ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ญาณสังวร" ที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรคและอรรถกถา  (อ่าน 5174 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
    • ดูรายละเอียด



สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

.......ตำแหน่งพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดให้แห่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ครั้งถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ จึงทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช (๒๓)

     มีสำเนาประกาศที่ทรงตั้ง ดังนี้





    “ศริศยุภอดีตกาล พระพุทธสักราช ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกไตรสัตฐีสัตมาศ ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลยปรีชาอันมหาประเสริฐ มีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนา ให้สมเด็จพระญาณสังวรเปน
          สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก
          ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร
          วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี

    เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง (๒๔)


อ้างอิง
(๒๓) - พระราชพงศาวดารฯ รัชกาลที่ ๑-๒ อ้างแล้ว. หน้า ๕๙๘-๕๙๙
(๒๔) - เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ อ้างแล้ว. หน้า ๘๔
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก  http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm
http://upic.me/,http://www.madchima.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2013, 11:14:01 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
    • ดูรายละเอียด
   
      “สํวโร สีลนฺติ เอตฺถ ปญฺจวิเธน สํวโร เวทิตพฺโพ ปาฏิโมกฺข สํวโร สติสํวโร
      ญาณสํวโร ขนฺติสํวโร วิรียสํวโรติ ตตฺถ อิมินา ปาฏิโมกฺขสํวเรน อุเปโต โหติ สมุเปโตติ อยํ
      ปาฏิโมกฺขสํวโรติ รกฺขติ จกฺขุนทฺริเย สํวรํ อาปชฺชตีติ อยํ สติ สํวโร ยานิ โสตานิ โสกสฺมึ อชิ
      ตาติ ภควา สตี เตสํ นิวารณํ โสตานํ สํวรํพรูมิ ปญฺญาเยเตปิถิยเรติ อยํ ญาณสํวโร”


     แปลเนื้อความว่า วินิจฉัยในบทคือ “สํวโร สีลํ” สังวรชื่อว่าศีลนี้
     พระพุทธโฆษาจารย์เจ้านิพนธ์พระบาลีว่า “ปญฺจวิเธน สํวโร เวทิตพฺโพ”

     นักปราชญ์พึงรู้ สังวรมี ๕ ประการ คือ
        ปาฏิโมกขสังวร ๑
        สติสังวร ๑
        ญาณสังวร ๑
        ขันติสังวร ๑
        วิริยสังวร ๑
     เป็นสังวร ๕ ประการด้วยกันดังนี้


     สังวรที่องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทศนาโดยนัยเป็นอาทิว่า
     “อิมินา ปาฏิโมกฺขสํวเรน”
     พระภิกษุในพระศาสนานี้ ประกอบแล้วแลประกอบแล้วด้วยดี ด้วยพระปาฏิโมกขสังวรชื่อว่า
     ปาฏิโมกขสังวรเป็นปฐมที่ ๑


     สังวรที่ ๒ นั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสเทศนาไว้โดยนัยเป็นอาทิ ว่า
     “รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริยํ”
     ภิกษุในพระศาสนาย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ถึงซึ่งสังวรในจักขุนทรีย์
     สังวรดังนี้ชื่อว่า สติ สังวรเป็นคำรบ ๒




   
     ญาณสังวรเป็นคำรบ ๓ นั้น พระผู้ทรงพระภาคตรัสเทศนาโดยนัยเป็นอาทิว่า
     “อชิต” ดูกรภิกษุชื่อว่า อชิต
     “ยานิ โสตานิ” กระแสแห่งตัณหา แลกระแสแห่งทิฏฐิแลกระแสแห่งอวิชชา แล
     กระแสแห่งกิเลสอันเหลือลงจากทุจริตอันใด แลมีกิริยาที่จะห้ามเสียได้ซึ่งกระแสแห่งธรรมทั้งปวง
     ก็อาศัยสติอันประกอบด้วยเอกุปปาทาทิประการ เสมอด้วยสมถะแลวิปัสสนาญาณ

     พระตถาคตกล่าวซึ่งสังวร คือ
     กิริยาที่พระโยคาวจรภิกษุจะห้ามเสีย ซึ่งกระแสแห่งธรรมทั้งปวงนั้นด้วยอริยมรรคญาณ
     สังวรดังนี้ ชื่อว่าญาณสังวรเป็นคำรบ ๓
     ใช่แต่เท่านั้น กิริยาอาการที่พระภิกษุจะเสพปัจจัยนั้น ก็ถึงซึ่งประชุมลงในญาณสังวรนี้


     ขันติสังวรเป็นคำรบ ๔ นั้น ก็มาแล้วแต่พระบาลีมีนัยเป็นอาทิว่า
     “โย ปนายํขโม โหติ”
     พระภิกษุในพระศาสนาย่อมจะอดกลั้นซึ่งเย็นร้อน สังวรนี้ชื่อว่าขันติสังวรเป็นคำรบ ๔


     วิริยสังวรเป็นคำรบ ๕ ก็มาแล้วแต่วาระพระบาลีมีนัยเป็นอาทิว่า
     “โยจายํอุปฺปนฺนํ กามวิตกกํ”
     พระภิกษุในพระศาสนานี้ มิได้ยังกามวิตกอันบังเกิดขึ้นในอารมณ์นันๆ ในแรมอยู่ในจิตแห่งตน
     สังวรนี้ชื่อว่า วิริยสังวร เป็นคำรบ ๕


     อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นเล่า ก็ถึงซึ่งประชุมลงในสังวรศีลนี้ สังวรมี ๕ ประการก็ดี วิรัติคือ เจตนาที่จะเว้นจากสัมปัตตวัตถุของกุลบุตรทั้งหลาย ที่มีความขลาดแต่บาปก็ดี ธรรมทั้งปวงก็ดี สังวร ๕ ประการเป็นอาทินี้ บัณฑิตพึงรู้เรียกว่าสังวรศีล

__________________________________________________
คัดจาก หนังสือพระวิสุทธิมรรค เล่ม 1 ศีลนิเทศ พิมพ์โดย แม่พลอย โกกนุท
http://www.larnbuddhism.com/visut/1.5.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.larnbuddhism.com/,http://www.madchima.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2013, 11:41:33 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
    • ดูรายละเอียด


อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
๒. อรรถกถาสีลมยญาณุทเทส ว่าด้วยสีลมยญาณ
                           
      คำว่า สุตฺวาน สํวเร ปญฺญา ความว่า :-
      ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ ปาฏิโมกข์ ๑ สติ ๑ ญาณ ๑ ขันติ ๑ และ วิริยะ ๑ ท่านแสดงว่าสังวร.
      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า เป็นผู้เข้าถึง, เข้าถึงพร้อม, เข้ามา, เข้ามาพร้อม, ถึงแล้ว, ถึงพร้อมแล้ว, ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้.๑-
      ชื่อว่าปาฏิโมกขสังวร.

____________________________
๑- อภิ. วิ. เล่ม ๓๕/ข้อ ๖๐๒

      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ, เธอย่อมปฏิบัติ เพื่อสำรวม จักขุนทรีย์ เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์, ชื่อว่าถึง ความสำรวมในจักขุนทรีย์.๒-
      ชื่อว่าสติสังวร.

____________________________
๒- ที. สี. เล่ม ๙/ข้อ ๑๒๒

      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า กระแสทั้งหลายเหล่าใดในโลก มีอยู่, สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย, กระแสเหล่านั้น อันบัณฑิตย่อมปิดได้ด้วยปัญญา๓- ดังนี้.
      ชื่อว่าญาณสังวร
.

____________________________
๓- ขุ. ส. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๒๕




      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวร๔- ดังนี้.
      ชื่อว่าปัจจยปฏิเสวนาสังวร.
      ปัจจยปฏิเสวนาสังวรแม้นั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณสังวรนั่นแล.

____________________________
๔- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑๔

      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า เป็นผู้อดกลั้นต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดดและสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติแห่งผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว ชั่วร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัวซึ่งบังเกิดขึ้นเป็นทุกข์กล้า แข็ง เผ็ดร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อันจะคร่าชีวิตเสียได้๕- ดังนี้.
      ชื่อว่าขันติสังวร
.
____________________________
๕- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑๕

      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมกระทำให้สิ้นสูญไป ให้ถึงความไม่มี๖- ดังนี้.
      ชื่อว่าวิริยสังวร.

____________________________
๖- ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑๗

      สังวรที่มาแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า พระอริยสาวกในพระศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะ เสียแล้ว สำเร็จชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ ๗- ดังนี้
      ชื่อว่าอาชีวปาริสุทธิสังวร.

____________________________
๗- สํ. มหา เล่ม ๑๙/ข้อ ๓๘




     อาชีวปาริสุทธิสังวรแม้นั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยวิริยสังวรนั่นแล.
     ในสังวร ๗ เหล่านั้น สังวร ๔ คือ ปาฏิโมกขสังวร, อินทรียสังวร, อาชีวปาริสุทธิสังวรและปัจจยปฏิเสวนาสังวร ท่านประสงค์เอาในที่นี้, และในสังวร ๔ เหล่านั้น ปาฏิโมกขสังวร ท่านประสงค์เอาเป็นพิเศษ.
     ก็สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่าสังวร เพราะกั้นทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น ที่จำต้องสังวรตามธรรมดาของตน.


     ปัญญาของกุลบุตรผู้ฟังธรรมตามที่กล่าวแล้วในสุตมยญาณ แล้วสังวรอยู่ ทำการสังวร เป็นไปแล้วในการสังวรนั้น สัมปยุตกับสังวรนั้น ท่านกล่าวแล้วว่า สุตฺวาน สํวเร ปญฺญา.
     อีกอย่างหนึ่ง มีความว่า ปัญญาในการสังวรเพราะมีการฟังเป็นเหตุบ้าง เพราะมีคำว่า เหตุอตฺเถ สุตฺวา ฟังเหตุและผลปรากฏอยู่ด้วย.

     บทว่า สีลํ ในคำนี้ว่า สีลมเย ญาณํ ความว่า ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่าสำรวม.
     ชื่อว่าการสำรวมนี้ อย่างไร? คือ การตั้งมั่น.
     อธิบายว่า ความเป็นกายกรรมเป็นต้นไม่เกลื่อนกล่นด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้สำรวมด้วยดี.
     หรือความเข้าไปตั้งมั่น. อธิบายว่า ความที่แห่งกุศลธรรมทั้งหลายเป็นที่รองรับด้วยสามารถเป็นที่ตั้ง.


     ก็ในศีลนี้ นักปราชญ์ผู้รู้ลักษณศัพท์ รับรู้ตามๆ กันมาซึ่งอรรถะทั้ง ๒ นี้เท่านั้น. แต่อาจารย์พวกอื่นพรรณนาว่า ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าเสพยิ่ง เพราะอรรถว่าเป็นที่รองรับ เพราะอรรถว่าเป็นปกติ เพราะอรรถว่าเป็นศีรษะ เพราะอรรถว่าเย็น เพราะอรรถว่าเกษม.
     ศีลนั้นแม้จะมีประเภทต่างๆ หลายอย่างก็มีการสำรวมเป็นลักษณะ เหมือนรูป๘- มีประเภทต่างๆ เป็นอันมาก ก็มีการเห็นได้ด้วยตาเป็นลักษณะฉะนั้น.

____________________________
๘- หมายเอารูปารมณ์.




     เหมือนอย่างว่า ความที่รูปายตนะแม้มีประเภทต่างๆ เป็นอันมาก โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น ก็มีการเห็นได้ด้วยตาเป็นลักษณะ เพราะไม่ก้าวล่วงความที่แห่งรูปายตนะมีประเภทต่างๆ โดยประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น ก็เป็นรูปายตนะที่เห็นได้ด้วยตาฉันใด

     ความสำรวมแห่งศีลแม้มีประเภทต่างๆ หลายอย่างโดยประเภทแห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น ท่านกล่าวแล้วว่าเป็นที่รองรับกายกรรมเป็นต้นและเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนี้ได้, การสำรวมนั้นนั่นแหละเป็นลักษณะของศีลแม้มีประเภทต่างๆ หลายอย่างโดยประเภทแห่งวิรัติมีเจตนาวิรัติเป็นต้น เพราะไม่ก้าวล่วงความเป็นที่รองรับและเป็นที่ตั้ง.
     ก็การกำจัดความเป็นผู้ทุศีล และคุณคือความไม่มีโทษ ท่านเรียกว่าเป็นรส เพราะอรรถว่าเป็นกิจและสมบัติของศีลนั้นมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมาแล้วอย่างนี้.

      เพราะฉะนั้น ธรรมดาว่าศีลนี้ บัณฑิตพึงทราบว่ามีการกำจัดความเป็นผู้ทุศีลเป็นรส เพราะรสมีอรรถว่ากิจ, มีความไม่มีโทษเป็นรส เพราะรสมีอรรถว่าสมบัติ.
              ศีลนี้นั้น วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า
              มีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโอตตัปปะและหิริเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น.
              ศีลนี้นั้นมีความสะอาดเป็นปัจจุปัฏฐานตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า
              ความสะอาดกาย, ความสะอาดวาจา, ความสะอาดใจ๙-
              ย่อมถึงซึ่งความนับว่าปรากฏโดยความเป็นของสะอาด.

____________________________
๙- ที. ปา. เล่ม ๑๑/ข้อ ๒๒๘

      ส่วนหิริและโอตตัปปะ วิญญูชนทั้งหลายพรรณนาไว้ว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น.
      อธิบายว่า เป็นเหตุใกล้.
      เพราะเมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ ศีลก็ย่อมเกิดขึ้นและตั้งอยู่. เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นและไม่ตั้งอยู่ฉะนั้น ญาณที่สหรคตด้วยศีล สัมปยุตด้วยศีลนั้น โดยวิธีที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า สีลมเย ญาณํ.
           
      อีกอย่างหนึ่ง ศีลนั่นแหละสำเร็จแล้วชื่อว่า สีลมัย. ญาณในสีลมัยนั้นคือ สัมปยุตด้วยสีลมัยนั้น.
         การพิจารณาโทษในการไม่สำรวม ๑,
         การพิจารณาอานิสงส์ในการสำรวม ๑,
         การพิจารณาความบริสุทธิ์ในการสำรวม ๑,
         การพิจารณาความขาวสะอาดจากสังกิเลสในเพราะการสำรวม ๑
      ท่านสงเคราะห์ด้วยสีลมยญาณนั่นแล.


อ้างอิง
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=0&p=2
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=31&A=1&Z=94
ขอบคุณภาพจาก http://www.madchima.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 22, 2013, 12:19:47 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28332
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณภาพจาก http://board.palungjit.com/


สังวร 5 (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล)
    สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล) ได้แก่ สังวร 5 อย่าง คือ
    1. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์)
    2. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น) = อินทรียสังวร
    3. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์
    4. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ)
    5. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ) = อาชีวปาริสุทธิ.

     ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น 2 คือ สังวรวินัย กับ ปหานวินัย และจำแนกสังวรวินัยเป็น 5 มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ 1 เป็น สีลสังวร. (ดู สุตฺต.อ. 1/9; สงฺคณี.อ.)

_______________________________
วิสุทฺธิ. 1/8 ; ปฏิสํ.อ. 16 ; วิภงฺค.อ. 429
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    การเสนอที่มาและความหมายของคำว่า "ญาณสังวร" โดยพิสดาร เพื่อเป็นอาจริยบูชา ถวาย
    "สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี"
    สมด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) พระสังฆราชองค์ที่ ๔ กรุงรัตนโกสินทร์


    คำว่า "ญาณสังวร" มีความหมายโดยสรุป ดังนี้
    สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่

     :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ญาณสังวร
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา