ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - Akira
หน้า: 1 ... 13 14 [15]
561  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: เชิญร่วมโพสต์ ภาพไทยๆ อวยพรในวันปีใหม่ไทยกันบ้าง เมื่อ: มีนาคม 06, 2011, 04:28:58 pm


ร่วมด้วยกับ แก็งค์อ๊บ อ๊บ
562  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: "สติสัมปชัญญะ....คําสอนครูบาอาจารย์" เมื่อ: มีนาคม 05, 2011, 07:31:04 am
พี่แก้ง่วง ด้วยการแต่งกลอน แต่งเก่ง ดีคะ

แต่ถ้าเรียงให้เป็นระเบียบอ่านง่าย ๆ ขึ้นจะดีมากนะคะ

สาูิธุ

 :25:
563  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ความสันโดษ ต้องอ่านพระสูตรนี้ครับ เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 08:10:57 am
ต่อไปนี้เป็นคำจำกัดความของคำว่า สันโดษ  จากหนังสือ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

---------------------
สันโดษ ความ ยินดี, ความพอใจ, ยินดีด้วยปัจจัย ๔ คือ ผ้านุ่งผ้าห่ม,  อาหาร, ที่นอนที่นั่ง และยา ตามมีตามได้, ยินดีในของของตน, การมีความสุขความพอใจด้วยเครื่องเลี้ยงชีพที่หามาได้ด้วยความเพียรพยายามอัน ชอบธรรมของตน ไม่โลภ ไม่ริษยาใคร,

สันโดษ ๓ คือ ๑. ยถาลาภสันโดษ  ยินดีตามที่ได้ คือได้สิ่งใดมาด้วยความเพียรของตน ก็พอใจด้วยสิ่งนั้น  ไม่เดือดร้อนเพราะของที่ไม่ได้ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของคนอื่น ไม่ริษยาเขา

๒. ยถาพลสันโดษ  ยินดีตามกำลัง คือพอใจเพียงแค่พอแก่กำลังร่างกาย สุขภาพ และขอบเขตการใช้สอยของตน ของที่เกินกำลังก็ไม่หวงแหนเสียดาย ไม่เก็บไว้ให้เสียเปล่า หรือฝืนใช้ให้เป็นโทษแก่ตน

๓. ยถาสารุปปสันโดษ  ยินดีตามสมควร คือพอใจตามที่สมควรแก่ภาวะ ฐานะ แนวทางชีวิต และจุดหมายแห่งการบำเพ็ญกิจของตน เช่น ภิกษุพอใจแต่ของอันเหมาะสมกับสมณภาวะ หรือได้ของใช้ที่ไม่เหมาะกับตน แต่จะมีประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็นำไปมอบให้แก่เขา เป็นต้น;   สันโดษ ๓ นี้ เป็นไปในปัจจัย๔ แต่ละอย่าง จึงรวมเรียกว่า สันโดษ ๑๒
564  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ความสันโดษ ต้องอ่านพระสูตรนี้ครับ เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 08:08:11 am
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓
             [๒๙๖]    บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดา
                          สัตว์เหล่านั้นแม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร
                          จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน
                          ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย บุคคลเล็งเห็นโทษอัน
                          เกิดแต่ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหายเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว
                          ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยัง
                          ประโยชน์ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใย
                          ในบุตรและภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยวก่ายกัน ฉะนั้น
                          บุคคลไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อมไป
                          หากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชนผู้รู้แจ้ง เพ่งความ
                          ประพฤติตามความพอใจของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป
                          ในการเที่ยวย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย บุคคลเพ่งความ
                          ประพฤติตามความพอใจ ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การเล่น
                          การยินดี ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย อนึ่ง ความรัก
                          ที่ยิ่งใหญ่ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชังความ
                          พลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย
                          ในทิศทั้งสี่และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
                          ครอบงำเสียซึ่งอันตราย ไม่หวาดเสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น แม้บรรพชิตบางพวก
                          ก็สงเคราะห์ได้ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์
                          ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตรของผู้อื่น พึง
                          เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น นักปราชญ์ละเหตุ
                          อันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ
                          ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหาย
                          ผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปรกติ
                          อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย
                          ทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น
                          หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยว
                          ไปร่วมกันได้ มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้
                          พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้นอัน
                          พระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะ
                          ละโขลงเที่ยวอยู่ในป่าแต่ผู้เดียว  ฉะนั้น เราย่อมสรรเสริญ
                          สหายผู้ถึงพร้อมด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ
                          สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประเสริฐสุดและผู้
                          เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ
                          เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลแลดู
                          กำไลทองทั้งสองอันงามผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้
                          สำเร็จด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น การที่เราจะพึงพูดจากับ
                          พระกุมารที่สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย
                          พึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ในอนาคต พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร
                          มีรสอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ
                          บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ผี
                          อุปัทวะ โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ
                          ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน
                          หิว ระหาย ลม แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้ว
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงเป็นผู้
                          เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ผู้เกิด
                          ในตระกูลปทุม มีศีลขันธ์เกิดขึ้นแล้ว ละโขลงอยู่ในป่าตาม
                          อภิรมย์ ฉะนั้น (พระปัจเจกพุทธเจ้าได้กล่าวกึ่งคาถาว่า)
                          บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระ-
                          อาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ
                          จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้
                          (พระกุมารได้กล่าวกึ่งคาถาที่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอาทิจจ
                          พันธุกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น เราล่วงพ้นทิฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว  ถึง
                          ความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อัน
                          ผู้อื่นไม่พึงแนะนำพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย ไม่ลบหลู่
                          มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ
                          โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามกไม่พึงเสพด้วยตนเอง
                          ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรม
                          อันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตร
                          ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ บุคคลรู้จักประโยชน์
                          ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี
                          และกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง
                          การประดับ มีปรกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละบุตร ภริยา บิดา
                          มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่
                          ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้
                          มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว
                          พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลพึงทำลาย
                          สังโยชน์ทั้งหลายเสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟ
                          ไม่หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนองเท้า มี
                          อินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรด
                          แล้ว และอันไฟ คือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไป
                          ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์
                          ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออก
                          บวชเป็นบรรพชิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้งหลาย ไม่โลเล
                          ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปรกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มี
                          จิตไม่ผูกพันในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕ อย่าง บรรเทา
                          อุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความ
                          เยื่อใยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อนได้
                          ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ
                          ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
                          เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่น ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย
                          และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปรกติประพฤติธรรม
                          อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษใน
                          ภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น
                          บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่
                          เป็นคนบ้าคนใบ้ มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนด
                          รู้แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว
                          เหมือนนอแรด ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความ
                          ไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่ข้องอยู่
                          ในธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่
                          ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วยความยินดีและความโลภ เหมือน
                          ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด
                          ฉะนั้น บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็นผู้เที่ยวไป
                          ผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือนราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่
                          ครอบงำหมู่เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตา
                          วิมุติ กรุณาวิมุติ มุทิตาวิมุติ และอุเบกขาวิมุติ ในกาล
                          อันควร  ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน
                          นอแรด ฉะนั้น บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว
                          ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งในเวลาสิ้นชีวิต พึง
                          เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น มนุษย์ทั้งหลาย
                          ผู้ไม่สะอาด มีปัญญามุ่งประโยชน์ตน ย่อมคบหาสมาคม
                          เพราะมีเหตุเป็นประโยชน์ ผู้ไม่มีเหตุมาเป็นมิตร หาได้ยาก
                          ในทุกวันนี้ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ฯ
จบขัคควิสาณสูตรที่ ๓


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๙๗๑ - ๗๑๐๑. หน้าที่ ๓๐๖ - ๓๑๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=6971&Z=7101&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296             
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25
565  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / รักษาศีล ให้เป็น..เพื่อ ความสันติสุข เมื่อ: มีนาคม 03, 2011, 05:52:27 am
รักษาศีลได้ทุกที่ ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดกาล หากการรักษาศีลจำกัดเฉพาะที่วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรม ถ้าอย่างนั้น พระที่เดินออกจากวัดไปที่อื่น ไม่ต้องศีลหายหมดหรือ  พอกลับวัดจึงจะมีศีลคืน ใช่หรือไม่?  ดังนั้นศีลไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่บ้าน แต่อยู่ที่จิตผู้รักษา

ชนิดของผู้ที่รักษาศีล
1. คนที่ไม่รู้จักศีลต้องให้พระบอกทีละข้อเพื่อให้รู้จัก  หรือผู้ที่ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะรักษาต่อหน้าพระ(สมาทานวิรัติ)
2. คนที่รักษาศีลเองเพราะหิริโอตัปปะไม่ต้องสมาทานกับใครรักษาศีลได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา (สัมปัตตวิรัติ)
3. จิตพระอริยเจ้าที่ีมีศีลเป็นปกติ มีศีลโดยไม่ต้องรักษา (สมุจเฉทวิรัติ)


ดังคำสอนของหลวงปู่ชา ผมตัดมาบางท่อนดังนี้ ชนิดของผู้รักษาศีล

-------------------------------------------------------------
เรื่อง การรักษาศีลนี้ บางคนก็บ่นว่า จะให้ทานกันสักทีก็หาพระที่จะไปให้ศีลก็ไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บางทีให้ทานแล้ว ไปหาน้ำที่จะมากรวดอุทิศให้ก็ไม่มี เลยโง่อยู่ตลอดเวลา เลยโง่เรื่องศีล โง่เรื่องทาน โง่จนตาก็บอด หูก็หนวก ขาก็เป๋ทั้งหมด เสียหมดเลย ศีลนี้เป็น "สัมปัตตวิรัติ" อย่างนี้เป็นศีลให้เรารู้จักมัน ที่เราทำกันมาเป็นปีๆ เป็น "สมาทานวิรัติ" ต้องให้พระบอกความจริง คนที่ให้คนอื่นบอกนั้นคือคนไม่รู้จัก ฉันไม่รู้ว่าศีลนั้นน่ะเป็นอย่างไร? พวกดิฉันทั้งหลายนี่ พวกกระผมทั้งหลายนี่จึงได้กล่าวขอขึ้นว่า มะยัง ภันเตติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ...ฯลฯ พวกข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ยังไม่รู้จักอันนี้เลยเป็นข้อวัตรของพระภิกษุ เมื่อบวชเข้ามาและจะต้องกระทำต่อๆ ไป ความเป็นจริงนั้นเป็นสัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยตนเอง เมื่อเรารู้แล้ว เมื่อเรารู้แล้วว่าศีลนั้นมันเป็นอย่างนั้นๆ เมื่อเราต้องการศีลเมื่อไรเราก็มีอยู่แล้ว งดเว้นด้วยตนเองก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาบอก นี่คือ สัมปัตตวิรัติ

อย่างเรามาทำกันวันนี้เรียก ว่าเป็น "สมาทานวิรัติ" คือเรายังไม่รู้จัก จึงต้องให้พระบอก บอกขนาดนั้นก็ยังไม่รู้จักนะ ต้อง บอกเป็นภาษามคธด้วยนะก็ยังไม่รู้จักอีก บอกแล้วก็ยังไม่รู้จัก นี่ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น "สมุจเฉทวิรัติ" ไม่ต้องสมาทานกับใครไม่ต้องขอกับใคร เพราะมันเป็นของมันเองแล้ว คือมันเป็นของที่ขาวสะอาดแล้ว ไม่ต้องทำสะอาดอีก จะไปทำสะอาดที่ไหนอีกล่ะ ก็เพราะตรงนั้นมันสะอาดแล้วไม่ต้องไปทำสะอาดอีก คือหมายความว่าจิตของพระอริยบุคคล ศีลของพระอริยเจ้าไม่ต้องไปรับไม่ต้องไปส่ง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องขัดอะไรอีก เพราะมันสะอาดอยู่แล้ว เป็นสมุจเฉทคือตัดไปเลย ขึ้นชื่อว่าการกระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงแล้วเราไม่ทำเลยดังนั้นท่านจึงไม่มี เจตนาที่จะไปกระทำบาป เรื่องกระทำบาปเมื่อไรก็ไม่เป็นบาป อย่างเช่นท่านเดินไป บังเอิญไปเหยียบสัตว์ตาย เหยียบปูตาย เหยียบมดตาย อย่างนี้ตัวท่านก็ไม่เป็นบาป เพราะเจตนาที่จะกระทำบาปนั้นไม่มี มันเป็นไปอย่างนี้ อันนั้นเป็นสมุจเฉทวิรัติ ตัดไปเลย ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว รักษาจิตอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ต้องดูอื่นไกลแล้ว สมมติว่าเกิดมีอะไรขึ้นมาก็มีผู้รับผู้รู้ ใครเป็นคนที่รับรู้? คนที่เป็นผู้รับรู้นั้นเราเรียกว่า "จิต" ของเรา

หลวงพ่อชา

อ่านคำสอนฉบับเต็มสำหรับเรื่องนี้ของหลวงพ่อชาได้ที่ลิ้งค์นี้ครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_cha/lp-cha_50.htm

---------------------------------------------------------
เพิ่มเติมความหมายของ วิรัติ
วิรัติ แปลว่า เจตนาเครื่องงดเว้น ผู้งดเว้นจากข้อห้ามในสิกขาบท ๕ ประการ นั้นได้ ชื่อว่า ผู้มีศีล หมายถึง ผู้มีกายวาจาสะอาดปราศจากโทษ กิริยาคืออาการละเว้นที่เรียกว่า วิรัตินั้นมี ๓ ประการคือ

๑. สัมปัตตวิรัติ

๒. สมาทานวิรัติ

๓. สมุจเฉทวิรัติ

อ่านต่อที่นี่
http://www.jariyatam.com/beginner/discipline/521-2009-10-08-08-01-27

--------------------------------------------------------
อนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้ที่มีเจตนารักษาศีลครับ

จากคุณ    : temjung99
566  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: หลักธรรมเพื่อการบรรลุธรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 06:24:51 am
หลักธรรม นี้จัดเป็นขั้นสูง หรือไม่คะ เพราะอ่านแล้วยังไม่ค่อยจะเข้าใจเลยคะ

 :25:
567  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ดูการตูนพุทธประว้ติแล้วอยากร้องให้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 06:23:53 am
เรา ก็เป็นเหมือนกันแต่เป็นเวลาที่ไปกราบ พระพุทธรูป บ้าง ตอนฟังธรรมบ้าง ที่โรงเรียนเมื่อก่อนที่เรียนอยู่ เพื่อนร้องไห้ยกห้องประชุมเลย พระท่านมาบรรยายเรื่องพระคุณแม่ นั่งฟังไปน้ำตาไหลรินเลย ตอนนั้นคิดถึงแม่มาก ๆ

 :57:
568  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: แผนผังอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท คะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 06:22:09 am
แผนผังใหญ่มาก อ่านแล้วเดี๋ยวจะมาตั้งคำถามนะจ๊ะ

 :25:
569  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ทำไมคนทำเลว จึงได้ดีคะ คนทำดี จึงไม่ได้ดีตกต่ำ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2011, 03:45:48 am
อันนี้เห็นด้วย เลยว่า คนทำเลวแล้ว ได้ดี ส่วนคนดี ๆ ต้องหนี กระจาย

แต่อย่างไร ก็ยังเชื่อมั่นในความดี เพราะทำชั่ว แล้วไม่สบายใจ เหมือนทำดี
 :13:
หน้า: 1 ... 13 14 [15]