ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ใบประกาศเก็บไว้ไหน? เจาะประโยชน์สอบนักธรรม สมัครงาน เข้าเรียน ช่วยได้ไหม?  (อ่าน 2235 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ใบประกาศเก็บไว้ไหน? เจาะประโยชน์สอบนักธรรม สมัครงาน เข้าเรียน ช่วยได้ไหม?

คุณได้อะไรจากการเรียนนักธรรม? สำหรับใครหลายๆ คนที่เคยเรียนนักธรรมชั้นตรี โท เอก มาก่อน คุณเคยสงสัยและย้อนถามตัวเองบ้างหรือไม่ว่า คุณนำสิ่งที่ได้จากการร่ำเรียน เพียรสอบให้ผ่าน พร้อมยิ้มรับใบประกาศนียบัตรที่การันตีว่า ครั้งหนึ่งคุณเคยมีความรู้ ความศรัทธาและสำนึกในความสำคัญของพระพุทธศาสนา แต่ในทางปฏิบัติ คุณนำสิ่งที่ได้จากการเรียนนักธรรมมาใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง? คิดดี? คนดี? ใส่ใบประกาศฯ โชว์ใน portfolio ตอนสมัครงานได้หรือ?

พระสุทธิสารเมธี (พระมหาวงศ์ไทย สุภวังโส) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในฐานะหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้คำตอบชี้แจงกระจ่างใจ ผ่านทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ และนับจากนี้คุณจะหยิบใช้ประโยชน์จากการเรียนนักธรรมได้อย่างไรบ้าง? สละเวลาสักนิด พินิจข้อความต่อจากนี้สักหน่อย...

พระมหาวงศ์ไทย สุภวังโส ชี้แนะถึงประโยชน์จากการเรียนนักธรรม

นักเรียน ม.ต้น-พระอยู่พรรษา กลุ่มหลักเรียนนักธรรม
พระสุทธิสารเมธี (พระมหาวงศ์ไทย สุภวังโส) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร กล่าวถึงผู้เรียนนักธรรมชั้นตรีว่า ปัจจุบันฆราวาสที่สอบนักธรรมชั้นตรีนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ของโรงเรียนบางแห่งในประเทศ และพระนวกะ หรือพระบวชใหม่ ปวารณาอยู่จำพรรษา 3 เดือน ที่จะต้องศึกษาในชั้นนักธรรมตรี และเข้าสอบในช่วงปลายฤดูเข้าพรรษา

“เมื่อคุณเป็นพระใหม่ คุณจะต้องศึกษาหาความรู้ในหลักพุทธศาสนาเสียก่อน มิใช่ว่าคุณบวชเข้ามาแล้ว จะนิพพานได้เลย เพราะฉะนั้น นักธรรมชั้นตรี จึงเป็นบันไดขั้นแรกของพระเณรที่จะก้าวเข้ามาในพุทธศาสนา” พระมหาวงศ์ไทย กล่าว


พระสุทธิสารเมธี

ทุจริต แอบบอกข้อสอบศิษย์ ข้อสอบรั่วนักธรรม
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นกรณีที่พระอาจารย์บอกโจทย์ข้อสอบ พร้อมเฉลยคำตอบให้แก่ผู้เข้าสอบก่อนถึงเวลาสอบจริง สะท้อนให้เห็นว่า พระผู้เป็นครูสอนธรรมะรูปนั้น ไม่มีธรรมะในใจ กลับมีความโลภที่อยากให้ลูกศิษย์ของตนสอบผ่านเป็นจำนวนมากๆ จึงบอกข้อสอบกับนักเรียนก่อนเข้าสอบ ท้ายที่สุดผู้เรียนสอบผ่าน ได้ใบประกาศนียบัตร แต่ไร้ซึ่งความภูมิใจอย่างสิ้นเชิง

“เคยมีกรณีการสอบของฆราวาส คือ พระอาจารย์แจ้งเด็กว่า ไม่ต้องมาเรียนก็ได้ แค่ไปสอบก็พอ เพราะถึงเวลาสอบอาจารย์จะบอกคำตอบเอง ซึ่งวิชาที่ฆราวาสสอบจะเป็นข้อสอบแบบปรนัย แตกต่างกับพระภิกษุที่จะเป็นข้อสอบแบบอัตนัย จึงทำให้อาจารย์ผู้สอนบอกคำตอบให้แก่ผู้สอบได้ง่าย แต่วิชากระทู้ธรรม จะแนะได้ยาก เพราะโจทย์จะให้หัวข้อธรรมะมา 1 หัวข้อ และให้เขียนบรรยายให้ได้ 2 หน้ากระดาษฟุลสแก๊ป เพราะฉะนั้นเรื่องการทุจริตบอกข้อสอบ จะเป็นเครื่องสะท้อนว่าตัวตนของภิกษุที่ครองไตรจีวรอันเป็นธงชัยของพระอรหันต์นั้น มีธรรมะอยู่ในใจจริงหรือไม่” พระมหาวงศ์ไทย สุภวังโส กล่าวเป็นคำถามชวนคิด
ส่วนบทลงโทษที่จะใช้ลงโทษผู้เข้าสอบและพระอาจารย์ที่ทุจริต คือ
     1. ผู้สอบหมดสิทธิ์สอบ และปรับตกทันที
     2. แจ้งไปที่สำนักงานที่ผู้เข้าสอบ และพระภิกษุนั้นๆ สังกัดอยู่ และพิจารณาลงโทษต่อไป

พระสุทธิสารเมธี กล่าวถึงประโยชน์ที่พระอาจารย์ผู้ทุจริตจะได้จากการทำให้เด็กสอบผ่านจำนวนมาก ว่า “สิ่งที่พระอาจารย์จะได้ หลังเด็กสอบผ่านเป็นจำนวนมากๆ หรือเด็กสอบได้ยกชั้น จะให้เรียกเป็นภาษาชาวบ้านก็คือ พระท่านนั้นได้หน้า เพราะเด็กสอบผ่านเป็นผลงานตัวเอง แต่สิ่งที่พระรูปนั้นได้อีกอย่าง นั่นก็คือ ความโลภ”


ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

ผู้เรียนรับใบประกาศนียบัตร

ทางแก้ปิดรูรั่วทุจริตสอบนักธรรม
เดิมที ก่อนที่จะถึงกำหนดการสอบ สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงใช้วิธีการแจกจ่ายข้อสอบ โดยสั่งพิมพ์ข้อสอบ พร้อมใส่ซองสีน้ำตาลและส่งไปทั่วทุกสนามสอบนักธรรม แต่สนามสอบบางแห่งกลับลักลอบเปิดดูข้อสอบก่อน และนำไปบอกลูกศิษย์ว่า ข้อสอบในปีดังกล่าว จะมีเนื้อหาใดๆ บ้าง มิหนำซ้ำ บางแห่งยังนำข้อสอบมาให้ลูกศิษย์ได้ทดลองสอบก่อนถึงวันสอบจริง จนกลายเป็นทุจริตข้อสอบรั่วเรื่อยมาหลายปี

ปัจจุบัน ทางสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงได้แก้ปัญหาการทุจริตสอบนักธรรม โดยยกเลิกการส่งข้อสอบไปตามสนามสอบทั่วประเทศ แต่ปรับเปลี่ยนมาใช้วิธีใส่ข้อสอบลงไปในระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถลิงก์กันได้ทั่วประเทศ พร้อมกำหนดวันเวลาที่จะสามารถปริ้นท์ข้อสอบแจกจ่ายให้ผู้เข้าสอบ ซึ่งถือว่าแก้ปัญหาข้อสอบรั่วได้เป็นอย่างดี

“ทางสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง ได้ปรับแก้วิธีการส่งข้อสอบมาได้ประมาณ 3-4 ปีแล้ว ซึ่งวิธีนี้เห็นผลชะงัด เพราะผู้ที่ไม่ได้เรียนหลักศาสนา เพื่อเตรียมตัวสอบนักธรรมมาก่อน คนเหล่านี้จะไม่สามารถทำข้อสอบได้” พระมหาวงศ์ไทย กล่าว


คุณจะหยิบใช้ประโยชน์จากการเรียนนักธรรมได้อย่างไรบ้าง?

สิ่งที่พระภิกษุได้รับจากการเรียนนักธรรม
พระภิกษุสามเณร ที่จำพรรษา 3 เดือน จะได้ประโยชน์จากการสอบและเรียนนักธรรม คือ ได้ความรู้ และความเป็นชาวพุทธ โดยเฉพาะพระที่บวชเข้ามาแล้ว ยิ่งจำเป็นต้องศึกษาวิชาพระวินัย วิชาธรรมะ และวิชาพุทธประวัติ อย่างไรก็ตาม เมื่อศึกษาเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ก็จะเข้าสู่กระบวนการทดสอบความจำของพระแต่ละรูปด้วยการสอบวัดความรู้ในระดับนักธรรมชั้นตรี และในกรณีที่พระรูปนั้น มีความต้องการที่จะบวชในระยะยาวหลายพรรษาก็สามารถสอบวัดความรู้ไปจนถึงระดับนักธรรมชั้นโท และนักธรรมชั้นเอก ซึ่งจึงจะถือว่า “จบกระบวนการในความเป็นพระ”

คำว่า “จบกระบวนการในความเป็นพระ” ในที่นี้หมายถึง เมื่อพระรูปนั้นๆ ได้เรียนรู้และสอบผ่านเป็นที่เสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการนำไปปฏิบัติ เพื่อบรรลุหลักธรรมของพระพุทธศาสนาต่อไป ครั้นผู้เรียนจะลาสิกขาออกไปเป็นฆราวาส หลักธรรมคำสอนที่ได้จากการเรียนนักธรรม จะช่วยหนุนนำให้บุคคลนั้นๆ หยิบเอาวิชาธรรมะไปประยุกต์ใช้ในช่วงชีวิตและเป็นคนดีของสังคมต่อไป แต่ถ้ายังครองความเป็นพระอยู่ ก็สามารถหยิบเอาวิชาพระวินัยไปใช้ครองตนในยามเป็นพระได้ โดยที่ไม่เผลอละเมิดบัญญัติของพระพุทธเจ้า

“บุคคลที่จะเข้าสอบเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ จะต้องเรียนนักธรรมชั้นเอกเท่านั้น พระธรรมทูตที่มีหน้าที่ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ก็ต้องสอบนักธรรมเอกให้ได้ ถ้าสอบไม่ได้ก็จะไม่มีโอกาสได้ไปเผยแผ่พุทธศาสนา และพระภิกษุที่จะเป็นเจ้าอาวาส พระสังฆาธิการ ก็จะต้องสอบนักธรรมชั้นเอกให้ได้ก่อนเช่นกัน” พระสุทธิสารเมธี กล่าว


สอบธรรมะ หนุนนำทำความดี

สิ่งที่ฆราวาสจะได้รับจากการเรียนนักธรรม
ใบประกาศนียบัตร ไม่สามารถใช้เป็นผลงานในการสมัครเข้าทำงาน และไม่สามารถนำไปใช้เป็นใบผ่านทางใดได้ แต่จะมีเพียงไม่กี่สถานศึกษา ที่นำความสำคัญของการได้รับใบประกาศนียบัตรไปเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการให้เกรดรายวิชาสังคมศึกษา หรือพุทธศาสนา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถาบันนั้นๆ บางสถานศึกษาก็สั่งให้เด็กเข้าสอบนักธรรม แต่ไม่สามารถนำผลสอบหรือใบประกาศนียบัตรที่ผู้เรียนได้รับไปใช้ประโยชน์

“กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้มีการกำหนดไว้ว่า ผู้ใดศึกษาและสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก จะเป็นประโยชน์ต่อผลการศึกษา ซึ่งใบประกาศนียบัตร เป็นเพียงเครื่องแสดงเกียรติคุณเท่านั้น แต่คุณธรรมในใจเราต่างหากที่สำคัญกว่าใบประกาศฯ แม้ว่าคุณจะมีใบประกาศฯ ติดผนังมากมาย แต่คุณธรรมในใจคุณเล่า ธรรมะในใจคุณเล่า คุณมีหรือไม่ ทั้งพระทั้งโยม ถ้าเรียนไปแล้ว แต่ไม่นำไปใช้ก็ถือว่าไร้ค่า” พระมหาวงศ์ไทย กล่าวทิ้งท้าย


นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด

ใบประกาศฯ นักธรรม กระดาษผ่านทางเข้าทำงาน ได้หรือไม่?
นางนพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงผู้สมัครงานที่มีคุณสมบัติสอบผ่านนักธรรมชั้นตรี โท เอก ว่า ผู้สมัครงานที่ผ่านการสอบนักธรรมในช่วงชั้นต่างๆ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ เนื่องจากในกระบวนการรับคนเข้าทำงานนั้น ผู้คัดเลือกจะพิจารณาจากปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ 1. ความรู้ ความสามารถตรงกับเนื้องานหรือไม่ 2. ประสบการณ์ทำงานของบุคคลนั้นๆ สอดคล้องตรงกัน หรือใกล้เคียงกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามาหรือไม่ 3. ทัศนคติของผู้สมัคร ซึ่งดูได้จากการตอบสัมภาษณ์

กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี กล่าวถึงผู้ที่สอดใบประกาศนียบัตรเข้ามาในแฟ้มสะสมผลงานว่า “หากมีผู้สมัครงาน สอดใบประกาศนียบัตรเข้ามาใน Portfolio หรือแฟ้มสะสมงาน จะสามารถสะท้อนให้เห็นว่า คุณคือผู้ที่สนใจในแง่ของคุณงามความดี แต่ก็เป็นเพียงเครื่องบ่งบอกได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะเอาเข้าจริงแล้ว ก็ต้องมาพิจารณาอีกทีว่า ทัศนคติที่แท้จริงของบุคคลนั้นๆ เป็นอย่างไร สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้หรือไม่ ซึ่งเท่าที่ผ่านมา คนที่เรียนรู้ธรรมมะมามากๆ ไปปฏิบัติธรรมบ่อยๆ หรืออยู่ในสังคมที่มีการเข้าวัดฟังธรรมมาโดยตลอด เมื่อคนเหล่านี้เข้ามาในสังคมความเป็นจริง บุคคลเหล่านี้จะไม่ค่อยสามารถปรับตัวได้”

กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี กล่าวจากประสบการณ์การรับคนเข้าทำงานของเธออีกว่า เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคเกิดขึ้นในบริษัท พนักงานที่มีทัศนคติเชิงบวก จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดี และหยิบเอาอุปสรรคมาเป็นความท้าทายต่อสู้กับปัญหาต่อไป ซึ่งแตกต่างจากพนักงานที่มีทัศนคติในเชิงลบ

“ปัจจุบัน ยังไม่เคยเจอผู้ที่สอดใบประกาศนียบัตรสอบผ่านนักธรรมมาสมัครงาน แต่ถ้าเจอใครสอดมา บริษัทจะเรียกมาสัมภาษณ์ แต่ใบประกาศนียบัตร ก็เป็นเพียงแค่กระดาษใบเดียว เอาเข้าจริงแล้ว การกระทำของคนเราสำคัญที่สุด เช่นเดียวกับการนำใบปริญญามาสมัคร งาน แม้จะบ่งบอกว่าคุณเรียนสูง แต่เหนือสิ่งอื่นใด ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่า การไปพิสูจน์ความสามารถตัวเองในที่ทำงานว่าคุณทำได้จริงอย่างที่พูดหรือไม่” นพวรรณ จ๊อบส์ ดีบี กล่าวตามความเป็นจริงแห่งโลกการทำงาน.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/521408
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมทำงานฝ่าย บุคคล บอกตรง ๆ เลยครับ
  ใบประกาศนียบัตร นักธรรม ธรรมศึกษา เปรียญ ไม่ได้ช่วยอะไร เลยในการสมัครงาน นอกจากรู้ว่า ผู้สมัครถ้าเป็นชาย ก็เป็นชาวพุทธ ถ้าเป็นเปรียญ ก็เป็น พระเป็นเณรมาก่อน ก็เท่านั้นแหละ

  ส่วนผู้หญิง ก็เช่นกันไม่ได้มีประโยชน์ ตอนสมัครงาน เพราะบริษัทไม่เชื่อว่า คนที่มีประกาศนียบัตร นั้นเป็นคนดีครับ เราเคยติดกล้อง ซ่อนไว้ ตอนที่ผู้มาสมัครงาน แล้วแกล้งวางกระเป๋าตังค์เหมือนตกอยู่มุมหนึ่ง เชื่อไหมครับ สุภาพสตรี ที่มีใบประกาศนียบัตร ธรรมศึกษา กลับเป็นเก็บกระเป๋า ใส่กระเป๋า จนกระทั่งเราเรียกดู เพราะว่าตำแหน่งที่เราตอนนั้นเป็นตำแหน่ง แคชเชียร์ ต้องสามารถไว้ใจพนักงาน เก็บเงินได้นะครับ

   สรุป ไม่มีประโยชน์ ครับ

  :49:
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
โดนใจครับ
   ขนาด อส. พัฒนาสังคม ยังไม่สนใจ ปกศ. ธรรมศึกษา ตอนสมัครงานเลยนะครับ
 เราสนแต่ว่า คุยจบ ป.ตรี สาขาอะไร ใช้ คอมพิวเตอร์เป็นไหม ขับรถได้หรือไม่ เคยอบรม อส.ไหม ประมาณนี้

  :49:
บันทึกการเข้า