ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์  (อ่าน 16333 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
    • ดูรายละเอียด


พระคาถาอาราธนานั่งธรรม “วาณีสุนทรี” ความสำเร็จสมประสงค์


มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ


พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่งทางธรรมจะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์

โบราณจารย์พระกรรมฐานมัชฌิมา ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อนอาราธนาองค์พระกรรมฐาน เมื่อนำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม (บาปอกุศล ๑๔)




ที่มาแห่งการแพร่พระคาถาในยุคกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อพรรษาที่ ๑๗ คืนหนึ่ง ขณะที่พระอาจารย์สุก (สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน) ทรงเข้าที่เจริญสมณะธรรมตามปรกติ ทรงทราบในนิมิตสมาธิว่า มีพระอริยเถราจารย์ ชั้นสุทธาวาส มาบอกว่า ให้ไปพบท่านที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ท่านจะสำเร็จสมประสงค์สูงสุดทุกอย่าง ตามที่ท่านต้องการ ให้ไปที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย แล้วความประสงค์ ของท่านจะสำเร็จ และจะได้เกื้อกูล ชนทั้งหลายในภายหน้าด้วย

ต่อมาพระองค์ท่านพระอาจารย์สุก ก็สัญจรไป ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย ทรงไปด้วยอิทธวิธญาณเมื่อพระองค์ท่าน ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย กรุงเก่า พระองค์ท่านก็ทรงพบพระอริยเถราจารย์อยู่ในร่างกายทิพย์ ที่สำเร็จด้วย การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา พระองค์ท่านก็ทรงเข้าไปกราบนมัสการ พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ก็กล่าวว่า พรุ่งนี้ให้ท่านเดินทางไป ในทางนั่นพร้อมกับชี้มือไปทางนั้นด้วย จะพบของดี ของวิเศษ แต่คืนนี้ให้ท่านพักปักกลด บำเพ็ญสมณะธรรม ณ ที่ป่าดงพญาเย็น (คนละแห่ง กับที่เมืองอุตรดิตถ์) นี้ก่อน

ภายหลังพระอาจารย์สุก ได้ทรงทราบเถรประวัติ ของพระอริยเถราจารย์พระองค์นี้ว่า ท่านเคยบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าดงพญาเย็น แขวงเมืองสุโขทัยนี้ประชาชนทั้งหลายสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า พระฤาษีกัณทหะ (กัณทา) ต่อมาภายหลัง ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชา-อุปสมบท ได้นามทางพระพุทธศาสนาว่า วิสุทโธ

เพลาสายของวันนั้น พระอาจารย์สุก ออกเดินทางไป ตามที่พระอริยเถราจารย์ ผู้ทรงร่างอยู่ด้วยกายทิพย์ ไปถึงป่าใหญ่แห่งนั้น ใกล้เชิงเขา ทรงทอดพระเนตรเห็น ก้อนหินก้อนหนึ่ง จารึกเป็นอักษรขอม โบราณว่า


มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ



พระอาจารย์สุก ทรงอ่าน และท่องจำไว้แล้ว ทรงพักปักกลด ณ ที่แห่งนั้นหนึ่งคืน ตกเพลากลางคืนทรงบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคย ก็ได้ทรงทราบมงคลนิมิต ของพระคาถานี้ทั้งหมด และได้ทรงทราบอุปเท่ห์ วิธีการ ย่อๆ โดยสมควร จากบาทฐาน ขององค์ฌาน


ต่อมาพระองค์ท่าน ก็ได้ทรงทราบจากสมาธินิมิตอีกว่า พรหมชั้นสุทธาวาส มาบอกพระองค์ท่านว่า ให้ไปที่วัดร้าง กลางเมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ท่านจะพบของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี เมื่อพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว พระองค์ท่านก็ทรงทราบได้ทันทีว่า วัดร้างนั้น คือวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐาน พระศรีศากยะมุนี ที่สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี


เพลาสายของวันต่อมา พระองค์ท่าน ทรงเดินทางมายังเมืองสุโขทัย กรุงเก่า โดยไม่ใช้อิทธวิธญาณ ถึงเมืองสุโขทัย กรุงเก่าแล้ว พระองค์ท่านทรงค้างแรม นั่งเจริญสมาธิอยู่ที่บริเวณ วัดมหาธาตุสถานที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี หนึ่งราตรีเวลานั้น วัดพระมหาธาตุ สุโขทัย กรุงเก่า เป็นวัดร้าง เนื่องจากขณะนั้น ยังมีการรบระหว่างไทย-พม่าอยู่ และพระพุทธรูปใหญ่ พระพุทธศรีศากยะมุนี ก็ยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ ซึ่งปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานแห่งชาติสุโขทัย ครั้งนั้น หลังฉันอาหารเช้าแล้ว พระองค์ท่าน ทรงเดินทางเข้าไปในวัดมหาธาตุ เข้าไปในพระวิหาร ที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธศรีศากยะมุนี พระพุทธรูปสำคัญ ของวัดแห่งนี้


ต่อมาพระองค์ท่านทรงทราบว่า ของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี อยู่ใน พระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ท่านจึงเดินทางไปที่หอไตรประจำวัดมหาธาตุ และทรงค้นพระคัมภีร์ในตู้แรกดู พอพระองค์ท่านทรงเปิดตู้แรก ทรงเห็นพระคัมภีร์แรก ที่หน้าพระคัมภีร์จารึก รูปนางฟ้านั่ง อยู่บนดอกบัวบาน พระองค์ก็ทรงทราบได้ในทันทีว่า พระคาถาวาณี พร้อมรายละเอียดอุปเท่ห์ อยู่ในลานนี้ทั้งหมด


ความนัยะพระคาถา


เมื่อพบแล้ว พระองค์ท่านทรงเปิดพระคัมภีร์ดูก็ทรงพบ พระคาถาอาราธนานั่งธรรม หรือ พระคาถาวาณีจารึกเป็นอักษรขอมโบราณ เป็นตัวทอง อ่านได้ความ เหมือนอย่างที่พบ จารึก ที่ก้อนหิน ในป่าใกล้ๆป่าดงพญาเย็น พร้อมมีคำอาราธนา และคำอธิบายว่า


มุนินฺท วท นมฺพุชะ คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี มยฺหํ ปิณยตํ มนํ


๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติคือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

มนํ ขอจงมาสู่มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธ์สันดานของข้าพระเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมัตถานุโยค ไม่ให้ลำบากแก่สังขาร ฯ

๐ พุทธํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ
๐ ธมฺมํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิฯ
๐ สงฺฆํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ
๐ ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า จงมารับเครื่องสักการะบูชาของข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิดฯ



พร้อมคำอธิบายว่า พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตนเพื่อจะนั่งทางธรรม จะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์ ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อน อาราธนาองค์พระกรรมฐานประกอบกับพระกรรมฐานห้องต่างๆ เวลานั้นพระองค์ท่านติดอยู่ขั้นสุดท้าย ของอันตราปรินิพพายี อย่างประณีต

เมื่อพระองค์ท่าน นำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม


ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เจตสิกมี ๑๔ ตัว คือ
๑. โมโห คือหลง
๒. อหิริกํ มิละอายแก่บาป
๓. อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป
๔. อุทธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
๕. โลโภ โลภ
๖. ทิฏฐิ ถือมั่น
๗. มาโน มีมานะ
๘. โทโส โกรธ
๙. อิสฺสา ริษยา
๑๐. มจฺฉริย ตระหนี่
๑๑. กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ
๑๒. ถีนํ กระด้าง หดหู่
๑๓. มิทธํ หลับง่วง
๑๔. วิจิกิจฉา สงสัย


พระคาถาเพื่อความสำเร็จสมประสงค์

เมื่อกำจัดบาปธรรม ออกไปแล้ว อาจสามารถยังปัญญาให้บรรลุธรรมได้ จะเป็นทางนำสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสได้จากนั้นพระองค์ท่าน ก็ทรงทำการคัดลอกพระคัมภีร์วาณี ที่ไม่มีเจ้า อยู่ในวัดร้าง เมืองสุโขทัยนี้ กลับมาจากรุกข์มูล

พระองค์ท่านทรงนำบทพระคาถาวาณีนี้ว่านำก่อนนั่งพระกรรมฐานทุกครั้ง แล้วจึงเจริญเมตตาเจโต เมตตาออกบัวบานพรหมวิหาร ต่อไป ผ่านไปไม่นานนัก พระองค์ท่าน ทรงสามารถบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ดังได้มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกา ตอนว่าด้วยอรรถกถา แห่งภิกขุนีขันธกะ ว่า

กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระขีณาสพปฏิสัมภิทาญาณ
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๒,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอรหันต์สุกขวิปัสสก
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอนาคามี
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระสกทาคามี
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๕,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระโสดาบัน

กาลที่พระอาจารย์สุก สำเร็จคือกาลแห่ง พระอนาคามี ท่านบรรลุขั้นประณีตครั้งนั้น พร้อมด้วย มรรค ๓ ผล ๓ อภิญญา ๖ เป็นพระอนาคามีบุคคล เต็มขั้น กล่าวว่า เมื่อมรณะภาพ หรือนิพพานแล้ว จะไปบังเกิดในภพ สุทธาวาส คือที่อยู่ของท่านที่บริสุทธิ์ ที่บังเกิดของอนาคามีบุคคล ได้แก่พรหม ๕ ชั้นสูงสุด ของชั้นรูปาวจรคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา จะสำเร็จพระอรหันต์ผลในภพทั้งห้านี้ ไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกถึงแม้ท่าน จะทราบว่าเป็นกาล แห่งอนาคามี พระองค์ท่าน ก็ยังไม่ละความเพียรเพิ่มวิริยะบารมีขึ้นเรื่อยๆไม่ทรงท้อถอย ต้องการที่จะบรรลุขั้นต่อไป

ดังปรากฏในคัมภีร์ ปัญจปสูทนีอรรถกถา แห่งมหาสูญญะตาสูตรมีใน อุปริปัณณาสก์ว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้วก็ดี กุลบุตรทั้งหลายที่ยินดีแล้วในเอกีภาพ คือความเป็นอยู่ผู้เดียว นึกถึงมหาสูญญตาสูตรอยู่ดังนี้แล้ว หลีกออกจากหมู่คณะ ก็จะทำให้สิ้นวัฏฏะทุกข์ได้ดังนี้

พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงมีความเป็นอยู่ผู้เดียว แลทรงบำเพ็ญเพียรภาวนาซึ่ง มหาสูญญตาสูตร เสมอๆ กล่าวว่าสมัยอยุธยา พระคาถาวาณีก็มีเหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลาย เพราะถึงตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ก็เริ่มเสื่อมจากอุบายธรรมนี้ พระอาจารย์สุก ท่านปฏิธรรม ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มาถึงกาลล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน พระคัมภีร์อุบายธรรมต่างๆ จึงถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น และพระคาถาวาณีนี้ จึงตกค้าง อยู่ที่เมืองสุโขทัย กรุงเก่ากาลต่อมาพระคาถาวาณี ได้แพร่หลายในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง มีการให้ความหมายพระคาถาวาณีไว้ดังนี้


นางฟ้าคือ พระไตรปิฏก มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
มีรูปอันงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัวคือ พระโอฐ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าจอมปราชญ์ทั้งหลาย
ปาณีนํ สรณํ วาณี
เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ คือลมหายใจทั้งหลาย
มยฺหํ ปิณยตํ มนํ
จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี



ที่มาเนื้อหา จาก http://www.somdechsuk.org/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 18, 2011, 02:17:02 pm โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อย่างนี้  ต้องสวดบ้างแล้วครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2012, 11:20:15 pm โดย Ngangjang »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
    • ดูรายละเอียด
ขอบคุณมากคะ กำลังตามหาอ่านเรื่องนี้พอดี เลยคะ กระทู้มีมากพิมพ์ค้นก็ไม่พบ

ขอบคุณอีกครั้ง คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

suwannasut

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 10
    • ดูรายละเอียด
สาธุเจ้าคะ
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
คาถานั่งธรรมสุนทรีวาณี
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
คาถานั่งธรรม เรียกธรรม จากพระโอฐ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
พระสุนทรวาณี วัดสุทัศน์ฯ

(ต่อจากด้านบน)

สมเด็จพระวันรัต(แดง) วัดสุทัศน์ฯ กล่าวว่า พระอาจารย์ของท่านทั้งทางคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ {สมเด็จพระวันรัต(แดง) ก็ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กล่าวว่า ท่านศึกษากับ พระญาณสังวร(บุญ) วัดพลับ} สอนให้บริกรรมพระคาถาวาณีนี้ ก่อนเริ่มเรียนพระปริยัติธรรม หรือเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ทั้งยังกล่าวอีกว่า พระมหาเถรแต่กาลก่อน มีสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม เป็นต้น ล้วนนับถือพระคาถานี้โดยทั่วกัน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ถึงเจ้าพระยาหิธราชเลขาธิการว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์(พุก) วัดศาลาปูน กรุงเก่า ซึ่งเป็นศิษย์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ อธิบายว่า
    รูปสุนทรีวาณี หมายถึง พระธรรม
    ดอกบัว หมายถึง พระโอฐของพระพุทธเจ้า
 
    ทรงกล่าวอีกว่า ยังได้พบพระคาถานี้ในห้องพระของหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลาง ติดไว้ข้างขวา ด้านหัวนอน หลวงปู่ทอง ท่านเป็นศิษย์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ


:25: :25: :25: :25:

สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพกล่าวไว้ว่า ตอนที่ข้าพเจ้าชำระ พระคัมภีร์สัททสารัตถชาลินี หรือ คัมภีร์สัททาวิเสส ได้พบพระคาถาวาณีนี้ อยู่ในพระคัมภีร์นี้ด้วย แสดงว่าพระคาถานี้ มีมาก่อนพระคัมภีร์นี้ หรือก่อนนั้น

มีคาถาในทำนองเดียวกับพระคาถาวาณีนี้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินาลังการ เป็นพระคาถานมัสการ ก่อนอ่านพระคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือภาวนาก่อนนั่งเข้าที่ภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นคาถาของพระพุทธโฆษะ ใช้ภาวนาก่อนที่จะอ่านพระไตรปิฎกหรือเขียนพระคัมภีร์พระสุทธิมรรค คาถามีใจความดังนี้
   
     สตฺถุโน สมฺมาสมฺพุทธ นมตฺถุ โลกเชฏฐสฺส ตาทิโน ชิเนนท รมตฺเตภสฺส กุมภจารินี ชิโนรสานํ
     มุขปงฺกชาลินี สรสฺส ตีเมมุขะคพฺภ คพฺ ภินี รมฺมํ ตว ฉายา สุสทฺทตฺถุสูทนี


     มีความหมายตามพระคาถานี้ว่า
     ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการ แด่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ผู้ทรงหักรานเสียแล้วซึ่ง กำกงแห่งสังสารวัฎฎ์ ตรัสรู้พระธรรมด้วยลำพังพระองค์เอง ด้วยอาการมิได้วิปริตและมีกมลมิได้หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์โลกสิ้นทั้งปวง





     อาลินี อันว่า นางแมลงภู่ กล่าวคือ พระไตรปิฎก
     ผู้มีครรถ์ กล่าวคือ พระอรรถรสเป็นอันดี ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ในกระพองแห่งช้างพระยาฉัททันต์
     ซับมันตัวประเสริฐ กล่าวคือ พระโอษฐ์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     เมื่อพระพุทธองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่ แมลงภู่ คือ พระไตรปิฎกนั้น ก็ได้พำนักอาศัยอยู่ในพระโอษฐ์ แห่งพระพุทธเจ้า
     ครั้นเสด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพานแล้ว นางแมลงภู่ คือ พระไตรปิฎกนั้น ก็อาศัยอยู่ในกลีบประทุมชาติ กล่าวคือ พระโอษฐ์ แห่งพระพุทธชิโนรถทั้งหลาย

     บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญนางแมลงภู่ ให้ออกมาอยู่ในห้องที่นอน กล่าวคือ พระโอษฐ์แห่งข้าพระพุทธเจ้า อย่าได้ลำบากในกิจที่จะขวนขวาย หาที่ประสูตรบุตรนั้นเลย จงยินดีปรีดาเสด็จมาประสูตร ในพระโอษฐ์ข้าพระพุทธเจ้า คือว่าให้ ข้าพระพุทธเจ้าจำอรรถรส ในพระไตรปิฎก หรือในปัญญาวิปัสสนาญาณ ทั้งปวงได้ ขึ้นใจขึ้นปากสำเร็จ มโนรถความปรารถนาเถิด


      st12 st12 st12 st12

     พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านสำเร็จมรรคผลอันตราปรินิพพายี อย่างประณีตแล้วพระองค์ท่านก็ยังออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆเสมอเป็นประจำทุกปีมิได้ขาด เพราะพระองค์ท่านได้ ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ถ้าไม่เจ็บป่วย ชราทุพพลภาพ หรือติดภาระกิจทางพระศาสนาแล้ว พระองค์ท่านก็จะออกสัญจรจาริกทุกปี
     กล่าวว่า เมื่อพระองค์ท่านออกสัญจรจาริกไปนั้น ถ้าพบคนดีมีวาสนาบารมีจะได้สำเร็จมรรคผล พระองค์ท่านก็จะนำมาอุปสมบท ที่วัดท่าหอย เป็นประจำ ประเทศเพื่อนบ้าน พระองค์ท่านก็ทรงเคยสัญจรจาริกธุดงค์ไป เช่น ลาว เขมร พม่า

     พระองค์ท่านมีความสามารถที่จะพูดภาษา ลาว เขมรได้ ภาษาพม่าพอได้บ้างพระองค์ท่านอยู่วัดท่าหอย ออกสัญจรจาริกทุกปี มิได้ขาด ไปหนึ่งปีบ้าง สองปีบ้างตลอดระยะเวลา สิบห้าปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ท่านออกสัญจรจาริกทุกปี



ที่มา :-
หนังสือ พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า(สุกไก่เถื่อน) หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๕
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง
http://www.somdechsuk.com

ขอบคุณภาพจาก
http://www.zoonphra.com/
http://www.prapantip.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ