ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความรู้ ความเข้าใจเรื่องจิตกับใจ สนับสนุนการเจริญพระกรรมฐาน  (อ่าน 6025 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                                             

          ผมเคยได้ยิน ได้ฟัง ได้ศึกษามาว่า การเจริญพระกรรมฐานนั้น จุดสำคัญคือเราต้องไปเห็น ไปแจ้ง ว่าแท้จริงแล้วสิ่งที่เป็นเราคืออะไร อะไรที่เป็นเรา สิ่งไหนที่ไปเกิด ในภพชาติต่าง ๆ

          การเข้าไปเห็น ไปแจ้ง เกี่ยวกับตัวเรา นอกจากจะทำให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิสูงขึ้นแล้ว ยังสามารถทำให้เรารู้แจ้งพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วย

          ตามความเข้าใจของผม ผมว่าเรื่องจิตกับใจ น่าจะเกี่ยวข้องกับการเป็นตัวเรา
         
         อย่างที่หลวงปู่ดุลย์ อตุโล สอนไว้ว่า

          “จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
                    ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
          จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
                    ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ”

          ท่านใดมีความเห็น หรือธรรมะของครูอาจารย์องค์ไหน ที่พูดถึงจิตกับใจ ก็นำมาลงรวมกันไว้ได้นะครับ เพื่อเป็นธรรมทานกับนักปฏิบัติท่านอื่น ให้ศึกษาไว้ก่อนจะได้ทราบเป้าหมายของการภาวนา หรือการเจริญพระกรรมฐาน
         
          ในด้านสมาธิ ที่ผมศึกษามาครูอาจารย์ส่วนใหญ่ก็พูดตรงกันในส่วนขององค์ฌาน เช่น ฌาน ๑ มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นต้น

          ในด้านคุณธรรม การเป็นพระอริยเจ้า ครูอาจารย์ก็พูดตรงกันเรื่องการละสังโยชน์ ๑๐


          ดังนั้นถ้าท่านใดเจริญสมาธิแล้วยังเข้าอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ควรทำความเข้าในเรื่อง จิตกับใจ

         ท่านใดเจริญพระกรรมฐานเพื่อละสังโยชน์ ๑๐ ก็ยิ่งควรทำความเข้าใจว่าอะไรที่เป็นตัวเรา อะไรที่ไปเกิดในภพ ชาติ ต่าง ๆ อะไรที่ต้องทำให้บริสุทธิ์ปราศจากสังโยชน์ ๑๐



ขอบคุณภาพประกอบจาก : http://www.dhammada.net/2011/12/06/12467/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 06:41:18 pm โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                                       



เรื่องจิตกับใจ


๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐

จากหนังสือ อนุสรณ์ งานฉลองพิพิธภัณฑ์ หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ อ.เมือง จ.เลย       

          ในโอกาสต่อไปนี้ อาตมาจะได้แสดงพระธรรมเทศนา ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า สำหรับตัวอาตมาเองนั้น ก็ไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนทางปริยัติเท่าใด แต่ก็คงจะพูดให้พวกพระเณรตลอดจนผู้ปฏิบัติเข้าใจได้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป

          วันนี้จะขอพูดเกี่ยวกับเรื่องจิตกับใจ ซึ่งก็เป็นเรื่องเก่า ๆ ที่พูดมามากแล้ว แต่เป็นสิ่งสำคัญมากเกี่ยวกับจิตและใจนี้ ก็ขอให้พวกท่านจงสำรวมและตั้งใจฟัง

          มีปัญหาถามกันว่า คำว่า จิตกับใจนั้นต่างกันอย่างใด?

          ถ้าเราจะตอบว่าเป็นคนละอย่างก็ได้ หรือเราจะตอบว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้เช่นกัน เพราะจิตและใจนี้เป็นของเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน

          คำว่า ใจ มาจากมะนะ แปลว่ารู้ คือเมื่อร้อนก็รู้ว่าร้อน หนาวก็รู้ว่าหนาว สุขหรือทุกข์ก็รู้ว่าสุขหรือทุกข์ ใจนี้แหละเป็นผู้ที่รับรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง

          คำว่า จิต แปลว่า นึกคิด คือนึกคิดไปตามสภาพต่าง ๆ เป็นอาการของใจ

          อะไรที่เป็นสิ่งที่นึกคิด?

          ถ้าไม่มีความ รู้ แล้วเราจะนึกคิดได้อย่างไร เช่น ตุ๊กตา เป็นต้น ถ้าไม่มีใจก็หมายความว่าไม่มีความ รู้ เมื่อไม่มีความ รู้ แล้วก็จะไม่มีอาการนึกคิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 05:55:17 pm โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                         


     คำว่าจิตนี้แยกได้เป็น ๒ ประเภท

          ๑.   จิตแท้ใจเดิม เป็นจิตใจที่เป็นประธาน

          ๒.   จรณะจิต คือจิตที่เกิดจากจิตใจเดิม


     ๑.   จิตแท้ใจเดิม หรือจิตที่เป็นประธานนี้ ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “อมตธรรม” อมตธรรมนี้ เป็นธรรมที่ไม่ตาย จะต้องไปสร้างภพสร้างชาติอีกต่อไป

     ๒.   จรณะจิต คือ จิตที่เกิดจากจิตแท้ใจเดิม พระพุทธเจ้าท่านยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

          บางคนพูดว่า “ตายแล้วสูญ” เราลองมาพิจารณาดูว่าจะจริงเท็จอย่างไร?

          กล่าวคือพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสไว้ว่า “เราตถาคตใช้เวลาในการสร้างบารมีที่จะสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่ชาติแรกที่ปรารถนาพุทธภูมิ (ปรารถนาเกิดเป็นพระพุทธเจ้า) จนกระทั้งชาติสุดท้ายที่เกิดเป็นสิทธัตถะกุมาร และในที่สุดก็ออกบวชจนสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมตามความปรารถนานั้น รวมเวลาที่ต้องเสวยชาติเป็นทั้งมนุษย์และสัตว์ทั้งสิ้นสี่อสงไขยแสนมหากัปป์”

          เราท่านทั้งหมายจงพิจารณาดูว่า ในเวลาที่พระพุทธเจ้าสร้างบารมีถึงสี่อสงไขยแสนมหากัปป์นั้ ก็เป็นเวลาของจิตที่ไม่ตายหรือจิตแท้ใจเดิม หมุนเวียนไปเกิดตามสภาพต่าง ๆ กันนั่นเอง และในชาติที่พระองค์ตรัสรู้นั้น ก็เพราะจิตเดิมที่ปรารถนาพุทธภูมิในชาติแรกนั่นแหละที่มาตรัสรู้

          นี่ก็เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดแล้วว่า จิตแท้ใจเดิมนั้นไม่สามารถตายไปได้ จะต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอยู่ จนกว่าเราท่านทั้งหลายจะสิ้นจากอาสวะกิเลส หรือเราจะพูดอีกย่างหนึ่งก็เรียกว่า “ตายแล้วไม่สูญ”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 06:53:16 pm โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                         


          คนเราจะดีได้นั้นก็เพราะจิตใจเราพาดี หรือคนเราจะชั่วก็เพราะจิตใจพาชั่ว

          ถ้าจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลแล้ว บุคคลนั้นก็จะเป็นบุญกุศล

          ถ้าจิตใจเป็นบาปอกุศลแล้ว บุคคลนั้นก็จะเป็นบาปอกุศล

           เมื่อชายหรือหญิงที่เกิดมาแล้ว จะมีรูปลักษณะหรือความเป็นอยู่อย่างไร จิตก็จะต้องมีลักษณะอย่างนั้นมาก่อน เช่นคนที่มั่งมีทรัพย์สมบัติในชาติปัจจุบัน ก็แสดงว่าจิตนั้นมั่งมีมาก่อน

          คำว่า “จิตมั่งมี” หมายความว่า จิตมีบุญมีกุศล มีสติปัญญาดี อันเป็นคุณสมบัติของจิตใจ

          ท่านเจ้าคุณอุบาลีแสดงว่า “เมื่อผู้ปฏิบัติเห็นจิตที่เป็นประธาน จิตที่ไม่ตายนี้แล้ว จะไปยึดถือว่าเป็นตนเป็นตัวก็ไม่ชอบ แต่จะถือว่าจิตดวงนั้นเป็นเพียงสังขารธรรมชาติ”
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 06:46:21 pm โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                   

          ธรรมดาแล้วจิตของคนเรา จะชอบยึดถือในสมบัติวัตถุต่าง ๆ ดังนั้นจึงจะให้ข้อคิดกับบรรดาผู้ที่ชอบยึดถือในสมบัติ เพื่อให้เป็นคดีไปพิจารณาดู

          คำว่า อุปาทาน ที่แปลว่ายึดถือ

          เมื่อเราถือว่าเป็นเราแล้ว ก็จะต้องถือว่าเป็นเขาด้วย อันนี้ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิ

          ที่เรายึดในสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเราเป็นเขาทรัย์สมบัติ สามีภรรยา ฯลฯ นั้น เราลองพิจารณาดูว่าเราจะได้เป็นเจ้าของในสิ่งเหล่านั้นจริงหรือไม่?

          แต่สำหรับพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านปฏิเสธ ท่านว่า “โลกคือหมู่สัตว์ ไม่มีสมบัติอะไรเป็นของ ๆ ตน”

          หรืออย่างที่ท่านอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ท่านกล่าวว่า “สมบัติของโลก ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ของเขา มีแต่ความตายหนีจาก” คือไม่มีใครที่สามารถจะเอาสมบัติต่าง ๆ ไปได้ เมื่อเราตายไปแล้ว

          นี่แหละบรรดาสิ่งสมมุติที่เราไปยึดถือว่าเป็นสิทธิ์ของเรานั้น ก็จะได้เพียงชีวิตหนึ่ง ๆ เท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสามี ภรรยา หรือสมบัติต่าง ๆ เมื่อเราตายไปแล้ว เราจะยึดถือเป็นกรรมสิทธิ์ของเราอีกไม่ได้ เราจะเอาสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นติดตามไปสวรรค์ นรกหรือที่ไหน ๆ ก็ไม่ได้ ตรงกับคำที่ว่า “สมบัติของโลก ก็ต้องอยู่ในโลก”
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                   


          พระพุทธเจ้าท่านแสดงว่า

         “บุญ กุศลกรรม และบาป อกุศลกรรม ของสองอย่างนี้ แม้เราอยากได้หรือไม่อยากได้ก็ตาม เมื่อเราได้กระทำอะไรลงไปแล้ว ผลของการกระทำก็จะติดตามเราไป ไม่ว่าจะเป็นในนรกหรือบนสวรรค์ก็ตาม หรือภพไหนโลกไหนก็ตาม"

          คำว่า “เรา” ในที่นี้หมายถึงจิตแท้ใจเดิม ท่านจึงว่า “จิตใจ” นี้สำคัญมากทีเดียว

          แต่คนเราทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนสุขหรือคนทุกข์โดยส่วนมากแล้ว ก็จะมัวเมาอยู่กับผลกรรมเก่าที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบัน คือบรรดาลาภยศ ทรัพย์สมบัติ เป็นต้น พวกเราไม่ยอมคิดถึงเหตุที่มาของสิ่งเหล่านี้ ว่าสิ่งเหล่านี้มาได้อย่างไร?

          คำว่าผลกรรมนี้ เปรียบเทียบได้กับผลไม้ บรรดาผลไม้เหล่านั้นถ้าไม่มีต้นเสียแล้ว ก็จะไม่สามารถมีผลออกมาได้ ฉันใดก็ฉันนั้น ผลกรรมต่าง ๆ ก็จะต้องมีสาเหตุถึงได้มีผลกรรมออกมาให้เราท่านได้เสวยกันอยู่

          ถ้าเรามัวแต่ยึดถือในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น ไม่ยอมใช้ปัญญาพิจารณาในเหตุผลแล้ว ต่อไปเมื่อผลกรรมเก่าที่เรามัวแต่กินหมดไปแล้วเราจะเอาอะไรเหลืออยู่อีก? จุดนี้ก็ให้เป็นคติอีกอย่างหนึ่ง

          ธรรมที่นำมาแสดงนี้ ก็มีเจตนาจะพูดเรื่องจิตกับใจเป็นหลักเพื่อที่ท่านทั้งหลายจะได้นำไปคิด และเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป เอวัง.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2015, 06:56:02 pm โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

     ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นสาระธรรม ที่มีประโยชน์ มากในช่วงนี้

    thk56 thk56 thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12
เป็นบทความแนะนำ การภาวนา ที่ดีมากครับ

  :49:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ