ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะั  (อ่าน 26626 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sangtham

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 53
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะั
« เมื่อ: มีนาคม 22, 2010, 08:02:13 am »
0
บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะ ทั้งปวง จัดเป็น 3 ระดับครับ

1.สามัญญบารมี คือทำบารมีแบบพื้นฐาน เช่น ทาน ก็ให้ทานเป็นปกติ เป็นต้น
2.อุปะบารมี คือบารมีที่ทำถึงขั้นสละอวัยวะ ของตนได้ เช่น การสละ ร่างกายส่วนใด ส่วนหนึ่ง หรือดวงตาเป็นทาน
3.ปรมัตถะบารมี คือบารมี ที่ทำุถึงขั้น สละชีวิต

บารมี 10 มีดังนี้
1.ทาน การให้ทาน
2.สีล  การเป็นผู้มีศีล
3.เนกขัมมะ การเป็นผู้ออกบวชเพื่อพรหมจรรย์
4.ปัญญา การสั่งสมปัญญา
5.วิริยะ ความพากเพียร
6.ขันติ ความอดทน
7.สัจจะ ความจริงใจ
8.อธิษฐาน การอธิษฐาน
9.เมตตา การแผ่เมตตา
10.อุึเบกขา ความวางเฉย

ถ้าเป็นการบำเพ็ญแบบ สามัญบารมี เรียกว่า บารมี 10 ทัศน์
ถ้าเป็นการบำเพ็ญแบบ อุปะบารมี เรียกว่า บารมี 20 ทัศน์
ถ้าเป็นการบำเพ็ญแบบ ปรมัตถะบารมี เรียกว่า บารมี 30 ทัศน์


มีชาดกเกี่ยวกับเรื่องนี้ อีกอย่างไรเสีย ให้คุณปุ้มเสริมด้วยนะครับ
 :08:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะั
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 25, 2010, 09:58:20 pm »
0

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๑
เทพเจ้าทุกชั้นฟ้าชุมนุมกันอัญเชิญเทพบุตรโพธิสัตว์ให้จุติมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

   เมื่อพระเวสสันดรโพธิสัตว์สวรรคตแล้ว  เสด็จไปอุบัติเป็นสันตุสิตเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต
เมื่อก่อนพุทธกาลเล็กน้อย   เทวดาทุกสวรรค์ชั้นฟ้ามาประชุม ปรึกษากันว่า  ใครจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า  ต่างก็เล็งว่า   พระโพธิสัตว์สถิตอยู่ในชั้นดุสิตจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า   จึงพากันไปทูลเชิญให้จุติลงมาโปรดสัตวโลก  เพื่อให้สมกับพระปณิธานที่ตั้งไว้ว่า ทรงบำเพ็ญบารมีมาในชาติใดๆ  ก็มิได้ทรงมุ่งหวังสมบัติอันใด  นอกจากความเป็นพระพุทธเจ้า


   ก่อนที่พระโพธิสัตว์อันสถิตอยู่  ณ สวรรค์ชั้นดุสิต จะได้ทรงตรัสรู้บรรลุธรรมเป็นองค์สมเด็จ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อโปรดชาวโลกนั้น  พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า  ท่านได้ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ประการ  อันได้แก่


๑.   พระเตมีย์   ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมี   คือ ความอดทนสูงสุด
๒.   พระมหาชนก   ทรงบำเพ็ญวิริยะบารมี   คือ ความพากเพียรสูงสุด
๓.   พระสุวรรณสาม   ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมี   คือ ความเมตตาสูงสุด
๔.   พระเนมิราช   ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี   คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์
๕.   พระมโหสถ   ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี   คือ ความมีปัญญาสูงสุด
๖.   พระภูริทัต   ทรงบำเพ็ญศีลบารมี   คือ ความมีศีลที่สมบูรณ์สูงสุด
๗.   พระจันทกุมาร   ทรงบำเพ็ญขันติบารมี   คือ ความอดกลั้นสูงสุด
๘.   พระนารทพรหม   ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี   คือ การมีอุเบกขาสูงสุด
๙.   พระวิธูรบัณฑิต   ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี   คือ ความมีสัจจะสูงสุด
๑๐.   พระเวสสันดร   ทรงบำเพ็ญทานบารมี   คือ การรู้จักการให้ทานสูงสุด


บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความอัศจรรย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่าครั้งใด เราชื่อว่าท้าวสันดุสิตอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุ ก็พากันประคองอัญชลีอ้อนวอนเราว่า.ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระองค์เมื่อบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ มิใช่ปรารถนาสมบัติท้าวสักกะ มิใช่ปรารถนาสมบัติมาร มิใช่ปรารถนา สมบัติพรหม มิใช่ปรารถนาสมบัติจักรพรรดิ แต่พระองค์ ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าบำเพ็ญเพื่อช่วยขนสัตว์ข้ามโอฆสงสาร.ด้วยเหตุนั้น ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

(เทวดาในหมื่นโลกธาตุทูลวอนว่า)
ข้าแต่พระมหาวีระ นี้เป็นกาลสมควรสำหรับพระองค์ ขอพระองค์โปรดอุบัติในครรภ์พระมารดา ขอพระองค์ เมื่อจะทรงช่วยมนุษยโลกพร้อมเทวโลกให้ข้ามโอฆสงสาร โปรดจงตรัสรู้อมตบทเถิด.
ครั้งนั้น พระมหาสัตว์ แม้ถูกเทวดาทั้งหลายทูลวอนขอ ก็มิได้ ประทานปฏิญญาคำรับรองแก่เทวดาทั้งหลาย แต่ทรงตรวจดู มหาวิโลกนะ ๕ คือกำหนดกาล ทวีป ประเทศ ตระกูล พระชนมายุของพระชนนี
บรรดามหาวิโลกนะ ๕ นั้น ทรงตรวจดูกาลก่อนว่า เป็นกาลสมควร หรือยังไม่เป็น กาลสมควร.


ในกาลนั้น อายุกาล (ของสัตว์) สูงกว่าแสนปีขึ้นไป ยังไม่ชื่อว่า กาล เพราะเหตุไร. เพราะทุกข์มีชาติชรามรณะเป็นต้นไม่ปรากฏ ก็ธรรมดา พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่ชื่อว่าพ้นจากไตรลักษณ์ ไม่มีเลย. เมื่อพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสเรื่องอะไร แต่นั้น การตรัสรู้ก็ไม่มี เมื่อการตรัสรู้นั้นไม่มี คำสั่งสอนก็ไม่เป็นนิยยานิกกะนำสัตว์ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กาลนั้น จึงไม่เป็นกาลสมควร.
   
แม้อายุกาล (ของสัตว์) ต่ำกว่าร้อยปี ก็ยังไม่เป็นกาลสมควร เพราะเหตุไร เพราะกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายมีกิเลส หนาแน่น และโอวาทที่ประทานแก่สัตว์ทั้งหลายที่มีกิเลสหนาแน่น ไม่อยู่ใน ฐานะควรโอวาท เพราะฉะนั้น กาลแม้นั้น ก็ไม่เป็นกาลสมควร อายุกาลอย่าง ต่ำตั้งแต่แสนปีลงมา อย่างสูงตั้งแต่ร้อยปีขึ้นไป ชื่อว่า กาลสมควร. บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายมีอายุร้อยปี เพราะเหตุนั้น ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงเห็นว่า เป็นกาลที่ควรบังเกิด.

ต่อจากนั้น ทรงตรวจดู ทวีป ทรงเห็นทวีปว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมบังเกิดในชมพูทวีปเท่านั้น. ธรรมดาชมพูทวีป เป็นทวีปใหญ่มีเนื้อที่ ประมาณหมื่นโยชน์.เมื่อทรงตรวจดู ประเทศ ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายบังเกิดในประเทศ ไหนหนอ ก็ทรงเห็นมัชฌิมประเทศ.

ต่อจากนั้นก็ทรงตรวจดู ตระกูล ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลที่โลกสมมติ. บัดนี้ ตระกูลกษัตริย์เป็นตระกูลที่โลกสมมติ จำเราจักบังเกิดในตระกูลกษัตริย์นั้น พระราชาพระนามว่า
สุทโธทนะจักเป็นพระชนกของเรา.


แต่นั้นก็ตรวจดู พระชนนี ว่า สตรีนักเลงสุราเหลวไหลจะเป็นพุทธมารดาไม่ได้ จะต้องเป็นสตรีมีศีล ๕ ไม่ขาด ดังนั้นพระราชเทวีพระนามว่า มหามายานี้ก็เป็นเช่นนี้ พระนางเจ้ามหามายานี้จักเป็นชนนีของเรา. เมื่อทรง นึกว่าพระนางเจ้าจะทรงมี พระชนมายุ ได้เท่าไร ก็ทรงเห็นว่าได้ต่อไปอีก ๗ วัน หลังครบทศมาสแล้ว.

ครั้งทรงตรวจมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้แล้ว ก็ประทานปฏิญญา แก่เทวดาทั้งหลายว่า เป็นกาลสมควรที่เราเป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำรงอยู่ใน ภพดุสิตนั้นตลอดชนมายุแล้วจุติจากภพดุสิตนั้น ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ พระนางเจ้ามายาเทวีในราชสกุลศากยะ

สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๒
ทรงรับคำเชิญ แล้วจุติมากำเนิดในตระกูลกษัตริย์ศากยะ ณ กรุงกบิลพัสดุ์


   ภาพนี้เป็นภาพตอนที่พระโพธิสัตว์เจ้า  ซึ่งต่อมาคือเจ้าชายสิทธัตถะ  หรือพระพุทธเจ้ากำลัง
เสด็จจากสวรรค์ชั้นดุสิต  เพื่อเสด็จเข้าสู่พระครรภ์พระมารดา  วันที่เสด็จลงบังเกิดนั้น  ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๘  ซึ่งเป็นเวลาที่พระเจ้าสุทโธทนะ  พระบิดา  กับพระนางสิริมหามายา  พระมารดา  ได้อภิเษกสมรสไม่นาน

   คืนวันเดียวกันนั้น  พระนางสิริมหามายากำลังบรรทมหลับสนิทในแท่นที่บรรทมแล้ว  ทรง
สุบินนิมิตว่าพระนางไปอยู่ในป่าหิมพานต์   ได้มีช้างเผือกเชือกหนึ่งลงมาจากยอดเขาสูงเข้ามาหาพระนางปฐมสมโพธิพรรณาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า


   "...มีเศวตหัตถีช้างหนึ่ง...ชูงวงอันจับบุณฑริกปทุมชาติสีขาวเพิ่งบานใหม่  มีเสาวคนธ์หอม
ฟุ้งตรลบแล้วร้องโกญจนาทเข้ามาในกนกวิมาน     แล้วกระทำประทักษิณพระองค์อันบรรทมถ้วนสามรอบแล้วเหมือนดุจเข้าไปในอุทร  ฝ่ายทักษิณปรัศว์แห่งพระราชเทวี..."

   ภายหลังโหราจารย์ประจำราชสำนักทำนายว่าเป็นสุบินนิมิตที่ดี จะมีพระราชโอรสผู้ประเสริฐ
อุบัติบังเกิด   และเมื่อพระมารดาทรงครรภ์แล้ว   ปฐมสมโพธิได้พรรณาตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จอยู่ในพระครรภ์พระมารดาว่า


   "...เหมือนดุจด้ายเหลือง  อันร้อยเข้าไปในแก้วมณีอันผ่องใส  เมื่อปรารถนาจะทอดพระเนตร
ในขณะใด  ก็เห็นพระโอรสนั่งเป็นบัลลังก์สมาธิ (นั่งขัดสมาธิ)  ผันพระพักตร์มาข้างหนึ่งพระอุทรแห่งพระมารดา  ดุจสุวรรณปฎิมาอันสถิตอยู่บนฝักอ่อนในห้องแห่งกลีบปทุมชาติ  แต่โพธิสัตว์มิได้เห็นองค์ชนนี..."

   วันที่พระโพธิสัตวเจ้าเสด็จลงสู่พระครรภ์  กวีผู้แต่งเรื่องเฉลิมพระเกียรติได้พรรณาว่า  มีเหตุ
มหัศจรรย์เกิดขึ้นเหมือนกับตอนประสูติ ตรัสรู้ และตรัสปฐมเทศนา  จะต่างกันบ้างก็แต่ในรายละเอียดเท่านั้น  เช่นว่า  กลองทิพย์บันลือลั่นทั่วท้องเวหา  คนตาบอดกลับมองเห็น  คนหูหนวกกลับได้ยิน


   ตอนนั้น  ถ้าจะถ่ายทอดพระพุทธเจ้าออกจากวรรณคดี  มาเป็นพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติก็ว่า
กลองทิพย์บันลือลั่นนั้น  คือ  'นิมิต'  หมายถึง  พระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้าที่จะแผ่ไปทั่วโลก   คนตาบอด  หูหนวก  คือ  คนที่มีกิเลส  ได้สดับรสธรรมแล้วจะหายตาบอด  หูหนวก  หรือมีปัญญารู้แจ้งมองเห็นทางพ้นทุกข์นั้นเอง

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f00.html
--------------------------------------------------------------------

ชาดกทั้งสิบชาติของพระพุทธเจ้า สมาชิกท่านใดต้องการอ่านเรื่องไหน ขอมาได้ครับ

 ขอให้ธรรมคุ้มครอง
:49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะั
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 25, 2010, 10:09:31 pm »
0
อ้างถึง
๔.   พระเนมิราช   ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี   คือ ความมีจิตที่แน่วแน่สมบูรณ์

ผมอยากอ่านเรื่องนี้ ครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ

:c017:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะั
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 27, 2010, 01:53:25 pm »
0
อ้างถึง
๙.   พระวิธูรบัณฑิต   ทรงบำเพ็ญสัจจะบารมี   คือ ความมีสัจจะสูงสุด

ผมขอเรื่องนี้ ด้วยนะครับ หาอ่านมานานแล้ว ตามในเว็บเองก้ไม่ค่อยจะละเอียด เชื่อมือ คุณปุ้ม น่าจะรวบรวมให้ผมได้อ่านครบ ครับ :c017: :13:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญ อธิษฐานบารมี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 07:37:11 pm »
0
๔. เนมิราชชาดก
พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี

 


             [๕๒๕]    น่าอัศจรรย์จริงหนอ เมื่อใด พระเนมิราชเจ้าผู้เป็นบัณฑิต เป็นพระ-
                          ราชาผู้ปราบอริราชศัตรู มีพระประสงค์ด้วยกุศล  ทรงให้ทานแก่ชาว
                          วิเทหรัฐทั้งปวง เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อนั้นบุคคลผู้มีปัญญาทั้งหลาย
                          ย่อมบังเกิดขึ้นในโลก เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงให้ทานนั้นอยู่ เกิดพระ-
                          ดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์อย่างไหนมีผลมากหนอ.
             [๕๒๖]    ท้าวมัฆวาฬเทพกุญชรสหัสสเนตร ทรงทราบพระดำริของพระเจ้าเนมิราช
                          แล้ว  ทรงกำจัดความมืดด้วยพระรัศมีปรากฏขึ้น  พระเจ้าเนมิราชจอม
                          มนุษย์มีพระโลมชาติชูชัน ได้ตรัสถามท้าววาสวะว่า ท่านเป็นเทวดา
                          เป็นคนธรรพ์  หรือ เป็นท้าวสักกปุรินททะ รัศมีของท่านเช่นนั้น
                          ข้าพเจ้าไม่ได้เห็นหรือไม่ได้ยินมาเลย ขอท่านจงบอกแก่ข้าพเจ้า ขอ
                          ความเจริญจงมีแก่ท่าน  ข้าพเจ้าจะรู้จักท่านได้อย่างไร ท้าววาสวะทรง
                          ทราบว่า  พระเจ้าเนมิราชมีพระโลมชาติชูชันได้ตรัสตอบว่า หม่อมฉัน
                          เป็นท้าวสักกรินทร์เทวราช มาในสำนักของพระองค์ ดูกรพระองค์ผู้เป็น
                          จอมมนุษย์ พระองค์อย่าทรงมีพระโลมชาติชูชัน เชิญตรัสถามปัญหา
                          ตามที่ทรงพระประสงค์เถิด พระเจ้าเนมิราช ทรงได้โอกาสนั้นแล้ว จึง
                          ตรัสถามท้าววาสวะว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้เป็นใหญ่แห่งปวงภูต
                          หม่อมฉันขอทูลถาม พระองค์ว่า ทานหรือพรหมจรรย์อย่างไหนมีผล
                          มาก  ท้าววาสวะอันพระเจ้าเนมิราชผู้ประเสริฐกว่านรชนตรัสถามแล้ว
                          ทรงทราบวิบากแห่งพรหมจรรย์  จึงได้ตรัสบอกแก่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่
                          ทรงทราบว่า บุคคลย่อมบังเกิดในขัตติยสกุลเพราะพรหมจรรย์อย่างเลว
                          บุคคลย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเพราะพรหมจรรย์ปานกลาง บุคคลย่อม
                          บริสุทธิ์เพราะพรหมจรรย์อย่างสูงสุด หมู่พรหมเหล่านี้อันใครๆ จะ
                          พึงได้ง่ายๆ ด้วยประกอบการวิงวอนก็หาไม่ บุคคลต้องเป็นผู้ไม่มีเรือน
                          บำเพ็ญตบธรรม จึงจะบังเกิดในหมู่พรหม.
             [๕๒๗]    พระราชาเหล่านี้  คือ พระเจ้าทุทีปราช  พระเจ้าสาครราช พระเจ้า-
                          เสลราช พระเจ้ามุจลินทราช พระเจ้าภคีรสราช พระเจ้าอุสินนรราช
                          พระเจ้าอัตถกราช พระเจ้าอัสสกราช พระเจ้าปุถุทธนราช และกษัตริย์
                          เหล่าอื่นทั้งพราหมณ์เป็นอันมาก บูชายัญมากมายแล้ว ไม่ล่วงพ้นความ
                          ละโลกนี้ไป.
             [๕๒๘]    ชนเหล่าใดไม่มีเพื่อนสอง อยู่คนเดียว ย่อมไม่รื่นรมย์ ย่อมไม่ได้ปีติ
                          อันเกิดแต่วิเวก ชนเหล่านั้นถึงจะมีโภคสมบัติเสมอด้วยทิพสมบัติของ
                          พระอินทร์ ถึงกระนั้นก็ชื่อว่าเป็นคนเข็ญใจเพราะความสุขที่ต้องอาศัย
                          ผู้อื่น.
             [๕๒๙]    ฤาษี ๗ ตนเหล่านั้น  คือ ยามหนุฤาษี  โสมยาคฤาษี  มโนชฤาษี
                          สมุททฤาษี มาฆฤาษี ภรตฤาษี และกาลปุรักขิตฤาษี และฤาษีอีก ๔ ตน
                          คือ อังคีรสฤาษี  กัสสปฤาษี  กีสวัจฉฤาษี  อกันติฤาษี  ผู้ไม่มีเรือน
                          บำเพ็ญตบะ ล่วงพ้นกามาวจรภพได้แล้ว.
             [๕๓๐]    แม่น้ำชื่อสีทามีอยู่ทางด้านทิศอุดร เป็นแม่น้ำลึก  ข้ามได้ยาก กัญจน-
                          บรรพตมีสีดังไฟไม้อ้อ  โชติช่วงอยู่ในกาลทุกเมื่อ ที่ฝั่งแม่น้ำนั้นมีต้น
                          กฤษณางอกงาม  มีภูเขาอื่นอีกซึ่งมีป่าไม้งอกงาม  มีฤาษีเก่าแก่ประมาณ
                          หมื่นตน อาศัยอยู่ที่ภูเขาภาคนั้น หม่อมฉันเป็นผู้ประเสริฐสุดด้วยทาน
                          สัญญมะและทมะ หม่อมฉันอุปัฏฐากดาบสเหล่านั้นผู้บำเพ็ญวัตรอันไม่มี
                          วัตรอื่นยิ่งกว่า   ละหมู่คณะไปอยู่ผู้เดียว มีจิตมั่นคง  หม่อมฉันจัก
                          นอบน้อมนรชนผู้ปฏิบัติตรง จะมีชาติก็ตาม  ไม่มีชาติก็ตาม ตลอดกาล
                          เป็นนิตย์  เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  ฉะนั้น
                          วรรณะทั้งปวงผู้ตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมตกนรกเบื้องต่ำ วรรณะทั้งปวง
                          ย่อมหมดจด เพราะประพฤติธรรมอันสูงสุด.
             [๕๓๑]    ท้าวมฆวาฬสุชัมบดีเทวราช ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงพร่ำสอนพระเจ้า-
                          เนมิราชผู้ครองวิเทหรัฐแล้ว ได้เสด็จกลับไปในหมู่สวรรค์.
             [๕๓๒]    ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย  ท่านทั้งหลายบรรดาที่มาประชุมกัน ณ ที่นี้
                          ประมาณเท่าใด จงตั้งใจฟังคุณทั้งสูงทั้งต่ำเป็นอันมากนี้   ขอมนุษย์ทั้ง-
                          หลายผู้ตั้งอยู่ในธรรม เกิดความดำริเหมือนอย่างพระเจ้าเนมิราชผู้เป็น
                          บัณฑิต มีพระประสงค์ด้วยกุศล เป็นพระราชาผู้ปราบอริราชศัตรู ทรง
                          ให้ทานแก่ชาววิเทหรัฐทั้งปวง  เมื่อพระเจ้าเนมิราชทรงให้ทานนั้นอยู่
                          เกิดพระดำริขึ้นว่า ทานหรือพรหมจรรย์อย่างไหน มีผลมากหนอ ฉะนั้น
                          เถิด.
             [๕๓๓]    เกิดพิศวงขนพองซึ่งไม่เคยมีมามีขึ้นในโลกแล้วหนอ  รถทิพย์ปรากฏ
                          แล้วแก่พระเจ้าวิเทหรัฐผู้เรืองพระยศ.
             [๕๓๔]    เทพบุตรมาตลีเทพสารถีผู้มีฤทธิ์มาก เชื้อเชิญเสด็จพระเจ้าวิเทหรัฐ ผู้
                          ทรงสงเคราะห์ชาวเมืองมิถิลาว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่
                          ในทิศ ขอเชิญเสด็จมาขึ้นรถนี้ เทพเจ้าชาวดาวดึงส์พร้อมด้วยพระอินทร์
                          ใคร่จะเห็นพระองค์ ก็เทพเจ้าเหล่านั้นระลึกถึงพระองค์ ประชุมกันอยู่
                          ณ สุธรรมสภา.
             [๕๓๕]    ลำดับนั้น  พระเจ้าวิเทหรัฐผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมืองมิถิลาเป็นประมุข
                          รีบเสด็จลุกจากอาสน์ขึ้นสู่รถ  มาตลีเทพสารถีได้ทูลถามพระเจ้าเนมิราช
                          ผู้เสด็จขึ้นรถทิพย์แล้วว่า ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐ ผู้เป็นใหญ่ในทิศ
                          ข้าพระองค์จะนำเสด็จพระองค์ไปโดยทางไหน  คือ โดยทางที่บุคคลไป
                          แล้วสามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรมอันเป็นบาป  หรือ
                          โดยทางบุคคลไปแล้ว  สามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรม
                          เป็นบุญ พระเจ้าข้า.
             [๕๓๖]    ดูกรมาตลีเทพสารถี ขอให้ท่านนำรถเราไปโดยทางทั้งสอง คือ โดยทาง
                          ที่บุคคลไปแล้ว สามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรมเป็นบาป
                          และโดยทางที่บุคคลไปแล้ว สามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มี
                          กรรมเป็นบุญ.
             [๕๓๗]    ข้าแต่พระราชาผู้ประเสริฐสุด ผู้เป็นใหญ่ในทิศ ข้าพระองค์จะนำเสด็จ
                          พระองค์ไปโดยทางไหนก่อน คือ โดยทางที่บุคคลไปแล้ว สามารถเห็น
                          สถานที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรมเป็นบาป หรือโดยทางที่บุคคลไปแล้ว
                          สามารถเห็นสถานที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรมเป็นบุญ พระเจ้าข้า.
             [๕๓๘]    เราจะดูนรกอันเป็นที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรมอันเป็นบาป และสถาน
                          ที่อยู่ของเหล่านรชนผู้มีกรรมอันหยาบช้า  ทั้งคติของเหล่านรชนผู้ทุศีล
                          ก่อน.
             [๕๓๙]    มาตลีเทพสารถีได้ฟังพระดำรัสของพระราชาแล้ว จึงแสดงแม่น้ำเวตรณี
                          ที่ข้ามได้ยาก ประกอบด้วยน้ำแสบเผ็ดร้อนเดือดพล่าน  เปรียบดัง
                          เปลวเพลิง.
             [๕๔๐]    พระเจ้าเนมิราช  ทอดพระเนตรเห็นสัตว์ผู้ตกอยู่ในแม่น้ำเวตรณีที่ข้ามได้
                          ยาก  จึงตรัสถามมาตลีเทพสารถีว่า ดูกรมาตลีเทพสารถี  ความกลัว
                          ย่อมเกิดแก่เรา  เพราะได้เห็นสัตว์นรกผู้ตกอยู่ในแม่น้ำเวตรณี  เราขอ
                          ถามท่าน  สัตว์เหล่านี้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ  จึงตกลงอยู่ในแม่น้ำ
                          เวตรณี.
             [๕๔๑]    มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถามแล้ว ทูลพยากรณ์ตามที่ทราบ
                          วิบากของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมอันเป็นบาป  แก่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่ทรง
                          ทราบว่า ชนเหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มีกำลัง มีกรรม
                          อันเป็นบาป ย่อมเบียดเบียนด่าว่าผู้อื่นซึ่งหากำลังมิได้ ชนเหล่านั้นมี
                          กรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรม จึงตกลงในแม่น้ำเวตรณี พระเจ้าข้า.
             [๕๔๒]    สุนัขแดง สุนัขด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกา อันน่าหวาดเสียว ย่อมรุมกัดจิก
                          กินสัตว์นรก ดูกรมาตลีเทพสารถี ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้
                          เห็นฝูงสัตว์รุมทึ้ง จิก กัด กิน สัตว์นรก  เราขอถามท่าน สัตว์
                          เหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ จึงถูกฝูงการุมจิกกิน.
             [๕๔๓]    มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถามแล้วทูลพยากรณ์  วิบากของ
                          เหล่าสัตว์ผู้มีกรรมอันเป็นบาปตามที่ได้ทราบ  แก่พระเจ้าเนมิราชผู้ไม่
                          ทรงทราบว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง  เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น  มี
                          ธรรมอันลามก มักบริภาษเบียดเบียนด่าว่าสมณพราหมณ์  ชนเหล่านั้น
                          ผู้มีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้วจึงถูกฝูงการุมจิกกิน พระเจ้าข้า.
             [๕๔๔]    สัตว์นรกเหล่านี้มีร่างกายลุกโพลง เดินเหยียบแผ่นดินเหล็ก และนาย
                          นิรยบาลโบยด้วยท่อนเหล็กอันร้อน  ดูกรมาตลีเทพสารถี ความกลัวย่อม
                          เกิดแก่เรา เพราะได้เห็นสัตว์นรกเหล่านี้ถูกโบยด้วยท่อนเหล็ก  เราขอ
                          ถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ จึงถูกเบียดเบียน
                          ด้วยท่อนเหล็กนอนอยู่.
             [๕๔๕]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  ชนเหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
                          มีธรรมอันลามก เบียดเบียนด่าว่าชายหญิงผู้มีธรรมเป็นกุศล ชนเหล่านั้น
                          มีกรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว จึงถูกเบียดเบียนด้วยท่อนเหล็ก
                          นอนอยู่ พระเจ้าข้า.
             [๕๔๖]    สัตว์นรกเหล่าอื่นถูกไฟไหม้ทั่วสรรพางค์กายร้องไห้ครวญครางอยู่ในหลุม
                          ถ่านเพลิง  ดูกรมาตลีเทพสารถี ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา  เพราะได้
                          เห็นสัตว์นรกถูกไฟไหม้ทั่วสรรพางค์กาย  เราขอถามท่าน  สัตว์นรก
                          เหล่านี้ได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ  จึงร้องครวญครางอยู่ในหลุมถ่าน
                          เพลิง.
             [๕๔๗]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
                          ชนเหล่าใดแต่งพยานเท็จ ก่อให้เกิดหนี้เพราะหลอกลวงเอาทรัพย์ของ
                          ประชุมชน  ชนเหล่านั้นครั้นก่อให้เกิดหนี้แก่ประชาชนแล้ว  เป็นผู้มี
                          กรรมหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว ต้องร้องครวญครางอยู่ในหลุมถ่าน
                          เพลิง พระเจ้าข้า.
             [๕๔๘]    หม้อเหล็กใหญ่อันไฟติดทั่ว ลุกรุ่งเรืองโชติช่วง ย่อมปรากฏ ดูกรมาตลี
                          เทพสารถี ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นหม้อเหล็กใหญ่อัน
                          ไฟติดทั่ว  ลุกรุ่งเรืองโชติช่วง เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำ
                          บาปกรรมอะไรไว้หนอ จึงตกลงในโลหกุมภี.
             [๕๔๙]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า ชนเหล่าใดมีธรรมอันลามก เบียด-
                          เบียนด่าว่าสมณพราหมณ์ผู้มีศีล ชนเหล่านั้นมีกรรมอันหยาบช้า กระทำ
                          บาปกรรมแล้วจึงตกลงในโลหกุมภี พระเจ้าข้า.
             [๕๕๐]    นายนิรยบาลผูกคอสัตว์นรกด้วยพรวนเหล็กอันลุกโพลง แล้วตัดศีรษะ
                          โยนลงไปในน้ำร้อน  ดูกรมาตลีเทพสารถี ความกลัวย่อมเกิดแก่เรา
                          เพราะได้เห็นความเป็นไปของสัตว์นรกเหล่านี้  เราขอถามท่าน สัตว์
                          นรกเหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรหนอ จึงถูกตัดศีรษะนอนอยู่.
             [๕๕๑]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมประชาชน
                          ชนเหล่าใดเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก มีธรรมอันลามก จับนกมาฆ่าเลี้ยง
                          ชีพ ชนเหล่านั้นมีกรรมอันหยาบช้า  ครั้นฆ่านกเลี้ยงชีพ กระทำกรรม
                          แล้ว จึงต้องถูกตัดศีรษะนอนอยู่ พระเจ้าข้า.
             [๕๕๒]    แม่น้ำนี้มีน้ำมาก  ตลิ่งไม่สูง  มีท่าน้ำราบเรียบไหลอยู่เสมอ  สัตว์นรก
                          ผู้เร่าร้อนเพราะความร้อนแห่งไฟ จะดื่มน้ำ แต่เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้นจะ
                          ดื่ม  น้ำย่อมกลายเป็นแกลบ ดูกรมาตลีเทพสารถี  ความกลัวย่อมเกิด
                          แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปของสัตว์เหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์
                          นรกเหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ  เมื่อจะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็น
                          แกลบไป.
             [๕๕๓]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใด  มีกรรมอันไม่
                          บริสุทธิ์ เอาข้าวลีบแกลบ หรือทรายเป็นต้น ปนข้าวเปลือกขายให้แก่
                          ผู้ซื้อ  เมื่อสัตว์นรกเหล่านั้น มีความร้อนเพราะความร้อนแห่งไฟ กระ-
                          หายน้ำ จะดื่มน้ำ น้ำจึงกลายเป็นแกลบไป พระเจ้าข้า.
             [๕๕๔]    นายนิรยบาลเอาลูกศร  หอกและโตมร  แทงข้างทั้งสองของสัตว์นรก
                          ผู้คร่ำครวญอยู่ ดูกรมาตลีเทพสารถี ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เพราะ
                          ได้เห็นความเป็นไปของสัตว์นรกเหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้
                          ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ จึงถูกแทงด้วยหอกนอนอยู่.
             [๕๕๕]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า ชนเหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
                          เป็นผู้มีกรรมไม่ดี ลักทรัพย์ของผู้อื่น คือ ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงิน ทอง
                          แพะ แกะ ปศุสัตว์ และกระบือ มาเลี้ยงชีวิต  ชนเหล่านั้นผู้มีกรรม
                          หยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว ต้องถูกแทงด้วยหอกนอนอยู่ พระเจ้าข้า.
             [๕๕๖]    เพราะเหตุไร สัตว์นรกเหล่านี้จึงถูกนายนิรยบาลผูกคอไว้ สัตว์นรกอีก
                          พวกหนึ่งถูกนายนิรยบาลตัดเป็นท่อนๆ นอนอยู่  ดูกรมาตลีเทพสารถี
                          ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา  เพราะได้เห็นความเป็นไปของสัตว์นรก
                          เหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้กระทำกรรมอะไรไว้หนอ จึง
                          ถูกตัดเป็นท่อนๆ นอนอยู่.
             [๕๕๗]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านี้ เคยเป็นคนฆ่าแกะ
                          ฆ่าสุกร ฆ่าปลา ครั้นฆ่าปศุสัตว์ กระบือ แพะ และแกะแล้ว เอาวางไว้
                          ที่เขียง ขายเลี้ยงชีพเป็นผู้มีกรรมอันหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้วต้อง
                          ตัดเป็นท่อนๆ นอนอยู่ พระเจ้าข้า.
             [๕๕๘]    ห้วงน้ำเต็มไปด้วยมูตและคูถ ไม่สะอาด เป็นน้ำเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป
                          สัตว์นรกอันความหิวครอบงำแล้ว ย่อมกินมูตและคูถนั้น  ดูกรมาตลี-
                          เทพสารถี ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปของ
                          สัตว์นรกเหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไร
                          ไว้หนอ จึงมีมูตและคูถเป็นอาหาร.
             [๕๕๙]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่าใด เคยก่อทุกข์เบียด
                          เบียนมิตรสหายเป็นต้น  ตั้งมั่นอยู่ในความเบียดเบียนผู้อื่นเป็นนิตย์
                          สัตว์นรกเหล่านั้น มีกรรมอันหยาบช้า เป็นคนพาลประทุษร้ายมิตร
                          กระทำบาปกรรมแล้ว จึงต้องมากินมูตและคูถ พระเจ้าข้า.
             [๕๖๐]    ห้วงน้ำนี้เต็มไปด้วยเลือดและหนอง ไม่สะอาดเป็นน้ำเน่า  มีกลิ่น
                          เหม็นฟุ้งไป สัตว์นรกถูกความร้อนเผาแล้ว ย่อมดื่มเลือดและหนองกิน
                          ดูกรมาตลีเทพสารภี  ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นความ
                          เป็นไปของสัตว์นรกเหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์เหล่านี้ได้ทำบาปกรรม
                          อะไรไว้หนอ จึงมีเลือดและหนองเป็นอาหาร.
             [๕๖๑]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า ชนเหล่าใด เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
                          ฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ ชื่อว่าถึงปาราชิกในเพศคฤหัสถ์  ชน
                          เหล่านั้น  ผู้มีกรรมอันหยาบช้า กระทำบาปกรรมแล้ว จึงมีเลือดและ
                          หนองเป็นอาหาร พระเจ้าข้า.
             [๕๖๒]    ท่านจงดูลิ้นของสัตว์นรก อันนายนิรยบาลเกี่ยวด้วยเบ็ด และจงดูหนัง
                          ของสัตว์นรกที่ถูกนายนิรยบาลลอกด้วยขอเหล็ก  สัตว์นรกเหล่านี้ ย่อม
                          ดิ้นรนเหมือนปลาที่ถูกโยนขึ้นบนบก ร้องไห้น้ำลายไหลเพราะเหตุอะไร
                          ดูกรมาตลีเทพสารถี  ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นความ
                          เป็นไปของสัตว์นรกเหล่านี้ เราขอถามท่าน  สัตว์นรกเหล่านี้ได้ทำบาป
                          กรรมอะไรไว้หนอ จึงกลืนเบ็ดนอนอยู่.
             [๕๖๓]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านั้น เคยเป็นมนุษย์อยู่
                          ในตำแหน่งตีราคาสิ่งของ ยังราคาซื้อให้เสื่อมด้วยราคาขาย ทำการโกง
                          ด้วยการโกงเหตุเพราะความโลภทรัพย์  ปกปิดความโกงไว้ด้วยวาจาอัน
                          อ่อนหวาน เปรียบเหมือนคนเข้าใกล้ปลาเพื่อจะฆ่า เอาเหยื่อเกี่ยวเบ็ด
                          ปิดเบ็ดไว้ ฉะนั้น บุคคลจะช่วยป้องกันคนทำการโกง ผู้อันกรรมของตน
                          หุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้นผู้มีกรรมอันหยาบช้า กระทำบาป
                          กรรมแล้วจึงต้องกลืนเบ็ดนอนอยู่ พระเจ้าข้า.
             [๕๖๔]    หญิงนรกเหล่านี้มีร่างกายอันแตกทั่ว  น่าเกลียด แมลงวันตอมเป็นกลุ่ม
                          เปรอะเปื้อนด้วยเลือดและหนอง มีศีรษะขาด  เหมือนฝูงโคศีรษะขาด
                          อยู่บนที่ฆ่า ประคองแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่  หญิงนรกเหล่านั้นจมอยู่
                          ในภูมิภาคเพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาไฟตั้งขึ้นแต่ ๔ ทิศ ลุกโพลงกลิ้งมาบด
                          หญิงนรกเหล่านั้นให้แหลกละเอียด ดูกรมาตลีเทพสารถี ความกลัวย่อม
                          เกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปของหญิงนรกเหล่านั้น เราขอ
                          ถามท่าน หญิงเหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ จึงต้องมาจมอยู่ใน
                          ภูมิภาคเพียงเอวทุกเมื่อ ภูเขาไฟลุกโพลงตั้งขึ้นแต่ ๔ ทิศ บดหญิงนรก
                          เหล่านั้นให้แหลกละเอียด.
             [๕๖๕]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า หญิงเหล่านั้นเป็นกุลธิดา เมื่ออยู่ใน
                          มนุษยโลกมีการงานไม่บริสุทธิ์ ได้ประพฤติไม่น่ายินดี  เป็นหญิงนักเลง
                          ละสามีของตนเสีย คบหาชายอื่นเพราะเหตุแห่งความยินดีและการเล่น
                          หญิงเหล่านั้นเมื่อยังอยู่ในโลกนี้  ยังจิตของตนให้รื่นรมย์อยู่กับชายอื่น
                          จึงถูกภูเขาไฟอันลุกโพลงตั้งขึ้นแต่ ๔ ทิศ บดให้แหลกละเอียด พระเจ้าข้า.
             [๕๖๖]    เพราะเหตุไร พวกนายนิรยบาลจึงจับสัตว์นรกอีกพวกหนึ่งที่เท้าเอาหัวลง
                          โยนลงไปในนรก ดูกรมาตลีเทพสารภี ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา
                          เพราะได้เห็นความเป็นไปของสัตว์นรกเหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์
                          นรกเหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ  จึงถูกนายนิรยบาลจับโยนไป
                          ในนรก
             [๕๖๗]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านี้ เมื่อยังอยู่ในมนุษย
                          โลก เป็นผู้กรรมไม่ดี ลวงภรรยาของชายอื่น ชื่อว่าเป็นผู้ลักภัณฑะอัน
                          สูงสุด จึงถูกนายนิรยบาลจับโยนลงในนรก ต้องเสวยทุกขเวทนา ใน
                          นรกนั้นสิ้นปีเป็นอันมาก  บุคคลผู้ที่จะช่วยป้องกันบุคคลผู้มักกระทำบาป
                          กรรม ผู้อันกรรมของตนหุ้มห่อไว้ ไม่มีเลย สัตว์นรกเหล่านั้น  มี
                          กรรมอันหยาบช้า ทำบาปกรรมแล้ว ต้องถูกนายนิรยบาลจับโยนลงใน
                          นรก พระเจ้าข้า.
             [๕๖๘]    สัตว์นรกต่างๆ ทั้งเล็กทั้งใหญ่เหล่านี้ ประกอบเหตุการณ์  มีรูปร่างพิลึก
                          ปรากฏอยู่ในนรก ดูกรมาตลีเทพสารถี  ความกลัวย่อมเกิดขึ้นแก่เรา
                          เพราะได้เห็นความเป็นไปของสัตว์นรกเหล่านี้ เราขอถามท่าน สัตว์นรก
                          เหล่านี้ได้ทำบาปกรรมอะไรไว้หนอ  จึงต้องได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า
                          แสบเผ็ดร้อนเหลือเกิน.
             [๕๖๙]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า สัตว์นรกเหล่านี้ เมื่อยังอยู่ในมนุษย-
                          โลกเป็นผู้มีทิฏฐิอันลามก หลงทำกรรมด้วยความคุ้นเคย และชักชวนผู้
                          อื่นในทิฏฐิเช่นนั้น ทำบาปกรรมแล้ว จึงต้องได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า
                          แสบเผ็ดร้อนเหลือเกิน พระเจ้าข้า.
             [๕๗๐]    ข้าแต่มหาราชเจ้า  พระองค์ทรงทราบสถานที่อยู่ของเหล่าสัตว์ผู้มีกรรม
                          อันหยาบช้า และทรงทราบคติของเหล่าสัตว์ผู้ทุศีล เพราะได้ทอดพระ-
                          เนตรเห็นนิรยบาล  อันเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์นรกผู้มีบาปกรรมแล้ว
                          ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง  บัดนี้ ขอเชิญขึ้นไปในสำนักของ
                          ท้าวสักกเทวราชเถิด พระเจ้าข้า.
             [๕๗๑]    วิมาน ๕ ยอดนี้ปรากฏอยู่ นางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ประดับอาภรณ์
                          ทุกอย่างมีดอกไม้เป็นต้น นั่งอยู่ท่ามกลางที่ไสยาสน์ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
                          สถิตอยู่ในวิมานนั้น  ดูกรมาตลีเทพสารถี ความปลื้มใจเกิดขึ้นแก่เรา
                          เพราะได้เห็นความเป็นไปของเทพธิดาผู้อยู่ในวิมานนี้  เราขอถามท่าน
                          นางเทพธิดานี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึงได้ถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๗๒]    มาตลีเทพสารถีอันพระเจ้าเนมิราชตรัสถามแล้ว ทูลพยากรณ์วิบากของ
                          เทวดาทั้งหลาย ผู้มีกรรมอันเป็นกุศลตามที่ได้ทราบแก่พระเจ้าเนมิราชผู้
                          ไม่ทรงทราบว่า ก็นางเทพธิดาที่พระองค์ทรงหมายถึงนั้น  ชื่อนางพิรณี
                          เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เกิดในครรภ์ของนางทาสีในเรือนของพราหมณ์
                          นางรู้ซึ้งแขกคือภิกษุผู้มีภัตกาลอันถึงแล้ว  นิมนต์ให้นั่งในเรือนของ
                          พราหมณ์ยินดีต่อภิกษุนั้นเป็นนิตย์  ดังมารดายินดีต่อบุตรผู้จากไปนาน
                          กลับมาถึง  ฉะนั้น  นางอังคาสภิกษุนั้นโดยเคารพ ได้ถวายสิ่งของ
                          ของตนเล็กน้อย  เป็นผู้สำรวมและจำแนกทานจึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน
                          พระเจ้าข้า.
           
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระเจ้าเนมิราชทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 07:43:03 pm »
0

             [๕๗๓]    วิมานทั้ง ๗ อันบุญญานุภาพตกแต่ง ส่องสว่างโชติช่วง เทพบุตรผู้
                          หนึ่งมีฤทธิ์มาก ประดับประดาด้วยสรรพาภรณ์อันหมู่เทพธิดาแวดล้อม
                          ผลัดเปลี่ยนเวียนวนอยู่โดยรอบในวิมานทั้ง ๗ นั้น ดูกรมาตลีเทพสารถี
                          ความปลื้มใจเกิดขึ้นแก่เรา เพราะได้เห็น  ความเป็นไปของเทพบุตรผู้
                          อยู่ในวิมานนี้  เราขอถามท่าน เทพบุตรผู้นี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ
                          จึงถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๗๔]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรผู้นี้เป็นคฤหบดี ชื่อโสณ-
                          ทินนะ  เป็นทานบดี ให้สร้างวิหาร ๗ หลังอุทิศต่อบรรพชิต ได้อุปฐาก
                          ภิกษุผู้อยู่ในวิหาร ๗ หลังนั้นโดยเคารพ ได้บริจาคผ้านุ่งผ้าห่ม  อาหาร
                          เสนาสนะ เครื่องประทีป ในท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรง ด้วยจิตอันเลื่อมใส
                          รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่ง
                          ปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรในศีล  เป็นผู้สำรวมและ
                          บริจาคทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน พระเจ้าข้า.
             [๕๗๕]    วิมานอันบุญญานุภาพตบแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อนกล่นไปด้วยนางเทพอัปสร
                          ผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอด บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการ
                          ฟ้อนรำขับร้อง สว่างไสวออกจากแก้วผลึก ดูกรมาตลีเทพสารถี ความ
                          ปลื้มใจย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปแห่งวิมานนี้ เราขอ
                          ถามท่าน นางอัปสรเหล่านี้ ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึงมาถึงสวรรค์
                          บันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๗๖]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า นางอัปสรเหล่านั้น เมื่อยังอยู่ในมนุษย-
                          โลกนี้เป็นอุบาสิกาผู้มีศีล ยินดีในทาน มีจิตเลื่อมใสเป็นนิตย์ ตั้งอยู่
                          ในสัจจะ ไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถ เป็นผู้สำรวมและจำแนกแจก
                          ทาน จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน พระเจ้าข้า.
             [๕๗๗]    วิมานอันบุญญานุภาพตบแต่งแล้วนี้ ประกอบด้วยภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์
                          จัดสรรไว้เป็นส่วนๆ สว่างไสวออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ เสียงทิพย์ คือ
                          เสียงเปิงมาง  เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และเสียงประโคม
                          ดนตรีย่อมเปล่งออกน่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์ใจ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นหรือได้
                          ฟังเสียงอันเป็นอย่างนี้ อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย ดูกรมาตลี-
                          เทพสารถี  ความปลื้มใจย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปใน
                          วิมานนี้ เราขอถามท่าน เทพบุตรเหล่านี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึง
                          มาถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๗๘]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรเหล่านี้ เมื่อยังอยู่ในมนุษย-
                          โลก เป็นอุบาสกผู้มีศีล ได้ก่อสร้างอาราม บ่อน้ำ  สระน้ำ  และ
                          สะพาน  ได้ปฏิบัติพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ  ได้ถวายจีวร
                          บิณฑบาต  เสนาสนะ  และคิลานปัจจัย ในท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรงด้วยจิต
                          อันเลื่อมใส  ได้รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘  ในดิถีที่ ๑๔
                          ที่ ๑๕  ที่ ๘ แห่งปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรในศีล เป็น
                          ผู้สำรวมและบริจาคทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๗๙]    วิมานอันบุญญานุภาพตกแต่งดีแล้วนี้  เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่นางอัปสรผู้
                          ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอด  บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วยการ
                          ฟ้อนรำขับร้อง สว่างไสวออกจากฝาแก้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบไป
                          ด้วยไม้ดอกนานาชนิดล้อมรอบวิมานนั้น  ดูกรมาตลีเทพสารถี  ความ
                          ปลื้มใจย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปในวิมานนี้ เราขอถาม
                          ท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ  จึงมาถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ใน
                          วิมาน.
             [๕๘๐]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่ในเมือง
                          มิถิลา เป็นทานบดีได้สร้างอาราม บ่อน้ำ สระน้ำและสะพาน ได้ปฏิบัติ
                          ต่อพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
                          และคิลานปัจจัย ในท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรง ด้วยจิตอันเลื่อมใส ได้รักษา
                          อุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ ที่ ๘ แห่งปักษ์
                          และในวันปาฏิหาริยปักษ์  เป็นผู้สังวรในศีล เป็นผู้สำรวมและบริจาค
                          ทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน พระเจ้าข้า.
             [๕๘๑]    วิมานอันบุญญานุภาพตบแต่งดีแล้วนี้ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่นางเทพ-
                          อัปสรผู้ประเสริฐ รุ่งเรืองด้วยยอด บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ งดงามด้วย
                          การฟ้อนรำขับร้อง สว่างไสวออกจากฝาแก้วผลึก มีแม่น้ำอันประกอบ
                          ด้วยไม้ดอกนานาชนิด ล้อมรอบวิมานนั้น  และมีไม้เกตุ ไม้มะขวิด ไม้
                          มะม่วง ไม้สาละ ไม้ชมพู่ ไม้มะพลับ และไม้มะหาดเป็นอันมาก มี
                          ผลเป็นนิตย์ ดูกรมาตลีเทพสารถี ความปลื้มใจย่อมเกิดแก่เรา เพราะ
                          ได้เห็นความเป็นไปในวิมานนี้ เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้ทำกรรม
                          ดีอะไรไว้หนอ จึงมาถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมานนี้.
             [๕๘๒]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่ในเมือง
                          มิถิลา เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม  บ่อน้ำ  สระน้ำ  และสะพาน ได้
                          ปฏิบัติพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต เสนา-
                          สนะ และคิลานปัจจัย ในท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรง ด้วยจิตอันเลื่อมใส ได้
                          รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘  ในดิถีที่ ๑๔  ที่ ๑๕  ที่ ๘
                          แห่งปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรในศีล เป็นผู้สำรวม
                          และบริจาคทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน พระเจ้าข้า.
             [๕๘๓]    วิมานอันบุญญานุภาพตบแต่งดีแล้วนี้ ประกอบด้วยภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์
                          จัดสรรไว้เป็นส่วนๆ สว่างไสวออกจากฝาแก้วไพฑูรย์  เสียงทิพย์ คือ
                          เสียงเปิงมาง เสียงตะโพน การฟ้อนรำขับร้อง และเสียงประโคมดนตรี
                          ย่อมเปล่งออกน่าฟัง เป็นที่รื่นรมย์ใจ  เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นหรือได้ฟัง
                          เสียงอันเป็นอย่างนี้ อันไพเราะอย่างนี้ ในกาลก่อนเลย ดูกรมาตลีเทพ-
                          สารถี ความปลื้มใจย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปในวิมานนี้
                          เราขอถามท่าน เทพบุตรเหล่านี้ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึงมาถึงสวรรค์
                          บันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๘๔]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่ในเมือง
                          พาราณสี เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม  บ่อน้ำ  สระน้ำ  และสะพาน
                          ได้ปฏิบัติพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต
                          เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ให้ท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรง ด้วยจิตอันเลื่อมใส
                          ได้รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘  ในดิถีที่ ๑๔  ที่ ๑๕  ที่ ๘ แห่ง
                          ปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรในศีล เป็นผู้สำรวมและ
                          บริจาคทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมาน พระเจ้าข้า.
             [๕๘๕]    วิมานอันบุญญานุภาพตบแต่งดีแล้วนี้ รุ่งเรืองสุกใส ดุจอาทิตย์อุทัย
                          ดวงใหญ่สีแดง ฉะนั้น ดูกรมาตลีเทพสารถี ความปลื้มใจย่อมเกิดแก่
                          เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปในวิมานนี้  เราขอถามท่าน เทพบุตรนี้ได้
                          ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึงมาถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.
             [๕๘๖]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  เทพบุตรนี้เป็นคฤหบดีอยู่ในเมือง
                          สาวัตถี เป็นทานบดี ได้สร้างอาราม  บ่อน้ำ  สระน้ำ  และสะพาน
                          ได้ปฏิบัติพระอรหันต์ผู้เยือกเย็นโดยเคารพ ได้ถวายจีวร บิณฑบาต
                          เสนาสนะ และคิลานปัจจัย ในท่านผู้ปฏิบัติซื่อตรง ด้วยจิตอันเลื่อมใส
                          ได้รักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์ ๘  ในดิถีที่ ๑๔  ที่ ๑๕  ที่ ๘
                          แห่งปักษ์ และในวันปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรในศีล เป็นผู้สำรวม
                          และบริจาคทานเป็นนิตย์ จึงมาบันเทิงในวิมาน พระเจ้าข้า.
             [๕๘๗]    วิมานทองเป็นอันมากนี้ อันบุญญานุภาพตบแต่งดีแล้ว ลอยอยู่ในนภากาศ
                          รุ่งเรืองสว่างไสว ดังสายฟ้าในระหว่างก้อนเมฆ ฉะนั้น เทพบุตรผู้มีฤทธิ์
                          มาก ประดับประดาด้วยสรรพาภรณ์ อันหมู่เทพอัปสรแวดล้อม ผลัด
                          เปลี่ยนเวียนอยู่ในวิมานเหล่านั้นโดยรอบ ดูกรมาตลีเทพสารถี ความปลื้ม
                          ใจย่อมเกิดแก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปในวิมานนี้ เราขอถามท่าน
                          เทพบุตรเหล่านี้ ได้ทำกรรมดีอะไรไว้หนอ จึงมาถึงสวรรค์บันเทิงอยู่ใน
                          วิมาน.
             [๕๘๘]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า  เทพบุตรเหล่านี้เป็นสาวกของพระ-
                          สัมมาสัมพุทธเจ้า มีศรัทธาอันตั้งมั่น เมื่อพระสัทธรรมอันพระศาสดา
                          ทรงประกาศดีแล้ว ได้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ข้าแต่พระ-
                          ราชา  เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสถานที่สถิตของเทพบุตรเหล่านั้น.
             [๕๘๙]    ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ทรงทราบสถานที่อยู่ของสัตว์ ผู้มีกรรม
                          อันเป็นบาป และได้ทรงทราบสถานที่สถิตของเหล่าเทพเจ้าผู้มีกรรมงาม
                          แล้ว ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เชิญพระองค์เสด็จขึ้นไปใน
                          สำนักของท้าวสักกเทวราช ณ บัดนี้เถิด พระเจ้าข้า.
             [๕๙๐]    พระมหาราชาประทับอยู่บนทิพยาน อันเทียมด้วยม้าสินธพประมาณ ๑,๐๐๐
                          เสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นภูเขาหลายเทือกในระหว่างมหาสมุทร
                          สีทันดร ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามมาตลีเทพสารถีว่า ภูเขาเหล่านี้ชื่ออะไร.
             [๕๙๑]    ภูเขาเหล่านี้ ชื่อภูเขาสุทัศนะ ภูเขากรวิก ภูเขาอิสินธร ภูเขายุคันธร
                          ภูเขาเนมินทร ภูเขาวินตกะ และภูเขาอัสสกรรณ  สูงกว่ากันขึ้นไปเป็น
                          ลำดับๆ มีมหาสมุทรหนึ่ง ชื่อสีทันดร อยู่ในระหว่างภูเขาทั้ง ๗ นั้น
                          ภูเขาเหล่านี้เป็นทิพสถานของท้าวจาตุมหาราช ข้าแต่พระราชา  เชิญ
                          พระองค์ทอดพระเนตรภูเขาเหล่านั้น พระเจ้าข้า.
             [๕๙๒]    ประตูมีรูปต่างๆ รุ่งเรือง วิจิตรด้วยรูปต่างๆ เช่น รูปพระอินทร์ แวด
                          ล้อมดีแล้ว ปรากฏเหมือนป่าอันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้ว ดูกร
                          มาตลีเทพสารถี  ความปลื้มใจย่อมเกิดแก่เรา  เพราะได้เห็นประตูนี้
                          เราขอถามท่าน  ประตูนี้เขาเรียกชื่อว่าอะไร เป็นประตูน่ารื่นรมย์ใจ
                          ปรากฏแต่ไกลเทียว.
             [๕๙๓]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า ประตูนี้เขาเรียกชื่อว่าจิตรกูฏ เป็นที่
                          เสด็จเข้าออกแห่งท้าวสักกรินทรเทวราช ก็ประตูนี้เป็นประตูแห่งเทพนคร
                          ตั้งอยู่ในที่สุดแห่งเขาสิเนรุราชอันงามน่าดู ปรากฏอยู่ มีรูปต่างๆ งาม
                          วิจิตรด้วยรูป เช่น รูปพระอินทร์  แวดล้อมดีแล้ว ปรากฏเหมือนป่า
                          อันเสือโคร่งทั้งหลายรักษาดีแล้ว  ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
                          ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปทางประตูนี้   เชิญเสด็จเหยียบภูมิภาคอัน
                          ราบรื่นเถิด พระเจ้าข้า.
             [๕๙๔]    พระมหาราชาประทับอยู่บนทิพยาน อันเทียมด้วยม้าสินธพประมาณ ๑,๐๐๐
                          เสด็จไปอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวสภาวิมาน อันบุญญานุภาพตบแต่ง
                          ดีแล้วนี้ สว่างไสวออกจากฝาแก้วไพฑูรย์ ดังอากาศส่องแสงเขียวสด
                          ปรากฏในสรทกาล ฉะนั้น ดูกรมาตลีเทพสารถี ความปลื้มใจย่อมเกิด
                          แก่เรา เพราะได้เห็นความเป็นไปในวิมานนี้ เราขอถามท่าน วิมานนี้
                          เขาเรียกชื่อว่าอะไร.
             [๕๙๕]    มาตลีเทพสารถี ... ผู้ไม่ทรงทราบว่า วิมานนี้เป็นเทวสภา เขาเรียกชื่อ
                          ปรากฏว่าสุธรรมา งามวิจิตรรุ่งเรืองด้วยแก้วไพฑูรย์ อันบุญญานุภาพ
                          ตบแต่งดีแล้ว  มีเสาทั้งหลาย ๘ เหลี่ยม อันบุญกรรมกระทำดีแล้ว
                          ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ทุกๆ เสา รองรับไว้ เทพเจ้าชาวดาวดึงส์
                          ทั้งปวงแวดล้อมท้าวสักกรินทรเทวราช ประชุมคิดความเจริญของเทวดา
                          และมนุษย์กันอยู่ในวิมานนั้น ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณใหญ่ ขอเชิญ
                          พระองค์เสด็จเข้าไปยังทิพสถาน อันเป็นที่อนุโมทนากันและกันของ
                          เทวดาทั้งหลาย  โดยทางนี้พระเจ้าข้า.
             [๕๙๖]    เทพเจ้าทั้งหลายเห็นพระเจ้าเนมิราชนั้นเสด็จมาถึง ก็พากันยินดีต้อนรับว่า
                          ข้าแต่มหาราชเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ พระองค์เสด็จมาดีแล้ว อนึ่ง
                          พระองค์มิได้เสด็จมาร้าย ขอเชิญประทับนั่งในที่ใกล้ท้าวสักกรินทรเทวราช
                          ณ บัดนี้เถิด  ท้าวสักกรินทรเทวราชทรงยินดีต้อนรับพระองค์  ผู้เป็น
                          พระราชาแห่งชาววิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวกรุงมิถิลา ท้าววาสวะทรง
                          เชื้อเชิญด้วยทิพกามารมณ์ และอาสนะว่า ข้าแต่พระราชาผู้แสวงหาคุณ
                          อันใหญ่ เป็นความดีแล้ว ที่พระองค์เสด็จมาถึงทิพสถานอันเป็นที่อยู่
                          ของเทพยดาทั้งหลาย ผู้ยังสิ่งที่ตนประสงค์ให้เป็นไปตามอำนาจ ขอเชิญ
                          พระองค์ประทับอยู่ในหมู่เทพเจ้า  ผู้ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งทิพ-
                          กามารมณ์ทั้งมวล  เชิญพระองค์เสวยทิพกามารมณ์อยู่ในหมู่เทพเจ้า
                          ชาวดาวดึงส์เถิด พระเจ้าข้า.
             [๕๙๗]    สิ่งใดที่ได้มาเพราะผู้อื่นให้ สิ่งนั้นเปรียบเหมือนยวดยาน หรือทรัพย์ที่
                          ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ่งนั้น เพราะเป็นสิ่งที่ผู้อื่นให้
                          บุญทั้งหลายที่หม่อมฉันได้ทำเอง ย่อมเป็นทรัพย์ที่จะติดตามหม่อมฉันไป
                          หม่อมฉันจักกลับไปทำกุศลให้มากในหมู่มนุษย์ ด้วยการบริจาคทาน การ
                          ประพฤติสม่ำเสมอ ความสำรวม และการฝึกอินทรีย์ (เพราะ) บุคคล
                          ทำบุญแล้ว ย่อมได้รับความสุข และย่อมไม่เดือดร้อนในภายหลัง.
             [๕๙๘]    ท่านมาตลีเทพสารถี  ได้แสดงสถานที่อยู่ของทวยเทพผู้มีกรรมอันงาม
                          และสถานที่อยู่ของสัตว์นรกผู้มีกรรมอันลามกแก่เรา ชื่อว่า  เป็นผู้มี
                          อุปการะมากแก่เรา.
             [๕๙๙]    พระเจ้าเนมิราชพระราชาของชนชาววิเทหรัฐ ผู้ทรงสงเคราะห์ชาวเมือง
                          มิถิลา ครั้นตรัสพระคาถานี้ว่า  ผมหงอกงอกขึ้นบนศีรษะของเราแล้ว
                          ย่อมนำความหนุ่มไป  เทวทูตปรากฏแล้ว สมัยนี้เป็นกาลสมควรที่เรา
                          จะบวชดังนี้แล้ว ทรงบริจาคทานเป็นอันมาก ทรงเข้าถึงความเป็นผู้สำรวม
                          ในศีล.
จบ เนมิราชชาดกที่ ๔


 พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตออกมหาภิเนษกรมณ์. แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ออกมหาภิเนษกรมณ์เหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้ว ทรงประกาศจตุราริยสัจ ประชุมชาดก.

ท้าวสักกราชเทวราช ในครั้งนั้นมาเป็น ภิกษุชื่ออนุรุทธะ ในกาลนี้.
 มาตลีเทพสารถี เป็น ภิกษุชื่ออานนท์.
 กษัตริย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ เป็นพุทธบริษัท.
 ก็เนมิราช คือ เราผู้ สัมมาพุทธะ นี่เองแล.


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  บรรทัดที่ ๓๔๔๒ - ๓๘๖๐.  หน้าที่  ๑๓๔ - ๑๔๙.
http://84000.org/tipitaka/atita/v.php?B=28&A=3442&Z=3860&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525
ที่มา  http://84000.org/tipitaka/atita/s.php?B=28&A=3442&Z=3860

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญ สัจจะบารมี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 07:48:14 pm »
0
๙. วิธุรชาดก

 


             [๘๙๓]    เธอมีผิวพรรณเหลือง ซูบผอม ถอยกำลัง เมื่อก่อนรูปพรรณ
                          ของเธอมิได้เป็นเช่นนี้เลย ดูกรพระน้องวิมลา พี่ถามแล้ว
                          ขอเธอจงบอก เวทนาในร่างกายของเธอเป็นเช่นไร ฯ
             [๘๙๔]    ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมหมู่นาค ชื่อว่าความอยากได้โน่น
                          อยากได้นี่ เขาเรียกกันว่าเป็นธรรมดาของหญิงทั้งหลายใน
                          หมู่มนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดในหมู่นาค หม่อมฉัน
                          ปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ที่บุคคลนำมาได้โดยชอบ
                          เพคะ ฯ
             [๘๙๕]    ดูกรพระน้องวิมลา เธอปรารถนาหทัยของวิธุรบัณฑิต ดังจะ
                          ปรารถนาพระจันทร์ พระอาทิตย์ หรือลม เพราะว่าวิธุร-
                          บัณฑิตยากที่บุคคลจะเห็นได้ ใครจักนำวิธุรบัณฑิตมาใน
                          นาคพิภพนี้ได้ ฯ
             [๘๙๖]    ข้าแต่สมเด็จพระบิดา เหตุไรหนอสมเด็จพระบิดาจึงทรง
                          ซบเซา พระพักตร์ของสมเด็จพระบิดา เป็นเหมือน
                          ดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ข้าแต่สมเด็จพระบิดาผู้เป็นใหญ่
                          เป็นที่เกรงขามของศัตรู เหตุไรหนอสมเด็จพระบิดาจึงทรง
                          เป็นทุกข์พระหฤทัย อย่าทรงเศร้าโศกไปเลย เพคะ ฯ
             [๘๙๗]    อิรันทดีลูกรัก ก็พระมารดาของเจ้า ปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต
                          เพราะวิธูรบัณฑิต ยากที่บุคคลจะเห็นได้ ใครจักนำวิธูรบัณฑิต มาใน
                          นาคพิภพนี้ได้.
             [๘๙๘]    เจ้าจงไปเที่ยวแสวงหาสามี ซึ่งสามารถนำวิธูรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้
                          ก็นางนาคมาณวิกานั้นได้สดับพระดำรัสของพระบิดาดังนี้แล้ว เป็นผู้มี
                          จิตชุ่มด้วยกิเลส  ออกเที่ยวแสวงหาสามีในคืนนั้น.
             [๘๙๙]    คนธรรพ์ รากษส นาค กินนร หรือมนุษย์ผู้ฉลาดสามารถ จะให้
                          สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวงได้ คนไหนก็ตามที่จักเป็นสามีของเราตลอดกาลนาน.
             [๙๐๐]    ดูกรนางผู้มีนัยน์ตาหาที่ติมิได้ เธอจงเบาใจเถิด เราจักเป็นสามีของเธอ
                          จักเป็นผู้เลี้ยงดูเธอ เพราะปัญญาของเราอันสามารถจะนำเนื้อดวงใจของ
                          วิธูรบัณฑิตมาให้  จงเบาใจเถิด เธอจักเป็นภรรยาของเรา.
             [๙๐๑]    นางอิรันทดีผู้มีใจกำหนัดรักใคร่ เพราะเคยร่วมอภิรมย์กันมาในภพก่อน
                          ได้กล่าวกับปุณณกยักษ์ว่า มาเถิดท่าน เราจักไปในสำนักพระบิดาของ
                          ดิฉัน พระบิดาของดิฉันจักตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ท่าน.
             [๙๐๒]    นางอิรันทดีประดับประดานุ่งผ้าเรียบร้อย ทัดทรงดอกไม้ประพรมด้วย
                          จุรณแก่นจันทน์ จูงมือปุณณกยักษ์เข้าไปสู่สำนักแห่งพระบิดา.
             [๙๐๓]    ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นาค ขอพระองค์ได้ทรงโปรดสดับถ้อย
                          คำของข้าพระองค์ ขอพระองค์จงทรงรับสินสอดตามสมควร ข้าพระองค์
                          ปรารถนาพระนางอิรันทดี ขอพระองค์ ได้ทรงพระกรุณาให้ข้าพระองค์
                          ได้อยู่ร่วมกับพระนางอิรันทดีเถิด ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอได้
                          ทรงพระกรุณารับสินสอดนั้น คือ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ รถเทียมม้า ๑๐๐
                          เกวียนบรรทุกของเต็ม ล้วนแก้วต่างๆ ๑๐๐ ขอได้โปรดพระราชทาน
                          พระราชธิดาอิรันทดีแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า.
             [๙๐๔]    ขอท่านจงรออยู่จนเราได้ปรึกษาหารือกับบรรดาญาติ มิตร และเพื่อนที่
                          สนิทเสียก่อน กรรมที่กระทำด้วยการไม่ปรึกษาหารือ ย่อมเดือดร้อน
                          ในภายหลัง.
             [๙๐๕]    ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ ตรัสปรึกษากับพระชายา
                          เป็นพระคาถา ความว่า ปุณณกยักษ์ มาขอลูกอิรันทดีกะเรา เราจะให้
                          ลูกอิรันทดี ซึ่งเป็นที่รักของเรา แก่ปุณณกยักษ์นั้น เพราะได้ทรัพย์เป็น
                          จำนวนมากหรือ.
             [๙๐๖]    ปุณณกยักษ์ไม่พึงได้ลูกอิรันทดีของเราเพราะทรัพย์ เพราะสิ่งที่ปลื้มใจ
                          แต่ถ้าปุณณกยักษ์  ได้หทัยของวิธูรบัณฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดยชอบ
                          ธรรม เพราะความชอบนั่นแลเขาจะพึงได้ลูกสาวของเรา  หม่อมฉัน-
                          ปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่าหทัยของวิธูรบัณฑิตหามิได้.
             [๙๐๗]    ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จออกจากนิเวศน์ แล้วตรัสเรียกปุณณ-
                          กยักษ์มาตรัสว่า  ท่านไม่พึงได้ลูกอิรันทดีของเราเพราะทรัพย์  เพราะ
                          สิ่งปลื้มใจ ถ้าท่านได้หทัยของวิธูรบัณฑิตนำมา  ในนาคพิภพนี้โดย
                          ชอบธรรม ท่านจะพึงได้ลูกสาวของเรา เราปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่า
                          หทัยของวิธูรบัณฑิตหามิได้.
             [๙๐๘]    ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ในโลกนี้ คนบางพวกย่อมเรียกคนใดว่า
                          เป็นบัณฑิต คนพวกอื่นกลับเรียกคนนั้นนั่นแลว่าเป็นพาล ในเรื่องนี้
                          คนทั้งหลายยังกล่าวแย้งกันอยู่ ขอได้ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ พระองค์
                          ทรงเรียกใครว่าเป็นบัณฑิต.
             [๙๐๙]    บัณฑิตชื่อว่าวิธูระ  ผู้ทำการสั่งสอนอรรถธรรมแก่พระเจ้าธนญชัย-
                          โกรพยราช  ถ้าท่านได้ฟังได้ยินมาแล้ว ท่านจงไปนำบัณฑิตนั้นมา
                          ครั้นท่านได้มาโดยธรรมแล้ว อิรันทดีธิดาของเราจงเป็นภรรยาของท่าน
                          เถิด.
             [๙๑๐]    ฝ่ายปุณณกยักษ์ ได้สดับพระดำรัสของท้าววรุณนาคราชดังนี้แล้ว ยินดี
                          ยิ่งนัก ลุกขึ้นแล้ว ไปสั่งบุรุษคนใช้ของตนผู้อยู่ในที่นั้นว่า เจ้าจงนำ
                          ม้าอาชาไนยที่ประกอบไว้แล้วมา ณ ที่นี้ ม้าสินธพอาชาไนยนั้น มีหู
                          ทั้งสองประดับด้วยทองคำ กีบหุ้มด้วยแก้วแดง มีเครื่องประดับอกล้วน
                          แล้วด้วยทองชมพูนุทอันสุกใส.
             [๙๑๑]    ปุณณกยักษ์ผู้ประดับประดาแล้ว แต่งผมและหนวดดีแล้วขึ้นม้าอันเป็น
                          ยานพาหนะของเทวดา เหาะไปในอากาศกลางหาว ปุณณกยักษ์นั้น
                          กำหนัดแล้วด้วยกามราคะ ปรารถนา
                          นางอิรันทดีนาคกัญญา ไปทูลท้าวกุเวรเวสสวัณผู้เรืองยศ
                          ซึ่งเป็นใหญ่แห่งหมู่ยักษ์ว่า ภพนาคนั้นเขาเรียกชื่อว่าโภควดี
                          นครบ้าง วาสนครบ้าง หิรัญญวดีนครบ้าง เป็นเมืองที่
                          บุญญกรรมนิรมิต ล้วนแต่ทองคำ สำเร็จแก่พระยานาคผู้
                          บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ทุกอย่าง ป้อมและเชิงเทิน สร้างโดย
                          สัณฐานคออูฐ ล้วนแล้วด้วยแก้วแดงและแก้วลาย ในนาค
                          พิภพนั้น มีปราสาทล้วนแล้วด้วยหิน มุงด้วยกระเบื้องทอง
                          ในนาคพิภพนั้น มีไม้มะม่วง ไม้หมากเม่า ไม้หว้า ไม้
                          ตีนเป็ด ไม้จิก ไม้การะเกต ไม้ประยงค์ ไม้ราชพฤกษ์
                          ไม้มะม่วงหอม ไม้ชะบา ไม้ยางทราย ไม้จำปา ไม้
                          กากระทิง มะลิซ้อน มะลิลา และไม้กะเบา ต้นไม้ใน
                          นาคพิภพเหล่านี้มีกิ่งติดต่อกันและกัน งามยิ่งนัก ในนาค-
                          พิภพนั้น มีต้นอินทผาลัม อันสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล
                          มีดอกและผลล้วนไปด้วยทองเนืองนิตย์ ท้าววรุณนาคราชผู้มี
                          ฤทธิ์มาก เป็นผู้ผลุดขึ้นเกิดอยู่ในนาคพิภพนั้น มเหสีของ
                          พระยานาคราชนั้น กำลังรุ่นสาว ทรงพระนามว่าวิมลา
                          มีพระรูปพระโฉมอันประกอบด้วย ศิริงดงามดังก้อนทองคำ
                          สะโอดสะองดังหน่อเถาจิงจ้อดำ พระถันทั้งคู่มีสัณฐานดัง
                          ผลมะพลับ น่าดูยิ่งนัก พระฉวีวรรณแดงดังน้ำครั่ง เปรียบ
                          เหมือนดอกกรรณีการ์อันแย้มบาน เปรียบดังนางอัปสรผู้อยู่
                          ในสวรรค์ชั้นไตรทศ หรือเปรียบเหมือนสายฟ้าอันแลบ
                          ออกจากกลีบเมฆ ข้าพระองค์ผู้เป็นใหญ่ พระนางวิมลานั้น
                          ทรงแพ้พระครรภ์ ทรงปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต
                          ข้าพระองค์ จะถวายดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต แก่ท้าววรุณ-
                          นาคราชและพระนางวิมลา เพราะการนำดวงหทัยของวิธุร-
                          บัณฑิตไปถวายแล้ว ท้าววรุณนาคราชและพระนางวิมลา
                          จะพระราชทาน พระนางอิรันทดีราชธิดาแก่ข้าพระองค์ ฯ
             [๙๑๒]    ปุณณกยักษ์นั้น ทูลลาท้าวกุเวรเวสสวัณผู้เรืองยศ เป็นใหญ่
                          ในหมู่ยักษ์ แล้วไปสั่งบุรุษคนใช้ของตนผู้อยู่ในที่นั้นว่า
                          เจ้าจงนำม้าอาชาไนยที่ประกอบแล้วมา ณ ที่นี้ ม้าสินธพ
                          นั้นมีหูทั้งสองประดับด้วยทองคำ กีบหุ้มด้วยแก้วแดง เครื่อง
                          ประดับอกล้วนด้วยทองคำชมพูนุทอันสุกใส ปุณณกยักษ์
                          ผู้ประดับประดาแล้ว แต่งผมและหนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็น
                          ยานพาหนะของเทวดา เหาะไปในอากาศกลางหาว ฯ
             [๙๑๓]    ปุณณกยักษ์นั้น ได้เหาะไปสู่กรุงราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก
                          เป็นนครของพระเจ้าอังคราช อันพวกข้าศึกไม่กล้าเข้าใกล้
                          มีภักษาหาร และข้าวน้ำมากมาย ดังมสักกสารภพของท้าว
                          วาสวะ เป็นนครกึกก้องด้วยหมู่นกยูงและนกกระเรียน
                          อื้ออึงด้วยฝูงนกต่างๆ ชนิด เป็นที่เสพอาศัยของฝูงทิชาชาติ
                          มีนกต่างๆ ส่งเสียงร้องอยู่อึงมี่ ภูมิภาคราบเรียบ ดารดาษ
                          ไปด้วยบุปผชาติดังขุนเขาหิมวันต์ ปุณณกยักษ์นั้น ขึ้นสู่
                          วิบุลบรรพตอันเป็นภูเขาศิลาล้วน เป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่
                          กินนรเที่ยวแสวงหาแก้วมณีดวงประเสริฐอยู่ ได้เห็นดวง
                          แก้วมณีนั้น ณ ท่ามกลางยอดภูเขา ฯ
             [๙๑๔]    ปุณณกยักษ์ ครั้นเห็นดวงแก้วมณีมีรัศมีอันผุดผ่อง เป็น
                          แก้วมณีอันประเสริฐสุด สามารถจะนำทรัพย์มาให้ได้ดังใจ
                          ปรารถนา รุ่งโรจน์ชัชวาลย์ด้วยหมู่แก้วบริวารเป็นอันมาก
                          สว่างไสวดังสายฟ้าในอากาศ ปุณณกยักษ์ได้ถือเอาแก้วมณี
                          ชื่อมโนหรจินดาอันมีค่ามาก มีอานุภาพมาก เป็นผู้มีวรรณะ
                          ไม่ทราม ขึ้นหลังม้าสินธพอาชาไนยเหาะไปในอากาศกลาง
                          หาว ฯ
             [๙๑๕]    ปุณณกยักษ์ได้เหาะไปยังอินทปัตตนคร ลงจากหลังม้าแล้ว
                          เข้าไปสู่ที่ประชุมของชาวกุรุรัฐ ไม่กลัวเกรงพระราชา ๑๐๑
                          พระองค์ ที่ประชุมพร้อมเพรียงกันอยู่ ณ ที่นั้น กล่าว
                          ท้าทายด้วยสะกาว่า บรรดาพระราชาในราชสมาคมนี้ พระองค์
                          ไหนหนอจะทรงชิงเอาแก้วอันประเสริฐ ของข้าพระองค์ได้
                          หรือว่าข้าพระองค์จะพึงชนะพระราชาพระองค์ไหน ด้วย
                          ทรัพย์อันประเสริฐ อนึ่ง ข้าพระองค์จะชิงเอาแก้วอัน
                          ประเสริฐยิ่ง กะพระราชาพระองค์ไหน หรือพระราชา
                          พระองค์ไหน จะทรงชนะข้าพระองค์ด้วยทรัพย์อันประเสริฐ ฯ
             [๙๑๖]    ชาติภูมิของท่านอยู่ในแว่นแคว้นไหน ถ้อยคำของท่านนี้
                          ไม่ใช่ถ้อยคำของชาวกุรุรัฐเลย ท่านมิได้กลัวเกรงเราทั้งปวง
                          ด้วยรัศมีแห่งผิวพรรณ ท่านจงบอกชื่อและพวกพ้องของท่านแก่เรา ฯ
             [๙๑๗]    ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์เป็นมาณพกัจจายนโคตร ชื่อว่าปุณณกะ
                          ญาติและพวกพ้องของข้าพระองค์ อยู่ในนครกาลจัมปาก์ แคว้นอังคะ
                          ย่อมเรียกข้าพระองค์อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ  ข้าพระองค์มา
                          ถึงในเมืองนี้ด้วยต้องการจะเล่นพนันสะกา.
             [๙๑๘]    พระราชาผู้ทรงชำนาญการเล่นสะกา เมื่อชนะท่าน จะพึงนำเอาแก้วเหล่า
                          ใดไป แก้วเหล่านั้นของมาณพมีอยู่หรือ แก้วของพระราชามีอยู่เป็น
                          จำนวนมาก ท่านเป็นคนเข็ญใจจะมาพนันกะพระราชาเหล่านั้นได้อย่างไร.
             [๙๑๙]    แก้วมณีของพระองค์ดวงนี้ ชื่อว่าสามารถ นำทรัพย์มาให้ได้ดังใจ
                          ปรารถนา  นักเลงเล่นสะกาชนะข้าพระองค์แล้ว พึงนำแก้วมณีดวง
                          ประเสริฐสามารถนำทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา  และม้าอาชาไนยเป็น
                          ที่เกรงขามของศัตรูนี้ไป.
             [๙๒๐]    ดูกรมาณพ แก้วมณีดวงเดียวจักทำอะไรได้ อนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเดียว
                          จักทำอะไรได้ แก้วของพระราชามีเป็นอันมาก ม้าอาชาไนยที่มีกำลัง
                          รวดเร็วดังลมของพระราชามีมิใช่น้อย.
(นี้) ชื่อโทหฬกัณฑ์
             [๙๒๑]    ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าประชาชน  ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตร
                          ดูแก้วมณีของข้าพระองค์ดวงนี้ รูปหญิงและรูปชาย รูปเนื้อและรูปนก
                          ปรากฏเป็นหมู่ๆ อยู่ในแก้วมณีดวงนี้ พระยานาคและพระยาครุฑ
                          ก็ปรากฏอยู่ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญพระองค์ทอดพระเนตรสิ่งที่น่าอัศจรรย์
                          อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้  พระเจ้าข้า.
             [๙๒๒]    ขอเชิญทอดพระเนตรจตุรงคินีเสนา คือ กองช้าง  กองม้า  กองรถ
                          และกองเดินเท้าอันสวมเกราะ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้
                          เชิญทอดพระเนตรพลทหารที่จัดไว้เป็นกรมๆ คือกรมช้าง  กรมม้า
                          กรมรถ กรมราบ  อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
             [๙๒๓]    ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันสมบูรณ์ด้วยป้อม มีกำแพง และค่าย
                          เป็นอันมาก มีถนนสามแพร่ง สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ อันธรรมดา
                          สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเสาระเนียด เสา-
                          เขื่อน  กลอน  ประตู  ซุ้มประตู  และประตู อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้
                          ในแก้วมณีดวงนี้.
             [๙๒๔]    ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงนกนานาชนิดมากมาย ที่เสาค่าย และหนทาง
                          คือ ฝูงหงษ์  นกกระเรียน นกยูง นกจากพราก และนกเขา อันธรรมดา
                          สร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันเกลื่อน
                          กล่นไปด้วยฝูงนกต่างๆ คือ นกดุเหว่าดำ ดุเหว่าลาย ไก่ฟ้า นกโพระดก
                          เป็นจำนวนมาก อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
             [๙๒๕]    ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันแวดล้อมไปด้วยกำแพงทอง เป็นนคร
                          น่าอัศจรรย์ขนพองสยองเกล้า เขาชักธงขึ้นประจำลาดด้วยทรายทอง
                          น่ารื่นรมย์ อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระ-
                          เนตรร้านตลาดอันบริบูรณ์ด้วยสินค้าต่างๆ เรือน  สิ่งของในเรือน
                          ถนนซอย  ถนนใหญ่ อันธรรมดาสร้างสรรค์จัดไว้เป็นส่วนๆ ในแก้ว
                          มณีดวงนี้.
             [๙๒๖]    ขอเชิญทอดพระเนตรโรงขายสุรา นักเลงสุรา พ่อครัว โรงครัว พ่อค้า
                          และหญิงแพศยา  อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญ
                          ทอดพระเนตรช่างดอกไม้  ช่างย้อม ช่างปรุงของหอม ช่างทอผ้า
                          ช่างทอง และช่างแก้ว อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอ
                          เชิญทอดพระเนตรช่างของหวาน ช่างของคราว นักมหรสพ บางพวก
                          ฟ้อนรำขับร้อง บางพวกปรบมือ บางพวกตีฉิ่ง อันธรรมดาสร้างสรรค์
                          ไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
             [๙๒๗]    ขอเชิญทอดพระเนตรกลอง  ตะโพน สังข์ บัณเฑาะว์ มโหรทึก และ
                          เครื่องดนตรีทุกอย่าง อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญ
                          ทอดพระเนตรเปิงมาง กังสดาล พิณ การฟ้อนรำขับร้อง เครื่องดนตรี
                          ดีดสีตีเป่า อันเขาประโคมครึกครื้น อันธรรมดาสร้างสรรค์ไว้ในแก้วมณี
                          ดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรนักกระโดด นักมวยปล้ำ นักเล่นกล
                          หญิงงาม  ชายงาม คนเฝ้ายาม และช่างตัดผม อันธรรมดาสร้างสรรค์
                          ไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
             [๙๒๘]    แท้จริง ในแก้วมณีดวงนี้ มีงานมหรสพอันเกลื่อนกล่น
                          ไปด้วยชายหญิง ขอเชิญทอดพระเนตรพื้นที่เป็นที่เล่น
                          มหรสพบนเตียงที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ อันธรรมดาสร้างสรรไว้
                          ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญทอดพระเนตรเถิด ขอเชิญทอด
                          พระเนตรพวกนักมวยซึ่งกำลังต่อยกันในสนามมวย ทั้งผู้ชนะ
                          และผู้แพ้ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ฯ
             [๙๒๙]    ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่างๆ เป็นอันมากที่เชิงภูเขา คือ
                          ราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง หมี หมาใน เสือดาว แรด
                          โคลาน กระบือ ละมั่ง กวาง เนื้อทราย ระมาศ วัว
                          สุกรบ้าน ชะมด แมวป่า กระต่าย และกระแต ซึ่งมีอยู่
                          มากมายหลายหลาก ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่างๆ ซึ่ง
                          มีอยู่เกลื่อนกลาด อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ฯ
             [๙๓๐]    ในแก้วมณีดวงนี้ มีแม่น้ำอันมีท่าอันรายเรียบลาดด้วยทราย
                          ทอง มีน้ำใสสะอาดไหลไปไม่ขาดสาย เป็นที่อยู่อาศัยแห่ง
                          ฝูงปลา อนึ่ง ในแม่น้ำนี้ มีฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลาม
                          เต่า ปลาสลาด ปลากระบอก ปลากด ปลาเค้า ปลา
                          ตะเพียน ท่องเที่ยวไปมา ขอเชิญทอดพระเนตรขอบ
                          สระโบกขรณี อันก่อสร้างด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ เกลื่อน
                          กล่นไปด้วยฝูงนกต่างๆ ดารดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาชนิด
                          อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ฯ
             [๙๓๑]    ขอเชิญทอดพระเนตร สระโบกขรณีในแก้วมณีดวงนี้ อัน
                          ธรรมดาจัดสรรไว้เรียบร้อยดีทั้ง ๔ ทิศ เกลื่อนกล่นด้วยฝูง
                          นกต่างชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของปลาใหญ่ๆ ขอเชิญทอด
                          พระเนตรแผ่นดินอันมีน้ำล้อมโดยรอบ เป็นกุณฑลแห่ง
                          สาคร ประกอบด้วยทิวป่า (เขียวขจี) อันธรรมดาสร้างสรร
                          ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ฯ
             [๙๓๒]    เชิญทอดพระเนตรบุรพวิเทหทวีป อมรโคยานทวีป อุตตรกุรุ
                          ทวีป และชมพูทวีป ขอเชิญทอดพระเนตรสิ่งอัศจรรย์ อัน
                          ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ พระเจ้าข้า ขอเชิญทอด
                          พระเนตรพระจันทร์และพระอาทิตย์ อันเวียนรอบสิเนรุ-
                          บรรพต ส่องสว่างไปทั่วทิศ ๔ ทิศ ขอเชิญทอดพระเนตร
                          สิ่งอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอ
                          เชิญทอดพระเนตรสิเนรุบรรพต หิมวันตบรรพต สมุทร-
                          สาคร พื้นแผ่นดินใหญ่ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ อันธรรมดา
                          สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรพุ่มไม้ใน
                          สวนแผ่นหินและเนินหินอันน่ารื่นรมย์ เกลื่อนกล่นไปด้วย
                          พวกกินนร อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญ
                          ทอดพระเนตรสวนสวรรค์ คือ ปารุสกวัน จิตตลดาวัน
                          มิสสกวัน และนันทนวัน ทั้งเวชยันปราสาท อันธรรมดา
                          สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสุธรรม
                          เทวสภา ต้นปาริจฉัตตกพฤกษ์อันมีดอกแย้มบาน และพระยา
                          ช้างเอราวัณซึ่งมีอยู่ในดาวดึงส์พิภพ อันธรรมดาสร้างสรรไว้
                          ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิดพระเจ้าข้า ขอ
                          เชิญทอดพระเนตรดูเหล่านางเทพกัญญาอันทรงโฉมล้ำเลิศ ดัง
                          สายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆ เที่ยวเล่นอยู่ในนันทนวันนั้น
                          อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระ
                          เนตรเถิดพระเจ้าข้า ขอเชิญทอดพระเนตรเหล่าเทพกัญญา
                          ผู้ประเล้าประโลมเทพบุตรอภิรมย์เหล่าเทพกัญญาอยู่ในนันทน
                          วันนั้น อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ พระเจ้าข้า ฯ
             [๙๓๓]    ขอเชิญทอดพระเนตรปราสาทมากกว่าพันในดาวดึงส์พิภพ
                          พื้นลาดด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ มีรัศมีรุ่งเรือง อันธรรมดา
                          สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสวรรค์
                          ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้น
                          ปรนิมมิตวสวัสดี อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้
                          ขอเชิญทอดพระเนตรสระโบกขรณีในสวรรค์ชั้นนั้นๆ อันมี
                          น้ำใสสะอาด ดารดาษไปด้วยมณฑาลกะ ดอกปทุมและ
                          อุบล ฯ
             [๙๓๔]    ลายขาว ๑๐ แห่งอันน่าดูน่ารื่นรมย์ใจ ลายเหลืองอ่อน ๒๑
                          แห่ง ลายเหลืองขมิ้น ๑๔ แห่ง ลายสีทอง ๒๐ แห่ง ลาย
                          สีน้ำเงิน ๒๐ แห่ง ลายสีแมลงค่อมทอง ๓๐ แห่ง มีปรากฏ
                          อยู่ในแก้วมณีดวงนี้ ในแก้วมณีดวงนี้มีลายดำ ๑๖ แห่ง
                          และลายแดง ๒๕ แห่ง อันเจือด้วยดอกชะบา วิจิตรด้วย
                          นิลุบล ข้าแต่พระมหาราชาผู้สูงสุดกว่าปวงชน ขอเชิญทอด
                          พระเนตรแก้วมณีดวงนี้ อันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวง มีรัศมี
                          รุ่งเรืองผุดผ่องอย่างนี้ ผู้ใดจักชนะข้าพระองค์ด้วยการเล่นสะกา แก้ว
                          มณีดวงนี้ ชื่อมณีกัณฑ์ จักเป็นส่วนค่าพนันของผู้นั้น.
(นี้) ชื่อมณิกัณฑ์
             [๙๓๕]    ข้าแต่พระราชา กรรมในโรงเล่นสะกาสำเร็จแล้ว เชิญพระองค์เสด็จไป
                          ทรงเล่นสะกา แก้วมณีเช่นนี้ของพระองค์ไม่มี เราพึงชนะกันโดยธรรม
                          อย่าชนะกันโดยไม่ชอบธรรม ถ้าข้าพระองค์จักชนะพระองค์ไซร้ ขอ
                          พระองค์อย่าได้ทรงทำให้เนิ่นช้า.
             [๙๓๖]    ข้าแต่พระเจ้าสุรเสนปัญจาลราชผู้ปรากฏ พระเจ้ามัจฉราช และพระ-
                          เจ้ามัททราช ทั้งพระเจ้าเกกกราช พร้อมด้วยชาวชนบท ขอจงทรง
                          ทอดพระเนตรดูข้าพเจ้าทั้งสองจะสู้กันด้วยสะกา กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์
                          ก็ดี ไม่ได้ทำสักขีพยานไว้แล้วย่อมไม่ทำกิจอะไรๆ ในที่ประชุม.
             [๙๓๗]    พระราชาของชาวกุรุรัฐ และปุณณกยักษ์ผู้มัวเมาในการเล่นสะกา เข้าไป
                          สู่โรงเล่นสะกาแล้ว พระราชาทรงเลือกได้ลูกบาศก์ที่มีโทษ ทรงปราชัย
                          ส่วนปุณณกยักษ์ชนะ พระราชาและปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อเจ้า
                          พนักงานเอาสะกามารวมพร้อมแล้ว ได้เล่นสะกากันอยู่ในโรงสะกานั้น
                          ปุณณกยักษ์ได้ชัยชนะพระราชาผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน  ท่าม
                          กลางพระราชา ๑๐๑ พระองค์และพยานที่เหลือ  เสียงบันลือลั่นได้มีขึ้น
                          ในสนามสะกานั้น ๓ ครั้ง.
         
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญ สัจจะบารมี
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 07:52:14 pm »
0

             [๙๓๘]    ข้าแต่พระมหาราชา เราทั้งสองผู้พยายามเล่นสะกา ความชนะและความ
                          แพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่ง ข้าแต่พระจอมชน ข้าพระองค์ชนะพระองค์ด้วย
                          ทรัพย์อันประเสริฐแล้ว  ข้าพระองค์ชนะแล้ว ขอพระองค์ทรงพระราช
                          ทานเสียเร็วๆ เถิด.
             [๙๓๙]    ดูกรท่านกัจจานะ ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และแก้วอันประ-
                          เสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลายมีอยู่ในแผ่นดินของเรา ท่านจงรับเอาเถิด เชิญ
                          ขนเอาไปตามปรารถนาเถิด.
             [๙๔๐]    ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล  และแก้วอื่นใด ที่มีอยู่ในแผ่นดิน
                          ของพระองค์  บัณฑิตมีนามว่าวิธูระ  เป็นแก้วอันประเสริฐกว่าทรัพย์
                          เหล่านั้น ข้าพระองค์ชนะพระองค์แล้ว โปรดพระราชทานวิธูรบัณฑิตแก่
                          พระองค์เถิด.
             [๙๔๑]    วิธูรบัณฑิตนั้นเป็นตัวของเรา เป็นที่พึ่ง เป็นคติ เป็นเกาะ เป็นที่เร้น
                          และเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของเรา  ท่านไม่ควรจะเปรียบวิธูรบัณฑิตนั้น
                          กับทรัพย์ของเรา วิธูรบัณฑิตนั้นเช่นกับชีวิตของเรา คือ เป็นตัวเรา.
             [๙๔๒]    การโต้เถียงกันของข้าพระองค์และพระองค์ จะพึงเป็นการช้านาน ขอ
                          เชิญเสด็จไปถามวิธูรบัณฑิตกันดีกว่า ให้วิธูรบัณฑิตนั้นแลชี้แจงเนื้อ
                          ความนั้น วิธูรบัณฑิตจักกล่าวคำใด คำนั้นจงเป็นอย่างนั้นแก่เราทั้งสอง.
             [๙๔๓]    ดูกรมาณพ ท่านพูดจริงแท้ทีเดียว และไม่ผลุนผลัน เราไปถาม
                          วิธูรบัณฑิตกันเถิดนะ เราทั้ง ๒ คน จงยินดีตามคำที่วิธูรบัณฑิตพูดนั้น.
             [๙๔๔]    เทวดาทั้งหลายย่อมรู้จักอำมาตย์ในแคว้นกุรุรัฐ ชื่อว่าวิธูระ เป็นผู้ตั้งอยู่
                          ในธรรม จริงหรือ  การบัญญัติชื่อว่าวิธูระในโลกนั้น ท่านเป็นอะไร
                          คือ เป็นทาส หรือเป็นพระประยูรญาติของพระราชา.
             [๙๔๕]    ในหมู่นรชน ทาสมี ๔ จำพวก คือ ทาสครอกจำพวก ๑ ทาสไถ่
                          จำพวก ๑ ทาสที่ยอมตัวเป็นข้าเฝ้าจำพวก ๑ ทาสเชลยจำพวก ๑ แม้
                          ข้าพเจ้าก็เป็นทาสโดยกำเนิดแท้ทีเดียว ความเจริญก็ตาม ความเสื่อมก็
                          ตาม จะมีแก่พระราชา แม้ข้าพเจ้าจะไปยังที่อื่นก็คงเป็นทาสของสมมติ-
                          เทพนั่นเอง ดูกรมาณพ พระราชาเมื่อจะทรงพระราชทานข้าพเจ้าให้เป็น
                          ค่าพนันแก่ท่าน ก็พึงทรงพระราชทานโดยธรรม.
             [๙๔๖]    วันนี้ ความชนะได้มีแก่ข้าพระองค์เป็นครั้งที่ ๒  เพราะว่าวิธูรบัณฑิตผู้
                          เป็นปราชญ์อันข้าพระองค์ถามแล้ว ได้ชี้แจงปัญหาแจ่มแจ้ง พระราชา
                          ผู้ประเสริฐ ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมหนอ ไม่ทรงยอมให้วิธูรบัณฑิตแก่ข้า-
                          พระองค์.
             [๙๔๗]    ดูกรกัจจานะ ถ้าวิธูรบัณฑิตชี้แจงปัญหาแก่เราทั้งหลายอย่างนี้ว่า เราเป็น
                          ทาส เราหาได้เป็นญาติไม่ ท่านจงรับเอาวิธูรบัณฑิตผู้เป็นทรัพย์อันประ-
                          เสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลาย พาไปตามที่ท่านปรารถนาเถิด.
(นี้) ชื่ออักขกัณฑ์
             [๙๔๘]    ท่านวิธูรบัณฑิต คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน จะพึงมีความประพฤติอันปลอด-
                          ภัยได้อย่างไร จะพึงมีความสงเคราะห์ได้อย่างไร จะพึงมีความไม่เบียด
                          เบียนได้อย่างไร  และอย่างไรมาณพจึงจะชื่อว่ามีปกติกล่าวคำสัตย์
                          จากโลกนี้ไปยังโลกหน้า แล้วจะไม่เศร้าโศกได้อย่างไร.
             [๙๔๙]    วิธูรบัณฑิตผู้มีคติ มีความเพียร มีปัญญาเห็นอรรถธรรมอันสุขุม กำหนด
                          รู้ธรรมทั้งปวง ได้กราบทูลพระราชาในโรงธรรมสภานั้นว่า ผู้ครองเรือน
                          ไม่ควรคบหญิงสาธารณะเป็นภรรยา ไม่ควรบริโภคอาหารมีรสอร่อยแต่ผู้
                          เดียว ไม่ควรซ่องเสพถ้อยคำอันให้ติดอยู่ในโลก ไม่ให้สวรรค์นิพพาน
                          เพราะถ้อยคำเช่นนั้นไม่ทำให้ปัญญาเจริญ  ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้มีศีล
                          สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่ประมาท มีปัญญาเครื่องสอดส่องเหตุผล มีความ
                          ประพฤติถ่อมตน ไม่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น เป็นผู้สงบเสงี่ยม กล่าว
                          ถ้อยคำจับใจ อ่อนโยน ผู้ครองเรือน พึงเป็นผู้สงเคราะห์มิตร จำแนก
                          แจกทาน รู้จักจัดทำ พึงบำรุงสมณพราหมณ์ด้วยข้าวน้ำทุกเมื่อ ผู้ครอง
                          เรือนพึงเป็นผู้ใคร่ธรรม จำทรงอรรถธรรมที่ได้สดับมาแล้ว หมั่นไต่ถาม
                          พึงเข้าไปหาท่านผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน จะพึงมี
                          ความประพฤติอันปลอดภัยได้อย่างนี้ จะพึงมีความสงเคราะห์ได้อย่างนี้
                          จะพึงมีความไม่เบียดเบียนกันได้อย่างนี้ และมาณพพึงปฏิบัติอย่างนี้
                          จึงจะชื่อว่ามีปกติกล่าวคำสัตย์ จากโลกนี้แล้วไปยังโลกหน้าจะไม่เศร้า-
                          โศกได้ด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
(นี้) ชื่อฆราวาสปัญหา
             [๙๕๐]    เราจักไปกันเดี๋ยวนี้แหละ พระเจ้าแผ่นดิน ผู้เป็นอิสราธิบดี ทรงพระ-
                          ราชทานท่านให้แก่ข้าพเจ้าแล้ว  ขอท่านจงปฏิบัติประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
                          ธรรมนี้เป็นของเก่า.
             [๙๕๑]    ดูกรมาณพ ข้าพเจ้าย่อมรู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้อันท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าเป็น
                          ผู้อันพระราชา ผู้เป็นอิสราธิบดีพระราชทานแก่ท่านแล้ว แต่ว่าข้าพเจ้า
                          ขอให้ท่านพักอยู่ในเรือนสัก ๓ วัน ขอให้ท่านยับยั้งอยู่ ตลอดเวลาที่
                          ข้าพเจ้าสั่งสอนบุตรภรรยาก่อน.
             [๙๕๒]    คำที่ท่านกล่าวนั้น จงมีแก่ข้าพเจ้าเหมือนอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะพักอยู่
                          ๓ วัน ตั้งแต่วันนี้ ท่านจงทำกิจในเรือนทั้งหลาย ท่านจงสั่งสอนบุตร
                          ภรรยาเสียแต่วันนี้ ตามที่บุตรภรรยาของท่านจะพึงมีความสุขได้ภายหลัง
                          ในเมื่อท่านไปแล้ว.
             [๙๕๓]    ปุณณกยักษ์ผู้มีสมบัติน่าใคร่มากมาย กล่าวว่าดีละ แล้วหลีกไปพร้อม
                          กับวิธูรบัณฑิต เป็นผู้มีมรรยาทอันประเสริฐสุด เข้าไปภายในบ้านของ
                          วิธูรบัณฑิต อันบริบูรณ์ด้วยช้างและม้าอาชาไนย.
             [๙๕๔]    ปราสาทของพระมหาสัตว์มีอยู่ ๓ คือ โกญจาปราสาท ๑ มยูรปราสาท ๑
                          ปิยเกตปราสาท ๑ ในปราสาททั้ง ๓ นั้น พระมหาสัตว์ได้พาปุณณกยักษ์
                          เข้าไปยังปราสาท อันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก มีภักษาหารบริบูรณ์ มีข้าว
                          น้ำเป็นอันมาก ดังหนึ่งสักกสารวิมานของท้าววาสวะ ฉะนั้น.
             [๙๕๕]    นารีทั้งหลายผู้ประดับประดางดงาม ดังเทพอัปสรในเทวโลก ฟ้อนรำ
                          ขับร้องเพลงอันไพเราะจับใจ กล่อมปุณณกยักษ์อยู่ในปราสาทนั้น พระ-
                          มหาสัตว์ผู้รักษาธรรม รับรองปุณณกยักษ์ด้วยนางบำเรอที่น่ายินดี ทั้งข้าว
                          และน้ำ แล้วคิดถึงประโยชน์ส่วนตน ได้เข้าไปในสำนักของภรรยาใน
                          กาลนั้น ได้กล่าวกะภรรยาผู้ลูบไล้ด้วยจรุณจันทน์และของหอม มีผิว-
                          พรรณผุดผ่องดุจแท่งทองชมพูนุทว่า ดูกรนางผู้เจริญ ผู้มีดวงตาอันงดงาม
                          มานี่เถิด จงเรียกบุตรธิดามาฟังคำสั่งสอน นางอโนชาได้ฟังคำของสามี
                          แล้ว ได้กล่าวกะลูกสะใภ้ผู้มีเล็บแดง มีตาอันงามว่า ดูกรเจ้าผู้มี
                          ผิวพรรณดังดอกนิลุบล  เจ้าจงไปเรียกบุตรและธิดาของเราผู้แกล้วกล้า
                          สามารถเหล่านั้นมา.
             [๙๕๖]    พระมหาสัตว์ผู้รักษาธรรม ได้จุมพิตบุตรธิดาผู้มาแล้วนั้นที่กระหม่อม
                          ไม่หวั่นไหว ครั้นเรียกบุตรธิดามาพร้อมแล้วได้กล่าวสั่งสอนว่า พระ-
                          ราชาในพระนครอินทปัตนี้ พระราชทานพ่อให้แก่มาณพแล้ว พ่อพึงมี
                          ความสุขของตนเองได้เพียง ๓ วัน ตั้งแต่วันนี้ไป พ้นจากนั้นไป พ่อ
                          ก็ต้องเป็นไปในอำนาจของมาณพนั้น เขาจะพาพ่อไปตามที่เขาปรารถนา
                          ก็พ่อมาเพื่อสั่งสอนลูกทั้งหลาย พ่อยังไม่ได้ทำเครื่องป้องกันให้แก่ลูกทั้ง
                          หลายแล้ว จะพึงไปได้อย่างไร ถ้าว่า พระราชาผู้ปกครองกุรุรัฐ ผู้มีพระ-
                          ราชสมบัติอันน่าใคร่เป็นอันมาก ทรงต้องการกัลยาณมิตร จะพึงตรัสถาม
                          ลูกทั้งหลายว่า เมื่อก่อนเจ้าทั้งหลายย่อมรู้เหตุเก่าๆ อะไรบ้าง พ่อของ
                          เจ้าทั้งหลายได้พร่ำสอนอะไรไว้ในกาลก่อนบ้าง ถ้าแหละ พระราชาจะพึง
                          มีพระราชโองการตรัสว่า เจ้าทั้งปวงเป็นผู้มีอาสนะเสมอกันกับเราใน
                          ราชสกุลนี้ มนุษย์คนไร ซึ่งจะมีชาติสกุลสมควรกับพระราชาไม่มี ลูกทั้ง
                          หลายพึงถวายบังคมกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระ-
                          องค์อย่าได้รับสั่งอย่างนั้นเลยพระเจ้าข้า เพราะข้อนี้มิใช่ธรรมเนียม ขอ
                          เดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีชาติต่ำต้อย ไม่สมควรมีอาสนะเสมอด้วย
                          พระองค์ผู้สูงศักดิ์ เหมือนสุนัขจิ้งจอกผู้มีชาติต่ำต้อย จะพึงมีอาสนะ
                          เสมอด้วยพระยาไกรสรราชสีห์อย่างไรได้ พระเจ้าข้า.
จบลักขกัณฑ์
             [๙๕๗]    วิธูรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอันไม่หดหู่ ได้กล่าวกะบุตรธิดา ญาติ
                          มิตรและเพื่อนที่สนิทว่า ดูกรลูกรักทั้งหลาย ลูกทั้งหลายจงมานั่งฟังราช-
                          วัสดีธรรม อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้เข้าไปสู่ราชสกุลได้ยศ.
             [๙๕๘]    ผู้เข้าไปสู่ราชสกุล พระราชายังไม่ทรงทราบความสามารถย่อมไม่ได้ยศ
                          ราชเสวกไม่ควรกล้าเกินไป ไม่ควรขลาดเกินไป ควรเป็นผู้ไม่ประมาทใน
                          กาลทุกเมื่อ เมื่อใดพระราชาทรงทราบความประพฤติปกติ ปัญญา และ
                          ความบริสุทธิ์ของราชเสวกนั้น เมื่อนั้น ย่อมทรงวางพระทัยและไม่ทรง
                          รักษาความลับ.
             [๙๕๙]    ราชเสวกอันพระราชาไม่ตรัสใช้ ไม่พึงหวั่นไหวด้วยอำนาจฉันทาคติ
                          เป็นต้น ดังตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรง ฉะนั้น ราช-
                          เสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจทุกอย่าง
                          ให้เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันเสมอเที่ยง
                          ตรงดี ฉะนั้น ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๖๐]    ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ  อันพระราชาตรัสใช้กลางวันหรือ
                          กลางคืนก็ตาม ไม่พึงหวาดหวั่นในการกระทำราชกิจนั้นๆ ราชเสวกนั้น
                          พึงอยู่ในราชสำนักได้ ทางใดที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อยดี สำหรับเสด็จ
                          พระดำเนินถึงพระราชาทรงอนุญาต  ราชเสวกก็ไม่ควรเดินโดยทางนั้น
                          ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๖๑]    ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติที่น่าใคร่ ทัดเทียมกับพระราชาในกาลไหนๆ
                          ควรเดินหลังในทุกสิ่งทุกอย่าง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราช-
                          เสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา เครื่องลูบไล้ ทัดเทียม
                          กับพระราชา ไม่พึงประพฤติอากัปกิริยา หรือพูดจาทัดเทียมกับพระราชา
                          ควรทำอากัปกิริยาเป็นอย่างหนึ่ง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๖๒]    เมื่อพระราชาทรงพระสำราญอยู่กับหมู่อำมาตย์ อันพระสนมกำนัลในเฝ้า
                          แหนอยู่ เสวกามาตย์เป็นคนฉลาด ไม่พึงกระทำการทอดสนิทในพระ-
                          สนมกำนัลใน ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คะนองกายวาจา มี
                          ปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ สมบูรณ์ด้วยการตั้งใจไว้ดี ราช-
                          เสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๖๓]    ราชเสวกไม่ควรเล่นหัว เจรจาปราศัยในที่ลับกับพระสนมกำนัลใน ไม่
                          ควรถือเอาทรัพย์จากพระคลังหลวง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้
                          ราชเสวกไม่พึงเห็นแก่การหลับนอนมากนัก ไม่พึงดื่มสุราจนเมามาย
                          ไม่พึงฆ่าเนื้อในสถานที่พระราชทานอภัย ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนัก
                          ได้ ราชเสวกไม่พึงขึ้นร่วมพระตั่ง ราชบัลลังก์ พระราชอาสน์ เรือ
                          และรถพระที่นั่ง ด้วยอาการทนงตนว่าเป็นคนโปรดปราน ราชเสวกนั้น
                          พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกต้องเป็นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา  ไม่
                          ควรเฝ้าให้ไกลนักใกล้นัก ควรยืนเฝ้าพอให้ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น
                          ถนัด  ในสถานที่ที่พอจะได้ยินพระราชดำรัสเบื้องพระพักตร์ของพระราชา
                          ราชเสวกไม่ควรทำความวางใจว่า พระราชาเป็นเพื่อนของเรา พระราชา
                          เป็นคู่กันกับเรา พระราชาทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธได้เร็วไวเหมือน
                          นัยน์ตาอันผงกระทบ ราชเสวกไม่ควรถือตัวว่าเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต
                          พระราชาทรงบูชา ไม่ควรเพ็ดทูลถ้อยคำหยาบคายกะพระราชาซึ่งประทับ
                          อยู่ในราชบริษัท.
             [๙๖๔]    ราชเสวกผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็นพิเศษ ก็ไม่ควรวางใจใน
                          พระราชาทั้งหลาย พึงเป็นผู้สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้น
                          พึงอยู่ในราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรส หรือ
                          พระราชวงศ์ด้วยบ้าน  นิคม  แว่นแคว้น  หรือชนบท ราชเสวกควร
                          นิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูลคุณหรือโทษ.
             [๙๖๕]    พระราชาจะทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่กรมช้าง กรมม้า กรมรถ กรม
                          เดินเท้า ตามความชอบในราชการของเขา ราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา
                          ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกผู้เป็นนักปราชญ์ พึงโอนไป
                          เหมือนคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือนไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน
                          ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือน
                          คันธนู  พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา พึงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ
                          มีปัญญาเครื่องรักษาตน แกล้วกล้า ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๖๖]    ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนัก ซึ่งเป็นเหตุให้สิ้นเดช ผู้สิ้นเดชย่อมได้
                          ประสบโรคไอมองคร่อ ความกระวนกระวาย ความอ่อนกำลัง ราชเสวก
                          ไม่ควรพูดมากเกินไป ไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ เมื่อถึงเวลาพึงเปล่งวาจาพอ
                          ประมาณ ไม่พร่ำเพรื่อ  เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่กระทบกระเทียบ เป็น
                          คนพูดจริง อ่อนหวาน ไม่ส่อเสียด ไม่ควรพูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ราช-
                          เสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๖๗]    ราชเสวกพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในสกุล
                          มีวาจาอ่อนหวาน กล่าววาจากลมเกลี้ยง ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำ-
                          นักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว มีศิลปะ ฝึกฝนแล้ว เป็น
                          ผู้ทำประโยชน์  เป็นผู้คงที่  อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดหมดจด
                          เป็นคนขยัน ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มี
                          ความประพฤติอ่อนน้อม  มีความเคารพยำเกรงในท่านผู้เจริญ  เป็นผู้
                          สงบเสงี่ยม  มีการอยู่ร่วมเป็นสุข  ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้
                          ราชเสวกพึงเว้นให้ห่างไกลซึ่งทูตที่ส่งมาเกี่ยวด้วยความลับ พึงดูแลแต่
                          เจ้านายของตน ไม่ควรพูด (เรื่องลับ) ในสำนักของพระราชาอื่น.
             [๙๖๘]    ราชเสวกพึงเข้าหาสมาคมกะสมณะและพราหมณ์  ผู้มีศีลเป็นพหูสูต
                          โดยเคารพ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกเมื่อได้เข้าหา
                          สมาคมกะสมณะและพราหมณ์ ผู้มีศีลเป็นพหูสูตแล้ว พึงสมาทาน
                          รักษาอุโบสถศีล  โดยเคารพ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้
                          ราชเสวกพึงบำรุงเลี้ยงสมณะและพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต ด้วยข้าว
                          และน้ำ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกผู้หวังความเจริญ
                          แก่ตน  พึงเข้าไปสมาคมคบหากะสมณะและพราหมณ์ผู้มีศีล เป็น
                          พหูสูต มีปัญญา.
             [๙๖๙]    ราชเสวกไม่พึงทำทาน ที่เคยพระราชทาน ในสมณพราหมณ์ให้เสื่อมไป
                          อนึ่ง เห็นพวกวณิพกซึ่งมาในเวลาพระราชทาน ไม่ควรห้ามอะไรเลย
                          ราชเสวกพึงเป็นผู้มีปัญญา สมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาดในวิธีจัดราชกิจ
                          รู้จักกาล รู้จักสมัย ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึง
                          เป็นคนขยันหมั่นเพียร ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องพิจารณาในการงาน
                          ที่ตนพึงทำ จัดการงานให้สำเร็จด้วยดี ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนัก
                          ได้.
             [๙๗๐]    อนึ่ง ราชเสวกพึงไปตรวจตราดูลานข้าวสาลีปศุสัตว์และนาเสมอๆ พึง
                          ตวงข้าวเปลือกให้รู้ประมาณแล้ว ให้เก็บไว้ในฉาง พึงนับบริวารชนใน
                          เรือนแล้ว ให้หุงต้มพอประมาณ ไม่ควรตั้งบุตรธิดา พี่น้อง หรือวงศ์ญาติ
                          ผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลให้เป็นใหญ่ เพราะคนเหล่านั้นเป็นคนพาล ไม่จัดว่า
                          เป็นพี่น้อง คนเหล่านั้น เป็นเหมือนคนที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อเขาเหล่านั้น
                          มาหาถึงสำนัก  ก็ควรให้ผ้านุ่งผ้าห่มและอาหาร  ควรตั้งพวกทาสหรือ
                          กรรมกร ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เป็นคนขยันหมั่นเพียร ให้เป็นใหญ่.
             [๙๗๑]    ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมาก พึงประพฤติตามเจ้านาย ประพฤติ
                          ประโยชน์แก่เจ้านาย  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ราชเสวกนั้นควรอยู่ใน
                          ราชสำนักได้  ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัย และพึงปฏิบัติ
                          ตามพระราชประสงค์ ไม่ควรประพฤติขัดต่อพระราชประสงค์ ราชเสวก
                          นั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาท ใน
                          เวลาผลัดพระภูษาทรง และในเวลาสรงสนาน แม้จะถูกกริ้วก็ไม่ควร
                          โกรธตอบ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้.
             [๙๗๒]    บุรุษผู้หวังความเจริญแก่ตน พึงกระทำอัญชลีในหม้อน้ำ และพึงกระทำ
                          ประทักษิณนกแอ่นลม อย่างไรเขาจักไม่พึงนอบน้อม  พระราชาผู้เป็น
                          นักปราชญ์สูงสุด  พระราชทานสมบัติอันน่าใคร่ทุกอย่างเล่า  เพราะ
                          พระราชาทรงพระราชทานที่นอน ผ้านุ่งผ้าห่ม ยวดยาน  ที่อยู่อาศัย
                          บ้านเรือน  ยังโภคสมบัติให้ตกทั่วถึง  เหมือนมหาเมฆยังน้ำฝนให้ตก
                          เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไป ฉะนั้น ดูกรเจ้าทั้งหลาย นี้ชื่อว่าราชวัสดี
                          เป็นอนุศาสน์สำหรับราชเสวก นรชนประพฤติตาม ย่อมยังพระราชาให้
                          โปรดปราน และย่อมได้การบูชาในเจ้านายทั้งหลาย.
(นี้) ชื่อราชวัสดี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญ สัจจะบารมี
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 07:54:44 pm »
0

             [๙๗๓]    วิธูรบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา  ครั้นพร่ำสอนหมู่ญาติอย่างนี้แล้ว
                          หมู่ญาติมิตรห้อมล้อมเข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วย
                          เศียรเกล้า และทำประทักษิณท้าวเธอ แล้วประคองอัญชลีกราบบังคม
                          ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบศัตรู  มาณพนี้ปรารถนาจะทำตามความ
                          ประสงค์  จึงจะนำข้าพระองค์ไป   ข้าพระองค์จะกราบทูลประโยชน์
                          แห่งญาติทั้งหลาย ขอเชิญพระองค์ทรงสดับประโยชน์นั้น ขอพระองค์
                          ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่ดูแลบุตรภรรยาของข้าพระองค์ ทั้งทรัพย์
                          อย่างอื่นๆ ที่มีอยู่ในเรือน  โดยที่หมู่ญาติของข้าพระองค์จะไม่เสื่อมใน
                          ภายหลัง ในเมื่อข้าพระองค์ถวายบังคมลาไปแล้ว ความพลาดพลั้งของ
                          ข้าพระองค์นี้ เหมือนบุคคลพลาดล้มบนแผ่นดิน ย่อมกลับตั้งอยู่บน
                          แผ่นดินนั้นเอง ฉะนั้น ข้าพระองค์ย่อมเห็นโทษนี้.
             [๙๗๔]    ท่านไม่อาจจะไปนั่นแลเป็นความพอใจของเรา เราจะสั่งให้ฆ่าตัดออกเป็น
                          ท่อนๆ แล้วหมกไว้ให้มิดชิดในเมืองนี้ ท่านอยู่ในที่นี้แหละการทำดัง
                          นี้เราชอบใจ  ดูกรบัณฑิตผู้มีปัญญาอันสูงสุด กว้างขวางดุจแผ่นดิน
                          ท่านอย่าไปเลย.
             [๙๗๕]    ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อย่าทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ในอธรรมเลย
                          ขอจงทรงประกอบพระองค์ไว้ในอรรถและในธรรมเถิด  กรรมอันเป็น
                          อกุศลไม่ประเสริฐ บัณฑิตติเตียนว่า ผู้ทำกรรมอันเป็นอกุศลพึงเข้าถึง
                          นรกในภายหลัง นี่ไม่ใช่ธรรมเลย ไม่เข้าถึงกิจที่ควรทำ ข้าแต่พระจอม-
                          ประชาชน ธรรมดานายผู้เป็นใหญ่ของทาส  จะทุบตีก็ได้  จะเผาก็ได้
                          จะฆ่าเสียก็ได้ ข้าพระองค์ไม่มีความโกรธเลย และข้าพระองค์ขอกราบ
                          ทูลลาไป.
             [๙๗๖]    พระมหาสัตว์นั้นมีเนตรทั้งสองนองด้วยน้ำตา กำจัดความกระวนกระวาย
                          ในหทัยแล้ว สวมกอดบุตรผู้ใหญ่ แล้วเข้าไปยังเรือนใหญ่.
             [๙๗๗]    บุตรพันหนึ่ง ธิดาพันหนึ่ง ภรรยาพันหนึ่ง และทาสเจ็ดร้อย ในนิเวศน์
                          ของวิธูรบัณฑิต ต่างประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือก
                          กลับทับกันไป เหมือนป่าไม้รังถูกลมพัดล้มระเนระนาดทับกันไป ฉะนั้น
                          พระสนมกำนัล พระราชกุมาร พวกพ่อค้า ชาวนา  และพราหมณ์ทั้ง
                          หลาย ต่างก็มาประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธูรบัณฑิต
                          พวกกองช้าง  กองม้า กองรถ กองเดินเท้า ... ชาวชนบทและชาวนิคม
                          ต่างมาประชุมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธูรบัณฑิต
                          ภรรยาพันหนึ่งและทาสีเจ็ดร้อย ต่างพากันประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ
                          ว่า  เพราะเหตุไร  ท่านจึงจักละดิฉันทั้งหลายไป พระสนมกำนัล
                          พระราชกุมาร  พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ทั้งหลาย ... พวกกองช้าง
                          กองม้า กองรถ กองเดินเท้า ... ชาวชนบท  และชาวนิคม  ต่างมา
                          ประชุมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า  เพราะเหตุไร  ท่านจึงจักละ
                          ข้าพเจ้าทั้งหลายไป.
             [๙๗๘]    พระมหาสัตว์  กระทำกิจทั้งหลายในเรือนสั่งสอนคนของตน  คือ มิตร
                          สหาย คนใช้ บุตร ธิดา ภรรยา และพวกพ้อง จัดการงาน บอก
                          มอบทรัพย์ในเรือน ขุมทรัพย์ และการส่งหนี้เสร็จแล้ว ได้กล่าวกะ
                          ปุณณกยักษ์ว่า ท่านได้พักอยู่ในเรือนของข้าพเจ้า ๓ วันแล้ว กิจที่จะพึง
                          ทำในเรือนของข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว อนึ่ง บุตรและภรรยาข้าพเจ้าได้
                          สั่งสอนแล้ว ข้าพเจ้ายอมทำกิจตามอัธยาศัยของท่าน.
             [๙๗๙]    ดูกรมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวง ถ้าแลท่านสั่งสอนบุตร ภรรยา
                          และคนอาศัยแล้ว เชิญท่านมารีบไปในบัดนี้ เพราะในทางข้างหน้ายัง
                          ไกลนัก ท่านอย่ากลัวเลย จงจับหางม้าอาชไนย การเห็นชีวโลกของท่าน
                          นี้ เป็นการเห็นครั้งที่สุด.
             [๙๘๐]    ข้าพเจ้าจักสะดุ้งกลัวไปทำไม เพราะข้าพเจ้าไม่มีกรรมชั่วทางกาย  ทาง
                          วาจาและทางใจ อันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ.
             [๙๘๑]    พญาม้านั้น  นำวิธูรบัณฑิตเหาะไปในอากาศกลางหาวไม่กระทบที่กิ่งไม้
                          หรือภูเขา วิ่งเข้าไปสู่กาฬคีรีบรรพตโดยฉับพลัน.
             [๙๘๒]    ภรรยาพันหนึ่ง และทาสีเจ็ดร้อยประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์
                          แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาพาเอาวิธูรบัณฑิตไป พระสนมกำนัลใน
                          พระราชกุมาร  พ่อค้า  ชาวนาและพราหมณ์ ... กองช้าง  กองม้า
                          กองรถ กองเดินเท้า ... ชาวชนบท และชาวนิคมต่างมาประชุมพร้อมกัน
                          ประคองแขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มา
                          พาเอาวิธูรบัณฑิตไป ภรรยาพันหนึ่งและทาสีเจ็ดร้อย  ต่างประคองแขน
                          ร้องไห้คร่ำครวญว่า  วิธูรบัณฑิตนั้นไปแล้ว ณ ที่ไหน พระสนมกำนัลใน
                          พระราชกุมาร พ่อค้า  ชาวนาและพราหมณ์ ... กองช้าง  กองม้า
                          กองรถ  กองเดินเท้า ... ชาวชนบท และชาวนิคม  ต่างมาประชุม
                          พร้อมกันประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า วิธูรบัณฑิตไปแล้ว ณ
                          ที่ไหน.
             [๙๘๓]    ถ้าท่านวิธูรบัณฑิต  จักไม่มาโดย ๗ วัน  ข้าพระพุทธเจ้าจักพากันเข้า
                          ไปสู่กองไฟ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีความต้องการด้วยชีวิต.
             [๙๘๔]    ก็วิธูรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม สามารถแสดงประโยชน์ และมิใช่
                          ประโยชน์แจ้งชัด มีปัญญาเครื่องพิจารณา  คงจะเปลื้องตนได้โดยพลัน
                          ท่านทั้งหลายอย่ากลัวไปเลย วิธูรบัณฑิตปลดเปลื้องตนแล้ว ก็จักรีบ
                          กลับมา.
(นี้) ชื่ออันตรเปยยาล
             [๙๘๕]    ปุณณกยักษ์นั้น ไปยืนคิดอยู่บนยอดกาฬคีรีบรรพต ความคิดย่อมเป็น
                          ความคิดสูงๆ ต่ำๆ  ประโยชน์อะไรๆ  ด้วยความเป็นอยู่ของวิธูร-
                          บัณฑิตนี้ หามีแก่เราไม่ เราจักฆ่าวิธูรบัณฑิตนี้เสีย แล้วนำเอาแต่
                          ดวงใจไปเถิด.
             [๙๘๖]    ปุณณกยักษ์นั้นมีจิตประทุษร้ายลงจากยอดเขาไปสู่เชิงเขา วางพระมหา
                          สัตว์ไว้ในระหว่างภูเขา ชำแรกเข้าไปภายในภูเขานั้น จับพระมหาสัตว์
                          เอาศีรษะลงเบื้องต่ำ ขว้างลงไปที่พื้นดินที่ไม่มีอะไรกีดกั้น.
             [๙๘๗]    วิธูรบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ เมื่อถูกห้อยศีรษะ
                          ลงในเหวอันชัน เป็นที่น่ากลัว  น่าสยดสยอง น่าหวาดเสียวมาก
                          ไม่สะดุ้งกลัว  ได้กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า ท่านเป็นผู้มีรูปดังผู้ประเสริฐ
                          แต่หาเป็นคนประเสริฐไม่ คล้ายจะเป็นคนสำรวม แต่ไม่สำรวม กระทำ
                          กรรมอันหยาบช้าไร้ประโยชน์ ส่วนกุศลแม้แต่น้อยหนึ่งย่อมไม่มีในจิต
                          ของท่าน  ท่านจะโยนข้าพเจ้าลงในเหวประโยชน์อะไร ด้วยการตายของ
                          ข้าพเจ้า จะพึงมีแก่ท่านหนอ วันนี้  ผิวพรรณของท่านเหมือนของ
                          อมนุษย์ ท่านจงบอกข้าพเจ้า ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร.
             [๙๘๘]    ข้าพเจ้าเป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ และเป็นอำมาตย์ของท้าวกุเวร ถ้าท่านคง
                          ได้ฟังมาแล้ว พญานาคใหญ่นามว่าวรุณ ผู้ครอบครองนาคพิภพมีรูป
                          งามสะอาด สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณและกำลัง ข้าพเจ้ารักใคร่อยากได้นาง
                          นาคกัญญานามว่าอิรันทดีธิดาของพญานาคนั้น  ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์
                          เพราะเหตุแห่งนางอิรันทดีผู้มีเอวอันงามน่ารักนั้น ข้าพเจ้าจึงตกลงใจจะ
                          ฆ่าท่าน.
             [๙๘๙]    ดูกรยักษ์ ท่านอย่าได้มีความลุ่มหลงนักเลย สัตว์โลกเป็นอันมากฉิบหาย
                          แล้วเพราะความถือผิด เพราะเหตุไร ท่านจึงทำความรักใคร่ในนางอิรันทดี
                          ผู้มีเอวอันงามน่ารัก  ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยความตายของข้าพเจ้า
                          เชิญท่านจงบอกเหตุทั้งปวงแก่ข้าพเจ้าด้วย.
             [๙๙๐]    ข้าพเจ้าปรารถนาธิดาของพญาวรุณนาคราช  ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้า
                          ชื่อว่าเป็นผู้รับอาสาญาติของนางอิรันทดีมา ญาติเหล่านั้นได้สำคัญข้าพเจ้า
                          ว่า ถูกความรักใคร่ครอบงำโดยส่วนเดียว เหตุนั้น พญาวรุณนาคราช
                          ได้ตรัสกะข้าพเจ้าผู้ทูลขอนางอิรันทดีนาคกัญญาว่า เราทั้งหลายพึงให้ธิดา
                          ของเรา ผู้มีร่างกายอันสลวย มีเนตรงามอย่างน่าพิศวง ลูบไล้ด้วยจุรณ
                          แก่นจันทน์ ถ้าท่านพึงได้ดวงหทัยของวิธูรบัณฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดย
                          ธรรม เพราะความดีความชอบนี้ ท่านก็จะได้ธิดาของเรา เราทั้งหลายมิ
                          ได้ปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่านั้น ดูกรท่านอำมาตย์ ข้าพเจ้าไม่ได้เป็น
                          คนหลง ท่านจงฟังให้ทราบเรื่องอย่างนี้ อนึ่ง ข้าพเจ้ามิได้มีความถือผิด
                          อะไรๆ เลย เพราะดวงหทัยของท่าน ที่ข้าพเจ้าได้ไปโดยชอบธรรม
                          ท้าววรุณนาคราชและพระนางวิมลา จะประทานนางอิรันทดีนาคกัญญาแก่
                          ข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพยายามเพื่อจะฆ่าท่าน ข้าพเจ้ามี
                          ประโยชน์ด้วยการตายของท่าน  จึงจะผลักท่านให้ตกลงในเหวนี้ ฆ่า
                          เสียแล้วนำเอาดวงหทัยไป.
             [๙๙๑]    จงวางข้าพเจ้าลงโดยเร็วเถิด ถ้าท่านมีกิจที่จะต้องทำด้วยหทัยของข้าพเจ้า
                          ข้าพเจ้าจะแสดงสาธุนรธรรมทั้งปวงนี้แก่ท่านในวันนี้.
             [๙๙๒]    ปุณณกยักษ์นั้น  รีบวางวิธูรบัณฑิตอำมาตย์ผู้ประเสริฐที่สุดของชาว
                          กุรุรัฐลงบนยอดเขา เห็นวิธูรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามนั่งอยู่ จึงถามว่า
                          ท่านอันข้าพเจ้ายกขึ้นจากเหวแล้ว วันนี้ข้าพเจ้ามีกิจที่จะต้องทำด้วยหทัย
                          ของท่าน ท่านจงแสดงสาธุนรธรรมทั้งหมดนั้นแก่ข้าพเจ้าในวันนี้.
             [๙๙๓]    ข้าพเจ้าอันท่านยกขึ้นจากเหวแล้ว ถ้าท่านมีกิจที่จะต้องทำด้วยหทัยของ
                          ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแสดงสาธุนรธรรมทั้งหมดนี้แก่ท่านในวันนี้.
             [๙๙๔]    ดูกรมาณพ ท่านจงเดินไปตามทางที่ท่านเดินไปแล้ว ๑  จงอย่าเผาฝ่ามือ
                          อันชุ่ม ๑  อย่าได้ประทุษร้ายในหมู่มิตร ในกาลไหนๆ ๑ อย่าตกอยู่ใน
                          อำนาจของหญิงอสติ ๑.
             [๙๙๕]    บุคคลชื่อว่า เป็นผู้เดินไปตามทางที่ท่านเดินไปแล้วอย่างไร บุคคลชื่อว่า
                          เผาฝ่ามืออันชุ่มอย่างไร บุคคลเช่นไรชื่อว่าประทุษร้ายมิตร หญิงเช่นไร
                          ชื่อว่าอสติ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้น.
             [๙๙๖]    ผู้ใดพึงเชื้อเชิญคนที่ไม่คุ้นเคยกัน  ไม่เคยพบเห็นกันแม้ด้วยอาสนะ
                          บุรุษพึงกระทำประโยชน์แก่บุคคลนั้นโดยแท้  บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุรุษ
                          นั้นว่า ผู้เดินไปตามทางที่ท่านเดินแล้ว  บุคคลพึงอยู่ในเรือนของผู้ใด
                          แม้คืนเดียว  ได้ข้าวน้ำด้วย ไม่ควรคิดร้ายแก่ผู้นั้นแม้ด้วยใจ  ผู้คิดร้าย
                          ต่อบุคคลเช่นนั้น  ชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม  และชื่อว่าประทุษร้ายมิตร
                          บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด  ไม่ควรหักรานกิ่งของต้นไม้นั้น
                          เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า หญิงที่สามียกย่องอย่างดี ถึงแก่ให้
                          แผ่นดินนี้อันบริบูรณ์ด้วยทรัพย์  ได้โอกาสแล้วพึงดูหมิ่นสามีนั้นได้
                          บุคคลไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของหญิงเหล่านั้น   ผู้ชื่อว่าอสติ บุคคลชื่อ
                          ว่าเดินไปตามทางที่ท่านเดินแล้วอย่างนี้  ชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่มอย่างนี้
                          ชื่อว่าตกอยู่ในอำนาจของหญิงผู้ชื่อว่าอสติอย่างนี้ ชื่อว่าประทุษร้ายมิตร
                          อย่างนี้ ท่านจงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม จงละอธรรมเสีย.
(นี้) ชื่อสาธุนรธรรมกัณฑ์
             [๙๙๗]    ข้าพเจ้าได้อยู่ในเรือนท่านตลอด ๓ วัน  ทั้งเป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าว
                          และน้ำ ท่านเป็นผู้พ้นจากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอปล่อยท่าน ดูกรท่านผู้มี
                          ปัญญาอันสูงสุด  เชิญท่านกลับไปเรือนของท่านตามปรารถนาเถิด
                          ความต้องการของตระกูลพญานาคจะเสื่อมไปก็ตามที เหตุที่จะให้ได้
                          นางนาคกัญญา ข้าพเจ้าเลิกละ ดูกรท่านผู้มีปัญญา เพราะคำสุภาษิต
                          ของตนนั่นแล ท่านจึงพ้นจากข้าพเจ้าผู้จะฆ่าท่านในวันนี้.
             [๙๙๘]    ดูกรปุณณกยักษ์  เชิญท่านนำข้าพเจ้าไปในสำนักของพ่อตาของท่าน
                          จงประพฤติประโยชน์ในข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็อยากเห็นท้าววรุณผู้เป็น
                          อธิบดีของนาคและวิมานของท้าวเธอ ซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็น.
             [๙๙๙]    คนมีปัญญา ไม่ควรจะดูสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชนนั้น
                          เลย ดูกรท่านผู้มีปัญญาอันสูงสุด เออก็ เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านจึง
                          ปรารถนาจะไปยังที่อยู่ของศัตรูเล่า.
             [๑๐๐๐]    แม้ข้าพเจ้าก็รู้ชัด  ซึ่งข้อที่ผู้มีปัญญาไม่ควรเห็นสิ่งที่ไม่เป็นไป เพื่อ
                          ประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชนนั้นแน่แท้ แต่ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วที่กระทำไว้
                          ในที่ๆ ไหนเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รังเกียจความตายอันจะมา
                          ถึงตน.
             [๑๐๐๑]    ดูกรบัณฑิต  เชิญเถิด ท่านกับข้าพเจ้ามาไปดูพิภพของพญานาคราช
                          ซึ่งมีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้  เป็นที่อยู่อันมีการฟ้อนรำขับร้องตาม
                          ปรารถนา  เหมือนนิฬิญญราชธานีเป็นที่ประทับอยู่ของท้าวเวสสุวรรณ
                          ฉะนั้น  นาคพิภพนั้น เป็นที่ไปเที่ยวเล่นเป็นหมู่ๆ ของนางนาค-
                          กัญญา ตลอดวันและคืนเป็นนิตย์  มีดอกไม้ดารดาษอยู่มากมายหลาย
                          ชนิด สว่างไสวดังสายฟ้าในอากาศ บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ เพรียบ
                          พร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องและการประโคม พร้อมมูลไปด้วยนางนาค-
                          กัญญาที่ประดับประดาสวยงาม งามสง่าไปด้วยผ้านุ่ง ผ้าห่มและเครื่อง
                          ประดับ.
             [๑๐๐๒]    ปุณณกยักษ์นั้น  เชิญให้วิธูรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ นั่ง
                          เหนืออาสนะข้างหลัง  ได้พาวิธูรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามเข้าไปสู่ภพ
                          ของพญานาคราช  วิธูรบัณฑิตได้สถิตอยู่ข้างหลังแห่งปุณณกยักษ์  จน
                          ถึงพิภพของพญานาคซึ่งมีอนุภาพหาที่เปรียบมิได้ ก็พญานาคทอด
                          พระเนตรเห็นลูกเขยผู้มีความจงรักภักดี  ได้ตรัสทักทายปราศรัยก่อนที
                          เดียว.
             [๑๐๐๓]    ท่านได้ไปยังมนุษยโลก เที่ยวแสวงหาดวงหทัยของบัณฑิตกลับมาถึงใน
                          นาคพิภพนี้ด้วยความสำเร็จหรือ หรือว่าท่านได้พาเอาบัณฑิตผู้มีปัญญา
                          ไม่ต่ำทรามมาด้วย.
             [๑๐๐๔]    ท่านผู้นี้แหละ คือวิธูรบัณฑิตที่พระองค์ทรงปรารถนานั้นมาแล้ว พระเจ้า
                          ข้า ท่านวิธูรบัณฑิตผู้รักษาธรรม  ข้าพระพุทธเจ้าได้มาแล้วโดยธรรม
                          เชิญใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท  ทอดพระเนตรวิธูรบัณฑิต  ผู้จะแสดง
                          ธรรมถวายด้วยเสียงอันไพเราะ เฉพาะพระพักตร์ ณ บัดนี้ การสมาคม
                          ด้วยสัปบุรุษทั้งหลาย ย่อมเป็นเหตุนำความสุขมาให้โดยแท้.
(นี้) ชื่อว่ากาลาคิรีกัณฑ์
             [๑๐๐๕]    ท่านเป็นมนุษย์ มาเห็นพิภพของนาคที่ตนไม่เคยเห็นแล้ว เป็นผู้ถูกภัย
                          คือความตายคุกคามแล้ว เป็นผู้ไม่กลัว และไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดู
                          เหมือนจะไม่มีแก่ผู้มีปัญญา.
             [๑๐๐๖]    ข้าแต่พญานาคราช  ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่กลัวและไม่เป็นผู้อันภัยคือ
                          ความตายคุกคาม  นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต  หรือ
                          เพชฌฆาตก็พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ นรชนจะ
                          พึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขาจะพึงให้
                          บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้ตนอย่างไรเล่า  กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ
                          ประโยชน์เลย พระเจ้าข้า.
             [๑๐๐๗]    ดูกรบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด  ท่านพูดจริง  นักโทษประหารไม่
                          พึงกราบไหว้เพชฌฆาต  หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบ
                          ไหว้ตน อย่างไรหนอ นรชนพึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน
                          และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้ตนอย่างไร
                          เล่า  กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์เลย.
             [๑๐๐๘]    ข้าแต่พญานาคราช  วิมานของฝ่าพระบาทนี้เป็นของไม่เที่ยง แต่เป็น
                          เช่นกับของเที่ยง ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย  พระวิริยภาพ
                          และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ได้มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์ขอ
                          ทูลถามเนื้อความนั้นกะฝ่าพระบาท วิมานนี้ทรงได้มาอย่างไรหนอ วิมาน
                          นี้ฝ่าพระบาททรงได้มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตามฤดูกาล
                          ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายถวายแก่พระองค์ ข้าแต่
                          พญานาคราช  ขอฝ่าพระบาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ ตาม
                          ที่ฝ่าพระบาทได้วิมานมาเถิด พระเจ้าข้า.
             [๑๐๐๙]    วิมานนี้ เราจะได้มาเพราะอาศัยอะไรก็หามิได้ เกิดขึ้นตามฤดูกาลก็หามิได้
                          เรามิได้กระทำเอง แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้ให้ แต่วิมานนี้เราได้มาด้วย
                          บุญกรรมอันไม่ลามกของตนเอง.
             [๑๐๑๐]    ข้าแต่พญานาคราช  อะไรเป็นวัตรของฝ่าพระบาท และอะไรเป็น
                          พรหมจรรย์ของฝ่าพระบาท ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระ
                          วิริยภาพ และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานใหญ่ของฝ่าพระบาท
                          นี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไรอันฝ่าพระบาททรงประพฤติดีแล้ว.
             [๑๐๑๑]    เราและภรรยาเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี ใน
                          ครั้งนั้น เรือนของเราเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และเรา
                          ได้บำรุงสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ  เราทั้งสองได้ถวายทาน คือ
                          ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่องประทีป ที่นอนที่พักอาศัย ผ้า
                          นุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน ข้าวและน้ำโดยเคารพ  ทานที่ได้ถวายโดยเคารพ
                          นั้นเป็นวัตรของเรา  และการสมาทานวัตรนั้นเป็นพรหมจรรย์ของเรา
                          ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความเพียร
                          การเกิดในนาคพิภพ และวิมานใหญ่ของเรานี้เป็นวิบากแห่งวัตรและ
                          พรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติดีแล้ว.
             [๑๐๑๒]    ถ้าวิมานนี้ ฝ่าพระบาททรงได้ด้วยอานุภาพแห่งทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็
                          ชื่อว่าทรงทราบผลแห่งบุญ  และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ
                          เพราะผลแห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประมาท
                          ประพฤติธรรม ตามที่จะได้ทรงครอบครองวิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระ
                          เจ้าข้า.
             [๑๐๑๓]    ดูกรบัณฑิต ในนาคพิภพนี้ ไม่มีสมณพราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและ
                          น้ำเลย เราถามแล้วขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา ตามที่เราจะพึง
                          ได้ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
             [๑๐๑๔]    ข้าแต่พระยานาคราช ก็นาคทั้งหลายที่เป็นพระโอรส พระธิดา พระชายา
                          ทั้งพระญาติ พระมิตร และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาคพิภพนี้
                          มีอยู่  ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายในนาคมีพระโอรสเป็นต้น
                          เหล่านั้น ด้วยพระกายและพระวาจาเป็นนิตย์  ฝ่าพระบาททรงรักษา
                          ความไม่ประทุษร้ายด้วยพระกายและพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระบาททรง
                          สถิตอยู่ในวิมานนี้ตลอดพระชนมายุ แล้วจักเสด็จไปสู่เทวโลกอันสูง
                          กว่านาคพิภพ.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระวิธูรบัณฑิตทรงบำเพ็ญ สัจจะบารมี
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มีนาคม 28, 2010, 07:57:14 pm »
0
             [๑๐๑๕]    ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้ประเสริฐสุดพระองค์ใด พระราชาผู้
                          ประเสริฐสุดพระองค์นั้น พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะเศร้าโศกแน่แท้
                          ทีเดียว คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำก็ดี คนผู้ป่วยหนักก็ดี ได้สมาคม
                          กับท่านแล้วพึงได้ความสุข.
             [๑๐๑๖]    ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระบาทตรัสธรรม ของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็น
                          บทอันแสดงประโยชน์อย่างล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติดีแล้วโดยแท้
                          ก็คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ ย่อมปรากฏในเมื่อมี
                          ภยันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
             [๑๐๑๗]    ขอท่านจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์นี้ได้ท่านมาเปล่าๆ หรือ ขอท่าน
                          จงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์นี้ชนะในการเล่นสะกาจึงได้ท่านมา ปุณณก-
                          ยักษ์นี้กล่าวว่า  ได้มาโดยธรรม  ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณกยักษ์นี้ได้
                          อย่างไร.
             [๑๐๑๘]    ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสะกาชนะพระราชาของข้าพระองค์ผู้เป็นอิสราธิบดีใน
                          อินทปัตนครนั้น  พระราชาพระองค์นั้นอันปุณณกยักษ์ชนะแล้ว ได้ทรง
                          พระราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระองค์เป็นผู้อันปุณณกยักษ์
                          นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่ได้มาโดยกรรมอันสาหัสพระเจ้าข้า.
             [๑๐๑๙]    ในกาลนั้น  พระยานาคผู้ประเสริฐ ทรงสดับคำสุภาษิตของวิธูรบัณฑิต
                          ผู้เป็นปราชญ์แล้วทรงชื่นชมโสมนัส มีพระทัยเต็มตื้นด้วยปีติ ทรงจูงมือ
                          วิธูรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทราม เสด็จเข้าไปในที่อยู่ของพระชายา ตรัสว่า
                          ดูกรพระน้องวิมลา เพราะเหตุใด พระน้องจึงดูผอมเหลืองไป  เพราะ
                          เหตุใด พระน้องจึงไม่เสวยกระยาหาร ก็คุณงามความดีของวิธูรบัณฑิต
                          ผู้ที่พระน้องต้องประสงค์ดวงหทัย เป็นผู้บรรเทาความมืดของโลกทั้งปวง
                          เช่นนี้นั้นของเราไม่มี ผู้นี้คือวิธูรบัณฑิตมาถึงแล้วจะทำความสว่างไสวให้
                          แก่พระน้อง เชิญพระน้องตั้งหทัยฟังถ้อยคำของท่าน การที่จะได้เห็น
                          ท่านอีกเป็นการหาได้ยาก.
             [๑๐๒๐]    พระนางวิมลา ทอดพระเนตรเห็นวิธูรบัณฑิต ผู้มีปัญญากว้างขวางดัง
                          แผ่นดินนั้นแล้ว มีพระทัยยินดีโสมนัส ทรงยกพระองคุลีทั้ง ๑๐ ขึ้น
                          อัญชลี และตรัสกะวิธูรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ประเสริฐสุดของชาวกุรุ-
                          รัฐว่า ท่านเป็นมนุษย์มาเห็นพิภพของนาคที่ตนไม่เคยเห็น เป็นผู้ถูกภัย
                          คือความตายคุกคาม เป็นผู้ไม่กลัว และไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดูเหมือน
                          จะไม่มีแก่ผู้มีปัญญา.
             [๑๐๒๑]    ข้าแต่พระนางเจ้านาคี  ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่กลัว และไม่เป็นผู้อันภัยคือ
                          ความตายคุกคาม  นักโทษประหารไม่พึงไหว้เพชฌฆาต  หรือเพชฌฆาต
                          ก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ นรชนจะพึงกราบ-
                          ไหว้บุคคล ผู้ที่ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้
                          บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้ตนอย่างไรเล่า  กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ
                          ประโยชน์พระเจ้าข้า.
             [๑๐๒๒]    ดูกรบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด  ท่านพูดจริง  นักโทษประหารไม่
                          พึงกราบไหว้เพชฌฆาต  หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบ
                          ไหว้ตน อย่างไรหนอ นรชนจะพึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน
                          และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้อย่างไรเล่า
                          กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์เลย.
             [๑๐๒๓]    ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา  วิมานของพระองค์นี้เป็นของไม่เที่ยง แต่
                          เป็นเช่นกับของเที่ยง ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย  พระวิริยภาพ
                          และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพได้มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท ข้าพระองค์ขอทูล
                          ถามเนื้อความนั้นกะฝ่าพระบาท วิมานนี้ฝ่าพระบาทได้มาอย่างไรหนอ
                          วิมานนี้ฝ่าพระบาทได้มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตาม
                          ฤดูกาล  ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลายถวายฝ่าพระบาท
                          ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา  ขอฝ่าพระบาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่
                          ข้าพระองค์ ตามที่ฝ่าพระบาทได้วิมานมาเถิด พระเจ้าข้า.
             [๑๐๒๔]    วิมานนี้ ฉันจะได้มาเพราะอะไรก็หามิได้ เกิดขึ้นตามฤดูกาลก็หามิได้
                          ฉันมิได้กระทำเอง แม้เทวดาทั้งหลายก็หามิได้ให้ แต่วิมานนี้ฉันได้มา
                          ด้วยบุญกรรมอันไม่ลามกของตนเอง.
             [๑๐๒๕]    ข้าแต่พระนางเจ้านาคี  อะไรเป็นวัตรของฝ่าพระบาท และอะไรเป็น
                          พรหมจรรย์ของฝ่าพระบาท ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระ
                          วิริยภาพ และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานอันใหญ่ของฝ่าพระบาท
                          นี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร อันฝ่าพระบาททรงประพฤติดีแล้ว พระเจ้าข้า.
             [๑๐๒๖]    ฉันและพระสวามีของฉัน   เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดีในครั้งนั้น
                          เรือนของฉันเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และฉันได้บำรุง
                          สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ  ฉันและพระสวามี เมื่อยังอยู่ในมนุษย-
                          โลกนั้น ได้ถวายทาน คือ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
                          ประทีป ที่นอน ที่พักอาศัย ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน ข้าวและน้ำ
                          โดยเคารพ  ทานที่ฉันได้ถวายโดยเคารพนั้น เป็นวัตรของฉัน  และการ
                          สมาทานวัตรนั้นเป็นพรหมจรรย์ของฉัน  ดูกรท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์
                          ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความเพียร การเกิดในนาคพิภพ และวิมาน
                          ใหญ่ของเรานี้ เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติ
                          ดีแล้ว.
             [๑๐๒๗]    ถ้าวิมานนี้ฝ่าพระบาท ทรงได้ด้วยอานุภาพแห่งทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาท
                          ก็ชื่อว่าทรงทราบผลแห่งบุญ  และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ
                          เพราะผลแห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประมาท
                          ประพฤติธรรมตามที่จะได้ทรงครอบครองวิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระ
                          เจ้าข้า.
             [๑๐๒๘]    ดูกรบัณฑิต ในนาคพิภพนี้ ไม่มีสมณพราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและ
                          น้ำเลย ฉันถามแล้วขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน ตามที่ฉันจะพึง
                          ได้ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
             [๑๐๒๙]    ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ก็นาคทั้งหลายที่เป็นพระโอรส พระธิดา พระ-
                          สวามี ทั้งพระญาติพระมิตร และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาทซึ่งเกิดในนาคพิภพ
                          นี้  มีอยู่  ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายในนาคมีพระโอรสเป็น
                          ต้นเหล่านั้น ด้วยพระกายและพระวาจาเป็นนิตย์  ฝ่าพระบาทจงทรง
                          รักษาความไม่ประทุษร้ายด้วยพระกายและพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระบาท
                          ทรงสถิตอยู่ในวิมานนี้ตลอดพระชนมายุแล้ว จักเสด็จไปสู่เทวโลกอัน
                          สูงกว่านาคพิภพนี้ พระเจ้าข้า.
             [๑๐๓๐]    ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้ประเสริฐสุดพระองค์ใด พระราชาผู้ประ-
                          เสริฐสุดพระองค์นั้น พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะทรงเศร้าโศกแน่แท้
                          ทีเดียว คนผู้ถูกความทุกข์ครอบงำก็ดี คนผู้ป่วยหนักก็ดี ได้สมาคม
                          กับท่านแล้ว พึงได้ความสุข.
             [๑๐๓๑]    ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ฝ่าพระบาทตรัสธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่ง
                          เป็นบทอันแสดงประโยชน์ล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติดีแล้วโดยแท้
                          ก็คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ ย่อมปรากฏในเมื่อมีภัย
                          อันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
             [๑๐๓๒]    ขอท่านจงบอกแก่ฉัน ปุณณกยักษ์นี้ได้ท่านมาเปล่าๆ หรือ ขอท่านจง
                          บอกแก่ฉัน ปุณณกยักษ์นี้ชนะในการเล่นสะกาจึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์
                          นี้กล่าวว่าได้มาโดยธรรม  ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณกยักษ์นี้ได้อย่างไร.
             [๑๐๓๓]    ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสะกาชนะพระราชาของข้าพระองค์ผู้เป็นอิสราธิบดีใน
                          อินทปัตนครนั้น  พระราชาพระองค์นั้นอันปุณณกยักษ์ชนะแล้ว ได้ทรง
                          พระราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระองค์ เป็นผู้อันปุณณก-
                          ยักษ์นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่ได้มาด้วยกรรมอันสาหัส พระเจ้าข้า.
             [๑๐๓๔]    ท้าววรุณนาคราช ตรัสถามปัญหากะวิธูรบัณฑิต ฉันใด แม้พระนาง
                          วิมลานาคกัญญา ก็ตรัสถามปัญหากะวิธูรบัณฑิต  ฉันนั้น วิธูรบัณฑิต
                          ผู้เป็นปราชญ์ อันท้าววรุณนาคราชตรัสถามแล้ว ได้พยากรณ์ปัญหาให้
                          ท้าววรุณนาคราชทรงยินดี ฉันใด วิธูรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ แม้พระ-
                          นางวิมลานาคกัญญาตรัสถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้พระนางวิมลานาคกัญญา
                          ทรงยินดี ฉันนั้น วิธูรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ ทราบว่าพระยานาคราชผู้
                          ประเสริฐ และพระนางนาคกัญญาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงมีพระทัย
                          ชื่นชมโสมนัส ไม่ครั่นคร้าม ไม่กลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า ได้กราบ
                          ทูลท้าววรุณนาคราชว่า ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระบาทอย่าทรงพระวิตก
                          ว่า ทรงกระทำกรรมของคนผู้ประทุษร้ายมิตร และอย่าทรงพระดำริว่าจัก
                          ฆ่าบัณฑิตนี้ ขอฝ่าพระบาททรงกระทำกิจด้วยเนื้อหทัยของข้าพระองค์
                          ตามที่ฝ่าพระบาททรงพระประสงค์เถิด ถ้าฝ่าพระบาทไม่ทรงสามารถจะฆ่า
                          ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะทำถวายตามพระอัธยาศัยของฝ่าพระบาทเอง
                          พระเจ้าข้า.
             [๑๐๓๕]    ปัญญานั่นเอง เป็นหทัยของบัณฑิตทั้งหลาย เราทั้งสองนั้นยินดีด้วย
                          ปัญญาของท่านยิ่งนัก ปุณณกยักษ์จงไปส่งท่านให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้
                          ทีเดียว.
             [๑๐๓๖]    ปุณณกยักษ์นั้น ได้นางอิรันทดีนาคกัญญาแล้ว มีใจชื่นชมโสมนัส
                          ปีติปราโมทย์  ได้กล่าวกะวิธูรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐว่า
                          ข้าแต่ท่านวิธูรบัณฑิต  ท่านได้ทำให้ข้าพเจ้ามีความพร้อมเพรียงกันกับ
                          ภรรยา ข้าพเจ้าจะทำกิจตอบแทนท่าน ข้าพเจ้าจะให้แก้วมณีดวงนี้แก่
                          ท่าน และจะนำท่านไปส่งให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ทีเดียว.
             [๑๐๓๗]    ดูกรกัจจานะ ท่านจงมีความไมตรีสนิทสนมกับภรรยาที่น่ารัก อันไม่มี
                          ใครทำให้แตกแยกตลอดไป ท่านจงเป็นผู้มีจิตเบิกบาน มีปีติโสมนัส
                          ท่านได้ให้แก้วมณีแก่ข้าพเจ้า ขอจงนำข้าพเจ้าไปยังอินทปัตนครด้วยเถิด.
             [๑๐๓๘]    ปุณณกยักษ์นั้น เชิญวิธูรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐผู้มีปัญญา
                          ไม่ทราม ให้ขึ้นนั่งบนอาสนะข้างหน้าของตน ขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไป
                          ในอากาศกลางหาว  ปุณณกยักษ์นั้นได้นำวิธูรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุด
                          ของชาวกุรุรัฐไปถึงอินทปัตนครเร็วยิ่งกว่าใจของมนุษย์พึงไป.
             [๑๐๓๙]    อินทปัตนครปรากฏอยู่โน่น  และป่ามะม่วงอันน่ารื่นรมย์ก็เห็นอยู่เป็น
                          หย่อมๆ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความพร้อมเพรียงกับภรรยา และท่านก็ได้ถึงที่
                          อยู่ของตนแล้ว.
             [๑๐๔๐]    ปุณณกยักษ์ผู้มีวรรณะ วางวิธูรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ ลงใน
                          ท่ามกลางธรรมสภา  แล้วขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไปในอากาศกลางหาว
                          พระราชาทอดพระเนตรเห็นวิธูรบัณฑิตนั้น  ทรงพระปรีดาปราโมทย์เป็น
                          อย่างยิ่ง เสด็จลุกขึ้น สวมกอดวิธูรบัณฑิตด้วยพระพาหาทั้งสอง ไม่
                          ทรงหวั่นไหว ทรงเชื้อเชิญให้นั่งเหนืออาสนะท่ามกลางธรรมสภา ตรง
                          พระพักตร์ของพระองค์.
             [๑๐๔๑]    ท่านเป็นผู้แนะนำเราทั้งหลาย เหมือนนายสารถีนำเอารถที่หายแล้วกลับ
                          มาได้ ฉะนั้น ชาวกุรุรัฐทั้งหลายย่อมยินดี เพราะได้เห็นท่าน ฉันถาม
                          แล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน ท่านหลุดพ้นจากมาณพมาได้
                          อย่างไร.
             [๑๐๔๒]    ข้าแต่พระองค์จอมประชาชน ผู้ทรงแกล้วกล้า ประเสริฐกว่านรชน
                          บุรุษที่ฝ่าพระบาทตรัสเรียกมาณพนั้น ไม่ใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ
                          พระเจ้าข้า ฝ่าพระบาททรงเคยได้ยินชื่อมาแล้ว ก็ปุณณกยักษ์นั้น เป็น
                          อำมาตย์ของท้าวกุเวรุราชพระยานาคทรงนามว่า วรุณผู้ครองนาคพิภพ มี
                          พระกายใหญ่โตสะอาด ทรงสมบูรณ์ด้วยวรรณะและกำลัง ปุณณกยักษ์
                          รักใคร่นางนาคกัญญานามว่าอิรันทดี พระธิดาของพระยานาคราชนั้น จึง
                          ตกลงใจจะฆ่าข้าพระองค์ เพราะเหตุแห่งนางอิรันทดีผู้มีเอวบางร่างน้อย
                          น่ารักใคร่ แต่ปุณณกยักษ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกับภรรยา ส่วนข้าพระองค์
                          เป็นผู้อันพระยานาคทรงอนุญาตให้มา และปุณณกยักษ์ให้แก้วมณีมาด้วย.
             [๑๐๔๓]    มีต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดริมประตูวังของเรา ลำต้นประกอบด้วยปัญญา กิ่ง
                          แล้วด้วยศีล ต้นไม้นั้นตั้งอยู่ในอรรถและธรรม มีผลเต็มไปด้วยเบญจ-
                          โครส ดารดาษไปด้วยช้าง ม้าและโค เมื่อมหาชนทำการบูชาต้นไม้นั้น
                          เล่นเพลินอยู่ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้องและดนตรี มีบุรุษมาให้เสนาที่ยืน
                          แวดล้อมต้นไม้นั้นให้หนีไปแล้วถอนต้นไม้ไป ต้นไม้นั้นกลับมาตั้งอยู่ที่
                          ประตูวังของเราตามเดิม วิธูรบัณฑิตเช่นกับต้นไม้ใหญ่นี้ กลับมาสู่ที่อยู่
                          ของตนแล้ว ท่านทั้งหลายจงกระทำการเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ
                          วิธูรบัณฑิตนี้เถิด ขอเชิญอำมาตย์ผู้มีความปลื้มใจ ด้วยยศที่ได้เพราะ
                          อาศัยเราทุกๆ ท่านเทียว จงแสดงจิตของตนให้ปรากฏในวันนี้ ท่าน
                          ทั้งหลายจงกระทำบรรณาการให้มาก  จงทำการเคารพนบนอบแก่ต้นไม้
                          คือ วิธูรบัณฑิตนี้ สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ถูกผูกไว้และที่ถูกขังไว้  ซึ่ง
                          มีอยู่ในแว่นแคว้นของเรา จงปล่อยไปให้หมด วิธูรบัณฑิตนี้หลุดพ้น
                          จากเครื่องผูก ฉันใด สัตว์เหล่านั้นก็จงหลุดพ้นจากเครื่องผูก ฉันนั้น
                          พวกชาวไร่ชาวนา จงหยุดพักเล่นมหรสพตลอดเดือนหนึ่งนี้ ขอเชิญ
                          พราหมณ์ทั้งหลายมาบริโภคข้าวอันเจือด้วยเนื้อ พวกนักเลงสุราจงเว้น
                          การเที่ยวดื่มสุรา เอาหม้อใส่ให้เต็มปรี่  ไปนั่งดื่มที่ร้านของตนๆ พวก
                          หญิงแพศยาที่อาศัยอยู่ตามถนนใหญ่  จงเล้าโลมชายที่มีความต้องการ
                          เป็นนิตย์ อนึ่ง ราชบุตรทั้งหลายจงจัดการรักษาในแว่นแคว้นให้เข้มแข็ง
                          โดยมิได้เบียดเบียนกันและกันได้  ท่านทั้งหลายจงกระทำการเคารพ
                          นบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธูรบัณฑิตนี้.
             [๑๐๔๔]    พระสนมกำนัลใน พวกราชกุมาร พวกพ่อค้าชาวนา และพราหมณ์
                          ทั้งหลาย ได้นำข้าวและน้ำเป็นอันมากมาให้แก่วิธูรบัณฑิต พวกกองช้าง
                          กองม้า  กองรถ และกองเดินเท้าได้นำข้าวและน้ำเป็นอันมากมาให้
                          แก่วิธูรบัณฑิต ชาวชนบท และชาวนิคม พร้อมเพรียงกัน ได้นำเอา
                          ข้าวและน้ำเป็นอันมากมาให้แก่วิธูรบัณฑิต  คนเป็นอันมาก เมื่อ
                          วิธูรบัณฑิตมาถึงแล้ว ได้เห็นวิธูรบัณฑิตมาแล้ว  ต่างก็มีจิตโสมนัส
                          พากันโบกผ้าขาว โห่ร้องขึ้นเสียงอึงมี่ ด้วยประการฉะนี้แล.
                                               จบ วิธูรชาดกที่ ๙


            พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายไม่ใช่แต่ในบัดนี้ อย่างเดียวเท่านั้น แม้ในกาลก่อนเราตถาคตก็ถึงพร้อมด้วยปัญญา ฉลาดในอุบายเหมือนกัน ดังนี้แล้ว จึงประกาศสัจจะ ประชุมชาดก.
               มารดาบิดาของบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นมหาราชสกุล ในบัดนี้.
               ภริยาใหญ่ของบัณฑิต ได้เป็น มารดาของพระราหุล.
               บุตรคนโตของบัณฑิต ได้เป็น พระราหุล.
               พระนางวิมลา ได้เป็น พระนางอุบลวรรณา.
               พระยาวรุณนาคราช ได้เป็น พระสารีบุตร.
               พระยาครุฑ ได้เป็น พระโมคคัลลานะ.
               ท้าวสักกะเทวราช ได้เป็น พระอนุรุทธะ.
               พระเจ้าโกรพยราช ได้เป็น พระอานนท์.
               ปุณณกยักษ์ ได้เป็น พระฉันนะ.
               ม้ามโนมัยสินธพ ได้เป็น พระยาม้ากัณฐกะ.
               บริษัทนอกจากนั้น ได้เป็น พุทธบริษัท ในกาลนี้.
               ส่วนวิธุรบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น เราตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบัดนี้แล.



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  บรรทัดที่ ๕๖๒๖ - ๖๕๑๐.  หน้าที่  ๒๑๕ - ๒๔๘.
http://84000.org/tipitaka/atita/v.php?B=28&A=5626&Z=6510&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=893
ที่มา  http://84000.org/tipitaka/atita/s.php?B=28&A=5626&Z=6510

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 คุณอิสรภาพ คุณวิจิตรชัย ผมนำชาดกมาแสดงให้แล้วนะครับ

 เนื้อความของทั้งสองพระชาติที่นำมาแสดง อยู่ในพระไตรปิฎก อ่านค่อนข้างยาก

 เนื้อความในอรรถกถา อ่านได้อรรถรสและเข้าใจได้ง่ายกว่าในพระไตรปิฎก

 แต่ข้อเสียของอรรถกถาคือ มีเนื้อความยาวมาก ยาวเป็นสองเท่าของพระไตรปิฎก

 ผมเลยเลือกเนื้อความในพระไตรปิฎกมาแสดง

 ผมทำลิงค์ของอรรถกถาไว้ให้แล้ว เชิญหาความสำราญกันตามอัธยาสัย

 พระเนมิราช
 http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=525


 พระวิธุรบัณฑิต
 http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=28&i=893

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

vijitchai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บารมี 10 ประการ เพื่อความเป็น พุทธะั
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มีนาคม 29, 2010, 12:34:38 pm »
0
 :25:
ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อม ครูบาอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ทุก ๆ รูป ครับ ข้าพเจ้าขอกล่าวถึง พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ตลอดชีวิต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ