สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 24, 2020, 07:30:38 am



หัวข้อ: ที่มาของเรื่องเล่า "พระเจ้าตากสินตัวจริง" หนีไปนครศรีธรรมราช
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 24, 2020, 07:30:38 am

(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2016/07/12998359_868549466607780_4808732811756952508_o-1-696x505.jpg)
พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วัดปากพิงตะวันตก อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก


ที่มาของเรื่องเล่า "พระเจ้าตากสินตัวจริง" หนีไปนครศรีธรรมราช

เอกสารทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ตรงกันว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถูกประหารชีวิตแล้วนำศพไปฝังที่วัดบางยี่เรือใต้ แต่ 2 ปีต่อมา รัชกาลที่ 1 กลับให้ขุดหีบศพขึ้นมาทำพิธี จึงกลายเป็นคำถามว่าเป็นเพราะเหตุใด การขาดหายของเหตุผลต่อเหตุการณ์ในอดีตจึงเป็นช่องว่างทางประวัติศาสตร์ให้ปัจจุบันได้หยิบยกขึ้นมาขบคิดแล้วนำมาบันทึกเป็นเรื่องเล่าชุดใหม่ว่าการประหารชีวิตที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ไม่ใช่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์จริง

วรรณกรรมเรื่องใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2492 แต่งโดย หลวงวิจิตรวาทการ เป็นเรื่องแรกที่นำเสนอเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์ปลอมยอมถูกประหารชีวิตตัดศีรษะที่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วพระองค์จริงสามารถหลบหนีไปได้ โดยได้อธิบายไว้อย่างกลมกลืนกับข้อเท็จจริงในประวัติศาสตร์ในช่วงนั้น ดังนี้

“บุคคลที่ถูกประหารชีวิต คือหลวงอาสาศึก เขาตายด้วยความยินดี ไม่มีอะไรจะทำความปลาบปลื้มให้แก่เขาเท่ากับที่ได้ตายแทนมหาบุรุษผู้กู้ชาติ เขาตั้งคอรับคมดาบด้วยความเต็มใจ เขาตายโดยไม่รู้ว่าเขาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยา ศพของเขาได้ถูกนำไปฝังไว้ที่วัดบางยี่เรือใต้ ในขณะเดียวกันที่สำเภาลำใหญ่พาพระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปยังนครศรีธรรมราช” (ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน, 2544 : 356-357)

เหตุการณ์ข้างต้นยังคงดำเนินไปอย่างปกติด้วยการประหารชีวิตตัดศีรษะบุคคลที่เชื่อว่าเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วศพก็ยังคงนำไปฝังไว้ที่วัดบางยี่เรือใต้ตามเอกสารประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ แต่บุคคลที่ถูกประหารนั้นคือหลวงอาสาศึกที่แสดงเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่างนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์จริงก็เดินทางออกจากกรุงธนบุรีได้อย่างปลอดภัย…”



หมายเหตุ : เนื้อหานี้คัดบางส่วนจากบทความเรื่อง รัชกาลที่ ๑ รออะไรถึง ๒ ปี ถึงขุดหีบศพพระเจ้าตากฯ มาเผา “หรือว่าพระเจ้าตากฯ ยังไม่ตาย” เรื่องเล่าจากช่องว่างทางประวัติศาสตร์ โดย ปฐมพงษ์ สุขเล็ก ใน นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเมษายน ๒๕๕๙

เผยแพร่ ; วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2563
แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาในออนไลน์ : เมื่อ 30 ธันวาคม 2561
ขอบคุณ : https://www.silpa-mag.com/history/article_1119 (https://www.silpa-mag.com/history/article_1119)