สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 06, 2015, 10:08:39 am



หัวข้อ: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 06, 2015, 10:08:39 am
(http://www.madchima.org/kid/images/forimg58/Pic58-03.jpg)

ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....

   1. การวางจิต ไม่เป็นกลาง
   2. การไม่อธิษฐาน ลำดับขั้นตอน
   3. การย่อหย่อน ความเพียร
   4. การขาดกัลายณมิตร
   5. บารมีไม่เต็ม

     1. การวางจิต ไม่เป็นกลาง 
 
       อันนี้มีความสำคัญเป็นอันดับแรก คุณธรรมเกิดได้เพราะการละ การปล่อยวาง แต่ บางครั้งการต้องการผลสำเร็จอย่างเร็ว หรือให้เกิดทุกครั้งที่ได้ทำนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ใจ ที่ทำไม่ได้ เกิดความท้อแท้ แม้ความลิงโลด ที่ผลเกิดก็ย่อมทำให้เสื่อมลงด้วยเช่นกัน
     
       ดังนั้นการภาวนาที่ควรกระทำ ก็คือ การวางจิตให้เป็นกลาง โดยละความอยากได้ อยากมี อยากเป็นออกเสีย ให้ภาวนาด้วยความรู้สึกว่า เป็นหน้าที่ ๆ ต้องภาวนา ใหละจิตความท้อแท้ หรือ ลิงโลด ในขณะที่ได้ หรือไม่ได้ ในระหว่างที่ภาวนานั้นว่า สักว่าเป็นอารมณ์ ที่เกิดขึ้นในการภาวนา

      ดังนั้นผู้ฝึก ต้องตั้งสติมั่น ในบริกรรม ไม่ว่าสิ่งใดเกิด สิ่งใดไม่เกิด ก็ให้ตั้งมั่นในบริกรรม ขณะนั้น ภาวนาตามบริกรรม จนกระทั่ง จิต กับ บริกรรม เป็นอันเดียวกัน เป็นสิ่งที่เดียวกัน เป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน รวมอยู่ด้วยกัน

      การวางจิต ให้เป็น กลาง มีขึ้นได้ เพราะอาศัย บริกรรม คือ วิตก เช่น พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นต้น

     2. การไม่อธิษฐาน ลำดับขั้นตอน
   
       ส่วนใหญ่ ผู้ภาวนาที่พบมา มักจะคิดว่า ไม่สำคัญในส่วนนี้ แต่ส่วนนี้ เรียกว่า วิจาร ในฝ่ายสมถะ ตราบใดที่ สติ ยังจดจำขั้นตอน คือ ลำดับพระกรรมฐานได้ ตราบนั้น จิต ยังมี วิจาร เกิดขึ้นอยู่ แต่ลำดับกรรมฐานไม่เกิด ก็เพราะว่า การอธิษฐาน มันไม่มี เหตุที่ไม่มี เพราะมันว่างเปล่า จิตว่างเปล่า คือ จิตอยู่เป็นกลางตกข้างฝ่าย อุเบกขาของกิเลส เมื่อจิตถูกฟอกด้วยความเป็นกลางบ่อย ๆ เข้า จิตก็จะเข้าสู่ภวังจิต และไหนลื่นไปตาม ภวังคจิตนั้น ตกข้างฝ่ายอกุศล เพราะควบคุมไม่ได้เป็นไปตามสามัญสำนึกภายใน กึ่งหลับ กึ่งตื่น กึ่งฝัน ผสมผเส กลายเป็น จิต ที่ไม่เอาอะไร

      จิตที่ไม่เอาอะไร ก็คือ จิตที่ไม่พร้อมทำงาน ใด ๆ ไม่ว่า จะเป็น วิปัสสนา หรือ ใด ๆ ก็คือจิตที่พร้อมเปรียบเสมือนคนที่นอนหลับ แต่หลับในสภาวะตกภวังคจิต

       ดังนั้น ปฏิปักษ์ การตกภวังค์ ต้องอาศัย วิจาร คือ การอธิษฐานลำดับ พระกรรมฐาน ตราบใดที่จิต ( ใจ ) ยังสั่งการงานให้ สำนึกภาวะภายในปฏิบัติตามได้ ตราบนั้น ชื่อ ว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสติภายใน มีสัปชัญญะตื่นอยู่เสมอ การที่จิตมีสภาวะ ตื่นอยู่เสมอนี้ ชื่อ กายานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จัดเป็น สติปัฏฐาน สามประการ

     
     3. การย่อหย่อนความเพียร

      อันนี้ก่อเกิดจากหลายสภาวะ แต่ ที่แน่นอน ก็คือ สภาวะผู้ตื่น ได้หลับไปอีกครั้ง เพราะความหลงลืม ( ขาดสติ ) หลายท่าน มักหลงลืมอารมณ์ ที่เคยเป็นทุกข์ และปรารถนา พ้นจากทุกข์ แต่พอได้รับสภาะสุขสบาย บ่อยครั้งเข้า ก็เลยลืม อุดมการณ์ คือการไม่อยากกลับมาเกิด จะด้วย เรื่องงาน ความรับผิดชอบ สภาวะ ใด ๆ ก็ตาม สุดท้ายก็คือ ไม่ได้กระทำการภาวนาให้ติดต่อ

      สภาวะ ขาดสติ นั้น เป็นสภาวะ ที่ละได้ อยาก ของสัตว์โลก เพราะสัตว์โลก ชอบความสุข มาก ๆ
     
      การไม่ละความเพียร จึงมีสถานเดียว ก็คือ การหมั่นฟังธรรม เพราะถ้าขาดการฟังธรรม เสวนาธรรม การย่อหย่อนความเพียร ก็จะเกิดมากขึ้นไปตามนั้น ดังนั้น เมื่อขาดสติ ก็ต้องประคองด้วยการฟังธรรม ( เป็นหลัก ) ทำไมถึงต้องฟังธรรม ก็เพราะเหตุนี้ ดังนั้นคนที่ฟังธรรม ก็จะมีสติคืนมาบ้าง แต่คนที่ไม่เคยฟังธรรม ก็เพราะอวดดี ไม่ฟัง คนพวกนี้จะขาดสติ และคลายความเพียร ลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่ง วันหนึ่ง ก็ไม่ได้ทำอะไร เลยในการภาวนา  นี่เรียกว่า สว่างมา มืดไป

      4. การขาดกัลยาณมิตร

      เมื่อจิตของคนที่ภาวนาไม่ได้ ประสบกับความทุกข์ สิ่งหนึ่งที่เขาจะทำในขณะนั้น ก็คือการหาเพื่อน เพื่อระบาย หรือ บอกความนัยด้วยสัญญลักษณ์ประการใด ประการหนึ่ง หากเพื่อนกัลยาณมิตร เข้มแข็งในธรรม ก็จะได้สติคืนโดยไว แต่ถ้าหากกัลยาณมิตร ท่านนั้น ก็ขาดเช่นเดียวกัน สิ่งที่ได้ก็คือ ความมืดบอดเพิ่มขึ้น และความฟุ้งซ่าน ก็จะตามมา จนกระทั่ง จับใจความ หาสาระแก่นสารใด ๆ ในสิ่งที่เคยทำมาไม่ได้เลย บางท่านเคยสร้างบุญกุศล ก็จะบ้นเพือพกไปว่า บุญกุศลไม่ได้ช่วยอะไร ? ภาวนา แล้ว ไม่เห็นเจริญอะไร ? นั่นแหละ เรียกว่า สภาวะฟู้งซ่าน สมทบ เพราะขาดกัลยาณมิตร ชี้นำ  ดังนั้นการเลือกกัลยาณมิตร ในระหว่างที่ฟุ้งซ่าน มีความสำคัญมาก
 
      ใครก็ตาม ที่แนะนำเพื่อนให้หยุดภาวนา ลง นั้น เรียกว่า กัลยาณมิตร ที่ทราม เพราะว่า และ แสดงว่า ตนเอง ทรามด้วยผลการปฏิบัติ จึงคอบบอกเพื่อนว่า เว้นวรรค บ้าง พักบ้าง ก็ได้ หยุดซะชั่วคราว หรือ เลิกทำแบบนี้ นั่นเป็นเพราะว่า เธอไม่เคยถึงผลอันงามในการภาวนานั้น และ มีความรู้สึกขี้เกียจอธิบาย ใจความแห่งธรรม เพราะคิดว่า อธิบายไปก็ไม่เข้าใจ กัลยาณมิตร อย่างนี้ใช้ไม่ได้

      ดังนั้นหากถึงเป็นผู้ที่ยังไม่ถึงธรรม ควรกล่าวคำให้กำลังใจ แก่เพื่อน ที่กำลังฟุ้งซ่าน แต่อย่าพูดมากเกินไป เพราะจะทำให้เราฟุ้งซ่าน พระพุทธเจ้าตรัสว่า ให้เว้นจากผู้ฟุ้งซ่าน เพราะผู้ฟุ้งซ่านมักทำให้ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ฟุ้งซ่านตามด้วย


     5. บารมีไม่เต็ม
       สิ่งที่ขาดในบารมี และสำคัญมาก คือ การให้ทาน และ รักษาศีล สองอย่างนี้คือบารมี

     ทำไม จึงทำกรรมฐาน ไม่ได้
        บางท่านเป็นผัว เป็นเมียกัน เสพสมกัน แล้วมานั่งกรรมฐาน มันไม่สำเร็จหรอก การเว้นช่วงเรื่องพวกนี้ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 3 5 7 วัน แต่ถ้าท่านมีเรื่องพวกนี้ กันทุกวัน ถึงแม้ไม่ผิดศีลข้อสาม จิตท่านก็ตกในกามราคะ การจะเข้าล่วง กามฉันทะ นั้นเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นอย่างนี้ควรต้องเว้นวรรคลงเสียบ้าง วันโกน ก่อน วันพระ ควรหยุด ( แนะนำ ) ที่จริงธรรมชาติของสตรี มีเรื่องให้หยุดอยู่แล้ว ดังนั้นท่านต้องคลายเมาในกามราคะลงบ้าง สำหรับ คู่ปฏิบัติที่เป็น ผัว เป็น เมีย กันอยู่ ที่ไม่ก้าวหน้าเพราะเหตุนั้น

        ส่วนคนโสด ก็หยุด สนองอารมณ์ด้วยการไปดู ไปตาม รูปสวย รูปชอบ ลงเสียบ้าง

       ส่วนนี้เป็นรายละเอียด ของส่วนบารมี

      เจริญธรรม / เจริญพร

 


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ พฤศจิกายน 06, 2015, 11:05:21 am
 :25: :25: st11 st12 like1


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: นิรตา ป้อมนาวิน ที่ พฤศจิกายน 06, 2015, 11:08:30 am
ข้อความของพระอาจารย์มีประโยชน์มากค่ะ  :25: st11 like1 thk56


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ พฤศจิกายน 06, 2015, 01:47:21 pm
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ พฤศจิกายน 06, 2015, 02:06:32 pm
 st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤศจิกายน 07, 2015, 07:50:32 am

       ขออนุโมทนาสาธุ ครับ

        ...........ดีครับ...ชื่นชอบพระอาจารย์....เป็นอย่างมาก

               หากมีข้อแนะนำที่ชัดเจน.........ขออาราธนา แสดง

                     

     


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ พฤศจิกายน 07, 2015, 08:44:48 am
เป็นคำแนะนำ ที่ ปฏิบัติตามได้ อย่างเร็ว คะ
รู้สึกว่า ผิดพลาดมากคะ

   st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ พฤศจิกายน 07, 2015, 09:23:40 am
 st11 st12 st12
 เนื้อหาข้อความทางธรรม พระกรรมฐาน ที่นี่ ล้ำค่า เพราะผมคิดว่า ครูอาจารย์ทางกรรมฐาน ที่มาตอบอย่างนี้ น่าจะหาได้ยาก หรือหาไม่ได้เลยครับ และปิดทองหลังพระด้วย ไม่ได้มีอะไรแฝงไว้ ด้วย โลกธรรม 8 อีกต่างหาก


   like1 like1


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ พฤศจิกายน 07, 2015, 09:54:39 am
 thk56 ที่พระอาจารย์ ตอบคำถาม คะ ทางฝั่งโยมเอง ก็มีปัญหาเรื่องการภาวนา คือไม่ค่อยได้มีโอกาสไป คณะ 5 เนื่องด้วยอยู่ไกล หลายร้อยกิโล โอกาสเข้ากรุง มีน้อยคะ กรรมฐาน ดูเหมือนไม่ค่อยจะก้าวหน้า ปี หนึ่ง ไปแค่ 2 - 3 ครั้่ง จะไปก็ต้องอาศัยมี ธุระราชการ ใน กทม

   st11 st12 st12


หัวข้อ: Re: ความเนิ่นช้า ในการภาวนา ที่ไม่สำเร็จ นั้นเกิดจาก.....
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ พฤศจิกายน 07, 2015, 09:55:51 am
อนุโมทนา สาธุ คะ แต่ก็ยังตั้งมั่น ในอานาปานสติ คะ ที่จริงอยากได้ไฟล์เสียงพระอาจารย์ ทั้ง 155 ตอนคะ

  :25: :25: :25: