ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลัดเลาะซอกซอย เยือนวัดหงส์ เยี่ยมวัดโมลี 2558 ( ตอนที่ 2 )  (อ่าน 5765 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

การเยือนวันหงษ์ รอบนี้เป็นรอบที่ 2 คราวแรกเยือนช่วงงาน วันวิสาขบูชา แต่ไปคราวนั้นเข้าอุโบสถไม่ได้ เนื่องด้วย อยู่ในระหว่างการ บูรณะปฏิสังขรณ์ (ซ่อมแซม) รอบนี้ได้โอกาส ถวายนมัสการ แดพระประธานอุโบสถ ก็งดงามสมคำร่ำลือ


วัดหงส์รัตนาราม มีประวัติการก่อสร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นวัดชนบท วัดนี้มีเศรษฐีคนจีนชื้อว่า เจ้าขรัวหงส์ เป็นผู้สร้าง

     ในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงบูรณะวัดเจ้าขรัวหงส์เป็นการใหญ่ ทรงสร้างอุโบสถ์หลังใหม่แทนหลังเก่า และทรงเชิญพระพุทธรูปทองคำเป็นประธาน และมีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น "วัดหงส์อาวาสวิหาร"


 จากหลักฐานจดหมายเหตุในรัชกาลที่ ๔ ได้บันทึกไว้ว่า วัดหงส์รัตนารามนี้ พื้นที่วัดเดิมเป็นของโบราณมีมานานสำหรับเมืองธนบุรี คำคนแก่เก่า ๆ เป็นอันมากเรียกว่า วัดเจ้าขรัวหง แลว่ากันว่าจีนเจ๊สัวมั่งมี บ้านอยู่กะดีจีน สร้างขึ้นไว้แต่ในครั้งโน้น จีนที่มั่งมี คนเรียกว่า เจ้าขรัว ในสมัยกรุงธนบุรีศรีมหาสมุทรเรียกชื่อว่า วัดหงษ์อาวาสวิหาร ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช (รัชกาลที่ ๑) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาศวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เรียกชื่อว่า วัดหงส์อาวาสวรวิหาร รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) จนถึงปัจจุบัน เรียกชื่อว่า วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร


ประวัติพระพุทธรูปทองโบราณ วัดหงส์รัตนาราม

      เมื่อวัดหงส์รัตนารามได้เจ้าอาวาสใหม่ในปี ๒๔๙๙ นั้นได้มีการแผ้วถางทำความสะอาดสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในบริเวณวัดอันรวมถึงพระวิหารหลังพระอุโบสถที่ถูกทิ้งร้างรกเรื้ออยู่ด้วย วิหารหลังเดิมทีเดียวเป็นพระอุโบสถมีอยู่มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรีวัดหงส์ฯหรือที่ขณะนั้นเรียกกันว่าวัดเจ้าสัวหงตามนามผู้สร้างกลายเป็นวัดสำคัญ เพราะอยู่ติดกับพระราชวังพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงอุปถัมภ์และทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่ ทั้งพระอารามได้มีการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นแทนหลังเดิมในคราวนั้น



 ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ วัดหงส์ฯได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหญ่อีกครั้งมีการรื้อพระอุโบสถหลังเก่ามาสร้างเป็นพระวิหาร การบูรณะมาเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานพระพุทธรูป ล้านช้างสำคัญองค์หนึ่ง คือ พระแสน(เมืองเชียงแตง)มาประดิษฐานยังพระอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม ส่วนพระวิหารในสมัยต่อๆ มาคงไม่ได้รับการใส่ใจเท่าพระอุโบสถ เมื่อตกมาถึงปี ๒๔๙๙ จึงชำรุดร้างผุพังไป


ภายในพระอุโบสถ มีศิลปะจิตรกรรมฝาผนัง งดงาม เสาที่แต่ละต้น ก็ใหญ่ขนา 2 คนโอบ







บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

หลวงพ่อเงินแสน


หลวงพ่อทองแสน


หลวงพ่อนาคแสน



พระพุทธรูปสัมฤทธิ์นวโลหะ หลวงพ่อแสน

     พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ นวโลหะเรียกกันว่า “หลวงพ่อแสน” เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปรางมารวิชัย เป้นพระเก่าแก่ประจำวัดหงส์รัตนาราม มีหน้าตักประมาณ ๒ ศอกเศษ หรือประมาณ ๒๕ นิ้วครึ่ง เป็นโลหะเนื้อสัมฤทธิ์สีทองต่างกันเป็น ๔ ชนิดดังนี้ เบื้องพระศอตอนบนจนถึงพระเศียรและพระพักตร์สีทองเป็นนวโลหะสัมฤทธิ์แก่ เบื้องพระศอตอนล่างลงมาจนถึงพระองค์ และฐานรองสีทองสัมฤทธิ์เนื้ออ่อนกว่าตอนพระเศียรและพระพักตร์ เนื้อทองจีวรเป็นอีกสีหนึ่งเข้มกว่าเนื้อทองส่วนพระองค์ แต่ไม่เข้มกว่าตอนพระพักตร์และพระเศียร ส่วนผ้าทาบสังฆาฏิก็เป็นเนื้อทองอีกชนิดหนึ่ง แตกต่างจากจีวรและสีพระองค์ พระพักตร์และพระเศียร แต่เป็งสังฆาฏิชนิดยาวทาบลงมาถึงพระนาภีแบบลังกาวงศ์พระเกตุมาลาหรือพระรัศมีเป็นเปลวยาวขึ้นแบบลังกาวงศ์ รอบฝังแก้วผลึก ๑๕ เม็ดนิ้วพระพัตถ์ไม่เสมอกันแบบพระเชียงแสน และสุโขทัยยุคแรก พระเศียรโตเขื่องกว่าส่วนพระองค์จนสังเกตเห็นชัด พระเนตรฝังแก้วผลึกในส่วนสีขาวและฝั่งนิลในส่วนสีดำฐานรองเป็นแบบบัวคว่ำบัวหงายประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถเบื้องหน้าพระองค์พระประธานออกมา จัดเป็นพระพุทธรูปสำคัญและงามเป็นพิเศษแตกต่างจากบรรดาพระพุทธรูปอื่น ๆ มีลักษณะเป็นชนิดหนึ่งหาเหมือนพระพุทธรูปในที่อื่นไม่เป็นพระเก่าโบราณ

     หลวงพ่อแสนองค์นี้เป็นพระที่ขึ้นชื่อลือชาเป็นที่นับถือชาวบ้านวัดถิ่นนี้ทั่วกัน และถือว่าศักดิ์สิทธิ์นัก อำนวยความสำเร็จให้แก่ผู้ปรารถนาได้นานาประการและเป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก จนเป็นนิยามเล่ากันปรัมปราสืบ ๆ มาว่าหลวงพ่อแสนองค์นี้จะลอยน้ำมามีคนอัญเชิญขึ้นหลายแห่ง ถึงกับใช้แรงคนดึงลากขึ้นเป็นจำนวนแสนคนก็ไม่เสด็จขึ้น เมื่อลอยมาถึงวัดหงส์ ฯ นี้ แล้ว เพียงอาราธนาอัญเชิญก็เสด็จขึ้นด้วยกำลัง ๔ – ๕ คนเท่านั้น ดังนั้นหลวงพ่อองค์นี้จึงมีนามว่า “หลวงพ่อแสน” คือคนเป็นแสนแสนดึงไม่ขึ้นนั่นเอง ก็อัศจรรย์อยู่ถึงกับมีเรื่องอัศจรรย์ปรัมปราเป็นนิยายประจำพระพุทธรูปองค์นี้ ทั้งนี้เห็นจะเนื่องด้วยหลวงพ่อแสนองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธาศักดานุภาพเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปนั่นเอง ตามตำนานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงจัดไว้ในประเภทพระพุทธรูปสำคัญทรงพระนิพนธ์ประวัติไว้ในตำนานจองพระองค์ท่านดังนี้ “พระแสน” (เมืองเชียงแตง) พระพุทธรูปองค์นี้ เชิญมาแต่เมืองเชียงแตงเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๐๑ ประดิษฐานไว้ในอุโบสถวัดหงส์รัตนาราม คิดเป็นเวลาขวบปีได้ ๑๐๐ ปี แล้วจนบัดนี้


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2016, 09:22:38 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

ลัดเลาะตามซอกซอยจากวัดหงษ์ ก็ผ่านมาถึง วัดโมลีกยาราม


ก็ไม่ไกลจากวัดหวษ์รตนา มากนัก เดินอึดใจหนึ่ง ก็ถึง


วัดโมลีโลกยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด ราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๒ หลังพระราชวังเดิมครั้งกรุงธนบุรี ริมคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) ฝั่งเหนือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

ตึกนี้บรรจุเตียงน้อย สามเณรที่มาเรียนบาลี อยู่กันอย่างแน่นขนัด


ตึกนี้บรรจุเตียงน้อย สามเณรที่มาเรียนบาลี อยู่กันอย่างแน่นขนัด ดู ๆ ไป เหมือนโรงฝึกทหารเลย หรือ ไม่ก็โรงเรียนกินนอนบางแห่งที่มีสภาพคล้าย ๆ กัน


ตอนไปถึงนั้น ไปนั่งฟัง ท่านพระราชปริยัตโมลี ( เจ้าคุณสุทัศน์ ปธ.9 ) เจ้าอาวาส กำลังสอนบาลีสามเณร อย่างเข้มข้น นั่งฟังอยู่ เสียงดังชัดเจน แปลอย่างห้าวหาญ บอกข้อสำคัญ ไม่เคยได้ฟังสอนแบบนี้มาเลย ในสมัยเรียน นับว่า สามเณรเหล่านี้ โชคดี ที่ท่านอาจารย์ ท่านเอาใจใส่ในการสอน



ไปเยี่ยมชมห้อง สอน ปธ. 5 ในฐานะ เดียวกัน นึกว่าห้องจะหรูหราสมกับ ปธ.5 อ้อหอ้งอย่างนี้เอง แต่ผลิต มหาเปรียญ ปธ.5 มาแล้วมากนัก


เดินไปทักทาย เต้นท์ด้านข้างหน่อย สองรูปนี้เป็นสามเณร ปธ.4 กำลังจะสอบ ปธ.5 ( หรือเข้าใจผิล คือ ได้ ปธ.5 แล้ว กำลังสอบ ปธ.6  ถ้าผิดก็ขออภัย ) นึกๆ ไปก็ไม่ต่างจากเราสมัยก่อน แต่สมัยก่อนเวลาไปสอบไม่มีอบรมแบบปัจจุบันอย่างนี้ สองรูปนี้ องค์หนึ่งมาจากสมุทรสาคร อีกองค์มาจาก ฉะเชิงเทรา


โต๊ะโรงทาน สำหรับฉันอาหาร และน้ำปานะ ขณะที่ไปเยี่ยมนี้ มีพระเณรเข้ามาอบรมแล้ว 300 กว่าชีวิต


ถัดจากโรงทาน ก็เป็นพระอุโบสถ ของวัด ขณะที่เข้าไปกำลังเริ่มทำวัตรเย็น 16.00 น. พระกำลังทะยอยเข้ามาแต่ก็มีบางส่วนยังเรียนอยู่ จำนวนมากหลายห้อง


ส่วนตัว ไม่ค่อยปลื่อมตรงนี้ เพราะว่าเวลาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว ถึงแม้ไม่เป็นการบังคับ แต่พระเณรอยู่กันหลัก 300 ขึ้นนี่ มาทำวัตรเพียง 5 รูป ถือว่าน้อยมาก นี่แหละการเรียนที่ไม่ร่วมกับการภาวนา พระเปรียญพอถึงเวลาภาวนา มักจะหนีหายกันไม่ค่อยเอา

   ส่วนดีนั้นมีอยู่ มีเพียงส่วนนี้ ที่ไม่ค่อยปลื้มใจด้วย







« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2016, 09:50:18 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

 ยืนฟังท่านสวดมานต์ ในฐานะ อาคันตุกะ ที่ด้านหน้าอุโบสถ ผ่านไป 25 นาที ก็ไม่เห็นมีพระมาเพิ่มแสดงว่า ไม่มีเพิ่มอีกแล้ว จำนวนเห็นตามภาพนี้แหละ


เดินออกมาหน้าโบสถ์ และด้านข้าง ก็ได้ยินเสียง เณรกำลังนั่งแปลฝึกแปล อย่างสมัยที่เราเรียน ตรงนี้ก็ปลื้มอยู่ว่า เอาจริงเอาจังในเรื่องการเรียน เป็นส่วน ยกเว้นเรื่องกิจวัตรไม่เอากัน โดยเฉพาะทำวัตร เช้า เย็น สำนักเรียนเท่าที่เห็นส่่วนใหญ่ จะไม่ค่อยมีใครมาทำวัตรเช้า เย็น ทั้ง ๆ ที่จริงน่าจะเป็นเรื่องสำคัญในการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ( เอ้าพูดมากเดี่ยวจะว่าตำหนิเขามากที่นำมาโพสติ์เพื่อจะส่งเสริม ให้มีกองเสบียงไปสนับสนุนให้เพระเณรท่านมีอาหารฉัน มีสัปปายะในการศึกษาที่ดีขึ้นนะ)


เดินไปทางไหน ก็เจอแต่เต้นท์ ที่นอนก็สะดวกดีถ้าฝนไม่ตกก็ไม่เท่าไหร่





อานข้อมูลวัดโมลีกยารามเพิ่มเติมที่นี่
http://www.watmoli.org


 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20256

 ธรรมสัญจร ส่งท้ายปี 2558 และ ต้อนรับปี 2559 ตอนที่ 2 วัดราชสิทธาราม
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20257.0

ลัดเลาะซอกซอย เยือนวัดหงส์ เยี่ยมวัดโมลี 2558
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20279

ไปวัดพรหมวงศาวาส เพื่อเสวนาธรรม กับ บัณฑิต ตามรอยเรื่อง คาถาพญาไก่เถื่อน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20277


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 08, 2016, 10:01:12 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

   ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ