ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส  (อ่าน 128250 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 10 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


วิสาขบูชา มีความสำคัญ สำหรับชาวพุทธที่นับถือพระพุทธเจ้า เพราะวันนี้จัดว่าเป็นวัน ของพระพุทธเจ้า ที่ประจวบเหมาะ สามประการ นั่นก็คือเป็นวันคล้ายประสูติ วันที่ตรงกับวันตรัสรู้ และ วันเสด็จดับขันธปรินิิพพาน ซึ่งทั้ง สามวันเป็น วันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ) แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้ว วันนี้เป็นวันที่ได้มองเห็น อริยสัจจะความจริง ในญาณทัศนะอีกวันที่ พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงเปิดโลก ด้วยญาณ สามคือ ญาณที่เห็นความเกิดขึ้น ( ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ) ความตั้งอยู่ ( ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ) ความดับไป ( ก็เป็นทุกข์ ไม่เที่ยง ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นของเราเป็นตัวเป็นตนของเรา ) นี่พระพุทธเจ้าพระองค์แสดงธรรม ได้อย่าง อภินิหาร เป็นปาฏิหาริย์ ในการแสดงธรรม บารมีแห่งพระพุทธคุณที่มีต่อสัตว์โลก ที่มีความตั้งใจ ในการไปสู่ ประตูอมตะ คือ พระนฤพาน นั่นเอง
เมื่อระลึกได้อย่างนี้ ควรแล้วที่เรา จะกล่าวสรรเสริญ คุณของพระองค์ พระทรงพระมหากรุณาธิคุณ อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยคำยกย่อง และ สรรเสริญ คุณแห่งพระองค์ ว่า

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺสมฺพุทฺธสฺส
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์ พระองค์นั้น

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ข้าพเจ้า ถือเอา พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ( ที่ระลึก )
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธมฺมวํโส
( วันนี้วันสำคัญ ขอประกาศคุณของพระพุทธเจ้า อย่างนี้เทอญ )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อย่าประมาท สังขาร มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
« ตอบกลับ #121 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2016, 04:20:51 pm »
0
"โดยนิสัยปกติฉันไปไหน ก็ไม่ได้ไปเที่ยวไปสอนใครต่อใคร ส่วนใหญ่ที่ไปก็จะไปนั่งฟังเสียมากกว่า ที่ไปไหนต่อไหน นั้น ก็เพียงแต่สอนตนเอง อยู่เสมอว่า จงอย่าประมาท สังขารมีเสื่อมไปเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้า ท่านได้ทรงตรัสเตือนไว้ แม่ก่อนจะดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ยังอุตส่าห์เตื่อนเราไว้ว่า อย่าประมาท ฉันคิดถึงคำนี้อยู่เสมอว่า หากไม่มีคุณวิเศษเกิดขึ้น การอุปสมบถของฉัน นี้ก็จักเป็นหมัน เป็นเนื้อนาบุญที่แห้งแล้ง ไม่คู่ควรแก่สักการะอันชนทั้งหลายได้กระทำแล้วด้วยความศรัทธา ที่มาจากหยดเหงื่อแรงงาน ดังนั้นเมื่อคุณธรรม ที่เรียกว่า มรรค ผล และ นิพพาน ยังไม่เกิดแก่ฉัน ๆ จึงไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาทเลย อย่างน้อยก็ควรตั้งมั่นในศีลสิกขาบถ และภูมิแห่งสัมมาทิฏฐิ ที่มุ่งตรงต่อพระนิพพาน เพราะว่า เวลาแห่งอัตภาพที่มีอยู่ตอนนี้จักไม่มีแล้ว เพราะการเกิดอีกเป็นทุกข์ร่ำไป การไม่กลับไม่เกิดเป็นความปรารถนาของฉัน ก่อนที่ทุนคือกายนี้กำลังจะหมดไป และทิ้งไว้แต่เพียงเสบียงคือ พระธรรมอันเป็นสิ่งที่ได้รับมอบมาจากครูอาจารย์ อันเป็นสิ่งที่มีอยู่พอเพียง และเหลือไว้ให้กับคนที่สมควรแก่เสบียงนั้น นั่นก็คือผู้ร่วมเดินทาง ในทางเดียวกัน กับฉัน ดังนั้นแม้คุณธรรมจะยังไม่เกิด กับฉัน เมื่อสิ้นฉันไปแล้ว ท่านที่ร่วมทางกับฉันก็จงใช้ เสบียงของฉันให้ไปสู่เป้าหมายปลายทาง คือ ประตูอมตะ นั้นเถิด......"

ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 31, 2016, 04:33:53 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
จะดีได้อย่างไร เอาแต่คนไร้คุณภาพ มาไว้วัด
« ตอบกลับ #122 เมื่อ: มิถุนายน 05, 2016, 09:02:42 pm »
0
"วันหนึ่งในศาลา โยมมาสนทนาเรื่อง วัด เรื่อง พระ กับฉัน
โยม- เดี๋ยวนี้หาพระปฏิบัติไม่ค่อยจะมี หาพระดี ๆ ก็ยาก เดี๋ยวนี้ วัดก็ไม่ค่อยพัฒนาทางจิตใจ จะหาพระเทศน์ พระสอน พระดี ๆ หายากจังเลย นะท่าน
พระ - อย่างนั้นหรือโยม !
ขณะนั้น เจ้าอาวาสกลับมาพอดี โยมเลยพูดตัดบทสนทนา
โยม - ขอตัวก่อนนะท่าน เดี่ยวไปพบเจ้าอาวาส ก่อนนะ
พระ - ไปพบเรื่องอะไร ?
โยม = ผมจะมาฝากลูกชายให้บวช อยุ่ที่วัดนี้ครับ
เนื่องด้วยรู้จักโยมท่านนี้ มานาน คุ้นเคยกับครอบครัวนี้อยู่ ก็เลยถามโยมไปว่า
พระ - ใช่ลูกชายคนที่ จบ ป.ตรี เป็นหมอใช่ไหม ?
โยม - อ๋อ ไม่ใช่ครับ คนนี้เป็นคนกลาง เรียนไม่จบ ม6 มันเกเร ไม่ได้ทำงาน ทำการอะไร เอาแต่อยู่บ้าน เที่ยวกินเหล้า มั่วสุม ก็เลยอยากให้มาอยู่วัด เพื่อให้ท่านเจ้าอาวาสอบรม ให้มันดีขึ้น หรือ เป็นไปได้ก็ให้พระชี้นำทางธรรมให้ จะได้ บวชไปยาว ๆ เลย ไม่ต้องให้สึกเลยก็ดี นะครับ
พระ - อือ อย่างนั้นเลยหรือโยม ?
การสนทนา จบเพียงเท่านี้
แต่ข้อคิด อยู่ที่ท่านทั้งหลาย จะคิดเห็นกันได้หรือไม่ ?
"



-ขอบคุณภาพประกอบจาก https://pbs.twimg.com

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 05, 2016, 10:27:21 pm โดย patra »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
มุนี ผู้สงบ ผู้ทวนกระแส ผู้ไม่ตามโลก
« ตอบกลับ #123 เมื่อ: มิถุนายน 06, 2016, 12:12:42 pm »
0
"โลก วุ่นวาย ไม่มีจุดจบ เมื่ออยู่ในโลก ก็ต้องแปดเปื้อน ด้วยโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา จุดจบของผู้อยู่ในโลก ก็คือ ความตาย ความเกิด และ ความทุกข์ ดังนั้นเมื่ออยู่ในโลก จึง ต้องพยายามระวังดูใจ และควบคุมไม่ให้ ตัณหา มีมากเกินควร เพราะเมื่ออยู่ในโลก มันจะผูกพัน ด้วยคำว่า รัก ชอบ ชัง พวกพ้อง บริวาร อยู่รอด เอาตัวรอด และอีกสาระพันปัญหา ตามชีวิตสังคม ที่เรียกว่า โลก เมื่ออยู่ในโลก ไม่มีคำว่า ถูก หรือ ผิด เพราะ ถูกก็เป็นผิดได้ ผิดก็เป็นถูกได้ นั่นเอง สัตว์ กับ มนุษย์ เสมอกันอยู่ 3 อย่าง คือ กิน นอน สืบพันธ์ ( ขยายอำนาจ) ดังนั้น วิถีชีวิตของผู้อยู่ในโลก จึงต้องแสวงหา ไปใน 3 เรื่องนี้

โลกลุกเป็นไฟ ด้วยการกระทำ 3 อย่าง มาตั้งแต่เริ่มมี สัตว์มนุษย์ นั่นแหละ ไม่จบสิ้นด้วยการรบราฆ่าฟัน แสวงหา

 มีเพียง นักปราชญ์ บัณฑิต ผู้รักสงบ ที่ล่วงรู้และพยายามออกจากวัฏจักร กิน กาม สืบพันธ์นี้ ในยุคนี้ มีเพียง พระมหาบุรุษ ดั่งเช่นเจ้าชายสิทธัตถุะ ผู้สละจาก วัฏจักรนั้น แล้วแสวงหา การตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระองค์ก็ทรงประกาศ หลักธรรมคำสอน ที่เรียกว่า มรรค ( หนทาง ) ออกจากวัฏจักร นั้น

มุนี ผู้สงบจึงอาศัย วิเวกด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยอุปธิ อันเป็นทางออก ตามที่พระสุคตเจ้า ได้ประกาศไว้ ดังนั้น ทางธรรมจึงไม่อยู่กับโลก ผู้เจริญทางธรรม ชื่อว่า ผู้ทวนกระแส และมีเป้าหมายไปสู่ ความไม่ตาย เพราะไม่ต้องเกิดอีกต่อไป มีเพียง ธาตุขันธ์ ชาติสุดท้ายเท่านั้น ที่ดำรงอยู่ ด้วยการไม่เบียดเบียน ...

พระคาถาที่พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงไว้ ใน อนุโสตสูตร ที่ 5 ดังนี้ว่า
ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมในกามทั้งหลาย ยังไม่
ปราศจากราคะ มีปรกติบริโภคกาม ชนเหล่านั้นแล ถูกตัณหา
ครอบงำแล้ว เข้าถึงชาติและชราบ่อยๆ ชื่อว่าไปตามกระแส
เพราะฉะนั้น ธีรชนในโลกนี้ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้วไม่เสพ
 กาม และไม่ทำกรรมอันเป็นบาป แม้ประกอบด้วยทุกข์ก็
ละกามได้ นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกบุคคลนั้นว่าไปทวน
กระแส นรชนใดแล ละกิเลส ๕ ประการเสียได้ เป็น
 ผู้มีการศึกษาบริบูรณ์ มีความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา ถึงความ
เป็นผู้ชำนาญในจิต มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว นรชนนั้นแล
 นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกว่าผู้มีตนตั้งอยู่แล้ว ธรรมทั้งหลาย
 ที่เป็นกุศลและอกุศล อันบุคคลใดกำจัดหมดแล้ว ถึงซึ่ง
อันตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีอยู่ บุคคลนั้นเป็นผู้จบเวท อยู่จบ
 พรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลก นักปราชญ์ทั้งหลาย
เรียกว่าผู้ถึงฝั่ง ฯ


"


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

ขอบคุณภาพประกอบจากเว็บ https://chaturapoom.files.wordpress.com
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ต่อยอด การเดินจงกรมธาตุ สู่การละกิเลส
« ตอบกลับ #124 เมื่อ: มิถุนายน 13, 2016, 05:05:28 pm »
0
"การกำหนด ธาตุกรรมฐาน มี ต้องเข้าใจด้วยว่า ต้องทำอย่างไร ?
ธาตุ มีอยู่ 4 ลักษณะ
1. ลักขณธาตุ เป็นรูปร่าง สันฐาน รูปแบบ
2.สสัมภาระธาตุ เป็นส่วนประกอบ ของธาตุ เช่น สี ลักษณะน้อยใหญ่ อันเนื่องด้วย ลักขณะธาตุ
3.อารัมมณะธาตุ คุณธาตุที่ถูกนำมากำหนด เป็นอารมณ์อันให้รู้จักธาตุ เมื่อกำหนดได้แล้ว เรียกว่า ธาตุนิมิต หรือ นิมิตรธาตุ
4.สัมมติธาตุ เป็นธาตุที่เป็นสภาวะแห่งกายทิพย์ มี ธาตุเทวดา ธาตุพรหม อันเกิดด้วยอำนาจ แห่งสมาธิ ตั้งแต่ ปีติ สุข เอกัคคตา ขึ้นไป

ดังนั้นในธาตุกรรมฐาน จึงเป็นการกำหนดลักษณะที่ 3 และ ที่ 4 การกำหนด อารัมณะธาตุ อาศัยการคุณแห่งธาตุ ปรากฏในการเดินจงกรมธาตุ ส่วนสัมมติธาตุ ปรากฏเป็นลักษณะ และ นิมิต เพื่อรองรับ การกำหนดธาตุ เพื่อการดับกิลเลส

การกำหนดธาตุ เพื่อการ จบพรมหจรรย์ อาศัย ปริญญา 3
1. ญาตปริญญา กำหนดรู้ว่า นี้เป็นธาตุภายนอก นี้เป็นธาตุภายใน นี้เป็น ลักษณะ กิจ เหตุเกิด  และที่เกิดแห่งธาตุ หมายเฉพาะลงไปตรง ๆ ที่ ขันธ์ ทั้ง 5 หรือ รวมลงเรียกว่า กำหนด นามรูป

2.ตีรณปริญญา กำหนดพิจารณา ธาตุ ด้วยอาการ 42 โดยพิจารณา เป็น อนุโลม ปฏิโลม

3.ปหานปริญญา เมื่อกำหนด ธาตุอาการ 42 แล้ว ญาณความรู้เกิดขึ้นระหว่างการตั้งองค์พิจารณา เมื่อเข้าสู่กระแสญาณ ก็เข้าสู่ความดับกิเลส

 เนื่องด้วยปริญญา 3 เป็น ธรรมที่มีแก่ พระอริยะบุคคล ระดับพระโสดาบันขึ้นไป
     ( เพราะปริญญา 3  ประการนี้ไม่มีแก่ปุถุชน  เขาจึงกำหนดหมายและยินดีปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ และวาโยธาตุ 
(ม.มู.อ.  ๑/๒/๓๑-๓๔) )"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"คนฟุ้งซ่าน ย่อมชักนำแต่เรื่อง ฟุ้งซ่าน และจมปลักอยู่ในกาล มีอดีต และพะวง แต่เรื่องที่ยังไม่มาถึง ผู้ภาวนา ควรละเว้นจากบุคคลที่ฟุ้งซ่าน เพราะถ้าเสพอยู่กับผู้ฟุ้งซ่าน ท่านย่อมฟุ้งซ่านตาม สิ่งทีเห็นได้เลยก็คือ ท่านหยุดการภาวนา ตามบุคคลผู้ฟุ้งซ่าน ดังนั้น ความฉลาดในการภาวนา เป็นสิ่งจำเป็นที่่ท่านทั้งหลายพึงต้องศึกษา และหมั่นแก้ไข ปรับปรุงให้การภาวนาไปสู่ความสำเร็จ ในฐานะที่ควร

อัชเชวะ กิจจะ มาตัปปัง โกชัญญา มะระณัง สุเว
ความเพียรเป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้ ใครเล่าจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้

ดังนั้นผู้ภาวนา หวังมรรค ผล นิพพาน เบื้องสูงไม่พึงประมาท หากท่านทั้งหลาย ตั้งมั่นเพื่อที่จะข้ามจากโอฆะไม่ควรปล่อยลมหายใจที่เข้าหรือออกอยู่นั้น ให้เป็นลมหายใจที่ไม่มีสาระเลย"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อด อยาก ปาก แห้ง แจ้ง แล้ว ซึ้ง ธรรม
« ตอบกลับ #126 เมื่อ: มิถุนายน 17, 2016, 06:13:49 pm »
0


"ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นสิ่งที่ชาวโลก ( ปุถุชน ) ต้องการ แต่สำหรับ มุนี ( ผู้สงบ ) ย่อมมองเห็นสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะสาระแก่นสารของชีวิต ไมไ่ด้อยู่ที่ โลกธรรม 8 แต่หากอยู่ที่การดำรงตน ให้พ้นจากสังสารวัฏ มุนี จึงเดินทาง ด้วยมรรค และอยู่ อย่างวิเวก ชีวิตของมุนี ไม่ได้โรยด้วยกุหลาบ หรือจะสบาย แต่ มุนี ย่อมดำรงตนด้วยวเิวก ที่เหมาะสมแก่อัตภาพ เมื่อมีปัจจัย 4 เกิดขึ้น ก็รับไว้แค่พอเพียง เมื่อไม่มี ก็ประคองใจให้ตั้งมั่น ในธรรม อันเป็นเครื่องชำแหรก ออกจากตัณหา

ฉันเดินทาง ตามเส้นทางของ มุนี แม้การใช้ชีวิต จะอดอยากปากแห้ง แต่ ก็แจ้งแล้วซึ้งธรรม
ดังนั้น ถ้าจะให้เกลือกกลั้ว กับ โลกธรรม 8 เพื่อความอยู่รอด
เราขออดตาย อย่างมุนี ดีกว่า
"


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 17, 2016, 07:25:47 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"งานอะไร หรือ กิจกรรมอะไรก็ตาม ถ้ามีคำว่า ได้ หรือ เสีย งาน หรือ กิจกรรม นั้น ก็เป็นเพียงแต่ งาน หรือ กิจกรรม ประจำวัน ที่ต้องทำเท่านั้น เหมือนการกินข้าว เข้าห้องน้ำ มันเป็นกิจ ที่ต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำมีผลเสีย เจ็บป่วย สุขสบาย อยู่ที่กิจ หรือ งาน ที่ทำ

งาน หรือ กิจกรรม ที่เป็นไปเพื่อ มรรค ผล และ นิพพาน ไม่มีคำว่า ได้หรือเสีย เพราะ อริยะผล วัดผลด้วย โลกธรรมไม่ได้ จึงกล่าวไม่ได้ ว่า การไม่เกิด ก็ดี หรือ การเกิด ก็ดี จะดี หรือ ไม่ดี ก็ไม่ได้ เพราะผู้ไม่เลือกการภาวนา ก็ไม่ใช่ จะดี หรือ ไม่ดี หรือ ผู้ภาวนาจะดีกว่า ผู้ไม่ภาวนา เลยก็ไม่ได้ เพราะอริยะผล นั้นพ้นจากโลก เป็นส่วนเหนือโลก ไม่ประกอบด้วย ดี หรือ ไม่ดี พ้นจากโลกธรรม ที่มีการเปรียบเทียบ

ถ้าอธิบาย สองอย่างรวมกันอย่างเป็นวัตถุ ก็เหมือน ศิลปิน ช่างแกะสลัก หากทำการแกะสลัก เพราะต้องการแลกค่าของ วัตถุคือ เงิน ทอง งานนั้น ให้มีความงามที่สุดเป็นไปไม่ได้ แต่หากศิลปินนั้น แกะสลักด้วย จิตวิญญาณ ที่ต้องการสื่อความงามและฝีมือ ไม่ใช่เพียงหวังแค่คำชม ยกย่อง หรือ ตีค่าเป็นเงินทอง งานนั้นย่อมกระทำได้อย่างดี เพราะเป็นอิสสระ จากเครื่องผูกมัด คือ โลกธรรม นี่เรียกว่า สร้างงานทางด้านจิตวิญญาณ ฉันใด
ฉันนั้น ผู้ภาวนา เมื่อภาวนาก็ต้องพ้นจากโลกธรรม ไม่เป็นผู้ภาวนา เพื่อแสวงหาลาภ สักการะ สรรเสริญ หรือ ยศ เพราะถ้าแสวงหา ก็จะพบกับความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ทุกข์ และ นินทา ดังนั้นผู้ภาวนาจึงต้องถึง จิตวิญญาณ ในความหมายของการภาวนา เพื่อ อริยะผล จริง ๆ นั่นแหละ จึงจะเรียกว่า ภาวนาเหนือโลก"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


   การภาวนา ของพระอริยะ ระดับพระอนาคามี นั้น ต่างจาก คนทั่วไป คือ ท่านไม่ได้ตัดวงจร กิเลส ตรงตัว ทุกข์  คือเริ่มจากอวิชชา หรือ ไปตัดวงจร ที่ ผัสสะ ของอายตนะ แต่ท่านตัดวงจร ของ อัตตา ที่ สังขาร คือ หยุดปรุงแต่ง นั่นเป็นสาเหตุให้ กามราคะ ดับ และ ปฏิฆะ ดับ  คงเหลือ แต่ อวิชชา ที่ต้องเป็น ภาระของ อรหัตตมรรค

   ส่วนใหญ่ ปุถุชน จะสอนให้ควบคุม สติ ที่ อายตนะ ผัสสะ ก่อน เพราะกำลังจิต ไม่เพียงพอ ที่หาญหัก กับ กิเลสดังนั้้น จึงต้องปฏิบัติภาวนาแบบเฝ้า ระวัง 

    เฝ้า ก็คือ สติ  สัมปปชัญญะ ก็คือ ระวัง จนกระทั่ง การเฝ้า ระวัง พัฒนาเป็นคุณธรรม ที่สูงขึ้น

    สำหรับพระโสดาบัน นั้น ให้เริ่มเรียนรู้จาก ทุกข์ แล้ว มาหา สมุทัย อวิชชา
     
    สำหรับ พระอรหันต์ นั้น เริ่มที่เดียวกับพระโสดาบัน แต่ แตกต่างกันตรงที่ว่า การหา สมุทัย นั้น มีกำลัง สุงกว่า

   เจริญธรรม / เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
จงจดจำความสุข ขณะภาวนา ให้แม่น ๆ
« ตอบกลับ #129 เมื่อ: มิถุนายน 23, 2016, 10:42:57 am »
0


"จงจดจำ ความสุขที่ เมื่อได้ภาวนา ยามเมื่ออยู่ต่อหน้าครูอาจารย์ อารมณ์ที่ได้ในขณะนั้น นั่นแหละ คือ ครูอาจารย์ ที่ติดตัวท่าน เพราะว่า ถ้าท่านจำอารมณ์ ที่มีความสุข ขณะนั้น ได้ ท่านจะหาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสุขนั้นได้ หลายคนเป็นทุกข์มา เมื่อมาภาวนาเรียนกรรมฐาน แล้ว ขณะนั้นก็มีความสุข แต่ เมื่อห่างครูอาจารย์ไป แล้ว ท่านก็ละจากการภาวนาไป ความทุกข์ก็กลับมา นั่นเพราะว่า ท่านทั้งหลาย ไม่ทรง สุข แห่งการภาวนา ไว้ นั่นเอง ดังนั้น ถ้าไม่อยากให้จิตใจเป็นทุกข์ ก็จงจดจำ ความสุข ที่ได้ในขณะภาวนา นั้นให้ได้ ไม่จำเป็นต้องจำขั้นตอน เพราะว่า ท่านจะจำกันได้เอง เมื่อระลึกถึงสุขอันประณีต นี้ได้ สุขแรกที่ควรนึกถึง คือ พระพุทธเจ้า เป็นผู้แสดงความสุข และ มอบความสุข พระธรรมเจ้า เป็นหนทาง ถึงความสุข พระสงฆ์ เป็นผู้ช่วยบอกหนทาง แห่งความสุข การระลึกถึง สุข นั้นได้ย่อมเป็นส่วนหนึ่ง ในการทรง ภาวนา ที่งามทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ปลาจะตายหรือไม่ตาย เมื่ออยู่ในข้องเดียวกัน ก็มีค่าเท่ากับปลาที่ตายแล้ว ฉันใด บัณฑิต แม้จะดีงามฉลาดมากเพียงใดก็ตาม เมื่ออยู่ในหมู่ของคนพาล ที่มีความโลภ โกรธ หลง ก็ไม่ต่างอะไรกัน ฉันนั้น ย่อมมัวหมอง ถูกเหมา ว่าเป็นเช่นนั้นเช่นกัน มีแต่เพียงตนเองเท่านั้นที่สามารถระงับจิตใจไม่ให้มัวหมอง ไปตามเสียงและการกระทำที่เกิดเป็นผลกระทบ ที่ตามมา ดังนั้นบัณฑิตจึงควรต้องฝึกฝนจิตใจให้ผ่องใส ด้วยสติ และ สัมปชัญญญะ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้หลงทิศ หลงทาง จมปลักในความชอบ และ ชัง "

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส




หลายครั้ง หลายหน ที่ฉันต้องเป็นปลาเน่าไปกับข้อง ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับ กลุ่มที่เรียกว่า สงฆ์ รวม ๆ เลยอยู่ในป่า อยู่ในเขา อยู่ในที่วิเวก ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ก็เพราะว่า เราเป็นปลาที่อยู่ในข้อง นั่นแหละด้วยกัน ดังนั้นถามว่า เวลามีข่าวว่า พระสงฆ์ไม่ดี ออกมาได้รับผลกระทบด้วยไหม ตอบว่าได้รับ เพราะชีวิตพระสงฆ์อาศัย การเป็นอยู่ด้วยชาวบ้านที่มีจิตศรัทธา มอบปัจจัย 4 ให้ หากชาวบ้านไร้ซึ่งศรัทธา ย่อมมีผลกระทบเกิดขึ้นทั้งทางตรง และทางอ้อม อย่างแน่นอน

 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2016, 01:11:25 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สมาธิ ไม่ได้ทำให้จิตบริสุทธิ์ แต่ทำให้จิตตั้งมั่น
« ตอบกลับ #131 เมื่อ: กรกฎาคม 05, 2016, 12:52:41 pm »
0
"คำถาม จากศิษย์ ถามมาว่า จิตบริสุทธิ์ เพราะสมาธิ หรือ จิตบริสุทธิ์ มีก่อนสมาธิ
ตอบ จิตบริสุทธิ์ มีก่อนสมาธิ ความบริสุทธิ์ไม่ได้เกิดจากสมาธิ และในขณะเดียวกัน ถ้าจิตไม่บริสุทธิ์มาก่อน มาทำสมาธิ ย่อมไม่ได้สมาธิ นั่นหมายความ หากท่านมีจิตฟุ้งซ่าน ด้วยความไม่บริสุทธิ์มาก่อน แล้วพยายามทำ สมาธิ นั้นหมายความไม่มีทางได้สมาธิ จนกว่า จิตของผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ จะทำการปรับภูมิ และ ทิฏฐิ ก่อนทำสมาธิ เพราะสมาธิไม่ได้ให้ความบริสุทธิ์ แต่ให้ให้ความตั้งมั่นในอารมณ์ เดียว ต่างหาก
ดังนั้นหากจิตไม่บริสุทธิ์ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยจิตมาก่อน ก็ต้องปรับภูมิด้วยปัญญา การใช้ปัญญา ก็คือการทำสติ และ สัมปชัญญะ ให้แน่วแน่ในปัจจุบันให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้ อดีต หรือ อนาคต มาเป็นเครื่องขวางทาง การไปสู่สมาธิ นั่นเอง ในบรรดาธรรมทั้งหมดที่เรียกว่า มรรค เริ่มต้น ด้วยการปรับทิฏฐิ ตามด้วยอธิษฐาน และกระทำความบริสุทธิ์ให้เกิดทางกาย ทางวาจา ทางจิต และจบด้วยการทำให้จิต ให้มีความตั้งมั่นในอารมณ์เดียว เพื่อการมองเห็นธรรมตามความเป็นจริง จากธรรมตา ไปสู่ตถตา จากตถตา ไปสู่ สุญญตา จากสุญญตา ไปสู่ การรู้แจ้งประจักษ์ธรรมจริง นั่นเอง
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส



นี่คือ คำตอบที่ว่า ยิ่งฟุ้งสร้าน ยิ่งทำสมาธิ ยิ่งไม่ได้สมาธิ ดังนั้น ต้องแก้ปัญหาให้ถูกต้องก่อน ว่า ความฟุ้งสร้านนั้น เกิดจากอะไร และปรับอย่างไร เพื่อให้ความฟุ้งสร้าน ที่มีอยู่ก่อนสงบลง ดังนั้น ศีล เป็นสิ่งจำเป็น แก่ สมาธิ ปัญญา ก็เป็นสิ่งที่ควรจะมีก่อนสมาธิ นั่นเอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 05, 2016, 01:07:20 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ความสืบต่อ ( สันตติ ) เป็นสิ่งที่เกิดไว มาก สุขเกิด ทุกข์ดับ ทุกข์ดับ สุขเกิด สลับกันไปมา มันไวแต่ จิตก็ไว คัดกรองแยกไว้ ถ้าสุขก็แยกไว้เพื่อ เสพ ถ้าทุกข์ ก็แยกไว้ เพื่อป้องกัน แต่ ถ้าสภาวะจิตที่ฝึกอบรมไว้ แยกไว้ได้ จิต ก็จะไม่ตกข้างฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง เพราะรู้เท่าทัน แต่เพราะว่า จิตไม่ได้ฝึกฝนไว้ พอจิตแยก ทุกข์ ก็ ทุกข์มาก พอ จิต แยกสุข ก็สุขมาก ทุกข์ มาก ก็คร่ำครวญมาก สุข มาก ก็หลงเพ้อฝันมาก จน ทั้ง สุข และ ทุกข์ บดบังความจริงในขณะนั้นว่า ทุกข์ และ สุข ก็ล้วนแล้วแต่ แต่เป็น อนิจจัง และ อนัตตตา

ผูู้ฝึกจิตดีแล้ว ย่อมนำทุกข์ และ สุข ที่แยกมานั้น พิจารณา ตามความเป็นจริง จนเห็นได้ว่า ธรรมดา เช่นนั้นเอง ว่างเปล่า ไม่ผิดไปจากนั้น สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้มีเหตุปัจจัยสิ่งนี้จึงเกิด สิ่งนี้จึงดับ เพราะความที่รู้แจ้งนั้่นเอง สังสารวัฏ จึงไม่มีต่อไป "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 07, 2016, 12:15:15 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ผู้ภาวนา สู่มรรค และ ผล ต้องพ้นจากกาลเวลา
« ตอบกลับ #133 เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 08:22:38 am »
0
"สิ่งที่ คนทนไม่ได้ ก็คือ เรื่องของเวลา เพราะเวลา เป็นสิ่งที่ยาวนานและสั้น ตามสภาวะจิตใจของคน มนุษย์เมื่อเกิดมา ก็มีเวลาที่ถูกกำหนด ให้สั้น ยาว แตกต่างกันไป ตามวิถีบุญบาปกรรมที่ตนสร้างกันไว้ ดังนั้น สิ่งที่มนุษย์ มักทำกันเสมอ ๆ ก็คือการยืดเวลา ให้นาน และ ลดเวลาให้ทันกับตามต้องการของตน จะเห็นได้ว่า มนุษย์ถูกเวลาจัดการกันมา เนิ่นนาน และนานมาก จนต้องกำหนดเวลา เป็น วินาที นาที ชั่วโมง วัน เดือน ปี เป็นต้น ดังนั้นเวลาผู้กำหนดเวลา มาภาวนา จึงเอาเวลาเป็นเครื่องกำหนดในการภาวนา ต้องมีให้เวลา ภาวนา ต้องหาเวลา ภาวนา เมื่อก่อนฉันก็อย่างนั้น พยายามสรรหาจัดสรร เวลา เพื่อให้อยู่การภาวนา

   แต่เมื่อภาวนามาลึก ๆ ปลาย ๆ กับทิ้งเรือ่งของเวลา ทำให้ไม่รู้วันเวลา วันที่ นาฬิกาก็ไม่ต้้ง ปฏิทินก็ไม่เอา เพราะไม่ได้ใช้เวลา เลยจริง ๆ พูดอย่างนี้ คงจะเป็นที่เข้าใจกับท่านทั้งหลายได้ยาก เพราะผู้ภาวนา เมื่อถึงขั้นสูงสุด ย่อมละอดีต ละปัจจุบัน ละอนาคต เพราะมันเป็นข้อบังคับ ในอวิชชาทั้ง 8  ใน 3 ลำดับข้อต้น ดังนั้น เรื่องของเวลา สำหรับผู้ภาวนา แท้ ๆ ไม่มีหรอก เพราะสังสารวัฏ ก็คือ เวลา เมื่อพ้นจากสังสารวัฏ ก็คือ ไม่มีกาลเวลา ทุกอย่างไปสู่ อินฟินิตี้ คือ ไม่รู้จบสิ้น นั่นเอง ......."




ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

 


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"เรามักเชื่อสายตา เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ได้ รสที่ปรากฏ กายที่สัมผัส แต่ไม่ค่อยเชื่อใจ ที่ปรากฏ การทำสมาธิ นั้นต้องอาศัยใจล้วน ๆ ไม่ได้อาศัย อายตนะใดอื่น ๆ เลย สิ่งที่สมาธิ ต้องการคือการดับผัสสะ ทั้ง 5 อายตนะ ให้คงเหลืออายตนะเดียว คือ ธรรมารมณ์ กับ ใจ สมาธิ ให้ผลคือ ใจเดียว มั่นคงในอารมณ์ เป็นหนึ่งเดียว เมื่อใจเป็นหนึ่งเดียว ก็จะเห็น ธรรมารมณ์ ทั้งปวง เป็นอันเดียวกัน ใจรู้ มีเพียงอันเดียว คือรู้จริง แล้วก็ ละวาง  ภาษาในกรรมฐานเรียกว่า ยถาภูตญาณทัศศนะ คือ รู้เห็นตามนั้น ใจเห็นตามนั้น เห็นว่าอย่างไร ?
   
    คงบอกไม่ได้ ว่า เห็นอย่างไร แต่บอกได้ว่า เห็นเพียงอย่างเดียว รู้เพียงอย่างเดียว คือ รู้จริง และ ก็ละวาง ความปรากฏของ ธรรมารมณ์ มีเป็นล้านรูปแบบ แต่ ใจเห็นเพียงอันเดียวเท่านั้น นั่นแหละ เรียกว่า ความจริง เพราะความจริงมีเพียงหนึ่งเดียว ถ้ามีมากเกินหนึ่งไม่ใช่ ของ จริง ดังนั้นท่านทั้งหลาย ควรทำเอกัคคตารมณ์ ให้ปรากฏไปเป็น ความจริง เพียงหนึ่งเดียว นั้นเถิด....
 "


  ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
  บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส


  ดูหยดน้ำที่กระทบกับพื้นน้ำให้ดี เวลาหยดน้ำกระทบกับผืนน้ำ สิ่งที่กระเพื่อม พระลักษณะ สิ่งที่สะท้อนก็คือ พระรัศมี สิ่งที่เปลี่ยนแปลงก็คือ การเคลื่อนไปมาของ พระลักษณะ และ พระรัศมี นั่นก็คือ ปีติ สุข ถ้าใจมองเห็น ปีติ และ สุข อย่างชัดเจน ความเป็นอารมณ์เดียว ก็จะปรากฏ เมื่อปรากฏ ก็จะนำความจริง เพียงหนึ่งเดียวให้ปรากฏด้วย เพราะความจริงไม่อาศัย ใจเข้าไปปรุงแต่ง เพียงแต่เกิดโดยธรรมชาติ และ ว่างจากการรูเห็นที่มีการควบคุม คือ ปราศจากเจ้าของ .......
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 09, 2016, 07:32:42 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"มีคนถามฉันว่า จะเริ่มปฏิบัติธรรมภาวนา ทำอย่างไร ?
ฉันเลยถามกลับไปว่า เริ่มที่ความกตัญญูก่อน ทำได้ไหม ?
ถูกถามกลับว่า ทำอย่างไร ?
ดูแลคนที่รักเรา ก็คือ พ่อแม่ แต่ถึงไม่รักเรา ก็ควรจะต้องดูแล ทุกวันนี้สังคมไทย เริ่มเลียนแบบชาวต่างชาติไปกันมากแล้ว คนไทยเป็นคนอยู่แบบ สกุล ตระกูล ไปมาหาสู่ ดูแลกันจนแก่ จนเฒ่า จนตายจากกันไป แต่คนเมืองกรุง คนทำงานเมืองกรุง กลับทิ้งพ่อแม่ ให้อยู่ตามลำพัง บางคนตายอยู่คนเดียว ทราบข่าวก็อนาถใจ ลูกหลานไม่มาดูแล ส่งเงินให้ใช้ เท่านั้น แต่ก็ไม่เคยถามว่า พอหรือไม่
พ่อแม่บางคน ลูกส่งข้าวของมาให้ แทนที่จะบริโภคเอง กลับมาถวายพระ เออหนอ พระก็ได้ฉันกันไป อันนี้ฟังเพื่อนเล่า แต่ก็สะท้อนให้เห็น ว่าเมืองไทย สิ่งทีชดเชยความรู้สึกของผู้สูงอายุ ก็คือ พระธรรม ดังนั้นคนแก่ คนเฒ่า ก็พยายามมาที่วัด เพราะเงียบเหงา ลูกหลานทอดทิ้งไม่สนใจ บางคนทราบว่า ลูกส่งไปอยู่บ้านพักคนชรา คิดแล้วก็เศร้าใจแทน เศรษฐกิจ บังคับหรืออย่างไร
ดังนั้นใคร ที่ดูแลพ่อแม่ กันอยู่ก็ขออนุโมทนา กุศลด้วยที่ท่านมีพ่อแม่ให้ดูแล ส่วนตัวอาจารย์ไม่ค่อยจะได้รู้จัก พ่อแม่ เท่าไหร่ เพราะตั้งแต่น้อยมา อยู่กับก๋งบ้าง อยู่กับพ่อแม่ ก็ไม่เกินปีสองปี เดี๋ยวก็ต้องไปอยู่กับคนนั้น คนนี้ ดีที่สุดตอนที่พ่อ พาไปทิ้งอยู่วัดดาวเสด็จ บวชเป็นสามเณร อายุ 12 ปี เพราะว่าไม่มีใครรับอุปการะ แล้ว ส่งให้พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อุปการะต่อไป จะว่าโชคดี ก็คือ โชคดี ที่ได้ศึกษาหลักธรรม ได้เจริญกรรมฐาน ได้ฝึกฝนวิปัสสนา นึกแล้วก็ขอบคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูอาจารย์ ทุกวันที่ฉันพยายามทำงานเผยแผ่ แบบ ปิดทองหลังพระ ก็เพือ่บูชาคุณของ พระรัตนตรัย และ ครูอาจารย์ ที่ท่านได้อุปการะ ให้จิตวิญญาณ กับฉัน ให้ฉันรู้ และ ให้ฉันเดิน และมอบ หนทางสู่ การไม่กลับมาเกิด
ขอบคุณ พระรัตนตรัย ที่ช่วยดูแลฉัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ดังนั้นถ้าจะปฏิบัติภาวนา เริ่มต้น ก็คงต้องบอกว่า กตัญญู เป็นคุณธรรมที่ควรจะเริ่มภาวนาก่อน เพราะมันจะทำให้เรา มีความตั้งใจมุ่งมั่น ไปตาม มรรค ผล และ นิพพาน
"
เจริญธรรม/ เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ตอบคำถามสักหน่อย เรือ่ง เมตตาอัปปมัญญา ฝึกแค่ เมตตาอย่างเดียวได้หรือไม่ ?

คำตอบ อ่านกันซะนะ  จะได้เข้าใจให้ถูกต้อง

"เมื่อเจริญ เมตตาอัปปมัญญา เรื่องจะให้โกรธไม่มี เพราะแม้แต่ศรัตรูที่ฆ่าเราอยู่ขณะนี้ ก็ต้องแผ่เมตตตาให้ ถ้าเว้นไว้ ไม่แผ่ให้ก็ออกทิศไม่ได้ เป็น ทิศาผรณา ไม่ได้ ดังนั้นผู้ที่แผ่เมตตาอัปปมัญญ ออกทิศเป็น ทิศาผรณา จึงต้องไม่มีขึดจำกัด เมื่อแผ่ ไม่มีเชือ้ชาติ ศาสนา คนจน คนรวย คนดี คนไม่ดี ดังนั้นผู้ที่ฝึกเมตตาอัปปมัญญา จึงมีจิตเหมือนพรหม พระอนาคามี ก็เรียกว่า พรหม เช่นกัน

ผู้ฝึกทิศผรณา ครูอาจารย์ท่านแนะนำไม่ควรยุ่งกับโลก เพราะคนฝึกเมตตา ไม่สามารถทำร้ายใครได้ นับว่ามีจุดอ่อน ถึงจะมีจุดแข็ง ดังนั้นถ้าฝึก เมตตาอัปปมัญญา อยู่ ครูอาจารย์ จะไม่ให้ออกจากสำนักดจนกว่า จะฝึก อุเบกขาอัปปมัญญา ได้ ดังนั้น เมตตา คือ ความสงสาร  ทำจิตหยาบให้ละเอียด กรุณา คือความปรารถนาช่วย ทำให้จิตขวนขวายช่วยเหลือ มุทิตา คือ ความยินดีในการทำความดี ในกุศลทั้งของตนและผู้อื่น จะเห็นว่า เมตตา กรุณา มุทิตา ใครมีมากไปก็ไม่ดี ทำให้ทุกข์ได้ เพราะถ้าแผ่เมตตา ให้เขาแล้วไม่พ้นทุกข์ จิตก็จะเป็นทุกข์แทน กรุณา ช่วยเชาขวนขวาย ช่วยสำเร็จก้มีสุข ช่วยไม่สำเร็จ มันก็มีทุกข์ มุทิตา ยินดีกับความสำเร็จของผู้อื่น มาก ๆ บางครั้งมันย้อนเข้าต้น ความอิจฉา ก็เกิดขึ้นได้ เมื่อเขาได้ดีมากกว่า จะเห็นได้ว่า การฝึก เมตตา กรุณา มุทิตา นั้นทำให้เป็นจิตอ่อน ดังนั้นครูอาจารย์ จะไม่ให้ออกจากสำนักจนกว่า จะเรียน อันสุดท้าย คือ อุเบกขาอัปปมัญญา เพราะอุเบกขาอัปปมัญญา เป็นธรรมหักล้าง จิตเมื่อมีเมตตา กรุณา มุทิตา ด้วยปัญญา ถึงที่สุด

อุเบกขา จึงเป็นธรรมส่วนหนึ่ง ในธรรมเครื่องครัสรู้ และ เป็นที่สุดที่ทำให้จิตผ่องใส ขึ้นได้

  ข้อความใน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ ชัดเจนมากเรื่องนี้ ผู้ฝึกต้องให้ถึงอุเบกขา ครูอาจารย์ จึงจะให้ออกจากสำนัก ธุดงค์ได้ "


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 11, 2016, 08:58:48 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
หลักการแสดงธรรม ตามแบบพระพุทธเจ้า ( Tech follow buddha )
« ตอบกลับ #137 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2016, 12:27:43 pm »
0
"หลักการแสดงธรรม ที่ พระธรรมกถึกควรกระทำตามลำดับ และแสดงธรรมให้เหมาะแก่บุคคล ควรจะต้องพิจารณากลุ่มให้เข้าใจก่อนเพราะเรื่องเดียวกัน พูดกับกลุ่มนี้แบบนี้ได้ แต่พูดกับกลุ่มนี้ไม่ได้
กลุ่มที่ไม่มีศรัทธามาก่อนและยังมีอคติ
กลุ่มชนทั่วไป
กลุ่มโลกสวย
กลุ่มบัณฑิต
กลุ่มพระโยคาวจร
กลุ่มพระอริยะ
การพูดจึงต้องมีศิลปะในการพูด แต่การนำเสนอให้ใช้ ลักษณะถ้อยคำที่สละสลวยแตกต่างกันไป ปัจจุบันเขาเรียกว่า การพูดบวก กับการพูดลบ สมัยก่อนเรียกว่า พูดเป็น เจรจาเป็น
ที่นี้เรื่องการพูดเป็น มันอยู่ที่ทักษะ และการศึกษา มันเป็นการยากเช่นกัน แต่เอาหลักการของพระพุทธเจ้าลงไปดีกว่า ด้วยการแสดงธรรม ตามลำดับ ( กรรมฐาน ตามลำดับ )
1. ทานกถา แสดงธรรมเรื่องของทาน ประโยชน์ของการให้ทาน การเจริญทานเป็นกุศล การทำทานตั้งแต่เบาไปหา ทานขั้นสูงสุด
2. สีลกถา แสดงธรรมเรื่องของศึล ตั้งแต่ศีลที่เลือกเฉพาะ จนเป็นเจาะจง และ เป็นวิรัติ และอานิสงค์การมีศีล
3. สัคคกถา แสดงธรรมเพื่อให้ได้เจริญ เทวตานุสสติ คือ ทรง ธรรม 4 อย่าง คือ หิริ โอตตัปปะ และ สติ สัมปชัญญะ เพื่อระลึกถึง วิบากของกุศล แห่งทาน และ กุศลแห่งศีล อันมีเครื่องล่อ คือ โลกธรรม 8 ประการ ถึงเป็นเครื่องล่อ แต่ก็สร้างสันติสุขได้ ทั้งภพ และ ชาติ ทั้งปรโลก และ ปัจจุบันธรรม
4.กามาทีนวกถา แสดงธรรมให้เห็นโทษ ของการอยู่ในสังสารวัฏ มีความมัวเมาในตน ของ ๆ ตน ความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา มีโสกปริเทวะ มี อุปาทานขันธ์ ทั้ง 5 โดยย่อ เพื่อชี้ประตู เส้นทาง หนทาง วิธีการออกจากสังสารวัฏ
5. เนกขัมมะกถา แสดงธรรมเพื่อให้พระโยคาวจร ตระหนัก ถึง การออกจากกาม คือ สังสารวัฏ อย่างที่สุด ให้เห็นโทษของเกิด ตั้งอยู่ และเสื่อมไป
ดังนั้น ถ้าลองเทียบการแสดธรรมของพระพุทธเจ้า ทั้ง 5 ประการนี้ ให้ดีแล้ว ท่านก็จะเข้าใจเรื่องกลุ่มไปในตัว เพราะบางคนไม่มีสถานะ หรือมีสถานะ ทางปัญญาเพื่อจะรับธรรมให้เหมาะสม ต้องอยู่ที่ดุลย์พินิจของผู้แสดงธรรม เพื่อแสดงธรรมให้เหมาะแก่กาล ไม่ใช่แสดงธรรมแบบน้ำท่วมทุ่ง ปูพรมให้เหนือยยาก
ก็เป็นธรรมบรรณการ แก่ ท่านผู้จะแสดงธรรม ซึ่งในช่วงเข้าพรรษา มักจะมีประเพณี การฟังเทศน์ ทุกวันธรรมสวนะเป็นประเพณี ที่ทำกันมาสืบทอดกันมาของคนไทย
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ฉันแสดงธรรม เป็นสัปดาห์ที่ 3 วันนั้นแสดงธรรมเรื่อง อนัตตลักขณสูตร หลังจบการแสดงธรรม มัคนายก ก็เดินเข้ามากราบและพูดขึ้น ท่านแสดงธรรมดี เสียงดังฟังชัด แต่เรื่องที่แสดงค่อนข้างจะลึกซึ้งเกินปัญญาของพวกชาวบ้านอย่างพวกผม ถ้าเป็นไปได้ เทศน์ครั้งหน้า ให้ลดระดับให้เหมาะกับโยมด้วย
เหตนี้ มัน 14 ปีที่แล้ว ตอนนั้นมีความรู้สึกอยากแสดงธรรมเรื่องละกิเลส ระดับ พระโสดาบันขึ้นไปบ่อย ๆ แต่พอแสดงไปสักสองสามครั้งหาผู้เช้าใจไม่ได้ ก็เลยยุติการเทศน์ของตนเองเสีย เพราะจะให้ฉันไปเทศน์ให้คนหัวเราะ อย่างพระรูปอื่น ๆ นั้นฉันทำไม่ได้แล้ว รู้สึกละอายใจเวลา เข้ากรรมฐาน ขั้นละเอียด มันเป็นตัวขวางธรรม และ ญาณในระหว่างเจริญ ญาณ จึงเทศนา แบบ ตลกโปกฮาขำกลิ้งอย่างเมื่อก่อนไม่ได้
เจริญธรรม / เจริญพร
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2016, 01:15:27 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
คิดให้เป็น แล้ว มันจะเจริญ
« ตอบกลับ #138 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2016, 12:50:41 pm »
0
"วันหนึ่ง มีโยมท่าน มาหาฉัน บนศาลา
โยม ( ย ) ได้ยินชื่อเสียงมาตั้งนาน แล้วอยากมาหา วันนี้พบเสียที
พระ ( พ ) เจริญพร ขอให้โชคดี ตามที่ตั้งใจ
จากนั้นโยมท่านนั้น ก็ชวนฉันคุยไปสัพเพเหระ แต่จับใจความได้สั้น ๆ ไม่มากก็คือ มาจาก โคราช อยากมาพบเพราะได้อ่านเจอในเว็บ และโยมก็พูด กิจกรรม ที่โยมทำประจำคือ ทำบุญวัดนั้น วัดนี้ ทำบุญครั้งละเป็นหมื่น เป็นเจ้าภาพถวายกฐิน ผ้าป่าก็มี เรียกว่าถ้านับวัด นับพระแล้ว มีไม่ต่ำกว่า 20 วัด พระไม่ต่ำกว่า 30 ฟังแล้วก็ชื่นชม ว่าโยมตั้งมั่นในกุศล เป้นคนชอบทำบุญ ตอนนั้น ก้เป็นเวลาใกล้เพล โยมก็เลยบอกว่า เดี๋ยวจะออกไปซื้ออาหารมาถวายเพล อาจารย์ อยากให้รับทานของเขา ให้รอก่อนอย่าพึ่งฉัน โยมไปก็ไม่นาน กลับมาก็มี ข้าวมันไก่ 1 ห่อ น้ำขวดเล็ก 1 ขวด นมเปรี้ยว 1 ขวดเสร็จแล้วโยมก็มาถวาย หลังจากฉันภัตร์เสร็จ ก็สนทนากันอีกสัก ชม. กว่า ๆ โยมคนนี้ก็กลับ ไม่ได้เรียนกรรมฐาน มาเพื่อจะมาทำบุญเท่านั้น
ผ่านไปสองอาทิตย์ ก็ได้รับข้อความ ทาง Email ดังนี้
เรียน พระอาจารย์ ผมมาพบ ท่านในคราวก่อน ผมก็คิดว่า คงโชคดี วันนั้นผมกลับไป ก็ไปซื้อ หวยรัฐบาง 1 ชุด เป็นจำนวน พันกว่าบาท แต่วันที่หวยออกนั้น ผมกลับโชคไม่ดี เลย หวยไม่ถูกเลยทั้งชุด รู้สึกว่า จิตตกมาก ๆ เพราะผมมาพบ ท่านครั้งนี้เพราะต้องการถูกหวย อย่างก็รางวัล ที่ 2 คิดว่าอย่างนั้นเลยนะครับ
ทำไมผมทำบุญกับ ท่านแล้วไม่โชคดี เลย
( เอาเป็นว่า ข้อความ เบื้องต้น อย่างนี้ )
ส่วนตัวฉันเองนั้นไม่ได้ตอบอะไร กลับไป เพราะรู้สึกไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องที่โยมกำลังบ่น เพราะฉันก็ไม่ได้ให้บอกไปซือ้หวย หรือ ให้ไปทำอะไร เลย ไม่มีข้อความจากฉัน เพียงแต่ให้พร ขอให้โชคดี มัชัย ค้าขายร่ำรวย ตามธรรมเนียม ก่อนกลับแค่นั้นแหละ
ที่เล่าตรงนี้ อยากให้ท่านใช้ความคิดกันบ้าง จะต่อว่า จะบ่นฉันนั้นคิดให้ดีก่อน ว่ากระทำอะไรไว้
อย่างโยมท่านนี้ ทำบุญกับอาจารย์ ข้าวมันไก่หนึ่งห่อ น้ำเปล่วขวดเล็กหนึ่งขวด นมเปรี้ยวหนึ่งกล่อง แต่โยมอธิษฐานเอาบุญระดับใหญ่ เลยนะ ซึ่งมันต้องเป็น 10 ใน 60 ล้านคน หรือ 300 ใน 60 ล้านคน
แต่ที่แปลกอยู่เรื่องโยมไม่ถูกหวย ไม่โทษวัดอื่น ๆ เลยนะ ไม่โทษอาจารย์อื่น ๆ เลย แต่โทษฉันคนเดียว ทั้ง ๆที่เล่าให้ฉันฟังว่า พึ่งไปทำบุญวันนั้นหมื่นหนึ่ง วัดนี้ สองพัน ถวายอาจารยองค์นั้นสองหมื่น ประมาณ นี้ กลายเป็น ถวายข้าวมันไก่หนึ่งห่อ ฉันต้องรับผิดชอบ แทนพระสงฆ์ ทั้งประเทศ
โยมบางท่าน ด่าฉันทางเฟคทุกวัน ทางเมลก็ประจำ อยากให้คิดเสียหน่อยว่า โยมที่ด่าฉัน มีบุญคุณอะไรกับฉันได้ทำบุญกับฉันหรือไม่ ส่งเสียฉันบวช มาสนับสนุนฉันเรียน ฉันทำงานก็เปล่าเลย ด่ากันได้ทุกวัน ไม่กลัวกรรมกันบ้าง ด่าฉันยิ่งกว่าพ่อแม่ฉันด่าฉันอีก จะเข้าพรรษาแล้ว อธิษฐานหยุดด่าฉันสักสามเดือนดีไหม เฟคตุ๊ดเณรแต๋วไปด่าตรงนั้นเถอะ เฟคฉันมีแต่ให้ธรรมะ ปิดทองหลังพระต่างหากอย่ามาตามด่าเลย พอซะ
คิดหน่อย ลูกศิษย์ฉันส่วนใหญ่ ไม่ค่อยได้ทำบุญกับฉันประจำ นานทีทำครั้ง บางคนสามสี่ปี ยังไม่เคยทำเลย แต่ก็ชอบบ่นว่าทำบุญกับอาจารย์แล้วไม่ได้บุญ เพราะเขาเหล่านั้นคิดแบบชาวโลก มองแบบชาวโลก ไม่ได้ใคร่ครวญ การกระทำของตนเองให้ดีก่อน
เล่าไว้พอให้ได้ คิด เพราะตอนนี้มีจดหมายบ่นมาลักษณะเดียวกัน อีกสามท่าน ทั้งที่ ไม่เคยทำบุญกับฉันเลย ในรอบสามปี
"
เจริญธรรม / เจริญพร




บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ชีวิตใหม่ ลมหายใจใหม่ ควรเป็นของใคร
« ตอบกลับ #139 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 11:10:52 am »
0
"วันหนึ่งระหว่างที่เจ้าชายเทวฑัตร์ ยิงธนูโดนนกตัวหนึ่ง ร่วงมา นกตัวนั้นตกร่วงลงไปอยู่ใกล้กับ เจ้าชายสิทธัตถะ ครั้นเจ้าชายเทวฑัตร์ มาถึงก็ทวงสิทธิ์ นกนั้นทันที เจ้าชายสิทธัตถะ บอกว่านกนั้นเป็นของพระองค์ ๆ จะให้การเยียวยารักษา เจ้าชายเทวฑัตร์ไม่ยอม จึงต้องนำนกนั้น เข้าสู่ บัณฑิตสภา เพื่อให้ตัดสินสิทธิ์ครอบครองนกนั้น สุดท้ายบัณฑิตสภา ตัดสินว่า ผู้ให้ชีวิตย่อมมีสิทธิ์ครอบครอง เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้ครอบครองนกนั้น และพระองค์ก็เยียวยานกจนรอดกลับไปใช้ชีวิตเช่นเดิม
ชีวิตฉัน ตั้งแต่ 1 - 38 ปีนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อและแม่และครอบครัว สกุลตระกูล โดยแท้ ตราบจนหมดลมหายใจ แต่เมื่อได้ลมหายใจใหม่ ด้วยคุณแห่งครูอาจารย์ทั้งสามท่าน ที่มาช่วยเหลือ ลมหายใจที่ได้ใหม่ ย่อมไม่ใช่สิทธิ์ ของพ่อและแม่ ครอบครัว สกุลและตระกูลต่อไป ย่อมเป็นสิทธิ์ของครูอาจารย์ทั้งสามท่าน แม้ความรู้ทางธรรม 1 - 38 ปี ก็ไม่มีประโยชน์ในการรักษาชีวิตนั้นได้ จึงไม่สามารถเทียบเท่ากับความรู้ ที่ได้ใหม่ โดยลมหายใจใหม่ นี้ ฉันจึงกตัญญู กับสายธรรมนี้
ดังนั้นฉันกลัวบาปกรรมมาก โดยเฉพาะบาปกรรมไม่ดี เพราะได้เห็นสถานที่อยู่ของผู้ทีทำกรรมไม่ดีมาแล้ว....
"

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ขอขมามีไว้เพื่ออะไร ? รู้แล้วควรทำ
« ตอบกลับ #140 เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2016, 11:37:13 am »
0
"การขอขมากรรม มีไว้เพื่ออะไร ?
ในมูลกรรมฐาน ไม่ได้กล่าวถึง หัวข้อที่มองไม่เห็นแต่กล่าวถึงเรื่อง การลดมานะทิฏฐิ โดยตรงอันเป็นเรื่องปัจจุบัน ส่วนเมื่อภาวนาลึกซึ้งขึ้น จึงกล่าวถึงโทษการปรามาส 10 ประการ ซึ่งโทษเหล่านั้นเป็นโทษที่มองไม่เห็น
พระอาจารย์เฒ่าทั้งสาม ท่านกล่าวว่า พระสายปฏิบัติด้วยกัน เวลาเข้าไปพบหา อย่าให้พระผู้ใหญ่ ไหว้ก่อน ถ้าจะชอบหรือไม่ชอบ วินัยต้องมาก่อนธรรม ต้องแสดงความเคารพต่อพระผู้ใหญ่ก่อนตามธรรมเนียม เพราะสงฆ์เป็นได้ อยู่ได้ด้วยวินัย แต่ถ้าไม่กระทำปฏิสันถาร แสดงว่า คุณธรรมการปฏิบัติภาวนานั้น ไม่ได้ความเลย ไม่สามารถลดมานะทิฏฐิได้ด้วยการภาวนา มีโมหะหลงตน พอกพูนมานานุสัย สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่สังเกต ได้ทันที ยิ่งถ้ารู้จักกันด้วยแล้ว ยังทำเฉยเมย หรือแม้แต่พระผู้ใหญ่ไหว้ไปก่อนก็ไม่รับไหว้ นี้แสดงถึงความเสื่อมทางด้านวินัย สงฆ์ ซึ่งยังไม่ต้องพูดถึงหลักธรรมการภาวนา
พระใหม่นวกะ ก็ไม่รู้ธรรมเนียม เพราะขาดการอบม พระเก่าระดับครูอาจารย์ก็เช่นกัน ควรจะต้องอบรมสิ่งเหล่านี้ก่อน ..............
"
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของธัมมะวังโส
ที่ยกหัวข้อนี้ขึ้นมาก็เพราะว่า พระใหม่ ที่กำลังจะเข้าพรรษาถ้าจะถามว่า ควรศึกษาอะไรก่อน ต้องตอบว่า ควรศึกษาเรื่องวินัยสงฆ์ ธรรมเนียมสงฆ์ ที่มาในพระไตรปิฏก และ นอกพระไตรปิฏก ซึ่งเป็นธรรมเนียม ที่พระสงฆ์ใช้อยู่ร่วมกัน
สาราณียธรรม 6 ประการ
1. กายกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่น
2. วจีกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน พูดมีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่นทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน
3. มโนกรรมอัน ประกอบด้วยเมตตา คือ ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกันไม่คิดอิจฉาริษยาหรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกันความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม
4. สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร เพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน
5. สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเหมาะสมตามสถานะของตนมีความประพฤติสุจริตปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
6. ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบ
ธรรม 6 ประการ ที่ผู้ใดได้ประพฤติจะเกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกื้อกูลกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ศีล และ ทาน ย่อมทำให้คนงาม และ มีความอาจหาญ
« ตอบกลับ #141 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2016, 07:58:06 am »
0
มอบธรรมให้ชาวเว็บ และ ศิษย์หลวงปู่สุก ไก่เถือน หลังออกกรรมฐาน ครั้งที่ 3 เข้านี้

"เมื่ออยู่สถานการณ์ ที่เป็น หรือ ตาย หากไม่มีคุณธรรมอะไร เลย เมื่อเข้าสู่สภาวะนั้น สิ่งที่มีและปรากฏก็คือความเคว้งคว้าง เพราะกุศลไม่มี อกุศลจะมีกำลังมากกว่า ดังนั้นหากไม่มีคุณธรรม อะไรให้ยึดถึอขณะนั้น สิ่งที่ต้องยึดไว้เป็นสรณะ ก็คือ ศีล เพราะศีลจะทำให้เราเป็นผู้อาจจหาญ ได้ การรักษาศีล มีศีล จึงเป็นเช่นแพไว้ให้ลอยคอดในท่านกลางโอฆะ นี้ได้
ดังนั้นบัณฑิต ผู้ยังลอยคอ ในโอฆะ ที่มีสัตว์ร้าย คอยกัดกินทำลายไม่พึงเว้นจากศีล หรือ ละจากศีล เพราะศีล เป็นคุณธรรม มนุษย์ และ เทวดา นั่นเอง

ดังคำกลอน ของท่านผู้รู้กล่าวว่า

คนจะงาม งามน้ำใจ ใช่ใบหน้า
คนจะสวย สวยจรรยา ใช่ตาหวาน
คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน
คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต
"
เจริญธรรม / เจริญพร


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 06, 2016, 10:50:13 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เมื่อต้องตอบจดหมายรัก
« ตอบกลับ #142 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2016, 11:37:08 am »
0
"ไม่ต้องบูชาฉัน จงบูชาและเคารพในพระพุทธเจ้า เถิด

ไม่ต้องสักการะฉัน จงบูชาและสักการะพระธรรมและครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ิวิชาฉันเถิด เพราะลมหายใจของฉันวันนี้เป็นของครูอาจารย์ที่ช่วยเหลือฉัน
อันฐานะที่มีอยู่ทุกวันนี้ ก็เป็นแต่เพียงผู้ขอ

ปัจจัยทั้ง 4 นั้น ก็ได้มาจากหยาดเหงือแรงงานของผู้เคารพศรัทธา ต่อพระรัตนตรัย หากไม่มีผ้ากาสาวพัตร์หุ้มห่อกายนี้อยู่ ฉันก็ไม่ต่างอะไร จาก ยาจก ที่แบมืออยู่ข้างทางฉันไม่เคยคิดว่าฉันทรงเกรียติเลยในฐานะที่เป็นพระ หากฉันไม่มีศีล ฉันจะละอายใจมาก เพราะนรกจะรอฉันอยู่ข้างหน้า หากฉันประมาท ด้วย กิน กาม และ เกรียติ ย่อมบริโภคปัจจัยสี่ ของ ผู้มีศรัทธา ต่อฉัน เหมือนก้อนถ่านไฟทีแดง ถ้าฉันไร้ซึ่งศีลแล้ว ผ้ากาสาวพัตร์ที่นุ่งห่มนี้จะเป็นดั่งเปลวเพลิงทีเผาไหม้ ฉัน ให้เดือดร้อน

โปรดเถิด ไม่ต้องคิดถึงฉันเพราะฉันช่วยอะไรเธอไม่ได้ แต่จงคิดถึงพระธรรมกรรมฐานให้มากขึ้นเถิด เพราะพระธรรมกรรมฐาน จักช่วยเธอได้ ทุกเวลา

ไม่ต้องมารักฉัน เพราะตัวฉันเองยังไม่รักตัวเองเลย ตัวฉันเองนั้น จะไปรักใครได้ อันความพิศมัยของฉันที่มีต่อตัวเอง แม่แต่ฉันก็ยิ่งพิจารณาเห็นว่า อันร่างกายนี้ ของฉันนี้รกรุงรัง ด้วยชัฏ ( กิเลส และ ตัณหา )เวียนวนอยู่ กามารมณ์ ( วัฏฏะสงสาร ) มาช้านาน ซึ่งถึงเวลาต้องหยุดว่ายวนเวียนเสียที และกายอัตภาพนี้ ยังสกปรกเน่าเหม็น อยู่เป็นนิตย์ ไม่น่าพิศมัยเลย กายนี้ก็อ้วนฉุ เต็มไปด้วยเหงื่อไคล ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้ง เป็นอาหารอันเลิศให้แก่หมู่หนอนน้อย 52 ชนิดในกาย และ เมื่อกายนี้สิ้นชีพไปแล้ว ก็หามีประโยชน์อันใดมิใดกับกาย ที่เน่าเหม็นอยู่เป็นนิตย์ ย่อมเป็นที่รังเกียจและเดินจากไป ของ คน

หากมองที่ ตา ก็จะเห็น ขี้ตา
หากมองที่ หู ก็จะเห็นขี้หู
หากมองที่ จมูก ก็จะเห็นขี้มูก
หากมองที่ ลิ้น และฟัน ก็จะเห็น ขี้ฟัน และเศษปฏิกูลอาหาร
หากมองที่ กาย ก็จะเห็นแต่ ความทุเรศแห่ง สังขาร อันประกอบด้วย ความแก่ ความเจ็บ และ ความตายในที่สุด
ดังนั้น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ของฉันย่อมเป็นของน่าขยะแขยง ไม่ควรแก่การถูกต้อง ของคนที ยังรกรุงรัง ด้วย ชัฏ ( คือ ตัณหา ) เช่นกัน
เจริญธรรม / เจริญพร
"

เมือต้องเขียนจดหมาย ถึงคนที่ชอบเข้ามาจีบพระอย่างฉัน
ข้อความส่วนหนึ่ง จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 08, 2016, 12:06:49 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ความเอ๋ย ความสุข ใครใคร ทุกคนชอบเจ้า

 วันนี้เริ่มประโยค ครูอย่างหลวงพ่อพุทธทาส และก็ประโยคนี้เป็นกลอน ซึ่งทำให้ฉันเมื่อก่อน อัดเสียงรายกาย ชือว่า ความสุขนิรันดร์ มีความยาม 180 นาที เทปสามตลับ อัดเสียงประกอบดนตรี  ทำนองพร่ำเพ้อ เนื้อหาพระธรรม และก็อีกชุดหนึ่ง คือ กงล้อแห่งกาละ  180 นาที เช่นกัน ( สมัยนั้น ใช้นามปากกาว่า รุ่งอรุณ ณ สนธยา ) สมัยเป็นสามเณรอายุ 19 ปี นะที่ทำอันนี้ ปัจจุบันตลับเทปก็ยังมีอยู่ แต่ไม่มีเครื่องเปิดเพราะสมัยนี้ไม่มีใครใช้ ตลับเทปแล้ว มาใช้ CD DVD Memory กันหมดแล้ว จะหาเครื่องเปิดก็หายากอยู่นะตอนนี้ เอาคุยเพลินกับมาเข้าเรื่องหัวข้อกันหน่อย

     ความสุข มันก็ตรง ๆ ความหมายก็ตรง ๆ

    แต่ความสุข มันก็แตกต่างตามแต่บุคคลที่จะใช้วิธีการหาความสุข ใส่ตน หรือ อาจจะอ้างว่า ความสุข เพื่อส่วนรวม แต่ทีจริงมันก็กลับมาที่ตนอยู่ดี

     นักเขียน มีความสุข ที่ได้เขียน วรรณกรรม อันมีคนยอมรับ
     นักสร้าง มีความสุข ที่ได้สร้างสิ่งล้ำค่
     นักขาย มีความสุข ที่ได้ขายได้มาก
     นักพูด มีความสุข ที่มีคนฟัง ต่อให้มีคนฟัง คนเดียวก ก็ยังมีความสุข
     ดังนั้น จะเป็นอะไรก็ตาม จะอาชีพอะไร ก็ช่าง สุดท้าย ความสุข ก็คือสิ่งที่ทุกคนคาดหวังไว้ แล้วประสบความสำเร็จ ด้วย แต่หากไม่ประสบความสำเร็จ มันจะไม่มีความสุข หรือ ความภาคภมิใจอันใดเลย

     ผัวเมียคู่หนึ่ง เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วประเทศ เขาทั้งสองมีความสุข และปรารถนาจะเที่ยว
     อีกคู่หนึ่งก็ไปเที่ยวเหมือนกัน แต่ปั่นจักรยานไปเที่ยว ไปให้ทั่ว ก็มีความสุข
     อีกคู่หนึ่งก็ไปด้วยมอร์เตอร์ไซค์ ท่องเที่ยวขับไป เป็นหมู่ เป็นกลุ่ม
     อีกคู่หนึ่งก็ไปด้วยรถไฟ เรือบิน ก็ท่องเที่ยวไป หาความสุข

     จะเห็นว่่า สำหรับคนท่องเที่ยว ก็เห็นการเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ เป็นเหตุสร้างความสุข แต่วิธีการหาความสุขก็มีแตกต่างกันไป นี่เป็นเรือ่งของคนที่มีความสามารถจะกระทำได้

    ที่นี้กลับมาที่คนที่ไม่มีความสามารถ ย้อนหลังไปเมือ่ สิบกว่าปีมานี้ มีข่าวเรื่องหญิงอายุคคนหนึ่ง ประสบกับโรคร้ายคือโรคเรื้อน เธอต้องทนความเจ็บปวดทรมาน คนเดียวตั้งแต่สาววัยรุ่นเด็กนักเรียน จนชราซ่อนตัวอยู่ในบ้านไม่ให้ใครพบเห็น มีแต่เพียงญาติไม่กี่คนคอยส่งอาหารให้เธอ ได้อยู่ สภาพข่าว ที่ออกมาเห็นขาเธอถูกโรคเรื่อนกิน มือและนิ้วไม่มี หน้าตาก็ถูกกิน เห็นแล้วน่าเวทนา แต่เมื่อทีมข่าวสัมภาษณ์ คุณยายอยู่ในสภาพนี้ได้อย่างไร คุณยายท่านนี้ชี้ไปที่พระพุทธรูปบนหิ้งว่า อยู่กับหลวงพ่อ คุยกับหลววพ่อ จะเห็นได้ว่า ความสุขเล็ก ๆ มันมีอยู่แค่ตรงนี้

    ดังนั้นความสุขที่แท้ คือ อะไร ?

    ถ้าเรียนธรรม มา ศึกษา ธรรม มา ภาวนา ธรรม ด้วย จะเห็นความสุขแท้ ๆ ได้ ก็คือ การเยียวยาจิตใจให้มีความสุข นั่นแหละ แม้ชีวิต จะอับเฉา อับโชค อาภัพ ทุกข์ทรมาน เช่นใดก็ตาม สำหรับ พุทธศาสนิกชนแล้ว ต้องมองเห็นความจริงว่า ที่ทุกข์ มันเป็นทุกข์เพียงภายนอก สิ่งที่ทุกคนสามารถจัดการได้ ก็คือ ทุกข์ภายใน อย่าให้เป็นทุกข์ นี่แหละ คือ เนื้อหาของความสุข จริง ๆ  คือ ความสุข ที่ไม่อิงอามิสใด ๆ ทั้งสิ้น แต่อยู่ที่สภาวะจิต มองเห็นตามความเป็นจริง ยอมรับความจริงทางกาย และพัฒนาใจให้ไปสู่ สุข ที่ไม่ต้องทุกข์ต่อไป อันเรียกว่า สุขนิรันตร์ นั่นเอง

     ข้อความส่วนหนึ่ง กล่าวแสดงเรื่อง ของ กงล้อแห่งกาละ และ ความสุขนิรันด์

     
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
คำใบ้ ในวิชา ย่นฟ้า ย่อพสุธา
« ตอบกลับ #144 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2016, 06:02:31 pm »
0


พูดข้อธรรม ลึกซึ้ง จะรู้กันไหม ? ไม่เตรียมตัวพื้นฐานให้ดี แล้ว จะไปรู้อะไร ? มันมีแต่ความโง่ เพราะไม่รู้และไม่เข้าใจ

คำสอนบทหนึ่ง ในวิชาย่นฟ้า ย่อพสุธา จากพระอาจารย์เฒ่า

"เมื่อจะเดินจงกรม ก็จงเข้าใจธาตุ เพราะธาตุ จะทำให้เข้าใจในสมมุติบัญญัต และ ปรมัตถ์ที่เกิดจากใจ ทั้งสองอย่าง หนทาง เป็น สมมุติบัญญัติ ใจถึงทาง เป็นปรมัตถ์ จะเดินไปไหน ก็ให้คิดถึงระลึกถึง สมมุติตรงนั้น ส่วนใจที่เป็นปรมัตถ์ จะย่น หรือ จะย่อ ก็อยู่ที่ ลหุสัญญา และ สุขสัญญา ด้วยอำนาจใจนั่นเอง มนต์เป็นเพียงสมมุติ แต่ใจนั้นเป็นใหญ่ในปรมัตถ์"


ที่เหลืออยู่ที่ ปัญญา มองเห็นความจริง ของสมมุติ และ ปรมัตถ์แบบไหน ส่วนนี้ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง ศรัทธา แต่เป็นปัญญา ที่ต้องเข้าใจ วิธีการ เพราะเกินอำนาจขอบเขตน์ของคำว่า ศรัทธา ไปแล้ว ผู้ที่จะเข้าใจต้อง ต้องเข้า ฌานที่ 5 เป็น
ฤทธิ์ที่เกิดทางใจ ที่เยี่ยมยอดที่สุด คือ อาสวักขยญาณ


ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2016, 06:05:49 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
พระสายปฏิบัติ เขาทำอะไร กันในวันหนึ่ง ๆ
« ตอบกลับ #145 เมื่อ: สิงหาคม 11, 2016, 01:52:19 pm »
0


"สัญญาณระฆัง ที่ถูกรับผิดชอบ เมื่อถึงเวลาแล้ว ก็ไม่มีใครไปตี เราตื่นแต่ 03.30 น.สรงน้ำเตรียมตัว เพื่อไปทำวัตรเช้า สุดท้ายก็ต้องตีระฆังแทน เมื่อนำเรียนแก่ หน. คำตอบที่ได้รับในหมู่สงฆ์ก็คือ ก็ตืนก่อน ก็ไปตีก็ดีแล้วนี่ โดยที่เรื่องสรุปจบลงตรงที่เราต้องไปตีแทน เป็นหน้าที่ หมายความว่า วันไหนไม่มีใครตี ก็ไปต้องไปตี อยู่มาวันหนึ่ง เกิดอาพาธ ไม่สามารถลุกขึ้นไปตีระฆังได้อย่างปกติ เสียงตะโกนด่า มันไม่รูัจักหน้าที่ ได้ยินอย่างชัดเจน ทุกคนไปทำวัตรเช้าได้ช้า จึงสวดมนต์ได้น้อยและ โทษว่า พระตีระฆัง ไม่ปฏิบัติหน้าที่ เป็นเหตุการณ์ ที่มักเจอเสมอ ไม่ว่าไปอยู่ที่ไหน ก็มักจะเป็นแบบนี้ คือ ถ้าเป็นพระฝ่ายปฏิบัติ ต้องไม่มีความผิดพลาด และ ต้องรับผิดชอบ แทนผู้ที่ไม่รับผิดชอบ อย่างนี้เสมอ ๆ นี่เป็นเหตุการณ์ หนึ่งที่ยกมาให้ท่านฟัง ก่อนจะเล่าว่าพระสายปฏิบัติเขาทำอะไรกันในวันหนึ่ง ๆ
 
   03.30 น.  - 04.00 น. สรงน้ำ เตรียมตัวทำวัตรเช้า
   04.00 น. - 05.45 น. ทำวัตรเช้า
   05.45 น. - 07.45 น. ออกบิณฑบาตร
   07.45 น. - 08.45 น. ฉันภัตรเช้า
   08.45 น. - 10.00 น. ทำความสะอาดที่พักภายใน มีศาลา กุฏิ ห้องน้ำ ห้องส้วม ตักน้ำ ดูแลอุปัฏฐาก ครูอาจารย์
   10.00 น. - 11.00 น. ทำกิจตามอัธยาศัย จะเดินจงกรม ซักผ้า ปลงผม โกนหนวด ปลงเล็บ อ่านหนังสือ ท่องตำรา เรียน ก็แค่ช่วงนี้
   11.00 น. - 12.00 น. ฉันภัตรเพล แต่สายปฏิบัติ จะเลือกไม่ฉันช่วงนี้ เปลี่ยนเป็นพักผ่อนอิริยาบถแทน
   12.30 น. - 15.30 น. ถ้ามีหน้าที่สอนก็ต้องไปสอน ถ้ามีหน้าที่เรียน ก็ต้องไปเรียน ถ้าไม่มีหน้าที่สองอย่างนั้น ก็เลือกที่จะภาวนา เช่นเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน อ่านหนังสือ ดูตำรา ทำกิจอื่น ๆ
     ดังนั้นจะเห็นได้ว่า 10.00 - 15.30 น. เป็นช่วงที่สำคัญมีค่า ของพระสายปฏิบัติ
  15.30 น.- 17.00 น. ทำความสะอาดภายนอกอาคารเก็บกวาด ดูแล วิหาร ลานเจดีย์ ลานธรรม นอกบริเวณอาคาร
  17.00 น.- 17.30 น. สรงน้ำ เตรียมตัวทำวัตรเย็น
  17.30 น. -  20.00 น. ทำวัตรสวดมนต์ เจริญภาวนา ร่วมกันเป็นคณะ บางครั้งก็ เพิ่มเวลา ถึง 21.00 น. ก็มี
  20.00 น.- 03.30 น. เป็นเวลาพักผ่อน แต่สายภาวนา จะพักผ่อนจริง ๆ หลัง 22.00 น. เพราะส่วนใหญ่แล้ว ก็จะไปเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ต่อ
     ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เวลาพักผ่อนจริง ๆ ของพระสายภาวนา ปฏิบัติ นี่ มี 5 ชม. 30 น.แต่ส่วนใหญ่จากประสพการณ์ ตนเองแล้ว ก็มักจะนอนหลังเที่ยงคืน บางครั้งต้องเขียนบันทึก ตำรา อ่านหนังสือเพิ่มเติม หรือบางคราก็ลุกขึ้นมาเดินจงกรม เวลา ตี 1 หรือ ตี 2 เพราะช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่สงัด จริง วิเวกจริง ๆ เป็นส่วนตัวมากที่สุด

     สมัยนี้เวลาเราไปเดินจงกรม นั่งกรรมฐาน ในวัดไม่ใคร่มีใครอนุโมทนา มีแต่บอกว่า บ้า ถ้าจะอนุโมทนาก็ต้องมียศ มีศักดิ์ นั่นแหละ เขาถึงบอกว่าดี หรือจะได้คำชม ก็ต้องสวดมนต์เก่ง เข้ากับญาตโยมได้ดี หรือช่วยวัดด้านต่าง ๆ เช่นเป็นช่างไม้ ช่างปูน ช่างเชื่อม ช่างซ่อม ประมาณนั้น

     จากประสบการณ์ที่ผ่านมา นี้ ยังไม่เห็นใครชื่นชม การปฏิบัติธรรมของเรา ที่ได้ยินคือว่า บ้า ได้ยินบ่อย ทั้งทางตรงและทางอ้อม "


ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส



 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2016, 02:09:47 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สมมุติบัญญัติ เป็นของคู่กันกับ ปรมัตถ์
« ตอบกลับ #146 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2016, 12:15:41 pm »
0


พระโพธิธรรม เดินทางมาประเทศจีนเพื่อมาเสนอหลักธรรม สาย ธยานะ ( ฌานะวัชรโพธิ ( (Zen ( เซ็น) ) ) ประเทศจีนขณะนั้นก็รุ่งเรืองด้วย พุทธศาสนา ในแนวทาง มหายาน อยู่แล้ว มีซุ้มสนทนาหลักธรรม ในหมู่บ้าน ตามจุดหัวเมืองมากมาย ในขณะนั้น พระจีนก็มีจำนวนมาก และมีอิทธิพลในระบบของการปกครองของจักรพรรดิด้วย สมัยนั้นคือ พระเจ้าหวู่ตี่ แต่การเดินทางมาของท่านนั้น พระจีนไม่ยอมรับ ในข้อธรรมที่ท่านแสดงในขณะนั้น เพราะข้อความธรรม เรียบง่ายเหมือนเชาว์ปัญญา และตระหนักว่า ขาดความหนักแน่น ไม่ประกอบด้วยเนื้อหาของ สมถะ คือ ฌาน แต่นั่นเป็นเพราะว่าเป็นการแสดงภูมิธรรมที่มี สมถะ มาก่อนแล้ว พระจีนสมัยนั้นจึงไม่เข้าใจ จึงกว่าวว่า ท่านบ้า เพี้ยน ฟั่นเฟือน ท่านเลยยุติการสอนธรรม และไปอาศัยหลังวัดเสียวลิ้มยี่ และนั่งหันหลังให้ปากถ้ำ หันหน้าเข้าผนังถ้ำ แล้วเข้าฌาน เป็นเวลา ถึง 10 ปี ในขณะนั้น ก็มีพระวัดเสียวลิ้มยี่ผลัดกันมาดูแลท่าน จนกระทั่งผู้ดูแลท่านองค์หนึ่งเห็น ความสามารถของท่านในการเข้าสมาบัติ จึงมั่นใจในธรรมของท่าน ประกอบได้รับการสนทนาทางจิต เพราะท่านไม่พูดแต่ใช้ท่วงท่านิ่งและคุยสนทนาด้วยจิต พระรูปนั้นจึงมีความเคารพปรารถนาเป็นศิษย์ท่านมาหมอบกราบขอเป็นศิษย์ ถึง 3 ปี จนกระทั่งสมัยหิมะตกปีที่สี่ ความสามารถทางจิตก็สูงขึ้นด้วย ( ต้องคิดดูสิว่า พระที่หมอบกราบ อยู่อย่างนั้นทุกวัน ท่ามกลาง ความร้อนสายฝน และหิมะ ถ้าไม่มี ฌาน ด้วยแล้ว จะรอดหรือ ) ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจ ตัดแขนตัวเองแล้วยกชูขึ้นศรีษะกล่าวปฏิญาณตนขอเป็นศิษย์ท่าน โพธิธรรม ท่านโพธฺิธรรม จึงยอมหันหน้าออกมาและรับท่านเป็นศิษย์ สิ่งสำคัญก็คือ พระที่ตัดแขนเขาเห็นความสำคัญอะไร ถึงยอมตัดแขนเพื่อเรียนธรรม ( ไม่ใช่วิทยายุทธ ) เห็นอะไรในท่าน โพธิธรรม

กว่า จะรับศิษย์แท้ ใช้เวลาถึง 10 ปี ถึงจะได้รู้ลูกศิษย์ที่มอบกายถวายชีวิต เพื่อเรียนธรรม ท่านโพธฺิธรรม ท่านสูญเสียเวลาในการเผยแผ่ธรรม ครั้งแรกที่มาถึงประเทศจีน 3 ปี กล่าวสอนธรรมไม่มีใครสนใจเลย และท่านยอมเสียเวลาอีก 10 ปี เพื่อรับศิษย์เพียงคนเดียว คนแรก จากนั้นท่านก็รับศิษย์เพิ่มอีก 3 คน เป็น 4 คนกล่าวได้ว่า ท่านโพธิธรรมมีศิษย์ที่รับเป็นทางการ 4 คนเท่านั้น เป็นชาย 3 หญิง 1 แต่ศิษย์ทั้ง 4 คน มีศิษย์อีกเป็นหมื่น นี่เรียกว่า เอาหัวกระทินะ

ฉันเองก็เช่นกัน ปีนี้วิเวกเป็นปีที่ 9 แต่ตลอด 9 ปีมานี้ ก็ทดสอบศิษย์ซ้ำไปซ้ำมา ยังไม่ได้สอนแก่นของกรรมฐาน ให้แต่ก็ยังสอนรูปแบบกรรมฐาน เดิมไว้อยู่ เพราะว่าแก่นกรรมฐานนั้น มาจาก มูลกรรมฐาน กัจจานะ ซึ่งผู้ที่จะเรียนต้องมีความอดทน อุตสาหะ และ ต้องมีความจริงใจ หากคิดจะเรียนแล้ว ก็ดูชีวิตอาจารย์เป็นตัวอย่าง ว่าต้องเสียสละอะไรบ้าง
ในสายแก่นธรรมกรรมฐาน นั้น ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีเกรียติ ไม่มียศ ไม่มีสักการะ และที่สำคัญคือ ความโดดเดี่ยวในขณะที่ต้องข้ามโอฆะ นั้นมันจะทวีสูงขึ้น ดังนั้นผู้เรียนและรับถ่ายทอดนั้น ต้อง มีปัญญา ความเพียร และอดทน และมีเป้าหมาย เพืออริยผล นิพพาน เท่านั้น

ถึงฉันจะไม่ได้ประเสริฐ เยี่ยมยอด ได้เท่ากับ 1 เปอร์เซ้นต์ ของท่านตั๊กม้อ แต่ฉันก็ยังรอและมองหา คนที่จะรับธรรม และสมควรแก่ธรรมนั้น บางครั้ง วาสนา มันก็มีส่วนสำคัญในหลักธรรมนั้น เช่นกัน หากไม่มี วาสนา แล้ว การรับธรรมย่อมเป็นไปไม่ได้

บัญญิตสมมุติ และ ปรมัตถ์ เป็นขอบเขตน์ที่พระอริยะท่านไม่ได้ใส่ใจแต่การดำรงอยู่ ยังต้องอาศัยสมมุติบัญญัติ การจะเข้าใจปรมัตถ์ก็ต้องอาศัยสมมุติบัญญัติ จึงจะทำได้ หลายคนทิ้งสมมุติบัญญัติ เพราะคิดว่าจะเข้าใจปรมัตถ์ เพราะตัวปรมัตถ์ นั้นขาดจากสมมุติบัญญัติไม่ได้ เช่นการแสดงธรรม เป็นสมมุติบัญญัติ การเห็นธรรมรู้แจ้งเป็นปรมัตถ์ การฟังธรรม เป็นสมมุติบัญญัติ การเห็นธรรมและประจักษ์ธรรม เป็นปรมัตถ์ การเข้าไปเห็นปฏิจสมุปบาท เป็นสมมุติบัญญัต การละกิเลสเพราะการเห็นชัดแจ้งในปฏฺิจจสมุปบาทเป็น ปรมัตถ์

ดังนั้นในหลักวิชากรรมฐาน นั้น ยิ่งท่านจะเห็นปรมัตถ์ ก็ต้องเข้าใจสมมุติบัญญัติไปด้วยกัน และ ผู้ถึงแก่นแห่งปรมัตถ์ ย่อมไม่ทิ้งสมมุติบัญญัติ จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้า พระองค์จะดับขันธ์ปรินิพพาน แล้วทรงตรัสว่า ธรรมและวินัย จักเป็นศาสดา ของพวกเธอทั้งหลายต่อไป ธรรม ก็คือ ปรมัตถ์ วินัย ก็คือ สมมุติบัญญัติ ทั้งสองอย่างต้องไปคู่่กัน ในหลักการของครูกรรมฐาน กัจจายนะสูตร นั้นยังรักษากฏนี้อยู่ ดังนั้นจะเห็น กัจจานะสูตร ยังคงมีอยู่ในสายเถรวาท ไม่มีอยู่ในมหายาน เพราะหลักการของ มหายาน ก็ยึดหลักวจนะของพระพุทธเจ้าอีกแบบหนึ่ง คือ ให้ถอดบัญญัติวินัยได้ตามสมควร แม้ธรรม ก็ให้ถอดออกได้ตามสมควร คือยึดความยืดหยุ่น ให้เข้าประเพณีสมัย ของ ชาตินั้น ๆ ด้วย ความเหมือนและความแตกต่าง จึงเป็นต้นตอที่ทำให้ มหายาน และ หินยาน มีความแตกต่างกันในแนวทาง ของธรรมและวินัย""


ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 12, 2016, 12:23:01 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
มมังการ ความถือดี อวดดี ถือตัว ถือตน เป็นความเสื่อม
« ตอบกลับ #147 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2016, 12:16:57 pm »
0
มมังการ คือ มานานุสัย ที่ต้องละหากผู้ปฏิบัติภาวนา มีความปรารถนาตรงต่อพระนิพพาน นั้นต้องนำออกเสียซึ่ง มมังการ

มานานุสัย มี 9 อย่าง แต่ย่อ ๆ ก็แค่ 3 ข้อเท่านั้น
 1. สำคัญว่า เราดีกว่า เขา
 2. สำคัญว่า เราแย่กว่า เขา
 3. สำคัญว่า เราเสมอ เขา

สังเกตดูอารมณ์ ของเราเองว่า เวลาชอบใคร เราก็มักสรรเสริญเยินยอและ ก็ชื่นชม แต่ถ้าเราไม่ชอบใคร เราก็จะคอยบอกว่าเขาไม่ดี และก็นินทาให้ร้าย แต่ถ้าเราไม่ได้รู้สึกว่า มีส่วนได้ หรือ ส่วนเสียกับ ใคร เราก็รู้สึกเฉย ๆ ไม่ยุ่งไม่เกี่ยว

 สำหรับอารมณ์แรก ชื่นชม นั้น ไม่มีปัญหา ใด ๆ เพราะถ้าชื่นชมในกุศล มันก็ผ่องใส ทั้งใน และนอก

ส่วนอันที่สาม เฉย ๆ นั้นก็ยังไม่มีปัญหา เท่าใด ๆ เพราะอาการมันจะออกไปทาง สงบเงียบ ไม่ออกเสียง ไม่หือ ไม่อือ ไม่ยุ่ง ไม่ข้อง ไม่สน ประมาณนั้น ดังนั้นในมานานุสัย นั้น ที่จะต้องจัดการก่อน ก็คือ ความสำคัญว่าเราดีกว่าเขา และ แย่กว่าเขาสองอันนี้ ต้องถูกจัดการก่อนเพราะว่า ถ้าเราคิดว่า แย่กว่า เขา ก็จะออกอารมณ์อาการไว่า รู้สึกไม่ดี ไม่ชอบ แต่ถ้าเรารู้สึกว่า ดีกว่า เขา เราก็จะเกิดความรู้สึกว่า ย่ามใจ ประมาท ฮึกเหิม

ดังนั้นการละ มานานุสัย นั้น พระพุทธเจ้าสอนวิธีดีสุดก็คือ การเจริญ อนิจจสัญญา คือ เจริญจิตพิจารณาว่า รูป ไม่เที่ยง เวทนา ไม่เที่ยง สัญญา ไม่เที่ยง สังขาร ไม่เที่ยง วิญญาณ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้่นก็เป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งนั้นไม่ควรยึดถือว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนขอเรา

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงหมั่นเจริญ อนิจจสัญญาเถิด อย่าให้คำว่า Like Love Bad Fuck Laugh Sad มาครอบครองจิตใจของท่านได้ จงพิจารณา ตามความเป็นจริง และเห็นจริงตามนั้นเพื่อละ มมังการ ความถือดี ถือตัว ถือตน ออกเสียเถิด

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"คนอื่น ๆ อาจจะมัวแต่ คิดแต่ ว่าอยากได้ อยากมี และอยากเป็น แต่วันหนึ่ง ๆ ของฉัน ๆ ก็พยายามสยบความคิดและ พยายามภาวนาให้ลุล่วงต่อการ อยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น สิ่งสำคัญที่ครูฉันสอนไว้ ก็คือ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว ให้ยกจิตขึ้นสู่ วิปัสสนา ทุกครั้ง ด้วยการยกจิตเข้าสู่ อนุวิปัสสนา บางทีหลายคนก็มักจะสงสัยกันว่า ต้องทำวิปัสสนา เมื่อไหร่ ก็ต้องย้อนถามกลับไปว่า ท่านต้องการอะไรจากสมาธิ เพราะการฝึกฝนสมาธิ แท้ ๆ หลัก ๆ ก็เพื่อการทำวิปัสสนา เท่านั้น แต่หลายคนวันนี้ไปฝึกสมาธิ เพื่อการได้ ญาณ 9 แล้ว หักเหจาก ญาณสำคัญ คือ อาสวักขยญาณ....."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส ภิกขุ

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"วันนี้เดินทางไปร่วมงานศพ เพื่อนสนิทคนหนึ่ง เป็นเพื่อนเรียนกันตั้งแต่สมัยประถมนั่งด้วยกันโต๊ะเดียวกัน และ เป็นเพียงคู่เดียวในห้องที่จับผู้หญิงมานั่งกับผู้ชาย ทะเลาะกันทุกวัน จิกข่วนแกล้งกันทุกวันจนเรียนถึง ป6 จนหลายคนในโรงเรียนบอกว่า เป็นคู่สร้างคู่สมกัน ถูกล้อกันเป็นประจำสำหรับ เพื่อนคนนี้มาโดนล้อกันมากที่ ป6 หลังกจากนั้นก็ไม่ได้เจอกันอีกถึง 7 ปี พอทราบข่าวว่า เขานำเพื่อนคนนี้มาตั้งศพที่วัดที่อยู่ ตอนนั้นเป็นฉันเป็นสามเณร ตอนเขาเปิดโลงก็เลยถือโอกาสขึ้นไปดูหน้าเพื่อนหน่อย เมื่อขึ้นไปถึงก็เห็นหลาน พี่น้อง เขาร้องห่ม ร้องไห้ คร่ำครวญ อย่างน่าสงสารมาก ยิ่งตอนเขายกศพเธอ เข้า ช่องเตาเผาด้วย เสียงคร่ำครวญ สะอึกสะอื้น เกิดขึ้นระงม เนื่องด้วยศพคนนี้เป็นศพหญิงสาว ที่มีอายุอยู่ 18 ปี เธอถูกรถชนเสียชีวิตที่ รพ. เพื่อน ๆ ตลอดพ่อแม่ พี่น้อง ต่างยืนคร่ำครวญเพราะทุกคนต่างคิดว่า ยังไม่น่าจะใช่เวลา ที่เธอจะจากไปก่อน ครอบครัวนี้ เราเห็นตอนนั้นก็รู้สึกถึงความทุกข์ใจของทุกคนเป็นอย่างมาก สิ่งที่ทำได้ ก็เพียงวางดอกไม้จันทร์ และยืนไว้อาลัยน่าศพของเธอ เท่านั้น บางครั้งยังรู้สึกว่า ตัวเราเองยังไม่สามารถช่วยเหลือเยียวยา จิตใจ ของคนที่มีชีวิตอยู่ได้ เพราะความคร่ำครวญ เหล่านั้นไม่สามารถ ทะลายลงได้ ด้วยความรู้สึกที่ไม่ได้ศรัทธา หลายต่อหลายครั้งที่ฉันต้องไปเยี่ยมคนที่ใกล้ตาย และเห็นสีหน้า ของคนรอบข้างที่เขาตั้งความหวังไว้ว่า ฉันจะช่วยอะไรเขาได้ ฉันจะสร้างปาฏิหาริย์ อะไรให้แก่เขาได้ ฉันเองก็รู้ตัวดี ว่า ฉันเองไม่มีปาฏิหาริย์เรื่องพวกนี้ เพราะฉันรู้ดีว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตาย ล้วนเป็นส่ิ่งที่มีเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดา เท่านั้น อันพวกเราทั้งหลาย ที่ยังคิดถึงปาฏิหาริย์ ต่าง ๆ แต่ไม่ได้คิดถึงว่า ถ้าปาฏิหาริย์ไม่มี เราจะรับมือกับ เรื่องเหล่านี้อย่างไร จะเลือกรับมือ ด้วยความคร่ำครวญ หรือว่า จะเลือกรับมือ ด้วยสติปัญญา มองให้เห็นว่า มันเป็นธรรมดา อย่างนั้นนั่นเอง แม้เราก็ต้อง แก่ เจ็บ ตายไป อย่างนั้น นั่นเองเช่นกัน..."

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 16, 2016, 05:02:11 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ญาณธาตุ นิมิตรวิปัสสนาตั้งให้ถูก
« ตอบกลับ #150 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 10:15:19 am »
0
"ธาตุรู้ ญาณธาตุ เวลาตั้งจิตต้องตั้งให้ถูกในกองกรรมฐาน ถ้าตั้งผิดในกองกรรมฐาน ( หมายถึงการวางนิมิตร ) เพื่อวิปัสสนา นั้นวางผิดมันก็จะมีแต่ภาพ มืด ๆ ขาว ๆ เท่านั้น และ จิตก็จะสาระวนอยู่กับที่ วนอยู่ กิเลส กรรม วิบาก เหมือนเดิม  สุดท้ายก็หลับสัปหงก ทำอยู่อย่างนั้นทั้งวัน ก็เป็นแค่เช่นนั้นเอง ดังนั้นผู้เรียนกรรมฐาน เมื่อได้นิมิตร ต้องวางนิมิตรในวิปัสสนาให้ถูกต้อง นี่กล่าวเฉพาะ ผู้มี ฌาน ขึ้นไป สำหรับฝ่ายปัญญาวิมุตติ นั้นมีอุปจาระสมาธิแล้ว จะทำไม่ได้แบบฝ่าย อุภโตภาค แต่อุภโตภาค ก็จะทำเหมือนกัน เพียงแต่ของปัญญาวิมุตตให้นึกหน่วงพิจารณาลำดับในปัจจุบัน แต่ ฝ่ายอุภโตภาค นั้น ใช้การหยุดมอง สิ่งที่เหมือนกันคือ การมอง แต่อีกฝ่ายต้องเดินเข้าไปมองอย่างใกล้ ๆ อีกฝ่าย จับมาเข้ามาดูถือเข้ามาตั้ง และมองทุกมุม แล้วแต่การพลิกเพื่อจะมอง ดังนั้นฝ่ายปัญญาวิมุตติ จับอารมณ์ ที่เข้ามา ซึ่งอารมณ์มันเปลี่ยนแปลงไว  แต่ ฝ่ายอุภโตภาค ตั้งนิมิตร แล้วกักอารมณ์นั้นไว้พิจารณา มอง เห็นตามความเป็นจริง

ดังนั้นฝ่าย ปัญญาวิมุตติ จึงเน้นเรื่องการจับให้ทัน ด้วยสติ และ พัฒนา สติ ไปสู่สมาธิ
ส่วนฝ่าย อุภโตภาค ตั้งองค์พิจารณา กันเลย เพราะอารมณ์ระหว่างที่มีสมาธิ ปราศจากนิวรณ์ คือว่างเว้นจากกิเลสปกปิด นั่นเอง ด้วยอำนาจสมาธิ

อันมนุษย์ ทุกคนเกิดมามีสองด้าน ๆ ที่ทำให้วิ่งหาสัจธรรม ก็เป็นได้ทั้งสองด้าน แต่ด้านวิงหามากที่สุด คือ ด้านมืด ด้านทุกข์ ด้านเจ็บ ด้านอกุศล เป็นต้นเพราะวิบาก ฝั่งอกุศล รุนแรง ทำให้ลำบาก เกิดมาอัตคัตขัดสน ผิดหวัง ไม่สมหวัง รูปชั่ว ตัวดำ และเสวยภพชาติ ในอบายภูมิ ก็เพราะอกุศล ส่วนผู้ใดมีด้านสว่างมาก ถ้าจะวิ่งหาธรรมก็คือ ต้องเบื่อหน่ายเห็นว่าไม่มีสาระ ฝั่งนี้ มีแต่ สุข มีแต่ความสำราญ มีแต่ความเพลิดเพลิน และก็มัวเมา ถ้าจะตาสว่าง ก็คือต้องเบื่อ
ดังนั้น ธาตุทั้งสองประการนี้ บ้างก็มีอยู่ในคน มากบ้าง น้อยบ้างตามอุปนิสัยที่สั่งสมมาจากชาติก่อน ๆ เรื่อยมา

บางคนเกิดมาดี แสนดี พ่อแม่ชั่วเลวร้าย ก็ไม่เลวร้ายตาม บางคนเกิดมาชั่วแสนชั่ว พ่อแม่ ก็ดีแสนดี แต่ลูกกลับทำระยำตำบอน ทั้งหมดนั้นเกิดจากอุปนิสัยจากชาติที่สั่งสม ความดี หรือ ความชั่ว มาก่อนนั่นเอง ดี หรือ ชั่ว ที่เป็นนิสัยไม่ได้สั่งสมกันเพียงชาติเดียว ใช้เวลายาวนานเป็นเหตุสั่งสมดังนั้นถ้าผู้ภาวนามองเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะรู้ว่า ดี ชั่ว อยู่ที่ตัวทำ ไม่มีใครเปลี่ยนให้ใครดี หรือ ชั่วได้ ดี หรือ ชั่ว ต้องเกิดจากความตั้งใจของวิญญาณฐิติขณะนั้น ต้องการเอง ดังนั้นอย่ามัวแต่โลกสวย มองว่าคนทั้งโลกเป็นคนดี  ถ้ามองเห็นตามความเป็นจริงแล้ว จะไม่เสียเวลามาโลกสวย

ดังนั้นเวลาตั้ง องค์นิมิตร เพื่อวิปัสสนา มีข้อระบุให้ตั้งธรรมที่เป็น ท่ามกลาง ( มัชฌิมา ) ดังนั้นเวลาเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ตั้งที่ศูนย์ นาภี หรือ หทัยวัตถุ เพราะมีเพียงธาตุเดียว ที่จะทำให้ปรากฏ อริยสัจสองอย่างที่เป็นคู่กันได้ นั่นก็คือ ทุกข์ คู่ นิโรธ สมุทัย คู่กับ มรรค ท่านที่เป็นศิษย์ทั้งหลายลองใช้ ปัญญา พิจารณาไตร่ตรองดูว่าจะตั้งฐาน ท่ามกลางตรงไหนลองพิจารณาดูสิว่า เป็นฐานนั้น รูป เป็นภาชนะ แต่ภาชนะต้องมีที่จับ ถ้าภาชนะนั้นร้อนก็ต้องมีเครื่องป้องกัน ถ้าภาชนะนั้นเย็นก็ต้องมีเครื่องป้องกัน ถ้าภาชนะมีความสงบพอดี ก็จะไม่ต้องมีที่จับมาก
    ความร้อน คือ อกุศล เมื่อจับต้องครอบจักรวาล ขณะนั้น
    ความเย็น คือ กุศล เมื่อจับก็ต้อง รู้จักวาง
    ความสงบ คือ มัชฌิมา เมื่อจับก็มีมุมจับเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ข้อความในมูลกรรมฐาน กล่าวว่า ปัญญาญาณที่ชื่อ ญาณ 3 ( สัจจญาณ กตญาณ กิจจญาณ ) ชื่อว่า สัมมาวิริยะ และ สัมมาวิริยะ เป็นวิริยะโพชฌงค์ ผู้ใดกระทำความเพียร เมื่อตั้งนิมิตรที่ฐานแรกแล้ว ตั้งธรรมนิมิตร ที่ ธรรมวิจิตราด้วยความปรารถนา มุ่งตรงต่อ อุปสมะ ( นิพพาน ) กระทำธรรมสองให้ปรากฏแจ้ง ในฐานท่ามกลาง ย่อมถึงซึ่งปีติ ( ความยินดี ) ที่ปหานกิเลสลงได้ วิราคะ (ความจางคลาย ) ย่อมพอกพูน เป็น ปัสสัทธิธรรม ..........

   ดังนั้นเวลาตั้ง ผลสมาบัติ ให้ใช้ วิริยะที่หทัยวัตถุ เพราะกิเลสดับแล้ว ดับตามขั้นของพระอริยะ
   แต่ถ้ายังมีกิเลส ตั้งองค์วิปัสสนา วิริยะสมังคี ใช้ที่หทัยวัตถุ ไม่ได้ โปรดจำไว้ ต้องตั้งตรงที่เกิด สุขสมาธิ

  คำถามแล้ว สุขสมาธิ อยู่ตรงไหน ละ
  เข้าใจหรือยัง ว่าเริ่มวิปัสสนา เต็มไม่ใช่ ตามธาตุฐาน ( เพราะทุกฐาน มีวิปัสสนาแบบ วิปัสสก อย่างอ่อน อยู่ ) ที่สอนให้ทำวิปัสสนาตรงนั้นก็เพื่อฟอกคุณธรรม ฝ่ายวิปัสสกไปด้วย
  แต่ตรงนี้เป็นการกล่าว การตั้งวิปัสสนา ตรง ของ ผู้มี ฌาน

 

สรุป ผู้จะเจริญวิปัสสนา ต้องตั้ง ธรรมเพื่อปหาน ณ ฐานท่ามกลาง ลองพิจาณาดูสิ อยู่ตรงไหน ตั้งถูกหรือไม่ หรือยัง"




ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดืนทาง ของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2016, 12:42:21 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"การทำวิปัสสนา ในพระกรรมฐานจริง ๆ ไม่มีการตั้งวิตก ถ้าผู้ได้ ฌาน แล้วไปตั้งวิตก นึกหน่วง นั่งท่อง ว่า อนิจจัง อนิจจัง อย่างนี้เป็นต้น หรือ คำในญาณ 16 ผลที่จะได้กก็คือ การนั่งหลับ สัปหงก มืด วนไป วนมาอยู่นั่นแหละ เพราะวิธีการทำนั้น ท่านสอนให้กับผู้เจริญ วิปัสสนา โดยตรง ๆ โดยที่ไม่มี สมาธิมาก่อน ดังนั้นเวลาเริ่มภาวนา จึงให้ใช้คำวิตก ตามชื่อธรรม

ส่วนการทำวิปัสสนา ของผู้มี ฌาน ตั้งองค์นิมิตร คือ ปฏิภาคนิมิตร แล้วอธิษฐานธรรม ไม่มีการบริกรรม เพราะเมื่ออธิษฐาน ธรรมใด ๆ ธรรมนั้นจะถูกยกเข้าในอารมณ์ไม่เลื่อนไป จนกว่าความปรารถนา คือความเห็น ใน ญาณ จะเกิด นั่นเอง

อานาปานสติ ขั้นที่ 13 คือ พระโสดาบัน ขั้นที่ 14 คือ พระสกทาคามี ขั้นที่ 15 คือ พระอนาคามี ขั้นที่ 16 คือพระอรหันต์ ใครบอกว่าเรียนจบแล้ว ก็สำเร็จตามนั้น แต่ถ้ายังไม่ได้คุณธรรม ตามนั้นก็คือยังไม่ผ่าน ถ้าผ่านแล้ว เรียกว่า เรียนจบ ถ้าไม่ได้ไปเที่ยวพูดว่าเรียนจบผ่านแล้ว อาจจะถูกปิดธรรม เพราะมิจฉาทิฏฐิ ในตอนท้ายได้ เพราะมานะสังโยชน์เป็นตัวเล่น งาน

ดังนั้นถ้าจะเรียนกองกรรมฐานอื่น ๆ ให้กระทำก่อนจบอานาปานสติ ขั้นที่ 16 จะไปเรียนกสิณ อสุภะ อนุสสติ อัปปมัญญ จตุธาตุ อาหารเร หรือ กรรมฐานแบบอื่น ก็ให้เรียนและภาวนาคู่กันก่อน จบอานาสติ ขั้นที่ 16

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสำเร็จธรรม ในอานาปานสติ ขั้นที่ 16 แล้ว จะไปเรียนกรรมฐาน สมมุติ อื่นอีก มันทำไม่ได้เพราะจบแล้ว ก็จบดังนั้นจะเห็นพระอรหันต์วิปัสสก จะมาเรียนกรรมฐาน เปลี่ยนแปลงตนเองเป็นฝ่าย เจโตไม่ได้ นี้คือคำพูดที่ถูกต้องที่ครูฉันสอน
"


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

พ้นจากพันธนาการ ของ จิต ด้วย ญาณ



หมายเหตุ

    ข้อสังเกต ของฝ่ายสมาธิ เจโตสมาธิ ไม่จำเป็นต้องรู้ขั้นตอนอันยิบย่อย ของวิปัสสนา ไม่จำเป็นต้องสอน ถ้าอธิษฐานจิตด้วยนิมิตรเป็นปฏิภาคจริง ๆ ไม่จำเป็นต้องรู้จักบัญญัติ เพราะการรู้จะเกิดขึ้นโดยลำดับ ของ ญาณที่อธิษฐานเอง ดังนั้นจะเห็นว่า พระอริยะตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เขาไม่ต้องมานั่งเรียน อนุวิปัสสนา วิสุทธิ 7 ญาณ 9 ญาณ 10 ญาณ 16 เพราะว่าเมื่อตั้งอธิษฐาน ด้วยวิปัสสนา 3 แล้ว จะไม่ต้องไปเข้าใจศัพท์อะไรทั้งนั้น

     ส่วนพวกปัญญาวิมุตตินั้น เพราะไม่สามารถเข้าอารมณ์ แบบพระฝ่ายเจโต จึงต้องมีการสอนให้นึกหน่วงปรุงแต่งธรรม ตามลำดับเพื่อให้เข้าใจในขั้นตอนในธรรมารมณ์ เพื่อไปสู่การละอนุสัย กิเลส ดังนั้นสายที่จะต้องเรียนจำมากคือ สายปัญญาวิมุตติ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2016, 12:08:19 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ไม่มีใครฆ่าเวลา ได้ มีแต่ถูกเวลา กัดกิน กันทุกคน วนแล้ว วนเล่า เป็นเอนกชาติ ยิ่งซื้อเวลายิ่งไม่มีทาง ดังนั้นเวลาเป็นของมีค่า ใครจะใช้ให้เป็นประโยชน์ หรือ ไร้ประโยชน์ ก็อยู่ที่ตัวเอง เป็นผู้จัดการ เวลาของทุกคนในวันหนึ่ง มีเท่ากัน แต่ ความรู้ด้วยญาณ มีโอกาส ไม่เหมือนกัน บางคนได้รู้จักช้า บางคนได้รู้จักเร็ว เด็กเจ็ดขวบเป็นพระอรหันต์ก็มี แต่ก็มีน้อยมาก คนแก่ร้อยกว่าปี ไม่ได้ธรรมอะไร ก็มากมาย ดังนั้น จงใช้เวลา ให้มีค่า อย่าปล่อยให้ วิญญาณ จมอยู่ในความทุกข์ จงเข้าสู่หนทาง ที่มีความสงบระงับ และตั้งใจน้อมใจ ความสงบนั้นเถิด จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่ถูกกัดกิน เป็น บุคคลชื่อว่า ภัทเทกรัตโต (ผู้เจริญเพียงราตรีเดียวก็ประเสริฐ)บุคคล "

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2016, 01:08:16 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
รสแห่งธรรม ย่อมชนะ รสทั้งปวง
« ตอบกลับ #153 เมื่อ: สิงหาคม 25, 2016, 11:30:31 am »
0
"หากวันหนึ่ง ที่ท่านทั้งหลาย จะต้องเข้าไปยุ่งกับเรื่องของชาวโลก แล้วละก็ ต้องระวังใจเป็นอย่างมาก เพราะชาวโลก ยึดถือความชอบความชัง เป็นหลักใหญ่ เหมือนของในตลาดนั่นแหละ ชอบก็เอา ไม่ชอบก็ทิ้ง ชอบแพงก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่ชอบถูกอย่างไรก็ไม่เอา นี่เป็นความคิดของชาวโลก และชาวโลกก็มีความคิดเป็นเช่นนี้ ดังนั้น หากจะอยู่กับชาวโลก ก็ต้องระวังใจ นึกถึงคำสอนหลวงปู่ ที่เป็น สโลแกน เรื่องการปิดหู ปิดตา ปิดปาก ที่ปรากฏข้อความในหนังสือประวัติหลวงปู่ โดยหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ท่านเรียบเรียงไว้ ทำให้เห็นธรรม แบบง่าย ๆ ทันที เรื่องอย่างนี้เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมาก เวลาที่เราต้องยุ่งกับชาวโลก และสิ่งที่ต้องระวัง ก็คือ ใจของเราเอง เพราะชาวโลก ไม่มีอะไรแน่นอน เพราะชาวโลก ยึดความชอบและชัง ดังนั้นอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้องยึดหลักธรรม คือ การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไว้เป็นหลักแรก กล่าวคือการมีศีล เพราะอยู่กับชาวโลก สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกัน ก็คือ ศีล ดังนั้น ศีลธรรม จึงเป็นสิ่งที่ชาวโลก ใช้อยู่คู่กัน ส่วนธรรมขั้นสูง เป็นธรรมภายใน อันนั้น ส่วนใจของเรา ดังนั้น ถ้าอยากอยู่อย่างสงบ ก็ต้อง อาศัยศีลเป็นเครื่องกั้น กาย วาจา ไว้ นั่นเอง"
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนาและการเดินทาง ของธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ถ้าจะถามว่า ฉันเคารพครูอาจารย์มากน้อยอย่างไร ก็ควรจะต้องย้อนดูว่า เวลาครูอาจารย์ท่านสั่งให้ฉันไปปฏิบัติหน้าที่ หรือ ถูกทดสอบ ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ นั้น ฉันไม่เคยต่อรองกับครูอาจารย์สักครั้ง เพราะฉันเชื่อในดุลย์พินิจ ของครูอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาให้ฉันเสมอว่า ที่ท่านพยายามทดสอบก็เพื่อขจัดกิเลส ของตัวเรา ท่านเอ็นดูเรา ต้องการให้มีความสามารถ ท่านจึงได้มาสอนและ ย้ำให้เราท่านการทดสอบ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะ การพูด การเขียน การอ่าน การศึกษา การวางจิต การลงธรรม ทั้งหมดนั้นมีเพียงจุดประสงค์เดียว คือ การขัดเกลา กิเลส ที่มันยังนอนเนื่องในสันดานของเราให้เบาบางลง และหมดลง ไป อย่างสิ้นเชิง นั่นเอง นี่จึงเป็นเหตุให้ฉันเคารพครูอาจารย์ ที่ประสิทธิ์วิชา มัชฌิมา เป็นอย่างมาก เพราะชีวิตที่เหลือนี้ อยู่เพียงเพื่อ สิ่งนี้ เบื่อแล้ว ไม่อยากเกิดอีก และไม่อยากทุกข์อีก ฉันจึงเชื่อมั่นเจริญภาวนา ตามคำสอนของครูอาจารย์ ด้วยสามารถทุกด้าน ...."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
( จากภาพเป็นภาพดอกบัวสวรรค์ เป็นดอกบัวชนิดหนึ่ง ที่เกิดบนต้นไม้ยืนต้นมีมากที่เขต ทุ่งยั้ง และบรรดาผึ้งก็ชอบดอกพวกนี้ เพราะมีน้ำหวาน จากเกสรที่มีกลิ่นพิเศษ กล่าวได้ว่า ผึ้งใดมาเก็บน้ำหวานจากดอกนี้เป็นจำนวนมาก เชื่อว่า น้ำผึ้ง มีประสิทธิภาพ ทางด้านอายุวัฒนะ มาเล่าต่อเท่านั้น จริงหรือไม่จริง ท่านใดมีน้ำผึ้งแบบนี้ก็ส่งมาให้กันหน่อย ก็ดีนะ)




ดอกบัวสีทองอ่านตรงนี้เลย
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22101.0

สันนิษฐานว่า ตอนที่พระพุทธเจ้า หยิบดอกบัวสีทองให้กับ สัทธิวิหาริกของ พระสารีบุตรไปพิจารณา แล้วดอกบัวก็เปลี่ยนเป็นสีแดง น่าจะเป็นดอกบัวสวรรค์ ดอกนี้แหละนะจ๊ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 03, 2016, 01:19:14 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
วิปัสสนา ข้ามพ้น บัญญํติ
« ตอบกลับ #155 เมื่อ: กันยายน 10, 2016, 11:13:55 am »
0
"ข้อผิดพลาดของผู้กระทำวิปัสสนา นั้นจริง ๆไม่ได้มีมาก เพียงแต่ไม่เข้าใจเมื่อจิตของผู้ภาวนา ได้สมาธิ ขั้นอัปปนาแล้ว เมื่อยกจิตเข้า วิปัสสนา ลำดับนั้น พึ่งเป็นแแต่ผู้ดูรับทราบ ไม่มีนัยยะ ไม่มีบัญญัติ ไม่ต้องเทียบ ไม่ต้องจำ เพียงแต่เป็นผู้ดูรู้สึก ขณะนั้นว่า เกิด ตั้งอยู่ ดับไปอย่างไร เท่านั้น หลายท่านพอยกจิตก็ไใช้บัญญัติกำกับ ในวิปัสสนาญาณมีแต่เพียงสภาวะ เหมือน รส เราจะอธิบายว่า เปรี้ยว เค็ม หวาน เป็นอย่างไรนัน มันได้เพียงเท่านั้น เพราะวิปัสสนา นั้นเป็นปรมัตถ์ พ้นจากบัญญัติ ยิ่งเราเอาบัญญัติไปใส่ สภาวะก็จะตันและไม่ก้าวหน้า พาลให้หลับ สัปปหงกไปตามนั้น เพราะไม่ได้ อาโลก อุทปาทิ เมื่อยกจิตเข้า วิปัสสนา จึงไม่แจ่มแจ้ง ...."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึงแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 10, 2016, 11:26:04 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
อรุณสวัสดิ์ หลังออกกรรมฐาน ครั้งที่ 7
« ตอบกลับ #156 เมื่อ: กันยายน 20, 2016, 10:56:56 am »
0
"ชีวิตคนเรานั้น มันไม่แน่นอน ที่มันแน่นอน คือความตายมันแน่นอน แต่ก็ไม่แน่นอนตรงที่ว่า จะตายเวลาไหน ตอนไหน ตรงไหน ดังนั้น ผู้ภาวนาจึงควรรักษา กุศล ไว้สม่ำเสมอไม่ควรประมาท ย้อนหลังไปเมื่อ 12 ปีที่แล้วทุกครั้งที่ตื่น ที่หลับ ฉันจะระลึกถึงความตาย กินข้าวก็ระลึกถึงความตาย จะเดินไปไหน มาไหนทำอะไร ก็จะนึกระลึกถึงความตาย แม้ตอนจะนอนหลับก็ระลึกถึงความตายว่า ความคิดมันบอกเสมอว่าถ้านอนไปแล้วไม่ตื่นอีก มีกุศลอะไรที่จะไม่ได้ทำ ก็จะพยายามทำ กุศลนั้นให้คงอยู่  สติที่พอจะระลึกถึงกุศลขึ้นได้หลังจากนึกถึงความตายนั้น ก็คือ อานาปานสติ คือการตั้งสติตามดูศึกษา ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ดังนั้นตอนที่ทำกิจต่าง ๆ เลยกลายเป็นว่า ดูลมหายใจเข้าออกไปด้วย เช่นเวลากิน ก็พิจารณาอาหาร ไปแต่เติมไปว่า พิจารณาไปพร้อมกับลมหายใจเข้า พร้อมกับลมหายใจออก ครั้นถึงเวลานิ่ง ๆ ไม่ได้ทำอะไร สติก็ตามระลึกถึง ลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ทำติดต่ออย่างนี้ 4 ปี จนกระทั่งเวลาหลับ เวลาตื่น ก็สามารถกำหนดลมหายใจเข้า หรือลมหายใจออกได้ เวลาตื่นก็สามารถรู้ว่า ตื่นด้วยลมหายใจเข้า หรือลมหายใจออก แม้ที่ตอนหลับไป ได้ยินเสียงตนเองกรน ครอก  ๆ ก็ระลึกว่า มันกรน ครอก ๆ เป็นหายใจออกนะ ไม่ใช่เข้า อย่างนี้ ตอนนั้นรู้สึกเรือ่งลมหายใจเข้าออก มากทีเดียว คนอื่นอาจจะเรียกว่า ปาฏิหาริย์ ของลมหายใจเข้าและออก แต่ฉันไม่กล้าใช้คำขนาดนั้นเพียงบอกได้ว่า สติที่ตามดูลมหายใจเข้า และหายใจออก มันทำให้เราเข้าสู่สภาวะตื่น มากกว่า หลับ ถ้าร่างกายไม่อ่อนเปลียเพลียแรงมาก ๆ ก็จะหลับไม่นาน สักประมาณ 4 - 5 ชม. ก็เพียงพอต่อการพักผ่อน แต่ถ้ามันไม่สบาย อ่อนเปลี้ยเพลียแรงมาก ก็พักดูลมหายใจเข้า และ ลมหายใจออก ไปอย่างนั้น แท้ที่จริงจะกล่าวว่า ดูลมหายใจเข้าหรือออกก็ไม่เชิง เพราะเมื่อหลับตาลงไปทีไร มันมีแต่แสงระยิบระยับ ในขณะทีลมหายใจเข้า และ ออกมีอยู่อย่างนั้น ....."
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของ ธัมมะวังโส

( มอบธรรมวันนี้ ออกกรรมฐานมาตอนเช้า 3 วัน 3 คืน ครั้งที่ 7 ยังเหลืออีกสองครั้ง รู้สึกหิวตอนนี้แต่ไม่มีอะไรฉันเลย คงต้องเป็น โจ๊กซอง กับ นมเปรียว เสียแล้ว )


   หลงตัว ลืมตาย  หลงกาย ลืมแก่
   หลงผัว หลงเมีย ลืมพ่อ ลืมแม่
   หลงยศ ลืมพวก หลงลาภ ลืมจน
   หลงสุข ลืมคิด   หลงชีวิต ลืมธรรม




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 20, 2016, 11:20:46 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


"ความเห็นของข้าพเจ้าได้ถูกอบมรมสั่งสอนมาตั้งแต่เยาว์วัย ด้วยการพิจารณาธรรมชื่อว่า อริยสัจ ู๔ ข้าพเจ้าได้ทบทวน และ ได้พิจารณา อริยสัจ ๔ ตามปริวัตร ๓ มีอาการ ๑๒ โดยครบถ้วน แล้ว มีความเห็นมุ่งตรงต่อ มรรค ผล และ นิพพาน ความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม ได้ถูกชำระแล้ว ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ทุกๆ พระองค์ โดยเฉพาะในพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน  และเลื่อมใสในพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้โดยชอบแล้ว คือ อริยสัจ ๔ และ อริยะมรรคมีองค์ ๘ ข้าพเจ้าได้พบพระสงฆ์ผู้เป็นกัลยาณมิตร ที่สืบทอดธรรมอันมี วจนัตถะที่ครบถ้วน ทำให้ข้าพเจ้าปฏิบัติภาวนาลุล่วงได้เป็นลำดับ ตามปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ  ข้าพเจ้าเป็นผู้มีปกติได้กล่าวสรรเสริญ พระรัตนตรัย ทั้งกลางวัน และกลางคืน ทั้งต่อหน้า และลับหลังและไม่มีความสงสัย ต่อการตรัสรู้ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเชื่อมั่น ต่อ มรรค ผล นิพพาน ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ชอบแล้ว
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ความตั้งใจตรงของข้าพเจ้ามุ่งตรงต่อพระนิพพาน และมีใจ มั่นคงในเนกขัมมะ ไม่เห็นเพศใดเหมาะสม แก่การตั้งมั่นในกุศลมากกว่า เนกขัมมะเพศ ข้าพเจ้ามีความตั้งใจเว้นจากการเบียดเบียน ไม่ปองร้ายผู้หนึ่งผู้ใด และเป็นผู้แสวงหาความสงบอันเกิดขึ้นเฉพาะทั้งภายนอก และภายใน มีใจมุ่งตรงต่อพระนิพพาน มีความปรารถนาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย และละจากความปรารถนา เป็นเอตทัคคะในพระพุทธเจ้าทุกพระองค์แล้ว นั่นเอง
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้าเว้นขาด จาการพูดเพ้อเจ้อ คำหยาบคาย คำส่อเสียด คำโกหก เป็นผู้ตั้งมั่น ในวาจาอันเป็นธรรม ไม่ทำ สัมปชานมุสาวาท ตามครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์สอน ธรรมแก่ ข้าพเจ้า วาจาใดที่กล่าว ไม่มีคำเคลือบแฝงด้วยจิต อันมีปรารถนาลามก หรือ มีความต้องการได้มาซึ่ง สักการะ มี ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ เป็นต้น
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้า เว้นขาดจากเบียดเบียนจากการทำชนที่เกี่ยวข้อง ให้เดือดร้อน มีทุกข์ และไม่ปรารถนา ให้ผู้ใดตกต่ำไปสู่อบายภูมิ ๔
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้า เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยความบริสุทธิ์ ด้วยการเป็นผู้รับมอบ ทาน เป็นเครื่องบำรุง ไม่เข้าไปแสวงหาด้วยการคลุกคลี เรียกร้อง ด้วยความจงใจ แต่ตั้งมั่นอธิษฐานเลี้ยงชีวิต โดยทาน อันเกิดโดยสมควรแก่เพศสมณะ และข้าพเจ้าสำนึกในทานทั้งหลาย อันชนทั้งหลาย กระทำสงเคราะห์แล้วแก่ข้าพเจ้า
เมื่อข้าพเจ้า ระลึก ถึงข้าวปลาอาหาร ตลอดถึงปัจจัย ๔ ที่บรรดาท่านทั้งหลายผู้มีจิตศรัทธา มีจิตมุ่งตรงเคารพเลื่อมใส ใน พระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้า มีพระธรรมเจ้า มีพระอริยะสงฆ์ ทั้งหลายทั้งปวงเป็นสรณะ ทานและปัจจัย ๔ ที่ท่านทั้งหลายอุทิศสละมอบให้แล้ว แก่ข้าพเจ้า นั้นย่อมเป็นเหมือนสัญญา ที่คอยย้ำเตือนให้ ข้าพเจ้า นั้นไม่ตั้งอยู่ในความประมาท
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้า ตั้งจิตอยู่ด้วยความไม่ประมาทประกอบการภาวนา ในวันและราตรี ที่ผ่านไป ด้วยธรรมของบรรพชิตหนึ่งว่า  วันคืนล่วงไป ผ่านไป บัดนี้เราทำอะไรอยู่  ข้าพเจ้าจึงได้ตั้งความเพียรอยู่ในการภาวนา เพื่อยังปริยัติให้คงอยู่ และภาวนาปฏิบัติให้ดำเนินไปอย่างสมังคี ตลอดถึงสมาทานปฏิเวธที่เกิดขึ้นแล้วโดยสมควรแก่ฐานะ ไม่เกียจคร้าน
    ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้าได้ตั้งองค์ ระลึก นึกถึง พระรัตนตรัย อย่างสม่ำเสมอ มีการระลึกถึง พระพุทโธ มิได้ขาด มีการกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง พุทโธ เป็นบาทคาถา ว่า เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ  ข้าพเจ้าเข้าใจถึงอุบาย ความหมายของ พระคาถา มหาพุทธรัตนะนี้เป็นอย่างดี จากครูอาจารย์ผู้ประสิทธิ์วิชา ทั้งบาทคาถา เป็นสัพพโตภัทระบท และ บทแห่งคุณ แห่งธรรม ข้าพเจ้าเป็นผู้สวด สรรเสริญคุณแห่งพระรัตนตรัย สม่ำเสมอ และใช้เป็นอุบายตั้งมั่นแห่ง สติ สัมปชัญญะ ข้าพเจ้ามีการสมาทาน  การก้าวไป  ถอยกลับ การแลดู  เหลียวดู(หัน)   คู้เข้า ( ตึง)   เหยียดออก ( ผ่อน ) นุ่งห่ม  กิน ดื่ม  เคี้ยว  ลิ้ม  ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ  เดิน  ยืน นั่ง  นอน  ตื่น พูด  นิ่ง ด้วยธรรมสมาทานชื่อว่า ปัจจเวกขณบ้าง สัมปชัญญะบ้าง ภาวนากุศลบ้าง ในอิริยาบถ ทั้ง ๑๙
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ

ข้าพเจ้าได้สมาทาน พระกรรมฐาน และ อธิษฐานกรรมฐาน ในวัน และ ราตรี มิได้ขาด มีการเข้ากรรมฐาน ทั้งปกติ และ ลำบาก อย่างสม่ำเสมอ ด้วยสมาทาน ที่เป็นสมังคี ตามพระอริยะมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ ประการตลอดวัน ตลอดราตรี
   ด้วยการกล่าว สัจจะวาจานี้ ขอให้ข้าพเจ้าพึงเจริญในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์นี้ ด้วย เทอญ "

ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 21, 2016, 11:04:29 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
งดส่วจิตออกนอกกันบ้าง ถ้าหวังคุณธรรม เบื้องสูง
« ตอบกลับ #158 เมื่อ: กันยายน 23, 2016, 01:15:59 pm »
0
"อย่าส่งจิตออกนอกเกินไป ถ้าหวังคุณธรรมเบื้องสูง การที่ภาวนาคุณธรรมเบื้องสูงแล้ว ยังข้องแวะเกี่ยวกับกิจกรรมทางสังคม มาก ๆ นั้น เป็นไปไม่ได้ การเมือง การศาสนา การศึกษา การปกครอง การเรือน ทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคต่อการภาวนา ขั้นสูง ในโลกนี้ไม่มีใครหยุดปัญหา ได้จริง มีแต่ทำให้ปัญหาชะลอตัวเท่านั้น เพราะในสังคม เราทำให้คนกลุ่มหนึ่งพอใจ อีกกลุ่มหนึ่งก็จะไม่พอใจ อีกกลุ่มก็เป็นกลาง เรื่องอย่างนี้มีทุกสังคม ถ้าผู้ภาวนามัวแต่ส่งจิตใจออกไปข้องแวะ ย่อมทำให้เกิดปลิโพธ กังวล จนไม่สามารถภาวนาได้ ดังนั้นการ ออกวิเวกสำหรับผู้ภาวนาขั้นสูง จึงมีความจำเป็น ถ้าท่านทั้งหลายมีใจตรงต่อพระนิพพาน ต้องการเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ก็ขอให้ยุติ บทบาททางสังคม ลงบ้างมันจะถึงภาวนาได้ ถ้ามัวแต่ยุ่งกับสังคม รอบด้าน การภาวนาขั้นสูงนั้นย่อมทำไม่ได้ ฉันเคยหลงเชื่อครูอาจารย์ ยุคแรกมาแล้ว เรื่องการทำงาน คือการปฏิบัติธรรม เวลาฉันไปเดินจงกรมนั่งกรรมฐาน สมัยนั้นครูอาจารย์บอกว่าเสียเวลา มัวแต่นั่งหลับหูหลับตา ไม่ช่วยหมู่คณะ ไม่ช่วยสร้างวัด ไม่ช่วยสอนหนังสือ ไม่ช่วยอะไร ๆ อีกสาระพัด มันเลยทำให้ฉันต้องมัวไปช่วยเรื่องกิจกรรมต่าง ๆ โดยครูอาจารย์บอกฉันว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม ฉันเชื่ออย่างนี้ พร้อมพัฒนาการจิตใจไม่ให้เห็นแก่ตัว เห็นแก่หมู่ คณะ โลกสวยว่า โลกนี้จะมีคนดี ถ้าเราดี แต่ผ่านไป 46 ปีฉันจึงรู้ว่า ที่เราทำมานั้นเดินตามมานั้นไม่ได้ถูกทาง เมื่อความตายมาถึงจึงเห็นความจริงว่า เรายังไม่พ้นนรก ยังสามารถเกิดเป็น เปตร อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน และสัตว์นรกได้ เพราะหลงเชื่อ ว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม บอกตรง ๆ เลยตอนนี้ว่า ถ้าท่านทั้งหลายหวังคุณธรรมเบื้องสูงแล้ว ไม่ยอมมาเสียเวลาในการเจริญภาวนาแบบหลับหูหลับตาบ้าง เท่ากับเสียชาติเกิด ๆ มาพบพระพุทธศาสนา เพราะถ้าท่านเก่งขนาดนั้น ก็เก่งกว่าพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านสำเร็จธรรม ก็ด้วยการนั่งหลับหูหลับตานี่แหละ ในคืนตรัสรูพระองค์ นั่งหลับหูหลับตา ตัดสินใจสละชีวิตถ้าการนั่งครั้งนี้ไม่สำเร็จก็สละชีวิตแล้ว ดังนั้นขอเตือนท่านทั้งหลาย ถ้าจะเดินตามฉันก็ต้อง ทิ้งเรื่องทางโลกไปกันบ้าง มาภาวนา อย่านำการเมือง การปกครอง การวัด การศึกษา การอะไรต่อะไร เข้ามาเกี่ยวข้องกันเลยในการภาวนา ปล่อยให้ทุกสิ่งเป็นไปตามกฏแห่งกรรม เพราะเรื่องรีบด่วน คือ ถ้าท่านเสียชีวิตในขณะที่ยังไม่ได้คุณธรรม พระโสดาบัน นั่นเท่ากับท่านทั้งหลาย ยังไม่พ้นจากอบายภูมิ 4 ไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องการสิ้นภพสิ้นชาติกันเลย....... "
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ขอให้เชื่อ กฏแห่งกรรม
« ตอบกลับ #159 เมื่อ: กันยายน 23, 2016, 01:35:15 pm »
0
ขอให้เชื่อ กฏแห่งกรรม
"บางคนเกิดมาแล้วร่ำรวยเพราะตระกูล บางคนเกิดมายากจนก็เพราะตระกูล บางคนเกิดมาอนาถาพิกลพิการ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลแห่งกรรมจากอดีต ด้วย ดังนั้นเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว จะยากดี มีจน พิกลพิการ อย่างไรก็ตาม ถ้าได้พบพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ขอให้นำหลักธรรมมาค้ำจุนชีวิต อย่าให้ชีวิตอาภัพสองชั้นสามชั้น ให้มันอาภัพอับโชคก็ให้เป็นเพียงชั้นเดียว คือ ทางกายเท่านั้นอย่าให้จิตใจ มันอาภัพอับโชคอับเฉาตามไปด้วย ถ้ามีเวลาหายใจได้อยู่ ก็เอาลมหายใจเข้า ลมหายใจออกมาเป็นที่พึ่ง ตั้งสติดูลมหายใจเข้าบ้าง ดูลมหายใจออกบ้าง ดูเถอะ เดี๋ยวก็เกิดปัญญาเอง ดังนั้นถ้าจะซวย จะโชคร้าย ก็ขอให้เป็นเรื่องภายนอก คือเรื่องของกาย แต่จิตใจและวิญญาณ ให้พยุงให้สูงขึ้นด้วยหลักธรรม อยาให้มันโชคร้าย หรือซวยไปสองชั้นสามชั้น อย่าได้มานั่งทุกข์นอนทุกข์ เพราะความแก่ ความเจ็บ และตายเลย เพราะเรื่องเหล่านี้มันหนีไม่ได้ ถ้าไม่อยากตกต่ำกว่าเดิม ก็จงอย่าทิ้งธรรม เพราะยิ่งทิ้งธรรม ละ จากพระธรรม ชีวิตก็จะแย่ลงกว่าเดิม ทุก ๆ ชาติ ชีวิตไม่ใช่เกมส์ ทีตายแล้วกลับไปเริ่มต้น แต่ชีวิตนั้นถ้าขาดหลักธรรม มันไม่ได้กลับไปเริ่มต้นแต่ไม่ถอยจากจุดเริ่มต้นไปอีกมาก กว่าจะได้กลับมาเป็นมนุษย์ ในสภาพที่ เต็ม .... พวกที่พิกล พิการ นั้นเป็นตัวอย่างในการถอยยาว เพราะถึงแม้ได้เกิดมาเป็นมนุษย์แต่สภาพกายไม่พร้อม สภาพจิตก็จะแย่ลงไปกว่าเดิม เรามองคนพวกนี้ ถามว่าสงสารไหม ถ้าเป็นเมื่อก่อนใช่ แต่ปัจจุบันฉันมองแล้วเฉย ๆ ( มันเป็นมาสามปีแล้ว ) เพราะเราเห็นตามความเป็นจริงว่า กรรมที่ส่งผลนั้น ย่อมทำให้กำเนิดลำบากมากขึ้น นั่นเอง ดังนั้นยิ่งมองเห็น ก็ยิ่งไม่ยากเกิด เพราะความไม่ยากเกิดจึงมุ่งภาวนา การที่ฉันเลือกวิเวกนั้น สังคมไม่ได้มองว่าฉันเป็นคนดีอะไรทั้งนั้น ส่วนใหญ่ จะว่า บ้า แต่ฉันก็ขอ บ้า ตรงนี้ให้เป็นครั้งสุดท้ายก็แล้วกัน ดังนั้นท่านทั้งหลายถ้ามองเห็นทุกข์ แล้วไม่อยากเกิด ก็ไม่ควรสร้างกรรมไม่ดีไว้นะ ถ้ารู้ตัวว่าสร้างกรรมไม่ดีไม่ถึง อนันตริยกรรม ก็พึงรีบขวนขวายการภาวนา อย่างน้อยก็ให้เป็นพระโสดาบัน จะได้หนีกรรมอบายภูมิ 4 ได้ ....."
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของ ธัมมะวังโส
( สำหรับบุคคลในภาพนี้ นับว่าน่ายกย่องถึงแม้ไม่ได้ใช้หลักธรรม ในศาสนาพุทธ แต่เขาก็สามารถใช้หลักธรรมพื้นฐาน ในการประคองชีวิตเขาได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 22, 2016, 06:03:36 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ