ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 658 659 [660] 661 662 ... 708
26361  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ว่าด้วย นานาทิฏฐิ เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 10:23:33 am

   แต่ความเสื่อมทาง ทิฏฐิ นี่สิค ไม่ค่อยจะเข้าใจ ต้องเป็นทิฏฐิ แบบไหน ที่จะไ่ม่เสื่อม
 หรือเป็น ทิฏฐิ ที่มั่นคงต่อพระรัตนตรัย คือ ทิฏฐิ ที่ไม่เสื่อม



ทิฏฐิ ความเห็น, ทฤษฎี;
       ความเห็นผิดมี ๒ คือ
           ๑. สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง
           ๒. อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ;
       อีกหมวดหนึ่ง มี ๓ คือ
           ๑. อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ
           ๒. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
           ๓. นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี คือถืออะไรเป็นหลักไม่ได้ เช่น มารดาบิดาไม่มีเป็นต้น;
       ในภาษาไทยมักหมายถึง การดื้อดึงในความเห็น
       (พจนานุกรมเขียน ทิฐิ);
       (ข้อ ๔ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๓ ในอนุสัย ๗)


ทิฏฐิบาป ความเห็นลามก


ทิฏฐิปปัตตะ ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ,
       พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต);
       ดู อริยบุคคล ๗


ทิฏฐิมานะ
       ทิฏฐิ แปลว่า “ความเห็น” ในที่นี้หมายถึง ความเห็นดื้อดึง ถึงผิดก็ไม่ยอมแก้ไข
       มานะ ความถือตัว
       รวม ๒ คำ เป็นทิฏฐิมานะ หมายถึง ถือรั้น อวดดี หรือดึงดื้อถือตัว


ทิฏฐิวิบัติ วิบัตแห่งทิฐิ, ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น, ความเห็นคลาดเคลื่อน ผิดธรรมผิดวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ
       (ข้อ ๓ ในวิบัติ ๔)


ทิฏฐิวิสุทธิ ความหมดจดแห่งความเห็น
       คือ เกิดความรู้ความเข้าใจ มองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง คลายความหลงผิดว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน ลงได้
       (ข้อ ๓ ในวิสุทธิ ๗)


ทิฏฐิสามัญญตา ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้
       (ข้อ ๖ ในสารณียธรรม ๖)


นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี
       เช่น เห็นว่า ผลบุญผลบาปไม่มี บิดามารดาไม่มี ความดีความชั่วไม่มี
       เป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด ที่ร้ายแรงอย่างหนึ่ง;
       ดู ทิฏฐิ


ภวทิฏฐิ ความเห็นเนื่องด้วยภพ,
       ความเห็นว่า อัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ


มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิด, ความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่นเห็นว่าทำดีได้ชั่ว ทำชั่วได้ดี มารดาบิดาไม่มี เป็นต้น และความเห็นที่ไม่นำไปสู่ความพ้นทุกข์
       (พจนานุกรมเขียน มิจฉาทิฐิ);
       (ข้อ ๑ ในมิจฉัตตะ ๑๐)


สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน,
       ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน เช่น เห็นรูปเป็นตน เห็นเวทนาเป็นตน เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในสังโยชน์ ๑๐)


สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือ เห็นอริยสัจจ์ ๔,
       เห็นชอบตามคลองธรรมว่า
           ทำดีมีผลดี
           ทำชั่วมีผลชั่ว
           มารดาบิดามี (คือมีคุณความดีควรแก่ฐานะหนึ่งที่เรียกว่ามารดาบิดา)
           ฯลฯ,
       เห็นถูกต้องตามที่เป็นจริงว่า ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยงเป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในมรรค)


สัมมาทิฏฐิสูตร พระสูตรแสดงความหมายต่างๆ แห่งสัมมาทิฏฐิ เป็นภาษิตของพระสารีบุตร
       (สูตรที่ ๙ ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก)


สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง คือความเห็นว่า อัตตาและโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ยั่งยืน คงอยู่ตลอดไป
       เช่น เห็นว่าคนและสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือเจตภูตหรือมนัสเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง;
       ตรงข้ามกับ อุจเฉททิฏฐิ
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๒)


อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ, เห็นว่าการกระทำไม่มีผล
       อธิบายอย่างง่าย เช่น ทำชั่ว หากไม่มีคนรู้คนเห็น ไม่มีคนชม ไม่มีคนลงโทษ ก็ชื่อว่าไม่เป็นอันทำ
       เป็นมิจฉาทิฏฐิร้ายแรงอย่างหนึ่ง
       (ข้อ ๑ ในทิฏฐิ ๓)


อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
       คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)


อัตตานุทิฏฐิ ความตามเห็นว่าเป็นตัวตน


อันตคาหิกทิฏฐิ ความเห็นที่ยึดเอาที่สุด
       คือ แล่นไปถึงที่สุดในเรื่องหนึ่งๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. โลกเที่ยง
           ๒. โลกไม่เที่ยง
           ๓. โลกมีที่สุด
           ๔. โลกไม่มีที่สุด
           ๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น
           ๖. ชีพก็อย่าง สรีระก็อย่าง
           ๗. สัตว์ตายแล้ว ยังมีอยู่
           ๘. สัตว์ตายแล้ว ย่อมไม่มี
           ๙. สัตว์ตายแล้วทั้งมีอยู่ ทั้งไม่มี
           ๑๐. สัตว์ตายแล้วจะมีอยู่ ก็ไม่ใช่ ไม่มีอยู่ ก็ไม่ใช่


อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ เช่น เห็นว่าคนและสัตว์จุติจากอัตภาพนี้ แล้วขาดสูญ;
       ตรงข้ามกับ สัสสตทิฏฐิ
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๒)

อ้า่งอิง
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D4%AF%B0%D4
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com/,www.phuketdata.net/



หามาไขข้อข้องใจของคุณ translate ส่วนตัวแล้ว เห็นว่า ทิฏฐิที่สำคัญและควรทำความเข้าในเบื้องต้น
คือ สัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ สักกายทิฏฐิ

 :welcome: :49: ;)
26362  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งสมาธิ แล้ว ขยับได้หรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2011, 09:58:01 am
นั่งสมาธิ แล้ว ไม่ขยับ ก็น่าจะถูกต้อง
เพราะถ้าขยับ แล้ว เสียสมาธิ เนื่องด้วยการนั่งสมาธิ ประกอบด้วยสมาธิ มากกว่า สติ

 แต่ถ้าเดิน สมาธิ แล้ว ก็น่าจะขยับ เพราะสมาธิ ในขณะเดิน ประกอบด้วย สติ มากกว่า สมาธิ

 :88:

  วันที่ ๑๔ สิงหาคมที่จะถึง ขอเชิญที่บ้านคุณจิตตรี สระบุรี อยากเห็นคุณ pussadee

  มาพิสูจน์ทฤษฎีของคุณ ลองมาสัมผัส "เดินจงกรมธาตุ"

 :welcome: :49: ;)
26363  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เวลาทำอกุศล แล้ว เกิด ปีติ สุข เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 08:15:36 pm
เวลาทำอกุศล แล้ว เกิด ปีติ สุข

 เช่น เราไปยืนด่า เขา ให้ได้รับความ อับอาย  เมื่อทำสำเร็จ ก็เกิดอาการดีใจ นึกถึงทีไร ก็มีความสุข

 ปีติ และ สุข อย่างนี้ สามารถพัฒนาให้เป็น สมาธิ ได้หรือไม่ คะ

 หรือ คนที่ยินดี กับ อกุศล เช่น นั่ง เล่นไพ่ ถึงเช้า อันนี้จัดว่า ได้ เสวย สมาธิ ด้วยหรือไม่คะ


สมาธิที่เป็นไปเพื่อ "มรรค ผล นิพพาน" เรียกว่า "สัมมาสมาธิ" ซึ่งอยู่ในมรรคมีองค์ ๘(หมายถึง ฌาณ ๔)

 สมาธิที่ไม่เป็นไปเพื่อ "มรรค ผล นิพพาน" อาจเรียกได้ว่า "มิจฉาสมาธิ"

 การไปด่าคนอื่น เป็นไปด้วยอารมณ์ "พยาบาท" ไม่เป็นกุศล

 การดีใจ ซะใจ ที่ได้ด่าคนอื่น ก็เป็นอกุศล ไม่ควรทำ

 การทำเรื่องอกุศล ทำให้ศีลไม่สมบูรณ์ เมื่อศีลบกพร่อง มรรคจึงไม่สมบูรณ์เช่นกัน

 ส่วนการพัฒนา "มิจฉาสมาธิ" ให้เป็นสมาธิ อันนี้ตอบไม่ได้ครับ
26364  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จุลกฐิน คือ อะไรคะ ต่างจาก กฐิน อื่น ๆ อย่างไร คะ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 08:04:22 pm
งานบุญกฐินของชาวเขมรในสหรัฐอเมริกา

ชนิดของกฐินในประเทศไทย

ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ

จุลกฐิน
จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)

เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย

สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ

เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

มหากฐิน
มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้



พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

การทอดกฐินในประเทศไทย

กฐินหลวง
กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น)

กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นต้น

กฐินต้น
กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์

กฐินพระราชทาน
กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)

กฐินราษฎร์
กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี

ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย

ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/กฐิน
ภาพประกอบจาก http://upload.wikimedia.org/
26365  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จุลกฐิน คือ อะไรคะ ต่างจาก กฐิน อื่น ๆ อย่างไร คะ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 07:48:52 pm


กฐิน ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือไม้แบบสำหรับขึงเพื่อตัดเย็บจีวร;

       ในทางพระวินัยใช้เป็นชื่อเรียกสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว เพื่อแสดงออกซึ่งความสามัคคีของภิกษุที่ได้จำพรรษาอยู่ร่วมกัน โดยให้พวกเธอพร้อมใจกันยกมอบผ้าผืนหนึ่งที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ ให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ที่เป็นผู้มีคุณสมบัติสมควร แล้วภิกษุรูปนั้นนำผ้าที่ได้รับมอบไปทำเป็นจีวร (จะทำเป็นอันตรวาสก หรืออุตตราสงค์ หรือสังฆาฏิก็ได้ และพวกเธอทั้งหมดจะต้องช่วยภิกษุนั้นทำ)

       ครั้นทำเสร็จแล้ว ภิกษุรูปนั้นแจ้งให้ที่ประชุมสงฆ์ซึ่งได้มอบผ้าแก่เธอนั้นทราบเพื่ออนุโมทนา เมื่อสงฆ์คือที่ประชุมแห่งภิกษุเหล่านั้นอนุโมทนาแล้ว ก็ทำให้พวกเธอได้สิทธิพิเศษที่จะขยายเขตทำจีวรให้ยาวออกไป (เขตทำจีวรตามปกติ ถึงกลางเดือน ๑๒ ขยายต่อออกไปถึงกลางเดือน ๔);

       ผ้าที่สงฆ์ยกมอบให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งนั้น เรียกว่า ผ้ากฐิน (กฐินทุสสะ);
       สงฆ์ผู้ประกอบกฐินกรรมต้องมีจำนวนภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป;
       ระยะเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ประกอบกฐินกรรมได้ มีเพียง ๑ เดือน ต่อจากสิ้นสุดการจำพรรษา เรียกว่า เขตกฐิน คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒


       ภิกษุผู้กรานกฐินแล้ว ย่อมได้อานิสงส์ ๕ ประการ (เหมือนอานิสงส์การจำพรรษา ดู จำพรรษา) ยืดออกไปอีก ๔ เดือน (ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔) และได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปตลอด ๔ เดือนนั้น

       คำถวายผ้ากฐิน
       แบบสั้นว่า : อิมํ, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม. (ว่า ๓ จบ)
       แปลว่า ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์
       แบบยาวว่า : อิมํ, ภนฺเต, สปริวารํ, กฐินจีวรทุสฺสํ, สงฺฆสฺส, โอโณชยาม, สาธุ โน ภนฺเต, สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ, กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ, ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน, กฐินํ, อตฺถรตุ, อมฺหากํ, ทีฆรตฺตํ, หิตาย, สุขาย.


       แปลว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐินด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

กฐินทาน การทอดกฐิน, การถวายผ้ากฐิน คือการที่คฤหัสถ์ผู้ศรัทธาหรือแม้ภิกษุสามเณร นำผ้าไปถวายแก่สงฆ์ผู้จำพรรษาแล้ว ณ วัดใดวัดหนึ่ง เพื่อทำเป็นผ้ากฐิน เรียกสามัญว่า ทอดกฐิน (นอกจากผ้ากฐินแล้วปัจจุบันนิยมมีของถวายอื่นๆ อีกด้วยจำนวนมาก เรียกว่า บริวารกฐิน)

กฐินัตถารกรรม การกรานกฐิน

กรานกฐิน ขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้นเรียกว่า ผู้กราน

       พิธีทำในบัดนี้คือ ภิกษุซึ่งจำพรรษาครบ ๓ เดือนในวัดเดียวกัน (ต้องมีจำนวน ๕ รูปขึ้นไป) ประชุมกันในอุโบสถ พร้อมใจกันยกผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่พวกเธอ ภิกษุรูปนั้นทำกิจตั้งแต่ ซัก กะตัด เย็บ ย้อม ให้เสร็จในวันนั้น ทำพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครองผืนใดผืนหนึ่งในไตรจีวร แล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ยกผ้าให้ เพื่ออนุโมทนา และภิกษุสงฆ์นั้นได้อนุโมทนาแล้ว เรียกว่า กรานกฐิน

       ถ้าผ้ากฐินเป็นจีวรสำเร็จรูป กิจที่จะต้อง ซัก กะ ตัด เย็บย้อม ก็ไม่มี
       (กราน เป็นภาษาเขมร แปลว่า ขึง คือทำให้ตึง กฐิน เป็นภาษาบาลี แปลว่า ไม้สะดึง กรานกฐินก็คือขึงไม้สะดึง คือเอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง)
       เขียน กราลกฐิน บ้างก็มี


ทอดกฐิน ดู กฐิน, กฐินทาน


ผ้ากฐิน ผ้าผืนหนึ่งที่ใช้เป็นองค์กฐินสำหรับกราน แต่บางทีพูดคลุมๆ หมายถึงผ้าทั้งหมดที่ถวายพระในพิธีทอดกฐิน,
       เพื่อกันความสับสน จึงเรียกแยกเป็นองค์กฐิน หรือผ้าองค์กฐิน อย่างหนึ่ง
       กับผ้าบริวารหรือผ้าบริวารกฐิน อืกอย่างหนึ่ง;
       ดู กฐิน


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก www.oknation.net/
26366  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จุลกฐิน คือ อะไรคะ ต่างจาก กฐิน อื่น ๆ อย่างไร คะ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 07:42:25 pm


กฐิน, กฐิน-
    [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร;

คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ ก็หน้ากฐินมี 


ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน

การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน

เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน]

เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน]

ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).



จุลกฐิน
   น. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทําตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทําอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจํากัด.



กรานกฐิน
   [-กะถิน] ก. ขึงไม้สะดึง คือ เอาผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรเข้าขึงที่ไม้สะดึง เย็บเสร็จแล้วบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ร่วมใจกันยกผ้าให้ในนามของสงฆ์เพื่ออนุโมทนา, ภิกษุผู้เย็บจีวรเช่นนั้น เรียกว่า ผู้กราน, พิธีทําบัดนี้ คือ สงฆ์ยกผ้าอันไม่พอแจกกันให้ภิกษุรูปหนึ่ง ภิกษุรูปนั้นทําตั้งแต่ซัก กะ ตัด เย็บ ย้อม เสร็จในวันนั้น ทําพินทุกัปปะอธิษฐานเป็นจีวรครอง เป็นจีวรกฐิน เรียกว่า กรานกฐิน. (อุปสมบทวิธี). (ดู กฐิน). (ข. กราล ว่า ปู, ลาด).

ที่มา  พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ภาพประกอบจาก http://2.bp.blogspot.com/
26367  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ฝึกเณรให้เป็น"ชาย" หลักสูตรวัดเชียงราย เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 07:15:05 pm
แก้ปัญหา ปลายเหตุ ต้นเหตุ ก็คือไม่ให้บวช มากกว่า
 :41:

    เห็นด้วยครับ สาวเข้าไปให้ลึกกว่านี้ น่าจะต้องกล่าวถึง"อุปัชฌาย์ที่อนุญาตให้บวช" หรือกระบวนการขั้นตอน
การอนุญาต ว่ามีการตรวจสอบกันแค่ไหนเพียงไร

   แต่นี้เป็นกิจของสงฆ์ มหาเถรสมาคมน่าจะมีบทบาทให้มากขึ้น
;)
26368  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน กับ พระอภิธรรม มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 01:19:40 pm

พระอภิธัมมัตถสังคหะคืออะไร

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๑๒๐๐๙ มีพระเถระผู้ทรงความรู้ในพระไตรปิฎกท่านหนึ่งมีนามว่า พระอนุรุทธเถระ (พระอนุรุทธาจารย์) ท่านเป็นชาวกาวิลกัญจิ แขวงเมืองมัทราช ภาคใต้ของประเทศอินเดีย ท่านได้มาศึกษา พระอภิธรรมอยู่ที่สานักวัดตุมูลโสมาราม เมืองอนุราธบุรี ประเทศลังกา จนมีความแตกฉานและได้รับยกย่องว่าเป็นปราชญ์ทางพระอภิธรรมท่านหนึ่ง

ต่อมาท่านได้รับอาราธนาจากนัมพะอุบาสกผู้เป็นทายกให้ช่วยเรียบเรียงพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ละเอียดลึกซึ้งมากนั้นให้สั้นและง่ายเพื่อสะดวกแก่การศึกษาและจดจา ด้วยความมุ่งหมายที่จะให้เป็นประโยชน์แก่นักศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลายในอนาคต พระอนุรุทธาจารย์ได้อาศัยพระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ คัมภีร์ มาเป็นหลักในการเรียบเรียงพระอภิธรรมฉบับย่อและเรียกชื่อคัมภีร์นี้ว่า พระอภิธัมมัตถสังคหะ

อภิธัมมัตถสังคหะ แยกออกเป็น อภิ+ธัมมะ+อัตถะ+สัง+คหะ

     อภิ = อันประเสริฐยิ่ง
     ธัมมะ = สภาพที่ทรงไว้ไม่มีการผิดแปลกแปรผัน
     อัตถะ = เนื้อความ
     สัง = โดยย่อ
     คหะ = รวบรวม


อภิธัมมัตถสังคหะ จึงหมายถึง คัมภีร์ซึ่งรวบรวมเนื้อความของ พระอภิธรรมทั้ง ๗ คัมภีร์ ไว้โดยย่อ อันเปรียบเสมือนแบบเรียนเร็ว พระอภิธรรม แบ่งเป็น ๙ ปริจเฉท (๙ ตอน)

อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net/




ประโยชน์จากการศึกษาพระอภิธรรม

ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลาย ประการ แต่ที่สาคัญมีโดยสังเขปดังนี้

๑. การศึกษาพระอภิธรรมจะทาให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์ การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง

๒. การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทางานของ กายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ), เรื่องเจตสิก, เรื่องอานาจจิต, เรื่องวีถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม, เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ในภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทางานของกิเลส

ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและมาได้อย่างไร มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คาตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและไป ได้อย่างไร อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทาให้หมดความสงสัยว่าตายแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม ทาให้มีความเข้าใจเรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม(วิบาก) อย่างละเอียดลึกซึ้ง

๓. ผู้ศึกษาพระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาว ธรรมอันจริงแท้ตามธรรมชาติ ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็น ว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไรทั้งนั้น คงมีแต่สภาวธรรม คือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย โดยอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับ ไปอีก มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ตลอดเวลานานแสนนานไม่รู้กี่แสนชาติ กี่ ล้านชาติมาแล้วที่สืบต่อกันอยู่เช่นนี้โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น

แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม สภาวธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทางานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุดพักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหม พระอินทร์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

๔. การศึกษาพระอภิธรรมจะทาให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือ นิพพานนิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลส ตัณหาแล้วนั้น เมื่อสิ้นชีวิตลงก็จะไม่มีการสืบต่อของจิต+เจตสิก และ รูปอีกต่อไป ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง

จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลส ตัณหา เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่พ้นจากขันธ์ ๕ นิพพานมิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วนๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

๕. การศึกษาพระอภิธรรมจะทาให้เข้าใจคาสอนที่มีคุณค่าสูงสุดใน พระพุทธศาสนา เพราะแค่การให้ทาน รักษาศีล และการเจริญสมาธิก็ยังมิใช่ คาสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาเนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับ ผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่าวัฏฏกุศล เพราะกุศลเหล่านี้ยังไม่ทาให้ พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด

คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่า ทั้งนามธรรม (จิต+เจตสิก) และรูปธรรม (รูป) มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ ๆ ตลอดเวลา หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้แล้วก็จะนาไปสู่การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพาน ได้ในที่สุด

๖. การศึกษาพระอภิธรรม จะทาให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนา ซึ่งต้องมีนามธรรม (จิต+เจตสิก )และรูปธรรม (รูป) เป็นอารมณ์ เมื่อกาหนด อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผล ตามที่ต้องการ


๗. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุด ไม่มีวิทยาการใดๆ ในโลกที่ศึกษาแล้วจะทาให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกได้เท่ากับ การศึกษาพระอภิธรรม

๘. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคาสอนของพระพุทธองค์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงถาวรตลอดไป

อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอบคุณภาพจาก http://download.buddha-thushaveiheard.com/



 ผมนำหนังสือที่ใช้อ้างอิง มาให้ดาวน์โหลดครับ
26369  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐาน กับ พระอภิธรรม มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 01:19:25 pm
ภาพจากเว็บwww.bloggang.com/

ประวัติพระอภิธรรม

ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรง พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับพระอภิธรรมซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม (จิต เจตสิก รูป นิพพาน) อันเป็นแก่นของธรรมะในพระพุทธศาสนาอยู่ตลอด ๗ วัน ในขณะที่ทรงพิจารณาเรื่องของเหตุ เรื่องของปัจจัยในปรมัตถธรรมอันเป็นที่มาของคัมภีร์ปัฏฐานอยู่นั้น ก็ปรากฏฉัพพรรณรังสี (รัศมี ๖ ประการ) มีสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีม่วง และสีเลื่อมพราย เหมือนแก้วผลึก แผ่ออกจากพระวรกายอย่างน่าอัศจรรย์

ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธา อันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่ กาลก่อน

แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อในพระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคาสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

ล่วงมาถึงพรรษาที่ ๗ พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงพระอภิธรรมเป็นครั้งแรก โดยเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทดแทนคุณ ของพระมารดาด้วยการแสดงพระอภิธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา ซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไปตั้งแต่ประสูติพระองค์ได้ ๗ วัน

และได้อุบัติเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตมีพระนามว่า สันดุสิตเทพบุตร ในการแสดงธรรมครั้งนี้ได้มีเทวดาและพรหมจากหมื่นจักรวาลจานวนหลายแสนโกฏิ มาร่วมฟังธรรมด้วย โดยมีสันดุสิตเทพบุตรเป็นประธาน ณ ที่นั้น พระพุทธองค์ทรงแสดงพระอภิธรรม แก่เหล่าเทวดาและพรหมด้วย วิตถารนัย คือ แสดงโดยละเอียดพิสดาร ตลอดพรรษากาล คือ ๓ เดือนเต็ม

สาหรับในโลกมนุษย์นั้น พระองค์ได้ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเป็นองค์ แรก คือในระหว่างที่ทรงแสดงธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นพอได้เวลาบิณฑบาต พระองค์ก็ทรงเนรมิตพุทธนิมิตขึ้นแสดงธรรมแทนพระองค์ แล้วพระองค์ก็เสด็จไปบิณฑบาตในหมู่ชนชาวอุตตรกุรุ เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วก็เสด็จไปยังป่าไม้จันทน์ซึ่งอยู่ในบริเวณป่าหิมวันต์ใกล้กับสระ อโนดาตเพื่อเสวยพระกระยาหาร โดยมีพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าทุกวัน

หลังจากที่ทรงเสวยแล้วก็ทรงสรุปเนื้อหาของพระอภิธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงแก่เหล่าเทวดาและพรหมให้พระสารีบุตรฟังวันต่อวัน (พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่พระสารีบุตรด้วย สังเขปนัย คือ แสดงอย่างย่นย่อ) เสร็จแล้วพระองค์จึงเสด็จกลับขึ้นสู่ดาวดึงส์เทวโลกเพื่อแสดงธรรมต่อไป ทรงกระทาเช่นนี้ทุกวันตลอด ๓ เดือน

เมื่อการแสดงพระอภิธรรมบนเทวโลก จบสมบูรณ์แล้วการแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตรก็จบสมบูรณ์ด้วยเช่นกัน เมื่อจบพระอภิธรรมเทศนาเทวดาและพรหม ๘๐๐,๐๐๐ โกฏิได้บรรลุธรรม และสันดุสิตเทพบุตร(พุทธมารดา)ได้สาเร็จเป็นพระโสดาบันบุคคล

เมื่อพระสารีบุตรได้ฟังพระอภิธรรมจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็นามาสอนให้แก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านโดยสอนตามพระพุทธองค์วันต่อวันและจบบริบูรณ์ในเวลา ๓ เดือนเช่นกัน การสอนพระ อภิธรรมของพระสารีบุตรที่สอนแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้เป็นการสอนชนิดไม่ ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียกว่า นาติวิตถารนาติสังเขปนัย

ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้ เคยมีอุปนิสัยมาแล้วในชาติก่อน คือในสมัย ศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนี้เป็นค้างคาว อาศัยอยู่ในถ้าแห่งหนึ่ง ขณะนั้นมีภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูปที่อาศัย อยู่ในถ้านั้นเช่นกัน กาลังสวดสาธยายพระอภิธรรมอยู่ เมื่อค้างคาวทั้ง ๕๐๐ ตัวได้ยินเสียงพระสวดสาธยายพระอภิธรรมก็รู้เพียงว่าเป็นพระธรรม เท่านั้นหาได้รู้ความหมายใดๆ ไม่ แต่ก็พากันตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ

เมื่อสิ้น จากชาติที่เป็นค้างคาวแล้วก็ได้ไปเกิดอยู่ในเทวโลกเหมือนกันทั้งหมด จนกระทั่งศาสนาของพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงได้จุติจาก เทวโลกมาเกิดเป็นมนุษย์และได้บวชเป็นภิกษุในศาสนานี้ตลอดจนได้เรียน พระอภิธรรมจากพระสารีบุตรดังกล่าวแล้ว นับแต่นั้นมาการสาธยาย ท่องจาและการถ่ายทอดความรู้เรื่องพระอภิธรรมก็ได้แพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง

ภายหลังที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๘ หลังจากถวายพระเพลิงได้ ๕๒ วัน ท่านมหากัสสปเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนทเถระ พร้อมด้วยพระอรหันต์รวมทั้งสิ้น ๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ๖ ฉฬภิญญะ๗ และเตวิชชะ๘ ได้ช่วยกันทา สังคายนาพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และได้กล่าวยกย่องพระ อภิธรรมว่าเป็นหมวดธรรมที่สาคัญมากของพระพุทธศาสนา การทา สังคายนาครั้งนี้ มีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก

อ้างอิง
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
เรื่อง สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม เรียบเรียงโดย วิศิษฐ์ ชัยสุวรรณ
อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย



ภาพจากเว็บ www.dmc.tv/

   จากการศึกษาประวัติพระอภิธรรมจะเห็นว่า พระพุทธองค์สอนอภิธรรมเมื่อพรรษาที่ ๗ ถ้าเราดูพุทธประวัติจะเห็นว่า ตั้งแต่พรรษาแรกถึงพรรษาที่ ๖ น่าจะมีผู้บรรลุธรรมหลายพันคน บุคคลที่สำคัญ คือ ปัญจวัคคีย์ ยสกุลและสหาย ชฎิลสามพี่น้อง สหายภัททวัคคีย์ สารีบุตร-โมคคัลลานะและบริวาร
   เท่านี้ก็น่าจะมีอรหันต์ไม่น้อยกว่า ๑,๒๕๐ รูปแล้ว

   ถึงตรงนี้สามารถตอบโจทย์ได้ว่า การจะรู้พระอภิธรรมหรือไม่ ไม่มีผลต่อการบรรลุธรรม กล่าวโดยอนุโลมก็คือ
ไม่มีผลต่อวิปัสสนากรรมฐาน

   ถ้าจะกล่าวให้ลึกลงไปอีก "สมถกรรมฐาน" มีมาก่อนพุทธกาล ขอให้นึกถึงอาจารย์ของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ อาฬารดาบส อุททกดาบส ทั้งสองสอนอรูปฌาณให้ท่าน

   สรุปก็คือ การปฏิบัติกรรมฐานใดๆ ไม่จำเป็นต้องศึกษาอภิธรรม

 :welcome: ;)
26370  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ถ้ากรูไม่ทำแล้วใครจะทำ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 01:03:12 pm
พระพุทธองค์แบ่งเวไนยสัตว์เป็น ๔ จำพวก คือ

    ๑.บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลาที่ท่านยกขึ้นแสดง  ชื่อ  อุคฆฏิตัญญู. 
    ๒.บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกความแห่งคำย่อโดยพิสดาร  ชื่อว่า  วิปจิตัญญู. 
    ๓.บุคคลที่ตรัสรู้ธรรมโดยลำดับด้วยความพากเพียรท่องจำ  ด้วยการไต่ถาม  ด้วยทำไว้ในใจโดยแบบคาย  ด้วยคบหาสมาคมกับกัลยาณมิตร  ชื่อว่า  เนยย. 
    ๔.บุคคลที่ไม่ตรัสรู้ธรรมได้ในชาตินั้นแม้เรียนมาก  ทรงไว้มาก  สอนเขามาก  ชื่อว่า  ปทปรมะ.


    ปัจจุบันคนส่วนใหญ่น่าจะเป็น เนยย และ ปทปรมะ ครับ การยึดติดวัตถุ เป็นเรื่องปรกติของปุถุชน

    การจำหน่ายวัตถุมงคล เป็นกุศโลบายหนึ่ง ที่จะหาปัจจัย มาสร้างถาวรวัตถุทางโลกและทางศาสนา

    ถือว่าเป็น "ทานบารมี"

    พุทธบริษัททุกคนทราบแก่นของพุทธศาสนา ขึ้นอยู่กับว่าใครจะปรารถนาอะไร บังคับกันไม่ได้


 :welcome: :49: :s_good: ;)
26371  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งสมาธิ แล้ว ขยับได้หรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2011, 12:43:06 pm

ตบะ
       1. ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส, การบำเพ็ญเพียรเพื่อกำจัดกิเลส
       2. พิธีข่มกิเลสโดยการทรมานตัวของนักบวชบางพวกในสมัยพุทธกาล


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ตบะ
   น. พิธีข่มกิเลสโดยทรมานตัว; การบําเพ็ญเพื่อให้กิเลสเบาบาง, การข่มกิเลส, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม). (ป., ส. ตป ว่า ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส).

ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒



ขยับ ก็ไม่มีตะบะ


  ความเห็นส่วนตัวคิดว่า การขยับตัว เพื่อเดินจงกรม หรือการเคลื่อนไหวมือแนวหลวงพ่อเทียน ถ้าทำถูกวิธี

สมาธิก็จะเกิด(ข่มกิเลสได้)  ในส่วนของการเดินจงกรมธาตุ ของกรรมฐานมัชฌิมาฯ ถ้าทำได้จะเกิด "อุปจารสมาธิ" แต่ต้องเดินช้าๆ




สมาธิ ต้องผ่านเวทนา ใช่หรือไม่ครับ


ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะเวทนาเป็นธรรมชาติที่อยู่กัยกายและจิตของมนุษย์ตลอดเวลา แต่มียกเว้นครับ

ถ้าคุณ timeman หมายถึง เวทนาทางกาย กล่าวกันว่า ต้องเข้า "ฌาณ ๔" เวทนาทางกายจะดับ

ส่วนเวทนาทางจิต จะดับก็ต่อเมื่อเข้า "สัญญาเวทยิตนิโรธ" เท่านั้น

สองกรณีที่กล่าวมา ผมฟังมาจากวิปัสนาจารย์ และต้องขออภัยที่บอกชื่อท่านไม่ได้


 :welcome: :49: :25: ;)
26372  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ความเป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 10:43:57 pm
ข้อธรรมที่คุณ Namo โพสต์ อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค  สาเลยยกสูตร


ศึกษารายละเอียดได้ที่
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๘๘๖๗ - ๙๐๕๕.  หน้าที่  ๓๖๔ - ๓๗๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=8867&Z=9055&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=483




ขอบคุณภาพจากwww.rmutphysics.com/

ลิงค์ที่แนะนำ
เหมือนหงายของที่คว่ำ_เปิดของที่ปิด_บอกทางให้แก่คนหลงทาง คืออะไร..??!!
26373  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 10:29:51 pm
อ่านแลว ไม่ค่อยจะเข้าใจ คะ ใครอธิบาย ช่วยเพิ่มเติมมาด้วย คะ
จุดประสงค์ ของ พระสูตรบทนี้

 :smiley_confused1:

พระสูตรที่คุณ whuchi โพสต์นั้น อยู่ใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ เป็น พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์

สูตรนี้มีชื่อว่า  "อลคัททูปมสูตร" ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ

ข้อธรรมที่โพสต์นั้น เป็นเพียงหัวข้อหนึ่งเท่านั้น ยังไม่เต็มสูตร

สามารถคลิกดูรายละเอียดได้ที่นี่

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒  บรรทัดที่ ๔๔๔๓ - ๔๘๔๕.  หน้าที่  ๑๘๑ - ๑๙๖.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=4443&Z=4845&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=274


เพื่อความเข้าใจ ผมขอนำบทสรุปโดยย่อ จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน ของ อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ

มาแสดงให้ดูดังนี้ครับ





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ ชื่อมัชนิกาย มูลปัณณาสก์ เป็นสุตตันตะปิฎกเล่มที่ ๔
๒๒ . อลคัททูปมสูตร
สูตรแสดงข้อเปรียบเทียบด้วยงูพิษ

   ๑. พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนาราม . ภิกษุชื่ออริฏฐะ ผู้สืบสกุลที่เคยฆ่าแร้ง มีความเห็นผิดเกิดขึ้นว่า ธรรมะที่พระผู้มีพระภาคแสดงว่ามีอันตรายนั้น ไม่เป็นอันตรายแก่ผู้ส้องเสพจริง ภิกษุทั้งหลายตักเตือนก็ไม่ฟัง ความทราบถึงพระผู้มีพระภาค ทรงเรียกไปชี้แจง ก็นั่งนิ่งเก้อเขินถอนใจ ไม่มีปฏิภาน.

   ๒. จึงตรัสต่อไปถึงบางคนผู้เรียนธรรม   แต่ไม่พิจารณาความหมายของธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา เมื่อไม่พิจารณาความหมาย ธรรมะของคนเหล่านั้นก็ไม่ทนต่อการเพ่ง คนเหล่านั้นเรียนธรรมะเพียงเพื่อจะยกโทษผู้อื่นและเพื่อเปลี้องวาทะของผู้อื่น จึงไม่ได้ประโยชน์ของการเรียน ธรรมะที่เรียนไม่ดี จึงเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์ เปรียบเหมือนคนต้องการงูพิษ แต่จับไม่ดี ก็อาจถูกงูกัดตายหรือปางตาย ส่วนคนที่เรียนดี พิจารณาความหมาย เป็นต้น ก็ได้รับประโยชน์จากการเรียน เหมือนคนต้องการงูพิษ จับงูพิษดี ก็ไม่ถึงแก่ความตาย ไม่ได้รับทุกข์ปางตายฉนั้น.

   ๓. ตรัสถามที่สำคัญต่อไปว่า เพราะฉะนั้น พึงเข้าใจความหมายแห่งภาษิตของเราแล้วทรงจำไว้ ถ้าไม่เข้าใจ ก็พึงไต่ถามเราหรือภิกษุผู้ฉลาด เราแสดงธรรมมีออุปมาด้วยเเพ เพื่อให้ถอนตัว ( นิตถรณะ ) ไม่ใช่เพื่อให้ยึดถือ ( คหณะ ) เหรียบเหมือนคนข้ามฝั่งน้ำด้วยอาศัยเเพ เมื่อถึงฝั่งแล้วไม่จำเป็นต้องแบกแพไปด้วย . เมื่อรู้ธรรมะที่เราแสดงเปรียบด้วยเเพ ก็พึงละแม้ธรรมะ จะกล่าวไยถึงอธรรมว่าจะไม่ต้องละ.

   ๔. ทรงแสดงที่ตั้งแห่งความเห็น  ๖ อย่าง คือ  รูป ,   เวทนา ,   สัญญา ,   สังขาร ,   สิ่งที่เห็น ที่ฟังที่ทราบ ที่รู้ ที่ค้นหาด้วยใจ   ( รวม ๕ อย่าง )  ที่บุคคลเห็นว่า นั้นเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา กับ   ( อย่างที่ ๖ )   ยึดถือความเห็นที่ว่า โลกหรืออัตตาเที่ยง ว่าเป็นของเรา เราเป็นนั้น นั้นเป็นตัวตนของเรา. อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมเห็นว่า สิ่งเหล่านั้นมิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั้น นั้นมิใช่ตัวตนของเรา. เมื่อเห็นอย่างนั้น ก็ไม่สดุ้งดิ้นรนในเมื่อสิ่งนั้นไม่มี.

   ๕. เมื่อภิกษุรูปหนึ่งกราบทูลถามถึงความสะดุ้งดิ้นรน และความไม่สะดุ้งดิ้นรนในสิ่งที่ไม่มีทั้งภายนอกภายใน   เป็นลำดับ จึงตรัสชี้แจงทั้งสี่ประการ.

   ๖. ตรัสแสดงว่า เมื่อยังหวงแหน ยังมีวาทะว่าตัวตน ยังอาศัยทิฏฐิ ( ที่ผิด ) ก็จะต้องเกิดความโศกความคร่ำครวญ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ และคับแค้นใจ.

   ๗. ตรัสว่า เมื่อมีตน ก็มีการยึดว่า สิ่งที่เนื่องด้วยตนของเรามีอยู่, เมื่อมีสิ่งเนื่องด้วยตน ก็มีการยึดว่าตนของเรามีอยู่ , เมื่อไม่ได้ตนหรือสิ่งที่เนื่องด้วยตนโดยแท้จริง ความเห็นว่าโลกเที่ยง อัตตาเที่ยง จึงเป็นธรรมะของคนพาลอันบริบูรณ์ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายให้เห็นด้วยตนเองว่า   ขันธ์   ๕ ไม่เที่ยง   เป็นทุกข์ไม่ใช่ตัวตน   ไม่ควรยึดถือ . อริยสาวกผู้รู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้น . ต่อจากนั้นทรงแสดงข้อเปรียบเทียบภิกษุผู้หลุดพ้นในทำนองผู้ชนะศึกที่ตีเมืองอื่นได้.

   ๘. ตรัสว่า พระองค์ทรงบัญญัติทุกข์และความดับทุกข์ทั้งในกาลก่อนและในปัจจุบัน แต่สมณพราหมณ์บางพวกก็ยังกล่าวหาว่าทรงสอนขาดสูญ แล้วทรงแสดงต่อไปว่า ไม่ทรงอาฆาตหรือเสียใจเพราะมีผู้อื่นด่า ไม่ทรงชื่นชมโสมนัสเพราะมีผู้อื่นสักการะเคารพนับถือบูชา แล้วตรัสสอนภิกษุให้ทำเช่นนั้นบ้าง กับได้ตรัสสรุปว่า สิ่งที่ไม่ใช่ของท่าน จงละเสีย สิ่งที่ไม่ใช่ของท่านคือ ขันธ์ ๕ ( ความมุ่งหลายคือ เพื่อคลายความยึดถือ ).

   ๙. ทรงแสดงถึงผู้ปฏิบัติได้ผลในพระธรรมวินัยที่ตรัสไว้ดีแล้ว ตั้งแต่พระอรหันต์ลงมาถึงชั้นต่ำสุด คือผู้มีความศรัทธา มีความรักในพระองค์.

อ้างอิง
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/4.3.html
ขอบคุณภาพจาก www.84000.org/
26374  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 10:04:28 pm


อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ (ลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า ที่ทำให้คำสอนของพระองค์ ควรแก่การประพฤติปฏิบัติตาม และทำให้เหล่าสาวกเกิดความมั่นใจเคารพเลื่อมใสในพระองค์อย่างแท้จริง)

๑. อภิญญายธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมด้วยความรู้ยิ่ง, ทรงรู้ยิ่งเห็นจริงเองแล้ว จึงทรงสอนผู้อื่น เพื่อให้รู้ยิ่งเห็นจริงตาม ในธรรมที่ควรรู้ยิ่งเห็นจริง )

๒. สนิทานธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมมีเหตุผล, ทรงสั่งสอนชี้แจงให้เห็นเหตุผล ไม่เลื่อนลอย )


๓. สัปปาฏิหาริยธัมมเทสนา (ทรงแสดงธรรมให้เห็นจริงได้ผลเป็นอัศจรรย์, ทรงสั่งสอนให้มองเห็นชัดเจนสมจริงจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติได้ผลจริงเป็นอัศจรรย์ )

ข้อ ๑ บางท่านแปลว่า ทรงแสดงธรรมเพื่อความรู้ยิ่ง


อ้างอิง
ม.ม.๑๓/๓๓๐/๓๒๒; องฺ.ติก.๒๐/๕๖๕/๓๕๖.
พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก www.oknation.net/


หามาช่วยคุณ pussadee :s_good: :49:
26375  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อนาคตพระพุทธศาสนา โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 09:44:35 pm





ขอขอบคุณข้อมูลจากตู้ธรรมประจำบ้าน อัปโหลดโดยคุณtoudhammavedio
ที่มา http://board.palungjit.com/f36/อนาคตพระพุทธศาสนา-โดยพระธรรมโกศาจารย์-ศ-ดร-ประยูร-ธมฺมจิตฺโต-298731.html
26376  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อนาคตพระพุทธศาสนา โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 09:42:04 pm

อนาคตพระพุทธศาสนา โดยพระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต)





ขอขอบคุณข้อมูลจากตู้ธรรมประจำบ้าน อัปโหลดโดยคุณtoudhammavedio
ที่มา http://board.palungjit.com/f36/อนาคตพระพุทธศาสนา-โดยพระธรรมโกศาจารย์-ศ-ดร-ประยูร-ธมฺมจิตฺโต-298731.html
26377  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ถ้าจะไปบวช เป็นแม่ชี หามุมสงบในชีวิต เพื่อตัดขาดโลกภายนอก เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 01:52:50 pm
ขอบคุณคะ ที่ทุกคน ต้อนรับในความเป็นกัลยาณมิตร ถึงแม้ไม่รู้จักกันมาก่อน
แต่อ่านแล้ว ก็เจริญสติ ได้เลยคะ ว่า ยังมีเพื่อนที่ยังคอยให้กำลังใจ เรา อยู่เช่นกันคะ

สำหรับ การติดต่อกลับไปนั้น ดิฉันคิดว่า จะพยายามให้เป็นทางเลือกสุดท้ายคะ เพราะบรรดาคุณหมอ และ เพื่อน ๆ ด้วยกันหลายคน ก็แนะนำเข้ามาช่วยแล้วคะ พอเปิดใจให้เพื่อนที่ใกล้ชิดฟังแล้วทุกคน ก็เริ่มเข้ามาช่วยเหลือ ทั้งให้้คำปรึกษา และประสานงานการติดต่อ คะ

 แต่ส่วนตัว ในใจลึก ๆ ก็เหมือนมี ปณิธาน ตั้งใจไปบวชเป็นชี อยู่้เหมือนเดิมคะ

 ขอบคุณทุกท่านด้วยใจจริง ๆคะ

:c017:

อย่าได้ด่วนตัดสินใจเลยครับ  ขอให้คิดถึงผลที่จะตามมา เช่น ครอบครัวญาติพี่น้อง

การบวชอยู่กับบ้านเป็นทางเลือกหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เบื้องต้นให้ถือศีลห้าโดยเคร่งครัด ไม่ไปสถานที่อโคจร

วันพระให้ถืออุโบสถ(ศีลแปด) ก็ได้นี่ครับ ต่อเมื่อจิตคุณเกิดความเบื่อหน่ายจริงๆ แล้วค่อยตัดสินใจอีกที


      สิ่งสำคัญที่สุด คือ หาครูบาอาจารย์ก่อน ให้ท่านสอบอารมณ์ของคุณก่อน

อาจารย์ท่านนั้นควรจะมีเจโตปริยญาณ ผมมีหนังสือให้สองเล่ม คือ บวชอยู่กับบ้าน และ เริ่มต้นภาวนา

เชิญดาวน์โหลดครับ


26378  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ความรัก กับ กรรมฐาน เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 12:53:57 pm
คือมีเพื่อน รุ่นน้อง เป็นผู้หญิง นะคะ กำลังมีความรัก นัยเหมือนจะรักเขาข้างเดียว ( เป็นเพื่อน หมอ ด้วยกัน )
ดิฉันก็เลยชักชวน เธอ ไปร่วมปฏิบัติธรรม ฟังธรรม ด้วยกัน แต่ดูเหมือนจะไม่ดีอะไรขึ้นเลย นอกจากเธอจะหงุดหงิดเวลารับโทรศัพท์ ฟังธรรม ก็จะเหม่อ ๆ คะ เหมือนไม่รับคะ ไปทำงานก็ดูไม่ค่อยดี เลยคะ

 คืออยากทราบว่า สำหรับ คนที่มีความรัก หรือกำลังมีความรัก อยู่นั้น เวลาเหมาะสมในธรรม ควรเป็นตอนไหน ควรพาไปนั่งกรรมฐาน บ้างดีหรือไม่คะ แล้วจะสามารถฟังธรรมเข้าใจหรือไม่คะ

  หรือ ควรจะมอบธรรมะ เรื่องใดให้เธอ ดีคะ

  :c017:

สิ่งที่ผมโพสต์ ถึงแม้จะไม่ได้ตอบโจทย์ของคุณรัชนีไม่ได้โดยตรง แต่อาจให้ข้อคิด นำไปสู่ไอเดียต่างๆได้

ไม่มีใครรู้จักเพื่อนของคุณรัชนีเท่าตัวคุณรัชนี ผมคิดว่า คงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะแนะนำอะไรไป

การที่ใครคนหนึ่งจะหันเข้าหาธรรม มันมีลำดับของมันอยู่ หากยังไม่ถึงเวลา ก็คงบังคับกันลำบาก

เมื่อไหร่จะถึงเวลานั้น ไม่มีใครตอบได้ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่า คนอกหัก คนมีปัญหาครอบครัว

ส่วนหนึ่งจะหันเข้าหาธรรมะโดยอัตโนมัติ



     หมอทุกคนจะแนะนำให้คนอื่นๆออกกำลังกาย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ เพื่อไม่ให้ต้องมารักษาตัวในภายหลัง

การป้องกัน กับการรักษา แน่นอน...หมอจะเลือกการป้องกันเอาไว้ก่อน

     การป้องกันไม่ให้จิตของคนเราเกิดทุกข์ หรือเกิดน้อยหน่อย หรือรับมือกับทุกข์ต่างๆได้ระดับหนึ่ง

มีอยู่ทางเดียวครับ คือ การปฏิบัติธรรมนั่นเอง


     การคิดจะรอใหผิดหวังก่อน แล้วค่อยหาทางแก้ กับการสร้างภูมิคุ้มกันให้จิตเพื่อรับมือกับความผิดหวัง

หรือทุกข์อื่นๆ อย่างไหนควรทำ ก็ขอให้เลือกเอาเอง


      :welcome: :49: ;)


     
26379  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ความรัก กับ กรรมฐาน เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 12:52:53 pm

ภาพที่ ๕๑
พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้ผนวช


   ในวันที่  ๕  นับแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก  มีพิธีวิวาหมงคล
ระหว่างเจ้าชายศากยะที่ชื่อว่า  'นันทะ'  กับเจ้าหญิงที่มีชื่อว่า  'ชนบทกัลยาณี'


   นันทะเป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า    แต่เป็นพระอนุชาต่างมารดา   กล่าวคือ
ภายหลังพระมารดาของพระพุทธเจ้า  คือ  พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์   แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ
ได้ไม่กี่วันแล้ว   พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมี   ผู้เป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา
เป็นชายา

   เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชแล้ว  รัชทายาทของพระเจ้าสุทโธทนะจึงตกอยู่แก่นันทะ  พระ
เจ้าสุทโธทนะทรงหมายพระทัยว่า  เมื่อนันทะอภิเษกสมรสแล้ว  จะได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์


   ในงานวิวาหมงคลนั้น  พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาตามคำทูลอาราธนาของพระพุทธบิดา  เมื่อ
ทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว  พระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับ  ได้ทรงมอบบาตรของพระองค์ให้เจ้าชายนันทะทรง
ถือตามส่งเสด็จ   

         นันทะทรงดำริว่า    เมื่อถึงประตูพระราชนิเวศน์   พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระเชษฐาคงจะ
ทรงหันมารับบาตรคืนไปจากตน   แต่ครั้นไปถึงที่นั่น   พระพุทธเจ้ามิได้ทรงทำอย่างนั้นเลย   ครั้นนันทะจะ
มอบบาตรถวายพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า   ด้วยเกรงพระทัยผู้ทรงเป็นพระเชษฐา  จนไปถึงพระอารามที่ประทับ 
พระพุทธเจ้าจึงหันมาตรัสกับพระอนุชาว่า  "บวชไหม"


   นันทะจะปฏิเสธก็เกรงใจพี่ชาย   นี่ว่าตามภาษาสามัญ  จึงทูลตอบพระพุทธเจ้าว่า  "บวชพระ
เจ้าข้า"

   นันทะไม่ได้ยอมบวชด้วยน้ำใสใจจริง  เพราะกำลังจะแต่งงาน   ทั้งตอนที่จะออกจากพระราช
นิเวศน์นำบาตรมาส่งพระพุทธเจ้า  นางชนบทกัลยาณีผู้เป็นเจ้าหญิงคู่อภิเษกสมรส  ยังร้องเรียกสั่งตามมาว่า 
"เจ้าพี่ไปแล้วให้รีบเสด็จกลับ"  แต่ที่ตอบเช่นนั้น  ก็เพราะความเกรงใจพระพุทธเจ้าดังกล่าวแล้ว


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/picture/f51.html


ภาพที่ ๕๔[
ทรงพานันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง


   หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา  และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเวลาประ
มาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว  ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ   พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จในการ
นี้  พระภิกษุนันทะ  พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช  และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย


   ต่อมา พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมากได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี  แห่งแคว้นโกศล 
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ   กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ  พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

   แต่ตลอดเวลานับตั้งแต่บวชแล้วเป็นต้นมา  พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ  ใจให้รุ่ม
ร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาห์กับตน


   ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า    ครั้งนั้น   พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน
แล้วทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์  เหมือนบุรุษมีกำลัง  พึงเหยียดแขน
ที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น ฯ

   ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ  ๕๐๐  มีเท้าดุจนกพิราบ มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ
ครั้งนั้นแล   พระผู้มีพระภาคตรัสกะท่านพระนันทะว่า  ดูกรนันทะ  เธอเห็นนางอัปสร  ๕๐๐  เหล่านี้ผู้มีเท้า
ดุจนกพิราบหรือไม่  ท่านพระนันทะทูลรับว่า  เห็น  พระเจ้าข้า ฯ


   พ. ดูกรนันทะ  เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน  นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยานี  หรือนางอัปสร
ประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไหนหนอแลมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า ฯ

   น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ   นางลิงผู้มีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้  หูและจมูกขาด  ฉันใด   นาง
สากิยานีผู้ชนบทกัลยานี  ก็ฉันนั้นแล  เมื่อเทียบกับนางอัปสรประมาณ  ๕๐๐  เหล่านี้  ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่ง
เสี้ยว   ไม่เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว  ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิงนี้เป็นเช่นนั้น    ที่แท้นาง
อัปสรประมาณ  ๕๐๐  เหล่านี้มีรูปงามกว่า  น่าดูกว่า  และน่าเลื่อมใสกว่า  พระเจ้าข้า ฯ


   พ. ยินดีเถิดนันทะ  อภิรมย์เถิดนันทะ  เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อให้ได้  นางอัปสรประมาณ ๕๐๐
ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ถ้าพระผู้มีพระภาคทรงรับรองข้าพระองค์เพื่อ  ให้ได้นางอัปสรประ
มาณ  ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้  ข้าพระองค์จักยินดี  ประพฤติพรหมจรรย์  พระเจ้าข้า ฯ


   ลำดับนั้นแล   พระผู้มีพระภาคทรงจับท่านพระนันทะที่แขน    แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาว
ดึงส์ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน  เหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียด  แขนที่คู้  หรือคู้แขนที่เหยียด   ฉะนั้น  ภิกษุ
ทั้งหลายได้สดับข่าวว่า    ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาค   โอรสของพระมาตุจฉา  ประพฤติ
พรหมจรรย์เพราะเหตุแห่งนางอัปสร  ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองท่าน   เพื่อให้ได้นางอัปสรประ
มาณ  ๕๐๐  ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ

   ครั้งนั้นแล    ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ   ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วย
วาทะว่าเป็นลูกจ้าง  และด้วยวาทะว่าผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาว่า   ได้ยินว่า  ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง
ได้ยินว่า   ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคทรงไถ่มา   ท่านประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร
ได้ยินว่า  พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร  ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ ฯ


   ครั้งนั้นแล  ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า  เป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็น
ผู้อันพระผู้มีพระภาคทรงไถ่มาของพวกภิกษุผู้เป็นสหาย   จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว  ไม่ประมาท  มีความ
เพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม  ที่กุลบุตรทั้งหลายออก
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น   ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน   เข้าถึงอยู่   รู้ชัดว่า   ชาติสิ้น
แล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  ก็ท่านพระนันทะได้
เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง  ในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ

   ครั้งนั้นแล   เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว  เทวดาตนหนึ่งมีวรรณะ  งามยิ่งนัก  ยังพระวิหารเชตวัน
ทั้งสิ้นให้สว่างไสว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคมแล้ว   ได้ยืนอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้าง
หนึ่ง   ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มี
พระภาค โอรสของพระมาตุจฉาทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้งหลาย
สิ้นไป  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่   แม้ญาณก็ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคว่า  พระนันทะทำให้
แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่ ฯ


   ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป    ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ   ถวายบังคม
แล้ว  นั่งอยู่  ณ  ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  พระผู้มี
พระภาคทรงรับรองข้าพระองค์    เพื่อให้ได้นางอัปสร  ๕๐๐  ผู้มีเท้าดุจนกพิราบ  ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้อง
พระผู้มีพระภาคจากการรับรองนั้น   

        พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  ดูกรนันทะ  แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วยใจของเราว่า    นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ   ปัญญาวิมุติ   อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่  แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ท่าน พระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคโอรสของพระมาตุจฉา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ  ปัญญาวิมุติ  อันหาอาสวะมิได้  เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน  เข้าถึงอยู่    ดูกรนันทะ   เมื่อใดแล  จิตของเธอหลุดพ้นแล้ว  จากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น  เมื่อนั้น  เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้ ฯ

   ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว  ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
         ภิกษุใดข้ามเปือกตมคือกามได้แล้ว  ย่ำยีหนาม  คือกามได้แล้ว  ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ 
ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์ ฯ

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/picture/f54.html
26380  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งสมาธิ แล้ว ขยับได้หรือไม่ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 24, 2011, 12:35:42 pm
นั่งสมาธิ แล้ว ขยับได้หรือไม่ครับ เวลานั่งกรรมฐาน หลังเดินจงกรมนั้น
เวลาเข้านั่งสมาธิ สามารถขยับตัวได้หรือไม่ครับ

 ถ้าได้ ควรทำอย่างไร จึงจะถูกต้องครับ

 ถ้าไม่ได้ เพราะเหตุไร ครับ

  :c017:

ในเบื้องต้น สำหรับมือใหม่ จะข่มเวทนาไม่ได้ อนุญาตให้ขยับได้เล็กน้อย แต่ต้องอยู่ในอิริยาบถนั่ง

และที่สำคัญ ห้ามลืมตา เพราะถ้าลืมตาแล้ว จะทำให้จิตไปเกาะกับภาพที่ตาเห็น สมาธิจะแตก

 สำหรับคนที่ฝึกมาถึงระยะหนึ่ง ความตั้งมั่นของจิตจะเกิดขึ้นระดับหนึ่ง

จะรับมือกับเวทนาได้ เรื่องความคิดที่จะขยับตัว จะไม่เกิดขึ้น



 สำหรับกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ การทำสมาธิโดยกำหนดฐานจิต เป็นการปรับธาตุ ฟอกธาตุ และสร้างธาตุ

 ในเบื้องต้นหลายคนอาจจะมีอาการทางกายภาพเกิดขึ้น เช่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล เป็นต้น

 อาการที่เกิดเรียกกันโดยทั่วไปว่า "ปิติ"



  ผู้ที่มีอาการทางกายภาพแบบนี้ จำเป็นต้องอดทน ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ในส่วนตัวผมคิดว่า

นี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำอินทรีย์ให้แก่กล้า(สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) เพื่อเป็นฐานและกำลัง

ในการเดินมรรคต่อไป

 :welcome: ;)
26381  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้องมีการกำหนด อธิษฐาน อะไรยุบยิบ จังครับ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 08:36:17 pm

 แต่อย่างไรเสีย เคยฟังพระอาจารย์กล่าวว่า

  กรรมฐาน ทุกกอง วิปัสสนา ทุก แบบ จะมีผู้ปฏิบัติ อยู่ 4 แบบ คะ

 แบบที่ 1 ภาวนา ง่าย บรรลุธรรม ง่าย

 แบบที่ 2 ภาวนา ง่าย บรรลุธรรม ยาก

 แบบที่ 3 ภาวนา ยาก บรรลุธรรม ง่าย

 แบบที่ 4 ภาวนา ยาก บรรลุธรรม ยาก


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต


ปฏิปทาวรรคที่ ๒
             [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

        ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติลำบากทั้งรู้ได้ช้า ๑
        ทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติลำบากแต่รู้ได้เร็ว ๑
        สุขาปฏิปทาทันธาภิญญา ปฏิบัติสะดวกแต่รู้ได้ช้า ๑
        สุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ปฏิบัติสะดวกทั้งรู้ได้เร็ว ๑


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ ประการนี้แล ฯ

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  บรรทัดที่ ๔๐๘๓ - ๔๒๙๙.  หน้าที่  ๑๗๖ - ๑๘๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=4083&Z=4299&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=161



 หามาล้อกับครูนภา :08: :P :29: :57: :72: :) ;)
26382  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้องมีการกำหนด อธิษฐาน อะไรยุบยิบ จังครับ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2011, 07:23:03 am
อธิบาย เข้าใจยากจัง หรือ ผมยังอ่านไม่เข้าใจครับ

คือส่วนตัว ผมคิดว่า กรรมฐาน ไม่ต้องกำหนด ฐานจิตได้หรือไม่ครับ

อย่างเช่นกำหนด ภาวนา พุท หายใจเข้า โธ หายใจออก แค่นี้ไม่ได้หรือครับ


 โดยทำเนียมปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา จะไม่อธิบายเป็นตัวหนังสือ แต่เน้นให้ความเข้าใจเกิดจากปฏิบัติมากกว่า

 เท่าที่พระอาจารย์ได้พยายามอธิบายมา ถือว่าอนุโลมมากแล้ว

 การกำหนดฐานจิตเป็นการผูกจิตเอาไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก คุณลองต้องปฏิบัติไปเรื่อยๆก่อน

 ถึงจุดหนึ่งจะเข้าใจได้่เองครับ




อีกอย่างในเรื่องลำดับขั้น ปีติ ผมมีความคิดว่า ถ้าปีิติเกิด ปีติไหน เกิดก่อนก็ได้

แล้วปีติ ไม่จำเป็นต้องมีฐาน จิต ก็น่าจะได้ ( คือสงสัยว่าใครสมมุติ ไว้ว่า ปีติ นั้นต้องอยู่ตรงนั้น ครับ )

เพราะปีติ เช่น ขุททกาปีติ ก็ คือ ปีติเล็กน้อย  ขณิกาปีติ ปีิติที่มีเพียงชั่วขณะหนึ่ง คือคำอธิบายไม่ตรงกับ

ที่อธิบายเรื่องปีติไว้ ครับ


บูรพาจารย์ของกรรมฐานมัชฌิมา ได้กำหนดการลำดับกรรมฐานเอาไว้ ท่านต้องมีเหตุผล

ถึงแม้ตัวผมเอง จะไม่กระจ่างในเรื่องนี้ แต่จากการได้ปฏิบัติมา มันได้ปิติ ตามที่พระอาจารย์ได้บอกไว้

ตอนนี้อย่าเพิ่งไปคิดว่า มันมาได้อย่างไร ใครเป็นคนคิด ทำไปทำไม ทำแล้วจะไ้ด้ผลรึเปล่า

รสชาติอาหารต่างๆ คุณต้องกินมันไปก่อน ถึงจะรู้ว่ามันมีรสอย่างไร

หลายคนอาจคิดว่า คำสอนนี้ไม่มีในพระไตรปิฎก เรื่องนี้อธิบายได้ว่า

การบริกรรมพุทโธ หรือ พองหนอ ยุบหนอ ก็ไม่ปรากฏใยพระไตรปิฎกเช่นกัน

แต่ทำไม คนจึงทำตามกันมา โดยไม่ขัดแย้ง ตอบว่า เพราะมันทำแล้วต้องได้ผล

การลำดับกรรมฐานมัชฌิมาก็เหมือนกัน มีคนทำแล้วได้ผล จึงมีผู้สืบทอดมาถึงปัจจุบัน




ดังนั้นผมคิดว่า ในส่วนลำดับพระกรรมฐาน นั้น ไม่น่าจะจำเป็นในการภาวนาเพื่อปีติ หรือ สุข ครับ

เพราะลำพังปีติ และ สุข ก็ เป็นส่วนหนึ่งของ ฌาน นี่ครับ

การเข้าฌาน ออกฌาน ก็ไม่น่าจะต้องกำหนดขั้นตอนอย่างนี้ นะครับ

( คือ ที่แย้งเพราะยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ครับ )


 สัมมาสมาธิ ในพระไตรปิฎก ได้อธิบายไว้ว่า คือ ฌาน ๔ องค์ของฌาน คือ ปิติ สุข เป็นต้น

 และในพระไตรปิฎก ยังบอกไว้ว่า องค์ฌานต่างๆ เป็นเครื่องบอกว่า เราอยู่ที่ฌานไหน

 เช่น ปฐมฌาน จะมี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นต้น

 ดังนั้นการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ จำเป็นต้องรู้องค์ฌานครับ

 ส่วนขั้นตอนการปฏิบัตินั้น เป็นวิธีปฏิบัติหรือกุศโลบายเฉพาะของกรรมฐานแนวนี้

 


ส่วนการปฏิบัติ จิตตานุปัสสนา นั้นอธิบายให้เกี่ยวเนื่องกับสมาธิก็ไม่น่าจะใช่แบบนี้นะครับ


ข้อธรรมในจิตตานุปัสสนานั้น แสดงให้เห็นว่า จิตของเราคิดเรื่องอะไรต่ออะไรอยู่ตลอด มันไม่เคยว่าง

ศัพท์บาลีเรียกว่า เสวยอารมณ์ จิตมันรู้สึกถึง ราคะ โทสะ โมะ อยู่ตลอดวลา ทุกข์บ้าง สุขบ้าง

การบริกรรมคำบริกรรมต่างๆ การอธิษฐานต่างๆ เป็นกุศโลบาย ผูกจิดเอาไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก

คิดเรื่องที่ไม่เป็นกุศล

ดังนั้น คำบริกรรม คำอธิษฐานต่างๆ ถูกนำเข้าไปแทนที่ การเสวยอารมณ์ของจิตที่ไม่เป็นกุศล นั่นเอง

แทนที่จะให้ จิตไปคิดเรื่องที่ไร้สาระ เราก็หางานให้จิตคิดแต่เรื่องที่มีสาระหรือเป็นกุศล ไม่ดีกว่าหรือ

อีกอย่าง คำอธิษฐานมีผลครับ ขอให้ไปศึกษาเรื่องอธิษฐานบารมี พระพุทธเจ้าของเรายังต้องอธิษฐานเลย

จิตของคนเรา แม้จะเป็นอนัตตา แต่ก็เป็นธรรมชาติที่ฝึกได้ และคำอธิษฐานและคำบริกรรมต่างๆ ก็เป็น

กุศโลบายหนึ่ง ที่ใช้ฝึกจิิต



เพราะเท่าที่ผมฝึกตามดูจิต ตามแบบ พระอาจารย์ปราโมช ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดอะไรเพียงแต่ให้มี สติ กำหนดรู้เท่านั้นไม่จำเป็นต้องไปกำหนดให้ รู้เฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์


 ขอโทษครับ คุณยังเข้าใจคำสอนของพระอาจารย์ปราโมช ไม่ตลอดสาย คำสอนของท่านสอนเฉพาะคนครับ

 คือ ท่านจะสอนแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนท่านก็สอนให้ดูกายครับ

 บางคนจิตไม่ถึงฐาน ไม่ตั้งมั่น ท่านก็ให้ไปทำสมาธิในรูปแบบใดก็ได้ ท่านไม่ได้บังคับ

 เช่น ภาวนาพุทโธ ท่านอธิบายว่า คำบริกรรมพุทโธ เปรียบเสมือน "land mark"

 ในเบื้องต้นจิตจำเป็นต้องมีเครื่องผูกไว้ ไม่ให้ส่งออกนอก การบริกรรมเป็นการกำหนดใช่ไหมครับ


 ที่สำคัญ ท่านห้ามนำคำสอนของท่านไปอ้างอิง เพระคำสอนของท่านสอนเฉพาะคนนั้นๆ

 อีกคนหนึ่งอาจใช้วิธีนั้นไม่ได้ผล เมื่อไม่ได้ผลอาจมีการปรามาส หรือเกิด "วิวาทะ" ตามมา

 ที่ผมตอบมา ขอให้ถือว่า เป็นการคุยเป็นเพื่อนนะครับ เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น

 สุดท้ายขอนำคำกล่าวของพระอาจารย์ปราโมช มาแสดง ดังนี้ครับ

หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้
ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป
เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน

(พระอาจารย์ปราโมชย์ ปาโมชโช)
:welcome: :49: :25: ;)
26383  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้องมีการกำหนด อธิษฐาน อะไรยุบยิบ จังครับ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 08:30:20 pm
เริ่มน่าสนใจ มากขึ้นแล้วคะ แสดงว่ากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่ใช่ปัญญาวิมุตติ ใช่หรือไม่คะ

 :smiley_confused1: :25:

 อรหันต์ ๔, ๕, ๖๐

๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน )
๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓ )
๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖ )
๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)


พระอรหันต์ทั้ง ๔ ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ ๒ หน้า ๔๑ พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ
แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น ๒ อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น ๕ อย่างบ้าง  ที่เป็น ๕ คือ

๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ)
๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)


ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น  พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท)  พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี 

ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่า   และการบรรลุอรหัต พระอรหันต์ทั้ง ๕ นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ ๓ รวมเป็น ๑๕  จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา ๔  จึงรวมเป็น ๖๐  ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ  ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่

อ้างอิง
วิสุทธิ.๓/๓๗๓; วิสุทธิ.ฏีกา ๓/๖๕๗.
พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)



 ขอให้คุณ sayamol อ่านข้อธรรมข้างบน ให้เข้าใจก่อน คำตอบที่ผมจะตอบก็คือ

 หลักสูตรเต็มของกรรมฐานมัชฌิมาฯ คือ เจโตวิมุตติ แต่ถ้าใครอยากหยุดที่ "ปัญญาวิมุตติ" ก็ทำได้ครับ


  ;)
 
26384  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: มีภาพสวย ๆ มาให้ชม ให้จิตร่มรื่น ในธรรม ครับ เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 01:45:29 pm

วิหารพระพุทธบาท “วัดบางกะพ้อม” ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

อิ่มบุญอิ่มใจไหว้พระ 9 วัด เมืองแม่กลอง

จากวัดแรกเราไปเพิ่มบุญกันต่อที่ “วัดบางกะพ้อม” ต.อัมพวา อ.อัมพวา วัดนี้ อ.คฑา ได้เล่าถึงความเป็นมาว่า ในสมัยอยุธยาตอนปลายที่มีศึกสงครามทั่วประเทศ มีเศรษฐีตายาย 2 คนสานกะพ้อม หรือ ที่สำหรับใส่ข้าวเปลือกใช้ไม้ไผ่สาน อยู่ในบ้าน แต่พม่าได้บุกเข้ามาในบ้าน ตายายไม่รู้จะไปหลบที่ไหนจึงพากันไปหลบในกะพ้อม พร้อมทั้งอธิฐานว่าหากหลบพม่าได้จะขอสร้างวัดถวาย แล้วก็เป็นจริงดังที่ขอ ตากับยายคู่นี้จึงได้สร้างวัดบางกะพ้อมขึ้น

ภายในวัดบางกะพ้อมมีหัวใจหลวงปู่คงดวงใหญ่ ที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพัน ด้านข้างของหลวงปู่คงมีรูปหล่อพระ 5 พี่น้อง และใกล้ๆกันนั้นก็มีวิหารหลวงพ่อดำ หากเดินเข้าไปด้านในอีกนิดหนึ่งจะเจอกับวิหารพระพุทธบาทที่สร้างขึ้นในสมัย ร.ที่ 3 ก่อนที่พวกเราจะเข้าไปด้านในวิหารต้องลอดประตูซึ่งทำเป็นรูปวงกลม ตามความเชื่อของคนจีนที่เชื่อกันว่าวงกลมหมายถึงท้องฟ้า หรือสวรรค์

ในสรวงสวรรค์ หรือในวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท บนผนังจะมีภาพปูนปั้นนูนสูงเขียนสี เรื่องตำนานรอยพระพุทธบาท 4 รอยคือที่สะดือทะเล จ.นครศรีธรรมราช, ที่เขาชินจุกุ, ที่ภูเขาสุวรณบรรพต จ.สระบุรี และที่สุวัณณมาลิก นอกจากนี้ภายในวัดบางกะพ้อมยังมีพระพุทธรูปที่หล่อเป็นเณรอีกด้วย


ที่มา http://www.healthcorners.com/new_read_travel.php?category=sourcetour&id=130
ขอบคุณภาพจากwww.healthcorners.com



 เห็นภาพนี้แล้วชอบ เลยนำมาเสริมให้

 :s_good: :c017: :49:
26385  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เข้าวัดปฏิบัติธรรม....เที่ยววัดเด่น 50 เขต( กทม.) เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 01:22:19 pm

26. เขตห้วยขวาง มี  วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนาม เป็นวัดขนาดเล็กที่มีลักษณะเรียบง่าย เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ได้รับความนิยมจากประชาชน

27. เขตหลักสี่ วัดหลักสี่ เป็นวัดที่ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนาว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น มีองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝืมือศิลปินชื่อดัง อาจารย์เฉลิมชัย โฆสิตพิพัฒน์ และมีวิหารหลวงปู่ขาวพระเกจิชาวมอญเป็นที่เคารพนับถือของประชาชน 

28. เขตหนองแขม  มี วัดหนองแขมที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คือพระมหากัจจายนะ (หลวงพ่อโต) รูปหล่อหลวงพ่อพร (พระครูวิทยาวรคุณ) รอยพระบาทโลหะจำลอง และ วัดหนังราชวรวิหาร มีพระอุโบสถที่มีความสวยงาม ที่มีวัตถุมงคล เหรียญหลวงปู่เอี่ยม เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างสูง

29. เขตหนองจอก มี วัดหนองจอก เป็นวัดที่อยู่คู่กับเขตฯศูนย์รวมใจของชาวพุทธในพื้นที่ และมีการจัดงานบุญประจำปีทุกปี

30. เขตสวนหลวง มี วัดปากบ่อ ที่ประดิษฐานหลวงพ่อรุ้งเพชรและหลวงพ่อหาญสัมฤทธิ์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ และ วัดมหาบุศย์ ที่มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับแม่นาคพระโขนง มีต้นตะเคียนและเรือโบราณที่ประชาชนมาขอโชคลาภ

31. เขตสัมพันธวงศ์ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ วัดไตรมิตรวิทยาราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อทองคำ องค์ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังมี “วัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร” หรือวัดสามปลื้ม วัดเก่าแก่ที่มีพระอุโบสถที่หลังคาเป็นแบบจีน 

32. เขตสายไหม “วัดราษฎร์นิยมธรรม” มีหลวงพ่อดำ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เนื้อสัมริดศิลปะเชียงแสนที่ได้อัญเชิญขึ้นจากน้ำมาประดิษฐานในพระอุโบสถ โดยวัดจะมีมหรสพเฉลิมฉลองทุก ๆ ปีในเดือนก.พ.  นอกจากนี้ยังมี “วัดหนองใหญ่” มีความศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยม ทำธุรกิจการค้าและแคล้วคลาดจากภยันตราย 

33. เขตสาทร “วัดยานนาวา” เป็นวัดเก่าแก่ มีพระอุโบสถเป็นเรือสำเภา ที่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พระอุโบสถได้รับความเสียหาย ทางวัดและชาวบ้านได้ร่วมกันบูรณะสร้างขึ้นใหม่ มี หอพระไตรปิฎก เก๋งจีน และเรือสำเภา นอกจากนี้ยังมี “วัดปรก” สวยงามตามศิลปะแบบมอญ เป็นที่ตั้งของพระพุทธรูปหยกขาว 1

34. เขตสะพานสูง มี วัดลาดบัวขาว (ราชโยธา) ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในพื้นที่ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2415 เป็นวัดประจำพื้นที่เขตฯที่พุทธศาสนิกชนมาร่วมทำกิจกรรมในวันสำคัญ ๆ ทางพุทธศาสนา


35. เขตวัฒนา เป็นที่ตั้งของ วัดภาษี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เคยใช้เป็นแดนประหารนักโทษในอดีต และยังมี วัดธาตุทอง ซึ่งเป็นการรวมวัด 2 วัดคือ วัดหน้าพระธาตุและวัดทองล่างเนื่องจากรัฐบาลเวนคืนที่ดินทั้ง 2 วัด ปี พ.ศ. 2481

36. เขตวังทองหลาง มี วัดสามัคคีธรรม ซึ่งมีวิหารหลวงพ่อโสธรจำลอง ในวิหารยังประดิษฐานพระอวโลกิเตศวร เจ้าแม่กวนอิม 4 องค์ 

37. เขตลาดพร้าว มี วัดลาดพร้าว เป็นวัดประจำพื้นที่  มีการจัดกิจกรรมให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติธรรมทุกเดือน และยังมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

38. เขตลาดกระบัง วัดสุทธาโภชน์ เป็นวัดที่ก่อตั้งขึ้นโดยชุมชนชาวมอญ วัดอยู่ติดกับคลองลำปลาทิวซึ่งจะมีประเพณีตักบาตรพระร้อยที่ชนรุ่นหลังได้สืบสานต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ภายในวัดยังมีที่เก็บเรือที่ใช้เป็นพาหนะของผู้คนในอดีต หาดูได้ยาก 

39. เขตราษฎร์บูรณะ มี วัดบางปะกอก ที่เป็นวัดเก่าแก่สมัยกรุงศรีอยุธยา ภายในวัดมีเจดีย์คู่ วิหารคู่และหอไตรศิลปะแบบมอญและเขมร นอกจากนี้ ยังมี วัดประเสริฐสุทธาวาส ที่สร้างขึ้นตามศิลปะแบบจีน โดยใบเสมารอบพระอุโบสถเป็นเสมาเดี่ยวทำจากหินทรายแดงที่มีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา

40. เขตราชเทวี  วัดอภัยทยาราม หรือที่เรียกกันว่า วัดมะกอก เป็นวัดเก่าแก่กว่า 200 ปี ที่ “เจ้าฟ้าเหม็น” พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดขึ้น โดยมีแผ่นไม้สักจารึกประวัติของวัดอย่างละเอียดติดอยู่ภายในผนังอุโบสถ


41. เขตยานนาวา วัดด่าน เป็นวัดที่มีหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ อายุกว่า 200 ปี ผู้มาบนบานมักจะสมประสงค์ นอกจากนี้ยังมี วัดปริวาส  ซึ่งเป็นวัดที่มีวัตถุมงคลที่โด่งดัง คือ เสือของหลวงปู่วงศ์ ที่มีพุทธคุณช่วยคุ้มครองให้แคล้วคลาดปลอดภัย

42. เขตมีนบุรี มี วัดแสนสุข วัดเก่าแก่กว่า 200 ปี มีพระอุโบสถที่มีพระพุทธชินราชจำลองและมีมณฑปพระพุทธบาทจำลองอยู่หน้าพระอุโบสถ นอกจากนี้ ยังมี วัดบางเพ็ญใต้ ที่มีพระอุโบสถสวยงามและมีหอสวดมนต์ที่เป็นไม้สักทั้งหลัง ในพื้นที่ใกล้เคียงกันยังมี วัดบำเพ็ญเหนือ ที่เป็นวัดเก่าแก่เช่นกัน

43.เขตภาษีเจริญ ต้องยกให้วัดปากน้ำ ที่ประดิษฐานร่างของหลวงพ่อสด พระเกจิอาจารย์ที่มีวัตรปฏิบัติในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนมาจนถึงปัจจุบัน วัดยังเป็นที่ปฏิบัติธรรมที่ได้รับความนิยมจากประชาชนจำนวนมาก

44. เขตพระโขนงมี วัดธรรมมงคล ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกเขียวบริสุทธิ์ และมีเจ้าแม่กวนอิมหยกเขียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังมีพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และยังมี วัดทุ่ง ซึ่งเป็นวัดที่มีพระอุโบสถที่สวยงาม

45. เขตพระนคร ต้อง วัดพระแก้ว หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ในเขตพระนครมีวัดสำคัญ และเก่าแก่อีกหลายแห่ง คือ วัดอินทรวิหาร ที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต บริเวณวัดกว้างขวางเงียบสงบและมีห้องสวดมนต์ให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าไปสวดพระคาถาชินบัญชรที่มีเทปเสียงให้ท่องตามได้ถูกต้อง

46. เขตพญาไท มี วัดไผ่ตัน เป็นวัดแห่งเดียวในพื้นที่ ที่มีการจัดกิจกรรมงานประเพณีประจำปี โดยมีประเพณีสำคัญคือ งานปิดทองหลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง

47. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มี วัดเล่งเน่ยยี่ หรือวัดมังกรกมลาวาส ที่โด่งดังเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยเชื้อสายจีนและชาวต่างชาติประชาชนนิยมมาไหว้พระขอพรกันตลอดทั้งปี


48. เขตประเวศ วัดกระทุ่มเสือปลา ผู้คนมักจะมาให้อาหารปลาที่ท่าน้ำที่มีปลาชุกชุมจำนวนมากและวัดนี้มีพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูป 80 ปาง ประดิษฐานบนเรือนไม้ 

49. เขตปทุมวัน วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร วัดใหญ่ที่แฝงอยู่ภายใต้ร่มไม้ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของเมืองหลวงในย่านใจกลางศูนย์การค้าย่านเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมที่ประชาชนเลื่อมใส


50. เขตบึงกุ่ม มี วัดสุวรรณประสิทธิ์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ปฏิบัติธรรมที่บรรยากาศสงบเงียบ และร่มรื่น เปิดให้ผู้ที่แสวงหาความสงบได้มาปฏิบัติธรรม

การเข้าวัด ทำบุญ ปฏิบัติธรรม ไม่มีเวลามาเป็นขอบเขตจำกัด วัดย่อมเป็นที่พึ่งทางใจตลอดกาล และยังช่วยจรรโลงพระพุทธศาสนาในทางดีทางเจริญสืบไป.

อ้างอิง
ทีมข่าว กทม. / รายงาน
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=354&contentID=151735
ขอบคุณภาพจาก www.be2hand.com/,www.palungdham.com/
26386  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เข้าวัดปฏิบัติธรรม....เที่ยววัดเด่น 50 เขต( กทม.) เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 01:13:56 pm

เข้าวัดปฏิบัติธรรม....เที่ยววัดเด่น 50 เขต (ภายใน กทม.)

วัดเป็นสถานที่เปิดรับผู้คนทุกเพศทุกวัย ผู้ร้ายผู้ดี ไม่มีข้อจำกัด อยู่ที่ว่าผู้เข้ามาจะน้อมนำสิ่งใดกลับไปเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมในจิตใจ อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในเมืองกรุงมีการแนะนำวัดเด่นประจำเขตที่น่าสนใจให้ไปเลือกปฏิบัติธรรมกัน ดังนี้

1. เขตคลองเตย มี วัดสะพาน... เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 เดิมชื่อวัดหัวสะพาน เพราะตั้งอยู่ใกล้สะพาน พระประธานเป็นพระปางสุโขทัยที่มีความงดงามทรงอ่อนช้อย บนศาลาการเปรียญยังเป็นที่ประดิษฐานบุษบกเก่าแก่


2. เขตคลองสาน มี วัดพิชยญาติการามวรวิหาร หรือวัดพิชัยญาติ… เป็นวัดสมัยรัชกาลที่ 3 โดดเด่นด้วยการจัดวางผังสถาปัตยกรรมอันงดงามและลงตัวมี “หลวงพ่อสมปรารถนา” เป็นที่สักการบูชา

3. เขตคลองสามวา วัดแป้นทองโสภาราม... ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างคลองสามและคลองสี่ แวดล้อมไปด้วยทุ่งนาและอาณาเขตวัด มีคูคลองโดยรอบบรรยากาศดีมาก มีพระประธานประจำอุโบสถ เนื้อสำริดปนทองเหลือง ปางมารวิชัย และหลวงปู่ขาว เป็นพระพุทธรูปหินอ่อนที่งดงามมาก

4. เขตคันนายาว วัดราษฎร์ศรัทธาธรรม(บางชัน)... เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง  ภายในวัดมีอุโบสถงดงามเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปศิลปะสมัยเชียงแสนและพระพุทธรูปชินราชจำลอง 

5. เขตจตุจักร มีวัดเสมียนนารี...เดิมชื่อวัดแคราย ผู้ที่ริเริ่มสร้างวัด เป็นสุภาพสตรีในวัง มีตำแหน่งเป็นเสมียนพระคลังข้างที่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นที่มาของวัด ภายในวัดมีพระอุโบสถ  สร้างด้วยหินอ่อนทั้งหลัง

6. เขตจอมทอง มี วัดราชสิงขร...วัดเก่าแก่ตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สร้างเป็นแบบศิลปะราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะพิเศษของวัดคือมีหลวงพ่อแดง เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดแก่ทองคำปางมารวิชัย ศิลปะเป็นแบบอยุธยา 

7. เขตดอนเมืองมี  วัดดอนเมือง ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง มีอุโบสถที่สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมไทยทั้งหลัง ภายในประดิษฐานพระพุทธสิหิงส์จำลองและภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราวพุทธประวัติ


8. เขตดินแดง วัดพรหมวงศาราม...  หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดหลวงพ่อเณร” เป็นวัดอารามราษฎร์ สังกัดมหานิกาย มีพระประธานนามว่า “พระพุทธรัชดาภิเษกอนุสรณ์” ปางมารวิชัย ลงรักปิดทองงดงามมาก เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วไป

9. เขตดุสิต มี วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม...เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก หมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 มีพระอุโบสถที่สวยงาม มีวิหารคตที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์จากทั่วประเทศ มีพระที่นั่งทรงผนวช พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาสี่สมเด็จ และหอระฆังบวรวงศ์ 


10. เขตตลิ่งชัน มี วัดรัชฎาธิษฐานราชวรวิหาร(วัดเงิน)...เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ยังปรากฏอยู่คือ พระแท่นศิลาที่ประทับ รวมทั้งมีศิลปะโบราณวัตถุ เช่น พระอุโบสถ วิหาร หรือหอไตร 

11. เขตทวีวัฒนา มี วัดปุรณาวาส …สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2397 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัดที่ชาวบ้านศรัทธาเลื่อมใสและมักจะมากราบไหว้เสมอ คือ หลวงพ่ออินทร์ หลวงพ่อจันทร์และพระครูจั่นคุณธมโม อดีตเจ้าอาวาส

12. เขตทุ่งครุ วัดหลวงพ่อโอภาสี...ตั้งอยู่ในซอยพุทธบูชา 39 เป็นวัดเก่าแก่ มีหลวงพ่อโอภาสี ซึ่งเป็นอริยสงฆ์ที่ประชาชนชาวไทยและชาวจีนเคารพนับถือเป็นอย่างมาก มีเจดีย์ที่เก็บร่างหลวงพ่อโอภาสี ช่วงเดือนสิงหาคม ของทุกปี จะมีเทศกาลเทกระจาด


13. เขตธนบุรี วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร... รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร มีหลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 4 หน้าพระวิหารหลวงยังมีระฆังขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

14. เขตบางกะปิ มี วัดเทพลีลา...สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่  3 โดยอัญเชิญพระพุทธรูปปางลีลาที่พบอยู่ในคลองแสนแสบ เป็นพระประธานในอุโบสถ เป็น “พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ”  และเป็นสำนักเรียนอย่างเป็นทางการ

15. เขตบางกอกน้อย วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร...เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา แต่เดิมเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 1 มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปโลหะปางสมาธิ เมื่อแสงต้องพระพักตร์แล้วเกิดความแวววาวที่พระโอษฐ์ เสมือนท่านอมยิ้ม รับพระราชทานชื่อว่าหลวงพ่อยิ้มรับฟ้า นอกจากนี้ยังมีวิหารสามสมเด็จ คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชน

16. เขตบางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร... เป็นวัดสมัยอยุธยา สิ่งที่โดดเด่นของวัดคือ ได้รับการบันทึกในกินเนสส์บุ๊กว่าเป็นพระปรางค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีความงดงามมาก

17. เขตบางขุนเทียน วัดกำแพง...เป็นวัดที่โด่งดังในเรื่องเหรียญหล่อหลวงพ่อไปล่ เนื่องจากเป็นเหรียญหล่อที่มีพระพุทธคุณสูง โดยเฉพาะในด้านมหาอุดคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม เป็นที่นิยมของผู้คน


18. เขตบางเขน วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยต้นศรีมหาโพธิ์และดินจากสังเวชนียสถานจากอินเดีย

19. เขตบางคอแหลม  วัดราชสิงขร… วัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีพระประธานที่เป็นที่เคารพกันอย่างมากในย่านนั้นคือ “หลวงพ่อแดง” และเป็นที่ประทับขององค์พ่อจตุคาม และพระบรมสารีริกธาตุ 

20. เขตบางแค วัดบุณยประดิษฐ์... มีพระประธานประจำพระวิหารเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ประจำวัดประกอบด้วย หลวงพ่อปาน   พระมงคลเทพมุนี และหลวงพ่อสิน ติสฺโส 

21. เขตบางซื่อ  วัดสร้อยทอง...สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่มี หลวงพ่อเหลือ เป็นพระศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ได้รับความเสียหาย ประชาชนจึงได้ช่วยกันบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ 

22. เขตบางนา วัดบางนาใน...เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย อุโบสถมีภาพวาดจิตรกรรมฝาผนังและพระมหาเจดีย์เฉลิมพระเกียรติประดิษฐานอยู่ภายในมีพระประธาน “พระพุทธสยามภูมินาถ” ซึ่งมีความหมายว่า “พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของประชาชนในแผ่นดิน”

23. เขตบางบอน วัดบางบอน...มีพระพุทธรูปที่มีความงดงามมาก คือ หลวงพ่อเกสร ซึ่ง เล่ากันมาว่า  หลวงปู่เอี่ยมหรือพระครูภาวนาโกศล พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ได้ร่วมกับชาวบ้านสละทุนทรัพย์จำลองพระพุทธรูปจากวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่มาประดิษฐานไว้ 


24. เขตบางพลัด วัดคฤหบดี…สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้พระราชทาน พระแซกคำ ไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองคำโบราณ ปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ เชื่อกันว่าผู้ใดมีความทุกร้อนก็มักไปกราบไหว้บนบาน 

25. เขตบางรัก วัดมหาพฤฒาราม... เดิมชื่อวัดท่าเกวียน ซึ่งจะสังเกตเห็นสัญลักษณ์รูปเกวียนติดอยู่ที่บานประตูและหน้าต่างพระอุโบสถทุกบาน ศิลปะภาพเขียนที่สวยงามหาชมได้ยากและพระนอนที่นับว่าใหญ่รองลงมาจากวัดพระนอนที่วัดโพธิ์

ที่มา http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=354&contentID=151735
ขอบคุณภาพจาก http://wutthaivan.files.wordpress.com/,www.dailynews.co.th/
26387  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พศ.เตือน "ทัวร์ธรรมะ" ระวังคำสอนบิดเบือนหลักศาสนา พบเห็นให้แจ้งทันที เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 12:59:31 pm


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เตือน "ทัวร์ธรรมะ"
ระวังคำสอนบิดเบือนหลักศาสนา พบเห็นให้แจ้งทันที

นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ว่า กรณีที่ขณะนี้กระแสประชาชนรวมกลุ่มเดินทางไปทำบุญปฏิบัติธรรมตามวัดในจังหวัดต่างๆ หรือที่เรียกกันว่าทัวร์ธรรมะนั้น การที่มีประชาชนสนใจเข้าวัดทำบุญถือว่าเป็นเรื่องดีและต้องส่งเสริม สาเหตุที่ทัวร์ธรรมะหรือทัวร์ทำบุญปฏิบัติธรรมเป็นที่นิยมช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานั้น

เนื่องจากปัจจุบันวัดแต่ละแห่งได้สร้างจุดเด่นให้น่าสนใจและใช้วิธีบอกต่อระหว่างคนที่มีความเชื่อเหมือนกัน ในการชักชวนคนอื่นๆ เข้ามาทำบุญปฏิบัติธรรม ประกอบกับกระแสทำบุญ 9 วัดได้รับความนิยมมากช่วงต้นปีที่ผ่านมา ดังนั้นแต่ละจังหวัดจึงใช้วิธีจัดทัวร์ทำบุญปฏิบัติธรรม 9 วัด เพื่อดึงคนให้เข้าวัดและทำบุญมากขึ้น




นายอำนาจ กล่าวว่า สิ่งที่อยากฝากเตือนคนที่เดินทางไปทัวร์ทำบุญปฏิบัติธรรมว่าควรใช้สติไตร่กรองให้ดี เนื่องจากยอมรับวัดบางแห่งอาจจะมีคำสอนที่หมิ่นเหม่และบิดเบือนหลักคำสอนของพระพุทธศานาอยู่บ้าง อาทิ การบอกวิธีแก้กรรม หลอกลวงให้บริจาคเงินทำบุญ การอวดอ้างอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ซึ่งถ้าเป็นลักษณะนี้อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด


"หากใครพบเห็นว่าวัดใดหรือว่าได้เดินทางไปทำบุญปฏิบัติธรรมในจังหวัดใดแล้ว พบว่ามีลักษณะแปลกประหลาดไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือว่าเข้าข่ายหลอกลวงให้ประชาชนทำบุญสามารถให้แจ้งมาที่ พศ. ได้ทันที เพื่อให้เจ้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบความจริง" รองผู้อำนวยการ พศ. กล่าว



ที่มา  http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1310725893&grpid=&catid=19&subcatid=1903
ขอบคุณภาพจาก www.thaiairways.com/,www.bloggang.com/





รายการ SIDEWAY พาชม และท่องเที่ยวสักการะสถานที่อันเป็นมงคล เพื่อการเริ่มต้นอย่างมีความสุขสงบทางใจ ตามคติความเชื่อของไทย อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้ถึงคุณค่าของโบราณสถานที่สำคัญของเกาะรัตน โกสินทร์และบริเวณโดยรอบอีกด้วย



ไหว้พระ 9 วัด อยุธยา วัดใหญ่ชัยมงคล วัดพนัญเชิง วัดพิชัยสงคราม วัดธรรมิกราช วัดหน้าพระเมรุ วัดศรีโพธิ์ วัดกลางคลองสระบัว วัดวงฆ้อง วัดอินทาราม
26388  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พศ.จัดแข่งสวดมนต์ดึงเด็กไทยเข้าวัด เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2011, 12:47:43 pm


สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จัดแข่งสวดมนต์ดึงเด็กไทยเข้าวัด

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม นายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า กรณีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ชี้ว่า เยาวชน และคนไทย ไม่นิยมทำบุญใส่บาตร และไม่สวดมนต์นั้น

ขณะนี้ พศ.เตรียมส่งหนังสือประสานความร่วมมือไปยังกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เพื่อขอความร่วมมือให้โรงเรียนทั่วประเทศ รื้อฟื้นการสวดมนต์หน้าเสาธงกลับมาอีกครั้ง รวมทั้ง อยู่ระหว่างหารือกับ ศธ.เพื่อจัดแข่งขันสวดมนต์ทั่วประเทศ คาดว่าจะจัดขึ้นช่วงปลายเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้

เพื่อดึงกลุ่มเยาวชนให้เข้าวัด และหันมาสวดมนต์มากขึ้น ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เด็กสวดมนต์จะทำให้เข้าใจความหมายในบทสวด และฝึกความอดทน ระเบียบวินัย รวมทั้ง สร้างความเข้าใจเรื่องพระพุทธศาสนามากขึ้นด้วย


ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1311073469&grpid=&catid=19&subcatid=1903
ขอบคุณภาพจาก https://lh6.googleusercontent.com/





โรงเรียนวัดขุนจันทร์ เข้าร่วมโครงการกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนา สวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ ชิงโล่

พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่วัดนางชี แขวงปากครอง เขตภาษีเจริญ

กรุงเทพมหานคร วันที่ 23 พฤศจิกายน 2553


ที่มา  http://www.watkhunchan.com/?p=181
26389  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ฌาน 5 เป็น ฌานของ พุทธภูมิ หรือไม่คะ เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 10:56:39 pm

ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก; ฌาน ๔ คือ


๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);


ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ

๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)

๒. ทติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
 
ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ


อ้างอิง พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


  หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เทศน์ไว้อย่างไร ผมไม่ทราบ เท่าที่ได้อ่านได้ฟังมา

 คนปรารถนาพุทธภูมิ เรียนสมถกรรมฐานได้ทั้ง ๔๐ กอง นั่นคือ สามารถเรียนสมาบัติ ๘ หรือ ฌาน ๘ ได้ (รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน ๔)

 ส่วนวิปัสสนากรรมฐานทำได้สูงถึง สังขารุเปกขาญาณ หากเดินวิปัสสนาเกินกว่านี้ จะเป็น"สาวกภูมิ"


  ;)
26390  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: พวก Rootbear และ Spy พวกนี้ ผิดศีล ข้อ 5 หรือไม่คะ เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 10:23:10 pm

ขอนำข้อความจากหนังสือวิถีชาวพุทธ มาตอบดังนี้ครับ

7.2 องค์แห่งศีล 

   7.2.5 การดื่มน้ำเมา

          องค์แห่งการดื่มน้ำเมา
 
          การดื่มน้ำเมาต้องประกอบด้วยองค์ 4 คือ
 
          1. น้ำที่ดื่มเป็นน้ำเมา
 
          2. มีจิตคิดจะดื่ม
 
          3. พยายามดื่ม
 
          4. น้ำเมานั้นล่วงพ้นลำคอลงไป


          การดื่มน้ำเมา มีโทษมากหรือโทษน้อย ขึ้นอยู่กับ
 
          1. อกุศลจิตหรือกิเลสในการดื่ม
 
          2. ปริมาณที่ดื่ม
 
          3. ผลที่เกิดจากการกระทำผิดพลาด ชั่วร้าย ที่ตามมาจากการดื่มน้ำเมา
 
          - สุรา ได้แก่ น้ำเมาที่ถูกกลั่นให้มีรสชาติเข้มข้น เช่น เหล้าต่างๆ
 
          - เมรัย ได้แก่ น้ำเมาที่ไม่ได้กลั่น เช่น เหล้าดิบ กระแช่ น้ำตาลเมา ฯลฯ

 

           นอกจากนี้ การงดเว้นจากการเสพสิ่งเสพติดต่างๆ เช่น ฝิ่น กัญชา ยาบ้า เฮโรอีน รวมถึงวัตถุทุก ชนิดที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ก่อให้เกิดความมึนเมา ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนได้ ก็รวมอยู่ในศีลข้อนี้เช่นกัน
 
         จากความรู้ในเรื่อง องค์วินิจฉัยศีล เราจะสามารถตอบข้อสงสัยได้ว่า การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิดศีล ทำให้ศีลขาด ทะลุ ด่าง หรือพร้อย ตัวอย่างเช่น การที่เราไล่ยุง แล้วบังเอิญทำให้ยุงตาย โดยที่เรามิได้มีจิตคิดจะฆ่ายุงเลย อย่างนี้เรียกว่ายังไม่ผิดศีล ศีลยังไม่ขาด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ครบ องค์ 5 ของการฆ่าสัตว์
 
          อย่างไรก็ตาม การละเมิดศีลในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่าง หรือศีลพร้อย หากเกิดขึ้นด้วยเจตนาที่จะล่วงละเมิด แม้ว่าบางกรณีศีลจะยังไม่ขาดก็ตาม แต่บาปได้เกิดขึ้นมาในใจ เป็นเหตุให้ใจต้องเศร้าหมอง

และหากละเมิดศีลในกรณีที่เกิดโทษมาก เป็นบาปมาก คุณภาพใจจะยิ่งถูกทำลายให้เศร้าหมองมากยิ่งขึ้น เราจึงควรศึกษาในเรื่องเหล่านี้ เพื่อให้การรักษาศีลของเรา เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจ อันจะนำมาซึ่งการรักษาใจได้อย่างบริสุทธิ์ สะอาด ไม่เดือดเนื้อร้อนใจในภายหลัง

ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=388



เรื่องพระสาคตะ

          ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจำพรรษาอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ครั้นออกพรรษา พระพุทธองค์ได้เสด็จไปสู่เจติยชนบท จนกระทั่งมาถึงบ้านภัททวติกคาม เมื่อคนเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ตลอดจน ชาวนาและคนเดินทางได้แลเห็นพระองค์ ก็พากันกราบทูลว่า


          "ข้าแต่พระองค์ ขอได้โปรดอย่าเสด็จไปสู่ท่าอัมพะเลย เพราะมีพญานาคตนหนึ่งซึ่งมีพิษร้ายแรง อาศัยอยู่ใกล้อาศรมชฎิล หากพระองค์เสด็จไป พญานาคนั้นก็จะทำอันตรายแก่พระองค์

          แต่พระองค์ทรงนิ่งเฉย แม้คนเหล่านั้นจะทูลห้ามถึง 3 ครั้ง พระองค์ก็ทรงนิ่งเฉย เสด็จเข้าไปประทับอยู่ที่ภัททวติกคาม

          คราวนั้น พระสาคตเถรผู้สำเร็จโลกิยฌาน จึงได้ไปยังอาศรมชฎิลที่นาคนั้นอาศัยอยู่ ท่านเข้าไปยังโรงบูชาไฟ แล้วปูหญ้าลงรองนั่งท่าสมาธิคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง

          เมื่อนาคมองเห็นพระสา คตเถระ ก็รู้สึกขุ่นเคืองจึงพ่นพิษเข้าใส่ พระสาคตเถระจึงบันดาลพิษ โต้ตอบกำจัดพิษนาคนั้น นาคจึงพ่นไฟสู้อีก พระสาคตเถระจึงเข้าเตโชสมาบัติบันดาลไฟโต้ตอบ จนนาคนั้น ยอมแพ้ จากนั้นท่านได้สั่งสอนให้นาคตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ แล้วท่านจึงกลับมาเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ ภัททวติกคาม

          เมื่อพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ประทับอยู่ที่ภัททวติกคามตามสมควรแก่พระประสงค์แล้ว จึงเสด็จกลับสู่เมืองโกสัมพี เมื่อชาวเมืองโกสัมพีมารับเสด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ทราบว่าพระสาคตเถระมี ชัยชนะแก่พญานาค จึงพากันเข้าไปถามพระสาคตเถระว่า

          "สิ่งใดที่เป็นของหายาก เป็นของชอบใจของพระคุณเจ้า พวกเราจะจัดถวาย"

          ครั้งนั้น ยังมีภิกษุผู้มีความริษยาในพระสาคตเถระได้แกล้งตอบไปว่า

          "สุราใสสีแดงเหมือนสีเท้าของนกพิราบ เป็นของหายาก และเป็นของชอบใจของพระคุณเจ้า ท่าน ทั้งหลายจงจัดเตรียมสุรานั้นไว้ถวายจึงจะดี"


          คนเหล่านั้นจึงพากัน กระทำตามคำแนะนำ โดยเวลาที่พระสาคตเถระไปบิณฑบาต ต่างก็ขอให้ ท่านดื่มสุรา พระสาคตเถระได้ดื่มสุราทุกๆ เรือนไป จนในที่สุดก็ล้มลงที่ประตูเมืองด้วยความมึนเมา


          พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จออกจากเมืองพร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็น     พระสาคตะล้มกลิ้งอยู่ที่ประตูเมือง จึงตรัสสั่งให้ภิกษุทั้งหลายช่วยกันพยุงพระสาคตเถระไป แล้วจัดให้นอน หันศีรษะมาทางพระองค์ แต่พระสาคตเถระกลับพลิกตัวนอนเอาเท้าทั้งสองมาทางพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

          ลำดับนั้น พระพุทธองค์รับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า

          "ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย สาคตะมีความเคารพ มีความยำเกรงในตถาคตมิใช่หรือ
         
          ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลว่า

          "เป็นดังรับสั่ง พระพุทธเจ้าข้า"

          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้สาคตะมีความเคารพยำเกรงในตถาคตอยู่หรือ"

          "ไม่มีเลย พระพุทธเจ้าข้า"


          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาคตะได้ต่อสู้กับนาคภัททวติกคามใช่หรือไม่"

          "ใช่ พระพุทธเจ้าข้า"

          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้แม้แต่งูน้ำ สาคตะจะสามารถทำการต่อสู้ได้หรือไม่"

          "ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า"

          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย น้ำที่ดื่มเข้าไปแล้ว ถึงวิสัญญีภาพนั้นควรดื่มหรือไม่"

          "ไม่ควรดื่ม พระพุทธเจ้าข้า"

          "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของสาคตะไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ไฉนสาคตะจึงดื่มน้ำที่ทำให้ผู้ดื่มมึนเมา การกระทำของสาคตะนั้น มิได้เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้น ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว"...

          ฤทธิ์ของสุราจึงไม่เพียง แต่ทำให้พระสาคตเถระสิ้นฤทธิ์เท่านั้น แต่ยังทำให้ความประพฤติอันดีงาม ให้กลับเสื่อมทรามสิ้นสง่าราศี จากผู้เป็นที่เคารพศรัทธา กลับกลายเป็นบุคคลที่น่ารังเกียจเดียดฉันท์ แม้จิตใจที่อาจหาญของท่าน ยังกลับกลายเป็นใจที่เสื่อมสิ้นกำลัง ทั้งที่สภาพใจของท่านแต่เดิมนั้น เป็นใจที่ตั้งมั่น ทนทานต่อการทำลายไม่ว่าจากภัยใดๆ แต่แล้วกลับเปลี่ยนสภาพไปอย่างง่ายดาย ด้วยการดื่มสุรา

          ศีลทั้งสี่ข้อที่ผ่านมา ไม่ว่าจะตั้งใจรักษาสักเพียงใด แต่หากรักษาข้อที่ 5 ไม่ได้ สี่ข้อที่เหลือก็ไม่อาจ รักษาได้เช่นกัน อุปมาเหมือนช้างที่ใช้งวงหาอาหารเลี้ยงชีวิต หากวันใดงวงของมันไม่สามารถทำหน้าที่ได้ หรือขาดออกไปเสีย มันก็ต้องตาย เพราะขาดงวงเอาไว้จับอาหาร ถึงจะมีขาอีกสี่ข้างคอยช่วยพาเดินไป  ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ช้างนั้นย่อมตายไป เพราะเหตุที่ไม่มีงวง ฉันใด คนเราก็เช่นกัน หากขาดศีลข้อที่ 5 ไป อีก 4 ข้อที่เหลือก็ยากจะรักษาไว้ให้ได้ดังเดิม ฉันนั้น


ที่มา http://main.dou.us/view_content.php?s_id=388
ขอขอบคุณภาพจากwww.sahavicha.com/,http://talk.mthai.com/,www.trafficbkk.com/



ขอให้พิจารณาข้อธรรมที่ผมโพสต์ ให้เข้าใจนะครับ ผิดหรือถูก ตัดสินเอาเอง

เมื่อสมัยผมเป็นหนุ่มๆ ผมชอบกิน Wine ,Draught Beer, Root Beer  รวมทั้งสปาย

 เครื่องดื่มพวกนี้ล้วนมี "แอลกอฮอล" ทั้งสิ้น ดื่มมากๆ ก็เมาได้เหมือนกันหมด

 อย่าดื่มเลยครับ เมื่อก่อนผมคิดว่า ดื่มแล้วเท่ห์  ดื่มแล้ว เสียเงิน เสียสุขภาพ เสียเวลา มันเท่ห์ตรงไหน

เพื่อนกินเพื่อนดื่มหาง่ายครับ ไม่จำเป็นก็อย่าไปเกี่ยวข้อง  "Just Say No"

 :welcome: :49: :25: ;)
26391  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: นิพพานมีอยู่_ คนสอนก็มีอยู่_ ไฉนบางคนบรรลุ_ บางคนไม่บรรลุ เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 09:39:20 pm
อยู่ไกลไปไม่ ได้ ต้องทำอย่างไร คะ
มีไฟล์เสียง หรือ วีดีโอ หรือไม่ คะ

หรือต้องไป อย่างเีดียวเท่านั้น คะ

 :41:

  มีครับ แต่ไม่แจกทางเว็บ คุณต้องมารับเองที่ บ้านคุณจิตตรี วันที่ ๑๔ สิงหาคมนี้ เชิญที่สระบุรีเลยครับ
  เชียงราย เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต หนองคาย อุบล อยู่ไกลเพียงไร หลายคนก็ดั้นด้นไปถึง
  แต่สระบุรี ไกลแค่ไหน พิจารณาเอานะครับ

 :welcome: :49: :25: ;)
26392  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้องมีการกำหนด อธิษฐาน อะไรยุบยิบ จังครับ กับ กรรมฐาน มัชฌิมา เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 02:08:04 pm
 ผมจะกล่าวถึง กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในภาพรวมก่อน จากนั้นจะคุยในรายละเอียด

 วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น)
๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ)
๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง)

 อรหันต์ ๔
๑. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
 ๒. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา ๓)
 ๓. ฉฬภิญฺโ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
 ๔. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)


ที่มา พจนานนุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


ขอให้พิจารณาข้อธรรมด้านบน ผมกำลังจะบอกว่า การเรียนกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

 เป็นแนว "เจโตวิมุตติ" คือ เน้นสมาธินั่นเอง

 หากเรียนกรรมฐานมัชฌิมาฯ แบบเต็มหลักสูตร ถึงที่สุดแล้วจะได้เป็น อรหันต์ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต

 กรรมฐานมัชฌิมาฯ สืบทอดมาจากพระราหุล อาจารย์ของพระราหุล ล้วนเป็น อรหันต์ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต

 ทั้งสิ้น อรหันต์ประเภทนี้ รู้กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง


  นั่นเป็นเหตุ ทำให้การสอนกรรมฐานมัชฌิมาฯ ไม่ได้สอนกรรมฐานเพียงกองเดียว แต่สอนทั้ง ๔๐ กอง

 การที่ต้องรู้กรรมฐานทั้งหมด จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ หาผู้สืบทอดได้ยาก


 ขอคุยเท่านี้ก่อน ครั้งหน้าจะตอบข้อกังขาของคุณ mitdee
 :welcome: :49: :25: ;)
26393  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การอุบัติของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เรื่อง ง่าย ๆ นะจ๊ะ เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 01:37:49 pm

ขอบคุณภาพจากwww.trueplookpanya.com/

ผู้เรียบเรียงอยากจะยกตัวอย่างอีกเรื่องให้เห็นในยุคปัจจุบัน เรื่องที่บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไป คือ

   ได้ยินว่า  การเกิดที่จะได้อย่างยากในยุคปัจจุบันมี ๔ อย่างคือ

   - เกิดมาเป็นมนุษย์ ยากอย่างที่หนึ่ง
   - เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา ยากอันดับสอง
   - เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา และอยู่ในสมัยที่พุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่  ยากอันดับสาม.
   - เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา  อยู่ในสมัยที่พุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่  และได้พบพระพุทธองค์ได้ฟังเทศนาจากพุทธองค์  ยากอันดับสี่.

   ในยุคปัจจุบัน  ประเทศไทยเราถือว่า ในอยู่แดนของพุทธศาสนาและเราได้มีโอกาสได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว  ถือว่า เรายังโชคดีที่ยังอยู่ในเกณฑ์การเกิดยาก อันดับสอง  เพราะยังมีหลักธรรมให้ประพฤติปฏิบัติได้  แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือ การศึกษาหลักธรรมในปัจจุบัน มีบางท่านเห็นผิดไปจากความเดิม อันเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย

        เหมือนดั่งคำอาจารย์ที่ว่า จับงูที่หาง จะถูกงูกัดตาย หรือดังความว่า บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไป  ฉะนี้เป็นต้น

   ฉะนั้น  ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา  ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาจึงควรขวนขวายหาความรู้ในหลักธรรม  โดยความสุขุมรอบคอบพิจารณาไตร่ตรอง  ใคร่ครวญ  สอบถาม  เทียบเคียง กับบัณฑิตและครูบาอาจารย์


อ้างอิง
บทความเรื่อง มนุษย์ผู้มีใจสูง
สาราณุกรม พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน
26394  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การศึกษาโดยลำดับ_การทำโดยลำดับ_ความปฏิบัติโดยลำดับ_มีผลอย่างไร เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 12:59:05 pm
อ้างถึง
[๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก
เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำ
โดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.

เป็นประโยคครูอาจารย์ มักกล่าวให้ได้ยินประจำ เลยนะครับ

กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อาศัยพระพุทธพจน์ตรงส่วนนี้ด้วยใช่หรือไม่ครับ

 :25: :25: :25:

ใช่ครับ ข้อธรรมทำนองนี้ ในพระสุตตันตปิฎก กล่าวไว้หลายสูตร

 แต่ในหลักการปฏิบัติของกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

 โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่า น่าจะอยู่ที่การ "ลำดับพระกรรมฐาน"

 คุณเสริมสุขเห็นด้วยไหมครับ

 :s_good:
26395  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: นิพพานมีอยู่_ คนสอนก็มีอยู่_ ไฉนบางคนบรรลุ_ บางคนไม่บรรลุ เมื่อ: กรกฎาคม 21, 2011, 12:49:06 pm

ผมติดตามการภาวนามาตั้งแต่ ในแนวทางหลวงพ่อพุทธทาส 30 ปีมานี้ ยังไม่ไปไหนเหมือนกันครับ
ตามด้วยสายหลวงพ่อเทียน สายวัดป่า ธรรมกาย วัดปากน้ำ วัดอ้อน้อย วัดอัมพวัน วัดมเหยงค์ วัดท่ามะโอ
วัดป่ามะไฟ วัดผาซ่อนแก้ว วัดท่าซุง วัดถ้ำนารายณ์  วัดยานนาวา วัดมหาธาตุ
ตามมาหลากรูป หลากแบบ จนตอนนี้ก็งง

 แล้ววันนี้กำลังตามในแนวทาง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดัับ อีกไปที่วัดราชสิทธาราม มาอ่านตำรามา
ไปร่วมปฏิบัติธรรม ก็หลายครั้ง ก็ไม่เห็นจะก้าวหน้าไปไหน

ทำไมจึงไม่บรรลุ หรือว่า ยังฟังไม่พอ เรียนไม่พอ ไปยังไม่พอ หรือบกพร่อง ด้วยบารมี
ทำไม เมื่อเราปรารถนาการพ้นจากสังสารวัฏ ทำไมจึงไม่พ้นไปได้ตามปรารถนา ครับ


  คุณสุทธิธรรม (เรียกผิดขออภัย) ผมคิดว่า คุณอาจขาด "กัลยาณมิตร" ที่สามารถสอบอารมณ์

สอนวิธีแก้ไข บอกทางที่เหมาะสม
ขอแนะนำว่า วันที่ ๑๔ สิงหาคม ที่จะถึง เชิญที่บ้านคุณจิตตรี

ที่สระบุรีเลยครับ คุณก็ไปมาหลายที่แล้ว ลองมาอีกที่ คงไม่ยากใช่ไหมครับ


"เกรงใจ บ่ได้วิชา"
:welcome: :49: :25: ;)
26396  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: มีญาติ ที่เริ่มมีอายุ แต่แต่งงานกันมา 10 ปีแล้ว ไม่มีบุตร เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 10:34:40 pm
ขอบคุณทุกท่าน ที่ช่วยตอบคะ

 อยากทราบว่า การที่เราบอกให้ญาติไปขอ บุตร กับ หลวงพ่อวัดบ้าแหลม จัดเป็นความงมงายหรือไม่คะ

 :smiley_confused1:

 :c017:

มีคนเคยไปขอลูก กับ "พระยาพิชัยดาบหัก" แล้วก็สมหวัง

 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี บอกว่า ไปขอที่ไหนก็แล้วแต่ อย่าไปขอกับศาลพระกาฬ ที่ลพบุีรี

 เพราะมีคนไปขอแล้ว ได้ลูกออกมา มีหน้าเหมือนลิง

 หลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีชื่อเสียงมาก ไปเถอะครับ อย่าได้รีรอ

 :welcome: :49: :25: ;)
26397  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: แก้กรรม สะเดาะเคราะห์ ควรทำอย่างไร ดี เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 10:19:10 pm
ศึกษาเว็บนี้มา 2 เดือนแล้วคะ

 ตอนนี้รู้สึก ค้าขาย ย่ำแย่ลงคะ แย่จากพวกประท้วง ก็มาพักหนึ่งแล้วคะ ตอนนี้เลิกประท้วงแล้ว
แต่สถานการณ์ การค้าขายก็ยังไม่ดีขึ้นเลยคะ

  มีเพื่อนมาบอกให้ทำบุญ สะเดาะเคราะห์ บ้าง ไปสแกนกรรมบ้าง ไปดูดวงบ้าง ไปบนบ้าง
แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้ไป มีเื่พื่อนคนหนึ่งชวนไปปฏิบัติกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม ก็ไปมาแล้ว
แต่ก็ยังไม่รู้สึกว่า ดีขึ้นเลยคะ

  หรือยังทำไม่ถูก คะ ในการ สะเดาะห์ เคราะห์กรรม หรือ ยังมีความเชื่อที่ผิด
ขอร้องอย่าตอบ ยียวนนะคะ ไปโพสต์ถามห้องอื่น มาล้วนตอบ ยียวน กวนใจ หาว่างมงายบ้าง
จึงคิดว่า ชาวธรรมกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ น่าจะมีคำแนะนำที่ดีให้บ้างคะ

  ช่วยซับน้ำตาคนทุกข์ กันบ้างเถอะคะ อย่าซ้ำเติมกันอีกนะคะ

   :c017: :c017: :c017:
 :25: :25: :25:


 เห็นใจครับ ทุกข์ที่อยู่ในใจ ไม่มีใครรู้ได้

 การแก้กรรม สะเดาะเคราะห์ ถ้าไปทำกับคนรู้จริง ผมเชื่อว่าจะช่วยได้ระดับหนึ่ง(ผมเคยลองมาแล้ว..ช่วยไำด้)

 ศรัทธาคนไป ก็ไปเลย อย่ามัวรีรอ ที่คุณรีรออยู่ คิดว่า เจ้ากรรมนายเวรของคุณไม่ยอมเปิด

 คุณต้องปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง อุทิศบุญให้เจ้ากรรมนายเวร และต้องอุทิศให้เทวดาประจำตัวคุณด้วย

ขอแนะนำให้สวดคาถาพญาไก่เถื่อน ๙ จบทุกวัน เวลาสวดต้องมีจิตที่ศรัทธา สวดด้วยความเคารพ

 สวดจบให้อธิษฐาน สิ่งที่พอเป็นไปได้ อย่าหวังสูงเิกินไป โชดดีครับ

 :welcome: :49: :25: ;)
26398  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ทุกข์ใจ เพราะลูกติดยาเสพติดคะ เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 10:05:40 pm
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม

 
๓๗. มรรคตัดกรรมใดในอดีตชาติหรือไม่


          ถาม  มรรคจิตชื่อว่าอกาลิโก คือให้ผลทันที ไม่รอกาลเวลา มรรคนี้ไปตัดกรรมในอดีตชาติหรือไม่ ช่วยกรุณาอธิบายด้วย

          ตอบ ในปัญหานี้ขอเรียนให้ทราบดังนี้ มรรคจิต ชื่อว่าอกาลิโก เพราะทำให้ผลคือผลจิตอันเป็นวิบาก เกิดขึ้นทันทีในเวลาที่มรรคจิตดับลง โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่น

          ส่วนที่ถามว่ามรรคตัดกรรมในอดีตชาติได้หรือไม่ ถ้าจะตอบรวมๆ กันก็ต้องบอกว่า มรรคตัดกรรมในอดีตไม่ได้ อย่างมรรคแรกคือโสดาปัตติมรรค เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมตัดกรรมที่จะนำให้เกิดในอบายได้ทั้งหมด อนาคามิมรรคย่อมตัดกรรมที่จะนำให้เกิดในกามสุคติภูมิได้หมด อรหัตตมรรคย่อมตัดกรรมที่จะนำให้เกิดในภพภูมิได้หมด

          เป็นที่น่าสังเกตว่า มรรคแต่ละมรรคที่ตัดกรรมบางส่วนได้นั้น ตัดเฉพาะกรรมที่ทำหน้าที่ปฏิสนธิ คือนำเกิดในอบายเป็นต้นเท่านั้น ไม่ได้ตัดกรรมที่จะเกิดในปวัตติกาล คือไม่ได้ตัดกรรมที่จะให้ผลหลังจากที่เกิดมาแล้ว

          เพราะมิฉะนั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าก็คงไม่ต้องเสวยข้าวแดงสำหรับเลี้ยงม้า หรือท่านพระมหาโมคคัลลานะคงไม่ถูกโจรทุบตีจนร่างกายแหลกละเอียด ท่านพระสารีบุตรคงไม่ต้องอาพาธจนถ่ายเป็นโลหิตในเวลาใกล้จะปรินิพพานเป็นต้น 

          แต่เมื่อพระอรหันต์ปรินิพพานแล้ว กรรมที่จะให้ผลทั้งในปฏิสนธิกาล และปวัตติกาลเป็นอันหมดโอกาสให้ผล คือไม่มีโอกาสให้ผลอีกเลย เพราะฉะนั้น พระอรหันต์ท่านปรินิพพานแล้ว ท่านจึงไม่เกิดอีก

ทีมา http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=37


  เห็นใจมากครับ ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด คงต้องใช้วิธีทางโลกรักษา เจ้าของกระทู้คงทราบดี

 ความทุกข์ของพ่อแม่  แก้ได้ชั่วคราวโดยการเข้าสมาธิ ถึงแม้จะเป็นการข่มไว้ชั่วคราว แต่ก็จำเป้นต้องทำ

 ทางที่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์นี้ได้ ปุถุชนที่สามารถทำวิปัสสนาถึงขั้นสังขารุเปกขาญานได้

 ก็จะวางเฉยได้ ถ้าบุญบารมีมากพอ จนข้าม"โคตรภูญาน" ได้ ก็จะหลุดพ้นความทุกข์ได้อย่างถาวร

 
เรื่องปฏิบัติกรรมฐาน จะให้คนติดยามานั่งหลับตา คงเป็นเรื่องยาก

 ตัวพ่อแม่เองต้องสร้างบุญเยอะๆ แล้วโอนบุญให้เทวดาประจำตัวลูก ให้เทวดาช่วยดลใจลูก

 ให้คิดแต่เรื่องที่เป็นกุศล บุญที่ทำได้ง่ายไม่เสียเงิน ทำน้อยแต่ได้มาก ก็คือ กรรมฐาน



เรื่องกรรมที่ทำให้ลูกดื้อนั้น เท่าที่ฟังๆมา ส่วนใหญ่เกิดจากพ่อแม่ครับ

 เช่น พ่อแม่เจ้าชู้ พ่อแม่ทำแท้ง อย่าโกรธกันนะครับ ที่พูดกันตรงๆ

 เรื่องนี้ผมสังเกตจากครอบครัวผมเอง มันเป็นอย่างนั้นจริงๆ



ดังที่กล่าวกันโดยทั่วไปว่า "เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์" กรรมมันสืบทอดทางสายโลหิตไ้ด้จริงๆครับ

 :welcome: :49: :25: ;)
26399  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐานประจำวันเกิด เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 02:02:47 pm
    
วันเสาร์ "ปางนาคปรก"
        
กรรมฐานของคนที่เกิดวันเสาร์

นิสัยของคนที่เกิดวันเสาร์
ลักษณะเด่นๆของคนที่เกิดวันเสาร์ ก็คือ มักจะคนหงุดหงิดง่าย และใจร้อน และบางคนก็จะมีลักษณะชอบเก็บตัว ไม่ชอบสุงสิงกับใคร ใครก็ตาม ที่มีลักษณะชอบเก็บตัว ชอบอยู่คนเดียวเงียบๆ พวกนี้ มักจะเป็นคนที่คิดมาก


ฉะนั้น ท่านผู้รู้ ท่านจึงได้แต่งเป็นบทร้อยกรองสอนใจ เอาไว้ว่า
อยู่คนเดียว ให้ระวัง ยั้งความคิด อยู่ร่วมมิตร ให้ระวัง ยั้งคำขาน
อยู่ร่วมราษฎร์ เคารพตั้ง ระวังการ อยู่ร่วมพาล ต้องระวัง ทุกอย่างไป

ถ้าอยู่คนเดียว ก็มักจะอดคิดมากไม่ได้ คิดไปได้สารพัดเรื่องนั่นแหละ เดี๋ยวเรื่องโน้น เดี๋ยวเรื่องนี้ และเพราะความเป็นคนชอบคิดนี่เอง จึงทำให้เป็นคนที่ค่อนข้างเครียดง่าย และช่างจดช่างจำ เจ้าคิด เจ้าแค้น ใครทำให้เจ็บล่ะก้อ จำจนวันตาย นี่แหละ คือลักษณะนิสัย ของคนที่เกิดวันเสาร์

กรรมฐานสำหรับคนที่เกิดในวันเสาร์
ลักษณะนิสัย ของคนที่เกิดวันเสาร์ ดังที่กล่าวมาข้างต้น ท่านก็คงพอจะเดาออก ว่ากรรมฐานที่จะใช้แก้ไขนิสัย ของคนที่เกิดวันเสาร์นั้น คงจะไม่มีอะไรดี เท่ากับกรรมฐาน 2 ข้อ
ดังต่อไปนี้ คือ

1. พรหมวิหาร 4…. กรรมฐานหมวดนี้ จะช่วยแก้นิสัยใจร้อน ทำให้ใจเย็นลง และจากที่เคยหงุดหงิดง่าย ก็จะหงุดหงิดได้ยากขึ้น
2. อานาปานสติ…. กรรมฐานข้อนี้ จะช่วยแก้นิสัย ความเป็นคนชอบคิดมาก เพราะกรรมฐานข้อนี้ เป็นกรรมฐาน ที่จะช่วยตัดกระแสวิตก ได้อย่างดีเยี่ยม


เมื่อรู้แล้วว่า คนที่เกิดวันเสาร์ ควรจะเจริญกรรมฐาน ทั้ง 2 ประเภทนี้ ทีนี้ เราก็จะมาศึกษา ในรายละเอียดกันล่ะว่า กรรมฐานแต่ละประเภท ที่กล่าวมานั้น มีวิธีปฏิบัติกันอย่างไร ?

พรหมวิหาร 4
พรหมวิหาร ถ้าจะแปล ก็ต้องแปลว่า คุณธรรม เป็นเครื่องอยู่ ของพระพรหม
พูดง่ายๆก็คือ พระพรหม จะต้องมีคุณธรรม 4 ข้อนี้ จึงจะเป็นพระพรหมได้
ที่เขาสร้างรูปพระพรหม ให้มี 4 หน้า ก็เป็นการจำลองคุณธรรมทั้ง 4 ด้าน ของพระพรหมนั่นเอง และเนื่องจาก คุณธรรมทั้ง 4 ข้อ ของพระพรหมนั้น ไปตรงกับคุณธรรม ของพ่อ ของแม่ พระพุทธเจ้า จึงได้ทรงยกย่อง พ่อแม่ ว่าอยู่ในฐานะ พรหมของลูก


ทีนี้ คุณธรรม ทั้ง 4 ข้อนั้น มีอะไรบ้างล่ะ ?
ก็มี ดังต่อไปนี้ คือ

1. เมตตา ได้แก่ความรัก ความเอ็นดู ความปรารถนาดี อยากให้ทุกๆชีวิต มีแต่ความสุขความเจริญ
2. กรุณา ได้แก่ความสงสาร เวลาเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ก็อดที่จะสงสาร อดที่จะช่วยเหลือไม่ได้
3. มุทิตา ได้แก่ ความพลอยยินดี เมื่อคนเห็นอื่น เขาได้ดีมีสุข
4. อุเบกขา ได้แก่ การรู้จักวางเฉย ไม่ซ้ำเติม เมื่อเห็นคนอื่นพลาดพลั้ง เพราะการกระทำ ของเขาเอง


คุณธรรมทั้ง 4 ข้อนี้ เมื่อเราเจริญ ให้เกิด ให้มี ขึ้นในใจแล้ว มันจะช่วยขจัดอารมณ์เศร้าหมอง อันเปรียบเสมือนสนิมในใจออกไป ได้หลายอย่างทีเดียว

ขณะนี้ กำลังพูดถึงกรรมฐาน ซึ่งเหมาะ สำหรับคนที่เกิดวันเสาร์ โดยเมื่อตอนที่แล้ว ได้พูดถึงกรรมฐาน หมวดพรหมวิหาร ซึ่งจะช่วยทำให้ใจ ที่เคยร้อนเย็นลงกว่าเดิม และความหมาย ของพรหมวิหาร แต่ละข้อ ก็ได้อธิบายให้ฟัง อย่างคร่าวๆมาแล้ว ในตอนที่ผ่านมา ยังคงค้างอยู่ ก็เฉพาะในประเด็นที่ว่า พรหมวิหาร แต่ละข้อนั้น ช่วยขจัดอารมณ์เศร้าหมองภายในใจ ข้อใดได้บ้าง… เรามาพบคำเฉลย ในตอนนี้ กันได้เลยครับ

พรหมวิหาร ข้อแรก คือ เมตตา ได้แก่ ความรัก ความปรารถนาดี อยากให้ทุกๆชีวิต มีแต่ความสุข

ถ้าใครก็ตาม ที่เจริญพรหมวิหารข้อนี้ ให้เกิด ให้มี ในใจได้ ก็จะทำให้ใจของผู้นั้น ละคลายจากความโกรธเกลียด ซึ่งเป็นอารมณ์เศร้าหมอง ภายในใจได้ ถ้าเจริญ ให้เต็มที่ ถึงที่สุด เราก็จะได้เห็น ความเปลี่ยนแปลง ทางด้านจิตใจ ได้อย่างชัดเจน คือเราสามารถ ที่จะให้อภัยได้ แม้กระทั่ง ผู้ที่เป็นศัตรู

พระเกตุ "ปางสมาธิเพชร"
                 
อย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้ที่มากด้วยเมตตา และมีเมตตา เต็มเปี่ยมอยู่ในพระทัย ครั้งหนึ่ง พระอานนท์ได้เคยทูลถามถึงความรู้สึก ว่าพระองค์รู้สึกอย่างไร กับพระเทวทัต ซึ่งตามจ้องล้างจองผลาญพระองค์มาโดยตลอดพระพุทธองค์ ทรงตอบว่ายังไง ท่านทราบไหมครับ ?

พระองค์ตรัสตอบว่า "เรารักราหุล พุทธชิโนรส ของเราอย่างไร เราก็รัก และมีจิตเมตตา ในพระเทวทัต ผู้มีจิตคิดประทุษร้ายต่อเรา ฉันนั้น"

นี่แหละ คือยอดของความเมตตาจริงๆ คือรัก และให้อภัยได้ แม้กระทั่งศัตรู ถ้าเราเจริญเมตตาให้มากๆ จิตใจเรา ก็จะเป็นอย่างนี้ คือจะไม่มีความเคียดแค้น ไม่พยาบาทใคร และพร้อมที่จะให้อภัย กับคนทุกคน
จิตแบบนี้ เป็นจิตที่เยือกเย็น และละเอียดอ่อน

ท่านยังบอกอีกว่า ใครก็ตาม ที่เจริญเมตตา อยู่เป็นประจำ ผู้นั้น ย่อมได้รับอานิสงส์ ถึง 11 ประการด้วยกัน อาทิเช่น หลับก็เป็นสุข, ตื่นก็เป็นสุข, มีสีหน้าที่แจ่มใส, ไปไหนมาไหน มีเทวดาคอยตามอภิบารักษา , ไฟ ศัสตรา ยาพิษ ทำอันตรายไม่ได้ ฯลฯ เป็นต้น

ตรงอานิสงส์ที่ว่า ไฟ ศัสตรา ยาพิษ ทำอันตรายไม่ได้ บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ว่าจะเป็นไปได้ ก็ใคร่ขอยกตัวอย่างเรื่องจริง ของพระผู้ปฏิบัติดีรูปหนึ่ง คือ หลวงปู่พุทธบาทตากผ้า วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน หลวงปู่พุทธบาทตากผ้านั้น เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า ท่านเป็นพระที่มีเมตตาสูงมาก ไม่เคย แม้แต่จะดุใคร

มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านออกธุดงค์ มีคนมาลองดีท่าน โดยแอบเอายาสั่งใส่น้ำ ถวายให้ท่านดื่ม ด้วยอยากจะลอง ว่าท่านเก่ง จริงหรือไม่ ขณะที่หลวงปู่ กำลังจะยกแก้วขึ้นดื่มนั้น ก็ปรากฎว่า แก้วได้แตกดัง เพล้ง ! โดยไม่มีสาเหตุ เล่นเอาคนที่แอบเอายาสั่งไปถวายท่าน ต้องก้มลงกราบ และขอขมาต่อท่านกันยกใหญ่

ที่เป็นดังนี้ ก็คงเป็นด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาที่ว่า ไฟ ศัสตรา ยาพิษ ทำอันตรายไม่ได้ หรือไม่เช่นนั้น ก็อาจจะเกิดขึ้น จากอำนาจของเทวดา ที่คอยตามอภิบาลรักษาท่าน เพราะความที่ท่านมีจิตเมตตาสูงนั่นเอง ผู้ที่มีจิตเมตตาสูงนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์จะให้ความเคารพบูชาเลย ขนาดเทวดา หรือสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ก็ยังให้ความเคารพ และคอยคุ้มครอง ให้ปราศจากภยันตราย และนี่ก็คือประจักษ์พยาน ที่แสดงให้เห็นว่า อานุภาพแห่งเมตตานั้น มีอยู่จริง

ทีนี้มาถึงพรหมวิหารข้อที่ 2 คือ กรุณา ได้แก่ ความสงสาร
ความสงสาร หรือกรุณานี้ ถ้าจะถามว่า ช่วยขจัดอารมณ์เศร้าหมองข้อใด ?
ก็ต้องตอบว่า ขจัดความเศร้าหมอง ข้อ วิหิงสา คือการชอบเบียดเบียน รังแกคนอื่น สัตว์อื่น
ใครก็ตาม ที่ไม่มีความสงสารต่อเพื่อนมนุษย์ หรือต่อสัตว์อื่น ผู้นั้นก็พร้อมที่จะเบียดเบียนคนอื่นได้ตลอดเวลา ที่เป็นดังนี้ ก็เพราะขาดความสงสารตัวเดียว


ถ้ามีความสงสาร อยู่ในใจแล้ว เราจะเบียดเบียนใครไม่ลง อย่างแน่นอน
ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงบอกว่า กรุณา ความสงสาร นี่แหละ คือตัวที่จะสังหาร วิหิงสา คือการเบียดเบียน ซึ่งถือว่า เป็นเครื่องเศร้าหมองทางใจอย่างหนึ่ง

ทีนี้ พรหมวิหาร ข้อที่ 3 คือ มุทิตา
มุทิตา ได้แก่ ความพลอยยินดี เมื่อเห็นคนอื่นได้ดี พอพูดแค่นี้ หลายท่าน ก็คงจะพอเดาออกว่า มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อเกิดขึ้นในใจใคร ความริษยา ก็ย่อมจะหมดไป จากใจของผู้นั้น มุทิตา ความพลอยยินดี กับความริษยา มันมีลักษณะ ที่ตรงกันข้าม เหมือนน้ำ กับไฟ ยามใด ที่มีมุทิตา ยามนั้น ริษยา ต้องไม่มีอยู่ในใจ แต่ถ้ายามใด ใจเต็มไปด้วยความริษยา เมื่อนั้น มุทิตา ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เช่นกัน


อุเบกขา คือการวางเฉย การที่เราจะวางเฉยได้ นั่นก็เพราะ ได้มานึกถึงเรื่องกรรม ของแต่ละบุคคล ทางพระ ท่านก็บอกไว้แล้วว่า กัมมุนา วัตตติ โลโก สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม คือใครทำกรรมอย่างใดไว้ ผู้นั้น ก็จะต้องเป็นผู้รับผล แห่งกรรมนั้น

ใครก็ตามที่นึกถึงเรื่องกฎแห่งกรรมของแต่ละบุคคลบ่อยๆ คนประเภทนั้นจะเจริญอุเบกขา คือความวางเฉยได้ง่าย
แต่สำหรับใครก็ตาม ที่ไม่นึกถึงเรื่องกฎแห่งกรรมเลย คนประเภทนั้น เวลามีเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้น กับคนรอบข้าง ก็มักจะเป็นทุกข์ เป็นร้อน ทำใจไม่ได้

ยกตัวอย่างเช่น ลูกหลานของเรา ถูกจับ ในคดียาเสพติด ถ้าเราเป็นผู้เจริญพรหมวิหารข้อนี้ คืออุเบกขาพรหมวิหาร เมื่อมาระลึกได้ว่า เราได้เคยห้ามปรามเขาแล้ว แต่เขาไม่เชื่อ กลับไปพัวพัน เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด จนกระทั่งถูกจับ ก็ต้องวางเฉยให้เป็น นั่นถือว่า เขาสร้างกรรม ที่จะทำให้ถูกจับ ด้วยตนเอง ไม่มีใคร ไปทำเขา ใจเราก็จะเป็นปกติได้

แต่ถ้าเรา ไม่นึกถึงเรื่อง กรรมใคร กรรมมัน มีแต่คิดว่า ลูกหลานของฉัน จะผิดไม่ได้ จะถูกจับไม่ได้ แล้วก็หาทางวิ่งเต้น เพื่อให้ลูกหลานของตน หลุดพ้นจากคดี อย่างนี้ซีครับ เป็นตัวอันตรายมาก


สังคมทุกวันนี้ ที่มันวุ่นวาย เดือดร้อน กันไม่รู้จักหยุด ไม่รู้จักหย่อน ก็เพราะผู้ใหญ่ประเภทที่วางอุเบกขาไม่เป็นนี่เอง ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตโต ) ท่านเคยปรารภไว้ว่า คุณธรรม ในหมวดพรหมวิหารนั้น ที่ท่านต้องวางอุเบกขา ( ความวางเฉย ) ไว้กำกับ เป็นข้อสุดท้าย ก็เพื่อรักษาสภาพใจของผู้เจริญ ไม่ให้เป็นทุกข์ กับผลกรรม ที่คนรอบข้าง จะต้องได้รับ นั่นประการหนึ่ง

และอีกประการหนึ่ง ก็คือ เพื่อรักษาความยุติธรรม ของสังคมเอาไว้ อีกทางหนึ่งด้วย บางท่านอาจจะสงสัย ว่าอุเบกขาพรหมวิหาร ช่วยรักษาความยุติธรรม ให้สังคม ได้อย่างไร ข้อนี้เห็นได้ไม่ยากครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เราไปดูกระบวนการยุติธรรม ของบ้านเมือง คนที่ทำผิดกฎหมาย คนนั้นก็ต้องได้รับโทษ ตามกระบวนการยุติธรรม โดยไม่มีการยกเว้น ไม่ว่าผู้ทำผิด จะเป็นใครก็ตาม

แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ก็ยังมีบุคคลจำนวนไม่ใช่น้อย ที่พยายามหาทางหลบหลีก เพื่อให้พวกพ้องของตนเอง หลุดรอด จากการเอาผิดทางกฎหมาย เช่น พยายามหาทางวิ่งเต้น ติดสินบนเจ้าพนักงาน เพื่อให้พวกพ้องของตนเอง พ้นจากความผิด เป็นต้น โดยไม่สนใจว่า สิ่งที่ตนทำนั้น จะถูกต้องหรือไม่

ถ้าบ้านเมืองเรา เป็นเสียอย่างนี้ ความยุติธรรม คงหาไม่ได้ในสังคม คนทำผิด ถ้ามีเงิน มีอำนาจ ก็พร้อมที่จะพลุดรอด จากการเอาผิดของกฎหมายได้ อย่างนี้ มันก็คงไม่ยุติธรรม สภาพของสังคม มันคงเป็นอย่างนี้ต่อไป ถ้าคนในสังคม ยังวางเฉยไม่เป็น เพราะไม่เคยนึกถึงเรื่อง กรรมใคร กรรรมมัน ท่องอยู่ได้แต่เพียงว่า ลูกฉัน หลานฉัน พรรคพวกฉัน จะผิดไม่ได้ จะถูกจับไม่ได้

ฉะนั้น ถ้าจะว่าไปแล้ว สภาพสังคมในปัจจุบันนี้ กำลังต้องการผู้ใหญ่ ที่มีใจเป็นอุเบกขา คือพร้อมที่จะวางเฉยได้ทันที ถ้าพบว่า ลูกตัว หลานตัว และพรรคพวกของตัว ทำผิดจริง จะไม่ปกป้องเอาไว้ ให้เสียความยุติธรรมของบ้านเมือง

ท่านเห็นหรือยังล่ะครับ ว่า อุเบกขาพรหมวิหารนั้น ช่วยรักษาความยุติธรรมให้บ้านเมืองได้อย่างไร
ทีนี้ มาพูดในแง่ ของการรักษาจิตใจ ของผู้เจริญอุเบกขาบ้าง ผู้ที่เจริญอุเบกขานั้น จะทำให้ มีความสุขใจ และมีความสบายใจ มากขึ้นกว่าเดิม


แต่เดิม อาจจะเคยเป็นทุกข์เป็นร้อน กับเรื่องราวของบุคคลรอบตัว เช่นลูกบ้าง หลานบ้าง พรรคพวกบ้าง ที่ไปเที่ยวก่อกรรม ทำความผิดเอาไว้ อาศัยที่เรามีเมตตา คือรักเขามาก ก็เลยต้องทำ ทุกวิถีทาง เพื่อปกป้องเขา ให้พ้นผิด ในกรณีเช่นนี้ ท่านถือว่า ใช้เมตตา ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้อง คือ ถ้าเขาทำถูก เราใช้เมตตาได้…..

แต่ถ้าเขาทำผิด เราต้องวางอุเบกขาเป็น อย่างนี้ต่างหาก จึงจะเป็นการสมควร และถูกต้องตามพุทธประสงค์ การที่เราจะวางอุเบกขาได้ ในกรณีเช่นนี้ เราต้องระลึก และยอมรับ ในเรื่องของกฎแห่งกรรมให้มากๆ ว่ากรรมใดก็ตาม ที่เรา หรือคนรอบตัวเรา ได้ทำไว้ ผู้ทำจะต้องเป็นผู้ได้รับผลทั้งสิ้น ในเมื่อกล้าทำ ก็ต้องกล้ารับ จะปัดความผิด ไปให้คนอื่นรับแทน หาได้ไม่….ต้องทำใจให้ได้อย่างนี้ แล้วท่าน ก็จะวางเฉยได้ และใจท่าน ก็จะเป็นสุข ไม่ต้องทุกข์ เหมือนแต่ก่อน

ที่มา : http://www.dhammathai.org/
ขอขอบคุณ http://board.palungjit.com/f16/กรรมฐานประจำวันเกิด-282973.html
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://account.payap.ac.th/
26400  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: กรรมฐานประจำวันเกิด เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2011, 01:53:56 pm

วันศุกร์ "ปางรำพึง"
                
กรรมฐานของคนที่เกิดวันศุกร์

ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องกรรมฐาน ที่เหมาะกับคนเกิดวันศุกร์ เรามาพูดถึงอุปนิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์กันก่อนดีกว่า
ดาวศุกร์ ตามหลักโหราศาสตร์ หมายถึง ความรักทางโลกีย์ สิ่งสวยงาม ความบันเทิง และอารมณ์ร่าเริง เป็นต้น นี่เป็นเรื่องของดาวศุกร์ทั้งนั้น


ฉะนั้น ลักษณะนิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์ ตามหลักโหราศาสตร์ ที่จะเห็นได้ค่อนข้างเด่นชัดก็คือ จะเป็นคนที่รักสวยรักงาม อารมณ์ร่าเริง ชอบร้องรำขับร้อง แต่ก็มีจุดอ่อน ที่ต้องคอยแก้ไขอยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่เป็นสุภาพสตรีที่เกิดในวันศุกร์ มักจะมีนิสัยที่เรียกได้ว่า อาจจะเป็นจุดอ่อนก็ว่าได้ มีอยู่ 2 เรื่อง คือ

1. เป็นคนค่อนข้างจะห่วงคนอื่น มากกว่าตัวเอง บางครั้งก็เอาเรื่องของคนอื่น เช่นความทุกข์ของคนรอบข้าง มาใส่ใจ จนกระทั่งทำให้ตัวเอง กินไม่ได้ นอนไม่หลับก็มี
2. เป็นคนที่มักจะเผลอไผล ในเรื่องของคำพูดคำจา อยู่เป็นประจำ เช่นคิดไว้อย่าง แต่เวลาพูด กลับพูดไปอีกอย่าง จนกระทั่งทำให้เกิดเรื่องให้ชวนขำอยู่บ่อยๆ
และนี่ก็คือ ลักษณะนิสัยโดยทั่วๆไป ของคนที่เกิดในวันศุกร์


กรรมฐานสำหรับคนที่เกิดวันศุกร์ ทีนี้มาพูดถึงกรรมฐาน ที่จะใช้แก้นิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์กันบ้าง ก็อย่างที่บอกในตอนต้นแล้วว่า ลักษณะนิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์นั้น ถ้าจะสรุปเป็นข้อๆ เพื่อหากรรมฐานมาแก้ได้ง่ายขึ้น ก็คงพอสรุป เป็นข้อๆได้ ดังต่อไปนี้
1. เป็นคนที่ติดในเรื่องของกามารมณ์ และสิ่งสวยงามต่างๆ
2. เป็นคนที่มักจะทุกข์กับเรื่องของคนอื่น มากจนเกินไป
3. เป็นคนที่มักจะเผลอไผล ในเรื่องของคำพูดคำจา


ในบรรดานิสัยทั้ง 3 ข้อนี้ กรรมฐานที่จะช่วยบรรเทาได้ ก็จะมีดังต่อไปนี้
1. ต้องใช้อสุภะ แก้เรื่องความติดใจ ในกามารมณ์
2. ต้องใช้อุเบกขาพรหมวิหาร แก้ในเรื่อง ชอบทุกข์กับเรื่องของคนอื่น มากเกินไป
3. ต้องเจริญสติปัฏฐาน เพื่อแก้นิสัยที่เผลอไผล


ทีนี้กรรมฐานแต่ละอย่างๆนั้น มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
กรรมฐานที่จะช่วยแก้นิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์

อุปนิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์ และก็ได้สรุปไว้ว่า นิสัยของคนที่เกิดวันศุกร์ แต่ละอย่างๆนั้น จะแก้ได้ ด้วยกรรมฐานหมวดใด โดยวิธีปฏิบัติ ในกรรมฐานแต่ละหมวดนั้น จะนำมาขยายความ กันในตอนนี้ โดยเริ่มจาก กรรมฐานหมวดแรก นั่นก็คือ….


อสุภกรรมฐาน
อสุภะ คำนี้ หมายถึง สิ่งที่ไม่สวยไม่งาม ซึ่งได้แก่ ซากศพต่างๆนั่นเอง
พวกซากศพต่างๆ สามารถนำมาใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน เพื่อแก้นิสัย ที่ติดในความสวยงาม ได้เป็นอย่างดี ใครก็ตาม ที่รู้ตัวว่า เป็นคนที่ติดในสิ่งสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องกามารมณ์ต่างๆ ท่านจะละเลยกรรมฐานข้อนี้ ไปไม่ได้เลย


ทีนี้ มาพูดถึงวิธีปฏิบัติกันบ้าง การที่เราจะนำเอาซากศพต่างๆ มาเป็นเครื่องเ
พ่งพิจารณานั้น ถ้าเอาศพจริงๆมาพิจารณา คงจะทำได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสมัยนี้ ถ้าเป็นในสมัยก่อน ยังพอได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเข้าไปพิจารณาศพในป่าช้า ยังพอทำได้ง่าย กว่าในปัจจุบัน แต่สำหรับปัจจุบันนี้ ถ้าใครอยากจะเจริญอสุภะ ท่านอาจจะใช้วิธี ไปหาภาพซากศพในลักษณะต่างๆ มาพิจารณาก็ได้

เมื่อได้ภาพมาแล้ว ก็ให้เอามาเพ่งดู แล้วจำภาพนั้นให้ได้ พร้อมกับให้น้อมพิจารณา เข้ามาหาตัวเอง ว่าอีกไม่นาน ถ้าเราตาย เราก็จะมีสภาพที่ไม่น่าดู ไม่น่าชม อย่างนี้เหมือนกัน อย่าว่าแต่รูปจะไม่น่าดูเลย แม้แต่กลิ่น ก็ไม่น่าพิศมัยเช่นกัน ใครว่ากลิ่นหมาเน่า มีกลิ่นเหม็นที่รุนแรง แต่กลิ่นศพ ของคนที่ตายแล้ว ก็รุนแรงไม่แพ้กัน ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว จะช่วยลดละความติดใจ ในเรื่องของกามารมณ์ ไปได้มากทีเดียว และนี่ก็คือกรรมฐานหมวดแรก ที่เหมาะกับคน ที่เกิดวันศุกร์

อุเบกขาพรหมวิหาร
ทีนี้ มาถึงนิสัยอย่างที่ 2 ของคนที่เกิดวันศุกร์ ก็คือนิสัยที่ชอบเป็นทุกข์เป็นร้อนแทนคนอื่นอยู่เรื่อยๆ ทั้งๆที่บางที เรื่องนั้น มันก็ไม่ได้เกี่ยวกับเราเลย แต่เราก็อดที่จะออกรับแทนเขาเสียมิได้ นิสัยอย่างนี้ กรรมฐาน ที่จะช่วยแก้ ได้ดีที่สุด คงไม่มีอะไรเกิน อุเบกขา ในพรหมวิหาร


ความจริง พรหมวิหาร มี 4 ข้อ แต่สำหรับในกรณีนี้ ให้เน้นที่อุเบกขาพรหมวิหารอย่างเดียว อุเบกขา ที่ว่านี้ ก็คือ การรู้จักทำใจวางเฉย เพราะมานึกถึง เรื่องกฎแห่งกรรม ว่าแต่ละคน ต่างมีกรรมเป็นของตัว ใครทำกรรมอะไรไว้ คนนั้นก็จะต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น ไม่มีใคร ช่วยใครได้

บางครั้งเราไปวิตกกับเรื่องของคนอื่นจนเกินไป โดยลืมคิดไปว่า เขาเหล่านั้น ก็ต่างมีกรรมเป็นของๆตัว และแต่ละคน ก็ต่างทำกรรมมาไม่เหมือนกัน ฉะนั้น ผลที่ได้รับ จะให้เป็นไปอย่างใจเราทุกอย่าง คงไม่ได้ เมื่อเรามานึก ถึงเรื่องกรรม ได้อย่างนี้ จะทำให้เรา วางใจเป็นกลาง ได้ง่ายขึ้น


ฉะนั้น ใครที่รู้ตัวว่า เป็นคนที่ชอบ เป็นทุกข์เป็นร้อน กับเรื่องของคนอื่น จึงควรมาเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร โดยการนึกถึงเรื่องกรรม ของแต่ละคน ให้มากๆ มันจะช่วยคลายเรื่องนี้ ไปได้เยอะทีเดียว

สติปัฏฐาน
ทีนี้ มานิสัยอย่างสุดท้าย คือนิสัย ที่พูดอะไร พลั้งๆ พลาดๆ อยู่เรื่อย บางทีคิดอย่าง แต่กลับพูดไปอีกอย่าง อย่างนี้ มีวิธีแก้ได้อย่างเดียว คือต้องเจริญสติให้มาก แบบฝึกหัดในการเจริญสติ ท่านเรียกว่า สติปัฏฐาน มีการฝึก ตั้งแต่หยาบที่สุด ไปจนกระทั่ง ละเอียดที่สุด แต่ที่อยากจะแนะนำในเบื้องต้นนี้ ให้ฝึกแบบหยาบๆไปก่อน เพราะฝึกง่าย ใครๆก็ฝึกได้ เพราะร่างกายมีอยู่ ทุกผู้ทุกคน


นิสัยที่ชอบพูดพลั้ง พูดพลาด ของคนที่เกิดวันศุกร์นั้น มีวิธีแก้อยู่อย่างเดียว คือต้องเจริญสติให้มาก และแบบฝึกหัดในการเจริญสติ ที่ดีที่สุด คงไม่มีอะไรดีเท่ากับ การเจริญสติ ตามแบบของสติปัฏฐาน ซึ่งมีแบบฝึกหัด การเจริญสติ ตั้งแต่หยาบที่สุด ไปจนกระทั่ง ละเอียดที่สุด

การเจริญสติ ตามหลักสติปัฏฐาน แบบฝึกหัดการเจริญสติ ตามนัยแห่งสติปัฏฐาน จริงๆแล้ว มีอยู่มากมาย ที่จะใช้เป็นแบบฝึก แต่คงไม่มีความจำเป็นอันใด ที่จะต้องนำมาใช้ทั้งหมด เอาเฉพาะที่เหมาะกับการใช้ชีวิตประจำวันของเราก็แล้วกัน จึงใคร่ขอแนะนำ 2 วิธี ให้ท่านได้ลองฝึกกันดู

วิธีแรก ให้ใช้ฝึก ในตอนที่ ร่างกายอยู่นิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว ในช่วงที่ร่างกายอยู่นิ่งๆนั้น ให้ท่านเอาสติ เข้าไประลึกรู้ อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก ซึ่งมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยให้ตามรู้ ตามดูลม ไปเรื่อย หายใจเข้าก็ให้รู้ หายใจออกก็ให้รู้ ( วิธีนี้ ท่านเรียกว่า อานาปานปัพพะ ) เวลาหายใจเข้า เข้าไปถึงไหน ก็ให้ตามรู้ อย่าให้พลั้ง

อย่าให้พลาดได้ เวลาหายใจออกก็เหมือนกัน หายใจออกไปถึงไหนแล้ว ก็ต้องตามรู้ ไปทุกระยะ แม้แต่ความสั้น-ยาว หยาบ-ละเอียด ของลมหายใจ ก็ต้องมีสติ รู้ตามให้ทัน ว่าอาการของลมหายใจ เป็นอย่างไร เรียกว่า ต้องมีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม ไปทุกอาการ ว่าอย่างนั้นเถอ

นี่คือ การฝึกเจริญสติ วิธีแรก ซึ่งให้ใช้ฝึก เวลาที่ร่างกายอยู่นิ่งๆ ไม่ได้เคลื่อนไหว แต่ธรรมชาติของร่างกาย จะให้มันนิ่งอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป โดยไม่ให้เคลื่อนไหว ก็คงเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะธรรมชาติของร่างกาย ย่อมมีเคลื่อนไหวบ้าง อยู่นิ่งบ้าง แล้วถ้าเวลาร่างกายเคลื่อนไหวล่ะ เราจะเจริญสติ ด้วยวิธีใด ? ก็ให้ฝึกเจริญสติ ด้วยวิธีที่ 2 ซีครับ

วิธีเจริญสติ แบบที่ 2 ก็คือ สัมปชัญญะปัพพะ คือให้มีสติ รู้การเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่าร่างกาย จะคู้เหยียด เคลื่อนไหว เหลียวซ้าย แลขวา หรือแม้แต่จะกิน ดื่ม พูด ก็ให้ทำไปด้วยความรู้ตัว อย่าปล่อยให้ร่างกายเคลื่อนไหว โดยไร้สติ หมายความว่า ให้มีสติ คอยกำกับการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ นี่เป็นวิธีการฝึก ในขณะที่ร่างกายเคลื่อนไหว

การฝึกเจริญสติทั้ง 2 แบบนี้ เราสามารถฝึกได้ตลอดเวลา โดยให้ฝึกสลับกัน เพราะตามปกติแล้ว ร่างกายของคนเรา ก็ต้องมีการเคลื่อนไหวบ้าง เมื่อเคลื่อนไหวมากๆ มันเกิดเมื่อย ก็ต้องพัก โดยการให้ร่างกายอยู่นิ่งๆ ในเมื่อร่างกาย มันนิ่งบ้าง เคลื่อนไหวบ้าง อย่างนี้ การที่เราฝึกเจริญสติ โดยใช้อานาปานปัพพะ ( การมีสติ ตามรู้ตามดูลมหายใจ ) กับ สัมปชัญญะปัพพะ ( การรู้อาการเคลื่อนไหวของร่างกาย ) สลับกันไป จึงเป็นวิธีที่เหมาะสม สำหรับคนทุกคน

วิธีนี้ สามารถฝึกได้ ตั้งแต่ตื่นนอน ไปจนกระทั่งหลับทีเดียว ใครที่ไม่เคยฝึก อยากจะให้ลองฝึกดู
ถ้าใครสามารถเจริญสติได้อย่างนี้ ตลอดทั้งวัน ท่านจะมีความรู้สึกว่า ชีวิตของท่าน มีความสุขมากกว่าแต่ก่อน มีสมาธิ ( ความสงบ ) มากกว่าแต่ก่อน อย่างเห็นได้ชัด และสำหรับคนที่มักจะทำอะไร หรือพูดอะไร ผิดพลาด พลั้งเผลออยู่เรื่อยๆ ถ้าท่านฝึกเจริญสติโดยวิธีนี้ ไปสักระยะ ท่านจะรู้สึกว่า ความพลั้งเผลอจะน้อยลง และถึงแม้จะมีเผลอบ้าง แต่ก็จะรู้ตัวได้เร็ว


ฉะนั้น การฝึกเจริญสติ จึงมีอานิสงส์ใหญ่อย่างนี้ ถ้าจะว่าไปแล้ว การฝึกเจริญสติ ตามแนวของสติปัฏฐานนั้น ไม่จำเพาะว่า คนวันศุกร์ ควรจะฝึกเท่านั้น แม้แต่คนที่เกิดวันอื่นๆ ก็ควรฝึกเช่นกัน เพราะ สติ ( ความระลึกได้ ) และสัมปชัญญะ ( ความรู้ตัว ) เป็นธรรมะ ที่มีอุปการะมาก และเป็นประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป ทั้งในระดับต้น จนระดับสูง การที่ใครก็ตาม รักษาสติอยู่ได้ตลอดเวลา

ผู้นั้นได้ชื่อว่า ตั้งอยู่ในอัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาท และความไม่ประมาทนี่แหละ พระพุทธเจ้าเปรียบว่า เหมือนกับรอยเท้าช้าง ทำไม ท่านจึงเปรียบความไม่ประมาท เหมือนกับรอยเท้าช้าง ? ก็เพราะว่า รอยเท้าช้าง เป็นรอยเท้าที่ใหญ่ สามารถเป็นที่รองรับรอยเท้าของสัตว์อื่นๆ ได้ทั้งสิ้น

อัปปมาทธรรม คือความไม่ประมาท ( การมีสติรักษาใจอยู่ตลอดเวลา ) ก็ย่อมเป็นที่รองรับคุณธรรมอื่นๆอีกมากมาย สุดที่จะคณานับเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ การเจริญสติ จึงถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ในพระพุทธ-ศาสนา ซึ่งเราไม่ควรจะละเลย ไม่ว่าจะเกิดวันไหนๆ ก็ควรจะได้ฝึกเจริญสติทั้งนั้น ฝึกเจริญแล้ว ประโยชน์ ก็เกิดแก่ผู้ปฏิบัติเองนั่นแหละ หาได้เกิดกับใครไม่

ที่มา : http://www.dhammathai.org/
ขอขอบคุณ http://board.palungjit.com/f16/กรรมฐานประจำวันเกิด-282973.html
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://account.payap.ac.th/
หน้า: 1 ... 658 659 [660] 661 662 ... 708