ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมสาระวันนี้ "อารมณ์กรรมฐาน จำเป็นต้องมีครูคอยสอดส่งและให้คำแนะนำ"  (อ่าน 5708 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระไตรปิฏก เล่มที่ 1 หน้าที่ 134 - 139
วันนี้จะมาตอบโจทย์ ว่าอารมณ์กรรมฐาน นั้นต้องมีครูอาจารย์คอยสอดส่องดูแล เพราะถ้าผู้ปฏิบัติ ๆ ปฏิบัติได้อารมณ์ใดขึ้นมาแล้ว ไม่ได้แจ้งส่งอารมณ์ ( ปรึกษา ) ก็จะเกิดข้อผิดพลาดที่ร้ายแรงได้หลายประการ ถึงแม้ท่านจะตั้งใจ ภาวนาเพื่อพระนิพพาน แล้วก็ตาม แต่มิจฉาทิฏฐิยังมีอยู่ได้ตราบใดที่ยังไม่บรรลุเป็นพระโสดาบัน




            พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  [๑.  ปาราชิกกัณฑ์]
              ปาราชิกสิกขาบทที่  ๓  ปฐมบัญญัตินิทาน
 
               ปาราชิกสิกขาบทที่ ๓
               ว่าด้วยการพรากกายมนุษย์
      เรื่องหมู่ภิกษุผู้เจริญอสุภกัมมัฏฐานกับตาเถนมิคลัณฑิกะ
        [๑๖๒]    สมัยนั้น  พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่  ณ  กูฏาคารศาลา  ในป่ามหาวัน  เขตกรุงเวสาลี  ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน  ทรงพรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนือง  ๆ    แก่ภิกษุทั้งหลาย    โดยประการต่างๆ
      ต่อมา    พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า    “ภิกษุทั้งหลายเราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่ผู้เดียวสักครึ่งเดือน    ใครๆ    อย่าเข้าไปหาเรา    ยกเว้นภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปให้รูปเดียว”
            ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสว่า    “ได้พระพุทธเจ้าข้า”    ไม่มีใครเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค    นอกจากภิกษุผู้นำภัตตาหารเข้าไปทูลถวายรูปเดียว
            ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า    “พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน    ทรงพรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ    แก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการต่างๆ”    แล้วพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายประการ    กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัดเบื่อหน่าย    รังเกียจร่างกายของตน    เหมือนชายหรือหญิงที่เป็นหนุ่มเป็นสาวชอบแต่ง
ตัว    อาบน้ำ    สระเกล้า    มีซากศพงู    ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์มาติดอยู่ที่คอ    เกิดความรู้สึกอึดอัด    เบื่อหน่าย    รังเกียจ    ภิกษุเหล่านั้นจึงฆ่าตัวตายเองบ้าง    ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง    ภิกษุบางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ(๑)    บอกว่า    “ขอโอกาสหน่อยเถิด    ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด    บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน”
   




(๑) สมณกุตฺตโกติ  สมณเวสธารโก  ผู้ทรงเพศคล้ายสมณะ  เพียงแต่ศึกษาธรรม  โกนผม  นุ่งผ้ากาสายะ  ผืน
   หนึ่ง  เอาผืนหนึ่งพาดบ่า  อาศัยอยู่ในวัด  กินข้าวก้นบาตร  ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า  “ตาเถน”  (วิ.อ.  ๑/๑๖๒/
   ๔๓๖)




      ตาเถนมิคลัณฑิกะรับจ้างเอาบาตรและจีวรจึงฆ่าภิกษุมากมาย    ถือดาบเปื้อนเลือดเดินไปถึงแม่น้ำวัคคุมุทา
            [๑๖๓]    เมื่อตาเถนมิลัณฑิกะกำลังล้างดาบเปื้อนเลือดอยู่    ได้มีความกังวลใจเดือดร้อนใจว่า    ไม่ใช่ลาภของเราหนอ    เราไม่มีลาภหนอ    เราได้ชั่วแล้วหนอ    เราได้ไม่ดีหนอ    เราได้สร้างบาปไว้มากที่ได้ฆ่าภิกษุผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม
            ขณะนั้นเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารตนหนึ่ง    เดินมาบนผิวน้ำไม่แตกกระเซ็นกล่าวว่า    “ดีแล้ว  ๆ    ท่านสัตบุรุษ    เป็นลาภเป็นโชคของท่าน    ท่านได้สั่งสมบุญไว้มากที่ได้ช่วยส่งคนที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้ข้ามพ้นทุกข์ได้”
            ครั้นตาเถนมิคลัณฑิกะได้ทราบว่า    เป็นลาภเป็นโชคของเรา    เราได้สั่งสมบุญไว้มากที่ได้ช่วยส่งคนที่ยังไม่พ้นทุกข์ให้ข้ามพ้นทุกข์ได้    จึงถือดาบคมกริบเข้าไปบริเวณวิหารกล่าวว่า    “ใครที่ยังไม่พ้นทุกข์    ข้าพเจ้าจะช่วยให้ใครพ้นทุกข์ได้บ้าง”
            ในภิกษุเหล่านั้น    พวกภิกษุผู้ยังมีราคะ    เกิดความหวาดกลัวขนพองสยองเกล้าส่วนพวกภิกษุผู้ที่ไม่มีราคะ    ย่อมไม่หวาดกลัว    ไม่ขนพองสยองเกล้า
            เวลานั้น    เขาฆ่าภิกษุวันละ    ๑    รูปบ้าง    ๒    รูปบ้าง    ๓    รูปบ้าง    ๔    รูปบ้าง   ๕
รูปบ้าง    ๖    รูปบ้าง    ๗    รูปบ้าง    ๘    รูปบ้าง    ๙    รูปบ้าง    ๑๐    รูปบ้าง    ๒๐    รูปบ้าง ๓๐    รูปบ้าง    ๔๐    รูปบ้าง    ๕๐    รูปบ้าง    ๖๐    รูปบ้าง
               รับสั่งให้เผดียงสงฆ์
            [๑๖๔]    เมื่อครึ่งเดือนผ่านไป    พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น    ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า    “อานนท์    ทำไม    ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนจะน้อยลง”

            ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า    “จริงพระพุทธเจ้าข้า    พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน   ทรงพรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสพรรณนาคุณอสุภสมาบัติเนืองๆ    แก่ภิกษุทั้งหลายโดยประการต่างๆ    และภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า    ‘พระผู้มีพระภาคตรัสสอนอสุภกัมมัฏฐาน    ทรงพรรณนาคุณอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสสรรเสริญการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน    ตรัสพรรณนาอสุภสมาบัติเนือง  ๆ    โดยประการต่าง  ๆ’    จึงพากันประกอบความเพียรในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายประการ    กระทั่งเกิดความรู้สึกอึดอัด    เบื่อหน่าย    รังเกียจร่างกายของตน    เหมือนชายหรือหญิงที่เป็นหนุ่มเป็นสาวชอบแต่งตัวอาบน้ำสระเกล้า    มีซากศพงู    ซากศพสุนัขหรือซากศพมนุษย์    มาติดอยู่ที่คอ    เกิดความรู้สึกอึดอัด    เบื่อหน่าย    รังเกียจ    ภิกษุเหล่านั้นจึงฆ่าตัวตายเองบ้าง    ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง    ภิกษุบางกลุ่มพากันไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะบอกว่า    ‘ขอโอกาสหน่อยเถิด    ท่านช่วยฆ่าพวก
อาตมาทีเถิด    บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’    ตาเถนมิคลัณฑิกะ    รับจ้างเอาบาตรและจีวร    จึงฆ่าภิกษุวันละ    ๑    รูปบ้าง    ฯลฯ    วันละ    ๖๐    รูปบ้าง    ขอประทานพระวโรกาส    ขอพระองค์โปรดตรัสบอกวิธีอื่นที่ภิกษุสงฆ์จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตตผลเถิดพระพุทธเจ้าข้า”
 
           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “อานนท์    ถ้าเช่นนั้นเธอจงเผดียงภิกษุเท่าที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมกันที่โรงอาหาร”

            ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระพุทธดำรัส    แล้วเผดียง(๑) ภิกษุสงฆ์ที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดให้ประชุมที่โรงอาหาร    แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับครั้นถึงแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า    “พระพุทธเจ้าข้า    ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว    ขอพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดทราบเวลาอันสมควรในบัดนี้”
 
            ทรงแสดงอานาปานสติสมาธิกถา
            [๑๖๕]    ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคเสด็จไปที่โรงอาหาร    ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่จัดถวาย    ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    อานาปานสติสมาธิแม้นี้ที่เจริญแล้วทำให้มากแล้ว    ย่อมเป็นสภาพสงบประณีต    สดชื่น    เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข    และทำอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว  ๆ    ให้อันตรธานไป    สงบไปโดยเร็ว    เปรียบเหมือนฝุ่นละอองที่ฟุ้งขึ้นท้ายฤดูร้อน    ถูกฝนใหญ่นอกฤดูกาลให้



(๑) “เผดียง”  คือบอกให้รู้  นิยมใช้ในพิธีกรรมของสงฆ์  เวลาภิกษุสงฆ์จะทำสังฆกรรม  ก่อนจะเริ่มทำสังฆกรรม
   จะมีการเผดียงสงฆ์  คือบอกให้สงฆ์รู้ว่าจะทำอะไร  อย่างไร




อันตรธานไป    สงบไปโดยเร็ว    อานาปานสติสมาธิที่เจริญแล้วอย่างไร    ทำให้มากแล้วอย่างไร    จึงเป็นสภาพสงบประณีต    สดชื่น    เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและทำอกุศลธรรมชั่วร้ายที่เกิดขึ้นแล้ว  ๆ    ให้อันตรธานไป    สงบไปโดยเร็ว
            ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุในธรรมวินัยนี้    ไปสู่ป่าก็ดี    ไปสู่โคนไม้ก็ดี    ไปสู่เรือนว่างก็ดีนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง    ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า(๑)    มีสติหายใจออก    มีสติหายใจเข้า(๒)
 
              อานาปานสติ ๑๖ ขั้น๓
                (๑)    เมื่อหายใจออกยาว    ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
                            เมื่อหายใจเข้ายาว    ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
                (๒)    เมื่อหายใจออกสั้น    ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
                            เมื่อหายใจเข้าสั้น    ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
                (๓)    สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง    หายใจออก
                            สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดกองลมทั้งปวง    หายใจเข้า
                (๔)    สำเหนียกว่า    จะระงับกายสังขาร    หายใจออก
                            สำเหนียกว่า    จะระงับกายสังขาร    หายใจเข้า
                (๕)    สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดปีติ    หายใจออก
                            สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดปีติ    หายใจเข้า
                (๖)    สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดสุข    หายใจออก
                            สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดสุข    หายใจเข้า
                (๗)    สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดจิตตสังขาร    หายใจออก
                            สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดจิตตสังขาร    หายใจเข้า

 


(๑) กำหนดอารมณ์กัมมัฏฐาน
(๒) ตามอรรถกถาวินัยนี้  อัสสาสะ  หายใจออก  ปัสสาสะ  หายใจเข้า  (อสฺสาโสติ  พหินิกฺขมนวาโต.  ปสฺสาโสติ
   อนฺโตปวิสนวาโต.  วิ.อ.  ๑/๑๖๕/๔๔๖)  ส่วนตามอรรถกถาพระสูตร  กลับกัน  อัสสาสะ  หายใจเข้า  ปัสสาสะ
   หายใจออก  (อสฺสาโสติ  อนฺโตปวิสนนาสิกวาโต.  ปสฺสาโสติ  พหินิกฺขมนนาสิกวาโต.  ม.อ.  ๒/๓๐๕/๑๓๖)
๓ ม.ม.  ๑๓/๑๔๑/๙๕-๖,  ม.อุ.  ๑๔/๑๔๗/๑๓๐-๑๓๑,  สํ.ม.  ๑๙/๙๗๗/๒๖๙



          (๘)    สำเหนียกว่า    จะระงับจิตตสังขาร    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะระงับจิตตสังขาร    หายใจเข้า
          (๙)    สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดจิต    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะรู้ชัดจิต    หายใจเข้า
          (๑๐)    สำเหนียกว่า    จะยังจิตให้บันเทิง    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะยังจิตให้บันเทิง    หายใจเข้า
          (๑๑)    สำเหนียกว่า    จะตั้งจิตมั่น    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะตั้งจิตมั่น    หายใจเข้า
          (๑๒)    สำเหนียกว่า    จะเปลื้องจิต    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะเปลื้องจิต    หายใจเข้า
          (๑๓)    สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง    หายใจเข้า
          (๑๔)    สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นความคลายออกได้    หายใจเข้า
          (๑๕)    สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นความดับไป    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นความดับไป    หายใจเข้า
          (๑๖)    สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้    หายใจออก
                        สำเหนียกว่า    จะพิจารณาเห็นความสลัดเสียได้    หายใจเข้า”

            ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
            [๑๖๖]    ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    ทราบว่า    ภิกษุทั้งหลายฆ่าตัวตายเองบ้าง    ใช้กันและกันให้ฆ่าบ้าง    บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ    บอกว่า‘ขอโอกาสหน่อยเถิด    ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด    บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’จริงหรือ”    ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า    “จริง    พระพุทธเจ้าข้า”    พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    การกระทำของภิกษุเหล่านั้น    ไม่สมควร    ไม่คล้อยตามไม่เหมาะสม    ไม่ใช่กิจของสมณะ    ใช่ไม่ได้    ไม่ควรทำ    ไฉนภิกษุเหล่านั้น    จึงฆ่าตัวตายเองบ้าง    ใช้กันและให้ฆ่าบ้าง    บางกลุ่มพากันเข้าไปหาตาเถนมิคลัณฑิกะ    บอกว่า‘ขอโอกาสหน่อยเถิด    ท่านช่วยฆ่าพวกอาตมาทีเถิด    บาตรและจีวรนี้จักเป็นของท่าน’บ้างเล่า    ภิกษุทั้งหลาย    การกระทำอย่างนี้    มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส    ฯลฯ”แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2012, 08:00:11 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
จากพระสูตร ที่นำมาแสดง หากท่านทั้งหลายไม่ได้อ่านรายละเอียดลงมาก็ คงจะยังไม่ทราบสาเหตุในความจำเป็นการสอดส่องดูแล ของผู้เรียนกรรมฐาน

    จากเนื้อเรื่องพระสูตรแสดงให้เห็นว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัสสรรเสริญ อสุภกรรมฐาน ว่าเป็นเครื่องนำออกซึ่งตัณหา ความชอบในรูป พระองค์ทรงตรัสสอนแล้ว ก็เสด็จปลีกวิเวกด้วยความสงบ และสั่งห้ามผู้ใดรบกวนนอกจากผู้ส่งภัตร

    บรรดาภิกษุเมื่อเรียนกรรมฐานแล้ว ก็เจริญอสุภนิมิต จนนิมิตปรากฏ จนกระทั่งมีอารมณ์รังเกียจกายของตนเองแสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติมาถึงระดับได้ อุคคหนิมิต แต่ยังไม่ถึงปฏิภาคนิมิต บรรดาภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นไม่รู้จะปรึกษาอารมณ์กรรมฐานกับผู้ใดต่อ จึงได้รังเกียจร่างกายตนเอง และมีความตั้งใจในการปฏิบัติอย่างแรงกล้า จึงได้สละชีวิตด้วยความเต็มใจ ทั้งฆ่าตัวเอง และ ให้ผู้อื่นฆ่า ด้วยความยินดี

     แต่ความนี้ก็ยังไม่ถึงพระพุทธเจ้า แม้พระองค์จะทราบเรื่องอยู่ก็ไม่ได้แจ้งเรื่องนี้ให้พระพุทธเจ้าทราบเลยในช่วง 15 วันนั้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญที่พระสงฆ์ในยุคนั้นเคารพต่อคำสั่งของพระพุทธเจ้า เป็นอย่างมากถึงแม้จะเกิดเรื่องถึงกับพระภิกษุเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ก็ไม่มีใครเข้าไปแจ้งข่าวนี้แก่พระพุทธเจ้า แม้ผู้นำภัตรไปถวายก็ไม่ได้แจ้ง นับว่าน่าชื่นชมต่อความเคารพของพระภิกษุในสมัยนั้นมาก

     แต่พระสูตรชี้ให้เห็นว่า การปฏิบัติกรรมฐาน โดยไม่รู้วิธีการฝึกแก้อารมณ์หรือไม่มีครูอาจารย์คอยสอดส่องต่อศิษย์อาจจะทำให้ ศิษย์เสีย มรรค เสีย ผล ได้ เพราะ นิมิตที่เกิดเป็นเครืี่องรบกวนจิตใจ เพราะกรรมฐานที่เรียนไว้ไม่ดี ภาวนาแล้วมีอุปสรรค ขาดครูอาจารย์แนะนำย่อมส่งผลร้าย มากกว่าผลดี ภาษาเราง่าย ๆ ก็คือ เป็นบ้า ดังนั้นในสมัยก่อนครูอาจารย์จะอบรมกรรมฐานศิษย์อย่างดี แล้วจึงให้ศิษย์ไปปฏิบัติด้วยตนเอง จึงทำให้ประสบความสำเร็จได้

     ดังนั้น กัลยาณมิตร มีความสำคัญกับการปฏบิติกรรมฐาน เพราะจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติไม่ปฏิบัติ ผิดทาง เสียมรรค เสียผล แต่ต้องเป็น กัลยาณมิตร ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ด้วยนะจ๊ะ

     ข้อสังเกต กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่สอนอสุภกรรมฐานก่อน อานาปานสติ ถึงแม้จะมีลูกศิษย์มาขอเรียน กรรมฐาน อสุภกรรมฐาน โดยตรงครูกรรมฐาน จะไม่สอน อสุภกรรมฐานก่อน แต่จะสอนหลังอานาปานสติ ก็เพราะเยี่ยงนี้ เพราะต้องการให้ลูกศิษย์มีความชำนาญใน นิมิตคือ อุคคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต ของสายกุศลก่อน

     สรุป ท่านทั้งหลาย กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ สอนตามลำดับไม่ตัดลัด ไม่ข้ามตอน ครูอาจารย์ใส่ใจในศิษย์ผู้ปฏิบัติ เพื่อ มรรค เพื่อ ผล เพื่อ พระนิพพาน เป็นแก่นสาร ขอให้ท่านทั้งหลายปฏิบัติไปตามลำดับ เถิด

   เจริญธรรม เจริญพร


    ;)

     
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


   มีผู้สอบถามเข้ามาว่า ทำไมทำภาพลิง และใส่ พระพุทธภาษิต

  อันที่จริงก็ไม่มีอะไร ในภาพนอกจากต้องการสื่อเรื่องการฝึกภาวนา การฝึก การปฏิบัติกรรมฐาน นั้นมีการฝึกฝนอบรมจิต ๆ บางจิตอาจจะซุกซนจับให้อยุ่นิ่งยาก แต่บางจิตที่เสี่ยงหมิ่นเหม่ ที่จะเป็นบ้าได้ก็คือ จิตอุปาทานว่าเราเก่งและประมาท จากในภาพ จะเห็นลิงนั่งห้อยหางที่หน้าผา มองดูแล้วเหมือนลิงจะเก่งมากใ่ช่หรือไม่ แต่ขณะเดียวกัน เจ้าลิงนี้ก็ตั้งอยู่ในความประมาทเพราะเสี่ยงที่จะตกลงไปในภาคพื้นก้นเหวได้ แต่กระนั้นไม่พอเจ้าลิงนี้ก็ยังประมาทนั่งหันหลังให้อีก อาตมาเคยเห็นลิงตกไปแล้วหลายตัวที่ เขาพระฉาย แหมเป็นลิงก็ตกได้นะ ดั่งคำคมคารมปราชญ์ว่า สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง แหมแต่นักภาวนากว่าจะรู้ตัว ก็ตายไปเสียแล้ว เกิดแล้วเกิดอีก จะรู้ตัวหรือไม่ คิดดูสิครั้งพุทธกาล พระภิกษุผู้มีศรัทธาเรียนกรรมฐาน จากสำนักของพระพุทธเจ้าโดยตรง ครั้นพระพุทธเจ้าไม่อยู่อารมณ์ที่ได้ก็พาลมาฆ่าตัวตายจ้างคนอื่นให้ฆ่าตัวเองตายเสียนี่ ไม่ใช่แค่องค์สององค์นะ แต่ เป็นสิบ  ๆ นี่สิเรียนกรรมฐานแล้วครูไม่อยู่ ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายก็อย่าตัวประมาทเหมือนเจ้าลิงที่นั่งหน้าผา อาจจะร่วงหล่นจากโขดหินหน้าผาได้

   ดังนั้นจิตที่มิได้ฝึกฝนเป็น จิตที่ประมาท ซุกซนไม่หยุดนิ่ง พิจารณาธรรมไม่ได้ ไม่ควรแก่การงานในวิปัสสนา การฝึกฝนจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นศิษย์กรรมฐาน ก็ต้องเรียนกรรมฐานด้วย ภาวนากรรมฐานด้วย กับกัลยาณมิตร ที่ได้ขึ้นกรรมฐาน และไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาท ขาดสติ  ควรปฏิบัติตามขั้นตอนของพระกรรมฐานอย่างมั่นคง เรียกได้ว่า ไปช้า ๆ ดีกว่าไปเร็ว ไปแล้วได้ผล ไปอย่างมั่นคง อย่างไม่ประมาทนะจ๊ะ

    ดังนั้นทุกท่าน โปรดใส่ใจในพระกรรมฐาน ตามลำดับพระกรรมฐาน อย่าให้เวลามาเเป็นอุปสรรค อย่ามัวแต่อ้างโน่นอ้างนี่ เพราะครูอาจารย์ ไม่ได้อยู่รอเรานานนะจ๊ะ จงมีสติตั้งมั่นในปัจจุบันในการภาวนา ในปัจจุบันให้มาก

     เจริญธรรมที่ถามกันมา





     ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 01, 2012, 02:36:19 pm โดย kira-d-note »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

สงกรานต์

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 10
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ครับอ่านแล้วทราบถึงความสำคัญของครูอาจารย์ กันเลยนะครับ

ยิ่งได้อ่านสมัยครั้งพุทธกาล ภาวนา อสุภกรรมฐาน แล้ว พระภิกษุตัดสินใจฆ่าตัวตาย อย่างนี้รู้สึกว่าเป็นเรื่องเหลือเชื่อเลยนะครับ ผมนึกว่า มีแต่พระโคธิกะเท่านั้นที่ฆ่าตัวตาย เพราะ ฌาน เสื่อม นี่กลับเป็นว่าได้นิมิต แล้วกลับฆ่าตัวตาย เยี่ยงนี้แสดงว่ากรรมฐาน กับ ทิฏฐิ ของพระที่ฆ่าตัวตาย สละชีพกันสมัยนั้นเพื่อพระธรรม ยิ่งเข้าใจกันยากมากขึ้นนะครับ

  สาธุ สาธู สาธุ ได้อ่านบทความที่ดี ๆ เกี่ยวกับการเรียนกรรมฐาน ก็วันนี้นะครับ
บันทึกการเข้า

kira-d-note

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 119
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านแล้วอย่างนี้ ลูกศิษย์ที่ปฏิบัติกรรมฐาน ควรหมั่นแจ้งกรรมฐาน ใช่หรือไม่คะ

 อนุโมทนา ด้วยคะ

 พึ่งทราบ ว่า อสุภกรรมฐาน มีผลร้ายแรง ถ้าภาวนาแล้วแก้อารมณ์ไม่ได้นะคะในครั้งพุทธกาล อ่านแล้วไม่กล้าปฏิบัติ อสุภกรรมฐาน เลย ฝึกอานาปานสติ ก่อนน่าจะดีกว่าคะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12
เรื่องนี้ยังไม่ได้อ่าน ขอบคุณที่คุ้ยมาให้อ่านคะ

 :88:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา