ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START  (อ่าน 27697 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« เมื่อ: กันยายน 03, 2018, 11:22:12 am »
0
สำหรับวันนี้ก็เป็นวันเข้าพรรษา ซึ่งคนส่วนใหญ่ ที่เป็นชาวพุทธก็จะอาศัยช่วงนี้ ทำดีมากขึ้น บางคนก็ตั้งใจ อดเหล่า อดบุหรี่ อดเที่ยวกลางคืน อดดูการละเล่น เป็นต้นเอาจริงเอาจังในสัจจะวาจาอธิษฐาน ในช่วงนี้ถึงแม้ว่าระยะเวลา จะทำแค่ 3 เดือน แต่ก็ขออนุโมทนา ในจิตกุศล อย่างน้อยก็ได้ทำการลดละ เลิกบ้าง ดีกว่า จมอยู่กับ อกุศลตลอดเวลา

ส่วนสำหรับผู้ที่ตั้งมั่นในคุณธรรม ทาน ศีล ภาวนา เสมอ ๆ แล้ว ก็ควรใช้ช่วงเวลานี้ทบทวน วิชากรรมฐาน ทบทวนหลักธรรมที่ได้เรียนไปแล้ว ส่วนใหญ่ เท่าที่สอบมาคือ อ่านข้อความธรรมแค่รอบเดียว หรือ ไม่อ่านเลย ดังนั้นในช่วงนี้ ก็ขอให้ทุกท่านที่ยังไม่ได้อ่าน หรือ อ่านน้อย ให้ใช้เวลาช่วงนี้ อ่านซ้ำอ่านให้มากขึ้น หลาย ๆ รอบ ไม่เข้าใจรอบแรก ก็อ่านรอบสอง อ่านรอบสาม รอบสี่ รอบห้า รอบหก มันต้องมีจุดหนึ่ง ที่ถึงการบรรลุ เพราะบารมีที่สั่งสมนั้น พร้อม สิ่งที่บดบังดวงตาแห่งใจ จึงไม่บังตาต่อไป ก็ขอให้อย่าย่อท้อ พระพุทธเจ้า ภาวนาใช้เวลา 6 พรรษา ( ปี ) พอจ ใช้เวลา 16 ปี ( ที่จริงจัง ) พวกเราทำน้อย เหยาะแหยะ อย่างนี้เอาสัก ก่อน เกษียณก็ยังดี อย่าให้มันเกิน อายุ 60 ปี จะดีกว่า เพราะว่ายิ่งแก่ ยิ่งลำบากใน การภาวนา จะเดิน จะนั่ง มันจะโอดโอย มากกว่า จะทำ สายตาฝ้าฟาง อ่านหนังสือก็ไม่ได้ หูก็ทึบไม่ค่อยได้ยิน ดังนั้้น ต้องสั่งสมตอนนี้เวลานี้ ให้เพียงพอต่อการต่อสู้กับกิเลส ให้ทัน

สำหรับวันนี้ว่าจะออกอากาศสด แต่ มีปัญหา ขัดข้อง ตัวโปรแกรม ที่ใช้บันทึก หมดอายุ อีก .... เดี๋ยวว่ากันใหม่ ในเรื่องบูรณาการ โปรแกรมที่ไม่ทำงาน มันยุ่งยากดีจัง สงสัย คงต้องเปลี่ยนวิธีการ ใหม่

เจริญธรรม / เจริญพร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2018, 01:20:57 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 1
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 03, 2018, 11:24:38 am »
0


การทบทวน ศีล และรักษา ศีล มีความสำคัญในการภาวนา เป็นอย่างยิ่ง เพราะถ้าศีลไม่ดี บกพร่อง การทำสมาธิ ก็ทำไม่ได้ ที่ทำไม่ได้ เพราะว่า กาย วาจา ไม่สงบ นั่นเอง

ถ้ากาย วาจา ไม่มีความสงบ ใจ ก็สงบไม่ได้

คนไหนไม่สงบ กาย วาจา
ไม่เลิกเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น อยู่

โอกาสที่ใจ สงบ นั้นจะมีเป็นไปไม่ได้

ดังนั้นศีล เป็นบาทฐาน สำคัญ ต่อสมาธิ ก็ตรงนี้

เลิกทำร้าย ผู้อื่น เลิกเบียดเบียนผู้อื่น
เลิกทำร้าย ตัวเอง เลิกเบียดเบียนตนเอง

ถ้าเลิกได้ ใจ ก็จะสงบ นี่เป็นอำนาจ ของ ศีล ที่มีต่อ สมาธิ

ถ้าจิตใจสงบ การมองเห็นตามความเป็นจริง ก็มีความเป็นไปได้ ปัญญา ที่มองเห็นจริงตามจริง ก็จะมีได้

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 2
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 03, 2018, 11:25:35 am »
0


สีลานุสสติ เป็นหนึ่งในกองกรรมฐาน 40 อยู่ในประเภท อนุสสติ

คนมีศีล จัดได้ว่า ไม่ได้เป็นคนธรรมดา เพราะคนมีศีล จัดได้ว่าเป็นมนุษย์ เต็ม และดำรงอยู่ด้วยคุณธรรม ของเทวดา

เทวดา มีคุณธรรม 2 อย่าง
คือ 1. หิริ ความละอายใจต่อการทำบาปอกุศล
2. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อการทำบาปอกุศล

ดังนั้น คนที่มีศีล ก็ต้องมีคุณธรรม 2 อย่างนี้ ด้วย
แต่ คนมีศีล มีมากกว่า เพราะคนมี ศีล ชื่อว่า มีธรรมอุปการะ

ธรรมอุปการะ ในการบรรลุธรรม มี 2 อย่าง
คือ 1.สติ ความระลึกได้
2. สัมปชัญญะ ความรู้สึกตัว

คนมีศีลจึงเป็นคนที่ มีกาย วาจา สงบ เพราะกาย วาจา สงบ จึงสามารถ มีสมาธิ จิตสงบ ได้ไว

คนไหนที่ต้องการฝึกสมาธิ ก็ควรจะต้องมีศีล รักษ์ศีล ดำรงศีล ไปกับตนด้วย

ศีลของผู้ภาวนา บางครั้งไม่ใช่หัวข้อ แต่มันเป็น อุปนิสัย ใครมีศีล รักษ์ศีล ได้ถึงขั้นอุปนิสัย อันนี้ขอยกย่อง เพราะท่านจะไม่มีทางตกต่ำไปในอบายภูมิ 4 เลย

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 3
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 03, 2018, 11:26:27 am »
0


บุคคลที่หวังในการภาวนา จริง ๆ แล้วไม่ไช่การเริ่มจากปัญญา เพราะปัญญาเป็นสิ่งสุดท้าย ที่จะได้ในการบรรลุ แต่ศีล มาพร้อมกับความรู้ เดี๋ยวนี้ ใช้คำว่า วิชา ไปเป็น ปัญญา กันมาก

บางท่านก็กล่าว สติ ตัวระลึก สัมปชัญญะ ตัวรู้ ก็เป็นปัญญา อย่างนี้ทำให้ความหมายของปัญญา หลากหลายเกินไป ไม่ตรงในสิ่งที่พระพุทธเจ้า บัญญัติ

สัมมาทิฏฐิ ไปตีความว่าเป็น ปัญญา ก็ยังไม่ใช่

สัมมาทิฏฐิ แปลว่าความเห็น แล้วเป็นการเห็นตาม เห็นตามใคร เห็นตามในสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอน นั่นคือ เห็น อริยสัจ 4 ตามที่พระพุทธเจ้า ตรัสสอนไว้ การเห็นตาม นี่เรียกว่ารู้ตาม การรู้ตามไม่ชื่อว่า ปัญญา

แล้วปัญญา มีอยู่ตรงไหน ?
ปัญญา มีอยู่ใน นิโรธ แต่ เริ่มต้นจากมรรค

เพราะมรรค ต้องไปสู่ การปฏิบัติ ท้ายที่สุด ปัญญาที่แท้จริง ก็คือ การละกิเลสอย่างสิ้นเชิง

ดังนั้น อะไรที่สนับสนุน สมาธิ และปัญญา
ศีล ไงละ เป็นที่สนับสนุน สมาธิ และปัญญา

ดังนั้นผู้ภาวนา จึงต้อง รักษาศีล มีศีล จนไปสู่ศีล อริยะ
ศีลอริยะ มีเป็นนิสัย ( สมาทานตลอดชีวิต )

สีลวิสุทธิ ย่อมทำให้จิตวิสุทธิ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กันยายน 03, 2018, 11:27:13 am »
0


การใช้ สีลานุสสติ มีวิธีการเช่นเดียวกันกับ พุทธานุสสติ แต่การระลึกถึงศีลที่มีผลก็ต้องอาศัยระยะเวลาของศีลด้วย ศีลที่มีกำลังเหมาะแก่การ ทำอนุสสติ ก็สัก เจ็ดวัน โดยประมาณ ผู้รักษามีศีล 7 วัน ชือ่ว่า มีสีลที่งาม ไม่ถึงขั้นวิสุทธิ แต่ว่า ก็เพียงพอต่อการใช้เป็น อนุสสติ แต่ยิ่งที่เป็นอุปนิสัยเลย คือ รักษาได้ทุกวัน เดือน ปี รักษาได้ตลอดชีวิต อันนี้จัดได้เป็นนิสัย ชื่อว่า สีลวิสุทธิ ดังนั้น ความวิสุทธิ ของศีล ต้องดูตรงระยะเวลาที่มีผลต่อจิต ซึ่งอาจจะ 1 วันแว่บเดียวก็ได้ ( ถ้าบารมีมากพอ ) ก็มีผลต่อการได้ สมาธินิมิต เพราะอนุสสติ มีเพื่อได้ สมาธินิมิต

ได้สมาธินิมิต ก็เพื่อกระทำวิปัสสนา

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กันยายน 03, 2018, 03:38:36 pm »
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

sinsae

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 277
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 04, 2018, 09:45:49 am »
0
 st12 st12 st12 ติดตามครับ
บันทึกการเข้า

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 06, 2018, 01:09:18 pm »
0
 thk56 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 11, 2018, 09:41:28 am »
0
อนุโมทนา สาธุ
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 5
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:33:01 pm »
0


ในบรรดา อนุสสติ 6 อย่าง มี พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ

ข้อความการปฏิบัติ เหมือนกันทุกอย่าง ด้วยวิธีการปฏิบัติ อนุสสติ ที่มีอานุภาพมากที่สุด คือ พุทธานุสสติ และที่มีน้อยสุด คือ เทวตานุสสติ

เหตุที่มีอานุภาพมาก เพราะไปสู่ สัมโพธายะ นิพพานายะ
ส่วนที่มีอานุภาพน้อย นั้นเป็น เพราะไปสู่แค่ โภคะสมบัติ เท่านั้น

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 6
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:33:40 pm »
0


การทำ สัมปยุตธรรม เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะเป็นการน้อมจิต ที่ประกอบด้วย ศรัทธา ปราโมทย์ และการเห็นธรรม ลง ยัง พุทธคุณ

พุทธคุณ จะสวด จะสาธยาย จะนึกถึง หรือ ทำเป็นอนุสสติ ก็มีผลต่างกันไป สูงสุด คือ ทำให้ สมาธินิมิต เพื่อไปสู่ วิปัสสนา

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2018, 09:22:32 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 7
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:34:24 pm »
0


เมื่อทำสัมปยุต พร้อม ระลึกถึง พุทธคุณ ก็ถึงขั้นตอน การเจริญอนุสสติ ตามแบบแผน ของกรรมฐาน

มี พุทโธ เป็นวิตก มีลำดับกรรมฐาน เป็น วิจาร

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 8
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:35:08 pm »
0


สิ่งที่ควรต้องศึกษา คู่ไปกับ การภาวนา ก็คือ การกำหนดธรรม

การกำหนดธรรม ก็คือ การรู้สภาวะ นี่ คือ ปีติ นี่คือ ยุคลธรรม นี่คือ สุข นี่คือ สมาธิ นี่คือ วิปัสสนา

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 9
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:35:53 pm »
0


พระพุทธเจ้า พระองค์นี้ ตรัสรู้ธรรม อริยสัจจะ 4 และ บัญญัติ อริยมรรคมีองค์ 8 เป็นวิธีการไปสู่ การพ้นจากสังสารวัฏ

อริยสัจ 4 มี ดังนี้

๑.ทุกข์อริยสัจจะ เห็นความจริงในทุกข์ ว่าทุกข์เป็นอย่างนี้
๒.ทุกขสมุทัยอริยสัจจะ เห็นเหตุแห่งความทุกข์ คือ ตัณหา
๓.ทุกขนิโรธคามินีอริยสัจจะ เห็นความสงบจากทุกข์เพราะความสิ้นไปแห่งตัณหา
๔ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจจะ เห็นหนทางที่ไปสู่พระนิพพาน

ดังนั้น เรื่องอริยสัจจะ ๔ ผู้ภาวนาหนี ทำความเข้าใจไม่ได้ ต้องทำความเข้าใจ เพราะถ้าไม่เข้าใจ ก็สิ้นกิเลสได้ยาก เพราะเหมือนไม่รู้ว่า ทำไปเพื่ออะไร สำหรับบุคคล ผู้เป็น เวไนยยะ ควรจะต้องศึกษา ทำความเข้าใจบ้าง

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2018, 12:39:25 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 10
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:36:26 pm »
0


การตั้งความปรารถนา ในผลแห่งทาน และ บุญ ในภาวนา ควรกระทำให้เป็นกิจลักษณะ สิ่งที่ควรปรารถนา แล้ว ทำให้เราไม่ต้องทุกข์มาก ก็มีอยู่ประมาณนี้

1. ตั้งความปรารถนา ให้ได้เกิดมนุษย์ มีอาการครบ 32
( ไม่บกพร่อง ไม่พิกล พิการ มีรูปร่าง หน้าตา สมส่วน สมตระกูล ไม่ขี้เหร่ เป็นต้น รวมแล้ว อยู่ อาการ 32 )

2. ขอให้ ปราศจากโรคภัย เบียดเบียน หรือ ไม่มีโรค
( เป็นเรื่องที่ยาก ของสิ่งมีชีวิต ที่จะไม่มีโรค )

3. ขอให้ไม่เป็นหนี้
( การไม่เป็นหนี้ แสดงว่า ต้องมีทรัพย์ มีฐานะ ถ้าไม่มีทรัพย์ ไม่ฐานะ ก็ต้องมีผู้อุปถัมภ์ ค้ำชู)

4.ขอให้มีโอกาสได้ฟัง พระสัทธรรม
( พระธรรมชื่อว่า อริยสัจ 4 มรรค มีองค์ 8 เป็นต้น )

5.ขอให้มีโอกาส ในการภาวนา ตาม พระสัทธรรมที่ได้ฟังแล้ว
( โอกาสเช่นนี้ ในชีวิตคนปกติ มิใช่มิได้ง่าย หลายคนมักจะอ้างว่า ไม่มีเวลาภาวนา เป็นต้น )

5 ประการนี้ควรตั้งความปรารถนา มากกว่าการไปเกิดในยุคพระศรีอริยะเมตตรัย เพราะว่า มีโอกาสในการบรรลุธรรมมากกว่า

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2018, 12:39:09 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 11
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:37:41 pm »
0


ลำดับการภาวนา ที่เหมาะสม กับทุกบุคคล ทุกจริต ถ้าเดินตามนี้ไม่มีผิด และไม่มีหลงทางในการภาวนา ไม่ว่า จะมีสำนัก ไหน ๆ หรือ นักพูดที่พูดเก่งอย่างไร ก็ไม่สามารถทำให้หลงทางได้ ถ้าศึกษาภาวนาตามอย่างนี้

1. ศึกษา อริยสัจ 4 ให้เข้าใจ
คงเลี่ยงไม่ได้เลยข้อนี้ ถ้าจะได้นิพพิทาญาณ ต้องมาจากตรงนี้ และสำคัญมาก เพราะพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ ตรัสรู้ อริยสัจ 4 ซึ่งเป็น ธรรมตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า พระองค์นี้ ดังนั้นการจะเคารพพระพุทธเจ้า ก็ต้องฟังสิ่งที่พระองค์ตรัสสอน แต่ถ้าจะฟังทั้งหมด อ่านทั้งหมด ก็เห็นว่าไม่จำเป็น ดังนั้น ต้องฟังแก่น ต้องศึกษาแก่น เลย และเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้า ประกาศเป็นครั้งแรก นั้น ก็คือ อริยสัจ 4

2. ดำเนินชีวิตตาม อริยมรรค มีองค์ 8
เมื่อเข้าใจอริยสัจ 4 แล้ว สิ่งสำคัญคือการดำรงชีวิต ให้อยู่ได้ในสังคม ไม่ว่า จะเป็น พุทธบริษัทไหน ก็ต้อง มีกฏระเบียบ การดำรงอยู่ในสังคม เพราะ มนุษย์ ต้องอยู่อาศัยซึ่งกันและกัน พระ ก็ต้องอาศัยชาวบ้าน ชาวบ้านก็ต้องอาศัยพระ อย่างนี้ ดังนั้น เมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสแสดงอริยสัจ 4 แล้ว พระองค์ก็สอนวิธีการ ที่จะไปสู่การบรรลุตามพระองค์ ไว้ เรียกว่า หนทางไปสู่การเป็นอริยะ มีองค์ 8 ประการ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกต้อง จนถึง สัมมาสมาธิ มีสมาธิถูกต้อง เป็นที่สุด

3. เจริญพุทธานุสสติ
เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า ที่เป็นกายเนื้อนั้น เราไม่สามารถพบได้แล้ว สิ่งที่เราจะต้องกระทำไประหว่างการดำรงชีวิต ต้องรับพระพุทธเจ้า ที่เป็นกายหยาบ กายละเอียด กายทิพย์ และกายอริยะ เข้ามาสู่ที่ตัวเรา เพื่อจะได้ส่งเสริมกำลัง ศรัทธา และ สมาธินิมิต เพื่อการเป็น อนุพุทธะ รู้ตามพระพุทธเจ้า เป็นพุทธสาวก

4.การเจริญสติปัฏฐาน 4
มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตอย่างมาก เพราะเป็นการฝึกวิปัสสนา ตั้งแต่หยาบ กลาง ไปจนถึงขั้นประณีต ดังนั้น การฝึกสติปัฏฐาน 4 ก็ต้องศึกษา และใช้ในดำรงชีวิตด้วย

5.การเจริญอานาปานสติ
เป็นการผนวก พุทธานุสสติ และ สติปัฏฐาน 4 รวมกันเป็นขั้นสุดท้าย พุทธานุสสติ จะมีปรากฏชัดใน ขั้้นที่ 1 - 12 ส่วนสติปัฏฐาน 4 จะมีปรากฏชัดไป ตามลำดับ ตั้งแต่ กายานุปัสสนา ขั้นที่ 1 - 4 เวทนานุปัสสนาขั้นที่ 5 - 8 จิตตานุปัสสนา ขั้นที่ 9 - 12 และ ธรรมานุปัสสนา ขั้นที่ 13 - 16 ดังนี้

ผู้ใดศึกษาภาวนา ในข้อแนะนำอย่างนี้ ไมจำเป็นต้องอ่านพระไตรปิฏกทั้งหมด ไม่จำเป็นต้องเป็นศิษย์กันหลายสำนัก และไม่มีทางหลงทาง ไม่มีวิชาอะไรใหม่เพิ่มเติมเข้ามา เพราะว่า นี่เป็นสิ่งที่ พุทธสาวก ต้องดำเนินตาม

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 12
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 12:38:28 pm »
0


ทำไมต้องสอนพุทธานุสสติกรรมฐาน เพราะคำสั่งของพระพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า ให้อนุเคราะห์แก่ชน ที่เป็นญาติ คนสนิท คนที่สมควร แก่การภาวนา ด้วยการเจริญพุทธานุสสติ เพื่อให้สำเร็จเป็น พระโสดาบันเป็นลำดับแรก ก่อน
เพื่อความสิ้นสังโยชน์ 3

ดังนั้นเมื่อจะอนุเคราะห์แก่คนที่รัก ที่เอ็นดู ผู้มีคุณ ผู้รู้จัก ดั่งญาติสายโลหิต ธรรมที่จะสอนก่อนเป็นลำดับแรก คือ พุทธานุสสติ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: กันยายน 26, 2018, 04:03:27 pm »
0
 :25: st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 13
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:00:02 pm »
0


เหตุแห่งกุศล เรียกว่า ความเพียร
ความเพียรสี่ประการ จะมีอยู่ได้ ต้องรักษาศรัทธา เอาไว้ให้ได้ ใครทำอะไรโดยไม่มีความศรัทธา ขาดเชื่อมั่นในสิ่งที่ทำ เขาย่อมไม่ได้รับผล ของการกระทำนั้นเต็มที่ เพราะอกุศลย่อมเบียดเบียนจิตของเขาให้ ไม่สร้างกุศล

ดังนั้น การรักษากุศลให้มีอยู่ได้ ต้องรักษาศรัทธา ความเชื่อนี้ไว้ให้ได้ นั่นเอง
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 14
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:01:07 pm »
0


ในปฏิจจสมุปบาท สายออกจาก สังสารวัฏ พระพุทธเจ้า ได้ตรัสลำดับทั้ง 12 ประการไว้ เริ่มต้นด้วย ศรัทธา ไปสู่ ปราโมทย์ ปราโมทย์ ( ฉันทะสมาธิ ) ไปสู่ ปีติ ปีติ ไปสู่ ปัสสัทธิ ปัสสัทธิไปสู่ สุข สุข ไปสู่ สมาธิ สมาธิ ไปสู่ ยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะ ไปสู่ นิพพิทา นิพพิทา ไปสู่ วิราคะ วิราคะ ไปสู่ วิมุตติ วิมุตติ ไปสู่ สันติ สันติ ไปสู่ นิพพาน

ลำดับ ทั้งหมด เป็นลำดับคุณธรรม เป็น ปรมัตถ์สภาวะ และ เป็นฝ่ายโลกุตตระ เป็นไปเพื่อ พระนิพพาน
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 15
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:01:57 pm »
0



สภาวะการรู้ธรรม แตกต่างกันที่บารมี ที่สั่งสมมากันแต่ละบุคคล บางครั้งคนก็ทำช้า ๆ แต่ก็สำเร็จไว บ้างก็ทำ

เร็ว ๆ ก็สำเร็จไว บางทำทั้งเร็ว และ ช้า ก็สำเร็จช้า

ทั้งหมดนี้ บางครั้งไม่ได้ เป็นที่วิธีการเลย เพราะวิธีการมีอันเดียว ก็คือ การเจริญมรรคมีองค์ 8 แต่ ที่มันช้าก็เพราะว่า บารมีที่สร้างมานั้น อ่อน แก่ ปานกลาง แตกต่างกันไป จึงทำให้ แตกต่างกัน ซึ่งพอมาผสม กับจริต แต่ละบุคคลจึงทำให้ การรู้แจ้ง แตกต่างกันไปอีก พอไปผสมกับวิธีการ ที่หลากหลาย ก็ยิ่งช้านานเข้าไปอีก

ดังนั้น จะต้องรู้การดำเนินมรรค ที่ถูกต้องและสมควรไปด้วย จึงจะทำให้ไม่เนิ่นช้า

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 16
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:02:40 pm »
0


ถ้า ถามว่า ทำไมต้องทำ สมาธิ ก็ต้องตอบไปว่า เพื่อประโยชน์ แก่การทำ วิปัสสนา การทำวิปัสสนา ต้องอาศัย สมาธินิมิต สำหรับ เจโตบุคคล ส่วน การอาศัย สภาวะอารมณ์ ประคองด้วยสติ เป็นคุณสมบัติ ของ ปัญญาบุคคล

ดังนั้นการที่ต้อง ทำสมาธินิมิต จึงมีความจำเป็น ในการวิปัสสนา

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 17
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:03:31 pm »
0


การเจริญภาวนา ไปสู่มรรค ผล นิพพาน อันพระพุทธเจ้ารับรองแล้ว ว่า ผู้ฝึกภาวนา สามารถฝึกภาวนาได้ระยะสั้น คือ 7 วัน อย่างนานที่สุด คือ 7 ปี ผลที่จะได้คือ อนาคามี ขั้นต่ำ และ สูงสุดคือ พระอรหันต์

นั่นก็คือ การเจริญ สติปัฏฐาน 4 อันรุ่งเรือง ด้วย มรรค ผล นิพพาน

ผู้ใดปรารถนา มรรค ผล นิพพาน ง่าย ๆ ก็ กายานุปัสสนา
ยกเฉพาะ หมวดที่ หนึ่งมาให้ท่านทั้งหลาย ได้ใคร่ครวญ

อานาปานบรรพ
[๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า.

เธอมีสติ หายใจออก มีสติ หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว
ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น.

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่าเราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า.

นายช่างกลึง หรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว. เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด.

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจออกยาว. เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว.

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น. เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น.

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก. ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง
หายใจเข้า.

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า.

ดังพรรณนามาฉะนี้

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว
และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 18
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:04:12 pm »
0


การรู้เป้าหมายในการดำเนินตามหลักวิชา กรรมฐาน ก็ต้องรู้วัตถุประสงค์ ในการฝึกด้วย จะได้ไม่เข้าใจผิด ว่าทำอย่างนี้ ทำไมไม่ได้ มรรค ผล นิพพาน เสียที

แต่ในหลักวิชานั้น มีการสอดแทรก ภูมิธรรมทั้งสี่ด้วย ไม่ใช่แต่ว่า มีวัตถุประสงค์เช่นนั้นอย่างเดียว อันนี้เผื่อผู้มีวาสนา บารมีสั่งสมมาดีแล้ว ก็จะได้ไม่เนิ่นช้า

ดังนั้น ในตัวอุปัตตา ปริยัตตา ก็มี วิปัสสนา
ในตัว มัชฌิมา ปฏิปปัตตา ก็มีวิปัสสนา
ในตัว อัปปนา ปฏิเวธา ก็มีวิปัสสนา
ในตัว ปฏิจจสมุปบาท ก็มีธรรมชื่อว่า สมถะ อยู่เช่นกัน

ดังนั้นในหลักวิชา ทั้ง 4 นี้ แม้ฝึกอุปัตตา ปริยัตตา ถ้าเจริญวิปัสสนา ตามที่สอนไว้ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ก็มีเช่นกัน
แม้ในหัวข้อลำดับอื่น ๆ ก็เป็นเช่นนั้น

เพราะหลักวิชา ในพุทธศาสนา ในตัว สายกัจจายนะ มุ่งเน้นธรรมานุเคราะห์ ไปตามหลัก โพธิปักขิยธรรม 37 แต่เป็นแบบ อภิญญา ชื่อจริง ๆ ตามหลักวิชา คือ อภิญญาเทสิตธรรม หรือ โพธิปักขิยธรรม 37 นั่นเอง

สติปัฏฐาน มุ่งเน้น การใช้ สติ สอง บรรพ
คือ อานาปานบรรพ และ ธาตุบรรพ
ทั้งสองบรรพ นี้ อนุเคราะห์เกื้อกูลตั้งแต่ อุปัตตา ถึง มัชฌิมา ปฏิปัตตา

ส่วน มัชฌิมาปฏิปัตตา มุ่งเน้นไปที่ เวทนานุปัสสนา

ส่วน อัปปนา ปฏิเวธา มุ่งเน้นไปที่ จิตตานุปัสสนา

ส่วน ปฏิจจสมุปบาท มุ่งเน้น อานาปานสติ ทุกบรรพ

ดังนั้นผู้ฝึกภาวนา ระดับใดก็ควรรู้ถึง ผลที่จะได้ ในระดับนั้น
ถ้าฝึก อุปัตตา จะได้ มรรค ผล นิพพาน ตรง ๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่จะได้อ้อม ๆ ฉับพลัน ด้วยบารมีที่สั่งสมมานั้น พอเป็นไปได้

แม้ระดับอื่น ๆ ก็เช่นกัน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 19
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:04:58 pm »
0
สติปัฏฐาน มีการสอน ที่สติ เป็นหลัก เพื่อ พัฒนา ไปสู่สัมปชัญญะ โดยตรง เพราะ สติ และ สัมปชัญญะ เป็นพื้นฐานส่งให้สมาธิ มีผล การใช้ สติปัฏฐาน กล่าวได้ว่า ได้สมาธิ ที่เกิดจากสัมปชัญญะ ถึง อุปจาระสมาธิ เช่นกัน ดังนั้น

การปฏิบัติ ตามสติปัฏฐาน จึงมีกำลังเพียงพอในการเจริญวิปัสสนา



ในสายกรรมฐาน มุ่งหมายแค่ สองบรรพ ในการสนับสนุน สมาธิซึ่งมีการสอนสอดแทรกไว้ในกรรมฐาน มัชฌิมา ปฏิปัตตา หรือ มัชฌิมา แบบลำดับ อยู่แล้ว ตั้งแต่ ห้อง พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม พระสุขสมาธิ พระอุปจาระสมาธิ

ดังนั้น การฝึกเรียนรู้ อานาปานบรรพ จึงควร และ การฝึกเรียนรู้ ธาตุบรรพ จึงควร

ขอให้ท่านที่เป็นศิษย์ จงมุ่งมั่นฝึกปรือ การเดินจิต โคจรจิต ให้เป็นสมาธินิมิต เพื่อประโยชน์ วิปัสสนา ยิ่งขึ้น เถิด

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา ที่ 20
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:06:02 pm »
0


อริยมรรค มี องค์ 8 ย่อย่ออย่าง พื้น ฐาน ก็เหลือ เพียงสามส่วน คือการควบคุม บริหาร จิต การควบคุม บริหาร วาจา การควบคุม บริหาร การกระทำ ให้เริ่มต้นจาก ละชั่ว ทำดี และ ทำจิตให้บริสุทธิ์ ไปตามลำดับ

คิดดี หมายถึง การคิดในการสร้างกุศล เช่น ส่งเสริมจิต ละความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ และ ตั้งจิตไว้ว่า จะละความโกรธ เมือ่ความโกรธ หายไป หรือไม่มีเกิด ขึ้น ก็ตั้งจิต รักษาความสงบ ที่ไม่โกรธ นี้ไว้ เป็นต้น

พูดดี หมายถึง การพูดจา ปราศรัย ที่ถูกต้อง ประกอบด้วย ธรรม ในขั้นพื้นฐาน ก็พูดแบบคนสมาทาน ศีล เชน ไม่มุสา เพ้อเจ้อ ส่อเสียด คำหยาบ อย่างนี้ เป็น

เพราะวาจา ที่พูด มาจากใจ คิด อย่างไร พูดอย่างนั้น
ถ้าคิดไม่ดี พูดจาแน่นอน มันก็ต้อง เพ้อเจ้อ หยาบคาย ส่อเสียด หลอกลวง คนที่คิดไม่ดี นี่คือ นิสัยไม่ดี มันก็จะพูดอย่างนี้ คนคิดดี ต้องพัฒนาตนให้ พูดอยู่ กับ ร่องรอย แห่ง คุณธรรม ประกอบ ด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และ อุเบกขา

ทำดี หมายถึง หมายถึง การไม่ไปเบียดเบียน ผู้อื่น ทำแต่สุจริต ทั้งอาชีพ การงาน การกระทำ รวม ถึง ความขยัน มีสติ ความแน่วแน่ ในการทำความดี
ทำดี ในพุทธศาสนา จึงหมายถึง การทำกายสุจริต ไปสู่ ความสันโดษ พอเพียง รู้จักพอ

นี่เป็นอริยะมรรค ขั้นพื้นฐาน มิได้เป็นขั้นสูงแต่ประการใด แต่เป็นขั้นพื้นฐาน ของ พุทธบริษัท 4 จะต้องดำเนิน ตาม พระพุทธเจ้า อย่างน้อย ก็แบบนี้

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา START
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ตุลาคม 05, 2018, 01:07:54 pm »
0
 :25: st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 21
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:11:06 pm »
0


การคิดดี เป็นจุดเริ่มต้น ของการภาวนาที่ดี สำหรับพื้นฐาน ก็ควรคิดในการสร้างกุศล และ คิดในการนำอกุศล ออกจากจิต

สำหรับขั้นกลาง เป็นการรักษากุศล ไม่ให้กุศล เข้ามาเบียดเบียนจิตใจ ( สร้างกุศล เพื่อส่งเสริมปีติ โดยไม่ได้ยึดถือว่า กุศล เป็นของเรา แต่ทำเพื่อสละละกิเลส )

สำหรับขั้นสูง ก็คือ การเข้าไปเรียนรู้ตามพระพุทธเจ้า ด้วยการพิจารณา อริยสัจ ด้วยอาการ 12 เพื่อให้มองเห็นโทษ เห็นภัยของวัฏฏะสงสาร และ มีจิต ตรง ต่อ มรรค ผล นิพพาน

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 22
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:11:34 pm »
0


การควบคุมวาจา เป็นส่วนหนึ่ง ของการดำเนินมรรค ผู้ที่มีความประพฤติดี จึงต้องรู้จักควบคุมวาจา เพราะวาจา เป็นเครื่องสะท้อนออกของใจ

ดังนั้น ใน อริยมรรค พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสสอน การควบคุมวาจา นั้นเป็นหนึ่งใน อริยมรรค

พูดดี เป็นศรี แก่ปาก
พูดมาก ๆ ปากจะมีสี

นี่เป็นคำพูดที่เราพูดกันเล่น ๆ มาแต่เด็ก ๆ คำว่า ปามีสี หมายถึง ปากแตก หรือ ถูกชกปากแตก เป็นคำพูดเตือนที่สวยหรูกันมากในสมัยเด็ก เวลาพูดกับเพื่อน ๆ ที่ พูดจากวนตีน ( ตรงไปหรือป่าว )

ดังนั้น การปิดวาจา เป็นสิ่งที่ต้องทำ และควรทำ เวลาเข้าภาวนา อยู่คนเดียวไม่ควบคุมจิต หรือ ฟุ้งซ่าน มันก็จะออกทางวาจา ความบ้า ก็จะสมบูรณ์ นั่งพูดคนเดียว พร่ำเพ้อคนเดียว ได้ นี่เรียกว่า บ้า และ บ้า ขนานแท้ เรื่องพวกนี้ ถ้าไม่เคยอยู่คนเดียวในป่า ในเขา ก็ไปลองดู ผ่านมาแล้ว จึงกล้าพูดบอก

ดังนั้นความฟุ้งซ่าน มันเริ่มซ่านออกทางปาก ร้องบ้าง ตะโกน บ้าง นี่เรียกว่า บ้า

แต่พอสติมา รู้ว่า นี่เริ่มบ้าแล้ว ก็สำรวมระวังไม่พุด อธิษฐานจิตว่า จะไม่พูดอะไร ไม่ว่าสติแตกขนาดไหน ผ่านไป สองสามวัน โดนที่ต้องควบคุมการไม่พูด ปรากฏว่า ความฟุ้งซ่าน น้อยลง และน้อยลงจนในที่สุด ก็ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ

นี่เห็นไหมว่า จะบ้าอย่างไร ฟุ้งซ่านอย่างไร ถ้าไม่พูดไม่แสดงอก มันจะไม่บ้านะ แต่ ที่บ้ามันออก นี่ เพราะว่า ไม่ควบคุมมัน

มีเพื่อนพระนับถือกันรูปหนึ่ง ไปอยู่ป่า หลายเดือน ปรากฏว่า ทราบข่าวมาว่า ถูกจับให้ลาสิกขาบถ เพราะว่า ไปเดินแก้ผ้า ไม่นุ่งผ้า อยู่ที่กุฏิในป่า แล้วท่านก็จะบอกว่า บรรลุแล้ว บรรลุแล้ว สมัยก่อนนั้นไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอตัวเองไปอยู่ป่า บ้าง อยู่ถึงเป็นหลายปี จึงทราบอาการความฟุ้งซ่าน นี่แหละเป็นตัวการร้าย ถ้าไม่รู้จักควบคุม

ดังนั้นการควบคุมวาจา เป็นส่วนสำคัญมาก
การพูดจาชอบ ไม่ใช่แค่ ไม่พูดเท็จ หลอกลวง แต่รวมไปถึง ไม่พูดเพ้อเจ้อ ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดส่อเสียด ด้วย

งามท่ามกลาง ก็อย่างนี้

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 23
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:13:00 pm »
0


ทำดี จัดได้ว่า เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก

คนเราคิดจะทำโน่น นู่น นี่ คิดได้ ร้อยแปดพันประการ แต่เวลากระทำนี่ มันมีโอกาสทำน้อยกว่าคิด

และโอกาสที่จะทำได้อย่างคิดนั้น ก็ไม่สามารถทำได้อย่างคิด ใครที่สามารถ คิด แล้ว ทำได้อย่างคิด นี้ถือว่ามีบุญมาก

สำหรับ พุทธศาสนา การกระทำ ที่จัดเป็นเบื้องต้น ก็คือ การละความชั่ว การสร้างความดี

การละความชั่ว และการสร้างความดี อยู่บนพื้นฐาน ของการงาน และ การเลี้ยงชีวิต ดังนั้น สองข้อนี้ พระพุทธเจ้า จึงบัญญัติไว้ใน อริยมรรค มีองค์ 8 คือ การทำการงาน สุจริต การเลี้ยงชีวิตสุจริต

สำหรับเบื้องกลาง การทำดีนั้น คือการรักษา ความดี การรักษาความดี จัดเป็น ความพยายาม หรือ ที่เรียกว่า ความเพียร

และที่สุดของการทำดี คือ ต้องทำใจ ให้บริสุทธิ์ วิธีทำใจให้ บริสุทธิ์ ก็มาจาก การมีสติ และ การสร้างสมาธิ ดังนั้น ที่สุดของการทำความดี ก็คือ การภาวนา

การภาวนา ก็เลือก อุบายที่ทำให้จิต ถึง วิปัสสนาได้ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กรรมฐาน หรือ กัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นอุบายทำให้เกิด สติ สมาธิ เพื่อ กระทำ วิปัสสนา

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 24
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:13:25 pm »
0


ทำไมต้องฝึก สมาธิ ในกระบวนการ ของมรรค ก็เพราะว่า สมาธิ ย่อมทำให้ดับจากนิวรณ์ ขณะหนึ่ง ในขณะที่ นิวรณ์ ดับไปนั้น จิตจะไร้พันธนาการ จาก เครื่องร้อยร้ด มีกิเลสต่าง ๆ เป็นช่วงขณะที่ปราศจาการควบคุมของกิเลส ดังนั้น ในขณะนี้ ชื่อว่า จิตได้รับแสงสว่าง และ ได้โอภาส หรือ นิมิต ต่าง ๆ อันทำให้จิตละจาก นิวรณ์ ทั้ง 5 ลงเป็นการชั่วคราว

จิตขณะนี้ จึงพร้อมแก่การทำ วิปัสสนา
เพราะการทำวิปัสสนา นั้น ต้องละจากการปรุงแต่งของ กิเลส

ยถาภูตญาณ จึงมีความสำคัญมากต่อการ รู้แจ้ง เห็นจริง
เพราะถ้าไม่รู้แจ้ง เห็นจริง มันก็ละกิเลสไม่ได้

จะรู้จักกิเลส ก็เพียงแค่ชื่อ แต่ไม่สามารถรู้จักสภาวะของมันได้ ถ้าจิตไม่มีความสงบ ลงเป็นสมาธิ

เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:15:14 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 25
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:14:51 pm »
0


การเจริญภาวนา ตามหลักพุทธศาสนา นั้น ถึงแม้จะบอกว่า ใช้ปัญญานำ แต่ความจริง ยังไม่มี มีแค่ความเห็นถูกต้อง ตามอริยสัจจะ จนกว่า องค์มรรคทั้ง 8 มีสมบูรณ์แล้ว นั่นเอง จึงจะเรียกว่า เกิดปัญญา

ปัญญา ในที่นี้ หมายถึงความรู้แจ้งแทงตลอด

แต่ถ้ามีแค่ความรู้ ความเห็น มันก็ดับกิเลสได้บ้าง ไม่ได้บ้าง บางครั้งก็ยับยั้งชั่งใจได้ บางครั้งก็ยับยั้งชั่งใจไม่ได้

ดังนั้นถ้าไม่รู้แจ้งแทงตลอด ก็จะดับกิเลสไม่ได้ ดังนั้นสภาวะกิเลสจึงถูกยับยั้งได้เพียงชั่วคราว ด้วยอำนาจศีลบ้าง สติบ้าง สมาธิบ้างนั่นเอง

ความสำคัญกลางของการภาวนา ในหลักพุทธศาสนา ต้องนับว่า สติ เป็นสิ่งที่นำมาซึ่งคุณธรรมต่าง ๆ อย่างยอดเยี่ยม

สติ หมายถึง การระลึกตาม พูดง่าย ๆ ก็คือ ตื่นตัว หรือ ตื่น ลักษณะของปีติ พระพุทธเจ้า มักตรัสรวมลงที่ ความไม่ประมาท

คนที่ไม่ประมาท ย่อมมีความตื่นตัว หรือ ตื่นเสมอ ๆ
ดังนั้นหลักปฏิบัติด้วยการเจริญสติ ที่พระพุทธเจ้ายกย่อง และตรัสไว้ เป็นพื้นฐาน มี 6 อย่าง คือ

1. เทวตานุสสติ มีสติตามระลึกถึงคุณธรรมความดี จะเป็นเทวดา มี หิริ โอตตัปปะ เป็นต้น

2. จาคานุสสติ มีสติตามระลึกถึง การเสียสละมีการให้ทาน เป็นต้น

3. สีลานุสสติ มีสติตามระลึกถึง การไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น มีการสมาทาน ดำรงอยู่ในศีล

4. พุทธานุสสติ มีสติตามระลึกถึง พุทธคุณ

5. ธัมมานุสสติ มีสติตามระลึกถึง ธรรมคุณ

6. สังฆานุสสติ มีสติตามระลึกถึง สังฆคุณ

เมื่อสัมปชัญญะ ของผู้ภาวนา เจริญงอกงามไพบูลย์ ยิ่งขึ้นไปแล้ว ก็จะสู่กรรมฐาน ต่อไปมี

7. อุปสมานุสสติ มีสติตามระลึกถึง พระนิพพาน

8. มรณานุสสติ มีสติตามระลึกถึง ความตาย

9. กายคตาสติ มีสติพิจารณาไปในกาย

10. อานาปานสติ มีสติในลมหายใจเข้า และลมหายใจออก

นี่เป็นเพียงหัวข้อ การเจริญสติ จากพื้นฐาน มาสู่ระดับสูง ซึ่งการภาวนาแต่ละแบบก็มีรายละเอียดองค์ภาวนา ต่างกันไปแต่สนับสนุน ซึ่งกันและกัน

ดังนั้น สติ เป็นเครื่อง ตื่น สัมปชัญญ เป้นตัว รู้ สมาธิ เป็นธรรมสงสบ จากนิวรณ์ วิปัสสนา เป็นองค์ปัญญาในการรู้แจ้งแทงตลอด

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 26
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:16:03 pm »
0



การฝึก อานาปานสติ แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามหมวดสติ ปัฏฐาน 4

สำหรับการฝึก ตามกายานุปัสสนา นั้น ให้ใช้เพียงการ นับ กับ การติดตามลมหายใจ ก้เพียงพอ

ส่วนการฝึก เวทนานุปัสสนา นั้นใช้ การดูการกระทบ และ การตั้งฐานจิต

ส่วนการฝึก จิตตานุปัสสนา นั้นใช้การตั้งฐานจิต ประการเดียว

ส่วนธัมมานุปัสสนา นั้น ใช้ทั้ง 4 อย่าง ตามสถานการณ์ ของจิต เป็นวิปัสสนา

ผู้ฝึกอานาปานสติ จึง ต้องเข้าใจวิธีการ ๆ ใช้ ลมหายใจเข้า และออก ในการภาวนาให้เหมาะสม

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 27
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:16:53 pm »
0


การนับลมหายใจเข้า การนับลมหายใจออก นั้น นับว่าเป็นการฝึกสติ ที่ง่ายที่สุดและใช้อุปกรณ์ กำหนดสติที่มีติดตัวกันทุกคน

ดังนั้น การนับลมหายใจ และ การนับลมหายใจออก นั้นมีอำนาจสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกะสมาธิ จนถึง อุปจาระสมาธิ เลย

การนับลมหายใจเข้า และ การนับลมหายใจออก ชื่อว่า คณนา

คณนา มีสองแบบ

แบบที่นับข้า ประการหนึ่ง
แบบที่นับเร็ว ประการหนึ่ง

แบบที่นับช้า เหมาะกับการนับลมหายใจที่ยาว ( ไม่ใช่ละเอียด) การนับช้า ๆ อย่างนี้เป็นการนับตาม เพราะลมหายใจยาวมีจำนวนน้อย ดังนั้นการนับตาม ก็ใช้กระบวนการ 1 - 10 ต่อลมหายใจที่ยาว นี่เรียกว่า รู้ลมยาว การนับลมยาว ส่วนมากใช้การกำหนดยุบ พองที่ท้องหรือสะดือ คือลมวิ่งสุด ก็นับ ถ้ายาวสม่ำเสมอก็ได้ 10 แต่ยาวไม่สม่ำเสมอ ก็อาจจะนับได้ 7 - 10 เป็นต้น ถ้านับได้ต่ำกว่า 5 ให้ถือว่าเป็นลมสั้น ถ้าเป็นลมสั้นก็ให้ไปกำหนดนับแบบสั้น

แบบที่นับเร็ว เหมาะกับการนับลมหายใจที่สั้น ถี่ การนับลมหายใจที่สั้นเปลี่ยนไว จึงใช้การดักทางลมจุดเดียว เช่นดักที่ปลายจมูก เป็นต้น ลมหายใจถี่ สั้น นั้น มักกำหนดได้ที่ความยาวไม่เกิน 5 ลมหายใจเข้าออกเปลี่ยนไว นี่เรียกว่า ลมสั้น

ดังนั้นการนับลมหายใจเข้า ลมหายใจออก จัดว่าเป็นพื้นฐานของการเจริญสติ กับลมหายใจเข้า และออก ที่สำคัญมาก

ส่วนลมหายใจละเอียดนั้น จะใช้สองวิธีนี้ไม่ได้ ดังนั้น คณนา ใช้กับลมหายใจเบื้องต้น มีอำนาจสมาธิไม่เกิน อุปจาระฌาน ขั้นกลาง หากเป็นขั้นละเอียด ต้องเปลี่ยนวิธีการ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 28
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:17:44 pm »
0

ในการฝึกอานาปาสติ มี 16 ระดับ แต่ใน 16 ระดับ พระพุทธเจ้ากำหนดไว้เพียง สองแบบ

1. กำหนดรู้ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก ไว้เพียง 2 ระดับคือการรู้ลมหายใจเข้า ออก สั้น และ ยาว เท่านั้น

ส่วนอีก 14 ขั้น เป็นการ
2. รู้แบบศึกษา ( สิกขติ ) ซึ่งการรู้แบบนี้เป็นการเรียน สภาวะจิต ขณะทีมีลมหายใจ เข้า และออก หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ให้พิจารณา ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ไปอีก 14 ระดับ

การเรียนรู้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเข้าไปศึกษา หรือพิจารณา

ดังนั้น ระดับที่ เป็น กายานุปัสสนาตรง ๆ มี 2 ระดับ

แต่ในอีก14 ระดับ เป็น สติปัฏฐาน 4 ไปตามระดับ ตามภูมิ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 29
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:18:41 pm »
0


การกำหนด รู้ใน ลม มี 4 อย่าง
1. กำหนด รู้ ในจำนวนลม ที่เข้า ที่ออก ว่า มีกี่ครั้ง ในขณะที่มีสติ กำหนดได้อยู่ ในสมัยก่อน จะมีการใช้ กะลา เจาะรูเล็ก แล้วปล่อยจมน้ำ เรียกว่า 1 อึดใจ ( 1 กะลาจม )

การฝึกหายใจ เข้า ออก แบบนับ เรียกว่า การฝึก รู้ ลมแบบอนุภาค หรือ การกำหนด ลมปราณ

วิธีการที่ใช้ ก็คือ การใช้ คณนา ( การนับ ) ใช้วิธีการนับ 1 - 10 ไม่นับไปเรื่อย ๆ นับครบ 10 กำหนดสัญญลักษณ์ ว่า 1 คาบ เมื่อกะลาจมน้ำเรียบร้อย จึงนับว่า ลมที่เข้า หรือ ออกนั้น มีกี่คาบ โดยผู้กำหนดลมหายใจแบบนี้ ไม่ติดในท่านั่ง ยืนก็ทำได้ เดินก็ทำได้ นั่งก็ทำได้ แต่นอนนี้จะทำไม่ได้ (อาจจะหลับไปก่อน)

2. การกำหนดรู้ จุดเริ่มต้น ของ ลม ใช้ วิธีการ 2 อย่าง คือกำหนดจุดกระทบ ( ผุสนา ) และ การติดตามลม ( อนุพันธนา) โดยต้องทำการหายใจ เข้า ออก กำหนดจุดกระทบก่อน ตั้งแต่เริ่มต้น ท่ามกลาง และที่สุด

เมื่อกำหนดจุดกระทบได้แม่นยำแล้ว จึงกำหนดการติดตามลม เมื่อจะติดตามลม เริ่มต้น ให้ใช้การนับเข้าไปผนวกด้วย โดยนับ 1 - 10 เป็นชุด โดยเริ่มจากการนับ 5 จัดสรรการนับตามความเหมาะสมแต่ไม่นับเกิน 10 ที่จริงแล้ว นับถึง 10 เลยก็ได้ในครั้งแรก เพราะผู้ฝึกภาวนา พุทโธ มานั้น มีสมาธิมาก่อนแล้ว

ในการรู้ลม นี้ ไม่มี นิมิต มีแต่ลมหายใจ เข้า มีแต่ ลมหายใจออก

เมื่อ อุคคหนิมิต เกิดขึ้น( สำหรับผู้ฝึกอานาปานสติ ตรง ) แต่ผู้ฝึก พุทธานุสสติ มาก่อนนั้น มีอุคคหนิมิตมาแล้ว ดังนั้นบางขึ้นตอนก็ต้องข้ามไปตามความเหมาะสมให้ฟังครูอาจารย์ ในแนวทาง ดังนั้น ถ้าได้อุคคหนิมิต ( ก็ต้องเลื่อนขั้นกรรมฐาน ) แต่ถ้าไม่ได้ ก็ทำต่อไปจนกว่า จะได้

ช่วงนี้ จิตจะประณีต สงบไว สำหรับคนที่ฝึก

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 30
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:19:23 pm »
0


การศึกษา ในลมหายใจ เข้า หรือ ลมหายใจ ออก จะแบ่งออกเป็นสองแนวทาง แต่การศึกษา ก็คล้ายคลึงกัน

สำหรับแนวทางแรก ของผู้ที่เป็น วิปัสสก ซึ่งไม่สามารถกำหนดได้ อุคคหนิมิต เลย จาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดังนั้น อุปกรณ์การฝึก ด้วยการศึกษา จึงเป็นแนวทางปัญญา ต้องอาศัยลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก เป็นหลักไปจนถึงขั้นที่ 16 กระบวนการของสมาธิ จะได้ แค่ อุปจาระสมาธิ เท่านั้น

สำหรับแนวทางที่สอง ของผู้ที่เป็น เจโตวิมุตติ นั้นย่อมได้ นิมิต จากลมหายใจเข้า และลมหายใจออก มาแล้ว ดังนั้ การใช้ นิมิต จึงเป็นการใช้ ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ดังนั้น

คำว่า ลมหายใจ และ ลมหายใจออก ก็คือ นิมิต ตราบใดที่ยังรักษานิมิต ได้ ตั้งแต่ อุคคหนิมิต ชื่อว่า อานาปานสติ ทั้งหมด ดังนั้น ขั้นที่ 3 - 16 ก็คือ การศึกษา ในนิมิต

การศึกษาในนิมิต มีอยู่ 4 อย่าง
1. ศีกษานิมิตที่เกิดจากลม เริ่มต้น จาก ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ไปเป็น อุคคหนิมิต ไปเป็น ปฏิภาคนิมิต ไปเป็น สมาธินิมิต แล้ว นำสมาธินิมิต เข้าวิปัสสนา ( สมาธินิมิต ) จัดเป็น ปรมัตถ์ เป็น มหรคต ของจิต ที่ควรแก่การทำวิปัสสนา ของ ฝ่าย เจโตวิมุตติ

ส่วนการศึกษาลมหายใจเข้า และ ออก ของ ปัญญาวิมุตติ นั้นอาศัยลมหายใจเข้า เรียกว่า กาย อาศัยลมหายใจออก เรียกว่า กาย เช่นกัน ดังนั้น ผู้ฝึกอานาปานสติ แบบปัญญาชื่อว่าเจริญ กายคตาสติ เป็น อานาปานสติ ประกอบด้วยสติ เป็นหลัก

ส่วนผู้เป็นเจโตวิมุตติ ใช้ นิมิต ซึ่งเป็น สมาธินิมิต ใช้ สภาวะปรมัตถ์ เท่านั้น เป็นอุปกรณ์ วิปัสสนา ซึ่งละเอียดกว่า ปัญญาวิมุตติ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 31
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:20:06 pm »
0


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 32
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:21:50 pm »
0
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เข้าพรรษา ปี พ.ศ.2561 ธรรมอนุโมทนา แผ่นที่ 33
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2018, 04:22:12 pm »
0
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ