ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่  (อ่าน 8207 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2013, 10:00:07 am »
0
 ask1

เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่

   จัดเป็นพระพุทธศาสนา หรือ ไม่ เพราะเห็นว่า เหมือนเป็น ลัทธิหนึ่ง ที่กำเนิดโดย ท่านเว่ยหล่าง ใช่หรือไม่ ขอผู้รู้ช่วยมาแจกความรู้เรื่อง เซ็น หน่อยครับ

   และในประเทศไทย ใครนำ ระบบ เซ็น เข้ามาสอนและปฏิบัติ ครับ

   และหลักปฏิบัติของเซ็น มีอย่างไร ครับ

   thk56
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2013, 11:43:42 am »
0
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2013, 12:24:51 pm »
0


การศึกษาภาวนาเรียนรู้ได้ดีก็เฉพาะตนเท่านั้น แต่หากเรียนรู้ตรรกะล้นก็ฟุ้งจับต้นชนปลายไม่ถูก นั่นก็เป็นเรื่องของผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนเพียรบันทึกจดจำนำมาถกทะเลาะกันแยกครูอาจารย์สำนักขั่วค่ายต่างๆนานา ทำให้ว้าวุ่นวายใจพอสมควร หย่อน
กายนั่ง "พุท-โธ" นับพอ เหนื่อยให้วางว่างๆไว้ใจเป็นสุข พอครับ!




http://book.dou.us/doku.php?id=md101:3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2013, 12:45:32 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2013, 11:03:27 am »
0
น่าจะมีประโยชน์ คะ ไม่ใช่ มาเล่าเพื่อเถียงกัน คิดว่า หลักปฏิบัติ ถ้าทำให้สิ้นกิเลส สิ้นทุกข์ได้ ก็สนับสนุนคะ


  :s_hi: :13:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 12:48:25 pm »
0


เซ็น เป็นอะไรที่ไม่พูดมากฟาด ผัวะ! ผัวะ! รู้กัน หากยังโง่ก็ไร้วาสนามาเป็นศิษย์ พิจารณาแล้วอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่จะเรียนเซ็นได้ดีคงต้องมีบารมีติดตัวอยู่บ้าง หรือก็เป็นอะไรที่เหมาะกับผู้มีภูมิธรรมสูงพอตัว แนวคิดแบบเรียนรู้ฉับพลันแบบนี้ผมว่ายากอยู่พอสมควร อย่างเราท่านก็กำพระ เวทาสากุ ฯ 84,000 ไปก่อน เหตุผลไม่ต้องไปถาม ก็งี้แหละ! พูดมากเสียเวลา



http://book.dou.us/doku.php?id=md101:3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 15, 2013, 12:51:40 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

malee

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 52
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 12:56:23 pm »
0
กำพระ คือ อะไร คะ

เททาสากุ 84000 คือ อะไร คะ

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2013, 08:45:09 am »
0


ภาพพระโพธิธรรม ฝีมือของโยะชิโทะชิ (ค.ศ. 1877)

เซน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เซน (ญี่ปุ่น: 禅, ぜん; อังกฤษ: Zen) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน นับถือกันอย่างแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออก (จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี)

คำว่า เซน เป็นชื่อภาษาญี่ปุ่นของคำว่า ฉาน (จีน: 禅, Chán แต้จิ๋วออกเสียงว่า เซี้ยง) ในภาษาจีน ที่มาจากคำว่า ธฺยาน ในภาษาสันสกฤตอีกทอดหนึ่ง (ตรงกับคำว่า ฌาน ในภาษาบาลี) ซึ่งหมายถึง การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ มีจิตที่สงบและประณีต

เซน มีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย พัฒนาที่ประเทศจีน ก่อนที่จะถูกเผยแพร่มาสู่เกาหลีและเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ในช่วงระหว่างที่เผยแผ่มาสู่ญี่ปุ่น การฝึกตนของนิกายเซน เน้นที่การนั่งสมาธิเพื่อการรู้แจ้ง

ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 เซนยังได้เป็นปรัชญาในการดำรงชีวิต และรู้จักกันทั่วโลก โดยแสดงถึงแนวทางการใช้ชีวิต การทำงาน และศิลปะ

เซนยึดถือหลักปฏิบัติธรรมตามหลักของพระพุทธเจ้า ตามหลักของการฝึกสติ อริยสัจ 4 และมรรค 8 เซน ได้รับการยอมรับจากบุคคลที่ไม่ใช่พุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลนอกทวีปเอเชีย ที่สนใจในเซนสามารถศึกษาและปฏิบัติธรรมได้ และได้เกิดนิกายสายย่อยออกมาที่เรียกว่าคริสเตียนเซน


วัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักกันดี ได้แฝงเอาพุทธปรัชญา แบบเซนไว้อย่างแนบแน่น เช่น พิธีชงชา อิเคบานะ (การจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น) วิถีซามุไร คิวโด(การยิงธนูแบบญี่ปุ่น) แม้แต่แนวทางการเล่นโกะหรือหมากล้อมแบบญี่ปุ่น เป็นต้น





พระสังฆปริณายกในนิกายเซน
ตามคติของนิกายเซน ถือว่าธรรมเนียมของนิกายนี้ได้รับการสืบทอดจากพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釋迦牟尼佛) ผ่านทางพระอริยสงฆ์สาวกในสายของพระมหากัสสปะ โดยได้รับการถ่ายทอดธรรมะด้วยวิถีแห่ง "จิตสู่จิต" และรับมอบบาตร จีวร สังฆาฏิ ของพระพุทธเจ้าเป็นสัญลักษณ์สำคัญของตำแหน่ง จนมาถึงพระโพธิธรรมซึ่งเป็นผู้นำนิกายเซนจากอินเดียมาสู่จีน มีจำนวนทั้งสิ้น 28 องค์ ดังนี้

    ๑.พระมหากัสสปะ Móhējiāyè 摩訶迦葉
    ๒.พระอานนท์ Ānántuó 阿難陀
    ๓.พระศาณวาสะ Shāngnàhéxiū 商那和修
    ๔.พระอุปคุต Yōupójúduō 優婆掬多
    ๕.พระธฤตก Dīduōjiā 提多迦
    ๖.พระมิจกะ Mízhējiā 彌遮迦
    ๗.พระวสุมิตร Póxūmì 婆須密
    ๘.พระพุทธานันทิ Fútuónándī 浮陀難提
    ๙.พระพุทธมิตร Fútuómìduō 浮陀密多
    ๑๐.พระปารศวะ Pólìshīpó 婆栗濕婆
    ๑๑.พระปุณยยศัส Fùnàyèshē 富那夜奢
    ๑๒.พระอานโพธิ/พระอัศวโฆษะ Ānàpútí 阿那菩提 (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)
    ๑๓.พระกปิมละ Jiāpímóluó 迦毘摩羅
    ๑๔.พระนาคารชุนะ Lóngshù 龍樹 (นับถือว่าเป็นพระมหาโพธิสัตว์)
    ๑๕.พระอารยเทวะ Jiānàtípó 迦那提婆
    ๑๖.พระราหุลตะ Luóhóuluóduō 羅睺羅多
    ๑๗.พระสังฆนันทิ Sēngqiénántí 僧伽難提
    ๑๘.พระสังฆยศัส Sēngqiéshèduō 僧伽舍多
    ๑๙.พระกุมารตะ Jiūmóluóduō 鳩摩羅多
    ๒๐.พระศยต Shéyèduō 闍夜多
    ๒๑.พระวสุพันธุ Shìqīn 世親
    ๒๒.พระมโนรหิตะ Mónáluó 摩拏羅
    ๒๓.พระหเกฺลนยศัส Hèlèyènàyèzhě 鶴勒夜那夜者
    ๒๔.พระสิงหโพธิ Shīzǐpútí 師子菩提
    ๒๕.พระวสิอสิต Póshèsīduō 婆舍斯多
    ๒๖.พระปุณยมิตร Bùrúmìduō 不如密多
    ๒๗.พระปรัชญาตาระ Bānruòduōluó 般若多羅
    ๒๘.พระโพธิธรรม Pútídámó 菩提達磨


หลังจากพระโพธิธรรมนำศาสนาพุทธนิกายเซนจากอินเดียเข้ามาสู่ประเทศจีนแล้ว จึงมีการสืบทอดธรรมและตำแหน่งพระสังฆนายกในจีนต่อมาอีก 6 องค์ (หนังสือบางแห่งนับว่ามี 7 องค์) ดังนี้



ขอบคุณภาพและบทความจาก
th.wikipedia.org/wiki/เซน
http://www.destinythai.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2013, 08:56:09 am »
0

นิกายเซน

คำเซน เป็นภาษาญี่ปุ่น มาจากเสียงจีนว่า “เสี้ยง” และเสียงกลางว่า “ฉัน” คือ “ฌาน” นั่นเอง นิกายนี้เจริญมาก แม้กระทั่งในปัจจุบันก็ยังแพร่หลายไปในยุโรป – อเมริกา ผู้ต้นนิกายชื่อ โพธิธรรม ชาวอินเดียภาคใต้ จาริกไปเมืองจีนสมัยต้นศตวรรษที่ 10

ความเป็นมาของนิกายได้ท้าวความไปถึงครั้งพุทธกาล คือ เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ ทรงชูดอกไม้ขึ้นดอกหนึ่งท่ามกลางธรรมสภา โดยมิได้ตรัสอะไรเลย ที่ประชุมไม่มีผู้ใดเข้าใจความหมาย เว้นแต่พระมหากัสสปนั่งยิ้มน้อยๆ อยู่ พระศาสดาจึงตรัสว่า กัสสป ตถาคตมีธรรมจักษุได้ และนิพพานจิต (โปรดสังเกตคำนี้ พวกเซนถือเอาจิตเป็นนิพพาน) ตถาคตมอบหมายให้แก่เธอ ณ บัดนี้

พวกเซนจึงเคารพพระกัสสปว่า ผู้ให้กำเนิดนิกาย ต่อมาได้มีอาจารย์ปรัมปราสืบเนื่องกัน ถึงพระโพธิธรรม ลำดับที่ 28 เมื่อมาสู่เมืองจีนแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าเหลียงบูฮ่องเต้ ตรัสถามว่า
    ข้าพเจ้าได้สร้างวัดบวชพระเป็นจำนวนมาก ไม่ทราบว่าจะมีอานิสงส์มากเพียงไร
    ท่านตอบว่าไม่มีเลย เพราะกุศลกรรมเหล่านั้นเป็นวัฏฏคามี ฮ่องเต้ไม่ทรงพอพระทัยจึงไม่ทรงอุปถัมภ์
    พระโพธิธรรมจึงไปจำพรรษา ณ วัดเซียมลิ่มยี่ นั่งเข้าฌานหันหน้าเข้าฝาผนังอยู่ 9 ปี
    ต่อมาท่านจึงได้มอบหมาย ลัทธิของท่านให้สมณจีนตั้งเป็นนิกายเซนขึ้น มีคำโฆษณาสั้น ๆ ว่า
         ไม่ต้องอาศัยตัวอักษร
         ชี้ตรงไปที่ดวงจิตของมนุษย์
         เห็นแจ้งในความจริงสำเร็จเป็นพุทธ



นิกายเซนถือว่า การบรรลุมรรคผลนั้น ไม่ใช่อยู่ที่ตัวบทอักษร หรือความรู้ในด้านปริยัติแต่ต้องอยู่ที่การขัดเกลาจิตของตนเป็นสำคัญ
    แม้ทรงพระไตรปิฎกแต่รุงรังภายในก็ใช้ไม่ได้ นิกายนี้เกิดก็มีสิ่งกระตุ้น
    กล่าวคือ นิกายอื่นหนักไปในทางหลักปรัชญา การปฏิบัติจึงหย่อนไป
    นิกายเซนต้องการพื้นทางปฏิบัติขึ้น จึงมีวาจาที่ดุจเป็นดาบสองคม ชนิดที่บั่นทอนอย่างไม่ไว้หน้า
    เช่น เรียกอาจารย์ทรงพระไตรปิฎกว่า ฟุ้งซ่าน


    อีกอย่างหนึ่ง นิกายเซน ถือว่าเป็นนิกายแห่งปัญญาวิมุติ มุ่งสอนให้เป็นสุขโดยเห็นว่าการหลุดพ้น
    ไม่จำเป็นต้องผ่านพระไตรปิฎกมาเลย ไม่จำเป็นต้องเจริญไตรสิกขาตามลำดับเลย
    ใครก็ตามรู้แก่นแท้แห่งจิตใจของตนเองว่า เป็นอะไร เขาก็หลุดพ้นแล้ว
    นิกายนี้จึงถือปัญญาเป็นสำคัญ ใครมีปัญญา คือ สมาธิดีเองโดยธรรมชาติ ดีกว่ามีศีลสมาธิแต่ขาดปัญญา

นิกายเซนมีอุบายวิธีต่าง ๆ ที่จะชักจูงให้บุคคลรู้แจ้งในธาตุพุทธของตน บางวิธีดูจะรุนแรงมาก เช่น ครั้งหนึ่ง เป็นฤดูหนาว อาจารย์เซนชื่อ ตังเฮียะ อุ้มพระพุทธรูปไม้จันทร์มาเผาไฟกลางคืนหน้าโบสถ์ สมภารเห็นเข้า ก็ตำหนิเอา ถามว่า
     ท่านจะเผาพระพุทธรูปหาอะไร
     หาบรมธาตุ
     สมภารว่าก็พระพุทธรูปไม้จะหาพระธาตุได้อย่างไร
     ตอบว่า ถ้าหาไม่ได้ผมจะขออุ้มมาเผาอีก 2 – 3 องค์
     เพียงเท่านี้สมภารก็มีดวงตาเห็นธรรมบรรลุภูมิตรัสรู้


หมายความว่า จะหาพุทธภายนอกไม่ได้ พุทธอยู่ในใจของเราเอง วัตถุบูชาเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น นิกายเซนชอบผูกปริศนาธรรมให้ผู้ปฏิบัตินำไปขบคิดเช่น “สะพานไหลน้ำไม่ไหล หน้าตาดั้งเดิมก่อนพ่อแม่ให้กำเนิดเป็นอย่างไร อู้จุงง้อนี้คือใคร ใครกำลังดื่มน้ำชาอยู่” ใครตอบปัญหาเหล่านี้ออก ผู้นั้นก็บรรลุภูมิตรัสรู้



ท่านเว่ยหลาง : สรีระธาตุขันธ์ ไม่เน่าเปื่อยมาหลายร้อยปี ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วัดหนันฮว๋า ประเทศจีน


นิกายเซนมาเจริญสูงสุดในสมัยคณาจารย์ ฮุยเล้ง หรือเว่ยหล่าง ท่านผู้นี้เดิมมีอาชีพเป็นคนตัดฟืน อยู่ในปจันตคามชนบทภาคใต้ของจีน ต่อมาเดินทางไปศึกษาลัทธิเซนในสำนักคณาจารย์โฮ้งยิ้น ในสำนักมีศิษย์จำนวนมาก คณาจารย์โฮ้งยิ้น จึงบอกให้ศิษย์ทั้งหลายเขียนความรู้สึกที่ตนได้รับจากการปฏิบัติเซน เพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกว่า ผู้ใดสมควรแก่การรับมอบตำแหน่งเจ้านิกายเซน ในเวลานั้นมีศิษย์ตัวเก็งที่สำคัญอยู่ 2 ท่าน คือ ท่านซินเซารูปหนึ่ง ท่านฮุ่ยเล้งรูปหนึ่ง ท่านซินเซาเขียนเป็นบทกลอนว่า
     ชิงสีภูพีซิว กายเราคือต้นโพธิ
     ซิมหยุเม้งเกียไท้ ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
     ชีชีขิ้นฮกฉิก หมั่นปัดกวาดอยู่บ่อย ๆ
     ไม่ใส่เยียติงอาย อย่าให้ฝุ่นละอองลงจับได้


คณาจารย์โฮ่งยิ้น พิจารณาบทกลอนอยู่ครู่หนึ่ง แล้วกล่าวว่าผู้แต่งกลอนนี้มีภูมิปริยัติดี ทำให้ศิษย์ส่วนหนึ่งคิดว่าท่านซินเซาจะได้เป็นคณาจารย์แน่ แต่คอย ๆ ยังไม่เห็นแต่งตั้งกัน วันหนึ่งท่านฮุ้ยเล้ง ผ่านมาพบ อ่านไม่ออก จึงวานให้เด็กวัดคนหนึ่งอ่านให้ฟัง แล้วก็วานเด็กให้เขียนกลอนนั้นตามคำบอกดังนี้
     ภูมีมุ้มฮุยชิว แต่เดิมไม่มีต้นโพธิ์
     เม่งเกียเอียฮุยไท้ กระจกเงาเดิมไม่เป็นกระจกเงา
     บุ้งไล้บอเจ็กบ่วย ความจริงไม่มีอะไรสักสิ่งหนึ่งเลย
     ห่อฉู่เยียติงอาย แล้วฝุ่นละอองจะลงที่ตรงไหน

คณาจารย์โฮ่งยิ่นเห็นบทกลอนนี้เข้า ตกดึกคืนนั้นจึงเรียกท่านฮุ้ยเล้งไปพบที่กุฏิ แล้วกล่าวชมว่าฮุยเล้งเข้าถึงแก่นปฏิบัติ จึงขอมอบตำแหน่งเจ้าคณะให้ โดยมีบาตรและจีวรผืนหนึ่งเป็นเครื่องหมาย และสั่งให้ท่านออกจากวัดเพื่อกลับมาตุภูมิ เพราะกลัวอันตรายจากผู้ที่พลาดหวังในตำแหน่ง ท่านฮุ้ยเล้งจึงมาตั้งสำนักใหม่อยู่ที่ วัดนำพัวยี่ มณฑลกวางตุ้งของจีนใต้

นิกายเซนจึงแบ่งออกเป็นสองสาย คือ
    - สายใต้ มีท่านฮุ้ยเล้งเป็นประมุข
    - สายเหนือ มีท่านซินเซาเป็นประมุข


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.baanjomyut.com/library_2/zen/index.html
http://www.manager.co.th/ , http://image.dek-d.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2013, 09:10:53 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2013, 09:40:12 am »
0


   
     กลอนของท่านซินเซา
     กายเราคือต้นโพธิ
     ใจของเราคือกระจกเงาอันใส
     หมั่นปัดกวาดอยู่บ่อย ๆ
     อย่าให้ฝุ่นละอองลงจับได้


     กลอนของท่านฮุ้ยเล้ง หรือเว่ยหลาง
     แต่เดิมไม่มีต้นโพธิ์
     กระจกเงาเดิมไม่เป็นกระจกเงา
     ความจริงไม่มีอะไรสักสิ่งหนึ่งเลย
     แล้วฝุ่นละอองจะลงที่ตรงไหน


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ 
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

     [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ
     [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ
     [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา ฯ

_____________________________________________________
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=161&Z=209
ขอบคุณภาพจาก http://su-usedbook.tarad.com/ , http://www.buddhadasa.org/




   เพื่อนๆครับ ลองเปรียบเทียบ กลอนเซนของทั้งสองท่านกับข้อธรรมในพระสูตรดู
   กลอนของท่านซินเซา  -  จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่จรมา
   กลอนของท่านฮุ้ยเล้ง  -  จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา

   ใครเป็นอรหันต์...?

    :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2013, 10:22:54 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า

lamai54

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 138
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 09:59:16 am »
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า
แข่งขันในโครงการ yamaha นะฮะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพวกเสื้อแดง.... เราไม่ใช่....

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 01:59:01 pm »
0
เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่ เพราะเห็นว่า เหมือนเป็น ลัทธิหนึ่ง ที่กำเนิดโดย ท่านเว่ยหล่าง



เซ็น เป็นศาสตร์คำสอนแห่งพุทธจิตบุคคล หากแต่ถูกตีความในแนวคิดเป็นธัมมานุสสรณะ หากจะกล่าวว่าเป็น สัทธิ ออกจะหนักข้างไป ครับ!



http://book.dou.us/doku.php?id=md101:3
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 19, 2013, 02:04:07 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เซ็น ใช่พระพุทธศาสนา หรือไม่
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2013, 03:27:07 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย