ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความอ่อน กลาง แก่ แห่งอินทรีย์ ๕ ในวิปัสสนา ของอริยบุคคล พระโสดาบัน  (อ่าน 6760 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความอ่อน กลาง แก่ แห่งอินทรีย์ ๕
ในวิปัสสนา ของอริยบุคคล
พระโสดาบันนั้น พระพุทธองค์ ทรงตรัสจำแนกไว้เป็นสามประเภท ตามความ
แก่ กลาง และอ่อน ของอินทรีย์ทั้ง ๕ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา หรือกำลัง
วิปัสสนา แก่ กลาง อ่อน กว่ากัน
พระพุทธองค์ทรงตรัสถึงความอ่อนแก่ แห่งอินทรีย์ทั้งห้า ของพระอริยบุคคล ไว้
ว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีห้า เหล่านี้คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑
สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญิณทรีย์ ๑
เรียงลำดับผู้ได้ โสดาบันปัตติผล ตามความอ่อน กลาง ความแก่ แห่งอินทรีย์ ๕
หรือของวิปัสสนา ดังนี้
มีอินทรีย์ ๕ หรือกำลังวิปัสสนาอ่อน บรรลุ พระโสดาบัน สัตตักขัตตุปรม
เกิดอีก ๗ ครั้ง (สุกขวิปัสสก ผู้บำเพ็ญ วิปัสสนาล้วน มิได้บำเพ็ญฌาน)
มีอินทรี ๕ หรือกำลังแห่งวิปัสสนาปานกลาง บรรลุ พระโสดาบัน โกลังโกละ
เกิดสอง หรือสามตระกูล
มีอินทรี ๕ หรือกำลังวิปัสสนาแก่กล้า บรรลุ พระโสดาบัน เอกพีชี เกิดครั้งเดียว
ผู้ได้บรรลุโสดาบันแล้ว เรียกว่า เป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม ปราศจาก มลทิน เป็นผู้
เห็นธรรมแล้ว ถึงธรรมแล้ว รู้ธรรมแล้ว หยั่งถึงธรรมแล้ว พ้นสงสัยแล้ว ปราศจากคำ
ซักถาม มั่นใจแล้ว ไม่อาศัยคนอื่น ในคำสอนของพระศาสดา
ในพรรษาที่สามนี้ พระอาจารย์สุก ทรงบรรลุพระโสดาบันขั้น ๓ ก่อน คือ สัต
ตักขัตตุปรม(ตรี) ต่อมามีอินทรีย์แก่กล้าขึ้น ทรงบรรลุ ขั้น ๒ คือพระโสดาบัน โกลังโก
ละ(โท) ต่อมาอีกทรงอินทรีย์ แก่กล้าขึ้นอีก ทรงบรรลุโสดาบัน ขั้น ๑ คือ เอกพีชี (เอก)
พระอาจารย์สุก ทรงสำเร็จ พระโสดาบันนั้น ทรงได้มรรค ๑ ผล ๑ อภิญญา ๖
อย่างตรี และนับว่าพระอาจารย์สุก เป็นพระสาวกที่เกิดจากอกพระสัญพัญญูโคดมเจ้า
โดยแท้
มีหลักฐาน ปรากฏใน มุทุตรวัคค์ มหาวารวัคค์ สังยุตตนิกาย, คัมภีร์อภิธัมมัตถ
วิภาวินี และพระคัมภีร์อรรถคาถา กล่าวถึงความอ่อนแก่ของอินทรีย์ ของอริยบุคคล ดังนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อินทรีย์ ๕ คืออะไรบ้าง คือสัทธินทรีย์ ๑
วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอินทรีย์
เหล่านี้แล
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล สม่ำเสมอกันเต็มรอบ
แล้ว บุคคลผู้นั้นก็เป็นอรหันต์
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคา ตติยอันตราปรินิพพายี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคา ทุติยอันตราปรินิพพายี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคาปฐมอันตราปรินิพพายี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคา อุปหัจจปรินิพพายี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคา อสังขารปรินิพพายี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคา สสังขารปริพพายี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นอนาคาอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นสกทาคามี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นโสดาบัน เอกพีชี
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นโสดาบัน โกลังโกละ
โดยที่อินทรีย์ทั้งหลายอ่อนกว่านั้น เป็นโสดาบัน สัตตักขัตตุงปรม

ธรรมที่พระโสดาบันละได้เด็ดขาด
อกุศลกรรมบถ ๑๐ พระโสดาบันบุคคลละได้ ๖ อย่าง คือ ปาณาติบาต ๑
อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑ มุสาวาท ๑ ปิสุณวาจา ๑ มิจฉาทิฎฐิ ๑
อุปกิเลส ๑๖ พระโสดาบันละได้ ๖ อย่างคือ มักขะ ลบลู่คุณท่าน ๑ ปลาสะ ตี
เสมอ ๑ อิสสา ริษยา ๑ มัจฉริยะ ตระหนี่ ๑ มายา เจ้าเล่ห์ ๑ สาไถยะ โอ้อวด ๑
นิวรณ์ ๖ พระโสดาบันละได้ ๑ อย่างคือ วิจิกิจฉา อย่างหยาบ
สัญโญชน์ ที่พระโสดาบันละได้คือ สักกายทิฎฐิ ความเห็นว่ามีอัตตา ตัวตน ๑
วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย (ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) ๑ สีลพตปรามาส ยึดถือใน
ศีลและพรต ในทางงมงาย มีราคะเบาบาง มีโทสะเบาบาง
เมื่อละสัญโญชน์ ๓ ได้แล้ว พร้อมกับการถึงพร้อมด้วย ทัสสนะ หมายถึงการ
เห็นพระนิพพานด้วยโสดาปัตติมรรค เป็นการเห็นครั้งแรกก่อนอริยมรรค อันดับอื่น
พระอริยโสดาบัน อริยสาวก มีชื่อเรียก และอ้างไว้ในภาษาบาลีหลายคำเช่น
๑. ทิฎฐิสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็น
๒.ทัสสนะสัมปันโน ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ
๓.อาคโต อิมัง สัทธัมมัง ผู้ถึงพระสัทธรรมนี้แล้ว
๔.ปัสสติ อิมัง สัทธัมมัง ผู้เห็นพระสัทธรรม
๕.เสกเขนะ ญาเณนะ สมันนาคะโต ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยมรรค ญาณขั้นเสกขะ
๖.เสกขายะ วิชชายะ สมันนาคะโต ผู้ถึงพร้อมแล้วมรรควิชชา ขั้นเสขะ
๗. ธัมมะโสตัง สมาปันโน ผู้มาถึงแห่งกระแสแห่งพระ
ธรรม เรียบร้อยแล้ว
๘. อริโย นิพเพธิโก ผู้มีปัญญาแทงทลุ ขั้นอริยะ
๙. อมตัทวารัง อาหัจจะ ติฎฐติ ผู้ยืนพิงประตูอมตะนิพพาน
องค์ของพระโสดาบัน ๔ อย่างคือ คบหาสัตบุรุษ ๑ ฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ ทำ
ไว้ในใจซึ่งธรรมของสัตบุรุษ ๑ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ อริยสาวกผู้โสดาบัน
ประกอบด้วยธรรม ๔ อย่าง เป็นผู้ไม่ตกไปในอบายภูมิ ๔ คือ นรก กำเนิดสัตว์ติรัจฉาน
เปรตวิสัย ทุคคตินิวิบาต
กระจกเงาส่องธรรม เป็นธรรมสำหรับพระอริยโสดาบันสาวก ใช้ส่องดูตัวเอง
และพยากรณ์ตัวเองว่า เราสุดสิ้นนรกแล้ว เราสุดสิ้นกำเนิดสัตว์ติรัจฉานแล้ว เราสุด

สิ้นเปรตวิสัยแล้ว เราสุดสิ้นทุคคตินิวิบาตแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน ไม่ตกไปในอบาย
โดยธรรมดา เราเป็นผู้ที่จะได้ตรัสรู้ ในภายหน้าแน่นอนแล้ว ธรรมที่ เป็นกระจกส่อง
ธรรมเหล่านี้คือ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบไปด้วย…….
๑. เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสมั่นคงใน พระพุทธเจ้า
๒.เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสมั่นคงใน พระธรรม
๓. เป็นผู้ประกอบด้วย ความเลื่อมใสมั่นคงใน พระสงฆ์
๔. เป็นผู้ประกอบด้วย ศีลที่น่ารักของพระอริยะ ดำเนินไปเพื่อสมาธิ
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายที่เป็นธรรมาทาส คือกระจก
เงาส่องธรรมดังนี้แล ซึ่งอริยสาวก พึงใช้พยากรณ์ด้วยตนเอง


พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
หน้า 65 - 68 เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร

บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเรื่องที่แสดง เนื้อหา ของพระโสดาบัน ตามพระประวัติหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน
นาน  ๆ  ได้อ่านที รู้สึกมีเนื้อหา ที่เรายังไม่ได้อ่านอีกหลายอย่างเลยคะ

  ขอบคุณมากคะ

   :c017: :13:
บันทึกการเข้า

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ถ้าจัดวรรคตอน ย่อหน้า ดี ๆ หน่อย ๆ ก็ดีนะครับ รู้สึกว่าอักษรติดกันไปหมด เน้นคำที่อยากให้อ่านหน่อยก็ดีนะครับ

  ขอบคุณเนื้อหา ครับ

   :25: :c017:
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระโสดาบัน ว่า โดยคู่ ก็มีอยู่สอง นะครับ

  คือ พระโสดาปัตติมรรค

      พระโสดาปัตติผล

                      พระโสดาบัน ห่างจากอบายแ้ล้วครับ

อนุโมทนาสาธุ ครับ


    :s_good:
บันทึกการเข้า