ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร?  (อ่าน 5225 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  ฉักกนิบาต  [๑.  ปฐมปัณณาสก์]
๒.  สารณียวรรค  ๔.  ภัททกสูตร

เล่มที่ 22 หน้าที่ 432 - 435

๔. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ

 [๑๔] ณ  ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว  ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ๑    มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ
    ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็นอย่างไร
    คือ    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
 ๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
 ๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย  ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
 ๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ  ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
 ๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
 ๕. เป็นผู้ชอบคลุกคลีกับคฤหัสถ์  ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
 ๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าหมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ    มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ    เป็นอย่าง
นี้แล
  ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
     ผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ
   
  ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร
   คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
   ๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
   ๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
   ๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
   ๔.เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่
   ๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
   ๖.เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
    ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ  มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างนี้แล

   ภิกษุนี้เรียกว่า  ผู้ยินดีในนิพพาน  ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
   ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
     ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
     ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า    ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
     ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
   ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
   ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
   ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
               ภัททกสูตรที่ ๔ จบ




บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  สัตตกนิบาต 
๕.มหายัญญวรรค  ๖.ทุติยสัญญาสูตร

พระไตรปิฏก เล่มที่ 23 หน้า 77 

       เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า  ‘มรณสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว  ย่อมมีผลมาก  มีอานิสงส์มาก    หยั่งลงสู่อมตะ    มีอมตะเป็นที่สุด‘    เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
       ภิกษุทั้งหลาย  เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหดกลับ  งอกลับ  หมุนกลับ  ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิตอุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่    ขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่เข้าไปในไฟย่อมหดกลับ งอกลับ  หมุนกลับ  ไม่คลี่ออก ฉันใด  ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก  จิตย่อมหดกลับ  งอกลับ  หมุนกลับ  ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต    ฉันนั้นเหมือนกันแล    อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่

      ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก  จิตย่อมไหลไปตามความติดใจในชีวิต  ความเป็นของไม่ปฏิกูลย่อมตั้งอยู่  ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า  ‘มรณสัญญาเรามิได้เจริญแล้ว  คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงไม่มีแก่เรา ภาวนาพละของเรายังไม่ถึงที่’  เพราะฉะนั้น  ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในมรณสัญญานั้น

     แต่ถ้าภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก    จิตย่อมหดกลับ  งอกลับหมุนกลับ  ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต  อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่    ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า  ‘มรณสัญญา    เราเจริญดีแล้ว    คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา  ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’   เพราะฉะนั้น    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในมรณสัญญานั้น

      เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘'มรณสัญญาที่ภิกษุเจริญทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ  มีอมตะเป็นที่สุด'’




บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เหตุการปฏิบัติ คือ
    ภิกษุมีใจที่อบรมแล้วด้วยมรณสัญญาอยู่โดยมาก   

ผลของการปฏิบัติ คือ
        จิตย่อมหดกลับ  งอกลับหมุนกลับ  ไม่ออกไปรับความติดใจในชีวิต 
         อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่   

นี่คือ มรณสัญญา หรือ มรณัสสติ แบบ ปัญญาวิมุตติ
         ภิกษุพึงทราบข้อนี้ว่า  ‘มรณสัญญา    เราเจริญดีแล้ว    คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายจึงมีแก่เรา  ภาวนาพละของเราถึงที่แล้ว’   เพราะฉะนั้น    ภิกษุนั้นจึงเป็นผู้รู้ชัดในมรณสัญญานั้น



 ขอให้ท่านใช้ พิจารณาธรรม และ รำลึก นึกถึงความตาย ทุก ใน 2 ประการ
 คือ เราจักมีชีิวิตอยู่เพียง แต่ ลมหายใจเข้า และ หายใจออก ชีวิตเรามีประมาณเท่านี้ จึงต้องอบรมภาวนาให้มากขึ้น ให้มีอยู่ทุกเวลา ไม่ผลัดวัน ประกันพรุ่งว่า ฉันยังจะมีชีิิวิตอยู่ แล้วจึงค่อยทำ ค่อยภาวนา ค่อยหาเวลา ค่อยหาโอกาส ค่อยได้พบกัลยาณมิตร แท้ที่จริงพระธรรมอยู่ที่ทุกท่าน ได้มุ่งการภาวนากันบ้าง


 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 10:29:05 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

inlove

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เข้าใจตามมากขึ้น คะ แต่ต้องตามอ่านอย่างต่อเนื่องหลายวัน และ หลาย ๆ ครั้ง  ดูเหมือนเป็นธรรมะที่ไม่ใช่ใคร ๆ ทั่วไปจะเข้าใจได้ง่าย นะคะ แต่พระอาจารย์นำมาเสนอแบบจุดที่ควรทราบ รู้สึกน่าติดตามมากคะ

 ขอบคุณพระอาจารย์มากคะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การเจริญ ความตายแบบ เจโตวิมุตติ นั้น ฝึกต่อจากห้องอานาปานสติ หรือ ฝึกพร้อมกันได้

ให้ดูในหนังสือ คู่มือ สมถะ การฝึกส่วนนั้นจะมี อุคคหนิมิต ร่วมด้วย

 จึงวิสัยที่จะมากล่าวกับ บุคคลที่ยังไม่ได้ อุปจาระฌาน นะจ๊ะ




บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นพระอาจารย์ ยกพระสูตร จากพระไตรปิฏกมาตอบแล้ว รู้สึกได้เลยว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับในพระไตรปิฏก นั้นมีความสัมพันธ์กันมาก ที่แน่ใจก็คือ พระอาจารย์ต้องศึกษาพระไตรปิฏก ทุกวันแน่ ๆ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?