ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เพลงธรรม ทะเลใจ ให้ข้อคิดดีๆ  (อ่าน 20226 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เพลงธรรม ทะเลใจ ให้ข้อคิดดีๆ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2012, 09:41:33 pm »
0
เพลง... ทะเลใจ
ศิลปิน... คาราบาว

เหมือนชีวิตได้ผ่านเลยวัยแห่งความฝัน
วันที่ผ่านมาไร้จุดหมาย
ฉันเรียนรู้เพื่ออยู่เพียงตัวและจิตใจ
เป็นมิตรแท้ที่ดีต่อกัน

เหมือนชีวิตผันผ่านคืนวันอันเปลี่ยวเหงา
ตัวเป็นของเราใจของใคร
มีชีวิตเพื่อสู้คืนวันอันโหดร้าย
คืนที่ตัวกับใจไม่ตรงกัน

คืนนั้นคืนไหน ใจแพ้ตัว
คืนและวันอันน่ากลัวตัวแพ้ใจ
ท่ามกลางแสงสีศิวิไลซ์
อาจหลงทางไปไม่ยากเย็น

คืนนั้นคืนไหน ใจเพ้อฝัน
คืนและวันฝันไปไกลลิบโลก
ดั่งนกน้อยลิ่วล่องลอยแรงลมโบก
พออับโชคตกลงกลางทะเลใจ

ทุกชีวิตดิ้นรนค้นหาแต่จุดหมาย
ใจในร่างกายกลับไม่เจอ
ทุกข์ที่เกิดซ้ำ เพราะใจนำพร่ำเพ้อ
หาหัวใจให้เจอก็เป็นสุข

คืนนั้นคืนไหน ใจแพ้ตัว
คืนและวันอันน่ากลัวตัวแพ้ใจ
ท่ามกลางแสงสีศิวิไลซ์
อาจหลงทางไปไม่ยากเย็น

คืนนั้นคืนไหน ใจเพ้อฝัน
คืนและวันฝันไปไกลลิบโลก
ดั่งนกน้อยลิ่วล่องลอยแรงลมโบก
พออับโชคตกลงกลางทะเลใจ

ทุกชีวิตดิ้นรนค้นหาแต่จุดหมาย
ใจในร่างกายกลับไม่เจอ
ทุกข์ที่เกิดซ้ำ เพราะใจนำพร่ำเพ้อ
หาหัวใจให้เจอก็เป็นสุข

ทุกข์ที่เกิดซ้ำ เพราะใจนำพร่ำเพ้อ
หาหัวใจให้เจอก็เป็นสุข

!

   "ทะเลใจ" กับ หัวใจที่ยังแสวงหา
ผมเชื่อว่าหลายท่านคงคุ้นเคยกับเพลง “ทะเลใจ” ของคาราบาว โดยส่วนตัวแล้ว, ผมคิดว่าทั้งเนื้อร้องและทำนองของเพลงนี้ขึ้นชั้นอมตะทางดนตรีไปเรียบร้อยแล้ว ปีนี้คาราบาวครบรอบ 25 ปีครับ อย่างไรก็ดีก็ถือว่าครบรอบ 15 ปี ของเพลงทะเลใจ ด้วย เพลงนี้แต่งเนื้อร้องและทำนองโดย ยืนยง โอภากุล หรือแอ๊ด คาราบาว ผมจำได้ว่าฟังเพลงนี้ครั้งแรกสมัยเรียน ม.5 ด้วยติดใจในท่วงทำนองมากกว่าเนื้อหาของเพลง

    อาจกล่าวได้ว่าทะเลใจเป็นเพลงที่มาพร้อมกับเหตุการณ์ทางการเมือง เพราะหลังพฤษภาทมิฬปี 2535 น้าแอ๊ดแกก็ออกอัลบั้มที่ชื่อ พฤษภา เพลงของคาราบาวในทุกยุคทุกสมัยจึงสะท้อนอะไรบางอย่างภายในสังคมของเรา ลองย้อนกลับไปดูตั้งแต่ชุดวณิพก ผมเริ่มฟังเพลงคาราบาวครั้งแรกเมื่อปี 2527 ในชุด Made in Thailand และทุกครั้งที่ผมฟังเพลงคาราบาวผมมักนึกถึงใครคนหนึ่งที่ได้จากผมไปแล้ว

   ตลอดระยะเวลาสิบห้าปี เพลงทะเลใจยังถูกนำมาร้องใหม่อยู่เสมอ เช่น งานของนรีกระจ่าง (2536) หรือ งานของป๊อด โมเดอร์นด๊อก (2550) ผมคิดว่า “ทะเลใจ” น่าจะเป็นตัวแทนของชีวิตช่วงหนึ่งที่กำลังแสวงหาอะไรบางอย่าง

     ผมว่ามนต์เพลงคาราบาวมีเสน่ห์แบบบ้านๆ ดีครับ ด้วยท่วงทำนองที่ขึงขังแต่ละมุนละไมในบางครั้ง หรือ เนื้อหาที่ดุดันแต่แฝงไปด้วยสารบางอย่างที่ต้องการจะสื่อ ทำให้เพลง “บาว” คล้ายบทสวดมนต์ของนักแสวงหาไปโดยปริยาย และด้วยวัยที่โตขึ้น ผมค่อยๆศึกษาถ้อยคำบางคำที่ปรากฏในเนื้อเพลงทะเลใจ และสิ่งหนึ่งที่ผมพบ คือ ถ้อยคำเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการค้นหาตัวตนตลอดจนเป้าหมายบางอย่างของมนุษย์ตัวเล็กๆอย่างเราๆ

    ใช่แล้วครับ ! ชีวิตเล็กๆของมนุษย์แต่มักคิดเรื่องราวใหญ่โตอยู่เสมอ และแทบจะเป็นสูตรสำเร็จเลยก็ว่าได้ที่เรามักผิดหวังหรือพ่ายแพ้ทางความรู้สึก ย้อนมองจากประวัติศาสตร์อันใกล้โดยมี “คนเดือนตุลา” เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจในเรื่องของ “เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน” หรือแม้กระทั่งย้อนไปไกลเมื่อสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ภายใต้กลุ่มคนหนุ่มที่ขนานนามตัวเองว่า “คณะราษฎร” ก็ถือเป็นกรณีคลาสสิคของมนุษย์เล็กๆที่คิดการใหญ่โดยจะอยากเปลี่ยนแปลงสังคม อยากสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับแผ่นดินเกิด แต่ท้ายที่สุดคนหนุ่มเหล่านี้ล้วนต้องมาฆ่าฟันกันเองเพื่อแย่งสิ่งที่เรียกว่า “อำนาจ” เพียงอย่างเดียว ประวัติศาสตร์ได้สอนให้เรารู้ว่ามนุษย์มักพ่ายแพ้ต่ออำนาจ เงินตรา กิเลสตัณหา หรือแม้กระทั่งความรัก แต่ที่สำคัญคือ แพ้ใจของตนเอง ครับ และนี่เองที่น้าแอ๊ดแกสรุปได้ดีว่า “ฉันเรียนรู้เพื่ออยู่ เพียงตัวและจิตใจ เป็นมิตรแท้ที่ดีต่อกัน”

    เนื้อหาใน “ทะเลใจ” กล่าวถึง การปรับสมดุลในการใช้ชีวิตด้วยการประนีประนอมอารมณ์ของโลกแห่งความฝันให้เข้ากับสภาพของความเป็นจริงที่เผชิญอยู่ สังเกตได้จากท่อนที่ว่า “คืนนั้นคืนไหน ใจแพ้ตัว คืนและวันอันน่ากลัวตัวแพ้ใจ ท่ามกลางแสงสี ศิวิไลซ์ อาจหลงทางไปไม่ยากเย็น คืนนั้นคืนไหนใจเพ้อฝัน คืนและวันฝันไปไกลลิบโลก ดั่งนกน้อยลิ่วล่องลอยแรงลมโบก พออับโชค ตกลงกลางทะเลใจ” ผมเคยตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้จากการอ่านหนังสือของอาจารย์เสก (เสกสรรค์ ประเสริฐกุล) ตั้งแต่ ฤดูกาล , ดอกไผ่ , มหาวิทยาลัยชีวิต , เดินป่าเสาะหาความจริง,เร่ร่อนหาปลา , เพลงเอกภพ มาจนกระทั่ง วันที่ถอดหมวก มีบางอย่างที่ผมสังเกตเห็นคือ เมื่อครั้งวัยหนุ่มสาว ,ความตั้งใจของมนุษย์มักต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมที่เป็นอยู่ให้เข้าสู่สังคมอุดมคติแต่เมื่อเติบใหญ่ขึ้นความตั้งใจเหล่านั้นกลับค่อยๆหดหายลดทอนไปพร้อมๆกับกำลังวังชาตามวัย หากแต่สิ่งที่ได้มาจากบาดแผลที่เจ็บปวด คือ การเรียนรู้ที่จะเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ โดยเฉพาะเป็นมิตรกับตัวเอง เลิกทะเลาะกับตนเองเสียทีรวมไปถึงรื่นรมย์ไปกับโลกที่มันเป็นอยู่

    ผมนึกถึงอีกท่อนหนึ่งที่ว่า “ทุกชีวิตดิ้นรน ค้นหาแต่จุดหมาย ใจในร่างกายกับไม่เจอ ทุกข์ที่เกิดซ้ำเพราะใจนำพร่ำเพ้อ หาหัวใจให้เจอก็เป็นสุข” เนื้อหาท่อนนี้มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องของ “เซน”

    ผมเชื่อเหลือเกินว่าเราทุกคนล้วนมีคำถามอยู่ในใจว่า "เราเกิดมาทำไม?" คำถามแบบนี้เป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา ซึ่งปรัชญาตะวันตกอย่างกรีกได้ตั้งคำถามเรื่องของการมีอยู่ของชีวิตโดย อธิบายถึงเรื่อง “แบบ” ของสิ่งต่างๆ ดังนั้นปรัชญาตะวันตกจึงเชื่อในความสมบูรณ์ของ “แบบ” ขณะที่ปรัชญาตะวันออกกลับกล่าวถึงการละวางตัวตน โดยเน้นไปที่การทำลายอัตตาด้วยวิถีที่ต่างกัน ทั้งนี้การปล่อยวางของโลกตะวันออกนำไปสู่สภาวะที่เรียกว่า “นิพพาน” ด้วยเหตุนี้เองที่วิธีคิดแบบสองโลกนี้จึงส่งผลต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ในแต่ละซีกโลกไม่ว่าจะเรื่องการสร้างสังคม การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ประเพณี ขนบจารีตและความเชื่อที่แตกต่างกัน

    คราวนี้ลองกลับมาย้อนดูที่ตัวเราเองบ้างสิครับ เราจะพบว่ายิ่งเติบใหญ่ ยิ่งพอกพูนอัตตาที่มากหลาย ด้วยเหตุนี้เองโลกตะวันออกจึงเชื่อว่าการสละอัตตาให้หลุดเหลือน้อยที่สุดนั้นเป็นมรรคาของการหลุดพ้นจากความทุกข์ของชีวิต หลายท่านคงเคยได้ยินเรื่องราวของ “มิยาโมโต้ มูซาชิ” จอมดาบไร้สำนักผู้มีตัวตนอยู่จริงในญี่ปุ่นสมัยโชกุนโตกุงาว่า (ประมาณศตวรรษที่ 17) ซึ่ง โยชิคาวา เอญิ นักเขียนชาวญี่ปุ่นได้จับเรื่องราวของเขามาเรียงร้อยใหม่ในรูปแบบนิยายอิงชีวประวัติ ว่ากันว่าหนังสือเล่มนี้มีอิทธิพลต่อคนญี่ปุ่นอย่างมากในการหันกลับมาสร้างชาติอีกครั้งหลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2(หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยโดยอาจารย์สุวินัย ภรณวลัย)จะเห็นได้ว่าสังคมตะวันออกให้ความสำคัญกับปล่อยวางและทำลายอัตตามากกว่าสังคมตะวันตกที่มุ่งหน้าสะสมอัตตา (Ego Accumulation) จึงไม่น่าแปลกใจที่โลกของทุนนิยมจะกลืนกินทุกอย่างแม้กระทั่งตัวและหัวใจของมนุษย์

     ทุกครั้งเมื่อรู้สึกพ่ายแพ้ เหนื่อยหน่าย หรือท้อแท้กับการใช้ชีวิต ลองนึกถึงเนื้อร้องที่ว่า “ฉันเรียนรู้เพื่ออยู่เพียงตัวและจิตใจ เป็นมิตรแท้ที่ดีตลอดกาล” ดูสิครับ ผมว่ามันน่าจะเป็นคาถาชั้นดีที่ทำให้เรารู้สึกปล่อยวางและมีความสุขกับชีวิตอย่างเรียบง่ายโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก

บทความโดยคุณ Hesse004 จาก : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=100175
[/size]
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม