ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ  (อ่าน 4095 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1
อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ

 thk56
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 07, 2015, 12:29:45 am »
0
เรื่องนี้ น่าสนใจมาก ครับ เคยได้ยินในรายการ พระอาจารย์ กล่าวถึง แต่ก็ไม่เข้าใจครับ

  like1 like1
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 07:54:11 am »
0



ความหมายของคำว่า "ตัตรมัชฌัตตุเบกขา"

คำว่า "ตัตรมัชฌัตตุเบกขา" ไม่ปรากฏในชั้นบาลี(พระไตรปิฎก) แต่มีอยู่ในชั้นอรรถกถา อย่างไรก็ตามในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของคำว่า"ตัตรมัชฌัตตตา" ไว้ดังนี้

ตัตรมัชฌัตตตา ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง บางทีเรียก อุเบกขา (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

โสภณเจตสิก เจตสิกฝ่ายดีงาม มี ๒๕ แบ่งเป็น
       ก. โสภณสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง) ๑๙ คือ
           ศรัทธา
           สติ
           หิริ
           โอตตัปปะ
           อโลภะ
           อโทสะ
           ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ = อุเบกขา)
           กายปัสสัทธิ (ความคลายสงบแห่งกองเจตสิก)
           จิตตปัสสัทธิ (แห่งจิต)
           กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก)
           จิตตลหุตา (แห่งจิต)
           กายมุทุตา (ความนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก)
           จิตตมุทุตา (แห่งจิต)
           กายกัมมัญญตา (ความควรแก่งานแห่งกองเจตสิก)
           จิตตกัมมัญญตา (แห่งจิต)
           กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก)
           จิตตปาคุญญตา (แห่งจิต)
           กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก)
           จิตตุชุกตา (แห่งจิต)
       ข. วีรตีเจตสิก (เจตสิกที่เป็นตัวงดเว้น) ๓ คือ
           สัมมาวาจา
           สัมมากัมมันตะ
           สัมมาอาชีวะ
       ค. อัปปมัญญาเจตสิก (เจตสิกคืออัปปมัญญา) ๒ คือ
           กรุณา
           มุทิตา
           (อีก ๒ ซ้ำกับ อโทสะ และตัตรมัชฌัตตตา)
       ง. ปัญญินทรียเจตสิก ๑ คือ
           ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ

หมายเหตุ : ตัตรมัชฌัตตตาในโสภณเจตสิก อยู่ในคัมภีร์อรรถกถา ไม่ได้อยู่ในอภิธรรมปิฎก





"ตัตรมัชฌัตตุเบกขา" ในชั้นอรรถกถา

อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์
กถาว่าด้วยตติยฌาน


     ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
     ธรรมชาติที่ชื่อว่า อุเบกขา เพราะอรรถว่า เพ่งโดยอุปบัติ. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอคือย่อมเห็นไม่ตกไปเป็นฝักเป็นฝ่าย. บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่านเรียกว่า ผู้มีอุเบกขา. เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น อันสละสลวย ไพบูลย์ มีกำลัง.

      [อุเบกขา ๑๐ อย่าง]               
      ก็อุเบกขามีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
      ๑. ฉฬังคุเปกขา            อุเบกขาในองค์ (คืออารมณ์) ๖.
      ๒. พรหมวิหารุเปกขา    อุเบกขาในพรหมวิหาร.
      ๓. โพชฌังคุเปกขา    อุเบกขาในโพชฌงค์.
      ๔. วิริยุเปกขา     อุเบกขาในวิริยะ.
      ๕. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.
      ๖. เวทนุเปกขา     อุเบกขาในเวทนา.
      ๗. วิปัสสนุเปกขา    อุเบกขาในวิปัสสนา.
      ๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา  อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางในธรรมนั้นๆ.
      ๙. ฌานุเปกขา            อุเบกขาในฌาน.
     ๑๐. ปาริสุทธุเปกขา    อุเบกขาในความบริสุทธิ์.


     อุเบกขาแม้ทั้ง ๑๐ อย่างดังกล่าวมานี้ พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในวรรณนาแห่งภยเภรสูตร ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี หรือในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัตถสาลินี โดยนัยอันมาแล้วในที่นั้นๆ และด้วยสามารถแห่งสังเขปคือ ภูมิ บุคคล จิต อารมณ์ ขันธสังคหะ เอกขณจิตและกุสลติกะ.
     ก็อุเบกขา เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวไว้ในอธิการนี้ ย่อมทำนิทานแห่งพระวินัยให้เป็นภาระหนักยิ่ง, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่กล่าว.

     [อรรถาธิบายลักษณะแห่งอุเบกขา]              
     ส่วนอุเบกขาที่ประสงค์เอาในอธิการนี้ โดยลักษณะเป็นต้น พึงทราบว่า มีความมัธยัสถ์ (ความเป็นกลาง) เป็นลักษณะ มีความไม่คำนึงเป็นรส มีความไม่ขวนขวายเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสำรอกปีติเป็นปทัฏฐาน.

     ในอธิการว่าด้วยตติยฌานนี้ พระอาจารย์ผู้โจทก์ท้วงว่า ก็ฌานุเบกขานี้ โดยอรรถก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั่นเอง และฌานุเบกขานั้นก็มีอยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน เพราะฉะนั้น ฌานุเบกขานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ควรจะตรัสไว้แม้ในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น อย่างนี้ว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ ดังนี้ มิใช่หรือ?
      เพราะเหตุไร จึงไม่ตรัสฌานุเบกขานั้นไว้เล่า?
      เฉลยว่า เพราะมีกิจยังไม่ปรากฏชัด.
      จริงอยู่ กิจแห่งฌานุเบกขานั้นในปฐมฌานและทุติยฌานนั้น ชื่อว่ายังไม่ปรากฏชัด เพราะถูกปฏิปักขธรรมมีวิตกเป็นต้นครอบงำ.
      ส่วนในตติยฌานนี้ ฌานุเบกขานี้เกิดมีกิจปรากฏชัด เป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว เพราะวิตกวิจารและปีติครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสฌานุเบกขานั้นไว้แล.
      การพรรณนาอรรถโดยประการทั้งปวงแห่งบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหาสึ นี้จบแล้ว...ฯลฯ...


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=1&p=11
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=01&A=1&Z=315
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2015, 09:13:07 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 08:44:46 am »
0



"ตัตรมัชฌัตตุเบกขา" ในชั้นอรรถกถา

อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ
๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส


ในบทว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ ชื่อว่าอุเบกขา เพราะอรรถว่าเห็นโดยความเข้าถึง. อธิบายว่า เห็นเสมอ คือเป็นผู้ไม่ตกไปในฝักใฝ่เลยเห็น ผู้พร้อมเพรียงด้วยตติยฌาน ท่านเรียกว่า ผู้มีอุเบกขา เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยอุเบกขานั้น ซึ่งบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกำลัง.

     ก็อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ
     ฉฬังคุเบกขา, พรหมวิหารุเบกขา, โพชฌังคุเบกขา, วิริยุเบกขา, สังขารุเบกขา, เวทนุเบกขา, วิปัสสนุเบกขา, ตัตรมัชฌัตตุเบกขา, ฌานุเบกขา และปาริสุทธิอุเบกขา.

      ans1 ans1 ans1 ans1

     บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น อุเบกขาที่มีภาวะปกติคือบริสุทธิ์ เป็นอาการละคลองแห่งอารมณ์ ๖ ทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ในทวาร ๖ ของพระขีณาสพ มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้มีขีณาสพในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ดังนี้ นี้ชื่อว่าฉฬังคุเบกขา.

     อุเบกขาที่มีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า มีใจสหรคตด้วยอุเบกขาแผ่ไปสู่ทิศ ๑ อยู่ ดังนี้ นี้ชื่อว่าพรหมวิหารุเบกขา.

     อุเบกขาที่มีอาการเป็นกลางแห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ซึ่งอาศัยวิเวก ดังนี้ นี้ชื่อว่าโพชฌังคุเบกขา.

     อุเบกขากล่าวคือความเพียรที่ไม่ปรารภเกินไป ไม่ย่อหย่อนเกินไป มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า มนสิการถึงอุเบกขานิมิตตามกาลอันสมควร ดังนี้ นี้ชื่อว่าวิริยุเบกขา.

    อุเบกขาที่พิจารณานิวรณ์เป็นต้นแล้วเป็นกลางในการถือเอา ข้อตกลงมาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า สังขารุเบกขาเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธิเท่าไร สังขารุเบกขาเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา เท่าไร สังขารุเบกขา ๘ เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสมาธิ สังขารุเบกขา ๑๐ เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งวิปัสสนา ดังนี้ นี้ชื่อว่าสังขารุเบกขา.

    อุเบกขาที่เรียกกันว่าไม่ทุกข์ไม่สุข มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า สมัยใด กุศลจิตฝ่ายกามาพจรเกิดขึ้นแล้ว สหรคตด้วยอุเบกขา ดังนี้ นี้ชื่อว่าเวทนุเปกขา.

     อุเบกขาที่เป็นกลางในการพิจารณา มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า ละสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่นั้นเสีย ได้เฉพาะอุเบกขา ดังนี้ นี้ชื่อว่าวิปัสสนุเบกขา.

     อุเบกขาที่มาในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ซึ่งสหชาตธรรมนำไปด้วยดีแล้ว นี้ชื่อว่าตัตรมัชฌัตตุเปกขา.

     อุเบกขาที่ไม่ให้การตกไปในฝักใฝ่เกิดขึ้นในอารมณ์นั้น แม้เป็นสุขอย่างยอดเยี่ยม มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่ ดังนี้ นี้ชื่อว่าฌานุเบกขา.

     อุเบกขาที่บริสุทธิ์จากข้าศึกคือกิเลสทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ในการยังข้าศึกคือกิเลสให้สงบ มาในบาลีอาคตสถานอย่างนี้ว่า จึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดังนี้ นี้ชื่อว่าปาริสุทธิอุเบกขา.




     บรรดาอุเบกขาเหล่านั้น ฉฬังคุเปกขา พรหมวิหารุเปกขา โพชฌังคุเปกขา ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ฌานุเปกขาและปาริสุทธุเปกขา โดยความก็เป็นตัตรมัชฌัตตุเปกขาอย่างเดียวเท่านั้น.
     ก็ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั้นมีประเภทดังนี้โดยประเภทแห่งตำแหน่งนั้นๆ ดุจสัตว์แม้คนเดียว มีประเภทเป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว เป็นผู้ใหญ่ เป็นเสนาบดีและเป็นพระราชาเป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ในอุเบกขาเหล่านั้น ในที่ใดมีฉฬังคุเปกขา ในที่นั้นไม่มีโพชฌังคุเปกขาเป็นต้น ก็หรือในที่ใดมีโพชฌังคุเปกขา ในที่นั้นไม่มีฉฬังคุเปกขาเป็นต้น พึงทราบดังนี้.

     อุเบกขาเหล่านั้นโดยความก็เป็นอย่างเดียวกันฉันใด แม้สังขารุเปกขาและวิปัสสนุเปกขาโดยความก็เป็นอย่างเดียวกันฉันนั้น ก็ปัญญานั่นแลแบ่งเป็น ๒ อย่างด้วยสามารถแห่งกิจ.
     เหมือนอย่างว่า บุรุษถือท่อนไม้เหมือนกีบแพะค้นหางูที่เข้าเรือนเวลาเย็น เห็นมันนอนอยู่ในฉางแกลบ พิจารณาดูว่า งูหรือมิใช่หนอ เห็นลักษณะงูชัด ๓ อย่างก็หมดสงสัย เกิดความเป็นกลางในการค้นหาว่า งู ไม่ใช่งู ฉันใด ความเป็นกลางในการพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขารทั้งหลายเป็นต้น ในเมื่อเห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาญาณ เกิดขึ้นแก่ผู้ปรารภวิปัสสนาฉันนั้นนั่นแล ความเป็นกลางนี้ชื่อว่าวิปัสสนุเปกขา.

     ก็เมื่อบุรุษนั้นจับงูไว้มั่นด้วยท่อนไม้มีลักษณะเหมือนกีบแพะ คิดว่า เราจะไม่เบียดเบียนงูนี้และจะไม่ให้งูนี้กัดเรา จะพึงปล่อยไปอย่างไร เมื่อกำลังคิดหาวิธีปล่อยอยู่นั่นแล มีความเป็นกลางในการจับงูไว้ฉันใด เมื่อบุคคลเห็นภพทั้ง ๓ เหมือนถูกไฟไหม้ เพราะเห็นไตรลักษณะแล้ว ความเป็นกลางในการยึดถือสังขารมีขึ้นฉันนั้นเหมือนกัน ความเป็นกลางนี้ชื่อว่าสังขารุเปกขา.
     แม้สังขารุเปกขาก็ย่อมสำเร็จด้วยความสำเร็จแห่งวิปัสสนุเปกขา ด้วยประการฉะนี้.   
     ก็ด้วยประการนี้ สังขารุเปกขานี้จึงแบ่งเป็น ๒ โดยกิจ กล่าวคือความเป็นกลางในการพิจารณาและการยึดถือ. ส่วนวิริยุเปกขาและเวทนุเปกขาต่างกันและกัน และต่างจากอุเบกขาที่เหลือลงทั้งหลายโดยความเท่านั้นแล.


    st12 st12 st12 st12

    และท่านสรุปไว้ในที่นี้ว่า :-
    อุเปกขา โดยพิสดารมี ๑๐ คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขา พรหมวิหารุเปกขา โพชฌังคุเปกขา ฉฬังคุเปกขา ฌานุเปกขา ปาริสุทธุเปกขา วิปัสสนุเปกขา สังขารุเปกขา เวทนุเปกขา วิริยุเปกขา แบ่งที่เป็นความเป็นกลางเป็นต้น ๖ ที่เป็นปัญญา ๒ อย่าง อย่างละ ๒ รวมเป็น ๔ ดังนี้
    บรรดาอุเบกขาเหล่านี้ ฌานุเปกขาท่านประสงค์เอาในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้.

    ฌานุเปกขานั้นมีมัชฌัตตะความเป็นกลาง เป็นลักษณะ ในข้อนี้ท่านกล่าวไว้ว่า ก็ฌานุเปกขานี้ โดยความก็คือ ตัตรมัชฌัตตุเปกขานั่นเอง มิใช่หรือ และฌานุเปกขานั้นก็มีอยู่แม้ในปฐมฌานและทุติยฌาน ฉะนั้น ฌานุเปกขานี้จึงควรกล่าวแม้ในฌานนั้นอย่างนี้ว่า เป็นผู้มีอุเบกขาอยู่
    เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่กล่าวไว้ เพราะไม่ประกอบกิจที่จะต้องขวนขวาย ด้วยว่าฌานุเปกขานั้นไม่มีกิจในฌานนั้นที่ต้องขวนขวาย เพราะวิตกเป็นต้นครอบงำไว้ แต่ในฌานนี้ เพราะวิตกวิจารและปีติมิได้ครอบงำ จึงเป็นเหมือนเงยศีรษะขึ้น มีกิจที่ต้องขวนขวาย ฉะนั้นจึงกล่าวไว้...ฯลฯ....


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29.0&i=30&p=3
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=29&A=487&Z=1310




ask1 ask1 ask1 ask1

     เข้าใจประโยคนี้หรือไม่.?
     "อุเบกขาที่มาในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ซึ่งสหชาตธรรมนำไปด้วยดีแล้ว นี้ชื่อว่าตัตรมัชฌัตตุเปกขา"

 ans1 ans1 ans1 ans1

เยวาปนกธรรม “ก็หรือว่าธรรมแม้อื่นใด” หมายถึง ธรรมจำพวกที่กำหนดแน่ไม่ได้ว่าข้อไหนจะเกิดขึ้น ได้แก่ เจตสิก ๑๖
      เป็นพวกที่เกิดในกุศลจิต ๙ คือ
      ๑. ฉันทะ ๒. อธิโมกข์ ๓. มนสิการ ๔. อุเบกขา (ตัตรมัชฌัตตตา) ๕. กรุณา ๖. มุทิตา ๗. สัมมาวาจา (วจีทุจริตวิรัติ) ๘. สัมมากัมมันตะ (กายทุจริตวิรัติ) ๙. สัมมาอาชีวะ (มิจฉาชีววิรัติ)
      เป็นพวกที่เกิดในอกุศลจิต ๑๐ คือ
      ๑. ฉันทะ ๒. อธิโมกข์ ๓. มนสิการ ๔. มานะ ๕. อิสสา ๖. มัจฉริยะ ๗. ถีนะ ๘. มิทธะ ๙. อุทธัจจะ ๑๐. กุกกุจจะ
       นับเฉพาะที่ไม่ซ้ำ (คือเว้น ๓ ข้อแรก) เป็น ๑๖


สหชาตธรรม ธรรมที่เกิดพร้อมกัน


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2015, 09:12:09 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 09:10:17 am »
0



"ตัตรมัชฌัตตุเบกขา" ในชั้นอรรถกถา

อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์
จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายตติยฌาน   


ในคำว่า อุเปกฺขโก จ วิหรติ นี้ มีวิเคราะห์ว่า ธรรมที่ชื่อว่าอุเบกขา เพราะอรรถว่าย่อมเห็นโดยความเกิดขึ้น. อธิบายว่า ย่อมเห็นเสมอ คือเห็นอยู่โดยไม่ตกไปเป็นฝ่ายไหน. พระโยคาวจรผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน ตรัสเรียกว่า อุเปกฺขโก (ผู้เข้าไปเพ่ง) เพราะประกอบด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์ไพบูลย์มีกำลังนั้น.

    ว่าด้วยอุเบกขา ๑๐ อย่าง               
    ก็อุเบกขามี ๑๐ อย่าง คือ
    ฉฬังคูเบกขา (อุเบกขาของพระขีณาสพคือตัตรมัชฌัตตตา)
    พรหมวิหารูเบกขา (อุเบกขาในพรหมวิหารคือตัตรมัชฌัตตตา)
    โพชฌังคูเบกขา (อุเบกขาในสัมโพชฌงค์คือตัตรมัชฌัตตตา)
    วิริยูเบกขา (อุเบกขาคือความเพียร)
    สังขารูเบกขา (อุเบกขาในฌานและวิปัสสนาคือปัญญา)
    เวทนูเบกขา (อุเบกขาเวทนา)
    วิปัสสนูเบกขา (อุเบกขาในวิปัสสนาคือปัญญา)
    ตัตรมัชฌัตตูเบกขา (ตัตรมัชฌัตตเจตสิก)
    ฌานูเบกขา (อุเบกขาในฌานคือตัตรมัชฌัตตตา)
    ปาริสุทธิอุเบกขา (อุเบกขาทำสติให้บริสุทธิ์คือตัตรมัชฌัตตตา).


     ans1 ans1 ans1 ans1

     บรรดาอุเบกขา ๑๐ เหล่านั้น อุเบกขาใดเป็นธรรมบริสุทธิ์เป็นปกติ ในคลองแห่งอารมณ์ ๖ ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาในทวาร ๖ ของพระขีณาสพเป็นอาการมีอยู่ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นขีณาสพในธรรมวินัยนี้เห็นรูป ด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีสติ มีความรู้สึกตัว วางเฉยอยู่เทียว ย่อมอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าฉฬังคูเบกขา.

     ก็อุเบกขาใดมีอาการเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าอุเบกขาในพรหมวิหาร.

     อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในสหชาตธรรมทั้งหลาย ที่มาในพระบาลีว่า ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อาศัยวิเวก ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

     อุเบกขาใด กล่าวคือความเพียรที่ไม่หย่อนไม่ยิ่งของความเพียรเกินไป มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ภิกษุมนสิการนิมิตอุเบกขาตลอดกาล ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าวิริยูเบกขา.

    อุเบกขาใด มีอาการเป็นกลาง มีการกำหนดพิจารณานีวรณ์เป็นต้น มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารูเบกขาเท่าไร ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา สังขารูเบกขา ๘ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารูเบกขา ๑๐ อย่าง ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา ดังนี้ อุเบกขานี้ ชื่อว่าสังขารูเบกขา.

     อุเบกขาใดที่หมายรู้ในความไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า กามาวจรกุศลจิตย่อมเกิดขึ้นในสมัยนั้น ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าเวทนูเบกขา.

    อุเบกขาใดมีความเป็นกลางในการค้นหาพิจารณา ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า สิ่งใดมีอยู่เป็นแล้ว ย่อมละสิ่งนั้นเสีย ภิกษุย่อมได้เฉพาะซึ่งอุเบกขา ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าวิปัสสนูเบกขา.

     อุเบกขาใดยังสหชาตธรรมให้เป็นไปสม่ำเสมอ ที่มาในเยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่าตัตรมัชฌัตตูเบกขา.

     อุเบกขาใดเป็นชาติตกไปในความสุขแห่งฌานนั้น แม้เป็นสุขอันเลิศ ที่มาในพระบาลีอย่างนี้ว่า เป็นผู้เพ่งอยู่ดังนี้ ชื่อว่าฌานูเบกขา.

     อุเบกขาใดบริสุทธิ์จากปัจจนิกธรรมทั้งปวง ไม่ต้องขวนขวายแม้ในการสงบปัจจนิกธรรม ที่มีมาในพระบาลีอย่างนี้ว่า ฌานที่ ๔ มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่าปาริสุทธิอุเบกขา...ฯลฯ...

     :25: :25: :25: :25:

    ข้อความที่เหลือเหมือนกับข้อความในอรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส (ดังแสดงมาแล้วข้างต้น)


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=139
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=34&A=1279&Z=1342
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 10:04:24 am »
0
อ้างถึง
ข้อความโดย: fasai

ask1
อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ

 thk56




 ans1 ans1 ans1 ans1

คำว่า "ตัตรมัชฌัตตุเบกขา" เท่าที่ค้นได้ปรากฏอยู่ในอรรถกถาดังนี้
    ๑. อรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค  เวรัญชกัณฑ์
        (อรรถกถาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑)
    ๒. อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิทเทส อัฏฐกวัคคิกะ  ๒. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
        (อรรถกถาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๙  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส)
    ๓. อรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา มัคคสัจนิทเทส
        (อรรถกถาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค)
    ๔. อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์  จิตตุปปาทกัณฑ์
        (อรรถกถาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๔  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑ ธรรมสังคณีปกรณ์)


ขอนำ "กถาว่าด้วยตติยฌาน" ในอรรถกถา มหาวิภังค์ ปฐมภาค เวรัญชกัณฑ์ มาแสดงเป็นตัวอย่างดังนี้
      อุเบกขามีอยู่ ๑๐ อย่าง
      ๑. ฉฬังคุเปกขา            อุเบกขาในองค์(คืออารมณ์) ๖.
      ๒. พรหมวิหารุเปกขา    อุเบกขาในพรหมวิหาร.
      ๓. โพชฌังคุเปกขา    อุเบกขาในโพชฌงค์.
      ๔. วิริยุเปกขา     อุเบกขาในวิริยะ.
      ๕. สังขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร.
      ๖. เวทนุเปกขา     อุเบกขาในเวทนา.
      ๗. วิปัสสนุเปกขา    อุเบกขาในวิปัสสนา.
      ๘. ตัตรมัชฌัตตุเปกขา  อุเบกขาในความวางตนเป็นกลางในธรรมนั้นๆ.
      ๙. ฌานุเปกขา            อุเบกขาในฌาน.
     ๑๐. ปาริสุทธุเปกขา    อุเบกขาในความบริสุทธิ์.



 ans1 ans1 ans1 ans1

   เท่าที่ค้นดูพบว่า
   ๑. ตัตรมัชฌัตตุเบกขา อยู่ในฌานทั้งสี่ จะเริ่มปรากฏชัดในตติยฌาน และจะบริสุทธิ์ที่สุดในจตุตฌาน ความเห็นนี้นำมาจากอรรถกถา แต่....
   ๒. เมื่อเอ่ยถึงคำว่า อุเบกขา ในชั้นบาลีจะบอกว่า อุเบกขาจะเห็นได้ในตติยฌานขึ้นไป เช่น ในพระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์ เวรัญชกัณฑ์
   ๓. อุเบกขา ๑๐ อย่างนี้ ใครเป็นคนกล่าว.? ในอรรถกถา ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค ๑. ญาณกถา มัคคสัจนิทเทส(อรรถกถาของพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค) ได้ระบุว่า พระสารีบุตรเป็นคนกล่าวเอาไว้
   อยากอ่าน..คลิกตรงนี่ได้เลย
   http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31.0&i=85&p=3

   ๔. สงสัยอะไรถามได้ครับ อย่าได้เกรงใจ



    :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

    ตอบช้าหน่อย ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ


    :welcome: :49: :25: st12


กระทู้แนะนำ
- ธรรมะสาระวันนี้ "พึงพอกพูน อุเบกขา เพื่อการภาวนาที่สมบูรณ์"
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7665.0
- วิธีการเข้าถึงอุเบกขาจิต
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0
- เรื่อง รูปฌาน และอรูปฌาน
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=19.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 10, 2015, 10:14:33 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 10:43:04 am »
0
 like1 like1 ask1
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อยากได้คำอธิบาย เรื่อง ตัตรมัชฌัตตุเบกขา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 10, 2015, 11:18:08 am »
0
 like1 st11 st12
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ