ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: นครคีรีวัน นครบาลี  (อ่าน 4528 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
นครคีรีวัน นครบาลี
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 11:25:52 am »
0
วิทยาธรคืออะไร (ตอน ๑) โดย..พระคันธสาราภิวงศ์
___________________________________________________
๏ วิทยาธร แปลตามศัพท์ว่า "ผู้ทรงวิทยาคม" คือ ผู้มีความสามารถพิเศษที่เหาะเหินเดินอากาศ รู้ใจผู้อื่น มีอายุยืนยาวนานมากกว่าคนทั่วไป
๏ ตำราพม่ากล่าวว่า วิทยาธรมี ๓ จำพวก คือ
๑. ดาบวิทยาธร คือ วิทยาธรที่มีดาบศักดิ์สิทธิ์ เหาะได้ด้วยดาบ
๒. มนต์วิทยาธร คือ วิทยาธรที่มีมนต์ศักดิ์สิทธิ์ เหาะได้ด้วยมนต์
๓. เภสัชวิทยาธร คือ วิทยาธรที่มียาศักดิ์สิทธิ์ เหาะได้ด้วยยา
๏ มนต์ที่สอนให้เป็นวิทยาธรนั้น มีมนุษย์สอนให้บ้าง เทวดาหรือยักษ์สอนให้บ้าง จะเห็นได้ว่า โจรองคุลิมาลตอนอยู่ในป่าพบกับยักษ์ที่เคยเป็นสหายของตน ยักษ์จึงสอนมนต์ให้โจรองคุลิมาล ทำให้เขาวิ่งเร็วกว่าลม มีกำลังมากกว่าช้างสาร ไม่มีใครปราบได้ แม้พบกองทัพเป็นร้อยพันคนก็สามารถต่อสู้ได้
๏ นอกจากนั้น ในอัมพัฏฐสูตรมีเรื่องเล่าของฤษีคนหนึ่ง ชื่อว่า กาฬะ เป็นบุตรของนางทาสี ต่อมาเป็นเรียนมนต์เป็นวิทยาธร สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ด้วยมนต์
๏ ส่วนเภสัชวิทยาธรเป็นคนที่กินยาอยู่ในหลุม ๓ ปีโดยไม่ออกมาจากหลุมเลย เมื่อครบ ๓ ปีแล้วญาติพี่น้องจึงขุดออกจากหลุมมารักษาเลี้ยงดูให้ดี ถ้ารอดชีวิตได้ด้วยการเลี้ยงดูถูกวิธี เขาจะกลายเป็นเภสัชวิทยาธรที่เหาะเหินเดินอากาศไ้ด้เช่นกัน
๏ ในประวัติศาสตร์ของพุกาม มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับเภสัชวิทยาธรว่า มีเภสัชวิทยาธรคนหนึ่งฝังตัวอยู่ในในหลุมกินยาเพื่อเป็นวิทยาธร ต่อมาตัวของเขาเล็กลงเหมือนเด็กอายุไม่กี่ขวบ แล้วบังเอิญมีสองพี่น้องหาของป่าไปพบเข้าในป่า
๏ สองพี่น้องเคยได้ยินว่า ถ้าฆ่าวิทยาธรแล้วกินเนื้อเขา ก็จะกลายเป็นคนมีอิทธิฤทธิ์ จึงฆ่าวิทยาธรคนนี้แล้วกินเนื้อ ส่งผลให้ทั้งสองคนกลายเป็นคนมีอิทธิฤทธิ์ คนหนึ่งสามารถหายตัวได้ คนหนึ่งวิ่งเร็วเหมือนลม
๏ ในสงครามระหว่างพระเจ้ามนูหากับพระเจ้าอโนรธามังช่อ ทั้งสองคนถูกฆ่าตายแล้วทำให้เป็นผีเฝ้ากำแพงเมืองของพระเจ้ามนูหา ส่งผลให้พระเจ้าอโนรธามังช่อไม่อาจตีเมืองสะโทงได้เพราะมีผีคุ้มกันอยู่
๏ ในที่สุดพระเจ้าอโนรธามังช่อต้องแก้เคล็ดด้วยวิธีไสยศาสตร์ โดยปราบผีสองพี่น้องก่อน ต่อจากนั้นจึงสามารถตีเมืองสะโทงได้สำเร็จ
เครดิต : พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ ธรรมาจริยะ

คีรีวัน มารัญชยะ คำว่า วฺยนฺตร (วยันดร) บางทีก็หมายถึงรุกขเทวดา (A deity haunting in a tree) เทพเจ้าป่า (forest god) เทพพื้นเมือง (folk deity) ดังปรากฏข้อความในปัญจตันตระว่า อถ ตตฺร วฺฤกฺเษ กศฺจิทฺ วฺยนฺตระ สมาศฺริตฺย อาสีตฺ. (pañcat.5 kathā 7) "ที่ต้นไม้นั้นมีรุกขเทวดาตนหนึ่งอาศัยอยู่" ในภาษาปรากฤตมีรูปเป็น มํตร (mam̃tara) หรือ มนฺตร (mantara)¹ ดังปรากฏข้อความในกัลปสูตร ไชนจริตว่า :- ตเอ นํ เส สิทฺธตฺเถ ขตฺติเอ ภวณวอิ-วาณ-มํตร-โชอิส-เวมาณิเอหึ เทเวหึ...

_________________

¹ ที่เป็นดังนี้เพราะเสียง ว - ม อาจใช้แทนกันได้ในบางท้องถิ่น ยกตัวอย่าง skr. วยํ (วยมฺ) - pl. มยํ / skr. มีมำสา - pl. วีมํสา / skr. ทฺราวิฑ (Dravidian) - pl. ทามิฬ / pkr. อาเวล - pkr. อาเมล (Agarland; chaplet worn on the head) / pl. อนมตคฺค - pkr. อณวทคฺค / skr. มนฺมถ - pkr. วมฺมห / pl. , skr. เอวํ (เอวมฺ) - ap. เอม / skr. ปริชฺมา - skr. ปริชฺวา (etc.) คำนี้สำเร็จมาจาก ปริ+√ชุ+กนินฺ (กนฺ) ปัจจัย โดยเอา อุ เป็น ว ตามมติของท่านอุชชวลทัตตะ แต่ตามมติของนักไวยากรณ์ท่านอื่นๆ ประสงค์เอาเพียงรูปว่า ปริชฺมา เท่านั้น โดยสำเร็จมาจาก ปริ+√ชนฺ (หรือ √ชนี)+กนินฺ (กนฺ) ลบอุปธาของธาตุ (สระที่ถัดจากพยัญชนะที่สุดธาตุเข้ามา คือ อ ที่ ชฺ) และแปลง น ที่สุดธาตุเป็น ม ลบ ก อนุพันธ์ ได้รูปเป็น ปริชฺมนฺ (1 sing. ปริชฺมา) มีผู้คัดค้านมติของอุชชวลทัตตะไว้ดังนี้

เกจิตฺตุ โชรฺยณาเทเศ ปริเชฺวติ พภาษิเร |
น ตตฺ สาธุ ยโต ลกฺษฺยวิโรธะ สรฺวตะ สฺผุฏะ ||
(A.p. 1.816)

๏ “อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปริชฺวา ดังนี้ เพราะแปลง อุ ของ ช เป็น ว แต่คำนั้นไม่ดี เพราะผิดจากสูตรที่ปรากฏทั่วไป”

๏ ความเห็นนี้เป็นของท่านเปรุสูริผู้รจนาเอาณาทิกปทารณวะ อีกมติหนึ่งมีกล่าวถึงในเปฺราฒมโนรมาโดยระบุถึงท่านอุชชวลทัตตะไว้โดยตรงดังนี้

๏ อุชฺชฺวลทตฺตสฺตุ ปริเชฺวติ ปฐิตฺวา ชุ อิติ เสาโตฺร ธาตุะ ปริปูรฺวะ ยณาเทศะ
ปริชฺวา จนฺทฺร อิตฺยาห | ตลฺลกฺษฺยวิโรธาทุเปกฺษฺยมฺ || (P.m. 763)

๏ “ส่วนท่านอุชชวลทัตตะออกเสียงเป็น ปริชฺวา แล้วกล่าวว่า เป็น √ชุ
เสาตรธาตุ (ธาตุที่ปรากฏในสูตร) มี ปริ เป็นบทหน้า แปลง อุ เ ป็น ว ได้รูปเป็น
ปริชฺวา หมายถึง พระจันทร์ คำนั้น ควรพิจารณาเพราะผิดจากสูตรที่ท่านกำหนดไว้”
๏ ที่จริงเมื่อว่าตามหลักสัทศาสตร์แล้ว ความเห็นของอุชชวลทัตตะก็ไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด เพราะบางท้องถิ่นอาจจะออกเสียง ม เป็น ว นั่นเอง

*skr. = สันสกฤต *pl. = บาลี * pkr. = ปรากฤต *ap. = อปภรังศะ

คีรีวัน มารัญชยะ วจนัตถะของ วฺยนฺตร : วิวิเธษุ ไศลกนฺทรานฺตรวนวิวราทิษุ ปฺรติวสนฺตีติ วฺยนฺตราะ. เรียกว่า วยันตระ เพราะอาศัยในสถานที่ต่างๆ ได้แก่ระหว่างภูเขาหิน ซอกเขา และโพรงไม้เป็นต้น

คีรีวัน มารัญชยะ (เพิ่มเติมรายละเอียดภาษาปรากฤตจาก..ภวณวอิ-
วาณ-มํตร-โชอิส-เวมาณิเอหึ เทเวหึ...)

๏ ภวณวอิ (ภวนปติ) เป็นชื่อของเทพกุมารมีกล่าวถึงในคัมภีร์ของไชนะ ๑๐ ชื่อด้วยกันได้แก่ อสุร, นาค, วิทยุตฺ (ตฑิต), สุปรฺณ, วหฺนิ, วายุ (อนิล), สฺตนิต, อุทธิ, ทฺวีป, ทิกฺกุมาร ดังที่อภิธานจินฺตามณิกล่าวไว้ว่า

อสุรา นาคาสฺตฑิตะ สุปรฺรกา วหฺนโย’นิลาะ สฺตนิตาะ |
อุทธิทฺวีปทิโศ ทศ ภวนาธีศาะ กุมารานฺตาะ | อภิ.จินฺต.2.4

๏ โชอิส (โชฺยติษฺก) เป็นชื่อของเทพกลุ่มดาวมี ๕ คือ จนฺทฺร, อรฺก, คฺรห, นกฺษตฺร, ตารก

๏ เวมาณิอ (ไวมานิก) เป็นชื่อของเทพที่มีวิมานเป็นที่อยู่แบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่คือ กัลปภวะ และ กัลปาตีตะ

๏ กัลปภวเทพมี ๑๒ คือ เสาธรฺมช, ไอศานช, สนตฺกุมารช, มาเหนฺทฺรช, พฺรหฺมช, ลานฺตกช, มหาศุกฺรช, มหสฺรารช, อานตช,
ปฺราณตช, อารณช, อจฺยุตช

๏ กัลปาตีตเทพมี ๑๔ แบ่งเป็นไคฺรเวยก ๙ และ อนุตฺตร ๕ ดังที่อภิธานจินฺตามณิแสดงไว้ดังนี้

โชฺยติษฺกาะ ปญฺจ จนฺทารฺกคฺรหนกฺษตฺรตารกาะ
ไวมานิกาะ ปุนะ กลฺปภวาทฺวาทศ เต ตฺวมี |

เสาธรฺเมศานสนตฺกุมารมาเหนฺทฺรพฺรหฺมลานฺตกชาะ
ศุกฺรสหสฺรารานตปฺราณตชา อารณาจฺยุตชาะ |

กลฺปาตีตา นว ไคฺรเวยกาะ ปญฺจ ตฺวนุตฺตราะ | อภิ.จินฺต.2.6-7-8

๏ ส่วน วาณ ในอภิธานราเชนฺทฺรเล่มที่ 6 หน้า 1070 ว่าได้แก่ ไทตฺย (แทตย์) จำพวกหนึ่ง (ไทตฺยเภเท)
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
นครคีรีวัน นครบาลี วิทยาธรคืออะไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2014, 11:30:37 am »
0
วิทยาธรคืออะไร (ตอน ๒) โดย..พระคันธสาราภิวงศ์
___________________________________________________
๏ ชาวพม่าสนใจเรื่องลึกลับไม่น้อย มีตำราพม่าเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติให้เป็นวิทยาธรหลายเล่ม บางเล่มกล่าวว่า บุคคลบรรลุความเป็นวิทยาธรด้วยวิธี ๑๒ อย่าง นอกไปจาก ๓ อย่างที่กล่าวมาแล้ว คือ สมถภาวนาที่เป็นการดูลมหายใจ การชักลูกประคำด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณ ยันต์ โหราศาสตร์ และการเล่นแร่แปรธาตุ เป็นต้น
๏ การเล่นแร่แปรธาตุ คือ การพยายามทำโลหะที่มีค่าต่ำเช่นตะกั่วให้กลายเป็นทองคำตามความเชื่อแต่โบราณ (ราชบัณฑตยสถาน หน้า ๗๔๑) ปัจจุบันแทบไม่มีในเมืองไทยแล้ว แต่ในพม่ายังพอมีอยู่บ้างตามบ้านนอก
๏ คนเล่นแร่แปรธาตุจะเอาตะกั่วมาใส่ในภาชนะใต้เตาไฟ มีลูกสูบเป่าลมเข้าสู่เตาไฟตลอดเวลา เขาจะต้องดูแลให้ไฟในเตาลุกโพรงตลอดเวลา ยกเว้นเวลาพักผ่อนเท่านั้น
๏ ในประวัติของมันลีสยาดอ (พระชวนเถระ) เมืองมันลี รัฐฉาน กล่าวว่า ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ มีพระลูกวัดรูปหนึ่งพำนักอยู่ในวัดของท่าน ชื่อว่า พระญาณะ ท่านญาณะชอบเล่นแร่แปรธาตุจนถึงระดับเสพติด ได้รื้อกุฏิไม้ของวัดทิ้งแล้วนำไม้จากกุฏิไปเป็นฟืนเผาไฟ ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ จึงประท้วงขับไล่ท่านออกจากวัด
๏ ท่านออกจากวัดไปอยู่ป่าใกล้ๆ หมู่บ้าน ไม่ทราบว่าท่านสำเร็จเป็นวิทยาธรด้วยการเล่นแร่แปรธาตุ หรือด้วยวิธีอื่น ต่อจากนั้นไม่นาน ท่านเข้าไปเยี่ยมมันลีสยาดอแล้วกล่าวว่า "กระผมสำเร็จเป็นวิทยาธรแล้ว ท่านอาจารย์ต้องการอะไร กระผมอาจทำให้สำเร็จได้"
ท่านอาจารย์มันลีสยาดอกล่าวว่า "ผมเป็นอัมพาตมาหลายสิบปี เดินไม่ได้มานานแล้ว ต้องนั่งรถเข็นตลอดทั้งวัน ทำให้เป็นโรคปวดเมื่อย สิ่งที่ผมต้องการ คือ ไม่อยากปวดเมื่อยอีกต่อไป และขอให้ร่างกายของผมไม่เน่าเปื่อยหลังเสียชีวิตแล้ว"
พระญาณะได้ใช้มือลำลำตัวของมันลีสยาดอ แล้วพูดว่า "สิ่งที่ท่านอาจารย์ปรารถนา จงสำเร็จตามต้องการ" หลังจากนั้นจึงกลับไป
๏ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มันลีสยาดอไม่เกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกายอีกเลย แล้วสังขารของท่านก็ไม่เน่าเปื่อยเหมือนพระอรหันต์ ยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน
เครดิต : พระคันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ ธรรมาจริยะ

คีรีวัน มารัญชยะ ตามรูปภาพน่าจะเป็นจำพวกที่ ๓ คือ เภสัชวิทยาธร


คัมภีร์อภิธานสันสกฤตแสดงศัพท์ที่เป็นชื่อวิทยาธรไว้ดังนี้:-
วิทฺยาธราสฺตุ ทฺยุจราะ เขจราะ สตฺยเยาวนาะ |
ปิศาจะ สฺยาตฺกาปิเศโย’นฺฤชุรฺทรฺวศฺจ ปิณฺฑกะ || ไวชยนฺตี 1.3.4

ธฺฤตราษฺฏฺรี หํสปตฺนฺยำ นภศฺจโร วิหงฺคเม |
วิทฺยาธโร ฆเน วาเต นิศาจรสฺตุ รกฺษสิ || เมทินี-รานฺตวรฺค-272

.............ความจริงวิทยาธรนี้น่าจะจัดเข้าในจำพวกวยันตระ (A spirit; supernatural being) แต่คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวว่าวยันตระมี ๘ จำพวกดังนี้:-

สฺยุะ ปิศาจา ภูตา ยกฺษา รากฺษสาะ กินฺนรา อปิ |
กิมฺปุรุษา มโหรคา คนฺธรฺวา วฺยนฺตรา อมี || อภิธานจินฺตามณิ 2.5

.............ส่วนในคัมภีร์หลายุธโกศหรืออภิธานรัตนมาลาจัดวิทยาธรเข้าในกลุ่มเทพกำเนิดจำนวน ๑๐ ประเภท ได้แก่ ยักษ์ รากษส คนธรรพ์ สิทธะ กินนร
คุหยกะ วิทยาธร อัปสร ภูต ปิศาจ ดังโศลกว่า:-

ยกฺษรากฺษสคนฺธรฺวสิทฺธกินฺนรคุหฺยกาะ |
วิทฺยาธราปฺสโรภูตปิศาจา เทวโยนยะ || หลายุธ 1.87
.............ในหนังสือ SANSKRIT–ENGLISH DICTIONARY ของ SIR M. MONIER WILLIAMS (1899) หน้า 974 ให้ความหมายของคำ วฺยนฺตร ไว้ดังนี้
vy-antara, as, m. a kind of supernatural being, (eight classes are enumerated, viz. Piśāca, Bhūta, Yaksha, Rākshasa, Kinnara, Kimpurusha, Mahoraga, and Gandharva.)

.............ว่าตามมติคัมภีร์อภิธานทั้งหลาย กินนร กับ กิมบุรุษ เห็นว่าซ้ำกัน ชะรอยท่านจะแยกประเภทออกเป็นหญิง-ชายดังนี้กระมัง แต่ในหลายุธโกศท่านไม่ได้แยกประเภทไว้ จึงเหลือเพียง ๖ โดยตัด มโหรคะ ออกไป แล้วเพิ่ม สิทธะ (ผู้สำเร็จวิชากายสิทธิ์) คุหยกะ (ผู้กำบังตนล่องหนหายตัวได้) วิทยาธร และนางอัปสรเข้ามารวมเป็น ๑๐ ประเภท
      ท่านให้ความหมาย วิทยาธร เป็นภาษาอังกฤษไว้ดังนี้:-
magical-knowledge holder.
a kind of spirit residing in the air and assuming any shape.

คีรีวัน มารัญชยะ อปฺสรสฺ (ป.อจฺฉรา : นางอัปสร) แปลตามศัพท์ว่า ผู้ไปหรืออยู่ในน้ำ (อปฺ+√สร+อสฺ ; going in the waters or between the waters of the clouds) น่าจะได้แก่พรายน้ำจำพวกหนึ่ง ตามคัมภีร์ของชาวฮินดูกล่าวว่าสามารถล่องหนหายตัวได้ แต่ตามคัมภีร์พุทธศาสนาปรากฏว่านางอัปสรอยู่บนสวรรค์ เราจึงแปลกันว่า นางฟ้า หรือเทพอัปสร (เทวจฺฉรา)

คีรีวัน มารัญชยะ มโหรคะ (งูใหญ่) จัดเข้าในวยันตระจำพวกหนึ่งดังที่คัมภีร์ศิวตัตตวรัตนากรแสดงไว้ว่า

ye viparyastajihvāḥ syuḥ sarpās te vyantarāḥ smṛtāḥ /
ṣaṭtriṃśatphaṇināṃ bhedā gonasānāṃ tu ṣoḍaśa // 26.19 //

เย วิปรฺยสฺตชิหฺวาะ สฺยุะ สรฺปาสฺเต วฺยนฺตราะ สฺมฺฤตาะ |
ษฏฺตฺรึศตฺผณินำ เภทา โคนสานำ ตุ โษฑศ ||

(ข้อความปริวรรตเป็นบาลี)
เย วิปลฺลตฺถชิวฺหา สิยุํ....สปฺปา เต วฺยนฺตรา มตา
ฉตฺตึส ผณีนํ เภทา....... โคนสานํ ตุ โสฬส.
งูที่มีลิ้นผิดแผกเรียกว่า วยันตระ ประเภทของงูมี ๓๖ ชนิด ส่วนงูใหญ่มี ๑๖ ชนิด

คีรีวัน มารัญชยะ วยันตระทั้ง ๘ ประเภทนี้ท่านแสดงรายละเอียดไว้ในตริษัษฏิศลากาปุรุษจริตไว้ดังนี้ ปิศาจมีกาลและมหากาลเป็นหัวหน้า ภูตมีสุรูปและอประติรูปเป็นหัวหน้า ยักษ์มีปูรณภัทรและมาณิภัทรเป็นหัวหน้า รากษสมีภีมะและมหาภีมะเป็นหัวหน้า กินนรมีกินนรและกิมบุรุษเป็นหัวหน้า กิมบุรุษมีสัตบุรุษและมหาบุรุษเป็นหัวหน้า มโหรคะมีอติกายและมหากายเป็นหัวหน้า คนธรรพ์มี
คีตรติและคีตยศเป็นหัวหน้า ทั้ง ๑๖ ท่านนี้เป็นใหญ่กว่าวยันตระทั้งปวง
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

(รูปภาพประกอบ) คัมภีร์หลายุธโกศ หรือ อภิธานรัตนมาลา ของศรี
หลายุธภัฏฏะ

คัมภีร์นิฆัณฏุศาสตร์หรืออภิธานศัพท์
__________________________________________________
๏ คัมภีร์นิฆัณฏุศาสตร์ (นิฆัณฑุศาสตร์) ได้แก่ คัมภีร์ที่แสดงชื่อศัพท์และความหมายของศัพท์ ตรงกับคำว่า พจนานุกรม ในภาษาไทย และคำว่า Dictionary ในภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกอีกได้แก่ คัมภีร์อภิธาน และคัมภีร์โกศะ (โกษะ) เป็นต้น คัมภีร์ดังกล่าวข้างต้นเป็นคัมภีร์ที่แสดงชื่อศัพท์และความหมายของศัพท์ในภาษาสันสกฤตโดยเฉพาะ ซึ่งเปรียบเสมือนคลังเป็นที่รวบรวมคำศัพท์ต่างๆ ภายหลังมารวมเอาคัมภีร์อภิธานบาลีและปรากฤตเข้าด้วย
๏ คัมภีร์นิฆัณฏุศาสตร์นับว่ามีความสำคัญมากสำหรับผู้เรียนภาษาสันสกฤตเพราะจัดเข้าในเวทางคศาสตร์ (คัมภีร์ที่เป็นองค์ประกอบของพระเวท) ว่าด้วยวิชาประกอบการศึกษาพระเวท มี 6 คัมภีร์ คือ 1. ศึกษา (วิธีออกเสียงคำในพระเวทให้ถูกต้อง) 2.ไวยากรณ์ (หลักภาษา) 3. ฉันท์ (คำประพันธ์ที่เป็นร้อยกรอง) 4. โชยติษ (ดาราศาสตร์) 5. นิรุกติ (ความเป็นมาของคำ) และ 6. กัลปะ (วิธีประกอบพิธีกรรม)
๏ คัมภีร์นิฆัณฏุหรืออภิธานภาษาสันสกฤตที่ค้นพบมีอยู่มากมายเป็นร้อยๆ คัมภีร์ซึ่งนักปราชญ์ฝ่ายสันสกฤตได้รจนาแต่งตั้งไว้ด้วยโศลกภาษาสันสกฤตล้วนๆ เพื่อง่ายแก่การนำไปท่องจำ คัมภีร์อภิธานที่มีชื่อเสียงและนิยมนำมาศึกษาเช่น อมรโกศ (อมรโกษ) ของอมรสิงหะ, อภิธานรัตนมาลา (หรือหลายุธโกศ) ของหลายุธภัฏฏะ, อภิธานจินตามณิ ของเหมจันทรไชนะ, ไวชยันตี ของยาทวประกาศะ, วิศวประกาศ ของมเหศวรสูริ, เมทินีโกศ ของเมทินีกร, ศัพทรัตนากร ของพาณภัฏฏะ และนานารถารณวสังเกษป
ของเกศวสวามิน เป็นต้น ในขณะที่ฝ่ายบาลีพบเพียงคัมภีร์เดียวคือ
อภิธานัปปทีปิกาของพระโมคคัลลานเถระ ชาวศรีลังกา


(รูปภาพประกอบ) คัมภีร์หลายุธโกศ หรือ อภิธานรัตนมาลา ของศรี
หลายุธภัฏฏะ

๏ คัมภีร์อภิธานสันสกฤตเท่าที่ค้นพบในปัจจุบันนี้และจัดพิมพ์เผยแพร่บ้างแล้วเป็นบางคัมภีร์มี 192 คัมภีร์ดังนี้
ชื่อคัมภีร์......................................................ผู้แต่ง
1) นามลิงฺคานุศาสน (อมรโกศ)....................อมรสิงหะ
2) นานารฺถสํคฺรห.........................................อชยปาละ
3) นานารฺถธฺวนิมญฺชรี...................................คทสิงหะ
4) ศพฺทจนฺทฺริกา..........................................จักรปาณิ
5) ปรฺยายนานารฺถโกศ.................................ชฏาธราจารย์
6) นานารฺถรตฺนมาลา....................................ทัณฑาธินาถะ
7) ธาตุทีปิกา...............................................ทุรคาทาสวิทยาวาคีศะ
8) นามมาลา................................................ธนัญชยกวิ
9) สารสํคฺรหนามก-อเนการฺถสมุจฺจย...............ธนิกทาสพราหมณะ
10) นิฆณฺฏุราช (ราชนิฆณฺฏุ).........................นรสิงหะ กาลีปัณฑิตะ
11) ราชวลฺลภ.............................................นารายณทัตตกวิราช
12) ภูริปฺรโยค.............................................ปัทมนาภทัตตทวิชะ
13) เอกากฺษรโกศ.......................................ปุรุโษตตมเทวะ
14) ทฺวิรูปโกศ............................................ปุรุโษตตมเทวะ
15) ตฺริกาณฺฑเศษ.......................................ปุรุโษตตมเทวะ
16) หาราวลี...............................................ปุรุโษตตมเทวะ
17) ภาวปฺรกาศ...........................................ภาวมิศระ
18) ศพฺทรตฺนาวลี........................................มยุเรศปัณฑิตะ
19) วิศฺวปฺรกาศ...........................................มเหศวรไวทยะ (มเหศวรสูริ)
20) นานารฺถศพฺทโกศ..................................เมทินีกรไวทยะ
21) ศพฺทมาลา............................................ราเมศวรศรมา
22) อายุรฺเวทารฺณโวตฺถิต-ปรฺยายรตฺนมาลา.....รัตนมาลากรไวทยะ
23) กวิกลฺปทฺรุม (ธาตุทีปิกา) .......................โวปเทวมิศระ
24) วรฺณาภิธาน...........................................ศรีนันทนภัฏฏาจารย์
25) อุณาทิโกษ...........................................ศรีรามศรมา
26) อภิธานรตฺนมาลา...................................หลายุธภัฏฏะ
27) อภิธานจินฺตามณิ...................................เหมจันทรไชนะ
28) นานารฺถารฺณวสํเกฺษป............................เกศวสวามิน
29) อภิธานวิศฺวโลจน (อภิธานมุกฺตาวลี) .......ศรีธรเสนะ เป็นต้น
๏ คัมภีร์อภิธานเหล่านี้นับว่ามีอุปการะต่อผู้เรียนสันสกฤตและบาลีมากทีเดียว เหตุที่คัมภีร์อภิธานฝ่ายบาลีมีไม่เพียงพอจึงต้องอิงอาศัยอภิธานสันสกฤตด้วย ปัจจุบันเมื่อร้อยปีล่วงมานี้มีนักปราชญ์ทางฝ่ายสันสกฤตหลายท่านได้รวบรวมคำศัพท์จากคัมภีร์อภิธานต่างๆ เหล่านี้ตลอดจนถึงคำศัพท์ที่ปรากฏในคัมภีร์สันสกฤตทั้งหลายแล้วเรียบเรียงเป็นพจนานุกรมแบบสมัยใหม่เพื่อสะดวกต่อการศึกษายิ่งขึ้น โดยจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรมีทั้งที่ให้ความหมายเป็นภาษาสันสกฤต, ฮินดี, คุชราตี, เบงกาลี, อังกฤษ และ
รัสเซีย เป็นต้น รวมสามสิบกว่าเล่มอาทิ ศพฺทโสฺตมมหานิธิ ของศรีตารนาถภัฏฏาจารย์, ศพฺทกลฺปทฺรุม ของศรีราธากานตเทวะ (5 เล่ม), วาจสฺปตฺยมฺ ของศรีตารนาถตรรกวาจัสปติ (6เล่ม), ศพฺทสาคร ของบัณฑิตชีวานันทะ, Sanskrit-English Dictionary ของ SIR Monier williams ของ Vaman shivaram apte, และ Sanskrit Dictionary ของ Otto Böhtlingk (7 เล่ม : คำแปลภาษาเยอรมัน) etc. ในเมืองไทยเท่าที่ทราบมีอยู่สองเล่มคือ ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ และ สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ของร้อยเอก หลวงบวรบรรณารักษ์ (นิยม รักไทย) ส่วนอภิธานปรากฤตที่จัดพิมพ์แล้วเท่าที่ทราบคือ อภิธานราเชนฺทฺร ของศรีวิชยราเชนทรสูริ ซึ่งเทียบสันสกฤตเอาไว้ด้วย (มีทั้งหมด 7 เล่ม) และ ปาอิอ-สทฺท-มหณฺณโว ของ Pandit Hargovind Das T.Sheth
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
หนุ่มสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ เปิดประเด็นบ้าง
คำว่า โลกย ในคำว่า วัดโมลีโลกยาราม แปลว่าอะไร และสำเร็จรูปมาอย่างไร ?
 เกริ่นนำ พจนานุกรมฯ ใช้ว่า โลกย์, โลกยะ, โลกัย ว. ของโลก (ส. โลกฺย)
 บาลีอาจเป็น โลกิย หรือ โลกีย

นายพระยา ฤทธิภักดี เท่าที่เห็นมีใช้ เป็น โลกฺยํ ก็มี โลกยํ ก็มี

หนุ่มสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ (ขอดูหลักฐานจากคัมภีร์บาลีด้วยครับ ขอบคุณ)

นายพระยา ฤทธิภักดี โลกฺยํ และ โลกยํ ปรากฏในเล่มที่ 28

Pongkhante Phramahaasomchai Punyawachiro เข้าใจว่า เป็น โลก+อิย (อีย) +อาราม นะครับ ลบ อิ จึงใส่ พินทุ ที่ ก น่ะครับ บาลีจึงเป็น โลกฺยาราม คงเทียบได้กับ อุทรียํ (โภชนํ) เขียนเป็นภาษาไทยจึงเป็น โมลีโลกยาราม ผิดถูกอย่างไร ช่วยกันสากัจฉานะครับ.. ขอท่านปัณฑิตาจารย์ ร่วมเสวนา..

มังกร นพเก้า รมณียสถาน โลกยาราม รมณียาราม

คีรีวัน มารัญชยะ ฝากข้อเสนอดังนี้
1) โลกี+อาราม (อี เป็น ย = โลกฺย) = โลกฺยาราม
2) โลกฺย มาจาก โลกิย (ลบ อิ เพื่อต้องการแผลงเป็นรูปว่า โลกย์) ลองค้นดูเอกสารเก่าดูอาจพบชื่อว่า วัดโมลีโลกย์ แม้พระนามของล้นเกล้ารัชกาลที่ 1 ดูเหมือนเอกสารเก่าท่านใช้ จุฬาโลกย์ (ถ้าจำไม่ผิด)
๏ ตามข้อ 1 : โลกี อาจเป็นคำที่เติมเสียงสระในภาษาไทยเป็น โลกี โลกา (ความหมายเท่ากับ โลก) เมื่อนำคำว่า อาราม มาเป็นสร้อยพ่วงท้ายจึงทำการเชื่อมสนธิแบบบาลีเป็น โลกฺยาราม
๏ โมลีโลกย์ (โมลีโลก) หมายถึง ปิ่นโลกา / มิ่งโลกา
๏ โมลีโลกยาราม หมายถึง อารามที่พระผู้เป็นมิ่งโลกา (พระมหากษัตริย์) ทรงสถาปนาขึ้น

มังกร นพเก้า ขนฺตฺยาคโม โลกฺยาราโม

หนุ่มสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 3 วัดนี้ เคยมีชื่อว่า วัดโมลีโลกย์สุธารา มอาวาศวรมหาวิหารพระอารามหลวง เรียกสั้นๆว่า วัดโมลีโลกย์สุธาราม (และเป็นชื่อวัดอย่างปัจจุบัน) ดังนั้น คำเดิมจึงน่าจะเป็น โลกย (หรือโลกย์) นั่นแหละ คงไม่ได้แปลง ... เป็น ย เพราะสระอยู่หลัง (เนื่องจาก สุธาราม ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ส) ประเด็นปัญหาก็คือ คำนั้น ตรงกับคำบาลีหรือสันสกฤตว่าอย่างไร แปลและทำตัว/สำเร็จรูปทางไวยากรณ์อย่างไร ?

นายพระยา ฤทธิภักดี ในอรรถกถา อธิบาย คำว่า โลกฺยํ ว่า
โลกฺยนฺติ เอวํ ปาปปวาหนสมตฺถํ โลกสมฺมตํ.

มังกร นพเก้า ชฺยาสนา กตา พุทฺธา เชตฺวา มารํ สวาหนํ
ตรง ชฺยาสนา ยังงัยครับ
อิ เป็น เอ ๆ เป็น อฺย หรือยังงัยครับ ?

หนุ่มสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ชฺยาสนา แปลและแยกว่า ?

มังกร นพเก้า ชิ + อาสนา อิ เป็น เอ ๆ เป็น อฺย ใช่ป่ะ ?

คีรีวัน มารัญชยะ ชฺยา (สายธนู) เป็นภาษาสันสกฤต ในภาษาบาลีมีรูปว่า ชิยา โดยแทรกเสียง อิ ที่ต้นคำตามหลัก Svarabhakti (สระภักดี : The helping vowel or fraction vowel) เหมือน สํ. สฺมรติ ป. สุมรติ (รูปบาลีจริงๆ เป็น สรติ) etc.
    ถ้าเช่นนั้น คำว่า โลกฺย คงเป็นรูปหดของ โลกิย กระมัง เทียบ ปทุมํ-ปทฺมํ / วิทฺธํสิตํ-วิทฺธสฺตํ / กิริยา-กฺริยา etc. วิธีเช่นนี้บาลีเรียกว่า วัณณสังโกจนนัย (วิธีย่ออักษร)

มังกร นพเก้า พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม

หนุ่มสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ขนฺตฺยาคโม คงเป็นรูปธรรมดา จาก ขนฺติ + อาคโม แปลง อิ เป็น ยฺ เพราะสระอยู่หลัง, ส่วน โลกฺย เป็นรูปพิเศษ
     แต่ ชยาสนา ... ดูจากคำแปลแล้ว น่าจะแยกเป็น ชย (ชัยชนะ) + อาสน (อาสนะ, ที่นั่ง)
(ส่วน โลกฺย ในกระทู้นี้ ยังไม่ได้ข้อยุติ)

Pongkhante Phramahaasomchai Punyawachiro ได้อ่านแนวคิด/มุมมองของนักปราชญ์ทุกท่าน...แหม..ขอบอกตรง ๆว่า ชอบจริง ๆ ลุ้นไปตลอดเลย..กับความคิดอับแยบยล ช่างโยนิโส (เจาะลึก) จังเลย ..ปญฺญา สากจฺฉาย เวทิตพฺพา " อิอิ ขออนุญาตครับ

คีรีวัน มารัญชยะ บางฉบับสวดว่า ชิยาสนากตา ชิยา (สาย)+อสน (ลูกศร)+อกต (ไม่สร้าง/ไม่กระทำ) นอ. (พิเศษ) แย้ม ประพัฒน์ทองท่านแปลว่า โดยไม่ต้องใช้สายและศร (มาสู้รบ) ถ้าอยากรู้รายละเอียดหาอ่านได้จากหนังสือพินิจพระคาถาชินบัญชรของท่านอาจารย์ นอ.ทองย้อย แสงสินชัยครับ ท่านเจาะลึกรายละเอียดไว้พอสมควร

นายพระยา ฤทธิภักดี http://jinapanjara-gatha.blogspot.com/2011/08/blog-post.html

หนุ่มสุรินทร์ ถิ่นช้างใหญ่ ในพินิจฯ กล่าวว่าเป็นปัฐยาวัตร บาลีว่า ชิยา... หรือ ชยา.. ก็ครบ 8 พยางค์พอดี , แต่ถ้าเป็น ชฺยา (รูปหดของ ชิยา) ดูเหมือนไม่ครบ 8 พยางค์? ฝากพินิจร่วมกันครับ

คีรีวัน มารัญชยะ ท่านคีรีวันพินิจเพิ่มจากของอาจารย์ทองย้อยโดยส่งไปให้ท่านร่วมพินิจด้วยดังนี้:-
๏ ทีนี้เราลองมาพินิจคาถาแรกที่ว่า ชิยาสนากตา, ชิยาสรากตา ที่แปลว่า ไม่ต้องใช้สายและศร (มาทำการสู้รบ) กันอีกทีหนึ่ง ตามรูปศัพท์และคำแปลดังกล่าว ถ้าว่าตามลักษณะภาษาบาลีจริงๆ แล้ว เป็นการแปลในลักษณะให้พอไปกันได้ ซึ่งผู้รู้บาลีพยายามโมเมทึกทักดึงดันที่จะแปลให้ได้ เพื่อเอาใจคนไม่รู้บาลีถือเป็นการโกหกตนเองและผู้ไม่รู้บาลีได้หรือไม่ ตามปกติศัพท์บาลีที่เป็นคำปฏิเสธเมื่อใช้เป็นคุณศัพท์แล้วจะไม่นิยมเข้าสมาสในลักษณะเช่นนี้ คือ จะใช้เป็นตัปปุริสสมาสไม่ได้ เช่น ภาษาไทยว่า “ไม่มาแล้วสู่บ้าน” จะแต่งเป็นบทสมาสว่า คามานาคโต ดังนี้ เป็นอันผิดลักษณะภาษาบาลี ที่ถูกจะต้องแยกประกอบวิภัตติว่า คามํ อนาคโต คำว่า ชิยาสนากตา และ ชิยาสรากตา ก็เช่นกัน ถ้าหากจะใช้เป็นคุณนามปฏิเสธควรประกอบรูปศัพท์เป็นพหุพพีหิสมาสว่า อกตชิยาสนา หรือ อกตชิยาสรา แปลว่า “ผู้มีสายและศรอันไม่กระทำแล้ว” ดังนี้ถึงจะถูก
๏ การเปลี่ยนเสียงสระ อ ตรง ชยาสนคตา มาเป็น ชิยา- ก็คงเข้าลักษณะการเปลี่ยน พกุล, วรุณ มาเป็น พิกุล, พิรุณ ในภาษาไทยนั่นเอง ส่วนการเพิ่มสระ อา มาข้างหลัง น เป็น ชิยาสนา ก็เพื่อจะให้สัมผัสกับคำว่า ยา ข้างหน้า ส่วน คตา เพี้ยนเป็น กตา นั้นได้ชี้แจงไว้ข้างต้นแล้ว
๏ อนึ่งคำว่า ชยาสนากตา ตามฉบับวัดระฆังฯ ที่พิมพ์เผยแพร่ทั่วไปนั้น ถ้าตัดบทว่า ชย+อาสน+อากตา หรือ ชย+อาสน+กตา (ทำทีฆะหน้า กต) โดยถือว่า อากตา - กตา มาจาก อาคตา - คตา ตามที่วิเคราะห์ไว้ในเชิงอรรถหน้า ๔๐ (อ้างถึง : ข้อความในหนังสือรวมบทสวดพระคาถาชินบัญชรนานาชาติ) ก็ยังไม่มีเหตุผลที่พอทำให้น่าเชื่อถือได้แต่อย่างใด
๏ ส่วนที่แปลและพินิจไว้ว่า “โดยที่มิได้เขยื้อนจากชัยอาสน์” และว่า “ไม่ทำการขยับจากอาสนะชัย” โดยถือว่ามาจากคำเดิมว่า ชยาสนาสนากตา (ลบ อาสน หรือ อสน ศัพท์ : ชยาสน+(อสน)+อกตา / ชย+(อาสน)+อสนากตา = ชยาสนากตา) นั้นก็เป็นการแปลในลักษณะให้พอไปกันได้เช่นกัน
      ชิยา ชฺยา นี้แยกประเด็นมาจาก โลกฺย นะครับ เพราะมีเพื่อนสมาชิกบางท่านหลงเข้าใจว่า ชฺยาสนา คงจะแยกสนธิว่า ชิ+อาสนา กระมัง ? โดยเอาไปเทียบกับคำว่า โลกฺย นั่นเอง ในเมื่อมีผู้ใคร่รู้เราก็ไปเสาะแสวงหามาให้เพื่อเป็นการประเทืองปัญญาจะได้เพิ่มพูนความรู้มากยิ่งขึ้นครับ

นายพระยา ฤทธิภักดี เอาฉบับลังกามาฝาก ครับ..



คีรีวัน มารัญชยะ (อาหุํ อานนฺทราหุลา) สงสัยเฉพาะ อาหุํ นะ ทำไมไม่เป็น อหุํ หรือ อาสุํ

อาหุ (กล่าวแล้ว) อาหุํ....?

นายพระยา ฤทธิภักดี http://issuu.com/volunteerspirit/docs/sangharajab014

คีรีวัน มารัญชยะ ถ้า อาหุํ มาจาก อาสุํ แสดงว่าสียง ส กลายไปเป็น ห เหมือนคำว่า อสุร ในภาษาบาลีสันสกฤต ออกเสียงเป็น อาหุร ในภาษาอเวสตะ (Ahura-mazdā)

Pongkhante Phramahaasomchai Punyawachiro ในความคิดของกระผมนั้นว่า อาหุง (ขออภัยครับ) พิมพ์ อุ กับ อํ ไม่ได้ เพราะไม่ได้ติดตั้งฟ๊อนต์บาลี) บทนั้น น่าจะ มาจาก หุ ธาตุ อ อาคม อุง อัชชัตตนีวิภัตติ น่ะครับ ที่มีค่าเท่ากับ อาสุง แปลเหมือนกันว่า "ได้มีแล้ว" อันหนึ่งเป็น อสฺ ธาตุ อันหนึ่งเป็น หุ ธาตุ..อ้อ ทีฆะต้นธาตุด้วย สำหรับ อาหุง..
    เพราะมีหลายบทนะครับ ผิดแผกจากที่ในประเทศไทย จัดพิมพ์ อย่างสีเส เป็น สิเร อย่างนี้เป็นต้น แปลกอย่างหนึ่ง คือ โมคฺคลฺลาโนสิ นี่แหละ.. ฯลฯ ??

คีรีวัน มารัญชยะ อาหม-อาสาม-อัสสัม (Skr. kāmarūpa) / หินฺทุ (Skr. hindu)-สินฺธุ (สินฺทุ ?) etc.
   สีเส (ศีรษะ) / สิเร (เศียร) เป็น synonym ไม่มีปัญหาครับ|
         อาสิ (อ+อสฺ+อี) / อาสุํ (อ+อสฺ+อุํ) จึงเป็นเสียงยาวได้
   โมคฺคลฺลาโนสิ (โมคฺคลฺลาโน+อสิ) ถึงแม้รูปศัพท์จะเป็นวัตตมานา แต่ความบ่งว่าเป็นปัญจมี เวลาแปลต้องแปลว่า ขอพระโมคคัลลานะจงมาอยู่ที่ข้างซ้าย (วามเก) ในสันสกฤตมีพบทั่วไปครับ อย่างเช่นใช้ ชยติ แทน ชยตุ etc.

Pongkhante Phramahaasomchai Punyawachiro อ๋อ..ชัดเจน ทั้งนั้นเลย ดูแล้ว ส่วนมาก อสฺ ธาตุ กับ หุ ธาตุ ...

คีรีวัน มารัญชยะ อีกนัยหนึ่ง โมคฺคลฺลาโนสิ (โมคฺคลฺลาโน+อาสิ) ตรงนี้อัชชตนีใช้แทนปัญจมีได้เลย (ในสัททนีติมีอธิบายไว้อยู่) มีอุทาหรณ์ในรูปสิทธิอ้างว่า โมคฺคลฺลาโนสิ พีชโก (ลองไปเปิดดู) ครับ  ถ้าเป็น √หู (√หุ สนล.) ควรมีรูปว่า อหุํ ครับ ดังพระบาลีในมหาสมยสูตรว่า ทิสา สพฺพา ผุฏา อหุํ. อาหุํ อานนฺทราหุลา ในที่นี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่จะต้องรักษาฉันท์ดังนั้นควรเป็น อหุํ มากกว่าครับ

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ รูปว่า อาหุํ นี้ แปลง พฺรู ธาตุ ในการกล่าว เป็น อาห แล้วลง อุํ อัชชัตตนี ได้ไหมครับ

นายพระยา ฤทธิภักดี ผมว่าโดยบริบท น่าจะไปทาง ที่แปลว่า มี , เป็น มากกว่า ที่จะมาจากศัพท์ที่แปลว่า กล่าว...

Pongkhante Phramahaasomchai Punyawachiro สนับสนุนครับ หุ อสฺ ธาตุ มี,เป็น ชัดเจนกว่าครับ ฟันธง(ดีไหม) ??

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ถ้าเป็น อาสุํ นะหายสงสัยเลย อิอิ หรือเป็นการเล่นคำของนักปราชญ์รุ่นเก่า โดยแปลง สฺ เป็น ห ฺ อย่างท่านอาจารย์คีรีวัน ว่าเนาะ

คีรีวัน มารัญชยะ [เพิ่มเติมจาก...อีกนัยหนึ่ง โมคฺคลฺลาโนสิ (โมคฺคลฺลาโน+อาสิ)..] ในสัททนีติ ธาตุมาลา (360-361) รุธาทิฉกฺก ตนาทิคณิก
กล่าวไว้ว่า แม้จะระบุถึงกิริยาที่เป็นอดีตกาลก็ตาม แต่เนื่องจากประกอบกับ มา ศัพท์ จึงเป็นอนุตตกาลลงในอรรถปัญจมีวิภัตติได้ ดัง อุ.ว่า
๏ มา เมตํ อกรา กมฺมํ มา เม อุทกมาหริ. (ขุ.ชา.28/396)
๏ ชราธมฺมํ มา ชีรีติ อลพฺภเนยฺยํ ฐานํ. (องฺ.ปญฺจก 22/59)
๏ ณ ที่นั้นท่านแสดงว่า อัชชตนีวิภัตติจะใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติได้ต้องประกอบกับ มา ศัพท์เท่านั้น แต่ในอรรถกถาท่านใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติบ้าง เพราะจัดเป็นอนุตตกาลเหมือนกันดังนี้
๏ มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ (ธป.อฏฺ.7/20)
(แก้อรรถ) จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุนฺติ: จิรํ กาลํ นิรยทุกฺขาทีนํ อตฺถาย เอเต ธมฺมา มา ฆาเตนฺตุ มา มทฺทนฺตูติ อตฺโถ. (ธป.อฏฺ.7/21)
๏ ภิกฺขุ วิสฺสาส¹ มาปาทิ อปฺปตฺโต อาสวกฺขยํ.
(แก้อรรถ)...อาสวกฺขยสงฺขาตํ อรหตฺตํ อปฺปตฺโต หุตฺวา ภิกฺขุ นาม วิสฺสาสํ
น อาปชฺเชยฺย. (ธป.อฏฺ.7/56)
(ท่านแก้ มา อาปาทิ เป็น น อาปชฺเชยฺย)
๏ แต่ในสันสกฤตแม้ในที่ไม่ได้ประกอบกับ มา ศัพท์หรือ น ศัพท์ ก็ควรทั้งนั้น เพราะในสันสกฤตบางครั้งประกอบกริยาปัจจุบันกาลแต่ท่านเติม สฺม นิบาตมาท้ายศัพท์ก็กลายเป็นอดีตกาลไปเหมือนกัน เช่น วิหรติ สฺม (विहरति स्म) สฺมรติ สฺม (स्मरति स्म) มีอรรถเท่ากับ วิหาสิ / สริ ในบาลี มีสาธกยืนยันจากอรรถกถาดังนี้
๏ สุมรติ นาควนสฺส กุญฺชโร. (ธป.อฏฺ.7/145)
"พญาช้างระลึกถึงแต่ป่าที่อยู่ของช้าง"
อรรถกถาแก้ สุมรติ นาควนสฺส เป็น นาควนํ สริ.²
๏ มีใครเคยคิดบ้าง คำว่า วิหรติ ที่ปรากฏในคำเริ่มต้นพระสูตรเช่น สาวตฺถิยํ วิหรติ etc. เป็นปัจจุบันกาลใช้ในอรรถอดีต แทนที่เราจะมาอธิบายกันว่ามันเป็นสำนวนพระสูตรโดยเฉพาะ ความหมายในที่นี้ก็คือ มันเป็นปัจจุบันกาลทุกยุคทุกสมัย (คือเป็นปัจจุบันกาล ณ ขณะนั้น) แต่ถ้าเราลองไปเปิดพระสูตรของทางฝ่ายมหายานดูบ้างเราก็จะพบรูปว่า วิหรติ สฺม. เท่านั้น เมื่อมาสู่ภาษาบาลี สฺม นิบาตไม่ได้มีความหมายอะไร ท่านจึงตัดออกไป แต่ในเวลาอธิบายท่านใช้วิภัตติหมวดอัชชตนีมาอธิบายแทน

_____________________________

¹ คำว่า วิสฺสาส ในที่นี้เป็นทุติยันตบทที่ลบ อํ วิภัตติ ดังนั้นในแก้อรรถจึงเป็น
วิสฺสาสํ พบในที่อื่นบ้าง อุ. มเมว กต มญฺญนฺตุ. กต = กตํ (ธป..3/166)
² คำว่า สุมรติ เป็นคำบาลีแปลงจากสันสกฤตว่า สฺมรติ โดยการแทรกเสียง อุ เข้ามาข้างหน้าตามหลัก svarabhakti (สฺวรภกฺติ) คำนี้มีรูปเป็นบาลีจริงๆ ว่า สรติ แต่เนื่องจากเป็นอิทธิพลจากสันสกฤตที่มีรูปเป็น Habitual Past Tense (Historical Tense or Historical present) ว่า สฺมรติ สฺม ดังนั้นในอรรถกถาจึงแก้เป็น สริ.
     คำว่า มา รนฺธยุํ ก็ดี มา อาปาทิ ก็ดี ถ้าแปลตามที่อรรถกถาแนะนำก็ต้องแปลว่า "จงอย่ารบกวน" "ไม่ควรถึง"   วงการสนามหลวงต้องเปิดใจกว้างและยอมรับมากกว่านี้

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ไม่แน่ใจคับสนามหลวงจะรับไหม มีครั้งนึงท่านเจ้าคุนพระธรรมกิตติวงษ์ ท่านไปเยี่ยมเยียนวัดหาดใหญ่ ฯ ท่านบอกหลายที่ที่สนามหลวงรู้ว่าผิด แต่ไม่สามารถแก้ไขได้ ท่านได้กล่าววลีเด็ดที่จำได้ไม่เคยลืม ลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ ถ้าไม่ตามใจแป๊ะ เดวแปีะถีบตกเรือ เด้ดมาก ๆ เลยครับ

คีรีวัน มารัญชยะ เคยได้ยินมาเหมือนกัน ในเมื่อเรือแป๊ะรั่ว ทำไมเราไม่พยายามคว่ำเรือแป๊ะล่ะ ต้องช่วยกันผลักดัน ว่านะ เอ๊า ฮุย เล ฮุย !!!

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ อาจารย์ขาโหดดดเลย นำทัพเลยครับ ผมเคยคิดเหมือน ขอให้ถึงฝั่ง ป.ธ.๙ ก่อน จะกลับมาจัดแป๊ะ

Pongkhante Phramahaasomchai Punyawachiro ๕๕๕๕ เคยได้ยินท่านพูดสมัยที่เรียนกับท่านที่วัดสามพระยาเหมือนกันวลีนี้.."ลงเรือแป๊ะ ต้องตามใจแป๊ะ ถ้าไม่ตามใจแป๊ะ เดวแปีะถีบตกเรือ เด้ดมาก ๆ"

คีรีวัน มารัญชยะ เรียนบาลีอย่าทิ้งอรรถกถาฏีกาเพราะเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้รองลงมาจากพระบาลี พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายได้ชื่อว่า พุทธมตัญญู (ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบาย) และเป็นมหาเวยยากรณะ (นักไวยากรณ์ผู้ยิ่งใหญ่) ลองไปเปิดนิคมธัมมปทัฏฐกถาดูก็จะรู้

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ อรรถกถา ฎีกา คือคลังข้อมูลอย่างมหาศาลเลยครับ ได้ตื่นตาต่ืนใจกับรูปวิเคาระห์แปลก ๆ วิธีวิเคราะห์ศัพท์แปลก ๆ รวมทั้งแนวคิดของผู้แต่งคัมภีร์เลยครับ

คีรีวัน มารัญชยะ (เพิ่มเติมจาก วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่) √พฺรู อาเทสเป็น อาห มีเฉพาะในบาลีครับ ด้วยสูตรว่า พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. "ในปโรกขาวิภัตติให้อาเทส พฺรู เป็น อาห และ ภู เป็น ภูว" (กจฺ.๔๗๕ / รู.๔๖๕) ส่วนในสันสกฤตคำว่า อาห อาหุะ (อาหุ ในบาลี) เป็นรูปที่ทำ reduplicatoin (ทฺวิตฺว หรือ เทฺวภาว ในภาษาบาลี) สำเร็จมาจาก √อหฺ+อ และ √อหฺ+อุสฺ (อุะ) ทำทฺวิตฺวเป็น ออหฺ+อ / ออหฺ+อุสฺ (อุะ) อ+อ สนธิกันจึงเป็น อา ครับ
๏ ส่วนในอัชชตนีไม่มีรูปว่า อาหุํ ครับเพราะในสูตร พฺรูภูนมาหภูวา ปโรกฺขายํ. คำว่า ปโรกฺขายํ บังคับไว้ชัดเจน

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ครับผม ผมก้เปิดในรูปสิทธิดูครับ ก็เลยตั้งสมมุติฐานครับ

คีรีวัน มารัญชยะ ต่อไปในทศวรรษอันใกล้นี้ค่านิยมที่ว่า เรียนบาลีเพื่อหวังให้สอบได้คงจะถูกขจัดให้ลดลงไปบ้าง เพราะทุกวันนี้มีฆราวาสญาติโยมที่สนใจหันมาเรียนบาลีเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะบาลีใหญ่) บางท่านไม่สนใจที่จะเข้าสอบ แต่เป็นการเรียนเพื่อรู้จริงๆ นับวันสยามประเทศนี้จะหาพระเณรที่มีความรู้บาลีดีมาต่อกรกับฆราวาสที่แตกฉานในบาลียากยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นเราต้องช่วยกัน ใช่ว่าจะเรียนไปเพื่อแข่งขันและเอาความรู้มาวัดภูมิและเบ่งใส่กัน ที่สำคัญพระเณรเราต้องตระหนักในอันที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นงานหลัก วิชาทางโลกเป็นงานรอง เพราะมีโอกาสและเวลาที่จะศึกษามากกว่าฆราวาสญาติโยมนั่นเอง ถ้าเราหันหลังให้กับการเรียนบาลีเสียแล้วก็อายญาติโยมที่มีความรู้บาลีดีโดยที่ไม่ได้ผ่านการบวชเรียนมาก่อน

Mahapali Vijjalaya ได้จุดเชื้อปลุกในเรื่อง "สอบบาลี" นี้ไว้บ้างเช่นกัน http://mahapali.com/main.php?url=news_view&id=106&cat=B  และช่วงท้าย ๆ ตรงนี้ http://mahapali.com/main.php?url=news_view&id=79&cat=B


คีรีวัน มารัญชยะ (กลับสู่ประเด็นหลัก) คำว่า โลกย์ อาจมาจาก โลก ก็ได้ แต่เป็นการสะกดตามความนิยมในยุคสมัยหนึ่ง ดูพจนานุกรมไทยฉบับแรกของหมอบรัดเลย์พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2416 ท่านใช้ชื่อหนังสือว่า อักขราภิธานศรับท์ คำว่า อาศัย เมื่อก่อนใช้ อาไศรย คำว่า เสลด เคยใช้ เศลษม์ (สํ.เศฺลษฺมนฺ) ประสบ ควรเป็น ประสพ (สํ. ปฺรสว ป. ปสว) คำว่า ค้อน ใช้มาตั้งฉบับหมอบรัดเลย์ (มีในศิลาจารึกวัดศรีชุม ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๖๕-๖๖ ด้วย แต่ในจารึกเขียนเป็น ฅ๋อน ในความว่า ฅ๋อนตีหางนาคราช ส่วนที่พบในหนังสือเก่าใช้คำว่า ฆ้อน เป็นเครื่องมือ อาจเป็นการใช้ที่คลาดเคลื่อน) สุข ก็เคยใช้ ศุข เป็นต้น
  คำว่า อาศัย เดิมเขียน อาไศรย
____________________________________________________

..........คำว่า อาศัย เดิมเขียน อาไศรย นั้นเห็นว่าใกล้เคียงกับทางสันสกฤตมากกว่า เพราะในสันสกฤตเดิมมีรูปว่า อาศฺรย (อา+√ศฺริ : resort+อจฺ) ดังนั้นรูปที่ถูกต้องตรงตามต้นฉบับต้องเขียนว่า อาศรัย แต่เนื่องจากสมัยโบราณไม่ค่อยเคร่งครัดในอักขระวิธีเท่าไหร่นัก และยังไม่มีการบัญญัติสระ อัย ขึ้นใช้ จึงใช้ไม้มลายแทนโดยมาก ส่วนคำว่า อาศัย ที่ใช้ในปัจจุบันนั้น คงเป็นบาลีผสมสันสกฤต เพราะในบาลีมีคำว่า อาสย (อาสัย) หลักฐานสนับสนุนคำว่า อาศัย เดิมเขียน อาไศรย นั้น ปรากฏในคำภาษาถิ่นล้านนาคือ อาไสฺร (อ่านว่า อา-สะ-ไหร) แสดงว่าแผลงมาจาก อาศฺรย นั่นเอง (ภาษาล้านนาโบราณใช้หลักการถอดเสียงให้ใกล้เคียงมากกว่าแผลงให้ตรงมูลศัพท์)
..........คำนี้อาจไม่มีใช้โดยตรงในรูปของคำนามในภาษาสันสกฤต แต่ปรากฏใช้ในรูปกริยาดังนี้:- อถ ตตฺร วฺฤกฺเษ กศฺจิทฺ วฺยนฺตระ สมาศฺริตฺย อาสีตฺ. (pañcat.5 kathā 7) "ที่ต้นไม้นั้นมีรุกขเทวดาตนหนึ่งอาศัยอยู่"
..........คำว่า สมาศฺริตฺย แยกบทว่า สมฺ+อา+ศฺริ+ตฺวา รูปนี้ตรงกับคำนามว่า สมาศฺรย (สมาศรัย)
..........คำว่า สมาสัย ใน ราชประชาสมาสัย ถือว่าแผลงจากภาษาบาลีถูกต้อง ถึงแม้จะเป็นคำสมาสระหว่างสันสกฤตกับบาลีก็ตาม
..........ส่วนคำว่า ปราศรัย นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่ามาจากศัพท์เดิมคืออะไรกันแน่ ระหว่าง ปฺร+อาศฺรย หรือ ปรา+ศฺรย ต้องอาศัยผู้รู้ช่วยสืบค้นกันต่อไป (ในภาษาล้านนาเขียน ปฺราไสฺร แต่อ่านว่า ผา-สะ-ไหร)
(ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่)
http://www.sac.or.th/.../2012-04-26-08-52-30/691--16-118   หลักฐานคำว่า อาไศรย อีกแห่งหนึ่ง http://th.wikisource.org/.../%E0%B9%98-%E0%B9%91%E0%B9%97  ปราศรัย ตามความเห็นของอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1264
The Royal Institute - Thailand
royin.go.th
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

อาราม นิวส์ FACEBOOK

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 133
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คีรีวัน มารัญชยะ
ชี้แจงบทบาลีที่พิรุธ
(สุนฺทรสมุทฺทตฺเถรวตฺถุ ธป. อฏฺ. ๘/๑๕๖)
_______________________________________
Alattakakatāpādā, pādukāruyha vesiyā;
Tuvampi daharo mama, ahampi daharā tava;
Ubhopi pabbajissāma, jiṇṇā daṇḍaparāyaṇā.
อลตฺตกกตาปาทา¹ ____ปาทุการุยฺห เวสิยา
ตุวมฺปิ² ทหโร มม______อหมฺปิ ทหรา ตว
อุโภปิ ปพฺพชิสฺสาม____ชิณฺณา ทณฺฑปรายณา.³
"หญิงแพศยาผู้มีเท้าย้อมแล้วด้วยน้ำครั่ง สวม
เขียงเท้า (กล่าวแล้วว่า) แม้ท่านก็เป็นชายหนุ่ม
สำหรับดิฉัน และแม้ดิฉันเป็นหญิงสาวสำหรับท่าน,
แม้เราทั้ง ๒ แก่แล้ว มีไม้เท้ากรานไปข้างหน้า
จึงจักบวช."
..........คำว่า อลตฺตกกตาปาทา ในที่นี้เป็นบทสมาส ธัมมปทัฏฐกถาฉบับ
มหามกุฏราชวิทยาลัยมีรูปที่พิรุธและแยกออกเป็นสองบทว่า อลฺลตฺตกกตา
ปาทา และแปลกันโดยพยัญชนะมาว่า "มีเท้าย้อมแล้วด้วยครั่งสด" ด้วยคงจะเห็นว่ามีคำว่า อลฺล (สด) อยู่จึงชวนให้แปลเช่นนั้น ที่จริงศัพท์นี้มาจาก อลตฺตก⁴ (Alattaka) ตรงกับรูปสันสกฤตว่า อลกฺตก (alaktaka) ที่แปลว่า ครั่ง, สีที่ได้จากตัวครั่ง (lac, a red animal dye : THE PALI TEXT SOCIETY ' S PALI-ENGLISH DICTIONARY pg. 79)
..........ในอรรถกถาฉบับฉัฏฐสังคายนา (theragā. 459, 462); อธิบายไว้ว่า
Alattakakatāpādāti pariṇatajayasumanapupphavaṇṇena
lākhārasena rañjitacaraṇayugaḷā. Samāsapadañhetaṃ, ‘‘alattakakatapādā’’ti vattabbe gāthāsukhatthaṃ dīghaṃ
katvā vuttaṃ.
..........อลตฺตกกตาปาทาติ ปริณตชยสุมนปุปฺผวณฺเณน ลาขารเสน รญฺชิต-
จรณยุคลา. สมาสปทญฺเหตํ, อลตฺตกกตปาทาติ วตฺตพฺเพ คาถาสุขตฺถํ ทีฆํ
กตฺวา วุตฺตํ.
..........บทว่า อลตฺตกกตปาทา ได้แก่ มีเท้าทั้งคู่ย้อมด้วยน้ำครั่งที่มีสีเหมือนดอกมะลิที่โรยแล้ว ก็คำนี้เป็นบทสมาส เมื่อควรกล่าวว่า อลตฺตกกตปาทา ดังนี้ กลับกล่าวว่า [อลตฺตกกตาปาทา] โดยทำทีฆะ เพื่อที่จะ [ให้ออกเสียง] ง่ายในคาถา
..........ดังนั้นบทบาลีดังกล่าวจึงควรมีรูปว่า อลตฺตกกตาปาทา และเป็นบทสมาสตามคำชี้แจงของอรรถกถา มิใช่ อลฺลตฺตกกตา ปาทา แต่อย่างใด
..........หมายเหตุ : คำว่า กต (ถูกกระทำ) อรรถกถาท่านแก้ว่า รญฺชิต (ถูกย้อม) ดังนั้นจึงแปลเอาความตามอรรถของ √รญฺช ธาตุได้
_________________
¹ ฉบับของไทยมีรูปว่า อลฺลตฺตกกตา ปาทา
² ฉบับของไทยมีรูปว่า ตุวญฺจาปิ
³ ฉบับของไทยมีรูปว่า ทณฺฑปรายนา
⁴ อรรถกถาไขคำนี้ไว้ด้วย ลาขา ศัพท์

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ แยกว่า อลตฺตกกตา ปาทา / ปาทา ก็สามารถแปลว่า ผู้มีเท้า ได้เช่นกันนะครับ อย่างคำว่า มม ปุตฺโต สารีปุตฺโต สารีบุตร ผู้เป็นบุตรของเรา

คีรีวัน มารัญชยะ ศัพท์ที่แสดงชื่ออวัยวะควรควรใช้เป็นบทสมาสครับ
เช่น จตุปฺปาโท, สตปที etc. ถ้ามาโดดๆ ควรจะเป็น ปาที / ปาทินี
แต่จะเป็นที่นิยมใช้กันหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะถ้าใช้ ปาที
/ ปาทินี คงก็จะกินความหมายกว้างไป

       มม ในคำว่า มม ปุตฺโต ในที่นี้แสดงความเป็นเจ้าของบุตรอยู่ในฐานะเป็นวิเสสนะได้ ถ้าแปลแบบไม่ต้องเอาความไพเราะในภาษาไทยก็แปลได้ว่า "ผู้บุตรของเรา" คำว่า เป็น จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่ถ้าอยู่ในฐานะเป็นวิกติกัตตาก็ว่าไปอีกอย่าง

       ที่ว่าพิรุธในที่นี้ก็คือ อลตฺตก ครับฉบับของเราเป็น
อลฺลตฺตก ส่วน กตา ปาทา เราต้องยึดตามที่อรรถกถาท่านแก้ไว้ว่ามาจากรูปเดิมคือ อลตฺตกกตปาทา และทำทีฆะเพื่อให้ออกเสียงสะดวก เพราะคำว่า...ตกกต...ดูเหมือนว่าจะขัดแข้งขัดขากันอยู่ นอกจากนี้แล้วการทำทีฆะในที่นี้ยังเป็นไปเพื่อฉันทานุรักษ์ (ฉนฺทานุรกฺขณตฺถํ) อีกด้วย

วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ ล เกินมา ๑ ตัว ใช่ไหมครับของฉบับไทย

คีรีวัน มารัญชยะ ครับ เขาก็เลยแปลกันว่า ครั่งสด คำว่า สด คือ อลฺล แล้วคำว่า ครั่ง คือตัวไหน ปัญหาอยู่ตรงนี้ครับ

        คำว่า อลตฺตก อรรถกถาแก้ด้วยศัพท์ว่า ลาขารส จึงควรแปลว่า น้ำครั่ง ไม่เห็นมีคำว่า สด อยู่เลย
บันทึกการเข้า
.              ร่วมรณรงค์ รักษาศาสนา ไม่ส่งต่อ ข่าวเสีย พระสงฆ์ไทย   
                                     คงไว้ แต่ข่าวดี ๆ
ติดตาม ข่าวสารดี ๆ ของพระสงฆ์ไทย ได้ที่ "อาราม นิวส์" ข่าวพระ ได้ทางเฟสบุ๊ค

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: นครคีรีวัน นครบาลี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2014, 09:37:02 am »
0
นครคีรีวัน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา