ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทรงติเตียนภิกษุผู้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ว่า "เหมือนมาตุคามแสดงของลับ"  (อ่าน 13347 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ 
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒


เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
             [๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะ ครองอันตรวาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง
ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์

แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จึงท่านพระปิณโฑลภาร
ทวาชะ ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ
จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน


แม้ท่านพระโมคคัลลานะก็กล่าวกะท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จ
งปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียนไป
รอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ ฯ

             [๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ในเรือน
ของตน ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้า
ภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ประดิษฐานในเรือนของท่านราชคหเศรษฐี ขณะนั้น ท่านราชคหเศรษฐีรับบาตร
จากมือของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ แล้วได้จัดของเคี้ยวมีค่ามาก ถวายท่าน
พระปิณโฑลภารทวาชะ


ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้รับบาตรนั้นไปสู่พระอาราม
ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของราชคหเศรษฐี
ไปแล้ว และชาวบ้านเหล่านั้นมีเสียงอึกทึกเกรียวกราว ติดตามพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะไปข้างหลังๆ พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้ว

ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงอึกทึกเกรียวกราว เรื่องอะไรกัน
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตร
ของท่านราชคหเศรษฐีลงแล้ว พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐีลง


จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะมา
ข้างหลังๆ อย่างอึกทึกเกรียวกราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้
คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ


             ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์


เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะ
เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์


เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่
พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฎ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยา
หยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๒๗๒ - ๓๑๒.  หน้าที่  ๑๒ - ๑๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=272&Z=312&pagebreak=0
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=272&w=%C0%D2%C3%B7%C7%D2%AA



พระปิ่นโฑลภารทวาชเถระ
เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท


พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ตระกูลภารทวาชะ ผู้เป็น
ปุโรหิตของพระเจ้าอุเทน เดิมชื่อว่า “ภารทวาชมาณพ” ศึกษาจบไตรเพท คือ คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์
ของลัทธิพราหมณ์ มีความเชี่ยวชาญในวิชา ไตรเพท

•   โทษของการไม่รู้ประมาณในอาหาร
ภารทวาชมาณพ ได้ตั้งสำนักเป็นอาจารย์ใหญ่สอนไตรเพท มีศิษย์มาขอศึกษามากมาย
แต่เนื่องจากเป็นคนมีความโลภในอาหาร แสวงหาอาหารด้วยอาการอันไม่เหมาะสม ไม่รู้
ประมาณในการบริโภค จึงถูกศิษย์พากันทอดทิ้ง มีความเป็นอยู่ลำบาก ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานไป
อยู่ที่เมืองราชคฤห์ ตั้งสำนักสั่งสอนไตรเพทอีก แต่ก็ไม่ค่อยมีคนนับถือเพราะเป็นคนต่างถิ่น
และเมืองราชคฤห์ก็มีสำนักอาจารย์ใหญ่ ๆ มากอยู่แล้ว จึงประสบกับชีวิตที่ฝืดเคืองยิ่งขึ้น


เมื่อพระบรมศาสดา ประกาศพระพุทธศาสนามาจนถึงเมืองราชคฤห์ มีประชาชนเคารพ
นับถือเป็นจำนวนมาก ลาภสักการะก็เกิดขึ้นอุดมสมบูรณ์ ปิณโฑลภารทวาชะ คิดที่จะอาศัยพระ
พุทธศาสนาเลี้ยงชีวิต อีกทั้งได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็เกิด
ศรัทธาเลื่อมใส

จึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัย แล้ว
อุตสาห์บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลใน
พระพุทธศาสนา


ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๓ คือ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และยังเป็นผู้ที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้เทียบเท่าพระมหาโมคคัลลานเถระ
ท่านเคยแสดงฤทธิ์จนเป็นสาเหตุให้พระบรมศาสดาแสดงยมกปาฏิหาริย์ ดังมีเรื่องเล่าว่า....

•   เศรษฐีอยากรู้จักพระอรหันต์

สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน มหาวิหาร กรุงราชคฤห์ มี
เศรษฐีผู้หนึ่งใคร่จะลงเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา จึงให้บริวารขึงตาข่ายเป็นรั้วล้อมในท่าที่ตนอาบน้ำ
อยู่นั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ


ขณะนั้นมีไม้จันทน์แดงต้นหนึ่งเกิดที่ริมฝั่งเหนือน้ำขึ้นไป ถูกน้ำเซาะรากโค่นลงไหลมาตามน้ำ
ถูกกระแสน้ำพัดกระทบกับของแข็งหักเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่กระจัดกระจายไปตามน้ำ
มีอยู่ก้อนหนึ่งเป็นปุ่มซึ่งแตกออกมา กลิ้งกระทบหินและ
กรวดทรายกลายเป็นก้อนกลมอย่างดี และมีตะใคร่น้ำเกาะอยู่โดยรอบไหลมาติดที่ตาข่ายนั้น
เศรษฐีให้คนตรวจดูรู้ว่าเป็นไม้จันทน์แดงแล้วคิดว่า “ไม้จันทน์แดง ในบ้านของเรามีอยู่
มากมาย เราควรจะทำอะไรดีกับไม้จันทน์แดงก้อนนี้” พลางก็คิดขึ้นได้ว่า “ชนเป็นจำนวนมาก

ต่างก็พูดอวดว่าตนเป็นพระอรหันต์ เรายังไม่รู้ชัดว่าผู้ใดเป็นพระอรหันต์กันแน่ เราควรให้ช่าง
กลึงปุ่มไม้จันทน์แดงนี้ ทำเป็นบาตรแล้วแขวนไว้ที่ปลายไม้ผ่าต่อกันให้สูง ๑๕ วา ประกาศว่า
ผู้ใดสามารถเหาะมาเอาบาตรไปได้ จึงจะเชื่อถือผู้นั้นว่าเป็นพระอรหันต์ เราพร้อมด้วยภรรยา
และบุตรจะขอถึงผู้นั้นเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต” เมื่อคิดเช่นนั้นแล้วก็สั่งให้ทำตามที่คิดนั้นทุก
ประการ


•   เดียรถีย์แสดงท่าเหาะ
ครั้งนั้น เจ้าสำนักครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล
สัญชัยเวลัฎฐบุตร ปกุทธกัจจายนะ และ นิครนถ์นาฎบุตร ต่างก็มีความประสงค์อยากจะได้
บาตรไม้จันทน์แดงด้วยกันทั้งนั้น จึงได้ไปพูดกับท่านเศรษฐีว่า:-

“ท่านเศรษฐี บาตรนี้สมควรแก่เรา ท่านจงยกให้แก่เราเถิด”
“ถ้าท่านต้องการอยากจะได้ ก็จงเหาะขึ้นไปเอาด้วยตนเอง” เศรษฐีกล่าวยืนยัน
ครั้นถึงวันที่ ๖ นิครนถ์นาฎบุตร ได้ใช้ให้ศิษย์ไปบอกแก่เศรษฐีว่า:-
“บาตรนี้ สมควรแก่อาจารย์ของเรา ท่านอย่าให้ถึงกับต้องแสดงฤทธิ์เหาะมาเพราะเหตุ
เพียงบาตรใบเดียว ซึ่งเป็นวัตถุเล็กน้อยนี้เลย จงมอบให้แก่อาจารย์ของเราเถิด”


ท่านเศรษฐี ก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิม นิครนถ์นาฏบุตรจึงวางแผนกับลูกศิษย์ว่า
“เมื่อเราทำท่ายกมือ ยกเท้า แสดงอาการจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร พวกเจ้าจงเข้ายึดมือและเท้า
ของเราไว้แล้วกล่าวห้ามว่า ไฉนท่านอาจารย์จึงทำอย่างนี้ท่านอย่าได้แสดงคุณความเป็นพระ
อรหันต์ที่ปกปิดไว้เพราะเหตุเพียงบาตรใบนี้เลย”

เมื่อตกลงวางแผนกันเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าไป
พูดขอบาตรกับเศรษฐี เมื่อได้รับคำปฏิเสธเช่นเดิม จึงแสดงท่าจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร บรรดาศิษย์
ทั้งหลายก็พากันเข้าห้ามฉุดรั้งไว้แล้ว กล่าวตามที่ตกลงกันไว้นั้น นิครนถ์นาฏบุตรจึงพูดกับ
เศรษฐีว่า “เราจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายพากันห้ามฉุดรั้งไว้อย่างที่เห็นนี้
ดังนั้น ขอท่านจงให้บาตรแก่เราเถิด” เศรษฐีก็ยังไม่ยอมให้เช่นเดิม


•       พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปเอาบาตร
ในวันที่ ๗ เวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชเถระ จะเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ยืนห่มจีวรอยู่บนก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ได้ยินเสียงนักเลงทั้งหลาย
พูดกันว่า “ครูทั้ง ๖ ต่างกล่าวอวดอ้างว่าตนเป็นพระอรหันต์ จนถึง ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว ก็ไม่เห็น
มีใครสักคนเดียวเหาะขึ้นไปเอาบาตรที่ท่านเศรษฐีแขวนไว้ พวกเราก็เพิ่งจะรู้กันในวันนี้เองว่า
พระอรหันต์ไม่มีในโลก”

พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงกล่าวว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านได้ยินหรือไม่ถ้อยคำของ
นักเลงเหล่านั้นพูดหมิ่นประมาทพระพุทธศาสนา ท่านก็มีฤทธิ์อานุภาพมาก จงเหาะไปเอาบาตร
ใบนั้นมาให้ได้”


พระผู้เป็นเจ้าภารทวาชะ รับคำของพระมหาโมคคัลลานเถระแล้วเข้าจตุถฌานสมาบัติ
อันเป็นฐานแห่งอภิญญา กระทำอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไปบนอากาศพร้อมทั้งแผ่นศิลาที่ยืนอยู่นั้น
เหาะเวียนรองกรุงราชคฤห์แล้ว เหาะลอยเลื่อนมาอยู่ตรงหลังคาเรือนของเศรษฐี ท่านเศรษฐีเห็น
ดังนั้นแล้วทั้งดีใจที่ได้เห็นพระอรหันต์ที่แท้จริง และตกใจกลัวว่าก้อนหินจะล่วงลงมาทับบ้าน
ของตน

จึงกราบหมอบลงจนอกติดพื้นดินแล้ว กล่าวละล่ำละลักว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้า ลงมา
เถิด” พระเถระจึงสลัดก้อนหินไปประดิษฐานในที่เดิมแล้วเหาะลงมาจากอากาศ เมื่อพระเถระ
ลงมาแล้ว ท่านเศรษฐีจึงนิมนต์ให้นั่ง ณ อาสนะที่จัดถวาย ให้คนนำบาตรลงมาจากที่แขวนไว้
บรรจุอาหารอันประณีตจนเต็มแล้วถวายพระเถระพระผู้เป็นเจ้าภารทวาชะ รับแล้วก็กลับสู่วิหาร


ฝ่ายประชาชนเป็นจำนวนมากที่ไปทำธุระนอกบ้านมิได้เห็นปาฏิหาริย์จึงพากันชุมนุมติด
ตามพระเถระไปอ้อนวอนนิมนต์ให้ท่านแสดงปาฏิหาริย์ให้ชมบ้าง พระเถระก็แสดงให้ชมตามที่
นิมนต์นั้น พระบรมศาสดาทรงสดับเสียงอื้ออึง จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า

“นั่นเสียงอะไร ?” เมื่อทรงทราบความทั้งหมดแล้ว มีรับสั่งให้พระภารทวาชเถระเข้าเฝ้า
ทรงตำหนิการกระทำนั้นแล้วมีพระบัญชาให้ทำลายบาตรนั้น บดให้เป็นผงทำเป็นเภสัชสำหรับ
หยอดตา จากนั้นทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามพระสาวกทั้งหลายทำปาฏิหาริยิ์อีกต่อไป


•   ได้ยกย่องในทางบันลือสีหนาท
โดยปกติ ท่านปิณโฑลภารทวาชเถระ มักจะบันลือสีหนาทด้วยวาจาอันองอาจว่า
“ยสฺส มคฺเค วา ผเล วา กงฺขา อตฺถิ โส มํ ปุจฺฉตุ แปลว่า ผู้ใด มีความสงสัยในมรรคหรือใน
ผล ผู้นั้น ก็จงถามเราเถิด” แม้แต่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ท่านก็บันลือสีหนาท
เช่นนั้น


ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันกล่าวขวัญถึงท่านว่าเป็นผู้มีความองอาจประกาศ
ความเป็นพระอรหันต์ของตนในที่เฉพาะพระพักตร์ พระบรมศาสดาและยังได้กระทำ
อิทธิปาฏิหาริยิ์ เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้จันทน์แดง จนทำให้เศรษฐีพร้อมด้วยบุตรและภรรยาพา
กันประกาศตนเป็นพุทธมามกะ คือ ประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา


พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นพากันกล่าวสรรเสริญเกียรติคุณของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือเอาคุณความดีของพระเถระนี้ตรัส
สรรเสริญว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านภารทวาชะได้ประกาศความเป็นพระอรหันต์ ของตนเช่นนั้น
ก็พราะท่านอบรมอินทรีย์ ๓ ประการ คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ ไว้มาก ครั้น
ตรัสดังนี้แล้ว ทรงประกาศยกย่อง พระปิณโฑลภารทวาชะ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้บันลือสีหนาท

 
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับ
ขันธปรินิพพาน

ที่มา http://www.84000.org/one/1/14.htm


ต้องการคำอธิบายอย่างพิสดาร เชิญคลิกลิงค์นี้เลยครับ
 
ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ งมงายหรือไม่งมงาย ?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3059.0

 ;) :s_good: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 06:11:00 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สมัยนี้ หาแสดงฤทธิ์ ได้จริง ๆ นั้นแทบไม่มีแล้ว ยิ่งเอาพระสูตรบทนี้ออกมาให้อ่าน ยิ่งไม่ต้องหาเลยครับ

แต่ก็แปลกดีนะ ผมส่วนมากเวลาไปในแวดวงเพื่อน ๆ ที่ศรัทธาพระพวกเกจิ นี้แต่ละรูป แต่ละองค์ ล้วนแล้ว

มีฤทธานุภาพ แตกต่างกันไป จนผมส่งสัยเหมือนกัน นำพระเถระเหล่านี้ลงไปอยู่ 3 จังหวัดชายแดนเลยดี

หรือไม่ครับ เพื่อจะได้มีพระที่ปลอดภัย และประชาชนไม่เป็นอันตราย

 :13: :13: :13:

บันทึกการเข้า

prayong

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่ใช่แต่พระหรอก ยุคนี้เห็นสื่อ ประโคมบรรดา ฆราวาส หลายคนที่ประกาศเรื่อง ตาทิพย์ หูทิพย์ รู้อดีต รู้อนาคต
เที่ยวสวรรค์ เที่ยวนรก เป็นต้น มีมากเลย แล้วยังสอนผิดจากแนวทางพระศาสนา ทำนองนำของตนไปใส่ นำของ
พระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่ตนรู้เอง

 เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงตรัสห้ามพระภิกษุโดย พระวินัยโดยตรง

 แต่สำหรับพระอริยะบุคคล ที่อยู่เพศฆราวาส นี้ถือว่ายกเว้น ด้วยใช่หรือไม่

  ถ้าพิจารณาตรงส่วนนี้

 เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ...


  การกระทำของท่าน ปิณโฑลภารทวาชะ ด้วยความสนับสนุนของพระโมคคัลลานะ นั้น

เป็นที่ยังความเลื่อมใส ให้กับชนเป็นอย่างมากโดยแท้จริง และเป็นที่เกรงขามของชาวลัทธิอื่นๆ

ตรงนี้ดูเหมือนว่า พระองค์กำลังจะตรัสไม่ถูก ส่วนเพราะบาตรนั้นพระอรหันต์ ไม่ได้มีความต้องการเลย

ผลจากการที่เอาบาตรลงมาได้ ต่างหากที่บรรดาเจ้าลัทธิ ทั้งหลายนำลงมา เป็นสิ่งที่ต้องการ

อ่านแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจ เพียงแต่ยกเหตุผลว่า ไม่ควรแสดง...เพราะเป็นการผิดวินัย แต่ที่นี้

เรื่องการผิดวินัยนั้น รู้สึกจะยกเว้นพระอรหันต์ไว้ เป็นพิเศษแล้วการที่พระอรหันต์แสดงฤทธิ์ ก็ไม่น่าจะเป็น

ต้นเหตุแห่งอาบัติ
 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ตอบข้อสงสัยของคุณ prayong

ขอนำข้อความบางส่วนในกระทู้
ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ งมงายหรือไม่งมงาย ?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3059.0

มาให้อ่าน ดังนี้ครับ


ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ไม่ใช่ไม่ให้แสดงอิทธิฤทธิ์ แสดงได้ แต่ให้มีเหตุผลและจุดประสงค์อันสมควรที่จะแสดง ท่าทีที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ

ถ้าใช้อิทธิฤทธิ์เป็น “สื่อ” สอนธรม การแสดงฤทธิ์ก็เหมาะสมและถูกต้องตามพุทธประสงค์ บุคคลบางคนเชื่อและเลื่อมใสในอิทธิฤทธิ์ ใครมีฤทธิ์ก็ให้ความนับถือ คนเช่นนี้ถ้าเราจะ convert หรือกลับใจเขา คนสอนจะต้องมีอิทธิฤทธิ์เท่าๆ เขาหรือมากกว่าเขา เขาจึงจะเลื่อมใสและยอมเชื่อฟัง อย่างนี้เรียกว่า ใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์

เมื่อใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ได้แล้ว ไม่ควรหยุดอยู่แค่นั้น ควรสอนให้เขาละวางเรื่องฤทธิ์ก้าวไปสู่คุณธรรมที่สูงกว่านั้น ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์เองในบางครั้ง หรือทรงมีพุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะไป “ปราบ” บางคน

ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน พึงตระหนักว่า บรรดาปาฏิหาริย์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นยอด การแสดงอิทธิฤทธิ์ก็ดี ความสามารถในการอ่านใจ ทายใจคนอื่นได้ก็ดี ถึงจะไม่ปฏิเสธ ก็ทรงเตือนไว้ว่าอย่าใช้พร่ำเพรื่อ อย่าใช้ผิดวัตถุประสงค์ และอย่าใช้ในทางที่ไม่เหมาะ

ให้เตือนตนอยู่เสมอว่า พึงใช้อิทธิฤทธิ์เป็น “สื่อ” จูงคนเข้าหาพระธรรมที่สูงขึ้น มิใช่ใช้เพื่อให้คนเขาอัศจรรย์ว่าเราเก่ง แล้วจะได้นำลาภสักการะมาถวาย

นี้ พูดถึงผู้ที่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีความสามารถในด้านนี้เลยแม้แต่น้อย แต่แสดงให้คนอื่นเข้าใจว่าตนทำได้ ยิ่งมีความผิดมหันต์ ถ้าเป็นพระภิกษุ ก็เข้าขั้น “อวดอุตริมนุสสธรรม” มีความผิดหนักถึงขั้นขาดจากความเป็นพระ




 - ความเห็นผมก็ คือ ฆราวาสที่มีฤทธิ์ อยู่นอกพระวินัยก็จริงอยู่ แต่การที่จะมีฤทธิ์ได้
เบื้องต้นต้องมีศีลและภาวนามาก่อน การแสดงฤทธิื์ต่างๆ์์ คนที่แสดงน่ามีวิจารณญาณเป็นของตนเอง
และจะใช้ความระมัดระวังอย่างยิ่ง

- การแสดงฤทธิ์ของพระปิณโฑลภารทวาชะ ในขณะนั้นยังไม่มีข้อห้ามครับ
พระพุทธองค์ยังไม่ได้บัญญัติวินัยห้าม

- การตำหนิของพระพุทธเจ้า น่าจะพิจารณาประเด็นที่ "แสดงฤทธิ์เพื่อแลกเอาบาตรไม้ใบเดียว"
ส่วนการที่จะแสดงให้เห็นว่า มีอรหันต์อยู่จริงนั้น ควรใช้วิธีอื่นๆ ขอให้พิจารณา“ปาฏิหาริย์” 3 ชนิด

1. อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ หายตัว ร่างเดียวแปลงเป็นหลายร่างได้ ฯลฯ)

2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ดักใจ ทายใจคนอื่นได้)

3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (แสดงธรรมชี้คุณชี้โทษให้เขาเลื่อมใส แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจาก คนชั่วเป็นคนดี จากที่ดีอยู่แล้วได้บรรลุคุณธรรมสูงขึ้น)


จะเห็นว่า ยังมีปาฏิหารย์อีกสองข้อที่แสดงได้

- เท่าที่อ่านบทความตามลิงค์ข้างบน วินัยในปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดห้ามตรงๆ การห้ามอวดอุตริมนุษยธรรม
ใช้กับคนที่ไม่มีอะไรให้อวด แต่ชอบอวดเท่านั้น ซึ่งก็หมายถึง ไม่ได้ห้ามคนมีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์


 :s_good: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 13, 2011, 09:29:55 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถึงพระพุทธเจ้า จะติเตียน ท่านปิณโฑภารทวาชะ ท่านก็ไม่สะทกสะท้านหรอกครับ อ่านให้ดี นะครับ

  พระอรหันต์ ท่านละกิเลสแล้ว พระพุทธเจ้าตำหนิ ก็เหมือนไม่ได้ ตำหนิ นั่นแหละ
  เหมือนคนบอกว่า พระอนุรุทธะ ไม่ไปฟังปาฏิโมข์ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ปรากฏกาย บอกว่า เธอควรไป นะอย่างนี้ หลายคน ใส่อารมณ์ว่า เห็นไหม แม้แต่พระอรหันต์ ก็ต้องโดนตำหนิ

   ชิ ชิ อาบัติทุกอาบัติ ไม่ปรับพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้แล้ว
   กรณี ของพระอรหันต์ ทุกอาบัติ ตกหมด นั่นหมายความ ไม่มีความผิด นะครับ อ่านให้ดี

  การที่บอกว่า การแสดงฤทธิ์ นั้นเหมือนการแสดงของลับ มาตุุคาม ( ผู้หญิง ) พูดง่าย แก้ผ้าโชว์ นั่นแหละ พระอรหันต์ท่านพ้นจากโลกธรรมแล้ว ท่านไม่สะเทือนหรอก

   ถ้าพูดขนาดนั้น การแสดง ยมกปากิหาริย์ ของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต่างอะไร กัน

    เรื่องนี้ต้องพิจารณา มูลเหตุให้ดี นะครับ เพราะอะไร พระพุทธเจ้า จึงตรัสทิ้งไว้อย่างนั้น


  :021: :021: :021: :021:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
ข้อความโดย mongkol

  ถึงพระพุทธเจ้า จะติเตียน ท่านปิณโฑภารทวาชะ ท่านก็ไม่สะทกสะท้านหรอกครับ อ่านให้ดี นะครับ

  พระอรหันต์ ท่านละกิเลสแล้ว พระพุทธเจ้าตำหนิ ก็เหมือนไม่ได้ ตำหนิ นั่นแหละ
  เหมือนคนบอกว่า พระอนุรุทธะ ไม่ไปฟังปาฏิโมข์ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ปรากฏกาย บอกว่า เธอควรไป นะอย่างนี้ หลายคน ใส่อารมณ์ว่า เห็นไหม แม้แต่พระอรหันต์ ก็ต้องโดนตำหนิ

   ชิ ชิ อาบัติทุกอาบัติ ไม่ปรับพระอรหันต์ พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้แล้ว
   กรณี ของพระอรหันต์ ทุกอาบัติ ตกหมด นั่นหมายความ ไม่มีความผิด นะครับ อ่านให้ดี

  การที่บอกว่า การแสดงฤทธิ์ นั้นเหมือนการแสดงของลับ มาตุุคาม ( ผู้หญิง ) พูดง่าย แก้ผ้าโชว์ นั่นแหละ พระอรหันต์ท่านพ้นจากโลกธรรมแล้ว ท่านไม่สะเทือนหรอก

   ถ้าพูดขนาดนั้น การแสดง ยมกปากิหาริย์ ของพระพุทธเจ้า ก็ไม่ต่างอะไร กัน

    เรื่องนี้ต้องพิจารณา มูลเหตุให้ดี นะครับ เพราะอะไร พระพุทธเจ้า จึงตรัสทิ้งไว้อย่างนั้น


  :021: :021: :021: :021:


       ans1 ans1 ans1 ans1
       
       ภิกษุอรหันต์ ท่านไม่มีอะไรให้ยึดอีกแล้ว ท่านละอุปทานขันธ์ ๕ ได้อย่างสิ้นเชิง ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น"
       ส่วนภิกษุปุถุชนนั้น เนื่องจากท่านยังมีอาสวกิเลสอยู่ จึงสร้างปัญหาให้กับการเผยแผ่ศาสนา ดังนั้นเพื่อให้ธรรมวินัยนี้ดำรงอยู่ด้วยกาลอันควร พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติวินัยขึ้นมา
       กรณีแสดงปาฏิหาริย์ต่างๆของภิกษุนั้น ควรหรือไม่ควรอย่างไร ขอให้พิจารณามูลเหตุของการบัญญัติวินัยตามพระสูตรนี้



ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

      ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระเทวทัตต์ว่า
      ดูกรเทวทัตต์ ข่าวว่า เธอตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักร จริงหรือ.?
      พระเทวทัตต์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

      พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า
      ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ
      ดูกรโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้ตะเกียกตะกาย เพื่อทำลายสงฆ์ เพื่อทำลายข้อห้ามในพุทธจักรเล่า
      ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเสื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของเธอนั่นเป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่น ของชนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว

      ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนพระเทวทัตต์ โดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว
      ตรัสโทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน
      ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุงง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย
      แล้วทรงกระทำธรรมีกถา ที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า


      ans1 ans1 ans1 ans1

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
         เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑
           เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑
            เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑
             เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑
              เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑
               เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑
                เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑
                 เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ๑
                  เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑
                   เพื่อถือตามพระวินัย ๑


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-


อ้างอิง :-
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องพระเทวทัตต์
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=1&A=18423&Z=18603
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 30, 2015, 11:59:21 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
“ยสฺส มคฺเค วา ผเล วา กงฺขา อตฺถิ โส มํ ปุจฺฉตุ
แปลว่า
 ผู้ใด มีความสงสัยในมรรคหรือใน
 ผล ผู้นั้น ก็จงถามเราเถิด”


 อันที่จริง การแสดงฤทธิ์ ครั้งนั้นเป็นเหตุให้พระโมคคัลลานะ ถูกพวกลัทธิอื่น ๆ จ้างวานฆ่า ด้วยนะครับ
แต่ส่วนตัวผมชอบ ท่าน ปิณโฑละภาระทวาชะ อยู่แล้วครับ

  :49: like1
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

       ขออนุโมทนาสาธุ ครับ

       เรื่องราวพระสูตร ช่างมีหลากมากรสแล

          อรรถรสนี้เป็นไปเพื่อ   ตักปณิธาน  และศรัทธา ประการเดียวครับ

         สาธุ  สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ครั้นจะกล่าวเรื่องอิทธิวิถีนั้นดูเหมือนพระมหาโมคคัลลานะจะได้สิทธิ์เพียงรูปเดียว กล่าวแม้เรื่องของโกสิยะเศรษฐีผู้มีความตระหนี่อยากทานขนมเบื้อง ด้วยข่ายพระญาณแห่งองค์สมเด็จพระศาสดาทรงเห็นความเป็นไปแห่งศรัทธาแม้เพียงความถึงแห่งไตรสรณะคมน์ในโกสิยะเศรษฐี มีที่สุดแห่งโสดาปัตติผล ถึงกับทรงใช้ให้พระมหาโมคคัลลานะไปนำพาโกสิยะเศรษฐีมาเพื่อหมู่สงฆ์ ลองอ่านกันดูนะครับ

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภเศรษฐีชื่อโกสิยะ ผู้มีความตระหนี่ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ" เป็นต้น.
               เรื่องตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

               สมบัติของเศรษฐีไม่อำนวยประโยชน์แก่ใครๆ               
               ดังได้สดับมา ในที่ไม่ไกลแห่งกรุงราชคฤห์ ได้มีนิคมชื่อสักกระ,
               เศรษฐีคนหนึ่งชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ประจำอยู่ในนิคมนั้น. เขาไม่ให้แม้หยดน้ำมัน (สักหยดเดียว) ด้วยปลายหญ้าแก่คนเหล่าอื่น ทั้งไม่บริโภคด้วยตนเอง. สมบัติของเขานั้นไม่อำนวยประโยชน์แก่ปิยชนทั้งหลาย มีบุตรและภรรยาเป็นต้น ไม่อำนวยประโยชน์แก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย คงเป็นของไม่ได้ใช้สอย ตั้งอยู่เหมือนสระโบกขรณี ที่ผีเสื้อน้ำหวงแหน ด้วยประการฉะนี้แล.

               เศรษฐีอยากกินขนมเบื้องจนผอม               
               วันหนึ่ง เวลาจวนสว่าง พระศาสดาเสด็จออกจากสมาบัติอันประกอบด้วยความกรุณาใหญ่ ทรงตรวจดูหมู่สัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ที่พอแนะนำในการตรัสรู้ได้ในสกลโลกธาตุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา ซึ่งอยู่ในที่สุดแห่งที่ ๔๕ โยชน์.
               ก็ในวันก่อนแต่วันนั้น เศรษฐีนั้นไปสู่พระราชมนเทียร เพื่อบำรุงพระราชาทำการบำรุงพระราชาแล้วกลับมา เห็นคนบ้านนอกคนหนึ่งถูกความหิวครอบงำ กำลังกินขนมกุมมาส (ขนมเบื้อง) ให้เกิดความกระหายในขนมนั้นขึ้น ไปสู่เรือนของตนแล้ว คิดว่า "ถ้าเราบอกว่า ‘เราอยากกินขนมเบื้อง’ ไซร้, คนเป็นอันมากก็จัก (พากัน) อยากกินกับเรา, เมื่อเป็นอย่างนั้น วัตถุเป็นอันมาก มีงา ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อยเป็นต้น ของเรา ก็จักถึงความหมดไป, เราจักไม่บอกแก่ใครๆ" ดังนี้แล้ว อดกลั้นความอยากเที่ยวไป, เมื่อเวลาล่วงไปๆ เขาผอมเหลืองลงทุกที มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น, แต่นั้น ไม่สามารถจะอดกลั้นความอยากไว้ได้ เข้าห้องแล้วนอนกอดเตียง. เขาแม้ถึงความทุกข์อย่างนี้ ก็ยังไม่บอกอะไรๆ แก่ใครๆ เพราะกลัวเสียทรัพย์.

               ภรรยาเศรษฐีทอดขนมเบื้อง               
               ลำดับนั้น ภรรยาเข้าไปหาเขาลูบหลังถามว่า "ท่านไม่สบายหรือ? นาย."
               เศรษฐี. ความไม่สบายอะไรๆ ของฉันไม่มี.
               ภรรยา. ก็พระราชากริ้วท่านหรือ?
               เศรษฐี. ถึงพระราชาก็ไม่กริ้วฉัน.
               ภรรยา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่พอใจอะไรๆ ที่พวกลูกชายลูกหญิง หรือปริชนมีทาสกรรมกรเป็นต้น กระทำแก่ท่าน มีอยู่หรือ?
               เศรษฐี. แม้กรรมเห็นปานนั้นก็ไม่มี.
               ภรรยา. ก็ท่านมีความอยากในอะไรหรือ?
               แม้เมื่อภรรยากล่าวอย่างนั้น เขาก็ไม่กล่าวอะไร คงนอนเงียบเสียง เพราะกลัวเสียทรัพย์. ลำดับนั้น ภรรยากล่าวกะเขาว่า "บอกเถิดนาย, ท่านอยากอะไร?" เขาเป็นเหมือนกลืนคำพูดไว้ ตอบว่า "ฉันมีความอยาก."
               ภรรยา. อยากอะไร? นาย.
               เศรษฐี. ฉันอยากกินขนมเบื้อง.
               ภรรยา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไม ท่านไม่บอกแก่ดิฉัน, ท่านเป็นคนจนหรือ? บัดนี้ ดิฉันจักทอดขนมเบื้องให้พอแก่คนที่อยู่ในสักกรนิคมทั้งสิ้น.
               เศรษฐี. ประโยชน์อะไรของเธอด้วยคนพวกนั้น, พวกเขาทำงานของตน ก็จักกิน (ของตน).
               ภรรยา. ถ้ากระนั้น ดิฉันจักทอดขนมเบื้องให้พอแก่คนที่อยู่ในตรอกเดียวกัน.
               เศรษฐี. ฉันรู้ความที่เธอเป็นคนรวยทรัพย์ละ.
               ภรรยา. ดิฉันจะทอดให้พอแก่คนทั้งหมด (ที่อยู่) ในที่ใกล้เรือนนี้.
               เศรษฐี. ฉันรู้ความที่เธอเป็นคนมีอัธยาศัยกว้างขวางละ.
               ภรรยา. ถ้ากระนั้น ดิฉันจะทอดให้พอแก่ชนสักว่าลูกเมียท่านเท่านั้นเอง.
               เศรษฐี. ประโยชน์อะไรของเธอด้วยคนพวกนั้น.
               ภรรยา. ก็ดิฉันจะทอดให้พอแก่ท่านและดิฉันหรือ?
               เศรษฐี. เธอจักทำ ทำไม?
               ภรรยา. ถ้ากระนั้น ดิฉันจะทอดให้พอแก่ท่านผู้เดียวเท่านั้น.
               เศรษฐี. เมื่อเธอทอดขนมที่นี้ คนเป็นจำนวนมากก็ย่อมหวัง (ที่จะกินด้วย) เธอจงเว้นข้าวสาร (ที่ดี) ทั้งสิ้น ถือเอาข้าวสารหักและเชิงกรานและกระเบื้อง และถือเอาน้ำนม เนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยหน่อยหนึ่งแล้ว ขึ้นไปชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น แล้วทอดเถิด, ฉันคนเดียวเท่านั้น จักนั่งกิน ณ ที่นั้น.
               นางรับคำว่า "ดีละ" แล้วให้ทาสีถือสิ่งของที่ควรถือ เอาขึ้นไปสู่ปราสาท แล้วไล่ทาสีไป ให้เรียกเศรษฐีมา. เศรษฐีนั้น ปิดประตูใส่ลิ่มและสลักทุกประตูตั้งแต่ประตูแรกมา แล้วขึ้นไปยังชั้นที่ ๗ ปิดประตู แล้วนั่ง ณ ชั้นแม้นั้น. ฝ่ายภรรยาของเขาก็ติดไฟที่เชิงกราน ยกกระเบื้องขึ้นตั้ง แล้วเริ่มทอดขนม.

               พระมหาโมคคัลลานะไปทรมานเศรษฐี               
               ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานเถระมาแต่เช้าตรู่ ตรัสว่า
               "โมคคัลลานะ ในสักกรนิคม (ซึ่งตั้งอยู่) ไม่ไกลกรุงราชคฤห์ เศรษฐีผู้มีความตระหนี่นั่นคิดว่า ‘เราจักกินขนมเบื้อง’ จึงให้ภรรยาทอดขนมเบื้องบนปราสาท ๗ ชั้น เพราะกลัวคนเหล่าอื่นเห็น, เธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วทรมานเศรษฐี ทำให้สิ้นพยศ๑- ให้ผัวเมียแม้ทั้งสองถือขนม และน้ำนม เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อย แล้วนำมายังพระเชตวันด้วยกำลังของตน; วันนี้ เรากับภิกษุ ๕๐๐ รูป จักนั่งในวิหารนั่นแหละ, จักทำภัตกิจด้วยขนมเท่านั้น."
               แม้พระเถระ ก็รับพระดำรัสของพระศาสดาว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" แล้วไปยังนิคมนั้นด้วยกำลังฤทธิ์ทันทีทีเดียว เป็นผู้นุ่งห่มเรียบร้อย ได้ยืนอยู่ที่ช่องสีหบัญชร๒- แห่งปราสาทนั้น เหมือนรูปแก้วมณีลอยเด่นอยู่กลางอากาศเทียว. เพราะเห็นพระเถระนั้นแล ดวงหทัยของมหาเศรษฐีก็สั่นสะท้าน เขาคิดว่า "เรามาที่นี่ เพราะกลัวบุคคลทั้งหลายผู้มีรูปอย่างนี้นั่นแล, แต่สมณะนี้ยังมายืนอยู่ที่ช่องหน้าต่างได้" เมื่อไม่เห็นเครื่องมือที่ตนควรจะฉวยเอา เดือดดาลทำเสียงตฏะๆ ประดุจก้อนเกลือที่ถูกโรยลงในไฟ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "สมณะ ท่านยืนอยู่ในอากาศ จักได้อะไร? แม้จงกรมแสดงรอยเท้าในอากาศซึ่งหารอยมิได้อยู่ ก็จักไม่ได้เหมือนกัน." พระเถระจงกรมกลับไปกลับมาในที่นั้นนั่นแล. เศรษฐีกล่าวว่า "ท่านจงกรมอยู่จักได้อะไร? แม้นั่งด้วยบัลลังก์๓- ในอากาศก็จักไม่ได้เช่นกัน." พระเถระจึงนั่งคู้บัลลังก์.
____________________________
๑- นิพฺพิเสวนํ แปลตามศัพท์ว่า มีความเสพผิดออกแล้ว.
๒- ศัพท์ว่า "สีหบัญชร" หมายความว่า หน้าต่างมีลูกกรง แปลตามศัพท์ว่า "หน้าต่างมีสัณฐานประดุจกรงเล็บแห่งสีหะ
๓- นั่งขัดสมาธิ.

               ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะท่านว่า "ท่านนั่งในอากาศ จักได้อะไร? แม้มายืนที่ธรณีหน้าต่างก็จักไม่ได้." พระเถระได้ยืนอยู่ที่ธรณี (หน้าต่าง) แล้ว. ลำดับนั้น เขากล่าวกะท่านว่า "ท่านยืนที่ธรณี (หน้าต่าง) จักได้อะไร? แม้บังหวนควันแล้ว ก็จักไม่ได้เหมือนกัน." แม้พระเถรก็บังหวนควัน. ปราสาททั้งสิ้นได้มีควันเป็นกลุ่มเดียวกัน.
               อาการนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาเป็นที่แทงตาทั้งสองของเศรษฐีด้วยเข็ม เศรษฐีไม่กล่าวกะท่านว่า "แม้ท่านให้ไฟโพลงอยู่ก็จักไม่ได้" เพราะกลัวไฟไหม้เรือน แล้วคิดว่า "สมณะนี้ จักเป็นผู้เกี่ยวข้องอย่างสนิท ไม่ได้แล้วจักไม่ไป, เราจักให้ถวายขนมแก่ท่านชิ้นหนึ่ง" แล้วจึงกล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ เธอจงทอดขนมชิ้นเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง ให้แก่สมณะแล้ว จงส่งท่านไปเสียเถอะ."
               นางหยอดแป้งลงในถาดกระเบื้องนิดเดียว. (แต่) ขนม (กลาย) เป็นขนมชิ้นใหญ่ ได้พองขึ้นเต็มทั่วทั้งถาด ตั้งอยู่แล้ว. เศรษฐีเห็นเหตุนั้น กล่าวว่า "(ชะรอย) หล่อนจักหยิบแป้งมากไป" ดังนี้แล้ว ตักแป้งหน่อยหนึ่งด้วยมุมทัพพีแล้ว หยอดเองทีเดียว. ขนมเกิดใหญ่กว่าขนมชิ้นก่อน. เศรษฐีทอดขนมชิ้นใดๆ ด้วยอาการอย่างนั้น, ขนมชิ้นนั้นๆ ก็ยิ่งใหญ่โตทีเดียว. เขาเบื่อหน่าย จึงกล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ เธอจงให้ขนมแก่สมณะนี้ชิ้นหนึ่งเถอะ."
               เมื่อนางหยิบขนมชิ้นหนึ่งจากกระเช้า, ขนมทั้งหมดก็ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. นางจึงกล่าวกะเศรษฐีว่า "นายขนมทั้งหมดติดเนื่องเป็นอันเดียวกันเสียแล้ว, ดิฉันไม่สามารถทำให้แยกกันได้." แม้เขากล่าวว่า "ฉันจักทำเอง," แล้วก็ไม่อาจทำได้. ถึงทั้งสองคน จับที่ริม (แผ่นขนม) แม้ดึงออกอยู่ ก็ไม่อาจให้แยกออกจากกันได้เลย. ครั้นเมื่อเศรษฐีนั้นปล้ำอยู่กับขนม (เพื่อจะให้แยกกัน), เหงื่อก็ไหลออกจากสรีระแล้ว, ความหิวกระหายก็หายไป.
               ลำดับนั้น เขากล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ ฉันไม่มีความต้องการขนมแล้ว, เธอจงให้แก่สมณะเถิด." นางฉวยกระเช้าแล้วเข้าไปหาพระเถระ.
               พระเถระแสดงธรรมแก่คนแม้ทั้งสอง, กล่าวคุณพระรัตนตรัย, แสดงผลทานที่บุคคลให้แล้วเป็นอาทิ ให้เป็นดังพระจันทร์ในพื้นท้องฟ้าว่า "ท่านที่บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล, ยัญที่บุคคลบูชา ย่อมมีผล." เศรษฐีฟังธรรมนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านจงมานั่งฉันบนบัลลังก์นี้เถิด."

               พระเถระนำเศรษฐีและภรรยาไปเฝ้าพระศาสดา               
               พระเถระกล่าวว่า "มหาเศรษฐี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่งในวิหารกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ด้วยตั้งพระหฤทัยว่า "จักเสวยขนม, เมื่อท่านมีความชอบใจ. เศรษฐี ท่านจงให้ภรรยาถือเอาขนมและวัตถุอื่นมีน้ำนมเป็นต้น, พวกเราจักไปสู่สำนักของพระศาสดา."
               เศรษฐี. ก็บัดนี้ พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหนเล่า? ขอรับ.
               พระเถระ. ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ในที่สุดแห่งที่ ๔๕ โยชน์จากที่นี้ เศรษฐี.
               เศรษฐี. ท่านผู้เจริญ พวกเราจักไปสิ้นหนทางไกลมีประมาณเท่านี้ จะไม่ล่วงเลยเวลาอย่างไร?
               พระเถระ. มหาเศรษฐี เมื่อท่านมีความชอบใจ, เราจักนำท่านทั้งสองไปด้วยกำลังของตน. หัวบันไดปราสาทของท่านจักมีในที่ของตนนี่เอง, แต่เชิงบันไดจักมีที่ซุ้มประตูพระเชตวัน, เราจักนำไปสู่พระเชตวัน โดยกาลชั่วเวลาลงจากปราสาทชั้นบนไปยังชั้นล่าง.
               เขารับว่า "ดีละ ขอรับ." พระเถระทำหัวบันไดไว้ในที่นั้นนั่นเองแล้ว อธิษฐานว่า "ขอเชิงบันไดจงมีที่ซุ้มประตูพระเชตวัน." บันไดก็ได้เป็นแล้วอย่างนั้นนั่นแล. พระเถระให้เศรษฐีและภรรยาถึงพระเชตวันเร็วกว่ากาลที่ลงไปจากปราสาทชั้นบนลงไปยังชั้นล่าง.
               สามีภรรยาแม้ทั้งสองคนนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลกาล. พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่โรงฉันแล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. มหาเศรษฐีได้ถวายทักษิโณทกแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข, ภรรยาใส่ขนมในบาตรของพระตถาคตเจ้าแล้ว แม้มหาเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยา ก็บริโภคขนมพอแก่ความต้องการ. ความหมดสิ้นของขนมไม่ปรากฏเลย. แม้เมื่อเขาถวายขนมแก่ภิกษุในวิหารทั้งสิ้นและ (ให้) แก่คนกินเดนทั้งหลายแล้ว ความหมดสิ้นไป (แห่งขนม) ก็ไม่ปรากฏอยู่นั่นเอง. เขาทั้งสองจึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขนมหาถึงความหมดไปไม่."
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ถ้ากระนั้น ท่านทั้งสองจงทิ้งเสียที่ซุ้มประตูพระเชตวัน." เขาทั้งสองก็ทิ้งที่เงื้อมซึ่งไม่ไกลซุ้มประตู (พระเชตวัน). แม้ทุกวันนี้ ที่นั้น ก็ยังปรากฏชื่อว่า "เงื้อมขนมเบื้อง." มหาเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว.
               ในกาลจบอนุโมทนา สามีและภรรยาแม้ทั้งสองดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ขึ้นบันไดที่ซุ้มประตู (พระเชตวัน) แล้ว สถิตอยู่ที่ปราสาทของตนทีเดียว. ตั้งแต่นั้นมา เศรษฐีได้เกลี่ยทรัพย์จำนวน ๘๐ โกฏิ ในพระพุทธศาสนานั่นแหละ.

               พวกภิกษุสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ               
               ในเวลาเย็นวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุประชุมกันในโรงธรรม นั่งกล่าวคุณกถาของพระเถระว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดูอานุภาพของพระมหาโมคคัลลานะ, ท่านชื่อว่าไม่กระทบกระทั่งศรัทธา ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่โดยครู่เดียว กระทำให้หมดพยศแล้ว ให้เขาถือขนมนำมาสู่พระเชตวัน กระทำไว้ตรงพระพักตร์พระศาสดาแล้ว ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล น่าอัศจรรย์ พระเถระมีอานุภาพมาก.”
               พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพวกภิกษุ ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ เสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมด้วยเรื่องอะไรกันหนอ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสสรรเสริญพระเถระว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอันภิกษุผู้ทรมาน ไม่กระทบกระทั่งศรัทธา ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ไม่ให้สกุลชอกช้ำ ไม่เบียดเบียน (สกุล) เป็นดุจแมลงภู่เคล้าเอาละอองจากดอกไม้ เข้าไปหา (สกุล) แล้ว ควรให้รู้พุทธคุณ, โมคคัลลานะบุตรของเราก็เป็นเช่นนั้น"
               ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๕.    ยถาปิ ภมโร ปุปฺผํ    วณฺณวนฺตํ อเหฐยํ
                            ปเลติ รสมาทาย                   เอวํคาเม มุนี จเร.
                            มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยังดอก สี
                            และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วบินไปฉะนั้น.

               แก้อรรถ               
               ชาติแห่งสัตว์ผู้กระทำน้ำหวานชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ภมร ในพระคาถานั้น.
               บทว่า ปุปฺผํ เป็นต้น ความว่า แมลงภู่เมื่อบินไปในสวนดอกไม้ ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ คือว่าไม่ให้เสียหาย บินไป.
               บทว่า ปเลติ ความว่า ครั้นบินไปอย่างนั้นแล้ว ดื่มรสจนพอความต้องการ คาบเอารสแม้อื่นไป เพื่อประโยชน์แก่การกระทำน้ำหวานแล้วบินไป. แมลงภู่นั้นร่อนลงสู่ป่าชัฏแห่งหนึ่งแล้ว เก็บรสซึ่งเจือด้วยธุลีนั้นไว้ในโพรงไม้แห่งหนึ่งแล้ว กระทำรสน้ำหวานให้เป็นน้ำผึ้งโดยลำดับ; ดอก หรือสี และกลิ่นของดอกไม้นั้นหาชอกช้ำไป เพราะการเที่ยวไปในสวนดอกไม้แห่งแมลงภู่นั้นเป็นปัจจัยไม่ ที่แท้ สิ่งทั้งหมดคงเป็นปกติอยู่นั่นเอง.
               บาทพระคาถาว่า เอวํ คาเม มุนี จเร ความว่า พระอนาคาริยมุนี ต่างโดยเสขะและอเสขะก็ฉันนั้น เที่ยวรับภิกษาในบ้านโดยลำดับสกุล.
               แท้จริง การเสื่อมศรัทธาหรือการเสื่อมโภคะ หามีแก่สกุลทั้งหลาย เพราะการเที่ยวไปในบ้านของมุนีนั้นเป็นปัจจัยไม่, ศรัทธาก็ดี โภคะก็ดี คงเป็นปกติอยู่นั่นเอง;
               ก็แล พระเสขมุนีและอเสขมุนี ครั้นเที่ยวไปอย่างนั้นออกมาแล้ว, พระเสขมุนีปูสังฆาฏิ นั่ง ณ ที่ที่สบายด้วยน้ำ ภายนอกบ้านก่อนแล้วพิจารณา (อาหารบิณฑบาต) ด้วยสามารถแห่งการเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลา ผ้าปิดแผล และเนื้อแห่งบุตร แล้วฉันบิณฑบาต หลบเข้าไปสู่ไพรสณฑ์เห็นปานนั้น พิจารณากัมมัฏฐานเป็นไปภายใน กระทำมรรค ๔ และผล ๔ ให้อยู่ในเงื้อมมือให้ได้,
               ส่วนพระอเสขมุนี ประกอบการอยู่สบายในทิฏฐธรรมเนืองๆ บัณฑิตพึงทราบความที่มุนีนั้นควรเห็นสมกับแมลงภู่โดยการกระทำน้ำหวานเช่นนี้. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระขีณาสพ.
               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น.
               พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว เพื่อจะประกาศคุณของพระเถระ แม้ให้ยิ่ง จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่, แม้ในกาลก่อน เธอก็ทรมานเขาแล้ว ให้รู้ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งกรรมและผลแห่งกรรมเหมือนกัน"
               ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ ทรงนำอดีตนิทาน (มาสาธก)
               ตรัสอิลลีสชาดก๑- นี้ว่า :-
                                   "คนทั้งสองเป็นคนกระจอก คนทั้งสองเป็นคนค่อม
                         คนทั้งสองเป็นคนมีตาเหล่ คนทั้งสองมีต่อมบนศีรษะ, เรา
                         ไม่รู้จักเศรษฐีชื่ออิลลีสะ (ว่า) คนไหน?" ดังนี้แล.
____________________________
๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๗๘; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๗๘

               เรื่องโกสิยะเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ จบ.               

 :smiley_confused1:


http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=14&p=5

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2015, 04:25:53 pm โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11
    ขออนุโมทนาสาธุ ครับ ท่านพี่
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา