ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: 'มาสก กหาปณะ'  (อ่าน 1407 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28418
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
'มาสก กหาปณะ'
« เมื่อ: กันยายน 08, 2014, 11:16:30 am »
0


'มาสก กหาปณะ' : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

ตำรวจโพนพิสัยบุกรวบพระลูกวัดยอดแก้ว หลังใช้เด็กวัยเพียง ๑๓-๑๖ ปี ตระเวนลักทรัพย์ตามบ้านเรือนชาวบ้าน

ตำรวจสืบเมืองจับพระวัดหนองปลิงไปสึก หลังก่อเหตุลักทรัพย์ภายในวัดกลางดึก ๒๗ ปี อดีตพระลูกวัดบางเดื่อ หมู่ ๔ ต.บางเดื่อ พร้อมตู้รับบริจาคสเตนเลส

จับพระเสพยาบ้า ฉกกุญแจบ้านพระพี่เลี้ยงไปไขกุญแจกวาดทรัพย์ ทองรูปพรรณ และปืน เร่ขายเอาเงินมาให้แฟนรักษาสิว

 :96: :96: :96: :96:

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของ "พระก่อคดีลักทรัพย์" ที่มีพฤติกรรมไม่ต่างจากฆราวาส ซึ่งในสิกขาบทปาราชิกที่ ๒ ภิกษุถือเอาทรัพย์ของผู้อื่นด้วยอาการแห่งขโมย ด้วยมูลค่าของทรัพย์ ๕ มาสก จึงเป็นที่ตั้งของอาบัติปาราชิก ถ้าต่ำกว่านั้นไม่ถึงอาบัติปาราชิก แต่เป็นอาบัติรองลงมา คือ อาบัติถุลลัจจัย และทุกกฏ

การกำหนดโทษที่หนัก คือ ขาดจากความเป็นพระภิกษุ (ปาราชิก) ต้องมีมูลค่าสูง คือ ยุคนั้น ทางบ้านเมืองกำหนดโทษของผู้ที่ขโมยของผู้อื่น สิ่งของนั้นจะต้องมีมูลค่า ๕ มาสกขึ้นไป สำหรับทางธรรมก็เช่นกัน จะต้องโทษหนัก วัตถุที่ขโมยต้องมีมูลค่า ๕ มาสก  จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก

สำหรับการเทียบราคาในปัจจุบัน มีการวินิจฉัยที่แตกต่างกันตามยุคสมัย แต่ที่ถือเป็นมาตรฐานทุกยุคคือ น้ำหนักทองคำกับข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ด คือ เอาข้าวเปลือก ๒๐ เมล็ดมาชั่ง ได้น้ำหนักเท่าไรให้คำนวณเป็นมูค่าเงิน


 ans1 ans1 ans1 ans1

คำว่า มาสก (มา-สก) พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้ให้ความไว้ว่า เป็นชื่อมาตราสกุลเงินที่ใช้ในสมัยพุทธกาลเช่นเดียวกับคำว่า กหาปณะ

มาสก มีอัตราเทียบเงินไทย คือ ๑ มาสกเท่ากับ ๒๐ สตางค์ ๕ มาสก เท่ากับ ๑ บาท

มาสก ถูกกำหนดในพระธรรมวินัยที่ว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ โดยตีราคาของเป็นมาสก กล่าวคือ ภิกษุลักสิ่งของที่เจ้าของมิยินยอมให้อันมีราคาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป เป็นความผิดสูงสุด คือ ต้องอาบัติปาราชิกขาดจาดความเป็นพระ หากสิ่งของนั้นมีค่าต่ำกว่า ๕ มาสก มีความผิดลดหลั่นลงมา


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

ส่วนคำว่า "กหาปณะ" (สันสกฤต : กษาปณ) เจ้าคุณทองดีได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นคำเรียกเงินตราทำด้วยโลหะที่ใช้ในสมัยพุทธกาล เป็นเงินตราโลหะชนิดแรกของอนุทวีปอินเดีย เทียบคำว่า กษาปณ์ ในปัจจุบัน

กหาปณะ มีอัตราเทียบเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตำลึง หรือ ๔ บาทไทย

กหาปณะ มีปรากฏอยู่ในพระวินัยว่าด้วยเรื่องการลักทรัพย์ คือภิกษุจงใจลักทรัพย์ที่มีราคา ๕ มาสก หรือ ๑ บาทขึ้นไป ต้องอาบัติสูงสุดคือปาราชิก หากมีราคาต่ำกว่านั้นก็มีความผิดลดหลั่นลงมาตามราคาทรัพย์


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140905/191509.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ