ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติหลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งลักษณะมีนาค 7 หัว  (อ่าน 13736 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


หลวงพ่อนาคเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งลักษณะมีนาค 7 หัว ชูคออยู่เหนือเศียรองค์พระ แล้วขมวดหางเป็นวง ขดเข้าหากันทำเป็นแท่นประทับขององค์พระมีขนาด 3 ชั้น หลวงพ่อนาคนี้เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่งซึ่งผู้สร้างได้จารึกอักษรไว้ตรงแท่นพระ เป็นอักษรตัวธรรม (ไทยน้อย) โบราณ แต่ผู้รู้อักษรธรรมโบราณมีสองท่านได้อ่านไว้แล้วบอกกันต่อ ๆ มา (ขณะนี้ท่านทั้งสองได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว) มีความว่า สร้างเมื่อปี จ.ศ. 170 แห่งพุทธกาลปีจอ เดือน 3 ขึ้น 13 ค่ำ ยามกลองแลง หัวครูคำวงษาเป็นผู้สร้าง ท่านผู้สร้างคงเป็นพระที่มีอภิญญาญาณแน่นอน

เมื่อ พ.ศ. 2530 พระราชปรีชาญาณมุรี เจ้าคณะจังหวัดหนองคาย (วัดโพธิ์ชัย) ได้อ่านไว้ว่าสร้าง จ.ศ. 170 (พ.ศ. 1351) เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำ ยามกลองแลง (ฤกษ์เททอง) เวลา 17.00 น. ถึง17.30 น. ปีจอ หัวครูคำวงษา เป็นผู้สร้าง รูปลักษณะของหลวงพ่อองค์นี้สวยงามน่าเลื่อมมาก โดยเฉพาะพระพักตร์ (ใบหน้า) ดูเหมือนว่าองค์ท่านยิ้มนิด ๆ อารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลา และในองค์ของหลวงพ่อนาคนั้นมีผู้เล่าต่อๆกันมาว่า ตรงหัวใจขององค์ท่านเป็นทองคำแท้อยู่ภายในและมีอัฐิธาตุ(กระดูก) ของพระอรหันต์บรรจุอยู่ภายในนั้นด้วย จึงทำให้องค์ท่านบางครั้งมีรัศมีเปล่งออกมามีผู้พบเห็นเล่ากันต่อๆมา และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงพ่อนาคเคยถูกขโมยไปถึงสี่ครั้ง แต่องค์หลวงพ่อนาคก็สร้างปาฏิหาริย์กลับมาได้ทุกครั้ง หลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่ที่ “วัดโพธิ์ชัยศรี” มาแต่ครั้งโบราณกาล ตามคำบอกเล่าของคุณโยมพ่อตุ๊ (นายทูล คำน้อย) บ้านแวง ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องราวของวัดโพธิ์ศรีชัยและประวัติของหลวงพ่อนาคได้ดีพอสมควร ซึ่งได้รับการถ่ายทอดบอกเล่ากันต่อ ๆ มาจากคนรุ่นเก่า ๆ และจากอักษรที่จารึกไว้ตรงแท่นหลวงพ่อนาค วัดโพธิ์ชัยศรี เป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งแต่โบราณกาล ตั้งอยู่ที่บ้านแวง ตำบลบ้านผือ จังหัดอุดรธานี ห่างจากอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกถนนสายอำเภอน้ำโสมประมาณ 4 กิโลเมตร เนื่องด้วยมีซากปรักหักพังของมุมกำแพงปรากฏแต่แรกและมีต้นโพธิ์ไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่งชาวบ้านจึงเรียกกันว่า “วัดโพธิ์ชัยศรี”

หลวงพ่อนาคถูกขโมย ๔ ครั้ง

ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๓๙๕ หลวงพ่อนาคหายไป ๔ ปี พบอยู่ที่อำเภอบ้านผือ และได้กลับคืนในปี พ.ศ. ๒๓๙๙

ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๗๙ หลวงพ่อนาคหายไปอีก ๑๔ ปี พบอยู่ที่วัดโยธานิมิต จังหวัดอุดรธานี และได้รับกลับคืนในปี พ.ศ.๒๔๙๓

ครั้งที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๒ หลวงพ่อนาคหายไปอีก ขโมยได้นำไปขายให้กับชาวต่างชาติ เมื่อนำขึ้นเครื่องบิน ปรากฏว่าเครื่องบินขึ้นไม่ได้ ชาวต่างชาติคนนั้นจึงไม่เอาแล้ว ผู้ที่ขโมยจึงนำหลวงพ่อนาคไปฝากไว้ที่สถานีวิทยุคลื่น ๐๙ อุดรธานี ทางวัดจึงได้รับกลับมา

ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐ หลวงพ่อนาคหายไปอีก ขโมยได้นำไปฝังไว้ที่บ้านหนองตุ จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เวลาเพียง ๑๕ วัน ก็สามารถนำกลับมา และจับตัวผู้กระทำผิดได้


ที่มาเนื้อหา
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.117909071689428.24297.116369748510027&type=3
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


ประวัติหลวงพ่อนาค

ท่านผู้อ่านคงจะเคยเห็นพระพุทธรูปปางนาคปรกซึ่งลักษณะมีนาค7หัวชูคออยู่เหนือเศียรองค์พระแล้วขมวดหางเป็นวงขดเข้าหากันทำเป็นแท่นประทับขององค์พระมีขนาดต่างๆกันใหญ่บ้างเล็กบ้างและวงขดกว้างกันมี3ชั้นบ้าง5ชั้นบ้าง7ชั้นบ้างแล้วแต่ความนิยมของผู้สร้างในสมัยนั้นๆหลวงพ่อนาคนี้เป็นพระเก่าแก่องค์หนึ่งซึ่งผู้สร้างได้จารึกอักษรไว้ตรงแท่นพระเป็นอักษรตัวธรรม(ไทยน้อย)โบราณแต่ผู้รักอักษรธรรมโบราณมีสองท่านได้อ่านไว้แล้วบอกกันต่อๆกันมา(ขณะนี้ท่านทั้งสองได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว)มีความว่าสร้างเมื่อ ปี จ.ศ.170 แห่งพุทธกาลปีจอเดือน3ขึ้น13ค่ำยามกลองแลงหัวครูคำวงษาเป็นผู้สร้างท่านผู้สร้างคงเป็นพระที่อภิญญาณแน่นอน เมื่อ พ.ศ.2530 พระราชปรีชาญาณมุนีเจ้าคณะจังหวัดหนองคาย
(วัดโพธิ์ชัย)ได้อ่านไว้ว่าสร้าง จ.ศ.170 (พ.ศ.1353) เดือน 5 ขึ้น 13 ค่ำยามกลองแลง (ฤกษ์เททองเวลา17.00น.ถึง17.30น.) ปีจอ หัวครูคำวงษา เป็นผู้สร้างรูปลักษณะของหลวงพ่อนาคองค์นี้สวยงามน่าเลื่อมใสมากโดยเฉพาะพระพักตร์(ใบหน้า)ดูเหมือนว่าองค์ท่านยิ้มนิดๆอารมณ์ดีอยู่ตลอดเวลาและในองค์ของหลวงพ่อนาคนั้นมีผู้เล่าต่อๆกันมาว่าตรงหัวใจขององค์ท่านเป็นทองคำแท้อยู่ภายในและมีอัฐิธาตุ(กระดูก)ของพระอรหันต์บรรจุอยู่ภายในนั้นด้วยจึงทำให้องค์ท่านบางครั้งมีรัศมีเปล่งออกมามีผู้พบเห็นเล่ากันต่อๆมาและมีความศักดิ์สิทธิ์มากเหลือที่เราปุถุชนคนธรรมดาจะคิดให้รู้หมดความสงสัยได้ถ้าพูดตามภาษาธรรมะเรียกว่าเป็นอจินไตยแปลว่าใครๆไม่ควรคิดถ้าใครขืนคิดผู้นั้นจะถึงความเป็นบ้าเพราะคิดไม่ออกนั่นเลยเพราะมิใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆจะคิดได้แต่เป็นนิสัยของผู้ที่มีอภิญญาญาณอันแก่กล้าแล้วเท่านั้นจะรู้ได้โดยไม่ ต้องสงสัย

หลวงพ่อนาคอยู่วัดอะไร

ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะได้รู้จักความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อนาคขอนำท่านผู้อ่านให้มารู้จักวัดโพธิ์ชัยศรีซึ่งเป็นวัดหลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่มาแต่ครั้งโบราณกาลข้าพเจ้าได้เขียนตามคำบอกเล่าของคุณโยมพ่อตุ๊ (นายทูลคำน้อย)บ้านแวงซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องราวของวัดโพธิ์ชัยศรีและประวัติของหลวงพ่อนาคได้ดีพอสมควร ซึ่งได้รับการถ่ายทอดบอกเล่ากันต่อๆมาจากคนรุ่นเก่าๆและจากอักษรที่จารึกไว้ตรงแท่นหลวงพ่อนาคกร ดังได้สดับมาวัดโพธิ์ชัยศรีเป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งแต่โบราณกาลตั้งอยู่หมู่ที่ 10 บ้านแวงตำบลบ้านผือจังหวัดอุดรธานีห่างจากตัวอำเภอบ้านผือไปทางทิศตะวันตกถนนสายอำเภอน้ำโสมประมาณ 4 กิโลเมตรมีเนื้อที่กว้างประมาณ1ไร่เศษยาวประมาณ2ไร่เศษเพราะมีซากสลักหักพังของมุมกำแพงปรากฏแต่แรกและมีต้นโพธิ์ไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่งชาวบ้านจึงเรียกกันว่าวัดโพธิ์ชัยศรีซึ่งเป็นที่หลวงพ่อนาคประดิษฐานอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

วัดโพธิ์ชัยศรีตั้งอยู่ที่บ้านแวงตำบลบ้านผืออำเภอบ้านผือจังหวัดอุดรธานี ภายในวัดมีบ่อน้ำบ่อหนึ่งมีรูน้ำไหลยู่ตลอดเวลาน้ำใสสะอาดสามารถดื่มกินได้ความลึกประมาณ 89 เมตรถ้าถึงฤดูหนาวน้ำในบ่อจะอุ่นผิดปกติ

มีการตั้งหมู่บ้านเมื่อราว 200 ปีตั้งแต่นับก่อนบรรพบุรุษต่างยืนยันว่าไม่มีผู้ใดลงมือขุดบ่อน้ำนี้สันนิษฐานว่าคงมาพร้อมกับวัดโพธิ์ชัยศรีและหลวงพ่อนาค


http://luangpornak.siam2web.com/?cid=541410




หลวงพ่อนาคถูกขโมยครั้งแรก

 

                เมื่อประมาณ พ.ศ. 2395 องค์หลวงพ่อนาคได้หายไปจากวัดโพธิ์ชัยศรีเป็นครั้งแรก  คราวนั้นพระสงฆ์ และชาวบ้านมิได้ติดใจเอาความ  คงคิดว่าเป็นพระพุทธรูปธรรมดา หายแล้วหายเลย  เพราะไม่รู้จะติดตามเอาคืนได้ที่ไหน  จึงได้ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปกับกาลเวลา

                4 ปีต่อมา ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2399   นายตุ้ย  ผู้ปกครองอำเภอบ้านผือ (นายอำเภอ) ในสมัยนั้น ได้ถึงแก่กรรมลง  นายอวน ศักดิ์ดี  ผู้ใหญ่บ้านแวง  ได้ไปช่วยงานศพของนายอำเภอ  ระหว่างที่กำลังสาละวนอยู่กับงาน  ต้องเดินขึ้นเดินลงที่บ้านนายอำเภอหลายเที่ยว  สายตาบังเอิญเหลือบไปเห็น พระนาคปรกสวยงามองค์หนึ่ง ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนโต๊ะหมู่บูชา จึงพยายามเดินเข้าไปชมใกล้ ๆ เพ่งพินิจสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน  จนแน่ใจว่าพระนาคปรกองค์นี้เป็นหลวงพ่อนาคของวัดโพธิ์ชัยศรี หลังจากงานศพนายอำเภอตุ้ยผ่านพ้นไป  นายอวนก็เรียกลูกบ้านมาประชุม  โดยได้เล่าเรื่องต่าง ๆ ที่ตนได้พบเห็นหลวงพ่อนาคให้ชาวบ้านฟัง  ในที่สุดทุกคนต่างพร้อมใจกันไปขอหลวงพ่อนาคกลับคืน  เมื่อครอบครัวนายอำเภอตุ้ยทราบเรื่องราวต่าง ๆ ว่าหลวงพ่อนาคองค์นี้ ได้มีผู้ขโมยขายให้นายอำเภอ  จึงยินยอมคืนหลวงพ่อนาคให้ชาวบ้านแวงโดยดี  ผู้ใหญ่อวน และลูกบ้าน พากันดีใจ และอาราธนาหลวงพ่อนาคกลับไปประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัยศรีดังเดิม

 

 

 หลวงพ่อนาคถูกขโมยครั้งที่ 2

ในราว พ.ศ.2479  หลวงพ่อนาคได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง  คราวนี้ชาวบ้านพากันออกติดตามข่าวว่าใครเป็นผู้ขโมยเอาไป  จนสืบทราบว่า มีคนร้าย 2 คน ได้ลักเอาหลวงพ่อนาคไปทางบ้านเหล่าคาม อ.บ้านผือ แล้วจ้างเกวียนของ “นายเผือก” ชาวบ้านเหล่าคามเป็นเงิน 2 บาท ช่วยบรรทุกหลวงพ่อนาคไปที่จังหวัดอุดรธานี ซึ่งมีระยะทางประมาณ 53 กิโลเมตร โดยใช้เวลาเดินทางนานถึง 3 วัน 

พอถึงตัวจังหวัดอุดรธานีแล้ว คนร้ายทั้งคู่ได้ยกหลวงพ่อนาคลงจากเกวียนไว้ที่พื้นดินก่อน เพื่อจะเอาขึ้นรถยนต์นำไปขายที่กรุงเทพ ฯ ความจริงหลวงพ่อนาคมีน้ำหนักเพียง 23 กิโลกรัมเท่านั้น  แต่คราวนี้หลวงพ่อนาคได้สำแดงปาฏิหาริย์ บันดาลให้องค์ท่านมีน้ำหนักคล้ายกับ 1,000 กิโลกรัม  จนคนร้ายยกไม่ขึ้น แม้จะพยายามช่วยกันยกสักเท่าไหร่ องค์หลวงพ่อนาคก็ไม่มีท่าทีจะขยับเขยื้อน  พวกคนร้ายได้เปลี่ยนวิธียก  ด้วยการหาเชือกมาผูกองค์หลวงพ่อนาค แล้วเอาไม้สอดหามกัน แม้จะใช้คนสักเท่าไร ก็หามไม่ขึ้น ในที่สุดต่างก็หมดปัญญา

ขณะที่พวกคนร้ายกำลังนั่งพักเหนื่อย  เพื่อคิดหาวิธีโยกย้ายหลวงพ่อนาค ไปขายที่กรุงเทพ ฯ  ให้ได้บังเอิญมี เศรษฐีผัวเมียคู่หนึ่ง ปลูกบ้านอยู่แถว ๆ นั้น เดินมาพบเห็นเข้า  ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นยิ่งนัก  จึงได้สอบถามเรื่องราวความเป็นมา พวกคนร้ายบอกว่า กำลังจะนำไปขายที่กรุงเทพ ฯ เท่านั้น แต่มิได้บอกความจริงว่า ขโมยมาจากวัดโพธิ์ชัยศรี

ปกติสองผัวเมียเป็นคนใจบุญอยู่แล้ว  ยิ่งเห็นองค์หลวงพ่อนาค ก็เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น  พอทราบความประสงค์ว่าเขาจะเอาไปขายเท่านั้น  จึงขอบูชาองค์หลวงพ่อนาค ไว้สักการะที่บ้านตน เป็นจำนวนเงิน 1 ตำลึง (4บาท) คนร้ายก็ตกลงขายให้ ดีกว่าเอาไปไม่ได้เลย พอคนร้ายรับเงินจากสองผัวเมียแล้ว ก็พากันหลบหนีไป สองตายายก็ได้อาราธนาหลวงพ่อนาค ไปประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชาในบ้านของตน

นับตั้งแต่หลวงพ่อนาคไปอยู่ในบ้านสองตายายได้ราว 1 เดือน  เศรษฐีสองผัวเมีย และครอบครัว ต่างเป็นโรคนอนไม่หลับ  พอหลายวันหลายคืนเข้า สองผัวเมียถึงได้ปรึกษาหารือกันว่า คงจะเป็นเพราะเราปฏิบัติต่อองค์หลวงพ่อนาคไม่ถูกวิธีหรืออย่างไร  จึงนำความเรื่องนี้ไปปรึกษากับเจ้าอาวาสวัดโยธานิมิต ซึ่งปกติสองผัวเมียก็ไปทำบุญอยู่เป็นประจำ

เมื่อหลวงพ่อวัดโยธานิมิตได้ทราบรายละเอียดทั้งหมดแล้ว  ท่านจึงได้พูดกับสองผัวเมียว่า “พระนาคปรกที่คุณโยมนำมาบูชาที่บ้านนั้น ท่านคงไม่อยากอยู่ที่บ้านของคุณโยม คงอยากอยู่ที่วัดมากกว่า เลยทำให้คุณโยมและครอบครัวนอนไม่หลับ ถ้าไม่คิดอะไรมาก คุณโยมเอามาไว้ที่วัดกับอาตมาก็ได้ โดยคุณโยมบูชามาเท่าไร อาตมาจะจ่ายชดเชยให้ ดีกว่าเอาไว้บ้านแล้วไม่สบาย”

ฝ่ายเศรษฐีสองผัวเมีย คิดทบทวนอยู่นาน ในที่สุดก็ตัดสินใจ เอาหลวงพ่อนาคไปไว้ที่วัดโยธานิมิต  นับตั้งแต่นั้นมา ทุกคนในครอบครัวต่างนอนหลับอย่างสุขสบาย
 

ต่อมาราว พ.ศ. 2494 นายดี ทองสุวรรณ  ชาวบ้านแวงได้ถูกคัดเลือกเป็นทหารเกณฑ์ไปประจำอยู่ที่ค่ายหนองประจักษ์  อุดรธานี  พอถึงวันสงกรานต์ ช่วงที่นายดี  ทองสุวรรณ รับราชการเป็น

ทหารเกณฑ์อยู่นั้น  เพื่อน ๆ ได้ชักชวนไปเที่ยวงานสงกรานต์ที่วัดโยธานิมิต  เพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป และสรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ ตามประเพณีภาคอีสาน  ครั้นไปถึงวัดโยธานิมิต แล้วก็เดินเข้าไปสรงน้ำพระพุทธรูป และพระภิกษุสงฆ์ จึงได้พบเห็นหลวงพ่อนาค ก็คลับคล้ายคลับคลา ว่าเคยเห็นที่ไหนมาก่อน  เมื่อเดินเข้าไปพิจารณาตำหนิต่าง ๆ ใกล้ ๆ ก็แน่แก่ใจว่าเป็น “หลวงพ่อนาค” ที่อยู่วัดโพธิ์ชัยศรีจริง ๆ

พอหลังสงกรานต์ก็ได้ลากลับบ้าน เพื่อจะนำข่าวที่ตนได้พบหลวงพ่อนาค ไปเล่าให้ผู้ใหญ่บ้าน และเพื่อนบ้านฟัง เมื่อชาวบ้านแวงทราบข่าว ต่างพากันดีใจ และตกลงกันว่า จะให้ผู้ใหญ่บ้าน กับลูกบ้านอีก ๕ คน เป็นตัวแทนเดินทางไปจังหวัดอุดรธานี โดยมุ่งตรงไปที่วัดโยธานิมิตทันที

ครั้นไปถึงวัดโยธานิมิต  ชาวบ้านแวงทั้งหมด พากันเข้าไปกราบนมัสการพระเดชพระคุณ เจ้าอาวาสวัดโยธานิมิต ซึ่งท่านเจ้าอาวาส เมื่อเห็นคนต่างถิ่นมาเยือน จึงได้ไต่ถามความประสงค์การมาครั้งนี้

“โยมบ้านอยู่ที่ไหน มาที่วัดมีความประสงค์สิ่งใดหรือ”

ผู้ใหญ่บ้านแวงกราบเรียนว่า “ข้ากระผมกับพวกมาตามหลวงพ่อนาค ที่หายไปหลายปีแล้ว”

พระเดชพระคุณท่านเจ้าอาวาส ได้ถามต่อไป “พระนาคปรกของพวกโยม มีพุทธลักษณะอย่างไร แล้วทำไม ถึงคิดว่า พระนาคปรกมาอยู่ที่นี่”

“องค์พระประทับนั่งอยู่บนลำตัวนาคขดเป็น 3 ชั้น ตรงหัวนาคด้านบนหักนิดหนึ่ง มีคนมาพบว่า อยู่ที่นี่” ผู้ใหญ่บ้านตอบ

เมื่อเจ้าอาวาสได้ฟังแล้ว ก็แน่ใจว่า พระนาคปรกองค์นี้เป็นของชาวบ้านแวงจริง เพราะทุกสิ่งที่เล่ามา ตรงกับความจริงทั้งสิ้น จึงได้พูดต่อไปว่า

“พระนาคปรกองค์นี้ อาตมาได้ซื้อไว้เป็นเงิน 1 ตำลึง (4 บาท) ถ้าโยมอยากได้ จงเอาเงิน 1 ตำลึง มาไถ่คืนเสียก่อน”

ผู้ใหญ่บ้านได้ฟังเช่นนั้น  จึงกราบนมัสการว่า “พระนาคปรกองค์นี้ เป็นสมบัติของวัดโพธิ์ชัยศรี กระผมและพวกได้ติดตาม จนหมดเงินหมดทองไปมากมาย เหลือเงินติดตัวอยู่ไม่เท่าไหร่ จะมีก็แค่เงินค่าอาหาร และค่าเดินทางเท่านั้น เมื่อหลวงพ่อไม่ยอมคืนพระนาคปรกให้ พวกกระผมก็จำเป็นต้องไปพึ่งพาเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแจ้งข้อหาว่า หลวงพ่อรับซื้อของโจรไว้ ถ้าถึงตอนนั้น คิดว่า หลวงพ่อคงต้องลำบากแน่ ๆ”

ฝ่ายเจ้าอาวาส โดนไม้ตายของผู้ใหญ่บ้านเช่นนี้  จำเป็นต้องคืนพระนาคปรกให้แต่โดยดี มิฉะนั้น จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งไม่เหมาะสมกับสมณเพศ

เมื่อชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้าน ได้รับพระนาคปรกคืนก็ดีใจ พากันกราบขออภัยที่ล่วงเกินพระเดชพระคุณท่าน และขอบคุณที่ยอมคืนพระนาคปรกให้  ต่อจากนั้น ได้อาราธนาพระนาคปรกกลับคืนสู่วัดโพธิ์ชัยศรีดังเดิม

 

หลังจากหลวงพ่อนาคปรก กลับคืนมาอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยศรีไม่กี่วัน  ได้สำแดงปาฏิหาริย์บันดาลให้ นายเผือก เจ้าของเกวียนที่รับจ้างพวกคนร้าย บรรทุกหลวงพ่อนาคไปจังหวัดอุดรธานี เกิดตาบอดอย่างไม่มีสาเหตุ   ครอบครัวก็ได้รับความเดือดร้อนในเวลาต่อมา

เมื่อนายเผือกตาบอดอย่างกะทันหัน โดยหาสมมติโรคไม่ได้ จึงได้ระลึกเหตุการณ์ที่ตนไปรับจ้างบรรทุกหลวงพ่อนาคปรก  แม้ตนจะไม่ทราบมาก่อน แต่ก็มีส่วนร่วมด้วย ที่ตนต้องตาบอดลงเช่นนี้ คงเป็นเพราะกรรมที่ไปพัวพันด้วยแน่  ท่านจึงลงโทษสถานเบาไม่ถึงแก่ชีวิต  พอคิดได้เช่นนั้น นายเผือกได้บอกพวกญาติพี่น้องให้พาตนไปที่วัดโพธิ์ชัยศรี เพื่อไปกราบคารวะขอขมาลาโทษกับหลวงพ่อนาค ที่ตนได้ล่วงเกิน

ครั้นไปถึงวัดโพธิ์ชัยศรี ที่ประดิษฐานหลวงพ่อนาคปรก  ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านตนราว 6 – 7 กิโลเมตร ก็นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปสารภาพผิดทุกอย่าง แล้วกราบขอขมาลาโทษที่ตนได้กระทำกรรมไว้กับหลวงพ่อ (นาค) ก่อนที่จะลากลับไปบ้าน ได้เอาแผ่นทองคำเปลวที่ปิดพระเนตรหลวงพ่อนาค มาปิดที่นัยน์ตาของตน รุ่งขึ้นอีกวัน นัยน์ตาของนายเผือก ก็กลับคืนสู่สภาพเดิม สามารถมองเห็นทุกสิ่งได้ตามปกติ นับเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ยิ่ง

 

หลวงพ่อนาคถูกขโมย ครั้งที่ ๓

 

 ในราว พ.ศ. 2512  หลวงพ่อนาคได้หายไปอีกครั้งหนึ่ง  ซึ่งชาวบ้านแวงได้ช่วยกันสืบจนได้ความว่า มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งมาขโมยเอาองค์หลวงพ่อนาคไป  โดยนำรถยนต์มาจอดไว้นอกวัด แล้วลอบเข้าไปอุ้มองค์หลวงพ่อนาคขึ้นใส่รถยนต์  จากนั้นขับมุ่งไปทางจังหวัดอุดรธานี เพื่อนำไปขายให้พวกฝรั่งที่สนามบินอุดรธานี ในราคา 500,000 บาท จุดหมายปลายทางคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา

พอถึงวันนัดหมาย  คนร้ายได้นำหลวงพ่อนาค บรรจุลงกล่องกระดาษแข็ง ปิดผนึกอย่างดี พอได้เวลาก็ส่งกล่องบรรจุหลวงพ่อนาคขึ้นเครื่องบิน เพื่อจะนำส่งไปประเทศสหรัฐอเมริกา  ทันทีที่กล่องบรรจุหลวงพ่อนาคขึ้นเครื่อง นักบินฝรั่งก็ติดเครื่องเตรียมจะบินขึ้นสู่ท้องฟ้า  เสียงเครื่องบินแทนที่จะกระหึ่ม แสดงถึงความพร้อมที่จะทะยานสู่ท้องฟ้า  แต่ทว่าสิ่งมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นในบัดดล ล้อเครื่องบินแทนที่จะแล่นไปตามลานบิน  กลับสงบนิ่งอยู่กับที่  แม้จะพยายามบังคับเครื่องสักเท่าไหร่  ล้อก็ไม่ยอมขยับเขยื้อน  พวกช่างเครื่องมาสำรวจตรวจเช็คอย่างละเอียดแล้ว  สั่งให้ลองบินดูอีกครั้ง  ปรากฏว่าทุกอย่างคงมีสภาพเดิม  จนฝรั่งหมดปัญญา ยอมยกกล่องบรรจุหลวงพ่อนาคคืนกลุ่มมิจฉาชีพ  พอยกกล่องหลวงพ่อนาคลงจากเครื่องบินเท่านั้น  เครื่องบินก็บินได้ตามปกติ โดยไม่มีอะไรขัดข้องเลย สร้างความประหลาดใจแก่พวกฝรั่งและคนร้ายอย่างยิ่ง

เมื่อฝรั่งเอาไปไม่ได้ คนร้ายก็นำกลับไปที่บ้านหลังหนึ่ง เตรียมที่จะตัดเศียรไปเท่านั้น  พอเครื่องตัดเหล็กจ่อถูกองค์หลวงพ่อนาคครั้งใด ไฟฟ้าเป็นต้องดับหมดบ้านทุกที  แม้จะพยายามสักเท่าไหร่ก็ไม่สำเร็จ  เมื่อคนร้ายโดนอิทธิฤทธิ์หลวงพ่อนาคเล่นงาน  ไม่รู้จะกระทำวิธีอื่นใดอีก เอาไปก็ไม่ได้ ตัดเศียร

ก็ไม่สำเร็จ วิธีที่ดีกว่านี้ ควรนำฝังดินไว้ก่อน ดีกว่ามีชาวบ้านมาพบเห็นเข้า จะพากันเดือดร้อน พอคิดได้ดังนั้นก็ช่วยกันยก ปรากฏว่ายกไม่ขึ้นอีก  แม้จะพยายามสักกี่หนก็ไม่สำเร็จอีก  หลวงพ่อนาคได้เล่นงานคนร้ายจนหมดปัญญา  ทุกคนได้ช่วยกันคิดหาหนทางจัดการกับหลวงพ่อนาคอย่างไรดี  จนกระทั่งคนร้ายออกความเห็นว่า “ควรนำหลวงพ่อนาคไปฝากที่สถานีวิทยุ 09 อุดรธานี” คนร้ายที่เหลือต่างเห็นด้วย จึงนำเอาองค์หลวงพ่อนาคบรรจุใส่กล่องจนมิดชิด แล้วนำไปฝากไว้กับเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 09 โดยบอกว่า ขอฝากกล่องนี้สักประเดี๋ยว ไปธุระที่ตลาดแล้วจะกลับมาเอา

เมื่อคนร้ายฝากกล่องหลวงพ่อนาคไว้แล้ว ก็พากันหลบหนีไปหมด ปล่อยให้เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 09 เฝ้าคอยการกลับมาอยู่จนมืด ก็ไม่เห็นเจ้าของกลับมาเอาคืน  จนเวลาผ่านไป 3 วัน ก็ยังไม่มีใครมารับเอาคืนไป  เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 09 เลยตัดสินใจเปิดกล่องออกมาดู  ปรากฏว่าข้างในมีพระพุทธรูปนาคปรกบรรจุอยู่  แต่ไม่รู้ใครเป็นเจ้าของ หรือเป็นพระของวัดใด จึงได้ประกาศออกทางวิทยุ พร้อมกับบอกพุทธลักษณะให้ทราบ ถ้าใครเป็นเจ้าของ หรืออยู่ที่วัดใด ให้นำหลักฐานมายืนยัน ก่อนจะเอากลับคืนไป

ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรอำเภอบ้านผือ ได้ฟังข่าวประกาศเรื่องหลวงพ่อนาคปรก อยู่ที่สถานีวิทยุ 09 อุดรธานี ฟังลักษณะตามประกาศแล้ว ก็ว่าเป็นหลวงพ่อนาค วัดโพธิ์ชัยศรีแน่ ๆ เพราะตอนที่หายไปนั้น ชาวบ้านได้มาแจ้งความไว้แล้ว  สารวัตรสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านผือ ได้สั่งให้สิบเวรนายหนึ่ง ไปแจ้งให้นายบัว แวงคำ ผู้ใหญ่บ้านแวงทราบ

นายบัว แวงคำ ก็พาชาวบ้านไปรับหลวงพ่อนาคที่สถานีวิทยุ 09 อุดรธานี  พร้อมกับสอบถามว่าใครเอากล่องนี้มาฝาก  เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 09 ตอบว่า มีชายฉกรรจ์ 3 คน หามกล่องนี้มาฝากไว้  เพียงบอกแต่ว่าไปตลาดเดี๋ยวเดียวจะกลับมารับ  ต่อจากนั้นก็ไม่กลับมาอีกเลย  จนกระทั่งเปิดกล่องถึงทราบว่า เป็นพระพุทธรูป จึงได้ประกาศหาเจ้าของให้มารับพระพุทธรูปนาคปรกองค์นี้คืนไป

เมื่อเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ 09 อุดรธานี ได้สอบถามพุทธลักษณะ และตำหนิต่าง ๆ ของหลวงพ่อนาคปรก ปรากฏว่า ชาวบ้านแวงตอบถูกหมดทุกอย่าง จึงได้มอบหลวงพ่อนาคให้กลับคืนไป ชาวคณะบ้านแวง ได้กล่าวขอบพระคุณทางเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ ๐๙ อุดรธานี แล้วก็อาราธนาหลวงพ่อนาคกลับคืนไปยังหมู่บ้านตน

เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2522 นายพันทหารท่านหนึ่ง ประจำอยู่ในค่ายทหารอุดรธานี  ได้ทำปืนของทางราชการหายไปประมาณ 50 กระบอก  โดยไม่ทราบว่าผู้ใดได้มาขโมยไป  นายพันทหารผู้บังคับบัญชา พยายามสอบสวนทุกคนก็ไม่ได้ความคืบหน้า ก็เลยหันมาพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดู ในเวลานั้น เกิดคิดถึงหลวงพ่อนาค ที่วัดโพธิ์ชัยศรี  ที่ตนเคยทราบกิตติศัพท์ถึงความศักดิ์สิทธิ์มาก่อนแล้ว  จึงได้เดินทางไปที่วัดโพธิ์ชัยศรี  เมื่อไปถึงก็ติดต่อสอบถามคุณโยมพ่อตุ๊ (ผู้ดูแลรักษาหลวงพ่อนาค) ถึงวิธีเสี่ยงทายของหาย ว่าปืนที่หายไปจะได้คืนหรือเปล่า ? ในพิธีเสี่ยงทาย หลวงพ่อนาค บอกว่า ได้คืน ผู้พันทหารถามคุณโยมพ่อตุ๊ว่า “ทำอย่างไรถึงจะได้คืน”

 

โยมพ่อตุ๊ก็บอกว่า “ผู้พันต้องรับสัจจะปฏิญาณกับหลวงพ่อนาคก่อนว่า จะไม่ลงโทษเขา ผมก็จะบอกให้ ถ้าต้องการไปลงโทษ ผมก็จะไม่บอก”

ผู้พันก็รับปากว่า “ขอให้ได้ปืนคืนเท่านั้นก็พอ ผมจะไม่ลงโทษเขาหรอก” กล่าวจบ คุณโยมพ่อตุ๊ก็เสี่ยงทายกับหลวงพ่อนาค ดูปืนที่หายไปนั้น กองร้อยใดเอาไป โดยเริ่มเสี่ยงทายตั้งแต่กองร้อยที่ 1 ไปตามลำดับ ปรากฏว่า กองร้อยที่ 3 เอาไป แล้วก็เริ่มเสี่ยงทายต่อไป ถามถึงชื่อผู้ที่เอาไป โดยนำเอาชื่อผู้ใต้บังคับบัญชาในกองร้อยที่ 3 ทั้งหมด มาเสี่ยงทายเรียงตามลำดับ จนถึงตัวผู้เอาปืนไป เมื่อรู้ตัวผู้ขโมยพอเป็นที่สังเขป ก็ทำน้ำมนต์ไปให้ทหารในกองร้อยดื่มเรียงตัว ต่อมาทหารผู้ที่เอาปืนไปซ่อนไว้ ก็มาสารภาพว่า “ปืนนั้นผมเอาไปเก็บไว้เอง”

พอผู้พันทหารทราบตัวหัวขโมยก็โกรธ ลืมคำปฏิญาณที่รบไว้กับหลวงพ่อนาค สั่งนำตัวไปจำขังเป็นการลงโทษ ต่อมาผู้พันได้ไปราชการทหารที่จังหวัดเลย  บังเอิญถูกงูกัดขา รักษาเท่าไรก็ไม่หาย นับวันแผลมีแต่จะเปื่อย ทำให้นึกถึงคำปฏิญาณที่ให้ไว้กับหลวงพ่อนาค  จึงได้นำดอกไม้ธูปเทียนไปขอขมา แล้วขอน้ำมนต์หลวงพ่อนาคไปประพรม หลังจากนั้นไม่นาน แผลที่ขาก็หายเป็นปกติ

 

 

 หลวงพ่อนาคถูกขโมย ครั้งที่ 4

 

 เมื่อวันที่  27 กันยายน พ.ศ. 2530  เวลาประมาณ 02.00 น. ได้มีคนร้ายประมาณ 8 คน ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ เข้าไปในบริเวณบ้านแวง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี โดยจอดรถยนต์ไว้ที่บริเวณบ้านแวง แล้วตรงไปยังวัดโพธิ์ศรี  อันเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อนาค และคนร้ายชุดดังกล่าว ได้ตัดกุญแจที่ใส่คล้องประตูโบสถ์ 5 ดอก แล้วเข้าไปงัดประตูเหล็กชั้นใน อันเป็นชั้นที่ ๒ จนพัง แล้วขโมยเอาหลวงพ่อนาคไปจากฐานที่ตั้ง

รุ่งเช้าวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2530  พระเณรในวัดโพธิ์ชัยศรี ตื่นขึ้นมาเข้าโบสถ์ เพื่อจะทำวัตรตามปกติ  ก็พบว่า หลวงพ่อนาคได้ถูกคนร้ายลักไปแล้ว  จึงได้ให้นายบุญมา  พรหมเมศ  อายุ 43 ปี ราษฎรบ้านแวง นำความเข้าแจ้งต่อ พ.ต.ท.มนัส  เที่ยงธรรม สวญ.สภ.อ.บ้านผือ ว่า เมื่อคืนนี้ เวลาประมาณ 03.00น. มีคนร้าย 4  คน ใช้รถปิ๊กอัพ นิสสัน สีแดง ไม่มีป้ายทะเบียน ลอบเข้าไปในโบสถ์วัดโพธิ์ชัยศรี หมู่ 10 บ้านแวง อ.บ้านผือ ขโมยเอาหลวงพ่อนาค พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวอำเภอบ้านผือไป  ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านมั่นใจว่า คนร้ายยังไม่ได้นำ “หลวงพ่อนาค” ออกนอกเขตอำเภอบ้านผือ จึงนำความมาแจ้งให้ตำรวจรีบติดตามเอาคืนมาให้ได้

หลังจากรับแจ้งว่า “หลวงพ่อนาค” ถูกขโมยไปได้ไม่นาน พ.ต.ท.มนัส สวญ.สภ.อ.บ้านผือ ได้รับแจ้งจากชาวบ้านกาลืม ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ อีกว่า ในคืนเดียวกัน พระอธิการคำห่วง เจ้าคณะตำบล ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทบัวบก ต.เมืองพาน ซึ่งอยู่ห่างจากวัดโพธิ์ชัยศรี ได้รับแจ้งจากพระสงฆ์ และชาวบ้านกาลืมว่า มีคนร้ายแต่งกายชุดเขียวคล้ายทหาร เข้าไปงัดศาลาการเปรียญ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ของวัดบ้านกาลืม แล้วขโมยพระพุทธรูปทั้งหมด ประมาณ 25 องค์ด้วยกัน
        หลังจากที่หลวงพ่อนาคได้ถูกขโมยไปแล้ว  ทั้งทางราชการ และประชาชนทั่วไป ที่เลื่อมใสศรัทธา ต่างก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะให้ได้ข่าว และแหล่งที่ซุกซ่อนของหลวงพ่อนาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางราชการอำเภอบ้านผือ  ซึ่งมีนายบรรดาศักดิ์  บุญบันดล นายอำเภอบ้านผือ พ.ต.ท.มนัส  เที่ยงธรรม สวญ.สภ.อ.บ้านผือ พร้อมด้วยทีมงาน ประกอบด้วย ร.ต.ท.วิเชียร ประภาการ ร.ต.ท.วิสัย  พิทักษ์สฤษดิ์ ร.ต.อ.วินันท์ เสียงครวญ และเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกหลายนาย ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการติดตามข่าวคราว และหาแหล่งที่ซุกซ่อนองค์หลวงพ่อนาค น้ำมนต์ และทำด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือสวมคอ เพื่อป้องกันศัตรู และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มากราบไหว้ในเวลานั้น

นอกจากนั้น ทางจังหวัดหนองคาย ได้มีท่านพระครูสังฆวิฑิต  วัดทุ่งสว่าง ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงที่สำคัญยิ่ง  ได้ทุ่มเทกำลังกาย กำลังความคิด ตลอดจนกำลังทรัพย์ในการติดตามข่าวคราว ความเคลื่อนไหวของคนร้าย  โดยขอความร่วมมือจาก ร.ต.อ.วินันท์ เสียงครวญ รอง สวป.สภ.อ.เมืองหนองคาย ได้สืบหาตัวคนร้าย และสืบหาแหล่งที่ซุกซ่อนองค์หลวงพ่อนาค อันเป็นการให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของอำเภอบ้านผืออีกทางหนึ่ง แต่การดำเนินงาน ก็เป็นไปอย่างไม่เปิดเผย เพราะเกรงคนร้ายจะไหวตัว ในที่สุด วันแห่งความปลาบปลื้มปีติยินดีของทางราชการ และประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อนาคก็มาถึง

คือ ในวันที 13 ตุลาคม พ.ศ. 3530  เวลาประมาณ10.00 น. ร.ต.อ.วินันท์ เสียงครวญ พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อ.เมืองหนองคาย จำนวนหนึ่ง ได้ทำการจับกุมคนร้ายกลุ่มดังกล่าวได้ ณ ที่ว่าการอำเภอเมืองหนองคาย ซึ่งคนร้ายได้มาติดต่อขายพระพุทธรูปหลวงพ่อนาค และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ของวัดบ้านกาลืม จึงนำตัวคนร้ายทั้งหมดไปทำการสอบสวนที่ สภ.อ.เมืองหนองคาย แล้วรายงาน พ.ต.อ. ดร.ช่วงชัย สัจจะพงษ์ ผกก.ภ.จ.หนองคายทราบ แล้วรายงานให้ พ.ต.อ.บำรุง สุขพานิช ผกก.ภ.จ.อุดรธานี ทราบตามลำดับ เมื่อคนร้ายได้ให้การรับสารภาพแล้ว จึงนำตัวคนร้ายไปยังบริเวณที่ฝังองค์หลวงพ่อนาค และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ของวัดบ้านกาลืม เมื่อขุดเอาพระพุทธรูปทั้งหมดขึ้นจากดินแล้ว ก็ส่งตัวคนร้ายมอบให้เจ้าหน้าที่เมืองอุดรธานี เพื่อดำเนินคดีต่อไป

เมื่อราษฎรบ้านแวง ได้อาราธนาหลวงพ่อนาคกลับมาที่วัดโพธิ์ชัยศรี นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้ทราบเรื่องการติดตามหลวงพ่อนาค และพระพุทธรูปของวัดบ้านกาลืม และสามารถจับกุมคนร้ายได้ทั้งแก๊ง จึงได้ไปตรวจหลวงพ่อนาค พร้อมกับพระพุทธรูปวัดบ้านกาลืม พร้อมทั้งกล่าวชมเชยในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ติดตามพระพุทธรูปคืนมาได้ โดยใช้เวลาเพียง 15 วัน ด้วยเหตุนี้ ทางอำเภอบ้านผือ ทั้งทางราชการและประชาชน ได้จัดงานฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร ชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ได้อาราธนาหลวงพ่อนาคแห่ไปรอบอำเภอบ้านผือ เพื่อเป็นสิริมงคลต่อไป

หลังจากแห่รอบเมืองแล้ว ชาวบ้านแวงก็ปรึกษากันว่า คงจะทำพิธีบายศรี (ทำขวัญ) ถวายแด่องค์หลวงพ่อนาค เพราะเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ทันใดนั้นเอง หลวงพ่อนาคได้นิมิตเข้าสิงคุณโยมพ่อตุ๊ (นายทูล คำน้อย) ซึ่งไม่เคยเป็นคนทรงมาก่อน แต่เป็นผู้ที่ปรนนิบัติดูแลองค์หลวงพ่อนาคในวัด โดยนายทูลทำน้ำมนต์ และทำด้ายสายสิญจน์ผูกข้อมือสวมคอ เพื่อป้องกันศัตรู และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่มากราบไหว้ในเวลานั้น

 

หลวงพ่อนาค ได้ถูกขโมยไปถึง 4 ครั้งแล้ว แต่ด้วยพุทธานุภาพแห่งองค์หลวงพ่อนาค ก็สำแดงปาฏิหาริย์แก่ผู้เคารพเลื่อมใสศรัทธาได้ประจักษ์ ทุกครั้งที่ถูกขโมยไป ก็จะได้กลับคืนมา เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนสืบไป


 
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
  ในอดีตบ่อน้ำนี้เคยแห้งมาแล้ว 4 ครั้ง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2472, ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2481, ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2503 และครั้งที่ 4 พ.ศ. 2520

เหตุที่น้ำในบ่อแห้งเชื่อกันว่ามีสตรีนำผ้าถุง (ผ้าซิ่น) ไปวางไว้ขอบบ่อน้ำ

ทองสุวรรณอาจารย์รักษ์(บวชเป็นพระ พ.ศ.2520) เคยเห็นเหตุการณ์เล่าว่าก่อนที่น้ำในบ่อจะแห้งหมดจะมีเสียงดังอยู่ใต้ก้นบ่อพร้อมกับมีน้ำกระเซ็นขึ้นมาปากบ่อจึงเดินเข้าไปส่องดูในบ่อเห็นเป็นฟองเหมือนผงซักฟอกลอยอยู่บนน้ำสักครู่หนึ่งก็จะหายไป

รุ่งเช้าน้ำในบ่อก็หมดน้ำในบ่อแห่งนี้ปกติจะไม่แห้งถ้ามีผู้ทำผิดน้ำจะแห้งเมื่อน้ำในบ่อแห้งจะมีพิธีไปขอน้ำในลำห้วยกลางทุ่งนาซึ่งชาวบ้านจะนำดอกไม้ธูปเทียนมารวมตัวกันโดยผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านจะกล่าวขอขมาลาโทษสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายต่อจากนั้นทุกคนจะไปตักน้ำในลำห้วยมาคนละขันเทลงไปในบ่อวันรุ่งขึ้นจะมีน้ำมาอยู่ระดับเดิม

ภายในบ่อมีศิลาดาดที่ก้นบ่อเป็นโพรงลึกเข้าไปประมาณ 3 เมตรโดยรอบมีรูใหญ่ๆพอคนคลานเข้าไปได้ 2 รูรูหนึ่งตรงไปหาพระประธานที่ศาลาการเปรียญอีกรูหนึ่งตรงไปทางกุฏิเจ้าอาวาสด้านทิศตะวันออกไปทางลำห้วยกลางทุ่งนาประมาณ 1 กิโลเมตรเศษพอเห็นได้ว่าเวลาครุ (ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ทาด้วยขี้ชันน้ำมัน) หรือกระแป๋งตักน้ำตกลงไปในบ่อถ้าใช้ไม่หยั่งลงไปก้นบ่อค้นหาก็หาพบไม่

ต่อมามีคนหาปลาที่ลำห้วยเจอกระแป๋งนี้จึงสันนิษฐานว่ารูก้นบ่อต้องยาวไปถึงลำห้วยแน่กระแป๋งของคนนั้นจึงมาอยู่ที่ลำห้วยได้ลำห้วยนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า "กุด" มีผีนาคเงือกเฝ้ารักษาเหล็กไหลอยู่ชาวบ้านเรียกผีนาคเงือกว่า "ปู่หมอน" เคยทำให้เด็กที่เป็นลูกพ่อแม่เดียวกันครอบครัวเดียวกันจมน้ำตายวันเดียวกัน 3 คนมาแล้วศพไหลขึ้นไปทางเหนือน้ำ

                ปีพ.ศ. 2509 พระอาจารย์สว่างอยู่กับวัดโพธิ์ชัยศรีได้นิมิตว่ามีผู้มาบอกให้ไปเอาเหล็กไหลในล้ำห้วยนั้นฝันคืนหนึ่งก็ยังไม่ไปเอาฝันคืนที่สองก็ไม่ไปเอาฝันคืนที่สามอีก

เมื่อพระอาจารย์สว่างฝันติดต่อกันหลายคืนเช่นนี้คิดว่าเจ้าของเหล็กไหลคงจะให้จริงๆจึงได้กล่าวความฝันให้พ่อตาตุ๊ฟังแล้วจึงชวนพ่อตาตุ๊ไปด้วยเมื่อตกลงไปกันแล้วก็เตรียมเครื่องมือไปทำพิธีพอทำพิธีขอเสร็จแล้วพระอาจารย์สว่างจะเป็นผู้ลงไปเอาพ่อตาตุ๊จึงเอาสายสิญจน์ใหญ่ผูกเอาไว้หากพระอาจารย์สว่างดำลงไปขึ้นไม่ได้อาจติดอยู่ในโขดหินในถ้ำนั้นจะได้ช่วยดึงออกมาได้ไม่ให้สายสิญจน์ขาดแล้วพระอาจารย์สว่างก็ดำลงไปในล้ำห้วยนั้นแล้วก็มุดดำน้ำลงไปภายใต้แผ่นหินใหญ่เป็นโพรงเข้าไปซึ่งเมื่อดำลงไปอยู่ชั่วอึดใจหนึ่งก็ได้เอาใส่มือให้เลยพระอาจารย์สว่างก็ดำลงไปใหม่เป็นครั้งที่สองเมื่อโผล่ขึ้นมาก็ได้เหล็กไหลขึ้นมา 4 ก้อนก้อนหนึ่งพระอาจารย์สว่างกลืนกินส่วนเหล็กไหลอีก 3 ก้อนเอาใส่ห่อผ้าเช็ดหน้าแล้วพากันเดินกลับวัดขณะเดินทางกลับมาวัดจวนจะถึงวัดอยู่แล้วพระอาจารย์ขึ้นว่าสว่างพูด "ถ้าเราเอาไปขายคงได้หลายเงิน"

อะไรพอพูดจบไม่รู้ มาแย่งเอาเหล็กไหลไปจากมือจนพระอาจารย์สว่างร้องไห้เสียงดังพอลุกขึ้นได้ก็จะวิ่งไปที่ลำห้วยโน้นอีกพ่อตาตุ๊ได้คว้าข้อมือพระอาจารย์สว่างเอาไว้แล้วก็นำตัวมาที่ศาลาวัดโพธิ์ชัยศรี

ขณะนั้น พระอาจารย์ตาอยู่ในโบสถ์จำวัดได้ยินเสียงร้องไห้จึงเปิดประตูออกมาดูพอทราบเหตุถึงได้ทำน้ำมนต์รดให้พระอาจารย์สว่างค่อยหายเป็นปกติแล้วท่านก็ว่าพูดขึ้น "ผีจะหลอกเอาไปกินตอด"

ส่วนเหล็กไหลที่พระอาจารย์สว่างกินเข้าไปนั้นได้ทะลุออกกลางกระหม่อม (ศีรษะ) ในต่อเวลามา

สำหรับพระนาคปรกหน้าตักกว้าง 12 นิ้วสูง 12 นิ้วสันนิษฐานว่าสร้างด้วยหินศิลานั้นเพื่ออำพรางองค์จริงที่เป็นทองสำริด

ก่อนที่จะสร้างพระนาคปรกขึ้นด้วยทองสำริดต้องมีการจำลองแบบขึ้นก่อนโดยมีการแกะพระนาคปรกด้วยหินมาก่อนจากนั้นนำพระนาคปรกหินศิลาเป็นตัวอย่าง

ชาวบ้านแวงทุกคนนับถือพระนาคปรกมาก เพราะเคยถูกขโมยไปแล้วถึง 4 ครั้งแต่ในแต่ละครั้งก็ได้กลับคืนมาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนักรูปองค์นี้เนื่องจากพระพุทธมีพุทธลักษณะสวยงามน่าเลื่อมใสพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิอยู่ในหงายพระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนกันบนพระเพลามีพญานาคแผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียรโดยเฉพาะพระพักตร์มีความละเมียดละไมค่อนข้างจะยิ้มนิดๆตามแบบพุทธลักษณะของพระปางนาคปรกด้วยเหตุนี้ชาวบ้านต่างพากันขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้กันว่า "หลวงพ่อนาค" ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัยศรี

 นายทูล คำน้อยชาวบ้านแวงตำบลบ้านผือชาวบ้านรู้จักกันในนามของคุณโยมพ่อตุ๊ซึ่งเป็นผู้ทราบเรื่องราวความเป็นมาของหลวงพ่อนาคดีกว่าใครเพราะได้รับทราบจากคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าๆได้ถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตว่าเดิมที่วัดโพธิ์ชัยศรีแห่งนี้เป็นป่าดงพงชัฏเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยนานาชนิดหนาทึบเต็มไปหมดไม่มีใครทราบว่าเคยเป็นวัดก่อนมา

ราวปีครั้น พ.ศ. 2100มีชาวบ้านจากเมืองพานที่อยู่ห่างจากบ้านแวงราว 7-8 กิโลเมตรได้เดินทางมาล่าสัตว์ตรงบริเวณเชิงเขาที่ตั้งพระพุทธบาทบัวบกอำเภอบ้านผือโดยมีนายสีกับนายแสนเป็นหัวหน้าพอมาถึงตั้งสถานที่วัดโพธิ์ชัยศรีแห่งนี้สมัยนั้นยังเป็นป่าใหญ่มีต้นไม้หนาทึบพวกพรานล่าสัตว์ได้พากันเดินเข้าไปใกล้ๆเพื่อดักยิงฝูงนกและสัตว์ป่าที่มีอยู่มากมายเผอิญได้พบพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่งมีขนาดหน้าตักราว 4 ศอกสูงราว 6 ศอกสันนิษฐานกันว่าคงสร้างจากเกสรดอกไม้และว่าๆนต่าง (ขณะนี้ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาการเปรียญวัดโพธิ์ชัยศรี) ทำให้พวกพรานล่าสัตว์ต่างสันนิษฐานว่าสถานที่แห่งนี้คงเคยเป็นมาวัดก่อนจึงเดินออกจากพระพุทธรูปองค์ใหญ่ไปรอบๆบริเวณก็ได้พบใบเสมาที่สกัดจากหินดาดทั้งแท่งที่ใกล้ๆใบเสมายังมีพระพุทธรูปนาคปรกอีก 2 องค์มีขนาดหน้าตักกว้าง 12 นิ้วสูง 12 นิ้วเท่ากันทั้งคู่

                นายสี กับ นายแสน ผู้เป็นหัวหน้านายพรานได้ปรึกษากับคณะว่าสถานที่แห่งนี้มีบ่อน้ำดื่มน้ำใช้อุดมสมบูรณ์อีกทั้งยังเป็นที่ราบสม่ำเสมอผิดกับหมู่บ้านที่อยู่เชิงเขาสมควรที่จะอพยพมาตั้งถิ่นฐานบ้านช่องอยู่ตามแถวนี้ภายหลังจากตกลงเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้พาครอบครัวและชักชวนพรรคพวกมาอยู่ด้วยชั่วระยะเวลาไม่นานก็กลายเป็นชุมชนย่อมๆขนาด 100 หลังคาเรือนเศษ

ราวครั้น พ.ศ. 2129หมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีวัดที่ใช้ประกอบพิธีประจำหมู่บ้านชาวบ้านทั้งหมดต่างปรึกษาหารือกันที่จะสร้างวัดโดยได้พากันไปตัดไม้มาถากเป็นเสาเลื่อยเป็นฝาใช้หญ้าคามุงหลังคาพอกันแดดกันฝนประกอบเป็นอุโบสถชั่วคราว

แต่ตอนแรกวัดโพธิ์ชัยศรีมีแต่พระพุทธรูปขนาดใหญ่ (หลวงพ่อองค์ตื้อ) และหลวงพ่อนาคเท่านั้นโดยไม่มีพระภิกษุและสามเณรมาจำพรรษาจึงมีสภาพไม่ต่างกับวัดร้างถึงกระนั้นในวันสำคัญทางศาสนาชาวบ้านก็ยังศรัทธามากราบไหว้พระที่วัดแห่งนี้อยู่เสมอเช่นในวันสงกรานต์ของทุกปีจะนำน้ำอบมาสรงน้ำพระพุทธรูปเป็นสิริมงคลโดยมีหลวงพ่อองค์ตื้อเป็นองค์ประธานร่วมด้วยหลวงพ่อนาคเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวบ้าน

ปีพอ พ.ศ.2134 ถึงมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาบ้างโดยชาวบ้านได้ร่วมใจกันสร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่งเพื่อเป็นที่จำพรรษาของพระสงฆ์แต่ในระยะนั้นชาวบ้านยังคงเข้าใจว่าหลวงพ่อนาคเป็นเพียงพระพุทธรูปธรรมดาไม่ต่างจากพระปฏิมากรที่สร้างขึ้นแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการบูชาเป็นพุทธานุสติเท่านั้นจึงไม่ได้เอาใจใส่ในการรักษาเท่าใดนัก


บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;