ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ศรีสุพรรณ
หน้า: [1]
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอความร่วมมือ สมาชิก เพื่อสำรวจสถานะ ของสมาชิก เพื่อ ธรรมวิจยะ ให้เหมาะสม เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2016, 01:34:24 am
ขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม มา  4 ปีแล้ว

 st11 st12 st12
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: อนุโมทนา กับ กองผ้าป่า ช่วยเหลือ สำนักงานส่งเสริมพระกรรมฐาน ปี 2557 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2014, 09:22:34 am
 st11 st12
3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปณิธาน ในการภาวนา และการเผยแผ่ พระธรรม เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2014, 09:59:21 am
 st11 st12
4  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เรียนเชิญ ส่งภาพ ส.ค.ส. ดิจิตอล ส่งความสุข ส่งท้ายปี 2555 ต้อนรับปี 2556 เมื่อ: ธันวาคม 06, 2012, 02:26:13 pm

ขอบคุณกับน้ำใจ งาม ๆ  ของ พี่ ๆ ที่ไปเสียสละ กันครับ

 :c017: :s_good: :13: :13: :13:
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ธรรมอะไร..ที่ทำให้ 'ปรองดอง' เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2012, 10:13:23 am
อ้างถึง
๑. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in deed, openly and in private)

๒. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in word, openly and in private)

๓. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน — to be amiable in thought, openly and in private)

เป็นธรรมที่สำคัญ มากนะคะ

   ตั้งแต่ข้อที่ 1 เลยนะคะ

    ตั้งความเมตตาปรารถนาดี ต่อเพื่อนร่วมทุกข์ ด้วยกัน ข้อนี้ก็สำคัญแล้ว ไม่ใช่เรื่องทำได้ง่าย ๆ นะคะเพราะว่ามันเกี่ยวกับความชอบและความไม่ชอบส่วนตัวด้วยคะ  เพราะไม่ชอบก็ไม่อยากช่วย เพราะเกลียดจึงไม่สงเคราะห์ เมตตาธรรม ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะภาวนากันได้

   ดังนั้นถ้าปรองดองกันได้ นับว่าเป็นเรื่องที่ดีคะ เพราะที่ไหนปรองดองกันที่นั้นก็สงบคะ

      ปรองดอง มีอยู่ สี่อย่างสำหรับชาวโลก คือ ปรองดองด้วยการทำดี  ( อันนี้ดี ) ปรองดองด้วยการทำชั่ว ( อันนี้แย่ ) ปรองดองด้วยการทำทั้งดีและชั่ว ( อันนี้ก็ยังเดือดร้อน) ปรองดองไม่ทำทั้งดีและชั่ว (คืออยู่เฉย ๆ)

    สำหรับสารา๊ณียธรรม น่าจะอยู่ประเภทที่ 1

   :s_hi:
           
6  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เชิญเข้าปฏิบัติธรรมวันเสาร์-อาทิตย์ที่๒๖-๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ที่คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 01:42:18 pm
อนุโมทนา ด้วยคะ อาจจะได้ไปร่วมปฏิบัติด้วยคะ รอบนี้

 :25: :25: :25:
7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ่ขอคำจำกัดความ ระหว่าง พระลักษณะ และ พระรัศมี ด้วยครับ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2012, 05:53:44 pm
พระลักษณะ คือ อาการที่เกิดปีติขึ้นที่ฐานจิต
พระรัศมี คือ แสงของภาพที่นิมิตที่ฐาน จิต

 จำกัดความพอหรือไม่คะ
8  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ขอเชิญเข้าร่วมปฏิบัติธรรม วันเสาร์ที่25-อาทิตย์ที่26 กุมภาพันธ์ 2555 ที่คณะ เมื่อ: มกราคม 31, 2012, 11:15:13 am
อนุโมทนา สาธุ ช่วยกันแจ้ง ต่อกันไปนะคะ
ว่าแต่ที่สระบุรี ไม่มีการจัดบ้างหรือ คะ เห็นระงับมาตั้งแต่ วันสิ้นปี แล้วนะะคะ

 :25: :25: :25:
9  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มีปัญหา ค้างตอบ เยอะนะครับ ช่วยกันตอบดีหรือไม่ครับ ? เมื่อ: มกราคม 05, 2012, 07:24:39 pm
ปัญหา ระดับ นี้ต้องเป็น ทีมมัชฌิมา หรือ ลูกศิษย์ใกล้ ๆ แล้วถึงจะตอบได้
เราได้แต่อ่านปัญหา วันนี้รู้ว่าพระอาจารย์ ยังไม่ได้ตอบ

   อนุโมทนา กับทุกท่าน ที่ช่วยตอบด้วยนะคะ ตามอ่านเสมอคะ

 
10  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมอวยพร ส่งความสุข ด้วยการ์ด ดิจิตอล ต้อนรับปี 2555 / 2012 เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 11:05:19 am
11  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทุกข์ใจ เรื่องลูกเลี้ยง คะ เมื่อ: ธันวาคม 26, 2011, 10:56:43 am
จริงๆแล้วการที่จะปล่อยวาง หรือทิ้งสิ่งใดได้ จิตจะต้องเห็นทุกข์เห็นโทษของสิ่งนั้น ๑๐๐ % ว่าไม่มีอะไรดีเลย จิตจึงจะยอมปล่อย ถ้ายังเห็นว่ายังมีส่วนดีเหลืออยู่บ้าง หรือยังนำความสุขมาให้ได้บ้าง เราจะทิ้งไม่ลง

แต่สำหรับกรณีที่เป็นลูกสาวนั้น คงต้องใช้เหตุผลอื่นมาพิจารณาประกอบด้วย คงจะปล่อยวางอย่างเดียวไม่ได้

พ่อแม่เป็นพระพรหมของลูก จึงต้องใช้หลักพรหมวิหาร ๔ คือ
๑. เมตตา คือความอยากให้ลูกมีความสุข
๒. กรุณา คือช่วยให้เขาพ้นทุกข์ด้วยการสั่งสอน ส่งเสริม ช่วยเหลือ ให้เขามีชีวิตที่ดีขึ้น
๓. มุทิตา คือยินดีกับลูกเมื่อเขาได้ดี
๔. อุเบกขา เมื่อได้ทำข้อ ๑-๓ เต็มที่แล้วไม่ได้ผลก็ต้องวางเฉย

ข้อ ๑-๓ เป็นปฏิสัมพันธ์ของแม่และลูก ระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ ส่วนข้อ ๔ นั้น เมื่อช่วยไม่ได้แล้วก็ต้องปล่อยให้ธรรมทำหน้าที่ต่อไปตามเหตุปัจจัยที่แต่ละคนสร้างเอาไว้

การทำใจปล่อยวาง ให้สงบสุขที่ต้องการนั้น เราสั่งให้จิตปล่อยวางไม่ได้หรอก เพราะจิตเป็นอนัตตา เราต้องเจริญวิปัสสนาจนเห็นว่าขันธ์ ๕ (คือกายกับใจ)ของเรานี้เป็นตัวทุกข์จริงๆจึงจะสามารถปล่อยวางกายใจได้ ถ้าเราปล่อยวางกายใจของเราได้แล้ว กายใจของคนอื่นก็ปล่อยวางได้แน่นอน

จากคุณ    : sspp1

12  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สากัจฉา หมายถึงการปรับกัมมัฏฐานให้เกิดความเหมาะสม เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 10:05:36 am
ดังนั้น สากัจฉา ก็หมายถึงการร่ำเรียน กรรมฐาน ใช่หรือไม่คะ

  :25:
13  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หมวดว่าด้วยจิตที่ไม่ควรแก่การใช้งาน เพราะปราศจากสมาธิ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 10:04:35 am
พยายามอ่าน  วิเคราะห์ ตามนะคะ เพราะ อ่านแล้ว ก็ยัง งง ๆ กับสำนวน คะ

   1. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้   
       
      จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมไม่ควรแก่การใช้งาน ( ข้อนี้คือไม่ได้เจริญภาวนา )

   2.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งานเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมควรแก่การใช้งาน ( ข้อนี้คือ จิตที่มีการภาวนา )

   3.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง  ที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ไม่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก ( เมื่อไม่ภาวนา ก็ไม่มีประโยชน์ )

   4.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก  ( เมื่อภาวนาก็มีประโยชน์ )

    5.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก  ( ไม่ภาวนาก็ไม่ปรากฏชัด )

    6.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจินี้   
      จิตที่ได้เจริญปรากฏชัดแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก   ( เมื่อภาวนาก็ปรากฏชัด )

    7.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มากเหมือนจิตนี้    จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์มาก  ( การภาวนา ถ้าไม่ทำให้บ่อย )

    8. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มากเหมือนจิตนี้   
      จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์มาก ( เมื่อเจริญบ่อยก็ย่อมสมควร )

    9. เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้เจริญไม่ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้เหมือนจิตนี้   
     จิตที่ไม่ได้เจริญไม่ได้ทำให้มากแล้วย่อมนำทุกข์มาให้ ( เมื่อไม่เจริญภาวนาก็ย่อมมีความทุกข์ )

    10.เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่งที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้เหมือนจิตนี้   
     จิตที่ได้เจริญทำให้มากแล้วย่อมนำสุขมาให้  ( เมื่อเจริญก็ย่อมได้ความสุข )

 สรุป จากที่อ่านมานะคะ คือ ผู้ที่ภาวนา ต้องให้ภาวนาให้บ่อย ถึงจะได้ความสุข คะ


พยายาถอดใจความ ที่กล่าวว่าพระไตรปิฏก ที่อ่านยาก อยู่ คงเพราะเหตุีนี้ คะ


 :s_hi: :13:

 
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมอันเป็นโคจร ในที่นี้หมายถึงธรรมที่เป็นอารมณ์กัมมัฏฐานของภิกษุ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 09:52:03 am
ดังนั้น ธรรมอันเป็นโคจร

 ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่เป็นทางเดิน ของจิต ใช่หรือไม่คะ

  ทางเดินของจิต ก็คือ หลักปฏิบัติ ใช่หรือไม่คะ

   หลักปฏิบัติ ก็ตามแบบ กรรมฐาน นั้น ๆ ใช่หรือไม่คะ

   สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

    ก็หมายถึง บริกรรม ปัคคาหะ และ อุเบกขา ใช่หรือไม่คะ

     ก็สงสัย อยู่ แต่ก็ทำความเข้าใจ ตามด้วยคะ


   ส่วนอารมณ์ ก็หมายถึง สภาวะธรรมที่ได้ในขณะนั้น มี วิตก วิจาร ปีติ สุข สมาธิ ใช่หรือไม่ คะ

  :smiley_confused1: :25:

 
15  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: สดุดี มหาราชินี เนื่องด้วยในวันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.2554 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2011, 12:06:05 pm

ขอบคุณที่มาภาพ http://www.ncswt.or.th

ขอจงทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
 :25:
16  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การตรวจกรรม สามารถทำได้ใน ๓ ระดับด้วยกัน เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2011, 09:45:36 am
การตรวจกรรม สามารถทำได้ใน ๓ ระดับด้วยกัน คือ

ระดับ พื้นๆ เป็นการใช้ความสามารถในระดับของซิกส์เซ้น(คือทิพย์จักขุญาณ) ไปจนถึงระดับของ วิชชาสาม(มโนภาพ)ผู้ใช้ความสามารถในระดับนี้จะสามารถทำได้แค่ การดู และการรู้สึกว่าเห็น แต่ไม่สามารถสื่อสารได้

ระดับกลาง เป็นการใช้ความสามารถในระดับของใจที่ใสบริสุทธิ์ในช่วงเวลาหนึ่ง(แค่ช่วง เวลาหนึ่ง) ไปจนถึงระดับของพลังจิตเข้มข้น(จนบางครั้งวิทยาศาสตร์อธิบายไม่ได้)
ผู้ใช้ความสามารถในระดับนี้ นอกจากจะสามารถดูหรือรู้สึกว่าเห็น แล้ว ยังสามารถฟัง หรือรู้สึกว่าได้ยิน ดมหรือรู้สึกว่าได้กลิ่น

และที่สำคัญคือ สามารถเจรจาถามไถ่หรือต่อรองกับสิ่งที่ไม่มีร่างกาย(สังขาร)ได้ เมื่อสามารถถามไถ่หรือเจรจาตต่อรองกันได้จึงเกิดการแก้ไขกรรมกันต่อมา แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องสามารถแก้ไขได้หมดทุกๆกรรม รายละเอียดจะอธิบายต่อไป

ระดับ สูง เป็นการใช้ความสามารถในระดับพลังจิตที่เข้มข้น บวกกับ นิสัยส่วนตัวที่จะเป็นผู้ให้โดยไม่ขอเป็นผู้รับสิ่งตอบแทนชนิดที่เรียกว่า ปิดทองหลังพระกันเลยทีเดียว
ผู้ใช้ความสามารถระดับนี้ นอกจากจะสามารถเจรจาถามไถ่หรือต่อรองกับสิ่งที่ไม่มีร่างกายได้แล้ว ยังเจารจากับสิ่งที่มีร่างกายได้ จนบางครั้งเหมือนคนบ้าซะด้วยซ้ำไป
ส่วนรายละเอียดของระดับนี้ไม่สามารถอธิบายได้เพราะไม่เคยสัมผัสประสบการณ์ระดับนี้มาก่อน

ในทางภาษาพระ แบ่งกรรมออกเป็นหลายอย่าง อะไรบ้างก็คงไม่ต้องกล่าวถึงเพราะชวนให้ปวดหัว แต่โดยประสบการณ์แล้ว แบ่งกรรมออกเป็น ๓ อย่าง คือ กรรมที่แก้ไขได้ กรรมที่แก้ไขไม่ได้ และ กรรมที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไข

กรรมที่แก้ไขได้ คือ กรรมที่เจ้ากรรมนายเวรยอมยกโทษให้(ยอมอโหสิกรรมให้) หรือการใช้หนี้ในกรณีที่ติดหนี้อยู่กรรมที่เจ้ากรรมนายเวรยอมยกโทษให้ ก็ยกตัวอย่างเช่น คุณเคยติหนิ นินทา หรือทำไม่ดูกับพ่อแม่หรือผู้ที่เลี้ยงดูคุณมา ลองกราบขอโทษท่านซะสิ
หรือ หากในกรณีที่เจ้ากรรมนายเวรไม่ได้มีร่างกาย(เป็นผีหรือเทวดาหรืออะไรก็ตาม แต่) ที่สามารถเจรจาขอโทษ หรือต่อรองการชดใช้หนี้ได้ก็ทำตามวิธีที่ตกลงกันไว้ แต่ผู้ที่จะสามารถเจรจาต่อลองได้ก็ต้องเป็นผู้ที่ใช้ความสามารถระดับกลางถึง ระดับสูงเท่านั้น ส่วนกรรมที่ใช้หนี้ได้แต่ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร สมัยนี้จะคุ้นเคยกันดีกับคำว่า ชำระหนี้สงฆ์ ซึ่งไม่จำเป็นต้องต่อรองกับเจ้ากรรมนายเวร(เพราะไม่มี)เพียงแค่ทำการชำระ หนี้สงฆ์ ก็เป็นอันพ้นกรรมตรงนี้ไป(สร้างใหม่ก็ชดใช้ใหม่)

กรรมที่แก้ไขไม่ได้ คือ กรรมที่เจ้ากรรมนายเวรไม่ยอมลดลาวาศอกให้ และที่ยุ่งที่สุดคือ เป็นกรรมที่ไม่มีเจ้ากรรมนายเวรที่ไม่มีเจ้ากรรมนายเวร เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเรา เขาก็ไม่ได้ใส่ใจหรือติดใจเอาความอะไร แต่ระบบของกรรมมันดำเนินของมันไปแล้ว

กรรมที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไข กรณีนี้มักไม่เกิดกับสามัญชน ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนจำพวกหนึ่ง ที่ภาษาพระเรียกกันว่า พระอริยเจ้า สาเหตุที่ไม่จำเป็นต้องแก้ไข เพราะผู้ที่รับกรรมโดยส่วนใหญ่หรือแทบจะทั้งหมด ยินยอมรับชดใช้กรรมแต่โดยดีโดยถือว่า หมดแล้วก็หมดไป ตายก็ไม่เป็นไร ไม่แค้นเคืองเอาความใดๆต่อกันให้เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาอีก
หรืออีก อย่างหนึ่งก็คือ ผลบุญกุศลที่สะสมไว้ มากพอที่จะบรรเทาผลของบาปกรรม ให้ผู้ที่รับกรรมได้รับความทรมานน้อยลงตามลำดับดังนั้นแล้ว ถ้าถามว่าการแก้กรรม เป็นไปได้หรือไม่ ก็ขอให้พิจารณาจากเหตุผลข้างต้นก็แล้วกันเพราะการแก้กรรม แท้ที่จริงแล้ว ก็คือการชดใช้หนี้สินนี่เอง แต่ต้องตั้งใจอธิษฐานด้วย

การอธิษฐานสำคัญอย่างไร ลองเปรียบเทียบง่ายๆกับกรณีสมมตินี้

หาก คุณรู้สึกปวดท้องคล้ายจะเป็นโรคกระเพราะ(กรรมกำลังส่งผล) คุณจึงหาเงินจำนวนหนึ่ง(บุญกุศล)ที่เพียงพอจะซื้อยารักษาโรคกระเพาะ แต่คุณไม่พูดไม่จาอะไร(ไม่อธิษฐาน) เอาแต่ยื่นเงินให้กับญาติผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้โดยหวังว่าเขาจะเป็นธุระซื้อยา มาให้คุณ เขาคงจะคิดว่าคุณฝากให้เขาช่วยนำเงินไปหยอดกระปุกให้คุณหน่อย และนำเงินไปหยอดกระปุกให้คุณแทนทั้งที่เงินในกระปุกเยอะจนสามารถซื้อยาแจกคน ได้ทั้งหมู่บ้านเลย
แต่คุณก็ไม่ได้ยาและปวดท้องต่อไป

แต่เชื่อหรือไม่ว่า ตราบใดที่กรรมเลวยังไม่อ่อนกำลังลงจนกรรมดีสามารถส่งผลได้ ยังไงก็ไม่สามารถแก้ไขกรรมได้ในเวลานั้นแต่เมื่อไหร่ก็ตาม กรรมเลวได้อ่อนกำลังลง และกรรมดีเข้ามาแทรก ก็ทำให้สามารถหาทางแก้ไขจนทำให้ชีวิตดีขึ้นได้ ต่างหาก
หน้า: [1]