ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า  (อ่าน 6494 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                   มีกล่าวไว้ใน อโยคุฬสูตร ว่า ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้างลงสู่ สุขสัญญา และลหุสัญญา ในกายอยู่สมัยนั้น
            กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงาน กว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ
             ดูกรอานนท์ เปรียบเสมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังคํ่า ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติฉันใด สมัยใดตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่ สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคต ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติและผุดผ่องกว่าปกติ ฉันนั้นเหมือนกัน
              ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคต ตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กายก้าวลงสู่ สุขสัญญาและลหุสัญญา ในกายอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคต
             ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หรือ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
             ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่น หรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใดตถาคต ตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา อยู่สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน
           ดูกรอานนท์ สมัยนั้นกายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศ ได้โดยไม่ยากเลย
           ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หรือหลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ใช้อํานาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้................................
                           ที่มาจาก..อโยคุฬสูตร
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2012, 08:26:07 pm »
0
บอกเล่ม และหน้า ได้หรือไม่ครับ น่าสนใจมากครับ
 :c017: :s_good:
 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2012, 07:20:15 pm »
0
บอกเล่ม และหน้า ได้หรือไม่ครับ น่าสนใจมากครับ
 :c017: :s_good:
 

   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙
   พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
   อโยคุฬสูตร ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์

   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙  บรรทัดที่ ๗๐๒๘ - ๗๐๖๕.  หน้าที่  ๒๙๓ - ๒๙๔.
   http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=7028&Z=7065&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1208
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์ ของพระพุทธองค์
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้อธิบาย เรื่องการ สุขสมาธิ  หรือ สุขสัญญา ที่ใช้ฤทธฺ์ ได้ดี มากครับ แต่เราเองก็ยังประกอบความเพียรยังไม่ถึงขึ้นนั้น ๆ เลยครับ ถึงแม้ว่าอ่านจะเข้าใจ แต่ความเป็นจริง ก็ยังทำไม่ได้ครับ

   thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2013, 09:38:17 am »
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

อโยคุฬสูตร
ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์

    [๑๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ?
     พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.
     อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้?
     พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.


    [๑๒๐๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ทั้งไม่เคยมีมาแล้ว.
     พ. ดูกรอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคยมีมา
.



    [๑๒๑๐] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย
               ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่
               สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ
               ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ
.


     [๑๒๑๑] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้นกายของตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติฉันนั้นเหมือนกัน.

     [๑๒๑๒] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต
     หรือตั้งจิตลงไว้ที่กายก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่
     สมัยนั้น กายของตถาคต ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย
     ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายคน คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
     ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.



      [๑๒๑๓] ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็นเชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

      [๑๒๑๔] ดูกรอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย
      ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ
     ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.


      จบ สูตรที่ ๒


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๗๐๒๘ - ๗๐๖๕. หน้าที่ ๒๙๓ - ๒๙๔.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=7028&Z=7065&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1208
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2013, 09:56:19 am »
0

พุทธประวัติ ตอน ยมกปาฏิหาริย์

อัปโหลดเมื่อ 19 ม.ค. 2012 โดย watintaram

อรรถกถา สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อิทธิปาทสังยุตต์ อโยคุฬวรรคที่ ๓
๒. อโยคุฬสูตร

     คำว่า อันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ คือ สำเร็จมาจากมหาภูตทั้ง ๔ นี้ แม้เป็นภาระ เป็นของหนักอย่างนี้.
     คำว่า โอมาติ ได้แก่ ย่อมเพียงพอ คือ ย่อมสามารถ.
     บทนี้เป็นบทที่ไม่แตกต่างในพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก.


     คำว่า ย่อมตั้งแม้กายไว้ในจิต ได้แก่ ถือเอากายมาไว้ในจิต คือทำให้อาศัยจิต ส่งไปในคติของจิต. ที่ชื่อว่าจิต หมายเอามหัคคตจิต. การไปของคติแห่งจิต ย่อมเป็นของเบาเร็ว.
     คำว่า ย่อมตั้งแม้จิตไว้ในกาย ได้แก่ ยกเอาจิตมาไว้ในกาย คือทำให้อาศัยกาย ส่งไปในคติของกาย กรัชกายชื่อว่ากาย. การไปของคติแห่งกายเป็นของช้า.


     คำว่า สุขสัญญา และลหุสัญญา หมายถึง สัญญาที่เกิดพร้อมกับอภิญญาจิต.
     จริงอยู่ สัญญานั้น เพราะประกอบด้วยสุขสงบ จึงชื่อว่า สุขสัญญา
     และเพราะไม่มีความประพฤติชักช้าเพราะกิเลส จึงชื่อว่า ลหุสัญญา

     คำว่า ก้อนเหล็กที่เผาไฟ อยู่วันยังค่ำย่อมเบากว่าปกติ ความว่า ก็แล ก้อนเหล็กนั้นถูกคนสองสามคนช่วยกันยกใส่ในเตาช่างเหล็ก ถูกเผาอยู่ตลอดวัน เป็นสิ่งที่ไปด้วยกันกับลม เพราะไฟที่ใส่เข้าไปตามช่อง และเพราะลมเป็นของที่ไปด้วยกันกับไอ และเป็นของที่ไปด้วยกันกับไฟอย่างนี้จึงกลายเป็นของเบา.

     ช่างเหล็กเอาคีมใหญ่มาคีบจับมันด้านหนึ่งพลิกไปมา ยกขึ้นเอาออกมาข้างนอกฉันใด กายของพระตถาคตก็ฉันนั้น ย่อมอ่อนและเหมาะแก่การงาน. ช่างเหล็กจะตัดมันเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ จะเอาค้อนมาทุบทำต่างด้วยรูปสี่เหลี่ยมยาวเป็นต้นได้ฉันใด ในพระสูตรนี้ทรงแสดงการแผลงฤทธิ์ฉันนั้น.

               จบอรรถกถาอโยคุฬสูตรที่ ๒ 
             

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1208
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 05, 2013, 10:34:56 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2013, 10:22:04 am »
0


มหาภูตรูป ๔

มหาภูตรูป ๔ ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต
    มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่าเป็นแม่ธาตุ หรือ ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่นๆจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้ จะอยู่รวมกันเสมอไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้เลย แม้ในธาตุทั้ง ๔ ก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย
    ธาตุดิน จะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม




๑. ปฐวีธาตุ คือ ธาตุดิน เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ถ้ามีธาตุดินอยู่มากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน ถ้ามีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้ำ เป็นต้น ธาตุดินมี ๔ อย่าง
 
    ๑. ดินแท้ (ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี)
    หมายถึง  ลักษณะที่ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่าง ๆ ที่เราสามารถสัมผัส ถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
 
    ๒. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี)
    หมายถึง  ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น ที่ดิน แผ่นดิน พื้นดิน ดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทำไร่ไถนา เป็นต้น
 
    ๓. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารปฐวี
    หมายถึง  ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็กทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น
 
    ๔. ดินที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี)
    หมายถึง  ดินที่นำมาทำเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตร เพื่อนำมาเพ่งให้เกิดสมาธ ิใช้เป็นอารมณ์ในการ เจริญสมถกรรมฐาน 

 



๒. อาโปธาตุ คือ ธาตุน้ำ มี ๔ อย่าง
 
    ๑. น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป)
    หมายถึง  ลักษณะที่ไหล หรือ เกาะกุมของวัตถุต่าง ๆ จะรู้ได้ด้วยใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย 
 
    ๒. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป)
    หมายถึง  น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น 
 
    ๓. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารอาโป
    หมายถึง  ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคน และสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เลือด เสมหะ เหงื่อ เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น
 
    ๔. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป)
    หมายถึง  น้ำที่นำมาใส่ในขัน อ่าง หรือ ในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่ง ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

 



๓. เตโชธาตุ  คือ ธาตุไฟ มี ๔ อย่าง
 
    ๑. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช)
    หมายถึง  ลักษณะที่ร้อนหรือเย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่างๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ ก็เพราะเตโชธาตุนี้เอง ทำให้สุก อ่อน หรือ นุ่มนวล ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุนี้เอง ทำให้สุก อ่อน หรือ นุ่มนวล เช่น อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น
 
    ๒. ไฟสมมุติ (สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช)
    หมายถึง  ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟแก๊สหุงต้ม เป็นต้น
 
    ๓. ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารเตโช
    หมายถึง  ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหมายซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ คือ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายแก่ชรา ทำให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหาร ด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่ว ๆ ไป
 
    ๔. ไฟที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช)
    หมายถึง  ไฟที่ทำขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทำให้เกิดสมาธิ หรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

 



๔. วาโยธาตุ คือ ธาตุลม มี ๔ อย่าง
 
     ๑. ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย)
     หมายถึง  ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ การไหวร่างกาย การกระพริบตา การตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทำให้ท้องตึงจุกเสียด เป็นต้น
 
     ๒. ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย)
     หมายถึง  ลมที่เรียกกันทั่ว ๆ ไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ
 
     ๓. ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร) เรียกว่า สสัมภารวาโย
     หมายถึง  ลมต่าง ๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่ำ เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้อง ทำให้ปวด เสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทำให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ยังหมายถึง ลมภายนอกทั่ว ๆ ไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่าง ๆ ด้วย
 
     ๔. ลมที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย)
     หมายถึง  ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณ เพื่อให้เกิดสมาธิ หรือเกิดฌาน โดยการกำหนดเพ่งเอาธาตุลม ที่ทำให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.buddhism-online.org/Section05A_01.htm
http://buddhism-online.org/Section05A_02.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2013, 10:28:22 am »
0

มหาภูตรูปทั้ง ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และ ธาตุลม บางธาตุก็เข้ากันได้คือเป็นมิตรกัน บางธาตุก็เข้ากันไม่ได้ไม่เกื้อกูลกัน คือ เป็นศัตรูซึ่งกันและกัน
         
ธาตุดิน กับ ธาตุน้ำ เป็นมิตรต่อกัน
      ธาตุดิน และธาตุน้ำ ต่างก็เป็นธาตุที่มีน้ำหนักด้วยกันทั้งสองธาตุ เกื้อกูลเข้ากันได้ไม่เป็นศัตรูต่อกัน น้ำจะช่วยประสานเกาะกุมให้ดินเกาะติดกัน เช่น เวลาสร้างบ้านเรือนน้ำจะเป็นตัวประสานทำให้หิน ทราย ปูน ซึ่งเป็นธาตุดิน ที่เกาะติดกันสร้างเป็นอาคารบ้านเรือนขึ้นมาได้ แม้แต่พืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ ที่ปลูกไว้บนดิน ก็ต้องอาศัยน้ำเกื้อกูล ทำให้เจริญงอกกงามขึ้นมา

         
ธาตุไฟ กับ ธาตุลม เป็นมิตรต่อกัน
     ธาตุไฟ และธาตุลม เป็นธาตุที่เบาเหมือนกัน จะเป็นมิตรเกื้อกูลกันไม่เป็นศัตรูต่อกัน เวลาจุดไฟถ่านหุงข้าว ก็ต้องใช้พัดโบกลมช่วยให้ถ่านติดเร็ว เวลาไฟไหม้ลมจะทำให้ไฟลุกขยายไปด้วยความรวดเร็ว

         
ธาตุที่เป็นศัตรูกัน คือ ดิน กับ ไฟ และ น้ำ กับ ลม
     เพราะเป็นธาตุที่มีความหนักเบาต่างกันจึงไม่เกื้อกูลกัน นอกจากนั้น แม้ในธาตุเดียวกันก็เป็นศัตรูซึ่งกันและกันด้วย เพราะในธาตุเดียวกันนั้นมี ๒ ลักษณะ คือ
         
ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน)  มีลักษณะ แข็งหรืออ่อน ความแข็งทำลายความอ่อน และความอ่อนก็ทำลายความแข็งเช่นเดียวกัน
อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) มีลักษณะ ไหลหรือเกาะกุม ความไหลเป็นตัวทำลาย การเกาะกุม
เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) มีลักษณะ ร้อนหรือเย็น ความร้อนและความเย็น ก็ทำลายกัน
วาโยธาตุ (ธาตุลม) มีลักษณะ ไหวหรือเคร่งตึง ซึ่งเป็นภาวะที่ทำลายกันและกัน


ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section05A_02.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อโยคุฬสูตร "เรื่องสุขสัญญา ลหุสัญญา"ของพระตถาคตเจ้า
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2013, 11:04:32 am »
0


อธิบายผู้มีฤทธิ์แสดงฤทธิ์
(ยกมาแสดงบางส่วน)

คำว่า ด้วยตาทิพย์ คือ ภิกษุผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ ณ ที่นี้เอง ทำแสงสว่างให้ขยายออกแล้วมองเห็นรูปของพรหมนั้น และยืนอยู่ ณ ที่นี้เอง เมื่อพรหมนั้นกล่าวก็ได้ยินเสียง และรู้วาระจิตของเขาได้

คำว่า น้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งกาย คือ น้อมจิตไปด้วยอำนาจแห่งกรัชกาย คือ ยึดจิตซึ่งมีฌานเป็นบาทวางลงในกาย คือ ทำให้คล้อยตามร่างกายให้ไปช้า ๆ เพราะว่าการไปด้วยกายเป็นของช้ากว่าใจ

คำว่า หยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา คือ หยั่งลง, เข้าไป, ถูกต้อง, ถึงพร้อม ด้วยสุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับจิตที่มีฤทธิ์ซึ่งมีฌานเป็นบาทเป็นอารมณ์
     ที่ชื่อว่าสุขสัญญา ได้แก่สัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขา จริงอยู่ อุเบกขาท่านกล่าวว่า เป็นสุขอันสงบ ก็สัญญานั้นนั่นแหละ
     พึงทราบ ชื่อว่าลหุสัญญาก็ได้ เพราะพ้นจากนิวรณ์และข้าศึกมีวิตก เป็นต้น
     ก็เมื่อภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้นหยั่งลงสู่สัญญานั้น แม้กรัชกายก็เบาปานปุยนุ่น เธอย่อมไปได้ถึงพรหมโลกพร้อมทั้งร่างกายที่เบาและมองเห็นกันอยู่นี้แหละ ดุจปุยนุ่นซึ่งถูกลมพัดลอยขึ้นไปได้แล้วฉะนั้น ก็เมื่อไปอย่างนี้


     ถ้าต้องการก็จะนิรมิตหนทางในอากาศด้วยอำนาจปฐวีกสิณไปได้ด้วยเท้า
     หรือถ้าต้องการจะอธิษฐานเป็นลมด้วยอำนาจวาโยกสิณไปตามลมดุจปุยนุ่นก็ได้
     อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นผู้ต้องการจะไปนั่นแหละเป็นสำคัญในปาฏิหาริย์นี้ เพราะเมื่อมีความพอใจจะไปอยู่ เธอทำการอธิษฐานจิตอย่างนี้แล้ว อันกำลังแห่งการอธิษฐานส่งขึ้นไปแล้ว ย่อมลอยไปอย่างเห็น ๆ อยู่ ดุจลูกศรที่นายขมังธนูยิงขึ้นไปฉะนั้น


คำว่า น้อมกายไปด้วยอำนาจของใจ คือ ยึดเอากายไปวางไว้ที่จิต (ทำกายให้เบาเหมือนจิต) คือเอาเยี่ยงอย่างใจ ได้แก่ไปได้เร็วเหมือนใจ จริงอยู่ การไปของใจเป็นอาการที่รวดเร็ว

คำว่า หยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา คือ หยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับจิตซึ่งมีฤทธิ์มีรูปกายเป็นอารมณ์
   .....ฯลฯ.....


อ้างอิง
วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๑๒ อิทธิวิธนิเทศ หน้าที่ ๒๗๑ - ๒๗๕
th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๒_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๑๒_อิทธิวิธนิเทศ_หน้าที่_๒๗๑_-_๒๗๕
วิสุทธิมรรค เล่ม ๒ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๑๒ อิทธิวิธนิเทศ หน้าที่ ๒๗๖ - ๒๗๙
th.wikisource.org/wiki/วิสุทธิมรรค_เล่ม_๒_ภาคสมาธิ_ปริเฉทที่_๑๒_อิทธิวิธนิเทศ_หน้าที่_๒๗๖_-_๒๗๙
ขอบคุณภาพจาก http://www.mahamodo.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ