ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: คุณเคยทำโอกาสเสียอย่างนี้บ้างหรือไม่?  (อ่าน 7297 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
0
ยกตัวอย่าง เช่นเขามาพูดด่าเรา แต่เพราะเราเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรม ก็ไม่ได้คิดอะไร เฉยๆๆๆๆๆ ซะเป็นส่วนใหญ่
การที่นิ่งเฉยอย่างนี้ ที่จริงแล้วดูก็น่าเป็นการถูกต้อง เพราะพระพุทธเจ้าก็ใช้วิธีนี้บ่อยเหมือนกัน แต่การนิ่งเฉยก็มีคติได้เป็น 2 นัยคือ
1 จริง ยอมรับ ไม่รู้จะแก้อย่างไร
2 ไม่จริง ไม่ยอมรับ และกระทำเช่นเิดิม

ผมว่าการทำอย่างนี้ บางครั้งก็เสียโอกาส ทอง จริง ยกตัวอย่างเรื่องจริงของผมเอง
แม่ผมมาเยี่ยมผม แต่แม่มาพร้อมกับความหงุดหงิด ด้วยโรคประจำตัวที่จะต้องเข้าโรงพยาบาล
แม่ผมนั่งพรรณนาถึงความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆนานา ทำนองอ้อนว่าแม่ป่วยนะ คิดถึงแม่บ้าง
แต่เพราะความเป็นคนที่ศึกษาธรรมะ และสวดอภิณหปัจจเวกขณทุกวัน ก็เลยบอกแม่ไปว่า
เรามีความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นธรรมดา ไม่มีใครพ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตายไปได้
แม่ผมก็นั่งพรรณนา ทำนองเก่า ส่วนผมก็นั่งฟังนิ่งๆๆๆๆ เพราะมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดา
สุดท้าุยแม่ผมก็ลากลับ พร้อมกับพูดขึ้นว่า ปิดประตูด้วย
ผมก็พูดขึ้นว่า แม่ไปเถอะ เดี๋ยวหนูปิดเอง แม่ผมได้ยินดังนั้นก็พูดขึ้นว่า ไม่ต้องมาไล่หรอกไม่มีใครสนใจ มีแต่เจ้า เหมียวคนเดียวที่สนใจ(น้องสาว) ส่วนผมผู้ยืนฟังอยู่เฉย ๆ เพราะไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไร

ผ่านไป 2 ชั่วโมงก็ได้รับโทรศัพท์จากน้องสาวว่า เสียใจมาก ที่มีลูกไม่สนใจ แม่

เฮ้อ ที่เล่ามานี้ ผมกำลังจะชี้ให้เห็นว่า ปัญหาของคนศึกษาหลักธรรมส่วนใหญ่เมื่อเข้าสู่การปฏิบัติภาวนาแล้ว
มักไม่ค่อยพูดเพราะเห็นเป็นเรื่องที่ธรรมดา

และผมว่า ผู้ปฏิบัติส่วนใหญ่ ก็จะเป็นอย่างนี้

เหมือนกระทู้นี้ ผมได้ทราบจากเพื่อนๆว่าเข้ามาอ่านกันพอสมควร และพูดว่าอยากจะพิมพ์กระทู้บ้าง
แต่ก็เฉย ๆๆๆๆๆ อืม

ตุณหี ภวิตัพพัง ตุณหี ภาเวนะ
การเฉยแท้จริงยังไม่ใช่ วิธีการแก้ปัญหา
ผมว่าบางครั้งปัญหา มักจะเกิดจากการไม่ได้พูดกันให้รู้เรื่อง เพราะว่าในโลกนี้ ไม่มีใครที่จะพยายามเข้าใจ
ในอุปนิสัยของบุคคลอื่น ดังนั้นโอกาสจึงมีแก่ผู้ที่ไม่เฉย

 :'( :'( :'(
บันทึกการเข้า

utapati

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุณเคยทำโอกาสเสียอย่างนี้บ้างหรือไม่?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2009, 03:21:20 am »
0
ตุณหี ภวิตัพพัง แปลว่า พึงนิ่งเสีย
อุเบกขา การวางเฉย


เรื่องเดียวกันหรือป่าว คุณ nathaponson ช่วยขยายด้วย
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คุณนพดลถามว่า เคยเสียโอกาส แบบนี้ไหม
ผมตอบว่า เคยครับ และบ่อยครั้งด้วย

ส่วนคุณอุทาปาติ ถามภาษาบาลีมา  ผมตอบไม่ได้ ไม่สันทัด

แต่ คำว่า  “พึ่งนิ่งเสีย” กับคำว่า “อุเบกขา  การวางเฉย” นั้น
โดยส่วนตัวเข้าใจว่า น่าจะเหมือนกัน

หากจะให้แสดงความเห็นให้มากกว่านี้  คงต้องเล่าประสบการณ์ให้ฟัง

ผมเคยคุยกับแม่ชีทศพร สองสามครั้ง และติดตามรายการทีวีที่มีแม่ชีมาออกหลายครั้ง

แม่ชีจะเน้นให้กตัญญูกับพ่อแม่  อย่าทำให้ท่านเสียใจ

ท่านจะอยู่ในสถานะใด ทำถูกหรือทำผิด มันเป็นเรื่องของท่าน
การวิพากษ์วิจารณ์หรือ  พูดถึงท่านในทางที่ไม่ดี(ถึงแม้จะเป็นความจริง)
บาปจะตกกับลูก(ที่พูด)

ผมเคยไปวัดพิชัยญาตฯมีผู้หญิงคนหนึ่งมาถามเรื่องคู่ของตัวเอง
ทำนองว่ามีปัญหาอยู่เรื่อยๆ แม่ชีตอบว่าเป็นกรรมที่รับมาจากพ่อ
(มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์) เนื่องจากพ่อทำผิดศีลข้อ ๕
ผู้หญิงคนนั้น เลย พูดความจริงออกมาว่า พ่อของตัวเองเจ้าชู้มาก
สาธยายอย่างละเอียด แม่ชีได้ฟังก็เอ่ยปากว่า ห้ามพูดถึงพ่อแบบนั้น
มันจะเป็นบาป  เขาจะเป็นอย่างไรเป็นเรื่องของเขา

เท่าที่ฟังแม่ชีพูดเรื่องพ่อแม่มาหลายรายการ แม่ชีจะเน้นมาก
ให้กตัญญู อย่าทำให้ท่านเสียใจ ขัดใจหรือลำบากใจ
หน้าที่ของลูกมีอย่างเดียวคือ ทำให้ท่านสบายใจ

ในกรณีของคุณนพดล มีแต่คุณนพดลคนเดียวที่รู้ว่า
ในสถานการณ์อย่างนั้นควรทำอย่างไร
คนอื่นไม่อยู่ในเหตุการณ์ไม่สามารถกล่าวอะไรได้เลย
(ผมตอบตรงดีไหมครับ)

การอธิบายความต่างๆเพื่อแก้ปัญหาหรือชี้แจ้งให้เข้าใจ
สื่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ

      “ถูกที่ ถูกเวลาหรือเปล่า”


ถึงแม้เหตุผลจะดีหรือถูกต้องเพียงใด บางครั้งพูดไป ก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
เนื่องจากไม่ถูกที่ไม่ถูกเวลา(ไม่ดูกาละเทศะ,ไม่ดูตาม้าตาเรือ)


การใช้อุเบกขาอย่างมีปัญญาจะช่วยลดความขัดแย้งได้
แต่อุเบกขาจะเกิดได้ต้องมีศีลก่อน โดยเฉพาะ กุศลกรรมบถ ๑๐ จะช่วยได้มาก

ตัวผมเองทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เนื่องจากอินทรีย์ยังอ่อนอยู่
บางครั้งต้องปลีกตัวออกมา ก่อนที่ตบะจะแตก



ขอฝากไว้ก่อนจากว่า

 “บุคคลที่จะมีอุเบกขาที่สมบูรณ์ได้ ต้องเป็นอริยบุคคล”
หรืออย่างน้อยต้องได้ “สังขารุเปกเขาญาณ”

ขอนำคำเทศน์ของ ลพ.ฤาษีลิงดำ เรื่องวิปัสสนาญาณ ในส่วนของ สังขารุเปกขาญาณ
มาให้อ่านดังนี้(จากเว็บพระรัตนตรัย)

ญาณที่  ๘  องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า  สังขารุเปกเขาญาณ   ญาณอันนี้พิจารณาคำนึงถึงความวางเฉย  เฉยในอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัท  เฉยในโลกธรรมเป็นอันดับแรก  โลกธรรม ๘ ประการโยนทิ้งไปเลยจากใจ  อะไรบ้างที่มันจะเข้ามาสิงในใจ  จับมันโยนทิ้งไป

มาเฉยอีกจุดหนึ่งก็เฉยกาย  กายมันจะแก่เชิญแก่ตามสบาย  ฉันรู้แล้วว่านายจะแก่  กายมันจะป่วยเชิญป่วยตามสบาย  ฉันจะรักษานายเพื่อเป็นการระงับเวทนา  จะรักษาหายไม่หายตายแหล่ก็ช่างมัน  เฉยจากอาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ  ตามสบาย  มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างหัวมัน  นี่เรียกว่าเฉยทั้งหมด  ถือว่ายอมรับนับถือว่านี่มันเป็นเรื่องธรรมกา

 ถ้าอาการเกิดมีมามันก็ต้องมีอาการอย่างนี้ปรากฏเฉยจริง ๆ ให้มันเฉยได้ทั้งหมด  เช่นว่า
มีลาภ เสื่อลาภ มียศ เสื่อมยศ  นินทา  สรรเสริญ สุข ทุกข์  ไอ้สุขในกามารมณ์ก็โยนทิ้งไป  ทุกข์จากการกระทบกระทั่งใจ  สิ่งทีไม่ชอบ  ไม่สบายกาย  ไม่สบายใจก็โยนทิ้งไปเฉย

นอนนึกให้สบาย ๆ วาดภาพไว้ว่า  ถ้าตายเมื่อไร พังเมื่อไร เราไปนิพพานเมื่อนั้น  ยิ่งเวลากาลผ่านไปมากเท่าไรความดีใจย่อมปรากฏ  ถ้าคิดว่าเราพอจะมีความสุขตามที่องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงแนะนำไว้แล้ว เฉย

ใครจะมาบอกเรื่องรัก เฉย ใครจะมาบอกเรื่องรวย เฉย ใครจะมาบอกเรื่องความโกรธ  ความพยาบาท เฉย  ใครจะมาบอกว่า  โน่นก็ของเรา  นี่ก็ของเรา เฉย

เรารู้อยู่แล้วว่า  แม้แต่ร่างกายก็ไม่ใช่เรา  ไม่ใช่ของเราแล้วของภายนอกกายจะมีอะไรเป็นของเราอีก  นี่เป็นญาณที่ ๘

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sathukrab

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 64
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: คุณเคยทำโอกาสเสียอย่างนี้บ้างหรือไม่?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 02, 2010, 08:30:50 pm »
0
ความเข้าใจผิด มีได้เสมอครับ สำหรับปุถุชชน ต่อให้เรามีคุณธรรมระดับสูงก็ตาม
พระพุทธเจ้า พระองค์ยังถูกเข้าใจผิดเลยครับ

ต้องเอาชนะครับ
ผมอ่านเรื่อง พาหุง ได้คติเลยครับ
พระพุทธเจ้าพระองค์ ชนะมารด้วย ทานบารมี
พระุพุทธเจ้าพระองค์ ชนะยักษ์ด้วย ขันติบารมี

ไปอ่านต่อในเรื่อง พาหุง นะครับคุณ นัททพลสน นำมาลงไว้ดีมาก
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ ธัมโม อะระหัง พุทโธ สังโฆ อะระหัง พุทโธ อะหัง วันทามิ
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ เว้นเสียแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทิ้งสมบัติทั้งหลาย ให้ปวงชน ร่างของตนเขายังเอาไปเผาไฟ