางครั้งกำลังหงุดหงิด มีสติก่อน บางครั้งก็โกรธก่อน แล้วไม่มีสติ อาจจะมีสักหลังจากนั้น

  การกำหนดรู้ด้วยสติ เป็นอารมณ์ปัจจุบัน การกำหนดปัจจุบัน ได้ จึงเรียกว่ามีสติ ไม่ใช่ผลอยู่ที่ระงับโกรธ หรือ ไม่โกรธ แต่การกำหนดรู้อยู่ที่การ รู้ มีสติ ในปัจจุบัน เพื่อนับเนื่อง หนุนเนื่องในการมองเห็นตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน

  :s_hi: :25: :25:
บันทึกการเข้า