ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความหมายในพระสังฆคุณ น่าจะไม่เกี่ยวกับสตรี ใช่หรือไม่ครับ  (อ่าน 3952 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สถาพร

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 220
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีคำสวดใน บทสังฆคุณ ว่า

ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา

 คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่นับเรียงตัวบุุรุษบุคคล ได้ ๘  จำพวก

เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ

เป็นเหล่าพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้

คำแปลในบทสวด พระสังฆคุณนี้ นับแต่ พระอริยะบุคคล ที่เป็น บุรุษ เท่านั้นใช่หรือไม่ครับ

ไม่ใช่หมายถึงพระสงฆ์ ทั่วไป คือจำกัดความที่พระสงฆ์ ที่เป็นเอตทัคคะ เป็นต้นใช่หรือครับ


 :25:
บันทึกการเข้า
ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
ธชัคคสูตรที่ ๓
 
       
            [๘๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี
พึงบังเกิดแก่พวกเธอผู้ไปในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนที่ว่างเปล่าก็ดี
ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงเรานี้แหละว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ

พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา
และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น
จะยิ่งไปกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้
จำแนกธรรม ดังนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงเราอยู่
ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จัก
หายไป หากพวกเธอไม่ตามระลึกถึงเรา ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระธรรมว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว บุคคลพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล
ควรเรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเข้าไปในตน อันวิญญูชนพึงรู้แจ้งได้เฉพาะตน ดังนี้


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระธรรมอยู่ ความกลัวก็ดี
ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หาก
พวกเธอไม่ตามระลึกถึงพระธรรม ทีนั้นพวกเธอพึงตามระลึกถึงพระสงฆ์ว่า

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้
ปฏิบัติเป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบยิ่ง พระสงฆ์นั้นคือใคร ได้แก่คู่แห่งบุรุษสี่
รวมเป็นบุรุษบุคคลแปด


นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรแก่
สักการะที่เขานำมาบูชา เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักขิณา เป็นผู้ควร
แก่การทำอัญชลี เป็นบุญเขตของโลก ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า


เพราะว่า เมื่อพวกเธอตามระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพอง
สยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร เพราะว่า
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ ปราศจาก
โมหะ ไม่เป็นผู้กลัว ไม่หวาด ไม่สะดุ้ง ไม่หนีไป ฯ

อ้างอิง
           เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕  บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๑๑๒.  หน้าที่  ๓๐๔ - ๓๐๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=7046&Z=7112&pagebreak=0
             ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=863


ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี น่าจะเกิดกับพระสงฆ์ที่เป็น"ปุถุชน"

หรือที่เรียกว่า "สมมุติสงฆ์" มากกว่า



เพราะฉะนั้น หากจะให้คนที่ยังมีกิเลสระลึกถึงสตรีเพศ(ภิกษุณี) อาจทำให้มี "ราคะแทรกขึ้นมา"

จะทำให้มีนิวรณ์ สมาธิจะไม่เกิด การระลึกถึงสังฆคุณจะไม่มีประโยชน์อันใด



ผมจำเรื่องการแผ่เมตตาได้ มีข้อห้ามไม่ให้บุรุษ แผ่เมตตาให้คนรัก เนื่องจากการแผ่เมตตาต้องใช้สมาธิ

การระลึกถึงคนรัก ทำใ้ห้ราคะเกิดขึ้นได้ การแผ่เมตตาจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากขาดสมาธินั่นเอง


เพราะฉะนั้น การที่ในพระสูตรระบุชัดเจนว่าเป็น"บุรุษ" อาจเนื่องด้วยเหตุที่ผมได้อธิบายมาแล้ว

อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวผมนะครับ ผมวิเคราะห์เท่าที่ผมมีข้อมูลอยู่

 :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 11:06:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

udom

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้วรู้สึกน้อยใจจังเลย ว่าสตรีไม่มีบทบาท ในความเป็นพระอริยะสงฆ์

 :03:
บันทึกการเข้า

P63

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอแสดงความเห็นแบบที่ไม่แน่ใจในคำแปลที่แม่นยำนะครับ

แต่ที่แน่ใจ คือ คำว่าสงฆ์ ที่หมายถึง อริยสงฆ์ นั้น ไม่ได้จำกัดแต่บุรุษแน่นอน
พระโสดาบัน ไปจนถึงพระอรหันต์ ที่เป็นสตรีก็มีหลายองค์
การบรรลุธรรมนั้นไม่ได้จำกัดเพศหรือภาวะ จะเป็นฆราวาสหรือนักบวชก็ได้
ลองค้นดูครับว่า ในพระสูตรบทหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านยังเรียกฆราวาสที่บรรลุธรรมแล้วแต่ยังมิได้บวชว่าอย่างไร
เช่น สันตติอำมาตย์

ดังนั้น บทสวดพระสังฆคุณที่กล่าวถึงผู้ที่เดินอยู่ในมรรคในผล คือ บุคคล 8 จำพวกนั้น ย่อมมิน่าจำกัดเพศ
แต่เป็นการกล่าวระลึกถึงคุณธรรมของท่านมากกว่า
 

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระสงฆ์ หมู่ชนที่ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย, หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า;
       ดู สงฆ์

ภิกษุณีสงฆ์ หมู่แห่งภิกษุณี, ประดาภิกษุณีทั้งหมดกล่าวโดยส่วนรวมหรือโดยฐานเป็นชุมนุมหนึ่ง, ภิกษุณีตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ประชุมกันเนื่องในกิจพิธี ;

       ภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ โดยมีพระมหาปชาบดีโคตมี พระมาตุจฉาซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระภิกษุณีรูปแรก ดังเรื่องปรากฏในภิกษุณีขันธกะและในอรรถกถา สรุปได้ความว่า

       หลัง จากพระเจ้าสุทโธทนะปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นิโครธารามในเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตมีเสด็จเข้าไปเฝ้าและทูลขออนุญาตให้เสด็จสละเรือนออกบวช ในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้นมิใช่ง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง

       ต่อ มาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี ประทับที่กูฏาคารศาลาในป่ามหาวัน พระนางมหาปชาบดีโคตมีไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงผมนุ่งห่มผ้ากาสาวะเอง ออกเดินทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า ๕๐๐ นาง) ไปยังเมืองเวสาลี และได้มายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา พระบาทบวม พระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี พระอานนท์มาพบเข้า สอบถามทราบความแล้วรีบช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้ แต่เมื่อพระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าก็ถูกพระองค์ตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง

       ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้ว จะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่

       พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าได้
       พระ อานนท์จึงอ้างเหตุผลนั้น พร้อมทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีเป็นพระมาตุจฉาและเป็นพระมารดาเลี้ยง มีอุปการะมากต่อพระองค์ แล้วขอให้ทรงอนุญาตให้สตรีออกบวช

       พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางจะต้องรับปฏิบัติตามครุธรรม ๘ ประการ พระนางยอมรับตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่า การรับครุธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของพระนาง ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้

       ในคราวนั้นพระ พุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ยั่งยืน จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุรุษน้อยมีสตรีมาก ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน พระองค์ทรง
บัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับ ไว้ก็เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป (พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม) และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลาย ไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย

       กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม-ศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย แต่ด้วยเหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติจึงทรงยอมให้สตรีบวชได้ เมื่อภิกษุณีสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานา รักษาสิกขาบท ๖ (คือ ๖ ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบทโดยสงฆ์สองฝ่าย คือ บวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์อีกชั้นหนึ่ง เมื่อเป็นภิกษุณีแล้ว ต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑ ข้อ (ศีล ๓๑๑) ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย

       ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีปในรัชกาลของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระสังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบอุปสมบทกรรมแก่พระนางอนุฬาเทวี ชายาของเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑ พันคน

       ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญสิ้นไป ด้วยเหตุใดและกาลใดไม่ปรากฏชัด

       ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์


ภิกษุสงฆ์ หมู่ภิกษุ, หมู่พระ; ดู สงฆ์

สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
      1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),

           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์


       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง

อ้างอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%A7%A6%EC



ความหมายของสงฆ์ที่ผมนำมาให้ดูกัน อาจช่วยไขข้อข้องใจได้บ้าง

คำว่า "อริยสงฆ์" นั้น เป็นฆราวาสก็ได้ครับ เช่น สันตติมหาอำมาตย์ และ พระพาหิยะ

ทั้งสองท่านล้วนเป็นอรหันตผล ตายก่อนที่จะได้บวช

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในที่นี้มีคำว่า

   บุรุษ คือ คำว่า ปุริส  หมายถึง บุรุษ

   บุคคล คือ คำว่า ปุคคล หมายถึง บุคคล

  ถ้าเป็น บุรุษ ก็ไม่สาธารณะ เรื่องเพศ

  ถ้าเป็น บุคคล ก็สาธารณะ เรื่องเพศ


 ที่นี้คำว่า อริยะบุรุษ ไม่มี มีแต่คำว่า อริยะบุคคล ความหมายก็ชัดเจนแล้ว

 ที่นี้ พิจารณาประโยคนี้ว่า

  อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา

    มีทั้งคำว่า ปุริส และ ปุคคล ก็ย่อมหมายความว่า มีทั้งเจาะจง และ ไม่เจาะจง

   ตีความตามใจฉัน ก็คือ หมายถึง ทั้งที่เจาะจง ก็คือ พระอริยะที่เป็นเอตัทัคคะ และ ไม่เจาะจง คืออริยะบุคคลนอกนั้น ทั้งหมด

  สรุปก็ หมายรวมทั้งหมด นั่นแหละคะ


   :s_good:



บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี