ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - saithong
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ต้องการชนะความกลัว เมื่อ: เมษายน 02, 2010, 08:11:05 am
 :03:
=================
ปฏิบัติธรรม ก็ต้องการชนะความกลัว และมองเห็นตามความเป็นจริง ไม่ตกอกตกใจอะไรง่าย ๆ

ดิฉันก็พยายาม สอนพวกลูกศิษย์ของดิฉันแต่ ก็ไม่ประสพความสำเร็จ
=============================================
ยกตัวอย่าง

มล เป็นลูกศิษย์คนหนึ่ง ชอบกลัว จิ้งจก ถ้าจิ้งจก อยู่ใกล้ ๆ ละก็ วิ้ดว๊าย เสียงดัง วิ่งหนี
ภา เป็นลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง ที่ชอบกลัว แมลงสาบ
ศรี เป็นลูกศิษย์อีกคนหนึ่ง ที่ชอบกลัว อึ่งอ่าง

มีกลวิธีการสอน ภาวนาไม่ให้กลัวเรื่องเหล่านี้บ้างไหมคะ ในกรรมฐาน
2  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อภัยทาน มีวิธีการปฏิบัติอย่างไร ? เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 06:49:39 am
อภัยทาน นั้น คือการยกโทษ หรือ การไม่เอาเรื่อง ( ใช่หรือป่าวตามความคิดของดิฉัน )

=======================================================
หลาย ๆ ครั้ง ที่ดิฉัน พบปัญหา ไม่ว่าจะเกิด จากเจตนา หรือไม่เจตนา ของคนรอบข้าง หรือมีแม้ของตัวเอง
ทุกครั้ง ดิฉัีน ก็จะคุมอารมณ์ ได้บ้าง หรือ ไม่ได้บ้าง แต่สุดท้ายก็จะมานั่งนึกได้ ว่าควรจะอภัย หรือ ยกโทษ

ที่นี้การให้ อภัย หรือ ยกโทษ ให้นั้น มีวิธีขั้นตอนปฏิบัติจริง ๆ ในพระพุทธศาสนาอย่างไร ดิฉันไม่ค่อยทราบ
บางครั้งก็ นึกการแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บ้าง หรือ กล่าวคำอโหสิกรรมบ้าง

แต่บางอย่าง เมื่อเราได้ทำลงไปอย่างนั้น ใจไม่ก็ยังไม่ยอมให้อภัย เพราะบางเรื่องเป็นเรื่องที่พิจารณาแล้วให้อภัยไม่ได้ หรือให้ อภัยไปแล้ว เราก็ยังถูกเบียดเบียน เหมือนเดิม

ดังนั้นเวลาพระท่านสอน การให้อภัย เป็นทาน นั้นทำอย่างไร ถึงจะเป็นขั้นตอนที่ถูกต้อง

เนื่องด้วย เป็นเรื่องของใจ จะใ่ส่ให้เป็นทาน ทำอย่างไร ?
3  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / การทำแท้ง เมื่อ: มีนาคม 21, 2010, 06:40:35 am
เมื่อก่อนจะเข้า ซัมเมอร์ มานี้ดิฉัน ต้องไปช่วย ลูกศิษย์หญิง คนหนึ่งซึ่งประสพปัญหาในการเรียน

คือมี ความรัก กับ ชายหนุ่มเพื่อนเรียนด้วยกัน ปรากฏว่าถึงขั้นตั้งครรภ์อ่อน ๆ เป็นเวลา 3 เดือน
เด็กคนนี้ได้ไป กับแฟนเขาเพื่อทำแท้ง เพราะเกรงทางบ้านรู้เรื่อง และทางฝ่ายปกครองการเรียนรู้เรื่อง
แต่ความก็แตก จนดิฉันรู้เรื่อง เพราะผลจากการทำแท้ง ทำให้เธอต้องเสียเลือดอยู่ตลอดเวลา

สุดท้ายทางบ้านก็ทราบเรื่อง ทางฝ่ายการศึกษาก็รู้เรื่อง

ซึ่งส่วนตัวดิฉัน แล้วก็พยายามจะช่วย เพื่อไม่ให้เธอโดน รีไทร์ ( เป็นห่วงอนาคตลูกศิษย์ )

ปัญหาแบบนี้ ในสถานศึกษาระดับ อุดมศึกษา มีมาก ๆๆๆ ซึ่งดิฉัน ต้องพบเรื่องนี้ไม่ต่ำกว่าปีละ 5 คนที่มีปัญหาป้องกันไม่ได้

========================================
รบกวน เพื่อนสมาชิก หรืิอ คุณปุ้ม ช่วยโพสต์เรื่อง
กรรมของการทำแท้ง หน่อยนะคะ
 ;)

========================================
4  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 09:43:33 am
ตอนที่ดิฉันไปร่วมงาน มุทิตา ก็ได้หนังสือว่าด้วยเรื่องสุญญตา และได้สนทนากับพระอาจารย์ ตอนพบท่าน

ท่านก็แนะนำให้ไปอ่านเรื่อง สุญญกถา ในพระไตรปิฏกเพิ่ม บอกเล่ม บอกหน้าไว้ด้วย ดิฉัน ได้นั่งอ่านมาตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้  ก็เลยนำมาโพสต์ให้ท่านทั้งหลายได้อ่านด้วย เนื้อหาต้องขอบคุณ คุณทินกร เพราะดิฉันก็ไปเอามาจาก 84000.org คะ
===============================
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ยุคนัทธวรรค สุญกถา
             [๖๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่
เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่
เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
โลกสูญ ฯ
             [๖๓๔] สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ
ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ
นิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่
เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ
ความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็น
ต่างๆ สูญ ความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำ-
*ความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฯ
             [๖๓๕] สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ
             [๖๓๖] สังขารสูญเป็นไฉน สังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญา
ภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและ
อเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ
             สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตตสังขาร วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและ
จิตตสังขาร จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ
             สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต
สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วน
ปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓
นี้สังขารสูญ ฯ
             [๖๓๗] วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ
(ปรกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป เวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญา
เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้ว
สูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ
             [๖๓๘] อัคคบทสูญเป็นไฉน บทนี้ คือ ความสงบแห่ง-
*สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส
ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ
นี้อัคคบทสูญ ฯ
             [๖๓๙] ลักษณะสูญเป็นไฉน ลักษณะ ๒ คือ พาลลักษณะ ๑
ปัณฑิตลักษณะ ๑ พาลลักษณะสูญจากปัณฑิตลักษณะ ปัณฑิตลักษณะสูญจาก
พาลลักษณะ ลักษณะ ๓ คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่
แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะ สูญจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ
สูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจาก
ลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความ
เสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปร
เป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความ
เกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเสื่อมไปและ
จากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งชราและมรณะ
สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะ
เมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและ
จากลักษณะความเสื่อมไป นี้ลักษณะสูญ
             [๖๔๐] วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ
สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก
สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไป
วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป
อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป
ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ
             [๖๔๑] ตทังคะสูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นตทังคะสูญ (สูญเพราะ
องค์นั้นๆ) เพราะเนกขัมมะ ... นิวรณ์เป็นตทังคะสูญเพราะปฐมฌาน ฯลฯ
ความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้ เป็นตทังคะสูญเพราะวิวัฏนานุปัสสนา
นี้ตทังคะสูญ ฯ
             [๖๔๒] สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ
สูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรค
ตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ
             [๖๔๓] ปฏิปัสสัทธิสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะระงับแล้ว
และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
อันอรหัตมรรคระงับแล้วและสูญไป นี้ปฏิปัสสัทธิสูญ ฯ
             [๖๔๔] นิสสรณะสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออกแล้ว
และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
อันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสสรณะสูญ ฯ
             [๖๔๕] ภายในสูญเป็นไฉน จักษุภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯ จมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายใน
สูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ ฯ
             [๖๔๖] ภายนอกสูญเป็นไฉน รูปภายนอกสูญ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ภายนอกสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน
ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายนอกสูญ ฯ
             [๖๔๗] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูป
ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ
ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง
ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก
กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง
นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ
             [๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ
กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖
... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน
และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ
             [๖๔๙] ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วน
ไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วน
ไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ ๖ และสูญไป หมวดวิญญาณ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอ
กันกับหมวดผัสสะ ๖ และสูญไป หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับ
หมวดเวทนา ๖ และสูญไป หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวด
สัญญา ๖ และสูญไป หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖
และสูญไป นี้ส่วนไม่เสมอกันสูญ ฯ
             [๖๕๐] ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ความแสวงหาเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ความแสวงหาความไม่พยาบาทสูญจากพยาบาท ความแสวงหา
อาโลกสัญญาสูญจากถีนมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจะ
ความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจากวิจิกิจฉา ความแสวงหาญาณสูญจากอวิชชา
ความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรคสูญจาก
กิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ ฯ
             [๖๕๑] ความกำหนดสูญเป็นไฉน ความกำหนดเนกขัมมะสูญจากกาม
ฉันทะ ฯลฯ ความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนดสูญ ฯ
             [๖๕๒] ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ความได้เนกขัมมะ สูญจากกาม
ฉันทะ ฯลฯ ความได้อรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความได้เฉพาะสูญ ฯ
             [๖๕๓] การแทงตลอดสูญเป็นไฉน การแทงตลอดเนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การแทง
ตลอดสูญ ฯ
             [๖๕๔] ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉน
กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว ความที่เนกขัมมะเป็น
อย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทะ พยาบาทเป็นความต่าง ความไม่
พยาบาทเป็นอย่างเดียว ความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่
สูญจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว ความที่
อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็น
ความต่าง วิจิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่างอรติเป็นความต่าง นิวรณ์
เป็นความต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว ความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวของบุคคล
ผู้คิดอยู่ สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็น
อย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกิเลส
ทั้งปวง นี้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญ ฯ
             [๖๕๕] ความอดทนสูญเป็นไฉน ความอดทนในเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ
อดทนสูญ ฯ
             [๖๕๖] ความอธิษฐานสูญเป็นไฉน ความอธิษฐานในเนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความอธิษฐานในอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ
อธิษฐานสูญ ฯ
             [๖๕๗] ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความมั่น
คงสูญ ฯ
             [๖๕๘] การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์
อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวงเป็นไฉน สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไปแห่ง
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็นไปแห่งพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
ครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ครอบงำความเป็นไปแห่ง
อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาด้วยการกำหนด
ธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยญาณ ครอบงำความเป็นไปแห่งอรติ
ด้วยความปราโมทย์ ครอบงำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำ
กิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
             อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
*นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ
อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป
แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล
สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ
จบสุญกถา
จบยุคนัทธวรรคที่ ๒
======================================================
แต่พอดิฉัน ไปอ่านเพิ่มเติมในฉบับ มหาจุฬา เล่มสีฟ้า ลงทุนไปซื้อเล่มหนึ่ง ที่จุฬาบรรณาคาร ที่วัดมหาธาตุ
================================
อ่านแล้ว เข้าใจคำว่า สังขารมาก ขึ้นเลยคะ เหมือนเปิดดวงตาที่มืดมิดทีเดียว


ข้อความ ที่ชื่นชอบ

มาติกา 25 ของ สุญญกถา
1.สุญญสุญญะ
2.สังขารสุญญะ
3.วิปริณามสุญญะ
4.อัคคะสุญญะ
..........
เป็นต้น
จะนำมาเล่าเป็น ตอน ๆๆ นะคะ






5  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ฌาน แห่ง วิปัสสนา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 11:38:57 am
พระอาจาย์ เคย สอนการเดิน ฌาน ในส่วน วิปัสสนา ประกอบด้วยความรู้ ความเข้าใจใน
ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 22 เป็นต้น

ท่านสอน การปฏิบัติ วิปัสสนาเรียกว่าการดำเนินสัญญา ซึ่งอยู่ใน สัญญา 10 ขอยกตัวอย่าง

1.อนิจจสัญญา การกำหนดอารมณ์ เพ่งพิจารณา ยกขัันธ์ทั้ง 5 เป็นอารมณ์เพ่ง และยกอารมณ์วิปัสสนาว่า
 รูป เป็น อนิจจัง เวทนา เป็น อนิจจัง สัญญา เป็น อนิจจัง สังขาร เป็น อนิจจัง วิญญาณ เป็น อนิจจัง

ส่วน ทุกข์ นั้น ไม่ต้องกำหนด เพราะว่า ทุึกข์เป็น ผล อนิจจัง เป็น เหตุ เมื่อจิตเข้าใจเหตุ ย่อมเข้าถึง ผล
เมื่อรู้แจ้ง ก็จะรู้แจ้งชัดในเหตุ

นาน ๆ ว่างมาที ช่วงนี้กำลังเตรียมข้อสอบอยู่ เลยไม่ค่อยได้มาเยี่ยมเว็บ
กราบนมัสการพระอาจารย์ ด้วยเจ้าคะ
6  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / พระศาสนา จะสูญสิ้นไปจากโลก ดังนี้คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 11:32:16 am
มีคราวหนึ่ง พระมหากัสสปะ ทูลถามองค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้าว่า

พระศาสนา จะสูญสิ้น ไปจากโลก ด้วยเหตุใดบ้าง

พระบรมศาสดา ทรงตรัสตอบว่า

 สิ่งต่างๆ ในโลกนี้ จะทำลายศาสนา ให้สูญสิ้นไปจากโลกหามิได้ แต่ พุทธบริษัท ทั้ง 4 เท่านั้น ที่จะเป็นผู้ทำลายศาสนานี้ ด้วยเหตุ 5 ประการ
 5 ประการนั้นเป็นไฉน

1.พุทธบริษัท ไม่เคารพในพระศาสดาของตน
2.พุทธบริษัท ไม่ตระหนักในธรรม
3.พุทธบริษัท ไม่คารวะต่อสงฆ์
4.พุทธบริษัท ไม่ตั้งใจศึกษาธรรม
5.พุทธบริษัท ไม่สนใจในการทำสมาธิ

จากนั้นพระองค์ ก็ตรัสเรื่องสัมมาสมาธ ซึ่งมีข้อความสำคัญหลายข้อความแต่ที่ดิฉัน ชอบอ่านก็ตรงนี้คะ

ดูก่อนภิกษุึทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมตามรู้ตามเห็น อย่างไม่ขาดสายเข้าไปในกาย เวทนา จิต และธรรม อย่างใดอย่างหนึ่ง มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำความยินดี ยินร้ายในโลก ให้พินาศสิ้นไป

อ้างถึง
ย่อมตามรู้ตามเห็น อย่างไม่ขาดสาย
พระอาจารย์ เคยกล่าวไว้ว่า การดำเนินจิตอย่างจิต ชื่อว่าเป็นฌานด้วย เพราะประกอบด้วยอาการแห่งการเพ่งจิต

ฌาน แปลว่า ความเพ่ง แต่เป็นความเพ่งในส่วน วิปัสสนา

7  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การปฏิบัติ สมาธ มีผลตามพระบาลีดังนี้คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 11:20:26 am
สมาธิง ภิกขะเว ภาเวถะ สะมาหิโต ยะถาภูตัง ปะชานาติ

ดูก่อน ภิกษุทั้งพวกเธอทั้งหลาย พึงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
ผู้ที่มีิจิตตั้งมั่นแล้ว ( มีสมาธิ ) ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
===========================================================
1.เห็นจิตที่ซัดส่าย ในอารมณ์เป็นความทุกข์ ( ทุกข์ )

2.เห็นจิตที่ส่งออกไปยึดอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกเกิดความยินดี หรือยินร้าย ก็เป็นทุกข์ ( สมุทัย )

4.เห็นผลจากปล่อยว่าง ทำให้จิตสิ้นจากการปรุงแต่ง ( นิโรธ )

3.เห็นจิตที่เป็นสมาธิ นั้นสามารถ ปล่อยวางอารมณ์ต่าง ๆ ได้เป็นสัมมาสมาธิ ( มรรค )
===========================================================

เมื่อจิต เห็นตามเป็นจริง แล้ว ย่อมเข้าถึงความ ปล่อยวาง อุเบกขา ตามลำดับ

1. ปริิสุทธุเบกขา
2. ฌานุเบกขา
===========================================================
ส่วนอุเบกขา อื่น ๆ นั้น วานท่านสมาชิก เสริมต่อให้ด้วยนะคะ
8  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คำอธิษฐาน ของอุบาสิกา คนหนึ่ง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 11:02:13 am
ดิฉัน ตั้งใจอธิษฐาน ไว้ให้พระอาจารย์ อนุโมทนาด้วยนะเจ้าคะ
1. จักตั้งใจภาวนา เพื่อพระินิพพาน ในชาตินี้ ถ้าไม่สามารถ บรรลุในชาตินี้ขอให้ดิฉัน พบพระธรรม คือพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้ฟัง ได้อ่าน ได้ภาวนา และได้ครูอาจารย์ที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไปทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่ พระนิพพาน
2.หากต้องเกิดอีก เกิดทุกชาติ ถ้าเป็นหญิง ขอให้ได้ครองพรหมจารีย์ ไม่มีชายใดได้ทำลาย และไม่มีความรักต่อบุรุษ ถ้าเกิดเป็นชาย ขอให้ได้เพศบรรพชิต ในสำนักพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ตั้งแต่อายุ 9 ขวบขึ้นไป
3. และขอให้ข้าพเจ้านั้น เมื่อเกิดแล้วขอให้ได้จดจำ บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และรู้ความหมายได้โดยไว

=============================================
พระอาจารย์ อนุโมทนาให้โยมด้วย นะเจ้าคะ
=============================================
9  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ต่อการภาวนา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 10:25:07 am
เคยฟังพระอาจารย์ พูดบรรยายเรื่องนี้ครั้ง ที่ แม้ฟ้าหลวง
ท่านกล่าวเรียกว่า อธรรม 6 อย่างที่ทำให้ผู้ภาวนา ไม่ค่อยภาวนา
1 กัมมรามตา หมกหมุ่นอยู่ในงานทางโลก ทำให้กายเหน็ดเหนื่อย จิตล้า พอถึงตอนนี้ก็จะบอกว่าไม่มีเวลาภาวนา
2 ภัสสารามตา พอใจในการสนทนากับผู้อื่น ชอบพูด ชอบคุย
3 นิททารมตา พอใจต่อการหลับ และการนอน ( ทั้งที่เวลานอนอีกมากในหลุมฝังศพ )
4 สังคณิการามตา พอใจในการพบปะสังสรรค์ รื่นเริงเสมอ
5 อินทริยาคุตตรามตา ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
6 อโภชเนมัตตัญญุตา พอใจในการกิน
10  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อานิืสงค์ แห่งกรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2010, 10:11:27 am
ปัจจุบันเป็นขุนนางเพราะเหตุใด
==================ชาติก่อนนำทองคำสร้างพระพุทธรูป

มีรถนั่ง มีเรื่อขี่ เพราะเหตุใด
======================เพราะชาติก่อน สร้าง ถนน สะพาน

มีสามีภรรยาดี มีมารยาท พร้อมเพราะเหตุใด
============================เพราะชาติก่อน ได้สร้างบุญ สร้ากุศล ร่วมกัน

หากจะถามเรื่องชาติปางก่อน
================ก็ให้ดูผลที่รับในปัจจุบัน

หากจะถามเรื่องชาติหน้า
==================ก็ให้ดูสิ่งที่ทำในปัจจุบัน


อ่านมาจากหนังสือที่แจกมาคะ มีอีกเยอะ แต่ที่อ่านแล้วกินใจ ก็มีไม่มาก
11  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ระหว่างธรรมทาน กับ ปรนนิบัติบำรุงพระสงฆ์อาพาธ เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 06:43:38 am
ธรรมทาน ก็ชื่อว่าเลิศ กว่าการให้ทาน
แต่การดูแลพระสงฆ์อาพาธ พระพุทธเจ้า ก็ตรัสว่าเลิศเช่นเดียวกัน

ระหว่างธรรมทาน กับ การไปดูแลพระสงฆ์อาพาธ นั้นเราควรเลือกจะทำอย่างไรก่อนดีจ๊ะ

กำลังจะไปทำบุญสร้างธรรมทาน แต่เพื่อนมาชวนให้ไปทำบุญกับพระสงฆ์อาพาธ แทน

ช่วยให้คำแนะนำหน่อย
12  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / ไปปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะ ทำอย่างไรคะ เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 01:18:01 pm
 ;D โยมสายทองคิดถึงท่านอาจารย์ ไม่มาเชียงราย ก็ได้คุยญาติธรรมกันแล้วว่าจะไปเยี่ยมพระอาจารย์ที่วัดและปฏิบัติธรรมที่วัดสัก 2 - 3 วัน ไปกันประมาณสัก 30 คน ประมาณ 3 รถตู้ ต้องทำอย่างไรบ้างคะเพราะทุกคนส่วนใหญ่ไม่เคยไปเที่ยวที่สระบุรี อยากไปเที่ยวชมเมืองสระบุรีด้วยคะ

อาจจะต้องรบกวนเรื่องอาหาร ด้วยทำเลี้ยงสัก 2 มื้อ รักษาศีล 8 เป็นกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย
  Aeva Debug: 0.0005 seconds.
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระอาจารย์ ผู้สอน ผู้ปฏิบัติ ตามแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีใครบ้างค่ะ ? เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 01:08:55 pm
 ;) ดิฉันเป็นศิษย์ที่ปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธาราม แต่พอจะปรึกษาปัญหากรรมฐาน ต้องคอยโทร มาหา หลวงพ่อจิ๋ว บางทีอยากจะถามท่านมากๆ แต่ก็ติดว่าตัวเองเป็นผู้หญิง กลัวคำถามจะรบกวนท่านมาก ดิฉันก็มานั่งนึกเมื่อสักครู่นี้เองว่าถ้าอย่างนั้น ดิฉันอยู่ทางภาคเหนือ เชียงราย ถ้าจะปรึกษาเรื่องกรรมฐาน ก็น่าจะมีพระสงฆ์ ที่เป็นศิษย์ของวัดราชสิทธาราม หรือสอน หรือปฏิบัติ ตามแนวกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ได้ปรึกษาใกล้ ๆ ดังนั้นเพื่อให้กระทู้หน้านี้ เป็นที่ประชาสัมพันธ์ให้กับ พระผู้สืบกรรมฐาน อยากให้บรรดาศิษย์ในสายนี้ ช่วยกันแจ้งที่อยู่ของพระอาจารย์ ผู้สอน ผู้สืบ หรือผู้ปฏิบัติ ในสายนี้ในหน้าเว็บนี้ให้ทราบกัน ถ้าเห็นด้วยก็ช่วยลงกันหน่อยนะเจ้าคะ :D :D :D :D :D
14  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ดีใจมากๆ เมื่อ: ธันวาคม 24, 2009, 07:56:41 pm
 :angel:
วันนี้ ฉันได้ไปร่วมงาน มุทิตา ฉลองสมณศักดิ์ พระครูสิทธิสังวร อยู่จนค่ำวันนี้นอนที่ กทม.
ปลื้มใจกับท่านมากๆ

และที่ดีใจมากๆได้พบอาจารย์สนธยา ด้วย

15  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไร้รูปแบบ แล้วสำเร็จธรรมจริงหรือ ? เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 05:05:51 pm
ฉันมีลูกศิษย์ คนหนึ่งเรียนสายศิลป เขาคนนี้มักจะปล่อยตัวตามใจชอบ
เช่นไว้ผมยาว สะพายย่าม ไว้หนวด เที่ยวกินเหล้ากับเพื่อนฝูงเมามายแทบทุกวัน
มีอยู่วันหนึ่ง เขาก็เดินมาพูดกับดิฉันว่า "อาจารย์ ไปวัดทำไม"

ฉันตอบว่า "ไปทำบุญสั่งสมบุญ และได้ภาวนาบ้าง"
ลูกศิษย์ "อาจารย์ พระอยู่ที่ใจ บุญก็อยู่ที่ใจ เมื่อถึงสูงสุดก็ไม่มีรูปแบบ ทุกสิ่งว่างเปล่า"
แล้วเขาก็หัวเราะ และชวนพวกไปนั่งกินเหล้า
ฉัน ฟังตอนแรกก็นึกว่าเขา เข้าถึงคุณธรรมอะไร จึงใช้คำพูดฟังแล้ว อย่างกับธรรมะขั้นสูง

ตอนเช้า ก็ได้ข่าว ลูกศิษย์คนนี้กับเพื่อนไปกินเหล้า ขับมอร์เตอรไซค์ ได้รับบาดเจ็บแขนหัก
ฉันก็ไปเยี่ยมที่ รพ. เขาไม่พูดอะไรเลย เพราะยังอยู่ในอาการเมาอยู่หน่อย

เรื่องนี้มาทำให้ฉันได้วิเคราะห์ว่า เรื่องของคนที่รู้ธรรมะไม่จริง แล้วแสดงตนว่าเป็นผู้รู้ธรรมะ มีกรรมจริง
บางคนชอบพูดว่านั่นเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ ควรรู้
ฉันมักสังเกตุลูกศิษย์ ของฉันที่คุยว่าตนเป็นคนดี อย่างนั้นอย่างนี้ พอผู้ปกครองมาหาแล้วไม่ยกมือไหว้ ต่อหน้าฉันนี่ ฉันจะหักแต้มความประพฤติทันที  ;D

เพราะความดี คนดี ไม่ได้มีอยู่ที่ใจ แต่ต้องแสดงออกด้วยว่าเป็นคนดี มีความดี

เมื่อก่อนฉันก็ หยิ่งมาก เพราะถือว่าตัวเองจบ ดร.เป็น อาจารย์ ระดับ คณบดี จึงไปไหนมาไหน ก็ลืมตัว

จนฉันมาพบอาจารย์ และได้เปลี่ยน ทิฏฐิใหม่

ดังนั้นที่จะกล่าวให้เห็นตอนนี้ ก็คือเมื่อเราเป็นผู้ที่มาภาวนาแล้ว ต้องแสดงออกในเรื่องการภาวนา
อัธยาศัย วัฒนธรรม ควรจะเป็นทางที่ดี อย่าไปไร้รูป ไร้แบบ หรือมัวแต่นึกอยู่ในใจ

ฉันเชื่อลูกศิษย์ ท่านพระอาจารย์ ทุกท่านล้วนแล้วแต่เสียสละเช่นงานดูแลเว็บ ก็ได้คุณทินกร มาช่วยแบบไม่เอารายได้ และ สมาชิกอีกหลายท่านที่ช่วยตอบกระทู้ ตั้งปัญหา ซึ่งฉันก็คิดอยู่ครั้งแรกเหมือนกันว่าเข้ามาดูแล้ว ไม่พิมพ์ ไม่ถาม ไม่ตอบ ดีกว่าเนาะ แต่ถ้าคิดอย่างนั้น เราก็ไม่ต่้างจากคนอื่นเท่าไร

 ;D ;D ;D ;D ;D
16  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธบาทที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีกี่รอยจ๊ะ และมีอยู่ที่ไหนบ้าง เมื่อ: ธันวาคม 21, 2009, 04:29:35 pm
พระพุทธบาทที่ปรากฏในพระไตรปิฏก  มีกี่รอยจ๊ะ และมีอยู่ที่ไหนบ้าง



พระพุทธบาทสี่รอย ที่แม่ริม เชียงใหม่ คะ


 ;D ;D ;D
17  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / คติธรรมจากหลวงพ่อคูณ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 10:13:34 pm
18  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ฝากภาพไว้นั่งเพ่งดู คล้ายการฝึกสิณสี คะ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 10:04:56 pm
19  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การใส่บาตรตอนพระสวดพาหุง กับไม่สวดพาหุง เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 10:01:51 pm
1.การใส่บาตรตอนพระสวดพาหุง กับไม่สวดพาหุง ต่างกันอย่างไร ได้บุญเท่ากันหรือไม่
2.บทพาหุง แต่ละบทนั้น ช่วยบรรยายให้ด้วยจ้า


ขอบคุณค่า
5 5 5 5 ;D
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การกรวดน้ำ การตรวจน้ำ การหลั่งน้ำสิโนธก มีหลักฐานการปฏบัติในครั้งพุทธกาลหรือไม่ เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 09:58:43 pm
การกรวดน้ำ การตรวจน้ำ การหลั่งน้ำสิโนธก มีหลักฐานการปฏบัติในครั้งพุทธกาลหรือไม่
21  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บันทึกการเดินทาง เมื่อ: ธันวาคม 07, 2009, 01:41:35 pm
เป็นส่วนหนึ่งในหนังสือ ที่ระลึกคะดิฉันเห็นมีเนื้อหาที่น่าสนใจ นำมาลงให้สมาชิกไปอ่านคะ
22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กรรมฐาน แก้กรรมได้อย่างไร เมื่อ: ธันวาคม 07, 2009, 01:27:12 pm
กรรมฐาน ปฏิบัติแก้กรรมได้อย่างไร คะ
23  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / จะไปปฏิบัติ ที่ศูนย์ต้องอย่างไร คะ เมื่อ: ธันวาคม 03, 2009, 09:43:53 am
 :) ;)
จะไปปฏิบัติธรรม ที่ศูนย์ทำอย่างไร คะ
ทำงานเป็นครู อยู่ที่เชียงใหม่จ้า
คิดถึง อาจารย์ ไม่มาเชียงใหม่หลายเดือนแล้ว
จะพาคณะไปด้วย สัก 7 คน
หน้า: [1]