ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”  (อ่าน 19123 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2010, 09:06:48 pm »
0

พระมงคลเทพมุนี(หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)

ที่มาของคำว่า  “สัมมา อะระหัง”

เหตุผลที่ใช้คำว่า สัมมา อะระหัง
          พระมงคลเทพมุนีสอนให้บริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง เป็นบทพุทธคุณ การที่ใช้คำนี้เป็นพุทธานุสติในการเจริญสมาธิเพราะพุทธานุสตินี้เป็นธรรม ประการต้นที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี สนใจปฏิบัติและสอนสานุศิษย์เป็นพิเศษทุกครั้งที่ปฏิบัติธรรมจะต้องให้ใจ ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ เพราะพุทธานุสติเป็นธรรมให้จิตตื่น ให้จิตสว่าง ให้จิตมีกำลัง มีความกล้าที่จะปฏิบัติธรรมสืบต่อไป
 
          ธรรมดาจิตของบุคคลถ้าไม่มีอะไรยึดแล้ว จิตจะคอยแต่ฟุ้งซ่าน ทำให้สงบอยู่ไม่ได้ จึงต้อง มีพุทธคุณยึด เมื่อมีพุทธคุณยึดแล้ว จะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม จิตย่อมอยู่ในการรักษา เพราะพุทธานุภาพย่อมรักษาคนที่มีสติระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์อยู่เป็น นิตย์ ดังพุทธภาษิตว่า


                           สุปฺปพุทฺธํ  ปพุชฺฌนฺติ                   สทา  โคตมสาวกา
                           เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ                    นิจฺจํ  พุทฺธคตา สติ


          แปลว่า สติที่ไปในพระพุทธเจ้ามีแด่พระสาวกของพระโคดมเหล่าใดทั้งวันทั้งคืน พระสาวกของพระโคดมเหล่านั้นจะหลับก็ตาม จะตื่นก็ตาม ชื่อว่า ตื่นแล้วด้วยดี

         อาศัยเหตุนี้พุทธานุสติจึงเป็นคุณธรรมที่ทำให้เกิดความสุขใจแก่ผู้ปฏิบัติ ธรรมเป็นประการแรก ดังนั้นพระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนีจึงสนใจ และเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ท่านเตือนพุทธบริษัทเสมอๆ ว่าอย่าให้เป็นคนว่าง ควรมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้จะยังไม่บรรลุอริยผลเบื้องสูงก็ตาม แม้เมื่อละโลก ก็มีสุคติเป็นที่ไป ดังพุทธพจน์ว่า

                          เยเกจิ พุทฺธํ สรณํ คตา เส               น เต คมิสฺสนฺติ อปายภูมึ
                          ปหาย มนุสฺสํ เทหํ                       เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ


          แปลว่า ชนเหล่าใดถึงซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นแลจักไม่ไปสู่อบาย เมื่อเขาละร่างกายนี้แล้วก็จะไปเพียบพร้อมอยู่ในเทวสมาคม

           สัมมา อะระหังเป็นถ้อยคำที่ศักดิ์สิทธิ์ สืบทอดกันมายาวนานเป็นพันปี ให้ไว้สำหรับผู้มีบุญ ในกาลก่อน กว่าจะได้คำนี้มาจะได้ด้วยความยากลำบาก ต้องบอกกันแบบมีพิธีการมาก เพื่อให้รู้คุณค่าของคำๆ นี้

 


ความหมายของคำว่า สัมมาอะระหัง
          1. สัมมา อะระหัง เป็นคำสากลที่ใช้ได้กับทุกคนในโลก โดยไม่ขัดแย้งกับความเชื่อใดๆ
         
คำว่าสัมมา แปลว่า ถูกต้อง ดีงาม ที่ถูกที่ชอบ เช่น มีความเห็นถูก คิดถูก พูดถูก ทำถูก เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม

         อะระหัง แปลว่า ห่างไกลจากสิ่งชั่วร้าย ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความโกรธ ความโศกเศร้า ความคับแค้นใจ ความร่ำพิไรรำพัน ความอาลัย หรือห่างไกลจากบาปอกุศล

         สัมมา อะระหัง จึงแปลรวมๆ ว่า ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และไกลจากสิ่งชั่วร้าย จากบาปอกุศล ความโลภ ความโกรธ ความหลง


         2. สัมมา อะระหัง เป็นภาษาบาลี มีศัพท์ควบคู่กันอยู่ 2 ศัพท์คือ สัมมาคำหนึ่ง กับอะระหังคำหนึ่ง
           2.1 สัมมา เป็นศัพท์ที่มีความหมายสูง แปลว่า ชอบ ดีงาม ถูกต้อง ในพระพุทธคุณ 9 บท    ท่านเอาศัพท์ นี้เข้าคู่กับสัมพุทโธ เป็นสัมมาสัมพุทโธ แปลว่า ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ นอกจากใช้ในบทพุทธคุณแล้วยังใช้ ในอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วย โดยมีคำว่า สัมมา ควบองค์มรรค อยู่ทุกข้อเป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นต้น ทำให้ความหมายของมรรค 8 หมายถึง ถูกต้อง สิ่งที่ดีงาม ตั้งแต่เห็นถูก คิดถูก  พูดถูก ทำถูก เป็นต้นเรื่อยไป

           2.2 ส่วนศัพท์ว่า อะระหัง เป็นพุทธคุณบทต้น แปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ เมื่อรวมเป็นสัมมาอะระหัง จึงแปลว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นพระอรหันต์โดยชอบ



     นอกจากนี้ อะระหัง ยังแปลว่าไกลจากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย หมายถึง ไกลจากกิเลส คือ กิเลสไปไกลๆ เพราะใจของเราห่างจากกิเลส ห่างจากความมืด ห่างจากความทุกข์ทรมาน ห่างจากความเลว ห่างจากสิ่งไม่ดี มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ จึงได้ชื่อว่า อะระหัง คือ มีแต่ความบริสุทธิ์ล้วนๆ ไม่มีสิ่งที่ เป็นมลทินเข้าไปเจือปนเลยแม้แต่นิดเดียว ถ้าเป็นเพชร ก็เป็นเพชรที่ใส ไม่มีมลทิน ไม่มีขีด ไม่มีข่วน ไม่มีไฝฝ้า เป็นเพชรที่ใสทั้งเนื้อทั้งแววทั้งสี สวยงามไม่มีที่ติทีเดียว

          คำว่า อะระหัง นี้ยังเป็นคำแทนของพระธรรมกาย ซึ่ง เป็นผู้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งหลาย เป็นผู้รู้แจ้งเพราะเห็นแจ้ง ญาณทัศนะเกิด เพราะว่ามีธรรมจักขุมองเห็นสว่างไสว เห็นถึงไหน รู้ถึงนั่น เป็นผู้ตื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่งัวเงีย ไม่เหมือนอยู่ในโลกของความฝัน ตื่นมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง  คือรู้เรื่องความจริงทั้งหมด เห็นว่าอะไรเป็นจริง อะไรไม่จริงก็เห็นว่ามันไม่จริง อะไรจริงก็เห็นว่ามันจริง หลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้นจนกระทั่งใจขยายไม่มีที่ สิ้นสุดที่เรียกว่าเบิกบานเหมือนอาการบานของดอกไม้

          ดอกไม้ที่น้ำเลี้ยงดอกไม้มันเต็มที่ก็ขยายส่งกลิ่นหอมไปไกลทีเดียว ขยายออกไป ใจที่เบิกบาน คือใจที่หลุดจากข้อง จากที่แคบ จากภพทั้งหลาย จากสิ่งที่ทำให้อึดอัดที่ทำให้คับแคบ ให้วิตกกังวล เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม อะไรต่างๆ หลุดหมดเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง ขยายไปไม่มีที่สิ้นสุด

          สัมมา อะระหัง โดยสรุปแล้วหมายถึง การเข้าถึงสิ่งอันประเสริฐ หรือสิ่งประเสริฐสูงสุดที่มนุษย์จะพึงเข้าถึงได้ คือพระธรรมกายในตัวนั่นเอง จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้เห็นว่า คำว่า สัมมา อะระหัง จึงเป็นถ้อยคำที่ถูกกลั่นกรองและคัดเลือกแล้ว เพื่อนำมาใช้เป็นคำภาวนาที่เหมาะสมที่สุดในการภาวนา




อ้างอิง คัดลอกมาจากหนังสือสมาธิ 2
ที่มา  http://main.dou.us/view_content.php?s_id=55&page=7
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 09:43:15 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2010, 08:06:13 am »
0
สัมมาอะระหัง เป็นคำภาวนาใน ในอธิษฐาน กรรมฐาน

คำภาวนาจริง ใช้คำว่า พุทโธ


แต่เป้าหมายของ สัมมาอะระหัง มีเป้าหมายเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ที่งาม ที่ถูก

แต่สุดท้าย คงเหลือ อะระหัง เพราะว่า พระอรหันต์ นั้นถูกอยู่แล้ว จึงไม่มีคำว่า สัมมา ( ถูกต้อง )

ดังนั้น การตั้งจิต เพื่อให้ บรรด พุทธสาวก ตระหนักในการภาวนา เพื่อ การเป็น พระอรหันต์

เพื่อไม่หลง ไม่ลืม เป้าหมายในการภาวนา
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คำว่า สัม มา อะ ระ หัง อยู่ในคำอธิษฐานอาราธนาพระกรรมฐาน
(เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการขึ้นกรรมฐาน กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ)]

๖. กล่าวคำอธิษฐานอาราธนาพระกรรมฐาน
   (บัดนี้)ข้าพเจ้าขอภาวนา ”พระพุทธเจ้า” เพื่อจะขอเอายัง “พระลักษณะ” “พระขุททกาปิติธรรมเจ้า” นี้จงได้
        ขอพระพุทธเจ้า จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระธรรมเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระอริยะสงฆ์เจ้าตั้งแรกแต่ พระมหาอัญญาโกณฑัญญะเถระเจ้าโพ้นมา ตราบเท่าถึงพระสงฆ์สมมุติในกาลบัดนี้ จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระอริยะสงฆ์องค์ต้น อันสอนพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด
        ขอพระกรรมฐานเจ้าทั้งมวล จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้านี้เถิด


        อุกาสะ อุกาสะ ในที่นี้เล่า ข้าพเจ้าขอปฏิบัติบูชาตามคำสั่งสอนของพระสัพพัญญูโคดมเจ้า
        เพื่อจะขอเอายัง “พระลักษณะ” “พระขุททกาปิติธรรมเจ้า” นี้จงได้
        ขอจงเจ้ากูมาปรากฏบังเกิดอยู่ใน จักขุทวาร มโนทวาร กายทวาร แห่งข้าพเจ้านี้เถิด


        อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชา จรณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถาเทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
        สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง สัมมาอะระหัง
        อะระหัง อะระหัง อะระหัง

        (กราบ ๑ ครั้ง เตรียมนั่งกรรมฐาน)

หมายเหตุ
   คำที่ขีดเส้นใต้ ในเบื้องต้นผู้ที่เริ่มต้นฝึกกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จะต้องอธิษฐานอย่างนี้ก่อน ภายหลังมีความชำนาญแล้ว พระอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน จะบอกให้เปลี่ยนคำอธิษฐานไปโดยลำดับ ตามขั้นตอนในหลักสูตรของกรรมฐานต่อไป



ที่มา ขั้นตอนการขึ้นกรรมฐาน "กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6273.msg23268#msg23268
ขอบคุณภาพจากเว็บสมเด็จสุก


     ก่อนที่จะปฏิบัติภาวนาทุกครั้ง ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ จะต้องกล่าวคำอธิษฐานนี้
      :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: เมษายน 06, 2012, 06:54:08 pm »
0
อนุโมทนา ครับ ทะยอยอ่านเิพิ่มความรู้ครับ มีเรื่องดี ๆ ที่ไม่ได้อ่านอีกเป็นจำนวนมากในเรื่องเกี่ยวกับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับครับ


  :c017: :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 07, 2012, 08:51:19 am »
0
สัมมาอะระหัง เป็นคำภาวนาใน ในอธิษฐาน กรรมฐาน

คำภาวนาจริง ใช้คำว่า พุทโธ


แต่เป้าหมายของ สัมมาอะระหัง มีเป้าหมายเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ที่งาม ที่ถูก

แต่สุดท้าย คงเหลือ อะระหัง เพราะว่า พระอรหันต์ นั้นถูกอยู่แล้ว จึงไม่มีคำว่า สัมมา ( ถูกต้อง )

ดังนั้น การตั้งจิต เพื่อให้ บรรด พุทธสาวก ตระหนักในการภาวนา เพื่อ การเป็น พระอรหันต์

เพื่อไม่หลง ไม่ลืม เป้าหมายในการภาวนา


    สั้น ๆ แต่เข้าใจง่าย นะครับ สาธุ สาธุ สาธุ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2015, 10:14:09 am »
0
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 08:17:47 pm »
0

      เกี่ยวกับ สัมมา อรหัง
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 01:50:08 am »
0
 st12 st12 st12 st12 thk56 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บรรดา อรหันต์ มีมากมาย จริง ในครั้ง พุทธกาล ดังนี้
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 02:58:19 pm »
0
1. อรหันต์ ในบ้าน นั่น คือ พ่อ แม่
   ใคร ฆ่าพ่อแม่ มีโทษเช่นเดียวกับ ฆ่า พระอรหันต์ ใครบำรุง เลี้ยงดู  พ่อแม่ อันนี้ถือว่าเป็น บุญ มีบุญ แต่ บุญก็ไม่เทียบเท่า กับ พระอรหันต์ฺจริง ๆ เพราะพ่อแม่ ถึงเป็นพระอรหันต์ ในบ้าน แต่นอกบ้าน อาจจะเป็นจอมมาร ก็ได้ หรือ บางคนซวยหน่อย เป็น จอมมาร ทั้งในบ้าน นอกบ้าน

   แต่ถึงอย่างไร พ่อแม่ ที่เป็นจอมมาร บุตร ก็ไม่พึง ประหาร พ่อแม่ เพราะถึงเป็นจอมมาร เลวขนาดไหนก็ตามแต่ โทษ ก็เท่ากับฆ่า พระอรหันต์ เป็น อเวจี นะ


2.อรหันต์ แต่งตั้ง โดย มติของศิษย์ ( 5 5 5 5 )
    สมัยครั้งพุทธกาล คราว พระที่เศรษฐี นำบาตรอันมีค่า ไปแขวนบนยอดไม้ เพื่อให้บรรดา เจ้าลัทธิต่าง ๆ ที่อวดอ้าง ว่าเป็นพระอรหันต์ ให้แสดงฤทธิ์ ขึ้นไปเอาบาตร ในครั้งนั้นก็มี การแสดง มารยา ทั้งครูและศิษย์ ร่วมกันมากมาย
    เช่นบางพวก ครูทำท่าจะเหาะขึ้นไปเอา แต่ลูกศิษย์ ก็ฉุดแขน ฉุดขา บอกว่า อย่าทำ แล้วก็พากันไปขอให้เศรษฐีมอบบาตรนั้นให้ อย่าต้องให้ครูของเราต้องแสดง อะไร เลย ( อย่างนี้เป็นต้น )

3.พระอรหันต์ จิตสร้าน คือพระที่ปฏิบัติ นี่แหละ

    สมัยครั้งพุทธกาล มีพระกล่าวว่า ตนเอง เป็นพระอรหันต์มากมายในสมัย นั้น ก็เพื่อ เหตุหลายอย่าง เช่น ลาภสักการะ ศิษย์มวลชน ยศถาบรรดาศักดิ์ จากผู้ครองเมือง ในสมัย นั้น ครั้งนั้นพระพุทธเจ้า ได้ประทาน วิธีการสอดส่อง ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเป็นพระอรหันต์ ไว้สองแบบ

   คือ แบบที่ 1 เป็นพระอรหันต์ สุกขวิปัสสก ใช้วิธีตรวจสอบคือ การแสดงโวหาร 4 ถามตอบ โดยคำถาม 4 ประการ ผู้ที่เป็นพระอรหันต์ จริง ๆ จึงจะตอบได้ ในหนังสือ พระไตรปิฏก ไม่ได้เฉลยคำตอบไว้ทั้งหมด ตอนแรกที่อ่าน ถ้าตอบแบบนี้ มันก็พิสูจน์ยาก แต่ครั้นครูอาจารย์ ท่านสอนเพิ่มเติม จึงบางอ้อ

      แบบที่ 2 เป็นพระอรหันต์ ผู้ที่ อัปปนาจิต ใช้วิธีตรวจสอบ คือ การใช้ ทิพยจักษุตรวจดู ลัญจกร แต่ผู้ที่มี ทิพยจักษุ นี้ ไม่ได้เป็นกันทุกรูป ทุกองค์ แต่ก็ยังมีถ่ายทอดมาในสาย พระอนุรุทธ พระมหากัจจายนะ พระราหุล เป็นต้น

 4.พระโสดาบัน ที่พึ่งเข้า อริยะผล
   อันนี้สำคัญ ส่วนใหญ่ เข้าใจว่า เป็นพระอรหันต์กันปเลย ทำให้เสียเวลา ส่วนมากจะเป็นกับผู้ปฏิบัติเอง โดยไม่มีครูอาจารย์ พอถึงวิมุตติ ผลสมาบัติ มันจะคล้ายกัน เพราะ พระอริยะบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน เข้าผลสมาบัติ ได้เหมือนกัน ทุกระดับ

 5. พระอรหันต์ ที่ผ่าน ขั้นตอน ของ โสฬสญาณ

   
  เจริญพร

   

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของคำว่า “สัมมา อะระหัง”
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 08:00:16 pm »
0

       ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา