ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระสงฆ์ที่น่านับถือ กราบไหว้ ของสระบุรี มีใครบ้างครับ  (อ่าน 101733 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kallaya

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 112
  • ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ถ้ามองเห็นทุกข์.........
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
0
 8) 8) ถ้าจำไม่ผิด อาจารย์ท่านเคยพูดถึงพระสงฆ์ที่สระบุรีว่ามี ที่น่านับถือ และสังขารท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ใครมีรูป และชื่อบอกด้วยเด้อ ผมผ่านไปสระบุรี จะได้ไปกราบไหว้บ้างAeva Debug: 0.0004 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2010, 10:04:53 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
ปัจจุบันสำคัญที่สุด อดีตก็ช่างมัน อนาคตก็ช่างมัน ถ้าเราทำปัจจุบันไว้ดี

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 8)  โยมกัลยา เป็นผู้ชายด้วยนะมี ครับ ด้วย เฮ้อ
พระที่อาตมายกย่องมากที่สุด คือ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน รองลงมา คือ สมเด็จโต
 
สำหรับพระสงฆ์ที่อาตมา จะยกขึ้นพูดบ่อย ที่ละสังขารในสระบุรี มีดังนี้
1.หลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน อ.เสาไห้ จ.สระบุรี
2.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง อ.ดอนพุด จ.สระบุรี
3.หลวงพ่อใจ วัดหนองหญ้าปล้อง อ.หนองแซง จ.สระบุรี
4.หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว ต.หินกอง อ.หนองแค จ.สระบุรี
5.หลวงพ่อแผ้ว วัดแก่งขนุน ต.ปากเพรียว อ.เมือง จ.สระบุรี
--------------------------------------------------
ส่วนพระสงฆ์ที่มีชีวิตอยู่นั้น ในสระบุรีนั้นไม่เคยกล่าวถึงพระรูปไหนเป็นพิเศษ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nimit

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • เรามาเพื่อจรรโลงพระกรรมฐาน
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
นมัสการพระอาจารย์
มีรูปให้ดูบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
ธรรมจักรสถิตอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นมีแต่ความร่มเย็น

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



ประวัติหลวงพ่อย้อย วัดอัมพวัน
http://wat-ampavun.xm.com/l3.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2009, 01:23:08 pm โดย sathukrab »
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

หลวงพ่อตาบวัดมะขามเรียง ครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2009, 01:25:09 pm โดย sathukrab »
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0



หลวงพ่อผินะ วัดสนมลาว
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
กระทู้ที่น่าอ่าน เกี่ยวกับเรื่องพระที่ทิ้งสังขาร และมีสภาพต่างๆ
http://atcloud.com/stories/69568
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


หลวงปู่ใจ วัดหนองหญ้าปล้อง
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ

translate

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 105
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยังขาดอีกรูป จ้า รูปหลวงปู่แผ้ว
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
+1


หลวงปู่แผ้ว จันทาโภ
กิตติศัพท์ ของท่านนั้น ก็มีเรื่องการดำน้ำ  4 ชั่วโมง สร้างตะกุด
ชาวลาวไทยพวน นับถือท่านมาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 02, 2010, 09:29:13 am โดย ทินกร »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
พระสงฆ์ที่น่านับถือ กราบไหว้ ของสระบุรี อีกรูปคะ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2010, 07:37:02 am »
0
ข้อความนำมาเพิ่มให้คะ
http://bbznet.pukpik.com/scripts/view.php?user=arjannoo&board=3&id=246&c=1&order=lastpost



พระเกจิแถว บ้านย่าผมเองครับ สมัยเด็กๆผมเคยไปกราบท่าน ที่วัดแปดอาร์ ส่วนเหรียญรุ่นนี้ดังมานานแล้วครับ คนพื้นที่จะทราบกันดี แต่ผมไม่ได้เอาข้อมูลมาลง พอดีเห็นออกทางทีวีช่อง5 ก็เลยนำประวัติมาฝากครับ

==============================================

หลวงพ่อผัน วัดราษฎร์เจริญ(วัดแปดอาร์) ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี หลวงพ่อผัน (พระครูสรกิจพิจารณ์) ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๕๔ ปีกุน ณ บ้านหนองแขม หมู่ ๑ ต.หนองแขม อ.หนองแค จ.สระบุรี อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๗๔ ณ พัทธสีมาวัดหนองโสน ต.สนับทึบ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมี พระครูนิเทศธรรมคาถา วัดบ้านสร้าง เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการจาด วัดวงษ์สวรรค์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการหนู วัดบ้านสร้าง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "จิณฺณธมฺโม" หลังจากนั้นได้มาจำพรรษาที่วัดราษฎร์เจริญ

ในช่วงที่ หลวงพ่อผัน เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสครั้งแรก สภาพของวัดราษฎร์เจริญทรุดโทรมอย่างหนัก อาคารเสนาสนะต่างๆ ชำรุดมาก หลวงพ่อก็ไดบูรณปฏิสังขรณ์จนดีขึ้นตามลำดับ และมีความเจริญรุ่งเรืองครบถ้วนสมบูรณ์ในทุกๆ ด้าน หลวงพ่อผัน เป็นพระเถราจารย์ผู้มีประพฤติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบมาโดยตลอด และปฏิบัติกิจการพระศาสนาอย่างถูกต้อง
อีกทั้งท่านยังมีเมตตาธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ งานด้านต่างๆ เช่น งานสาธารณูปการณ์ การก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ ภายในวัด ท่านก็ได้เป็นผู้นำดำเนินการก่อสร้างเพื่อประโยชน์แก่พระศาสนาและพุทธ ศาสนิกชนมากมาย เช่น ก่อสร้างอุโบสถ ศาลาการเปรียญ หอสวดมนต์ วิหารกุฏิ ฌาปนสถาน ซุ้มประตูหน้าวัด กำแพงรอบวัด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการใช้สอยและความสวยงาม ร่มรื่นเป็นระเบียบเรียบร้อยในทุกๆ ด้าน

นอกจากนี้ ท่านยังได้สนับสนุนในการก่อสร้างอาคารเรียนของโรงเรียนวัดราษฎร์เจริญ เพื่อประโยชน์แก่ลูกหลานชาวบ้าน ตลอดทั้งให้ความเอื้อเฟื้อแก่ชุมชนชาวบ้านทุกครัวเรือน หลวงพ่อผันเป็นพระสุปฏิปัณโณผู้มีเมตตาธรรมสูง มีศีลบริสุทธิ์ ปฏิบัติกิจของพระศาสนาอย่างดีเยี่ยม จนเป็นที่เคารพนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งใกล้และไกล และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ หลวงพ่อผัน ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากท่านหนึ่งของ จ.สระบุรี ที่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้ความเคารพนับถือ และเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก

หลวงพ่อปฏิบัติตัวเป็นพระของชาวบ้านอย่างแท้จริง ไม่ถือตัว ไม่เลือกชั้นวรรณะ เวลามีญาติโยมมานิมนต์ให้ท่านไปงานบุญกุศลต่างๆ ท่านจะสนองศรัทธาถ้วนทั่วทุกบ้านเรือน โดยไม่ถือว่าจะเป็นบ้านของคนมั่งมี หรือบ้านของคนยากจน ท่านให้ความเสมอเหมือนกันหมด ส่วนจตุปัจจัยที่ท่านได้รับจากการที่มีผู้ศรัทธาถวาย ท่านจะนำมาก่อสร้างถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ ภายในวัดราษฎร์เจริญ จนหมดสิ้น ไม่เก็บสะสมไว้เป็นสมบัติส่วนตัวแต่ประการใด จึงทำให้วัดมีความมั่นคงอยู่จนทุกวันนี้

หลวงพ่อได้ละสังขารไปเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘สิริรวมอายุ ๙๔ ปี และได้เกิดปาฏิหาริย์พิเศษ คือ สรีระของหลวงพ่อ ไม่ปรากฏอาการเน่าเปื่อยแต่อย่างไร กลับแข็งเหมือนหิน มีลักษณะเป็นสีขาวเหมือนแป้ง ขณะเดียวกัน ได้ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ทั้งเส้นผม และเล็กมือเล็บเท้าของหลวงพ่อได้งอกยาวออกมาจากเดิมอีกด้วย วัดจึงเก็บรักษาสรีระของหลวงพ่อไว้ในxxxบแก้ว โดยตั้งบำเพ็ญกุศลเพื่อให้ศรัทธาสาธุชนทั่วไปสักการบูชาจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า

sanwhan

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง จ.อุทัย ธานี./.
หลวงปู่วงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน./.
หลวงพ่อบุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง จ.ลพบุรี
ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่./.
ครูบาขาวปี วัดพระ พุทธบาทผาหนาม จ.ลำพูน./.
หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุนนาค จ.นครสวรรค์./.
หลวงปู่พรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์./.
หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ./.
หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร./.
หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อเภา วัดเขาวงกต จ.ลพบุรี./.
หลวงปู่เขียว วัดหลงบน จ.นครศรีธรรมราช./
.หลวงปู่หิน วัดหนองนา จ.ลพบุรี./.
หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญ จ.สิงห์บุรี./.
หลวงปู่นพ ภูวริ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ./.
พระอาจารย์โพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมนคุณาราม สาทร กรุงเทพฯ./.
หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ จ.สุพรรณบุรี./.
หลวงปู่ปัญญา คันธิโย วัดนาคตหลวง จ.ลำปาง./.
หลวงพ่อแดง วัดคุณาราม เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
1 .หลวงพ่อสิงห์ วัดแก้วโกรวาราม กระบี่
2. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
3. หลวงพ่อทอง วัดราชโยธา กรุงเทพฯ
4. หลวงพ่อนพ ภูวริ วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ
5. หลวงพ่อโพธิ์แจ้ง วัดโพธิ์แมน กรุงเทพฯ
6. หลวงพ่อวงศ์ วัดปริวาส กรุงเทพฯ
7. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
8. หลวงพ่อชื่น วัดถ้ำเสือ กาญจนบุรี
9. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะฯ กาญจนบุรี
10. หลวงพ่อแบน วัดมโนธรรมการาม(วัดนางโน) กาญจนบุรี
11. หลวงพ่อสัมฤทธิ์วัดถ้ำแฝด กาญจนบุรี
12. หลวงพ่อสาย วัดท่าขนุน กาญจนบุรี
13. หลวงพ่อโหพัฒน์ โรงเจชุ่นเทียนติ้ว หลังตลาดท่าเรือ กาญจนบุรี
14. หลวงพ่ออุตตมะ วัดสังขละ กาญจนบุรี
15. หลวงพ่อทรัพย์ วัดบ้านงิ้ว ชลบุรี
16. หลวงพ่อเริ่ม ปรโม วัดจุกกะเฌอ ชลบุรี
17. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท
18. หลวงพ่อนิพนธ์ อัตถกาโม วัดจั่นเจริญศรี อ.สรรค์บุรี ชัยนาท
19. หลวงพ่อเย็น วัดสระเปรียญ ชัยนาท
20. หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
21. หลวงพ่อคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน อ.หลังสวน ชุมพร
22. หลวงพ่อเปียก วัดนาสร้าง อ.ท่าแซะ ชุมพร
23. หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
24. หลวงพ่อไสย์ วัดเทพเจริญ ชุมพร
25 ครูบา ธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
26 ครูบา กองแก้ว วัดต้นยางหลวง เชียงใหม่
27 ครูบา ธรรมชัย วัดท่งหลวง เชียงใหม่
28 ครูบา อินสม วัดทุ่งน้อย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว เชียงใหม่
29 หลวงพ่อ น้อย วัดบ้านปง อ.แม่แตง เชียงใหม่
30 หลวงพ่อ หล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง อ.สันกำแพง เชียงใหม่
31 หลวงพ่อ อิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง - วัดทุ่งปุย เชียงใหม่
32 หลวงพ่อ น้อย วัดธรรมศาลา นครปฐม
33 หลวงพ่อ เปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
34 หลวงพ่อ พูล วัดไผ่ล้อม นครปฐม
35 หลวงพ่อ หล่วงพ่อเพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
36 หลวงพ่อ ไสว วัดปรีดาราม นครปฐม
37 หลวงพ่อ เงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม นครปฐม แต่สงสัยว่าจะเผาไปแล้ว
38 หลวงพ่อ แจ้ง วัดใหม่สุนทร นครราชสีมา
39 หลวงพ่อ นิล อิสสโร วัดครบุรี นครราชสีมา
40 หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย วัดป่าสารวัล นครราชสีมา
41 หล่วงพ่อ เขียว วัดหรงบน อ.ปากพนัง นครศรธรรมราช
42 หลวงพ่อ เกลื่อม ฐานิสสโดร วัดคคาวดี ต.ปากแพรก อ.ปากพนัง นครศรีธรรมราช
43 หลวงพ่อ คล้าย วาจาศิษย์ วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
44 หลวงพ่อ คลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
45 หลวงพ่อ มุ่ย วัดป่าระกำเหนือ นครศรีธรรมราช
46 หลวงปู่ สี วัดถ้ำเขาบุนนาค นครสวรรค์
47 หลวงปู่ พรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
48 หลวงพ่อ กัน วัดเขาแก้ว นครสวรรค์
49 หลวงพ่อ พรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
50 หลวงพ่อ สมควร วัดถือน้ำ นครสวรรค์
51 หลวงพ่อ อินทร์ วัดเกาะหงส์ นครสวรรค์
52 หลวงพ่อ ทอง วัดถ้ำทอง ต.ชอนเดื่อ อ.ตาคลี นครสวรรค์
53 หลวงพ่อ สี วัดถ้ำเขาบุนนาค อ.ตาคลี นครสวรรค์
54 หลวงพ่อ เมฆ วัดลำกระดาน นนทบุรี
55 หลวงพ่อ สาย วัดบางรักใหญ่ บางบัวทอง นนทบุรี
56 หลวงพ่อ แดง วัดเชิงเขา นราธิวาส
57 หลวงพ่อ แดง วัดทองดีประชาราม สุไหงโก-ลก นราธิวาส
58 หลวงพ่อ อิง สำนักปฏิบัติธรรมคงคำโคกทม บุรีรัมย์
59 หลวงพ่อ ยวง วัดทับสะแก ประจวบคีรีขันธ์
60 หลวงพ่อ แหวง วัดคึกคัก พังงา
61 หลวงพ่อ แก้ว วัดโคกโดน อ.ควนขนุน พัทลุง
62 หลวงพ่อ นำ วัดดอนศาลา พัทลุง
63 หลวงพ่อ พันธ์ วัดบางสะพาน อ.วังทอง พิษณุโลก
64 หลวงพ่อ ยี วัดดงตาก้อนทอง พิษณุโลก ไม่รู้เผาไปหรือยัง
65 หลวงพ่อ ทบ วัดช้างเผือก เพชบูรณ์
66 หลวงพ่อ จ่าง วัดเขื่อนเพชร เพชรบุรี
67 หลวงพ่อ แดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
68 หลวงพ่อ กัสสปมุนี วัดปิปผลิวนาราม ระยอง
69 หลวงพ่อ โอ๊ด วัดโกสินาราย อ.บ้านโป่ง ราชบุรี
70 หลวงพ่อ บุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง ลพบุรี
71 หลวงพ่อ เภา วัดเขาวงกต ลพบุรี
72 หลวง คง วัดเขาสมโภชน์ ลพบุรี
73 หลวงพ่อ เจริญ ติสสวัณโณ วัดเขาวงกต ต.สนามแจง อ.บ้านหมี่ ลพบุรี
74 หลวงพ่อ บุญมี วัดเขาสมอคอน ลพบุรี
75 หลวงพ่อ บุญเหลือ วัดเขาตะกร้าทอง ลพบุรี
76 หลวงพ่อ เภา วัดเขาวงกต อ.บ้านหมี่ ลพบุรี
77 หลวงพ่อ หิน อาโสโก วัดหนองนา อ.พัฒนานิคม ลพบุรี
78 หลวงพ่อ คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.เมือง ลพบุรี
79 หลวงพ่อ เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
80 หลวงพ่อ ปัญญา คันธิโย วัดนาคตหลวง อ.แม่ทะ ลำปาง
81 หลวงปู่ วงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
82 ครูบา ขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน
83 ครูบา ขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน
84 หลวงพ่อ วงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
85 หลวงพ่อ หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน ศรีสะเกษ
86 หลวงพ่อ ทอง วัดป่ากอ สงขลา
87 หล่วงพ่อ เมฆ วัดป่าขวางปางพระเลไลย์ อ.สิงหนคร สงขลา
88 หลวงพ่อ ลี วัดอโศการาม สมุทรปราการ
89 หลวงพ่อ เนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
90 หลวงพ่อ สาย วัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
91 หลวงพ่อ วัด วัดประชาโฆษิตาราม สมุทรสาคร
92 หลวงพ่อ สาย วัดหนองสองห้อง สมุทรสาคร
93 หลวงพ่อ เหมือน วัดคลองทรายใต้ สระแก้ว
94 หลวงพ่อ ใจ ฐิตธัมโม วัดหนองหญ้าปล้องใต้ ต.ไก่เส่า อ.หนองแซง สระบุรี
95 หลวงพ่อ ตาบ วัดมะขามเรียง ดอนพุด สระบุรี
96 หลวงพ่อ ซวง วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี สิงห์บุรี
97 หลวงพ่อ แพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
98 หลวงพ่อ บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข อ.บางระจัน สิงหบุรี
99 หลวงพ่อ ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
100 หลวงพ่อ ทอง วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก สุพรรณบุรี
101 หลวงพ่อ ทองใบ วัดคลองมะดันอ.สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
102 หลวงพ่อ มุ่ย วัดดอนไร่ อ.สามชุก สุพรรณบุรี
103 หลวงพ่อ ขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
104 หลวงพ่อ ครื้น วัดสังโฆ สุพรรณบุรี
105 หลวงพ่อ ใบ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง สุพรรณบุรี
106 หลวงพ่อ พัฒน์ นารโท วัดพัฒนาราม(ใหม่บ้านดอน) อ.เมือง สุราษฎร์ธานี
107 หลวงพ่อ แดง วัดคุณาราม(เขาโปะ) เกาะสมุย สุราษฏร์ธานี
108 หลวงพ่อ พรหม วัดนาราเจริญสุข อ.เกาะสมุย สุราษฏร์ธานี
109 หลวงพ่อ สุวัฒ วัดศรีทวีป สุราษฏร์ธานี
110 หลวงพ่อ ทองทิพย์ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์ หนองคาย
111 หลวงพ่อ เจริญ วัดตาลานใต้ อ.ผักไห่ อยุธยา
112 หลวงพ่อ สด วัดโพธิ์แดงใต้ อยุธยา
113 หลวงพ่อ สืบ อนุจาโร วัดกุฎีทอง ต.พิตเพียน อ.มหาราช อยุธยา
114 หลวงพ่อ เสน วัดญาณเสน อยุธยา
115 หลวงพ่อ เกษม วัดม่วงครับ อ่างทอง
116 หลวงพ่อ ทองใบ วัดอบทม อำเภอวิเศษไชยชาญ อ่างทอง
117 หลวงพ่อ พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง อุทัยธานี
118 หลวงพ่อ ตี๋ วัดหลวงราชาวาส อุทัยธานี
119 หลวงพ่อ ฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี
120 หลวงพ่อ แอ๋ว วัดหัวเมือง อุทัยธานี
121 หลวงพ่อ คำคะนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อุบลราชธานี
122 หลวงพ่อ พรหมมา สำนักสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
123 หลวงพ่อ เต๋ วัดสามง่าม
124 หลวงพ่อ ท้วม วัดเขาโบสถ์
125 หลวงพ่อ พุฒ หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
126 หลวงพ่อ สง่า วัดหนองม่วง/วัดบ้านหม้อ
127 หลวงพ่อ หยอด วัดแก้วเจริญ


เคยฟังพระอาจารย์ เล่ามาครั้งหนึ่ง ด้านบนคือที่รวบรวมไว้ในเว็บ

บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


             ย้อนหลังกลับไป เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2545 ชาวบ้านต่างเดินทางไปที่วัดสนมลาว หมู่ที่ 2 ต.โคก

แย้ อ.หนองแค จ.สระบุรี ด้วยเกิดเหตุปรากฏการณ์ความมหัศจรรย์ ภายหลังการมรณภาพลงอย่างสงบของ

"หลวงพ่อผินะ ปิยธโร" สิริอายุ 89 ปี เจ้าอาวาสวัดสนมลาว ร่างหลวงพ่อผินะนั่งหมดลมหายใจในท่านั่งขัดสมาธิ

อย่างสงบ เหตุที่ไม่ปกติเพราะท่านมรณภาพเวลาประมาณ 05.14 น. แต่เวลาล่วงเลยกว่า 12 ชั่วโมงแล้วร่าง

กายเนื้อตัวท่านยังอ่อนนิ่ม ไม่คล้ายดังคนที่หมดลมหายใจแต่อย่างใด ก่อนหน้านี้หลวงพ่อผินะได้ทำหนังสือเขียน

สั่งไว้ มีใจความว่า "เมื่อฉันละสังขาร ขอให้ปฏิบัติตามนี้ คือ ห้ามฉีดยาศพโดยเด็ดขาด ให้เก็บศพไว้ในสภาพนั่ง

ขัดสมาธิ ให้บรรจุศพไว้ในที่เตรียมไว้ ณ สุสานผินะ ไม่ต้องมีการสวดศพ ไม่ต้องบอกคนมาก ห้ามเผาศพโดย

เด็ดขาด" สั่ง ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2545 ลงชื่อ พระผินะ ปิยธโร พระอาจารย์ใหญ่ประธานคณะปฏิบัติธรรม วัด

สนมลาววรวิหาร

          พระพิศาลมงคลวัตร เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี (ธรรมยุต) กล่าวว่า ได้ทำการบรรจุศพในวันที่ 16

ตุลาคม 2545 และทำตามที่ท่านสั่งไว้ โดยสั่งช่างทำโลงแก้ว บรรจุศพในท่านั่งขัดสมาธิ และนำไปตั้งไว้ที่สุสาน

ผินะ ที่ท่านสั่งให้สร้างไว้แล้ว
 
          ประวัติหลวงพ่อผินะ ปิยธโร มีนามเดิมว่า ทวาย หาญสาริกิจ 

บิดาชื่อ เทศ           มารดาชื่อ ตุ้ย

เกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4  ปีกุน วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2465 

ที่บ้านดอนลำโพง ม. 1   ต. หนองยายดา   อ. ทัพทัน  จ. อุทัยธานี

การศึกษา              ประถมปีที่ 4  วุฒินักธรรมตรี

อาชีพ                  รับราชการครู และทำงานการไฟฟ้า

บิดามีอาชีพ            รับราชการทหาร ทำนา ค้าขาย

มารดามีอาชีพ          ค้าขาย

บิดาและมารดา         สมรสกันเมื่อปี พ.ศ. 2465

มีพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันทั้งหมด 5 คน คือ

          1.นายผินะ  หาญสาริกิจ

          2.นายเสริมเกียรต์  หาญสาริกิจ

          3.นางสาวสุรัตน์      หาญสาริกิจ

          4.นายสงวน          หาญสาริกิจ

          5.นายสุนทร          หาญสาริกิจ

          วัยเด็กหลวงพ่อมีโรคประจำตัวรักษาไม่หาย หลังการร้องไห้ทุกครั้ง จะต้องมีอาการชัก จนหน้าเขียว

โยมมารดาพาไปหาหมอรักษาโรค แต่อาการไม่ดีขึ้น ครั้นพอหมดหนทางจึงได้พาบุตรชายไปหาหลวงพ่อสิน เจ้า

อาวาสวัดหนองเตา ต.โนนขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี

          หลวงพ่อสินระบุว่า ชื่อทวาย เป็นกาลกิณี ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นผินะ มาจากคำว่าผิน แปลว่า หันหน้า,

หันหลัง, เปลี่ยนทิศทาง, ไม่แยแส, หรือเลิกคบกัน นับแต่นั้นอาการดังกล่าวได้ทุเลาลง

          พ.ศ.2481 บิดาได้ล้มป่วยและเสียชีวิต จึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เพื่ออุทิศส่วนกุศล พออายุครบบวช

จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดหนองเต่า ต.โนนขี้เหล็ก อ.เมือง จ.อุทัยธานี โดยมีพระครูอุดมคุณาภรณ์ เจ้าคณะ

อำเภอทัพทัน เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาอำนวย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ให้นามฉายา พระภิกษุผินะ ว่า

“ ปิยธโร ”

          ในระหว่างเป็นพระภิกษุพระผินะได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสออกไปจำพรรษาที่วัดเกาะ เทโพ อ.มโนรมย์

จ.ชัยนาท ได้ศึกษาพระธรรมจากหลวงตาคำ ให้รู้ถึงสังขารร่างกายมนุษย์และสัตว์ ล้วนมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ร่าง

กายเน่าเปื่อย

          พ.ศ.2481 ท่านสอบได้นักธรรมตรี และออกธุดงค์ ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐาน ณ วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา

อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ก่อนจะเดินธุดงค์ไปในหลายจังหวัด ในภาคเหนือ ใต้ ประเทศพม่า ลาว เขมร อินเดีย

          พ.ศ.2485 พระผินะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่มั่น วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร, หลวงปู่ฝั้น

อาจาโร, หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และพระอาจารย์อีกหลายรูปที่ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์

          พ.ศ.2527 หลวงพ่อผินะจาริกธุดงค์ผ่านมาถึงวัดโบราณ บ้านสนมลาวเขาโบถส์ ต.โคกแย้ อ.หนอง

แค จ.สระบุรี เป็นวัดร้าง แต่มีสถานที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้จำพรรษาที่วัดแห่งนี้

ปัจจุบันกลายเป็นวัดสนมลาว และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ

หลวงพ่อผินะเคยปรารภกับคณะศิษยานุศิษย์ว่า สถานที่แห่งนี้มีความเหมาะสมใช้เป็นที่ละสังขาร และได้มอบ

หมายให้จัดสร้างเตรียมไว้ล่วงหน้า เป็นอ่างน้ำด้านล่าง ที่ใส่สังขารอยู่ด้านบน อันเป็นปริศนาธรรม หมายถึงการ

อยู่เหนือพ้นน้ำ ดังเช่น บัวสี่เหล่าที่พระพุทธองค์ได้ทรงกล่าวเทศนาไว้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ เหนือการตาย เวียน

ว่ายตายเกิด

           สำหรับที่เก็บสังขารหลวงพ่อผินะ คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดสร้างเจดีย์ ลักษณะคล้ายองค์พระปฐมเจดีย์

ครอบไว้ สูงประมาณ 10 เมตร ด้านหน้ามีรูปหลวงพ่อผินะ ใต้ฐานเจดีย์เป็นน้ำ มีปลาแหวกว่าย

           ทุกวันจะมีสาธุชนที่ศรัทธาเลื่อมใสเดินทางมากราบไหว้สังขารหลวงพ่อผินะที่บรรจุในโลงแก้วอยู่เป็น

ประจำ
 
           หลวงพ่อผินะ ท่านเป็นพระผู้ทรงอภิญญา มีฤทธิ์ทางใจเป็นอัศจรรย์ ท่านสำเร็จกสิณ 10 สามารถ

แสดงฤทธิ์ต่างๆได้ ตามประสงค์ รู้วาระจิตของคนอื่น ปลุกเสกวัตถุมงคลขึ้นมาเหมือนมีชีวิตจิตใจ สามารถบน

บอกได้ ขอได้ พูดกันรู้เรื่อง ขอให้มีของท่าน อะไรก็ได้ ใช้ได้เหมือนกัน
 
คำบูชาหลวงพ่อผินะ ปิยธโร
 
จุดธูป 5 ดอก ตั้งนะโม 3 จบ
 
อะหัง สุขโต ผินะ ปิยะธะโร นามะเต อาจาริโยเม ภันเต โหหิ (ว่า 3 จบ)
 
 
คาถาบูชาวัตถุมงคลของพ่อผินะ
 
" นะเตสุเต " สวดเท่าอายุ ปิดท้ายด้วย "มหาสุเตนะชา"
 
อธิษฐาน ตามจิตปรารถนา



อ้างอิงที่มา  http://www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=1976&sid=91afdde5ca3c73043e701df451bb1a98
                  http://www.nungsuepra.com/?page=news_detail&id=69
                  http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=26055
                  http://www.khalong.com/board/viewthread.php?tid=2394   
                  http://www.109wat.com/bk01.php?id=781



วัตถุมงคลหลวงพ่อผินะ...พิจารณาได้จากริงก์นี้

http://www.zoonphra.com/amulet/catalog.php?storeno=s013&idp=592             
http://classified.sanook.com/item/7147243
http://www.suriyanchantra.com/catalog.php?idp=243
http://www.pornkruba.net/webboard.php?id=476241&cat_w=4913&lang=th
http://www.amuletinter.com/shop/teerapong/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2011, 02:27:21 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


                   หลวงพ่อตาบ อัตตกาโม หรือ  "พระครูเวชคามคณารักษ์" วัดมะขามเรียง จ.สระบุรี ตามประวัติ หลวงพ่อ

ตาบ วัดมะขามเรียง ได้ศึกษาด้านวิทยาคมกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายท่าน"พระครูเวชคามคณารักษ์" หรือ

หลวงพ่อตาบ อตฺตกาโม แห่งวัดมะขามเรียง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เป็นพระเกจิดังชื่อดังที่มีวัตรปฏิบัติดีปฏิบัติ

ชอบมีเมตตาธรรมสูง มีชื่อเสียงโด่งดังในเขตจังหวัดสระบุรี วัตถุมงคลของหลวงพ่อตาบ ท่านเป็น ที่เสาะแสวงหา

ของบรรดาเซียนพระ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ รูปเหมือน พระกริ่ง พระเนื้อผง โดยเฉพาะพระชัยวัฒน์เวชคามมะขาม

เรียง พระกริ่งเวชคามมะขามเรียง

ประวัติ หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง (พระครูเวชคามคณารักษ์)

               อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ตาบ คชรินทร์ เกิดวันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2454 ตรงกับแรม ๗

ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน ณ บ้านบ่อกระโดน ต.ไผ่ขวาง อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี โยมบิดาชื่อ นายโป๋ คชรินทร์ เป็นชาว

บ้านเสาธง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา  โยมมารดาชื่อ นางฟัก คชรินทร์ เป็นชาวบ้านกระโดน ท่านเป็นบุตรชายคน

เดียวของครอบครัว เมื่อหลวงพ่อตาบ เติบโตพอสมควรได้เรียนรู้อ่านเขียนกับบิดา จนมีอายุได้ ๙ ปี (ใน พ.ศ.

๒๔๖๒) บิดาจึงได้พาไปเข้าเรียนชั้นประถมที่ โรงเรียนวัดศักดิ์ อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา และเป็นเด็กวัด

อยู่กับพระที่วัดศักดิ์ จนถึงอายุ ๑๒ ปี จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ก็กลับมาช่วยบิดา-มารดา ทำงาน ระหว่างนี้ คุณ

ตาแจ้ง ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านอักขระ ด้านเลขยันต์ เวทมนตร์พุทธาคม ได้สอนฝึก จนพอมีความสามารถด้าน

พุทธาคมแต่เยาว์วัย

               ครั้นอายุครบ 21 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมะขามเรียง เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม

2476 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา มี พระครูศรีคณาภิบาล (โฉม) วัดดอนพุด เป็นอุปัชฌาย์, พระ

อธิการแซ วัดบ้านร่อม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการปลั่ง เจ้าอาวาสวัดมะขามเรียง เป็นพระอนุสาวนา

จารย์ ได้รับฉายาในเพศบรรพชิตว่า "อตฺตกาโม" หลังจากอุปสมบทแล้วก็จำพรรษา ณ วัดมะขามเรียงกับพระอนุ

สาวนาจารย์ คือพระอธิการปลั่ง

               หลวงพ่อตาบ ท่านได้อยู่จำพรรษา ณ วัดมะขามเรียง ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม

พ.ศ.2480 สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก

               นอกจากนี้หลวงพ่อตาบ ยังได้ศึกษาวิชานักเทศน์กับครูพรหม พระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงแห่งวัดสาม

ง่าม กรุงเทพฯ จนสามารถเทศน์ได้ดีเยี่ยม ท่วงทำนองลีลาแบบลมพัดชายเขา หรือ คลื่นกระทบฝั่ง เป็นที่ประทับ

ใจแก่ญาติโยม แต่สุดท้าย ท่านได้หันกลับไปศึกษาด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน

               พ.ศ.2497 ท่านเดินทางไปศึกษากับพระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทธิ) วัดมหาธาตุ

กรุงเทพฯ อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระแห่งประเทศไทย ได้ฝึกฝนจนมีความชำนาญ จึงได้กลับมายังวัดมะขาม

เรียง ตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานวัดมะขามเรียง มีลูกศิษย์มากมายมาขอฝึกปฏิบัติกับหลวงพ่อเป็นจำนวน

มาก ด้านวิทยาคม หลวงพ่อตาบ ได้ศึกษากับน้าชาย คือ พระครูประสาธน์วิทยาคม หรือ หลวงพ่อนอ วัดกลาง

ท่าเรือ พระเกจิชื่อดังด้านตะกรุดหน้าผากเสือ อีกทั้งได้ศึกษาวิชากับหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค, หลวงพ่อพิณ วัด

มะขามโพรง, หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์

               พ.ศ.2489 คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งหลวงพ่อตาบ เป็นเจ้าอาวาสวัดมะขามเรียง จากนั้น หลวงพ่อตาบ

ได้ร่วมกับชาวบ้าน สร้างโบสถ์ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ร่วมกันพัฒนาวัดมะขามเรียงบนเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาม

14 ตารางวา เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ

พ.ศ. 2509 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2510 หลวงพ่อตาบ สร้างตะกรุด แจกจ่ายแก่คณะศิษย์

พ.ศ.2515 ได้สร้างเหรียญรุ่นแรกจำนวน 6,000 เหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อนั่งเต็มองค์เนื้ออัลปาก้า

พ.ศ. 2511 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นตรี ที่ พระครูอัตถจริยนุกูล

พ.ศ. 2513 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นโท ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตร ชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูเจ้าคณะอำเภอบ้านหม้อ ที่ พระครูเวชคามคณารักษ์

พุทธาคมหลวงพ่อตาบ

               หลวงพ่อตาบ กับพุทธาคมของหลวงพ่อ ตามประวัติเบื้องต้นที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หลวงพ่อตาบ มี

ความรู้พื้นฐานด้านพุทธาคมมาตั้งแต่เยาว์วัยโดยได้ศึกษากับคุณตา ผู้มีความเป็นเลิศทางด้านเวทย์มนต์คาถา

ครั้นมาอุปสมบทหลวงพ่อก็เริ่มศึกษาทางธรรมตลอดจนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน นับได้ว่ารากฐานทางด้าน

พลังจิต อำนาจบารมีทางใจของหลวงพ่อแข็งแกร่งขึ้น กล่าวกันว่า วิชาพุทธาคมและเวทย์มนต์นั้นเป็นเพียง

แผนที่ แต่จิตใจเป็นกำลังที่พาให้เดินไปตามแผนที่ เมื่อมีอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวย่อมไม่สามารถ

กระทำได้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ หากมีสองสิ่งสองประการครบถ้วน ปฏิบัติการทางพุทธาคมย่อมประสบผลอย่างแน่

แท้ เช่นเดียวกับหลวงพ่อตาบ หลังจากท่านได้ฝึกฝนปฏิบัติการทางจิตใจโดยวิปัสสนากรรมฐานอย่างชำนิชำนาญ

จนจัดว่าเป็นนายของใจได้แล้ว การปฏิบัติทางพุทธาคมและคาถาอาคมของหลวงพ่อตาบจึงมิต้องสงสัยเลยว่าจะ

ทำได้ดีเยี่ยมขนาดไหน

               นอกจากหลวงพ่อตาบ จะศึกษาพุทธาคมกับคุณตาแล้ว ท่านยังได้ศึกษากับน้าชาย ซึ่งเป็นเกจิ

อาจารย์ชื่อดังในครั้งอดีต คือ พระครูประสาธน์วิทยาคม (หลวงพ่อนอ) วัดกลางท่าเรือ จ.อยุธยา ผู้กระฉ่อนชื่อ

ด้านตะกรุดหน้าผากเสือ โดยหลวงพ่อได้ศึกษาวิชาต่าง ๆ มามากมาย และที่แน่นอนที่สุดก็คือ วิชาตะกรุดหน้า

ผากเสือ ซึ่งหลวงพ่อตาบทำได้ขลังไม่แพ้ของอาจารย์ทีเดียว นอกจากหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือแล้ว หลวงพ่อ

ยังได้ศึกษาวิชาบางประการกับ หลวงพ่อพิณ วัดมะขามโพรง และเคยเดินทางไปศึกษากับ หลวงพ่อเดิม วัด

หนองโพธิ์ ซึ่งหลวงพ่อก็ทำมีดหมอได้ขลังมากเช่นกัน สำหรับ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นั้น ดูเหมือนหลวงพ่อ

จะสนิทสนมกัน เพราะเคยเดินทางไปมาหาสู่อยู่บ่อย ๆ ได้สนทนาธรรมและวิชาความรู้ต่าง ๆ มากมาย นับได้ว่า

หลวงพ่อมีความสนใจทางพุทธาคมอยู่มาก และเพียรพยายามติดตามศึกษาอย่างเจนจบ

พระเครื่อง วัตถุมงคล หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง

               พระเครื่องและวัตถุมงคลของหลวง พ่อตาบ ที่จัดสร้าง อาทิ ตะกรุดโทน ตะกรุดสามพี่น้อง

ตะกรุดนวโลกุตระ (9 ดอก) ตะกรุดหน้าผากเสือ เหรียญรุ่นต่างๆ พระชัยวัฒน์ พระกริ่งเวชคาม รูปเหมือนกริ่ง

มีดหมอ พระผงต่างๆ ผ้ายันต์ แหวนถักด้วยเชือกและจีวร เป็นต้น ล้วนแล้วแต่มีประสบการณ์กับผู้ที่พกพาพระ

เครื่องและวัตถุมงคลของท่าน ไม่ว่าจะด้านเมตตาค้าขาย โชคลาภ คงกระพัน มหาอุด ก็พบเห็นกันบ่อยๆ โดย

เฉพาะตะกรุดหน้าผากเสือ ของหลวงพ่อตาบ ที่ใครหลายคนต้องการ พุทธคุณไม่แพ้ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่า

เรือ เลยทีเดียว

               วันที่ 31 ธันวาคม 2532 หลวงพ่อตาบ ได้ละสังขารลง สิริอายุ 78 ปี แต่ร่างกายสังขารของ

ท่าน ไม่เน่าเปื่อย บรรดาลูกศิษย์จึงนำสังขารร่างของท่านใส่ไว้ในโลงแก้ว ตั้งไว้ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้

กราบไหว้



อ้างอิงที่มา  http://www.tumsrivichai.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538722570&Ntype=5
                  http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0028



วัตถุมงคลหลวงพ่อตาบ...พิจารณาได้จากริงก์นี้

http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0030
http://www.inform.collection9.net/index.php?doc=doc_detail&id=0076
http://watmakhamreang.com/index.php/vechacarm/mongkolpic/57-all-phra6.html
http://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=2379
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 23, 2011, 02:37:34 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ สาธุ
 ;)
:25: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



            วัดอัมพวัน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก แต่เดิมชื่อ "วัดม่วงล้อม" เพราะบริเวณวัดปรากฎว่าเต็มไปด้วยพันธุ์ไม้

มะม่วงยืนต้นขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาพระครูติ๊บ ซึ่งเป็นพระครูเมืองวัดเขาแก้ว ได้มาปฏิสังขรณ์วัด

ม่วงล้อมใหม่ สร้างกุฎิสงฆ์และพระอุโบสถขึ้นแล้วให้นามวัดว่า "วัดอัมพวัน" มีพระภิกษุสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ไม่

มากนัก เพราะชาวบ้านในละแวกนี้มีน้อยมาก มีหลวงตาจั่นเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก และเมื่อหลวงตาจั่นได้

มรณภาพไปแล้ว จึงได้พระอุปัชฌาย์สา เป็นสมภารรูปที่ 2 ต่อมาหลวงปู่ส่ง เป็นสมภารรูปที่ 3  หลวงพ่อย้อย

ปุญญมี เป็นสมภารรูปที่ 4 ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอธิการเจ้าอาวาสวัดอัมพวัน เมื่อ ปี พ.ศ.2454 จวบถึง

ปี พ.ศ. 2525 ปัจจุบันมีพระอธิการบัณฑิต ปณฺฑิโต เป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 6 รับตำแหน่งเนื่องมาแต่พระสมุห์คำปัน

ปุณโณ เจ้าอาวาสรูปที่ 5 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534


         ในบริเวณวัดยังปรากฎมีวิหารเป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ถือปูน ด้วยขนาดหน้าตักกว้าง 110

ซม. สูง 145 ซม. มีหลักฐานปรากฎว่า สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีอายุความเก่าแก่ประมาณ 400 ปีเศษ

นอกจากนี้ยังมีเจดีย์ ที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสาริริกธาตุ ที่ชาวบ้านละแวกนั้น ได้เห็นปาฎิหารย์รัศมีแสงเรือง

รองนวลทั่วบริเวณหลายคน เมื่อสอบถามจึงทราบว่า แสงนั้นเปล่งมาจากพระบรมสารีริกธาตุ ที่กุฏิอาจารย์ย้อย

จึงมีความเลื่อมใสยิ่ง และร่วมกันสร้างเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ


         หลวงพ่อย้อย ปุญญมี เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดัง ทางด้านการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง แจกจ่ายให้บรรดา

ศิษยานุศิษย์ไว้เป็นเครื่องป้องกันตัว เคยปรากฎผลศักดิ์สิทธิ์และมีอภินิหารเป็นที่เลื่องลือในบรรดาศิษย์และคน

ทั่วไป ที่ได้เคยมีประสบการณ์มาแล้ว เครื่องรางของขลังนั้น ท่านเคยทำไว้หลายชนิด โดยเฉพาะ ตระกรุดชนิด

ต่างๆ หลายรุ่น สาริกาลิ้นทอง, ผ้ายันต์ต่างๆ, พระประจำวันต่างๆ เหรียญ และแหวนรูปหลวงพ่อย้อย


         สำหรับประวัติของหลวงพ่อย้อย ปุญญมี เกิดเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2435 เริ่มบวชเณรตั้งแต่อายุ 5 ขวบ

หลังจากนั้นก็ไม่สึกอีกเลย จนกระทั่งอายุครบ 20 ปี จึงได้อุปสมบท  ปัจจุบันถ้ารวมอายุก็นับได้ 118 ปี โดย

หลวงพ่อย้อยเป็นพระที่สนใจใฝ่ศึกษาทางธรรมะ และยังเป็นพระนักพัฒนาอีกด้วย ส่วนกิตติศัพท์ที่ทำให้คนทั่ว

ไปรู้จักหลวงพ่อย้อยคือเรื่องวัตถุมงคลของหลวงพ่อย้อยที่เน้นไปทางเมตตา มหานิยม และแคล้วคลาด โดย

เฉพาะตะกรุดได้รับความนิยมกันมาก


         หลวงพ่อย้อย ปุญญมี เป็นพระภิกษุที่เจริญด้วยเมตตาอย่างยิ่ง เวลาฉันอาหาร ไม่ว่าเช้า หรือเพล จะมี

สุนัข หรือ แมว ล้อมรอบตัวท่าน ซึ่งท่านไม่เคยไล่ให้หนีไป คุณลักษณะพิเศษอีกอย่างคือ ไม่เคยขัดศรัทธาของ

ผู้ที่ไปหาท่าน อีกประการ คือ ท่านมีประสาทหูพิการ (หูหนวก) จึงมีสมาธิดีกว่าปกติ เพราะไม่สามารถฟังเสียง

รบกวนจากบริเวณใกล้เคียงได้


         จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525 หลวงพ่อย้อยเกิดล้มป่วยด้วยโรคหัวใจ จึงถูกส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริ

ราช แต่ในที่สุดหลวงพ่อย้อย ปุญญมี ก็มรณภาพลง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2525 รวมอายุได้ 90 ปี ปรากฎว่า

จนปัจจุบัน เป็นเวลา 28 ปีแล้ว ร่างกายของท่านยังไม่เน่าเปื่อย บรรดาญาติโยมจึงเคลื่อนย้ายสังขารที่บรรจุใน

โลงแก้วออกจากกุฏิมาตั้งที่วิหารจตุรมุขที่สร้างขึ้นมาอย่างสวยงาม เพื่อให้ญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาสามารถเข้า

มากราบไหว้ได้สะดวกยิ่งขึ้น




อ้างอิงที่มา   http://www.igetweb.com/www/saohaimonk/index.php?mo=3&art=214996
              http://www.meeboard.com/view.asp?user=saohai1&groupid=10&rid=25&qid=5



วัตถุมงคลหลวงพ่อย้อย...พิจารณาได้จากริงก์นี้

http://ucommerce.uamulet.com/CommerceDetail.aspx?bid=104&qid=4112
http://www.taradpra.com/PremiumItemDetail.aspx?itemNo=335118&storeNo=3999
http://www.taradpra.com/PremiumItemDetail.aspx?itemNo=440303&storeNo=3992
http://uauction.uamulet.com/AuctionDetail.aspx?bid=307&qid=368
http://sitluangporguay.com/forum/index.php?topic=7231.0
http://www1.taradpra.com/store.aspx?storeNO=3999
http://www.ampawun.com/L1.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 02, 2011, 08:51:17 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรียน คุณทินกร เว็บมาสเตอร์

เรื่องนี้ ด้วยคะ อยากให้ปักหมุด ไว้จะได้อ่านกันได้โดยไม่ต้องหา คะ

 :25: :25:

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นกระทู้ที่อ่านแล้วได้ประโยชน์ มากคะ แต่เสียดายภาพที่หายไป ที่เป็นภาพกบนะคะ

ใครช่วยปรับปรุงภาพที่หายไปได้บ้างคะ

ขอบคุณมากคะ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา คะ ไปสระบุีรี รอบนี้จะได้ไปกราบไหว้ให้ครบ เลยคะ

 :c017: :25: :88:
บันทึกการเข้า

NP2706

  • เราต้องสร้างสะพานระหว่างสมองกับหัวใจ ให้ความรู้ที่เป็นสัญญานี้ทราบซึ้งเข้าไปถึงหัวใจ
  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไปกราบไหว้มาแล้ว....ดีมากเลย    เชิญชวนทุกท่านที่ยังไม่เคยไปหรือไปแล้วยังไม่รู้จักแต่ตอนนี้รู้จักแล้วไปกราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติภาวนา
บันทึกการเข้า
"Only two things are infinite, the universe and human stupidity,
and I'm not sure about the former."

namtip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0




หลวงพ่อย้อย คะ วัดอัมพวัน ชดเชยภาพให้คะ เคยเซฟไว้



หลวงพ่อตาบ คะ วัดมะขามเรียง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2011, 11:34:38 am โดย namtip »
บันทึกการเข้า

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทุกวันที่ 19 ธันวาคม ของทุกปี ทางวันอัมพวันโดย คณะสงฆ์และชาวบ้านจะจัดงานทำบุญให้หลวงปู่ย้อย โดยจัดทำบุญทอดผ้าป่าสามัคคีถวายให้ท่าน เพื่อน้อมระลึกถึงพระคุณ เชิญทุกท่านที่สะดวกร่วมอนุโมทนาบุญ
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
19 ธันวาคม ของทุกปี

อนุโมทนา กับ ข่าวด้วยคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

phrasamu1

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
8) 8) ถ้าจำไม่ผิด อาจารย์ท่านเคยพูดถึงพระสงฆ์ที่สระบุรีว่ามี ที่น่านับถือ และสังขารท่านไม่เน่าไม่เปื่อย ใครมีรูป และชื่อบอกด้วยเด้อ ผมผ่านไปสระบุรี จะได้ไปกราบไหว้บ้างAeva Debug: 0.0004 seconds.
หลวงพ่อสมบุญ ปุญฺญวฑฺฒโน (พระครูธรรมกิจจานุกูล) วัดโบสถ์แจ้ง ตำบลตลาดน้อย อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี
 หลวงพ่อบุญ อดีตเจ้าอาวาสรูปก่อนท่านเป็นเกจิฯรูปบ้านหมอที่เก่งไม่ธรรมดารูปหนึ่งทีเดียวและท่านเป็นอาจารย์ของพระครูโอภาสธรรมกิตติ์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
ภายหลังจากหลวงพ่อบุญละสังขารไปร่างท่านกลับไม่เน่าเปื่อย ทางวัดจึงนำร่างท่านใส่ไว้โลงแก้วประดับมุกเก็บไว้ให้ประชาชนกราบไหว้บูชาอยู่ในวิหารอดีตเจ้าอาวาส
http://watbotjang.myreadyweb.com/webboard/topic-5904.html
บันทึกการเข้า
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ด้วยครับ สาธุ สาธุ แด่พระสงฆ์ผู้ทรงศีล พุทธบุตร ผู้สืบทอดอายุพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน ทุกรูปทุกองค์ครับ หากผมได้มีโอกาสจะไปกราบไหว้สักการะทุกรูป ทุกท่านครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอแบบที่มีชีวิต อยู่ได้หรือไม่ครับ
 :c017: :25:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

Tumdee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แบบที่มีชีิวิต ก็น่าสนใจ นะครับ จะได้เ้ข้าไปกราบไหว้ ถูกวัด ถูกองค์ ด้วยครับ มีหรือไม่ครับ


  :25: thk56
บันทึกการเข้า