สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: ปัญญสโก ภิกขุ ที่ พฤศจิกายน 03, 2016, 09:50:49 pm



หัวข้อ: ผม/ดิฉัน เป็นชาวพุทธ แต่ผม/ดิฉัน ไม่ถือศีลได้ไหม ครับ/ค่ะ !
เริ่มหัวข้อโดย: ปัญญสโก ภิกขุ ที่ พฤศจิกายน 03, 2016, 09:50:49 pm
 ask1

ชาวพุทธทั่วไป !
1.ผม/ดิฉัน เป็นชาวพุทธ แต่ผม/ดิฉัน ไม่ถือศีลได้ไหม ครับ/ค่ะ !
2.การกระทำตนเช่นไร จึงได้ชื่อว่า เป็นชาวพุทธ(พุทธมามกะ) ?

 :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: ผม/ดิฉัน เป็นชาวพุทธ แต่ผม/ดิฉัน ไม่ถือศีลได้ไหม ครับ/ค่ะ !
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ พฤศจิกายน 08, 2016, 06:10:19 pm
 ans1

ข้อ 1  :96:  คนไทยทุกวันนี้เป็นเยื่องนี้ แม้ว่าจะใส่บาตรทุกวันทุกเช้าตรู่ ก็ใช่ว่า ใจเป็นชาวพุทธ เพราะทานเป็นปกติของกัลยาณชน

ข้อ 2  :96:  ชาวพุทธเนื้อแท้เชื่อกรรม กลัวกรรม กระทำดี ครับ

ปล.คุณๆท่านๆ หยุดสร้างกรรมกันบ้างหรือยัง ก่อนที่จะเรียกตนเองว่า ชาวพุทธ



หัวข้อ: Re: ผม/ดิฉัน เป็นชาวพุทธ แต่ผม/ดิฉัน ไม่ถือศีลได้ไหม ครับ/ค่ะ !
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2017, 04:08:18 pm
ผมขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้แสดงความเห็นตามปุถุชนผู้ไม่รู้ไม่ถึงธรรม จึงอาจจะเป็นคำตอบที่ไม่น่าพึงพอใจ หรือไม่ถูกต้องดีงาม

- ธรรมชาติของคนทั่วไปแหละ ยังไม่แจ้งชัดในกรรม เหตุ ผล ของกรรมจึงยังไม่รู้จักเหตุและผลของการมีศีล ด้วยเหตุดังนี้แล้วจึงชื่อว่าเป็นเพียงสมมติสาวกซึ่งยังเพียงอาศัยศาสพุทธเป็นเครื่องยึดให้ตนมีศาสนา ความเชื่อ เหมือนคนธรรมดาทั่วไป
- ฉะนั้นเขาไม่ถือศีลสักแต่บอกว่านับถือศาสนาพุทธ จะว่าผิดก็คงไม่ได้ เพราะเขายังไม่ถึงปัญญาในธรรมนั้นเอง

1. ให้ทำความเข้าใจเรื่องกรรม(การกระทำทางกายวาจาใจในปัจจุบัน) และ วิบากกรรม(ผลจากการกระทำทางกายวาจาใจที่เราได้ทำมาแล้วในกาลก่อน)

เมื่อจะแก้ต่อคำถามนี้ ด้วยควมเห็นส่วนตัวผมเห็นว่า.. ก็ให้เขาเห็นเรื่องกรรม รู้ว่า เขามีกรรมเป็นของๆตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตามและอาศัย เขาจะทำกรรมใดไว้เป็นบุญหรือเป็นบาปเราจะเป็นทายาทได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป จิตของเรานี้ท่องเที่ยวไปในวัฏฏะสงสารไม่สิ้นสุด มีสังขารกรรมโดยความหมายว่า..เป็นสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรม ที่มีรูปลักษณ์ รูปร่างต่างๆนาๆให้จิตเราที่จรมา ปฏิสนธิเกิดขึ้นเกิดเป็นขันธ์ ๕ ที่เป็นในปัจจุบันนี้
- หากทำอกุศลกรรมมามาก เราก็มีขันธ์ ๕ ที่ไม่มีพลัง ไม่มีกำลัง ที่มีกำลังด้วยสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้เป็นไป ซึ่งเป็นที่อาศัอันจิตเราเข้ามาอาศัยปฏิสนธินั้นไม่เป็นที่เจริญใจ เช่น พิการ รูปร่างหน้าตาหยาบไม่งาม ยากจนค้นแค้นทำคุณไม่ขึ้น ทำสิ่งใดก็ฉิบหายไม่เจริญ ตกอับ มีแต่คนเกลียดชัง ถูกผู้อื่นทำร้ายกลั่นแกล้งให้ทุกทรมานเป็นนิตย์ กล่าวคือ..มีอายุ วรรณะ พละ ไม่ดี เป็นทุกข์
- หากเราทำกรรมดีเป็นกุศลกรรมมามาก เราก็มีขันธ์ ๕ ที่มีกำลังด้วยสังขารอันเกิดแต่วิบากกรรมให้เป็นไป ซึ่งเป็นที่อาศัอันจิตเราเข้ามาอาศัยปฏิสนธินั้นดีงาม สดใส ทำอะไรก็เจริญ มีแต่คนรักใคร่เอ็นดู มีขันธ์ ๕ ที่ดี มีฐานะดี มีอายุ วัณณะ สุขะ พละ ที่ดีงาม

พระพทุธเจ้าองค์พระบรมศาสดาเมื่อตรัสรู้ธรรมแล้วทรงพรญาณเห็นดังนี้จึงทรงพระกรุณาสอนให้ตั้งมั่นเจริญในกุศล ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ภาวนา เพราะสิ่งนี้คือกรรม เป็น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม, เพื่อให้สัตว์โลกทั้งหลายได้มีสังขารกรรม ขันธ์ ๕ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ที่ดีงามนั้นเอง เหตุดังนี้ชาวพุทธทั้งหลายเมื่อถึงซึ่งพระรัตนตรัยแล้วจึงต้องมี ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ภาวนา แต่หากเราเคารพนับถือในพระพุทธศาสนาจริงๆแต่ไม่อาจมี ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ภาวนาได้ นั่นเพราะเรายังสะสมเหตุของธรรมเหล่านี้ไม่เพียงพอ ไม่ถึงใจ หรือ ยังมีวิบากกรรมที่ปิดกั้นธรรมเครื่องกุศลของพระพุทธเจ้าอยู่ ดังนั้น เราก็ควรค่อยๆสะสมเหตุไป เช่นทำทุกวันพระให้เต็มวัน หรือเริ่มอธิษฐานทำจากเวลานี้ไปถึงเวลาโน้น ทำตื่นนอน ก่อนนอนจนหลับไป เวลาจะทำสิ่งที่ผิดศีลธรรมให้เราเว้นยั้งไว้ก่อน ค่อยๆให้มันห่างการกระทำที่เป็นอกุศลนั้นๆออกไป ทำสะสมไปเรื่อยๆ พร้อมพิจารณาดูข้อแตกต่างให้มันเห็นคุณและโทษที่มีศีลและไม่มีศีล ดูเทียบเคียงผลจากการมีศีลและไม่มีศีลให้มันลงใจ
เพราะ ศีล คือ เจตนาละเว้นความเบียดเบียน เจตนาละเว้นในอกุศลกรรมทั้งปวงนั่นเอง



2. ทำใจให้ผ่องใส เว้นจากความเบียดเบียน

เมื่อจะแก้ต่อคำถามนี้ ด้วยควมเห็นส่วนตัวผมเห็นว่า..วิธีปฏิบัติในการทำใจให้ผ่องใส เว้นจากความเบียดเบียน คือ..
- เคารพศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์
- กตัญญูรู้คุณ กตเวทีแทนคุณ พ่อ แม่ บุพการี และ ดูแลบริวาร
- รู้จักสละให้ ไม่เห็นแก่ตัวละความปรนเปรอตนเกินความจำเป็น
- เว้นจากความเบียดเบียน
- มีใจเอื้อเฟื้อผู้อื่น, เกื้อกูลผู้อื่น, ยินดีเมื่อผู้อื่นสำเร็จประโยชน์สุขสวัสดิ์ดี, ไม่ทำสิ่งใดด้วยความลำเอียง
- ทำใจให้ผ่องใส สงบ รู้จักปล่อยวาง

กล่าวโดยย่อ คือ ศรัทธา กตัญญู กตเวที ทาน ศีล พรหมวิหาร ๔ ภาวนา