ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หญ้าคา 3 กำ และ หญ้ากุศะ 8 กำ เป็นมาอย่างไร.?  (อ่าน 2929 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
หญ้าคา 3 กำ และ หญ้ากุศะ 8 กำ เป็นมาอย่างไร.?
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2013, 09:39:27 pm »
0


หญ้าคา 3 กำ และ หญ้ากุศะ 8 กำ เป็นมาอย่างไร.?
(กำคาพรมน้ำมนต์)

เด็กปัจจุบันที่ห่างวัด คงไม่ค่อยรู้จักกำหญ้าคาแห้ง ที่ใช้สำหรับประพรมน้ำพระพุทธมนต์แล้ว วันนี้จึงขอนำมาเล่าขยายความสู่กันฟัง เผื่อวันไหนที่ได้มีโอกาสเข้าวัดทำบุญ และพระท่านมีเมตตาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้ จะได้ไม่สงสัยว่าท่านเอาแปรงอะไรมาสะบัดน้ำใส่ เหมือนอย่างที่หลานๆของเพื่อนผมสงสัยและถามพ่อแม่ของเค้า ซึ่งตัวพ่อแม่เองก็ให้คำตอบ ไม่ได้ว่าคืออะไร

พระภิกษุในพุทธศาสนา นิยมใช้หญ้าคาแห้งมามัดรวมให้ทำเป็น "กำคา" ใช้สำหรับจุ่มลงในน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์ แล้วนำขึ้น ประ (เป็นคำกิริยา) ให้น้ำที่ติดกับ "กำคา" นั้น กระจายออกไปต้องยังตัวบุคคล หรือวัตถุ หรือสถานที่ ที่ประสงค์จะให้เกิดความเป็น สิริมงคล เรียกว่า "ประพรมน้ำพระพุทธมนต์"

อนึ่ง "กำคา" ที่กล่าวถึงนี้ มีที่มาจากแกนก้าน หรือสันใบของหญ้าคาที่แก่จัด ตัดให้เหนือโคนใบขึ้นมาเล็กน้อย นำมารูดใบเขียว ที่ติดอยู่ด้านข้างทั้งสองข้างออกทิ้งไป จะเหลือแกนก้าน ที่ค่อนข้างแข็ง จากนั้นนำแกนก้านนั้นไปผึ่งแดดพอให้คายน้ำแห้ง เพื่อไม่ให้ขึ้นราหรือเน่า แล้วนำไปผึ่งต่อในร่มเพื่อให้แห้งสนิท
    การที่ไม่ผึ่งแดดโดยตรงมากนัก ก็เพราะแสงแดดจะทำให้แห้งมากเกินไปจนกรอบ เมื่อแกนหญ้าคานั้นแห้งดีแล้ว นำมาคัดขนาดของก้านให้อวบ ใหญ่เท่าๆ กัน ไม่มีตำหนิที่ก้าน และคัดจำนวนให้ได้ 108 ก้าน แล้วจึงมัดรวมกันด้วยด้ายสายสิญจน์ที่โคนก้าน เพื่อให้เป็นที่จับได้สะดวก และป้องกันไม่ให้กำแตกง่ายอีกด้วย


ตามคติความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องหญ้าคานั้น ถือว่าเป็นหญ้าศักดิ์สิทธิ์ เมื่อน้ำอมฤตหกตกลง มาในโลกมนุษย์นี้ ได้ตกลงมายังกอหญ้าคา ทำให้หญ้าคาเป็นหญ้าอมตะที่ "ฆ่าไม่ตายทำลายไม่สิ้น" ดังนั้น ในพิธีกรรมทางศาสนาของฮินดู จึงนิยมนำมาใช้เป็นเครื่องประกอบพิธี และส่งอิทธิพลมายังพุทธศาสนาและขนบประเพณีในราชสำนักของสยามประเทศแห่งนี้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ใช้ในปูลาดบนพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้หนังราชสีห์ หรือแผ่นทองคำ เขียน รูปราชสีห์ด้วยชาด หรคุณ เพื่อทรงประทับรับพระสุพรรณบัตร เครื่องราชกกุธภัณฑ์ และพระแสงอัษฎาวุธ



นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการนำหญ้าคามาถักเป็นพระสังวาลพราหมณ์ ใช้ถวายพระมหากษัตริย์ให้ทรงในวันบรมราชาภิเษก เพื่อให้เป็นเครื่องราชูปโภคเฉลิมพระเกียรติ ว่าทรงอยู่ในเพศที่บริสุทธิ์แล้ว และยังใช้หญ้าคาถักปนกับสายสิญจน์ โยงรอบพระมหามณเฑียรในระหว่างประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียรอีกด้วย
    และที่สำคัญที่สุดคือ หญ้าที่ใช้ในพระราชพิธีทั้งหลายเหล่านี้ จะต้องเก็บในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 9 เท่านั้น จึงจะขลังและศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เพราะวันนี้คือ "วันกุโศตปาฎนีอมาวสยา" เป็นวันที่ชาวฮินดูทำการบูชาพระกฤษณะ อันเป็นเทพเจ้าสำคัญองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู


บางตำราก็ถือว่า เพราะน้ำอมฤตที่ได้จากการกวนเกษียรสมุทรนั้น ได้ตกลงมาในโลกนี้ในวันดังกล่าว พราหมณ์จึงใช้หญ้าคาเป็นทั้งเครื่องบูชาและเครื่องสะเดาะเคราะห์ และเชื่อว่าบริเวณใดถ้าประพรมน้ำมนต์ด้วยหญ้าคา 3 กำ ซึ่งเรียกว่า "ไตรปัตร" แล้ว จะทำให้บริเวณ หรือสถานที่นั้นบริสุทธ์ หรือถ้าเป็นคนก็จะปราศจากทุกข์ภัยและมลทินต่างๆ แม้แต่ตัวพราหมณ์เอง เมื่อจะสาธยายมนต์หรือร่ายพระเวท ก็จะนั่งบนหญ้าคา และถูมือไปมา ทำให้บริสุทธิ์



อันที่จริง หญ้าคาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาในอินเดียนั้น หาใช่หญ้าคาที่เราพบเห็นและใช้สอยอยู่ในประเทศไทยของเราไม่ หญ้าคาในอินเดียเรียกว่า "หญ้ากุศะ" (ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmostachy bipinnata Stapf) เป็นหญ้าในวงศ์ Gramineae (Poaceae) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดียและเนปาล ชอบขึ้นในที่แห้งแล้งริมฝั่งแม่น้ำ โดยจะขึ้นเป็นกอเหง้าใหญ่ ใบอวบรูปยาวเหมือนหอก ขอบใบคม ดอกเป็นช่อรูปพีระมิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดฤดูฝน ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และแยกกอ เป็นวงศ์วานว่านเครือเดียวกันกับหญ้าคาในบ้านเรา

หญ้ากุศะ เป็นหญ้าอีกชนิดหนึ่ง ที่ถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก
เนื่องจากเป็นหญ้าที่ปรากฏในพุทธประวัติว่า ในวันก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะได้รับถวายหญ้าชนิดนี้ จำนวน 8 กำมือ จากพราหมณ์โสตถิยะ และเจ้าชายสิทธัตถะได้นำหญ้ากุศะไปปูรองนั่งเป็นพุทธบัลลังก์ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ ทำให้ชาวพุทธถือว่า หญ้านี้มีความสำคัญมาก และจัดให้หญ้านี้เป็นต้นไม้สำคัญชนิดหนึ่งในพุทธประวัติ

หญ้ากุศะ ยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใช้ทั้งต้นเป็นยาฝาดสมาน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวาน เป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้วย


โดยทั่วไปในสมัยก่อน ทุกบ้านที่นับถือพุทธศาสนา จะมีกำหญ้าคาติดบ้านวางไว้ที่หิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชา เพื่อใช้ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ด้วยตนเองได้ แต่ทุกวันนี้เกือบไม่มีคนรู้จักกำหญ้าคานี้กันแล้ว การพรมน้ำมนต์ก็ยักย้ายถ่ายเทไปเอาก้านมะยมบ้าง เอาใบเงินใบทองบ้าง มาใช้แทน อ้างเอาว่าชื่อใบเหล่านี้เป็นมงคล บางครั้งก็ปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าแทน โดยการใช้เครื่องพ่นน้ำพ่นเป็นละอองฝอยแทน โดยลืมพิจารณาคติดั้งเดิมไปเสียสิ้น.

เผ่าทอง ทองเจือ
www.facebook.com/paothong.pan
www.facebook.com/paothong.thongchua



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/329211
http://upload.wikimedia.org/,http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ