ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ  (อ่าน 6242 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 12:40:10 pm »
0
 ask1

  1 อสงไขย
    มีกี่กัปป์ คะ ?
    มีกี่ปี คะ ?

   ไม่เข้าใจเลยคะ

   thk56 st12 :58:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 07:23:43 pm »
0

ขอบคุณภาพจาก http://awesomewallpapers.files.wordpress.com


กัปหนึ่ง..นานแค่ไหน
๕. ปัพพตสูตร

      [๔๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ
       เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไรหนอแล.?

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
       ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่าเท่านี้ปี เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ
       ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ


      [๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า
      ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า ภูเขาหินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น ๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนานอย่างนี้แล
      บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่แสนกัป
      ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ


            จบสูตรที่ ๕


ที่มา :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖  บรรทัดที่ ๔๘๑๒ - ๔๘๓๑.  หน้าที่  ๒๐๒ - ๒๐๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=4812&Z=4831&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=429



ans1 ans1 ans1 ans1

กัป, กัลป์ กาลกำหนด, ระยะเวลายาวนานเหลือเกิน ที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาฬประลัยครั้งหนึ่ง (ศาสนาฮินดูว่าเป็นวันหนึ่งคืนหนึ่งของพระพรหม)
       ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่าเปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูงด้านละ ๑ โยชน์ ทุก ๑๐๐ ปี มีคนนำผ้าเนื้อละเอียดอย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น ;
       กำหนดอายุของโลก ;
       กำหนดอายุ เรียกเต็มว่า อายุกัป เช่นว่า อายุกัปของคนยุคนี้ ประมาณ ๑๐๐ ปี


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 07:37:29 pm »
0
ขอบคุณภาพจาก www.bloggang.com


อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการ

     [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สังวัฏกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สังวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ว่าเท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
     ดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อใด วิวัฏกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปีเท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด วิวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้แล ฯ


ที่มา :-
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ อินทรียวรรคที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=3884&Z=4082



ans1 ans1 ans1 ans1

อสงไขย [อะสงไข]
        ว. มากจนนับไม่ถ้วน.
        น. ชื่อมาตรานับจํานวนใหญ่ที่สุด คือ โกฏิยกกําลัง ๒๐. (ป. อสงฺเขยฺย ส. อสํขฺย).


ที่มา พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมแปล พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

 ans1 ans1 ans1 ans1

อสงไขย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อสงไขย (สันสกฤต: असंख्येय อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นตัวบอกปริมาณ (เป็นคำอุปสรรค, prefix) สำหรับจำนวน 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว)

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ให้นิยามว่า หนึ่งอสงไขยเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 หมายถึง (10ยกกำลัง7)ยกกำลัง20  ซึ่งก็เท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 เช่นกัน

บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข 10^{ (a\cdot2^b)} ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a=5, b=103 ส่วนพระศิกษานันทะตีความว่า a=7, b=103 และ Thomas Cleary ตีความว่า a=10, b=104

 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่ไม่อาจคำนวณได้ มีอุปมาว่า ประมาณเม็ดฝนของการเกิดฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย

อสงไขยใช้เป็นหน่วยสำหรับสิ่งใดก็ได้ เช่น มีถั่วเป็นจำนวน 1 อสงไขยเมล็ด ในศาสนาพุทธมักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป ซึ่ง 1 อสงไขย เป็นตัวบ่งปริมาณ (prefix) เช่นเดียวกับคำว่า สิบ, ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน ฯลฯ โดยที่ อสงไขย คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 10 ยกกำลัง 140 

ดังนั้น "อสงไขยกัป" หมายถึงจำนวนกัปทั้งหมด 10 ยกกำลัง 140 กัป (จำนวนครั้งที่จักรวาลเกิดแล้วดับทั้งหมด 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ทั้งหมด 140 ตัว ซึ่งนับได้ว่ายาวนานมาก ๆ)


 :96: :96: :96: :96:

นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถายังมีการใช้คำว่า "อสงไขย" เฉย ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ในความหมายที่ว่า มากมาย หรือ นับไม่ถ้วน (infinity) ไม่ได้ใช้ในแง่ของการบอกปริมาณว่าเท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 และไม่ได้หมายถึง อสงไขยกัป เช่น

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งมี ๔ อสงไขย ๔ อสงไขย เป็นไฉน? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน กาลใด กัปเสื่อม. ตลอดกาลนั้นไม่ง่ายเพื่อจะนับ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด สังวัฏฏกัปตั้งอยู่ ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเจริญ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด วิวัฏฏกัป ตั้งอยู่. ตลอดกาลนั้น ไม่ง่ายนักที่จะนับ"
        — องฺ. จตุกก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๑๕๖


ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/อสงไขย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2015, 09:44:50 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 08:03:16 pm »
0


อธิบายคำว่า "มหากัปมี ๔ อสงไขย"
ยกเอาข้อความใน "อรรถกถาจริยาปิฎก" มาแสดงบางส่วน

        มาในมหากัป ในบทมีอาทิว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว กปฺปสฺส อสงฺเขยฺยานิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัปมีสี่อสงไขย.
        กัปในที่นี้ได้แก่ มหากัป.
        บทสำเร็จในคำว่า กปฺป นั้นมีดังนี้

        ชื่อว่า กปฺโป เพราะย่อมกำหนด.
        อธิบายว่า พึงกำหนดมีปริมาณที่ควรกำหนดด้วยการเปรียบกับกองเมล็ดผักกาดเป็นต้นอย่างเดียวเพราะไม่สามารถคำนวณด้วยปีได้ว่า เท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี เท่านั้นแสนปี.
        สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปยาวเพียงไรหนอ.
        ดูก่อนภิกษุ กัปยาวมาก กำหนดไม่ได้ว่า เท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี เท่านั้นแสนปี.
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามารถจะเปรียบเทียบได้หรือไม่ พระเจ้าข้า.
        พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สามารถเปรียบเทียบได้ ภิกษุ. เหมือนอย่างว่ากองเมล็ดผักกาด โดยความยาวโยชน์หนึ่ง โดยความกว้างโยชน์หนึ่ง โดยความสูงโยชน์หนึ่ง เมื่อล่วงไปร้อยปี พันปี ผู้วิเศษเก็บเมล็ดผักกาดไปเมล็ดหนึ่งๆ เมล็ดผักกาดหมด ก็ยังไม่สิ้นกัป.
        ดูก่อนภิกษุ กัปยาวอย่างนี้แล.


         :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

        มหากัปนี้นั้นสงเคราะห์เข้าด้วยสี่อสงไขยกัป ด้วยสามารถแห่งสังวัฏฏกัปเป็นต้น.
        สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สี่อสงไขยกัปเหล่านี้
        สี่อสงไขยกัปเป็นไฉน.
        คือ สังวัฏฏกัป สังวัฏฏัฏฐายีกัป วิวัฏฏกัป วิวัฏฏัฏฐายีกัป.

        ในกัปเหล่านั้น สังวัฏฏกัปมี ๓ คือ
            เตโชสังวัฏฏกัป ๑
            อาโปสังวัฏฏกัป ๑
            วาโยสังวัฏฏกัป ๑.
        แดนสังวัฏฏกัปมี ๓ คือ
            อาภัสสรา ๑
            สุภกิณหา ๑
            เวหัปผลา ๑.


         ans1 ans1 ans1 ans1

        ก็ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยไฟ ในกาลนั้น กัปเบื้องล่างจากอาภัสสรา ย่อมถูกไฟไหม้.
        ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยน้ำ ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากสุภกิณหา ย่อมถูกน้ำละลาย.
        ในกาลใดกัปย่อมเป็นไปด้วยลม ในกาลนั้นกัปเบื้องล่างจากเวหัปผลา ย่อมถูกลมกำจัด.
        แต่โดยกว้างออกไปจักรวาฬแสนโกฏิ ย่อมพินาศ. ท่านกล่าวว่า เป็นอาณาเขตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

        ในสังวัฏฏกัป ๓ เหล่านั้น การทำลายเปลวไฟ น้ำหรือลม ตั้งแต่มหาเมฆยังกัปให้พินาศตามลำดับ นี้เป็นอสงไขยหนึ่ง ชื่อว่าสังวัฏฏกัป.
        มหาเมฆตั้งขึ้นเต็มจักรวาฬแสนโกฏิตั้งแต่การทำลายเปลวไฟอันยังกัปให้พินาศ นี้เป็นอสงไขยที่สองชื่อว่าสังวัฏฏฐายีกัป.
        ความปรากฏแห่งดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ตั้งแต่มหาเมฆตั้งขึ้น นี้เป็นอสงไขยกัปที่สาม ชื่อว่าวิวัฏฏกัป.
        มหาเมฆยังกัปให้พินาศอีก ตั้งแต่ความปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ นี้เป็นอสงไขยกัปที่สี่ ชื่อว่าวิวัฏฏัฏฐายีกัป.

         :49: :49: :49: :49:

       ในกัปเหล่านี้ การสงเคราะห์กัปในระหว่าง ๖๔ กัป ชื่อว่า วิวัฏฏัฏฐายีกัป.
       ด้วยบทนั้นพึงทราบว่า วิวัฏฏกัป เป็นต้น กำหนดด้วยกาลอันเสมอกัน.
       อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า การสงเคราะห์กัปในระหว่าง ๒๐ กัป.

       ด้วยประการฉะนี้ สี่สงไขยกัปเหล่านี้เป็นหนึ่งมหากัป.
       ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มหากัปนี้นั้นสงเคราะห์ด้วยสี่อสงไขยกัปด้วยอำนาจแห่งสังวัฏฏกัปเป็นต้น.

       อนึ่ง บทว่า กปฺเป เป็นทุติยาวิภัตติ์พหุวจนะ ด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ แปลว่า ตลอดกัป สิ้นกัป.
       บทว่า สตสหสฺเส แสดงถึงปุลลิงค์โดยเชื่อมกับศัพท์ว่า กปฺป. แม้ในที่นี้ก็เป็นพหุวจนะด้วยเป็นอัจจันตสังโยคะ.
       ทั้งสองบทนี้เป็นอธิกรณะเสมอกัน
     
        st12 st12 st12 st12

      แม้ในบทว่า จตุโร จ อสงฺขิเย นี้ ก็มีนัยนี้แล.
       อนึ่ง บทว่า อสงฺขิเย ย่อมให้รู้ความนี้ว่า กปฺปานํ โดยคัมภีร์ เพราะไม่กล่าวบทอื่นและเพราะกล่าวถึงกัปเท่านั้น. การเว้นบทที่กล่าวแล้วคือเอาบทอะไรๆ ที่ไม่ได้กล่าวไว้ไม่สมควร.

       จ ศัพท์เป็นสัมบิณฑนัตถะ (บวกความท่อนหลังเข้ากับความท่อนต้น).
       มีเนื้อความว่า สี่อสงไขยแห่งมหากัป และแสนมหากัป
       พึงทราบความในบทว่า อสงฺขิเย นี้ ชื่อว่า อสงฺขิยา เพราะไม่สามารถจะนับได้.
       อธิบาย เกินการคำนวณ.

       อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า อสงฺเขยฺยํ เป็นการนับที่แปลกอย่างหนึ่ง.
       อาจารย์พวกนั้นกล่าวว่า คะแนนมหากำลังสิบเว้นฐานะ ๕๙ อันมีคะแนนมหากำลังเป็นที่สุดตั้งแต่ รวมเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าอสงไขย ในลำดับอัฏฐานะ ๖๐.
       ข้อนั้นไม่ถูก การคำนวณที่แปลกชื่อว่าในระหว่างฐานะที่นับได้.
       ในระหว่างฐานะหนึ่ง ชื่อว่าอสงไขย เพราะไม่มีความที่การคำนวณที่แปลกนั้นจะพึงนับไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ข้อนั้นจึงผิด.

       ข้อที่กัปนั้นมี ๔ อย่าง ในความเป็นอสงไขยกัป เพราะความที่เป็นกัปนับไม่ได้ไม่ถูกมิใช่หรือ.
       ไม่ถูกก็ไม่ใช่ เพราะความที่อสงไขยกัป ท่านปรารถนาแล้วในฐานะ ๔. ....ฯลฯ....


ที่มา :-
อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก การบำเพ็ญทานบารมี ๑. อกิตติจริยา
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.3&i=1
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=8637&Z=8661
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2015, 10:03:16 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 08:19:07 pm »
0



โลกสลาย สวรรค์ล่ม พรหมพินาศ


กาลพินาศต้องเกิดกับทุกภพภูมิ

สัตว์ที่อยู่ในสังสารวัฏ อันประกอบด้วย ๓๑ ภพภูมิ ตกอยู่ภายใต้ “กฏแห่งไตรลักษณ์” ทั้งสิ้นทุกภูมิจะถูกทำลายด้วย ไฟ น้ำ ลม

     ในคราวที่โลกถูกทำลายด้วยไฟ ไฟจะลุกไหม้ตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ จนถึงปฐมฌานภูมิ ๓ ถูกทำลายทั้งหมด
     คราวที่โลกถูกทำลายด้วยน้ำจะท่วมตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ถูกทำลายทั้งหมด
     คราวที่โลกถูกทำลายด้วยลม ลมจะพัดทำลายตั้งแต่อบายภูมิ มนุษยภูมิ เทวภูมิ ปฐมฌานภูมิ ๓ ทุติยฌานภูมิ ๓ ตติยฌานภูมิ ๓ จะถูกทำลายทั้งหมด

     ภูมิที่พ้นจากการถูกทำลายด้วยไฟ น้ำ ลม คือ จตุตถฌานภูมิ และ อรูปภูมิ


 :91: :91: :91: :91:

อายุของสัตว์ในภูมิ ๓๑

ต่อไปจะได้พรรณนาถึงอายุของเทวดาพรหมทั้งหลาย จะได้เห็นว่าการได้ไปเสวยสุขที่โลกสวรรค์นั้นมีอายุเท่าไรบ้าง และอายุของสัตว์นรกว่ามีอายุเสวยผลอกุศลกรรมเท่าไรบ้าง ทำบุญแล้วอธิษฐานให้เกิดในสวรรค์ ในอรรถกถาธรรมบท กล่าวเรื่องเวลาของสวรรค์เทียบกับมนุษย์ไว้ดังนี้ :-

 



     ในดาวดึงส์เทวโลกเทวบุตรองค์หนึ่งชื่อว่า มาลาภารี ไปเที่ยวชมอุทยานพร้อมกับหมู่เทพอัปสร เทพธิดาองค์หนึ่งจุติ ในขณะที่กำลังนั่งอยู่บนกิ่งต้นไม้ให้ ดอกไม้หล่นจากต้น สรีระของนางดับหายไปเหมือนอย่างเปลวประทีปดับ นางถือปฏิสนธิในตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถีและระลึกชาติได้ว่า เป็นภรรยาของมาลาภารีเทวบุตร นางตั้งความปรารถนาจะไปเกิดในสำนักของเทพสามีอีก

     ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี นางมีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ทำการบูชาพระรัตนตรัย ทำบุญกุศลต่างๆ และตั้งความปรารถนาอย่างเดียวนั้นตั้งแต่ยังเยาว์วัย จนถึงได้นามว่า ปติปูชิกา แปลว่า บูชาเพื่อสามี

     เมื่อเจริญวัยก็มีสามี คนทั้งหลายก็เข้าใจว่าเป็นที่สมปรารถนาแล้ว นางมีบุตรหลายคนโดยลำดับ ได้ตั้งหน้าทำบุญกุศลต่างๆ อยู่เป็นนิตย์ ในวันสุดท้ายของชีวิต เมื่อฟังธรรมรักษาสิกขาบทแล้ว ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคปัจจุบัน บังเกิดในสำนักเทพสามีในสวนสวรรค์นั้นแหละ

      ขณะนั้น มาลาภารีเทวบุตรก็กำลังอยู่ในอุทยานหมู่เทพอัปสรกาลังเก็บร้อยดอกไม้กันอยู่ เทวบุตรได้ทักถามว่านางหายไปไหนแต่เช้า นางได้ตอบว่าจุติแล้วไปเกิดในมนุษย์ ได้เล่าเรื่องของนางในมนุษย์โดยตลอด และได้เล่าถึงความตั้งใจของนางเพื่อที่จะมาเกิดอีกในสำนักของเทพสามี

      บัดนี้ก็ได้มาเกิดสมปรารถนาด้วยอำนาจบุญกุศลและความตั้งใจ เทวบุตรถามถึงกำหนดอายุมนุษย์ เมื่อได้รับตอบว่า ประมาณร้อยปีเกินไปมีน้อย
      ได้ถามต่อไปว่าหมู่มนุษย์มีอายุเพียงเท่านี้ พากันประมาทเหมือนอย่างหลับ หรือพากันทำบุญกุศลต่างๆ
      เทพธิดาตอบว่า พวกมนุษย์โดยมากพากันประมาท เหมือนอย่างมีอายุตั้งอสงไขย เหมือนอย่างไม่แก่ ไม่ตาย เทวบุตรได้เกิดความสังเวชใจ


       ans1 ans1 ans1 ans1

      ความจากพระธรรมบท มุ่งเตือนใจให้ไม่ประมาท เพราะทุกๆคนจะต้องตาย ขณะที่ยังไม่อิ่มยังเพลิดเพลินอยู่ในกาม เหมือนอย่างนางเทพธิดาเพลินเก็บดอกไม้ต้องจุติ(ตาย) ทันทีในสวนสวรรค์นั้น
      ในติกนิบาต แสดงอายุสวรรค์เทียบอายุมนุษย์ไว้ว่า

 



อายุของเทวดา

ห้าสิบปีมนุษย์ เป็นหนึ่งคืนวัน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา
๓๐ คืนวันเป็นหนึ่งเดือนสวรรค์นั้น  ๑๒ เดือนเป็นหนึ่งปีสวรรค์
ห้าร้อยปีทิพย์เป็นประมาณอายุของเทพชั้นจาตุมหาราชิกา
เท่ากับเก้าล้านปีมนุษย์ (50x360x500 = 9,000,000)


หนึ่งร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นับเดือนปีเช่นเดียวกัน
พันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นดาวดึงส์
เท่ากับสามโกฏิหกล้านปีมนุษย์ (4x9,000,000 = 36,000,000)

สองร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นยามา นับเดือนปีเช่นเดียวกัน สองพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นยามา เท่ากับสิบสี่โกฏิสี่ล้านปีมนุษย์ (4x36,000,000 = 144,000,000)

สี่ร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นดุสิต นับเดือนปีเช่นเดียวกัน สี่พันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นดุสิต เท่ากับห้าสิบเจ็ดโกฏิหกล้านปีมนุษย์ (4x144,000,000 = 576,000,000)

แปดร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันสวรรค์ชั้นนิมมานรตี นับเดือนปีเช่นเดียวกัน แปดพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นนิมมานรตี
เท่ากับสองร้อยสามสิบโกฏิกับสี่ล้านปีของมนุษย์ (4x576,000,000 = 2,304,000,000)


หนึ่งพันหกร้อยปีมนุษย์เป็นหนึ่งคืนวันในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี นับเดือนปีเช่นเดียวกัน หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
เท่ากับเก้าร้อยยี่สิบเอ็ดโกฏิกับหกล้านปีมนุษย์ (4x2,304,000,000 = 9,216,000,000)

 ans1 ans1 ans1 ans1

อายุของรูปพรหม

เทพชั้นพรหมโลกยิ่งมีอายุมากขึ้นไปอีก ดังต่อไปนี้
 
๑. พรหมปาริสัชชา มีอายุเท่าส่วนที่สามของกัป คือหนึ่งในสามของกัป
๒. พรหมปุโรหิต มีอายุกึ่งกัป
๓. มหาพรหม มีอายุหนึ่งกัป
๔. ปริตตาภาพรหม มีอายุสองกัป
๕. อัปปมาณาภาพรหม มีอายุสี่กัป
๖. อาภัสสราพรหม มีอายุแปดกัป
๗. ปริตตสุภาพรหม มีอายุสิบหกกัป
๘. อัปปมาณสุภาพรหม มีอายุสามสิบสองกัป
๙. สุภกิณหาพรหม มีอายุหกสิบสี่กัป
๑๐. เวหัปผลาพรหม และ อสัญญสัตพรหม มีอายุห้าร้อยกัป
๑๑. อวิหาพรหม มีอายุพันกัป
๑๒. อตัปปาพรหม มีอายุสองพันกัป
๑๓. สุทัสสาพรหม มีอายุสี่พันกัป
๑๔. สุทัสสีพรหม มีอายุแปดพันกัป
๑๕. อกนิฏฐาพรหม มีอายุหนึ่งหมื่นหกพันกัป

 



อายุของอรูปพรหม

อรูปพรหมอีก ๔ ชั้นยิ่งมีอายุมากขึ้นไปอีก

อรูปที่หนึ่งมีอายุสองหมื่นกัป
อรูปที่สองมีอายุสี่หมื่นกัป
อรูปที่สามมีอายุหกหมื่นกัป
อรูปที่สี่มีอายุแปดหมื่นสี่พันกัป


 :32: :32: :32: :32:

อายุของสัตว์ในนรก

อนึ่ง มีแสดงถึงอายุสัตว์ในนรกเทียบกับอายุในสวรรค์ไว้ว่า

ห้าร้อยปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นคืนวันหนึ่งใน สัญชีวนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุห้าร้อยปีนรกนั้น


พันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นคืนวันหนึ่งใน กาฬสุตตนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งพันปีนรกนั้น

สองพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นยามา เป็นคืนวันหนึ่งใน สังฆาตนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุสองพันปีนรกนั้น


สี่พันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นดุสิต เป็นคืนวันหนึ่งใน โรรุวนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุสี่พันปีนรกนั้น

แปดพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี เป็นคืนวันหนึ่งใน มหาโรรุวนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุแปดพันปีนรกนั้น


หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์ในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี เป็นคืนวันหนึ่งใน ตาปนนรก
สัตว์นรกขุมนี้มีอายุหนึ่งหมื่นหกพันปีนรกนั้น

มหาตาปนนรก มีอายุกึ่งอันตรกัป
อเวจีนรก มีอายุหนึ่งอันตรกัป


 ask1 ask1 ask1 ask1

การนับกาลเวลาที่เรียกว่า กัปหรือกัลป์ เป็นอย่างไร

การนับจำนวนเรื่องกาลเวลาจากคัมภีร์ต่างๆ สรุปได้เป็น ๒ วิธี คือ

๑.นับด้วยจำนวนสังขยา คือ นับจำนวนด้วยตัวเลข เช่น ๑,๒,๓,..... เป็นต้น
๒.กำหนดด้วยอุปมา คือ กำหนดด้วยเครื่องกำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อมากเกินไปที่จะนับด้วยจำนวนตัวเลข การกำหนดในวิธีที่ ๒ นี้ เป็นที่มาของคาว่า กัป กัปมี ๔ อย่าง คือ
      ๑. อายุกัป 
      ๒. อันตรกัป
      ๓. อสงไขยกัป
      ๔. มหากัป

 



๑. อายุกัป หมายถึง กาลเวลาแห่งอายุขัยตามยุคตามสมัย เช่น อายุขัยของคนในยุคปัจจุบัน มีอายุขัยประมาณ ๗๕ ปี หรืออย่างเช่น ในคราวที่พระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขารว่าอีกสามเดือนจะเสด็จปรินิพพาน

หลังจากที่พระอานนท์ทราบแล้ว จึงกราบทูลอาราธนาขอให้เสด็จอยู่กัปหนึ่ง เพราะได้เคยสดับพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ที่เจริญอิทธิบาท ๔ ประการ ถ้าตั้งใจจะดำรงรูปกายอยู่ก็จะอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเหลือกว่ากัปหนึ่ง ในช่วงนั้นมนุษย์ก็มีอายุขัยประมาณร้อยปี

๒. อันตรกัป การนับอายุ คือ ในสมัยต้นกัปมนุษย์มีอายุขัยยืนยาวมากถึงอสงไขยปี (มากจนนับจำนวนปีไม่ได้) ต่อมาอายุขัยของมนุษย์ค่อยๆ ลดลงตามลำดับจนเหลือแค่ ๑๐ ปี เมื่อลดลงถึงสิบปีแล้วก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นไปอีกจนถึงอสงไขยปีอย่างเก่าอีก เป็นอย่างนี้เท่ากับ ๑ รอบ เรียกว่า อันตรกัป

๓. อสงไขยกัป จำนวนอันตรกัปดังที่กล่าวไว้ในข้อที่ ๒ เป็นอย่างนั้นไปอีกจนครบ ๖๔ อันตรกัป เท่ากับ ๑ อสงไขยกัป (การนับจำนวนอสงไขยกัป มีการกล่าวไว้หลายนัย บ้างก็กล่าวว่า ๒๐ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป บ้างก็ว่า ๘๐ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป)

๔. มหากัป มีวิธีนับคือ ๔ อสงไขยกัป = ๑ มหากัป มหากัปหนึ่งๆ มีเวลายาวนานมาก จนไม่สามารถประมาณได้ว่าเป็นเวลานานสักเท่าใด

มีอุปมาว่า มีภูเขาหินใหญ่ยาวโยชน์หนึ่งกว้างโยชน์หนึ่ง (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) ไม่มีช่องไม่มีโพรง เป็นก้อนหินแท่งทึบ ถึงร้อยปีหนหนึ่ง มีบุรุษใช้ผ้าทอที่แคว้นกาสี (ผ้าเนื้อดี) ร้อยปีมาลูบครึ่งหนึ่ง ภูเขาหินนั้นก็จะพึงราบเรียบไปก่อน แต่กัปยังไม่สิ้น

อีกอุปมาหนึ่งว่า มีพื้นที่กว้างและยาวร้อยโยชน์ มีกำแพงสูงร้อยโยชน์ ภายในเต็มไปด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาดแน่นขนัด มีบุรุษมาหยิบพันธุ์ผักกาดไปเมล็ดหนึ่งทุกๆ ร้อยปี กองเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นก็จะหมดไปก่อน ส่วนกัปยังไม่สิ้น กัปที่ยาวมากดั่งนี้ เรียกว่า มหากัป



ที่มา  คัดลอกจาก “บทเรียนชุดที่ ๖.๒ เรื่อง ภพภูมิ ๓๑”
หนังสืออ้างอิง
๑. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๒. ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๑ ; ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมมัตถสังคหฎีกา ; พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอบคุณภาพจาก
http://www.vcharkarn.com/
http://larnbuddhism.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 08:28:11 pm »
0



กัปเสื่อม และ กัปเจริญ เป็นอย่างไร

หมายความว่า ระยะเวลาที่ โลกวินาศ คือ สลายหรือดับ
ความวินาศของโลกมี ๓ อย่างคือ วินาศเพราะไฟ วินาศเพราะน้ำ วินาศเพราะลม

โลกวินาศเพราะไฟ จะเกิด มหาเมฆกัปวินาศ คือเกิดฝนตกใหญ่ทั่วโลกก่อน ครั้นฝนนั้นหยุดแล้วจะไม่มีฝนตกอีก จะเกิดความแห้งแล้งไปโดยลำดับ จะมีดวงอาทิตย์ดวงที่ ๒ ปรากฏขึ้น จนถึงดวงที่ ๗ จึงจะเกิดไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้น อากาศเบื้องบนจะเป็นอันเดียวกับอากาศเบื้องล่าง หมายความว่า เหลือแต่อากาศว่างเปล่า มีความมืดมิดทั่วไป

ครั้นแล้ว มหาเมฆกัปสมบัติ (ก่อเกิดกัป) จะตั้งขึ้น ฝนจะตกทั่วบริเวณที่ถูกไฟไหม้ ลมจะประคองรวมน้ำฝนให้รวมกัน เป็นก้อนกลมเหมือนหยาดน้ำบนใบบัว แล้วก็แห้งขอดลงไป เป็นไปเช่นนั้นจนปรากฏโลกขึ้นใหม่ จึงถึงวาระที่เรียกว่า กัปเจริญ

สิ่งมีชีวิตสิ่งแรกบนโลก คือ “โอปปาติกะ”
สัตว์ที่บังเกิดขึ้นเป็นพวกแรกนั้น เป็นพวกพรหมในพรหมโลกชั้นที่ไฟไหม้ขึ้นไปไม่ถึง ลงมาเกิดเป็นพวก โอปปาติกะ เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา เกิดโตปรากฏขึ้นทีเดียว แล้วพากันบริโภคง้วนดิน(ปฐวิรส คือเมื่อน้าแห้งขอด ก็เกิดเป็นแผ่นฝ้าขึ้นในเบื้องบน มีสีงาม มีรสหอมหวาน) สะเก็ดดิน (ปฐวีปัปปฏก) เครือดิน (ปทาลตา) หมดไปโดยลำดับ

จากนั้นจึงบริโภคธัญชาติ เช่น ข้าวสาลีสืบต่อมา สัตว์โลกจำพวกแรกเหล่านั้น จึงมีร่างกายหยาบขึ้นโดยลำดับ จนปรากฏเป็นบุรุษสตรีสร้างบ้านเรือนสืบพันธุ์กันมา ในตอนต้นมีอายุยืนยาวเป็นอสงไขย (นับปีไม่ถ้วน)





อกุศลกรรมทำให้เกิดยุค “มิคสัญญี”
ต่อมาพากันประพฤติอกุศลกรรมด้วยอำนาจของ ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มากขึ้น อายุก็ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ จนถึงที่สุด มีอายุขัย ๑๐ ปี ก็จะถึงความพินาศเป็นส่วนมาก เพราะภัย ๓ อย่าง คือ ศัสตราวุธ โรค ทุพภิกขภัย คือความขาดแคลนอาหาร หรือเรียกว่าถึงสมัย มิคสัญญี แปลว่า มีความสำคัญในกันและกันว่าเหมือนอย่างเนื้อ คือ เห็นกันฆ่ากันเหมือนอย่างเนื้อถึก

กุศลกรรมนำความเจริญกลับม
แต่ก็ยังไม่พินาศกันหมดทั้งโลก ยังมีสัตว์ที่เหลือตายหลบหลีกไป และกลับได้ความสังเวชสลดจิต พากันประพฤติกุศลกรรมมากขึ้น ก็พากันเจริญอายุมากขึ้นด้วยอำนาจกุศลโดยลำดับจนถึงอสงไขย แล้วกลับอายุถอยลงมาด้วยอำนาจอกุศลกรรมจนถึงอายุขัย ๑๐ ปี แล้วก็กลับเจริญอายุขึ้นใหม่อีก วนขึ้นวนลงอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะถึงคราวโลกวินาศอีกครั้งหนึ่ง

 



มหากัปแบ่งเป็น ๔ กัปย่อย
ระยะเวลาทั้งหมดจากความเสื่อมที่สุดของโลก จนถึงความเจริญสูงสุดของโลก เป็นวงจรหนึ่ง เราเรียกว่า มหากัป แบ่งได้เป็น ๔ กัปย่อยดังนี้ คือ

๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป แปลว่า กัปเสื่อม ตั้งแต่เกิดมหาเมฆกัปวินาศฝนตกใหญ่จนถึง ไฟประลัยกัลป์ไหม้โลกจนหมดสิ้นดับลงแล้ว
๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป แปลว่า กัปถึงความพินาศแล้ว และความพินาศนั้นยังอยู่ ตั้งแต่ไฟไหม้โลกดับ จนถึงมหาเมฆกัปสมบัติฝนตกใหญ่ เริ่มก่อกำเนิดโลกขึ้นใหม่
๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป แปลว่า กัปเจริญ คือ กัปที่กำลังเจริญขึ้นไปตามลำดับ ตั้งแต่มหาเมฆกัปสมบัติ จนถึงปรากฏดวงจันทร์ดวงอาทิตย์
๔. วิวัฎฏฐายีอสงไขยกัป แปลว่า กัปที่เจริญแล้ว และความเจริญนั้นยังอยู่ ตั้งแต่บัด นั้นจนถึงมหาเมฆกัปวินาศบังเกิดขึ้นอีก โลกวินาศด้วยน้ำ เกิดมหาเมฆกัปวินาศขึ้นเช่นเดียวกันก่อน แล้วจึงเกิดมหาเมฆ ทำให้ฝนตก ฝนนั้นเป็นน้ำด่างตกลงมาเป็นน้ำประลัยกัลป์ ย่อยโลกให้วินาศไปเช่นเดียวกับไฟไหม้โลก โลกวินาศด้วยลม เกิดมหาเมฆกัปวินาศขึ้นก่อน แล้วเกิดลมกัปวินาศเป็นลมประลัยกัลป์ พัดผันโลกให้ย่อยยับเป็นจุณวิจุณไปเช่นเดียวกับไฟไหม้โลก




วงจรแห่งความวินาศของโลก
   ความวินาศของโลก จะวินาศด้วยไฟ ๗ ครั้ง
   แล้ววินาศด้วยน้ำ ๑ ครั้ง เป็นไปอย่างนี้ ๗ รอบ
   พอถึงรอบที่ ๘ ก็จะถูกทำลายด้วยลม


ที่กล่าวมาในเรื่องของเวลาแห่งชีวิตของสัตว์บุคคลทั้งหลายใน ๓๑ ภูมิ ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ มีอายุขัยแตกต่างกันไปตามภูมิ บางภูมิมีอายุขัยนานมากนับเป็น ๘๔,๐๐๐ กัป

ทุกสิ่งล้วนประกอบด้วย “กาลเวลา”
ยังมีพระพุทธภาษิตที่แสดงเรื่องกาลเวลาไว้ว่า :-
กาลคือ เวลาย่อมกินสรรพสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง ฉะนั้นจะเกิดเป็นเทพชั้นไหนก็ต้องถูกเวลากลืนกินคือต้องดับ ไม่มีที่จะสถิตอยู่เป็นนิรันดร แต่อาจจะมีอายุนานนักหนาได้โดยเทียบกับเวลาของมนุษย์นี้ ซึ่งความจริงหาใช่เร็วหรือช้าไม่ เป็นเวลาที่พอเหมาะตามกำหนดสาหรับชั้นนั้นๆ

ธรรมะของพระพุทธเจ้าไม่ประกอบด้วย “กาลเวลา” (อกาลิโก)
พระพุทธศาสนาได้แสดงถึงที่ซึ่งไม่มีกาลเวลาไว้ด้วยว่า คือ ที่ซึ่งไม่มีตัณหา(ความดิ้นรนทะยานอยาก) เปรียบไว้เหมือนลูกศรที่เสียบจิตใจ

“ใครก็ตามอยู่ในโลกหรือภูมิไหนก็ตาม เมื่อถอนลูกศรที่เสียบใจนี้ออกเสียได้ ก็ย่อมบรรลุถึงที่ซึ่งไม่มีกาลเวลา ที่ซึ่งจะพึงบรรลุด้วยจิตใจเท่านั้น ส่วนร่างกายเป็นของโลกต้องตกอยู่ในอำนาจของเวลา”


การระงับได้ซึ่งตัณหาคือความดิ้นรนทะยานอยาก จิตใจที่ไม่ดิ้นรน ย่อมไม่เกี่ยวกับเวลาแต่อย่างใดเลย คือไม่เกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน อนาคต อะไรทั้งสิ้น จิตที่อบรมแล้วย่อมพ้นจากอำนาจของเวลา จิตที่อบรมจนข้ามพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวงได้แล้ว ขณะนั้นย่อมไม่มีกาลไม่มีเวลา เป็นอกาลิโก ทั้งหมดคือเรื่องราวของสังสารวัฏ หรือ ภูมิทั้ง ๓๑ ที่เวียนว่ายตายเกิดไม่มีสิ้นสุด

 



บางภูมิก็มีแต่ทุกข์แสนสาหัส บางภูมิก็เสวยสุขอย่างเหลือล้น แต่ก็ไม่สามารถทำให้เราพ้นจากทุกข์ไปได้ หนทางเดียวที่จะพ้นไปจากทุกข์ได้ต้องทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด ด้วยการเจริญวิปัสสนาขจัดขัดเกลากิเลสโดยสิ้นเชิงบรรลุพระอรหันต์ จบการเวียนว่ายตายเกิดปิดสังสารวัฏได้ 



ที่มา  คัดลอกจาก “บทเรียนชุดที่ ๖.๒ เรื่อง ภพภูมิ ๓๑”
หนังสืออ้างอิง
๑. ๔๕ พรรษาของพระพุทธเจ้า พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก
๒. ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ ปริจเฉทที่ ๕ เล่มที่ ๑ ; ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมมัตถสังคหฎีกา ; พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ขอบคุณภาพจาก
http://www.zmdz.com/
http://larnbuddhism.com/
http://cfile29.uf.tistory.com/
http://www.cbc.ca/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28363
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2015, 09:18:28 pm »
0

อ้างถึง
   ข้อความโดย saieaw

ask1

  1 อสงไขย
    มีกี่กัปป์ คะ ?
    มีกี่ปี คะ ?

   ไม่เข้าใจเลยคะ

   thk56 st12 :58:




     ans1 ans1 ans1 ans1

     หนูไซอิ๋วถามกว้างมาก ควรระบุว่า "อสงไขย หรือ กัป ของใคร"
     ต้องระบุว่าเป็นของ สัตว์นรก มนุษย์ เทวดา พรหม โลก หรือจักรวาล

     คำว่า "กัป" เป็นคำกว้างๆ เป็นการกำหนดระยะเวลา แต่ไม่ระบุระยะเวลาที่แน่นอน
     คำว่า "อสงไขย" มีสองนัย คือหมายถึง นับไม่ถ้วน
     หรืออีกนัยหนึ่ง เท่ากับ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว (10 ยกกำลัง 140)
     หรือ โกฏิยกกําลัง ๒๐ (10,000,000 ยกกำลัง 20)


     ยกตัวอย่างเช่น
     หนึ่งพันหกร้อยปีมนุษย์ เป็นหนึ่งคืนวันในสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
     นับเดือนปีเช่นเดียวกัน หนึ่งหมื่นหกพันปีทิพย์นี้เป็นประมาณอายุของเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี
     เท่ากับเก้าร้อยยี่สิบเอ็ดโกฏิกับหกล้านปีมนุษย์ (4x2,304,000,000 = 9,216,000,000)

     แต่ "มหาพรหมมีอายุ ๑ มหากัป" มหากัปมี ๔ อสงไขย
     จำนวน ๔ อสงไขยนี้ เป็นตัวเลขเท่าไหร่ กี่ปี.?  คงไม่ต้องอธิบายนะครับ


     หากข้อธรรมใดไม่กระจ่าง ถามได้ครับ

      :welcome: :49: :s_good: st12

     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 31, 2015, 09:28:17 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 01, 2015, 01:29:37 am »
0

       สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

nopporn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 01, 2015, 12:36:46 pm »
0
ตอบได้ละเอียด ดี ที่มาของคำถาม น่าจะมาจากบอร์ด พุทธวงส์แน่ ๆ เพราะพระอาจารย์ ท่านโพสต์ พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ตั้งแต่เริ่มต้น มีคำหลายคำที่ เข้าใจไม่ได้ โดยตรง ( แต่เข้าใจได้ว่า มากมายมหาศาล )
   
    มีคำว่า อสงไขย
             กัปป์
             มหากัปก์
             สังสารกัปป์
             วิวัฏกัปป์
             ภัทรกับป์
             สูญกัปป์

          ถ้าไม่ได้กระทู้ ชี้แจงนี้ คงเข้าใจได้ยาก
      แต่ก็เข้าใจโดยรวมว่า นานมาก ๆ นานมหาศาล พัฒนาขึ้นแลัวเสื่อมลง ประมาณนี้

    st11 st12 st12 thk56
บันทึกการเข้า
อยู่แก๊งค์ ป่วนอ๊บ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 01, 2015, 07:20:32 pm »
0
 thk56 thk56 thk56
 :25: :25: :25: like1
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เรียนถาม ลุงปุ้ม คะ
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 01, 2015, 09:20:20 pm »
0
 st12 st12 st12 st11 st11 thk56 thk56 thk56 like1
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ