ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สังโยชน์ 10 ประการ ดัชนีวัดผลความสำเร็จในการภาวนา  (อ่าน 28935 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
ต้องขออภัยคุณกัลยา ที่นำข้อความจากวิปัสสนาที่คุณโพสต์ไว้เป็นไฟล์แนบ ผมเห็นผู้ดาวน์โหลด 3 คนเนื่องจากถ้าไม่เป็นสมาชิกจะไม่เห็นไฟล์แนบ ผมลองโหลดแล้วนั่งอ่านดูเห็นว่าผู้เรียบเรียงนั้น เรียบเรียงไ้ว้ดีโดยเฉพาะเรื่องสังโยชน์ 10 และประเภทของพระอริยะ ผมจึงขออนุญาต นำมาโพสต์ให้เพื่อนสมาชิกที่ไม่ได้สมัครได้อ่านข้อความดี ๆ อย่างนี้บ้างนะครับ

-------------------------------------------------------------------------------
สังโยชน์ 10 มีดังนี้
1.สักกายะทิฏฐิ   มีความเห็นว่าเราไม่มี ไม่มีเรา ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีเราเป็นตัวตน เป็นเพียง รูปและนาม เกิดดับ เท่านั้น รู้ได้ด้วยอารมณ์ใจ เป็นบาทฐานแห่ง ปัญญาที่จะเข้าถึง พระไตรลักษณ์

2.วิจิกิจฉา สิ้นความสงสัย ในการปฏิบัติ และ พระรัตนตรัย ในเรื่องการเวียนว่าย ตายเกิด นั้นต้องไม่สงสัย นิพพาน ต้องไม่สงสัย พูดง่าย ๆ ความสงสัย ในธรรมะ ไม่มี เมื่อความสงสัยในธรรมะ ไม่มี ความสงสัย ในพระพุทธเจ้า และ พระสงฆ์ จึงไม่มี เมื่อไม่มีความสงสัย ในพระรัตนตรัย จึงมีความเคารพอย่างสูง และ ระมัดระวัง เอาใจใส่ ใคร่ครวญ ต่อพระรัตนตรัย อย่างมาก ถึงตอนนี้ จะมีการแสดงออกมา ด้วยกาย ด้วยวาจา จากใจไม่มีอ้ำอึ้งกับพระรัตนตรัย จะไม่อาย ที่จะแสดงออก ต่อพระรัตนตรัย ทั้งต่อหน้า และ ลับหลัง แม้ต่อหน้าตนเอง และผู้อื่น ข้อนี้ สำคัญมาก เพราะถ้าไม่ผ่านด่านนี้ไปได้ก็ไม่ต้องพูด หรือ ภาวนาที่เหลือ เลย

3.สีลัพพะตะปะรามาส ไม่สำคัญผิด จากความเห็นเนื่องจากการปฏิบัติผิด จากธรรมเนียม ความหลงผิดจากระเบียบแบบแผน  เพราะฉะนั้นท่านผู้ที่ทำได้ถึงตรงนี้ จึงมั่นคงในศีล  คือตั้งใจรักษาศีลอย่างมั่นคง ไม่ยุยงให้ผู้อื่นผิดศีล และไม่ยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นผิดศีล และไม่ทุกข์ หรือ เดือดร้อนเพราะการมีศีล
4.กามราคะ ไม่ยึดมั่นกำหนัดหรือชอบใจ ในการหลงรูป หลง เสียง หลงกลิ่น หลงรส หลงสัมผัส ไม่พอใจด้วยอารมณ์ ถึงตรงนี้แล้ว กายคตาสติ จะเกิดขึ้นอย่างสูง อีกนัยหนึ่ง สังขารุเบกขาญาณ จะเกิดขึ้นมาก ๆ จากจุดนี้

5.ปฎิฆะ ไม่ขุ่นเคือง โกรธพยาบาท  ต่อผู้ใด เพราะเหตุแห่งกิเลส คือโทสะ ตรงนี้อารมณ์ ที่เห็นจะเหมือนพรหม มาก ๆ เพราะมีความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เกิดขึ้นอย่างชัดเจน มาก ๆ อารมณ์ จะดับ ด้วยวิปัสสนาญาณ เพราะมองเห็นความเป็นจริงจาก กายคตาสติ และ มรณัสสติ จะสูงขึ้น

6.รูปราคะ ละความหลงใหลในรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง รูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 4 กามราคะ

7.อรูปราคะ ละความหลงใหล ในอรูป ในมโนจิต ที่ล้ำลึก ในที่นี้ หมายถึง อรูปฌาน สำหรับพระอภิญญา ถ้าเป็นแบบพระสุกขวิปัสสโก แล้ว แทบไม่ต้องทำเลยเพราะจะหมด ตั้งแต่ ข้อที่ 5  ปฎิฆะ แต่สำหรับสายอภิญญานั้น อารมณ์ ฌานที่ 8 นั้นทิ้งกาย ซึ่งไปทำลาย อายตนะสัมผัส หมด คงเหลือแต่ มโนอายตนะจึงทำให้ จิต เป็นนามเท่านั้น ซึ่งการปฏิบัติอย่างนี้ ยังผิด เพราะการปฏิบัติธรรม นั้นมีไว้ในปัจจุบัน ใช้ในปัจจุบัน จึงต้องพาไปทั้ง 2 อย่าง คือ รูปและนาม หรือ ที่เราเรียกว่า ขันธ์ 5

8.มานะ ละความหลงผิด ที่ว่าเรา เสมอเขา เราดีกว่าเขา เราเลวกว่าเขา  เพราะถ้าเป็นสุกขวิปัสสโก มาตั้งแต่ต้น ก็ต้องเข้มข้น ในเรื่อง กายคตาสติ  ส่วน สายอภิญญา นั้นจะรู้แจ้งได้เอง หลังจาก ละ รูปฌาน และอรูปฌาน

9.อุทธัจจะ ละความฟุ้งซ่าน ที่หลงเพ้อพก ขันธ์ 5 และ หลง ในรูป นาม ความหลงตน  สำหรับพระอนาคามีนั้นข้อนี้จะหมายถึงความฟุ้งไปอารมณ์ที่ติดจิต ซึ่งเป็นสถานที่หรือความพะวง พระอรหันต์หลายท่านกล่าวว่าเป็นอารมณ์ที่เกาะสุทธาวาส

10.อวิชชา มาถึงตรงนี้ แล้ว มันน้อยมาก เพราะ กิเลสมันบางลงมาตั้งแต่ ข้อแรก มาถึงตรงนี้เป็นวิชชาเอง เป็นบทสรุป ของสังโยชน์ โดยไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะว่า ข้อนี้ ก็คือการละ ทั้ง 9 ข้อ นั้นเอง ซึ่งท้ายที่สุด พระอรหันต์ ทั้ง 2 แบบ จะได้อาสวักขยญาณ โดย อัตตโนมัติ ทันที ไม่ต้องรออนุมัติจากใคร ๆ หลังจากตรงนี้ เพื่อให้ได้ทบทวน อาสวักขยญาน ตั้งแต่ ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ 5 ข้อมา จะสามารถ
เข้านิโรธสมาบัติได้ เฉพาะพระอภิญญา เท่านั้น
( หลวงพ่อได้แนะนำเพิ่มว่า ผู้ที่ได้ละอวิชชา จะเป็นผู้ยินดีใน อริยทรัพย์ และมองเห็นโทษ ของ โลกียะทรัพย์ และไม่ยึดติดใน โลกียะทรัพย์ )

การละ สังโยชน์เป็นที่ระบุระดับชั้นของพระอริยะ
ผู้ที่กำลังละสังโยชน์ ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างต่อเนื่อง  )

ผู้ที่ละสังโยชน์ ได้ตั้งแต่ข้อที่ 1 – 3
ชื่อว่าผู้ได้บรรลุโสดาปัตติผล ตรงนี้ชื่อว่าพระโสดาบัน ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระโสดาบันอย่างถาวร )
พระโสดาบัน เป็นผู้มีอารมณ์ตั้งมั่นในการปฏิบัติธรรม เป็นผู้ปฏิบัติดี ไม่มีการประพฤติ ผิดในธรรม
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  ผู้ประพฤติดีพร้อม ด้วยกาย วาจา และ ใจ”
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระโสดาบัน มี 2
1.มรรค 2.ผล ( 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน  3 ข้อท้ายไม่ชัดเจน )
พระโสดาบันมี 3 ประเภท
1.เอกพีชี เกิดชาติเดียวเป็นพระอรหันต์
2.โกลังโกละ เกิดอีก 2-3 ชาติ เป็นพระอรหันต์
3.สัตตักขัตตุงปรมะ เกิดอีก 7 ชาติเป็นพระอรหันต์

ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว กำลังเริ่มละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 แบบเบาบาง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระโสดาบันแล้ว ละสังโยชน์ ข้อที่ 4 – 5 ได้อย่างเบาบางแล้ว
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระสกิทาคามิผล หรือ พระสกิทาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระสกิทาคามีอย่างถาวร )
พระสกิทาคามี นั้นจะมีอารมณ์ เพียรเผากิเลสอย่างแรงกล้า พยายามที่จะละออกจากกามคุณ และ พยายามละอารมณ์พยาปาทะ อันขุ่นเคือง ในใจ ไม่ให้กำเริบ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระสกิทาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน จิตเหนี่ยวนิพพานเป็นอารมณ์
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “อุชุปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ผู้ประพฤติตรงต่อ พระนิพพาน”
พระสกิทาคามี มี 5 ประเภท
1.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ และนิพพานในโลกนี้ ชาติปัจจุบัน
2.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ นิพพานในเทวะโลก
3.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก และนิพพานในเทวะโลก
4.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในเทวะโลก หมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน
5.บรรลุเป็นพระสกิทาคามีแล้วในโลกนี้ จุติในเทวะโลก แล้วหมดอายุในเทวะโลก มาเกิดอีกครั้งในโลก จึงนิพพาน

ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้ว กำลังละ สังโยชน์ข้อที่ 4 – 5 อย่างสิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระสกิทาคามี แล้วละสังโยชน์ ข้อที่ 4- 5 ได้สิ้นเชิง
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอนาคามิผล หรือ พระอนาคามี ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอนาคามีอย่างถาวร )
พระอนาคามี เป็นผู้มีอารมณ์ ละ กามราคะ และ ปฏิฆะ ได้อย่างสิ้นเชิง แต่ยังมีอารมณ์  ติดอยู่ในสุทธาวาส 5
 คือ ชอบทำบุญ เลยติดบุญ รูปราคะและอรูปราคะ ชอบแจกธรรมสอนธรรม เลยติดมานะ ชอบค้นคว้าศึกษาเรื่องธรรม เลยติดอุทธัจจะ บ้างเพียงเล็กน้อย แต่ก็มีนิพพานแน่นอน อย่างน้อยอีก 1 ชาติ
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอนาคามี มี 5
1.มรรค 2.ผล 3.กิเลสที่ละได้แล้ว 4.กิเลสที่เหลืออยู่ 5.นิพพาน ทบทวนกลับไป กลับมาอย่างยิ่งยวด เริ่มเหือด
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “ญายะปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้รู้ดีแล้ว”
พระอนาคามี มี 5 ประเภท
1.อันตราปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุไม่ถึงกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
2.อุปหัจจปรินิพพายี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุพ้นกึ่งแห่งภพนั้นก็เข้า นิพพาน
3.อสังขารปรินิพพายี  เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง อายุใกล้จะหมด ก็เข้านิพพาน
4.สสังขารปรินิพพายี เข้าถึงนิพพานด้วยความเพียรมาก ๆในชาติปัจจุบัน
5.อุทธังโสโต อกนิฏฐคามี เมื่อเกิดในภพใดภพหนึ่ง สิ้นอายุแห่งภพนั้นเลื่อนขึ้นไป สู่ อกนิฏฐภพ  จึงเข้า นิพพาน

ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วกำลังละสังโยชน์ ข้อที่ 6 -10
ชื่อว่าได้บรรลุเป็น พระอรหัตมรรค ( ผู้ทรงอารมณ์แห่งพระอรหันต์อย่างต่อเนื่อง )
ผู้ที่เป็นพระอนาคามี แล้วละสังโยชน์ข้อที่ 6 – 10
ได้ชื่อว่า พระอรหัตผล หรือ พระอรหันต์ ( ผู้เสวยอารมณ์แห่งพระอรหันต์ อย่างถาวร )
สำหรับพระอรหันต์ไม่มีการเกิดอีกต่อไป ซึ่งที่ผมได้แจกแจงลงไว้เพราะ  หลวงพ่อพระเถระหลายท่านให้ช่วยแจกแจงให้เพื่อให้ทราบว่า การเวียนว่ายตายเกิดหลังจากสิ้นชีพแล้วมีจริง ไม่ได้เป็นด้วยอรรถแห่งนิพพานที่อยู่บนโลกด้วยอารมณ์ใจเท่านั้น
ปัจจะเวกขะณะญาณ ของพระอรหันต์ มี 1
1.นิพพาน เท่านั้น
สมดังคำสรรเสริญสังฆคุณ ว่า “สามิจิปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  เป็นพระสงฆ์ ผู้ปฎิบัติชอบแล้ว ”
___________________________________________________________________

ข้อความจาก วิปัสสนากถา โพสต์โดย คุณ kallaya
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2010, 09:12:02 pm โดย ทินกร »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา ด้วย อาตมาจัดวรรคให้อ่านง่ายขึ้น
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Pra Srikanet

  • บุคคลทั่วไป
0
สามิจิปะฎิปันโน สาวะกะสังโฆ  สาธุ  สาธุ
บันทึกการเข้า