ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ปฐมพุทธพจน์" เป็นบทธรรมใด.?  (อ่าน 5190 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ปฐมพุทธพจน์" เป็นบทธรรมใด.?
« เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 09:43:39 am »
0




บุรพโยคะของภิกษุ ๕๐๐

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระทศพล พระนามว่ากัสสป ภิกษุเหล่านั้นเกิดในกำเนิดค้างคาวลูกหนู ห้อยโหนอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรม ๒ รูป สาธยายพระอภิธรรมอยู่ ก็ถือเอานิมิตในเสียง แม้ไม่รู้ว่าเป็นธรรมฝ่ายดำ เป็นธรรมฝ่ายขาว ทำกาละแล้วก็เกิดในเทวโลก ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น.

พวกเขาอยู่ในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในกาลนั้น เขามาเกิดในมนุษยโลก เลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ จึงบวชในสำนักของพระเถระ พระเถระนำพระธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วๆ มาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้น การสิ้นสุดลงแห่งการแสดงพระอภิธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการเรียนปกรณ์ ๗ ของภิกษุเหล่านั้นได้มีพร้อมๆ กันนั่นแหละ.


ans1 ans1 ans1 ans1

ทางแห่งการบอกพระอภิธรรมมีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นเหตุ แม้วาระว่าด้วยการนับจำนวนมหาปกรณ์ ก็พระเถระนั่นแหละตั้งไว้.

จริงอยู่ พระเถระไม่ลบล้างลำดับธรรม เพื่อถือเอา เพื่อทรงจำ เพื่อเล่าเรียน และเพื่อบอกได้โดยวิธีนี้ เพราะฉะนั้น จึงจัดตั้งไว้ซึ่งวาระว่าด้วยการนับ ก็ครั้นเมื่อความเป็นอย่างนั้น พระเถระก็เป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่ากระมัง หามิได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นแหละเป็นผู้ทรงพระอภิธรรมก่อนกว่า เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ มหาโพธิบัลลังก์ ทรงแทงตลอดแล้วซึ่งพระอภิธรรมนั้น ก็แลครั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ประทับโดยบัลลังก์เดียว ตลอด ๗ วัน ทรงเปล่งอุทานว่า





ปฐมพุทธพจน์ ปัจฉิมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์

      ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส ฯ เป ฯ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ.
     "ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อม ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมาทราบชัดซึ่งธรรมพร้อมทั้งเหตุ"
     "ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงเทียว ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะได้รู้แล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งปัจจัยทั้งหลาย"
     "ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น ย่อมกำจัดมารและเสนามารได้เหมือนพระอาทิตย์ยังท้องฟ้าให้สว่างอยู่ ฉะนั้น"

       นี้ชื่อว่า ปฐมพุทธพจน์

      ask1 ask1 ask1 ask1

      แต่อาจารย์ผู้กล่าวบทแห่งธรรม ย่อมกล่าวว่า ชื่อว่า ปฐมพุทธพจน์นี้ คือ
     อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํฯ เป ฯ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคา.
     "เมื่อเราแสวงหานายช่าง (คือตัณหา)ผู้กระทำซึ่งเรือน ยังไม่พบ จึงต้องท่องเที่ยวไปสู่สงสารมีชาติมิใช่น้อย เพราะการเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้กระทำซึ่งเรือน เราพบท่านแล้ว ท่านจักสร้างเรือนไม่ได้อีก ซี่โครงทั้งหมดของท่านเราหักเสียแล้ว เรือนยอดเราก็รื้อออกแล้ว จิตของเราถึงวิสังขาร (คือพระนิพพาน) ถึงความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลายแล้ว"


     พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงไสยาสน์ในระหว่างต้นสาลคู่ ในสมัยใกล้ปรินิพพานตรัสไว้ว่า
     หนฺททานิ ภิกฺขเว ฯ ป ฯ สมฺปาเทถ
     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เอาเถอะ ตถาคตจักเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด" ดังนี้ ชื่อว่า ปัจฉิมพุทธพจน์.


     พระสัทธรรมที่ประกาศอมตะที่พระองค์ตรัสไว้ ๔๕ พรรษา ในระหว่างพระพุทธพจน์ทั้งสอง เหมือนนายมาลาการร้อยพวงดอกไม้ และเหมือนช่างแก้วร้อยพวงแก้ว ชื่อว่า มัชฌิมพุทธพจน์

 ask1 ans1 ask1 ans1

พระพุทธพจน์นั้นแม้ทั้งหมด เมื่อประมวลเข้าด้วยกัน โดยปิฎกเป็น ๓ ปิฎก โดยนิกายเป็น ๕ นิกาย โดยองค์มีองค์ ๙ โดยธรรมขันธ์ได้ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

อย่างไร. จริงอยู่ พระพุทธพจน์นี้แม้ทั้งหมด โดยปิฎกมี ๓ ประเภทเท่านั้น คือวินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. บรรดาปิฎกทั้ง ๓ นั้นพระพุทธพจน์นี้คือ ปาฏิโมกข์ทั้งสอง วิภังค์ทั้งสอง ขันธกะ ๒๒ ปริวาร ๑๖ ชื่อว่า วินัยปิฎก.

พระพุทธพจน์นี้ คือทีฆนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๓๔ สูตรมีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๑๕๒ สูตรมีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๗,๗๖๒ สูตรมีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกายซึ่งรวบรวมพระสูตรไว้ ๙,๕๕๗ สูตรมีจิตตปริยายสูตรเป็นต้น
      ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท คือ
      ๑. ขุททกปาฐะ ๒. ธรรมบท ๓. อุทาน ๔. อิติวุตตกะ ๕. สุตตนิบาต
      ๖. วิมานวัตถุ ๗. เปตวัตถุ ๘. เถรคาถา ๙. เถรีคาถา ๑๐. ชาดก
      ๑๑. นิทเทส ๑๒. ปฏิสัมภิทา ๑๓. อปทาน ๑๔. พุทธวงศ์ ๑๕. จริยาปิฎก ชื่อว่า สุตตันตปิฎก.

ปกรณ์ ๗ มีธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก.



อ้างอิง :-
อรรถกถา ธรรมสังคณีปกรณ์ มาติกา ติกมาติกา ๒๒ ติกะ
www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=34&i=1&p=1#บุรพโยคะของภิกษุ_๕๐๐
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปฐมพุทธพจน์" เป็นบทธรรมใด.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 10:03:48 am »
0
ถ้าพิจารณา หลังตรัสรู้
   พุทธพจน์ แม้เป็นคำรำพึง กับตนเอง ก็เรียกว่า พุทธพจน์

   ดังนั้น การกล่าวประโยคใด ๆ แม้กับตนเอง เรียกว่า อุทาน ก็จัดเป็นพุทธพจน์ พุทธอุทาน เช่นกัน

   เชื่อว่า พุทธพจน์ ไม่มี คะ ... เพราะว่า พระพุทธเจ้า ใช้เวลาหลายวัน เป็นเดือน ในการไปหา ปัญจวัคคีย์ ระหว่างที่ผ่าน พระองค์ ก็พยายามแสดงธรรม ไปบ้างแล้ว แต่ตอนนั้นไม่มีใครเชื่อ เรื่องพระธรรม ทำให้ พระหฤทัย ตรึกว่า ธรรมนี้เป็นธรรมอันละเอียด อันสัตว์ทั่วไปที่ไม่พร้อม จะมาสามารถรับฟังได้ จนเดือดร้อน ถึงพรหม เกรงว่า พระพุทธเจ้า จะแสดงธรรมน้ัอยลงไม่กว้างขวาง จึงลงมาอาราธนา ให้โปรดสัตว์

    ปจมพุทธพจน์ เชื่อว่า ไม่มี ใครได้บันทึกไว้ แม้แต่พราหม์ ผู้แลบลิ้น ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

     ดูก่อน พรามหณ์ เราเป็นพระพุทธเจ้า รู้เองโดยชอบแล้ว ( อันนี้ก็จัดว่าเป็นพุทธพจน์ ) แต่พรามหณ์ไม่เชื่อแลบลิ้น ใส่ แล้วก็เดินหนี

     อันนี้ฟังในรายการนะ คะ

    st12 thk56
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปฐมพุทธพจน์" เป็นบทธรรมใด.?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 10:04:57 am »
0
 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: "ปฐมพุทธพจน์" เป็นบทธรรมใด.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 10:13:57 am »
0
พระพุทธเจ้า เมื่อแสดงธรรม คนทั้งหลายไม่เชื่อในตอนต้น แต่ครั้นแสดงฤทธิ์ แล้ว คนจึงเชื่อ

  โปรดปัญจวัคคีย์ ก็ใช้ ปาฏิหาริย์เทศนาอนุสาสนีฤทธิ์
     
     แผ่ฉัพพรรณรังษี ขณะแสดงธรรม เป็น ธรรมสูตรบทแรก

  โปรด ชฏิล 3 พี่น้อง ปราบชฏิล พี่ ด้วยฤทธิ์ 3 ครั้ง
     
      1. ปราบงูยักษ์  2. เดินจงกรมแก้ว  3. เหาะเหยียบหัวเรือ

    จะเห็นว่า ถ้าไม่แสดงฤทธิ์ เลยในตอนต้น ธรรมดีขนาดไหน ก็ไม่มีใครฟัง ... หรือสนใจ

    พระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรงวางแผน ให้ บรรดาฤาษี และ อำนาจทางกษัตริย์ เป็นผู้สนับสนุน คือต้องมีผู้อุปถัมภ์

     พระองค์เดินทางไป ปราบ ชฏิล บูชาไฟ 3 พี่น้องที่มีชื่อเสียง ซึ่ง ชฏิลทั้ง 3 นี้เป็นที่นับถือ ของเหล่าดาบส ทั่วแคว้น มีกษัตริย์ และปฏิบัติตามลัทธิ หลายแคว้น ด้วยกัน

      หลังจากนั้น มุ่งไปหา พระเจ้าพิมพิสาร ซึ่งพระเจ้าพิมพิสาร ศรัทธาเคารพชอบเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว ครั้งเป็นกษัตริย์ ตอนที่พระองค์ บวชตนเองแล้ว พระเจ้าพิมพิสารพบ ก็ยังชวนให้ลาเพศบวช มาปกครองเมืองกึ่งหนึ่ง นี่เรียกว่า เป็นดั่งสหายที่ชอบพอกันอยู่แล้ว ดังนั้นการให้กษัตริย์ เข้ามาสนับสนุน ตอนนั้นจึงทำให้การเผยแผ่ พระธรรมเป็นเรื่องง่าย ขึ้น

     ่ขอบคุณรายการ RDN ที่มีเสียงธรรมตอนนี้ให้ฟัง

    thk56 like1 like1
   
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ปฐมพุทธวจนะ ปฐมพุทธดำรัส ธรรมใดเกิดก่อน.?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2015, 11:46:07 am »
0



ปฐมพุทธวจนะ และ ปฐมพุทธดำรัส
(การกำหนดขุททกปาฐะ)

เพราะข้าพเจ้ากล่าวไว้ในคำปรารภนั้นว่า จักทำการพรรณนาความแห่งขุททกปาฐะ บางปาฐะ. ข้าพเจ้าจำต้องกำหนดขุททกปาฐะทั้งหลายเสียก่อนแล้ว จึงจักทำการพรรณนาความภายหลัง เอกเทศส่วนๆ หนึ่งของขุททกนิกาย ชื่อว่า ขุททกะ. เอกเทศส่วนหนึ่งๆ ของนิกายทั้ง ๕ ชื่อ ขุททกนิกาย ว่าโดยธรรมและโดยอรรถ คัมภีร์เหล่านี้ มี ๕ นิกาย คือทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย และขุททกนิกาย ชื่อว่า นิกาย ๕.

บรรดานิกายทั้ง ๕ นั้น พระสูตร ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น ชื่อว่า ทีฆนิกาย จริงดังที่ท่านกล่าวว่า
       นิกายที่รวบรวมพระสูตร ๓๔ สูตร ๓ วรรค ชื่อว่า ทีฆนิกาย อนุโลมที่ ๑.
       พระสูตร ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น ชื่อว่า มัชฌิมนิกาย.
       พระสูตร ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น ชื่อว่า สังยุตตนิกาย.
       พระสูตร ๙,๕๕๗ สูตรมีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ชื่อว่า อังคุตตรนิกาย.
       ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ จริยาปิฎก พระพุทธพจน์ที่เหลือเว้นวินัยปิฎกและอภิธรรมปิฏก หรือนิกาย ๔ ชื่อว่า ขุททกนิกาย.


        ask1 ans1 ask1 ans1

       เหตุไร นิกายนี้ ท่านจึงเรียกว่า ขุททกนิกาย
       เหตุเป็นที่รวม เป็นที่อยู่ของหมวดธรรมเล็กๆ จำนวนมาก.
       จริงอยู่ การรวมกันอยู่ ท่านเรียกว่า นิกาย ว่าโดยศาสนาและโดยโลก ในข้อนี้ มีสาธกเป็นต้นอย่างนี้ คือ
       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตมองไม่เห็นหมู่สัตว์หมู่หนึ่งอื่นวิจิตรเหมือนอย่างหมู่สัตว์เดียรฉานเลย. หมู่กษัตริย์โปณิกะ หมู่กษัตริย์จิกขัลลิกา. เอกเทศส่วนหนึ่งของขุททกนิกายนั้น มีดังนี้ หมวดธรรมเล็กๆ ที่นับเนื่องในพระสุตตันตปิฎกเหล่านี้ มุ่งหมายที่จะเปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายโดยอรรถ

       ขุททกปาฐะ ๙ ประเภท คือ สรณะสิกขาบท ทวัตตึงสาการ กุมารปัญหา [สามเณรปัญหา] มงคลสูตร รตนสูตร ติโรกุฑฑสูตร นิธิกัณฑสูตรและเมตตสูตร เป็นข้อต้นของหมวดธรรมแม้เหล่านั้น โดยอาจารย์ต่อมายกขึ้นสู่ทางการบอกการสอน มิใช่โดยเป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้.


        :25: :25: :25: :25:

       จริงอยู่ คาถาเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
       อเนกชาติสํสารํ สนฺธาวิสฺสํ อนิพฺพิสํ คหการํ คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุนํ คหการก ทิฎฺโฐสิ ปุน เคหํ น กาหสิ สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏํ วิสงฺขตํ วิสงฺขารคตํ จิตฺตํ ตณฺหานํ ขยมชฺฌคาติ.
       "เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือนคืออัตภาพ เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปแล้ว สิ้นสงสารนับด้วยชาติมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์. ดูก่อนช่างผู้ทำเรือนคือ อัตภาพ เราพบท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนคืออัตภาพของเราอีกไม่ได้ โครงบ้านของท่านทั้งหมด เราทำลายแล้ว ยอดแห่งเรือนคืออวิชชา เรารื้อแล้ว จิตของเราถึงพระนิพพานแล้ เพราะเราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาทั้งหลายแล้ว"

       ชื่อว่าเป็นพระปฐมพุทธวจนะแม้ทั้งหมด โดยเป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ที่ชื่อว่า พระปฐมพุทธดำรัสนั้น ก็โดยที่ตรัสทางพระมนัส มิใช่ทรงเปล่งพระวาจาตรัส


        st12 st12 st12 st12

       ส่วนพระคาถานี้ว่า
       ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ.
       "เมื่อใด ธรรมทั้งหลายปรากฎแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไป เพราะมารู้ชัดธรรมพร้อมทั้งเหตุ"

      ชื่อว่าเป็น พระปฐมพุทธดำรัส โดยที่เป็นพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเปล่งพระวาจาตรัส.


        st11 st11 st11 st11

       เพราะฉะนั้น ขุททกปาฐะ ๙ ประเภทนี้ใด ชื่อว่าเป็นข้อต้นของหมวดธรรมเล็กๆ เหล่านี้ เราจะเริ่มพรรณนาความแห่งขุททกปฐะนั้นตั้งแต่ต้นไป.


อ้างอิง :-
อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ สรณคมน์
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2015, 11:48:04 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"พุทธพจน์" ลำดับที่ ๑ ๒ ๓... จากพระไตรปิฎก
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 09, 2015, 09:09:28 am »
0




"พุทธพจน์" ลำดับที่ ๑ ๒ ๓... จากพระไตรปิฎก

พระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา. พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด ๗ วัน

ในเวลาปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท(ธรรมที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุปัจจัย)สายเกิด แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า "เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งต้นเหตุ"

ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาทสายดับ แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า "เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย"

ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาททั้งโดยอนุโลม(ตามลำดับ) และโดยปฏิโลม(ย้อนลำดับ) แล้วทรงเปล่งอุทาน ความว่า "เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมทั้งเสนาเสียได้ ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่าง ฉะนั้น"

 ans1 ans1 ans1 ans1

ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ที่ชอบตวาดคน
เมื่อครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้โพธิ ไปยังไม้อชปาลนิโครธ (ต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพัก) ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้นั้นตลอด ๗ วัน. มีพราหมณ์ผู้ชอบตวาดคนมาเฝ้า. กราบทูลถามถึงธรรมะที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์ ทรงเปล่งอุทานเป็นใจความว่า
    "ผู้ที่จะนับว่าเป็นพราหมณ์ คือผู้ลอยบาป ไม่มักตวาดคน ไม่มีกิเลสเหมือนน้ำฝาด สำรวมตน มีความรู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีความพอง(เย่อหยิ่ง)"


ทรงเปล่งอุทานที่ต้นจิก
ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้อชปาลนิโครธ ไปยังต้นจิก ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้จิกนั้นตลอด ๗ วัน. ได้เกิดเมฆใหญ่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำเจือด้วยลมหนาวตลอด ๗ วัน. พญานาคชื่อมุจลินท์มาวงด้วยขนดรอบพระกายของพระผู้มีพระภาค ๗ รอบ เพื่อป้องกันหนาว ร้อน เหลือบ ยุง เป็นต้น. ทรงเปล่งอุทาน
     "ปรารภสุข ๔ ประการ คือ สุขเพราะความสงัด, สุขเพราะไม่เบียดเบียน, สุขเพราะปราศจากราคะ ก้าวล่วงกามเสียได้ และประการสุดท้าย สุดอย่างยอด คือการนำความถือตัวออกเสียได้"





เหตุการณ์ที่ต้นเกตก์
ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้จิก ไปยังไม้ราชายตนะ (ต้นเกตก์) ประทับนั่งเสวยวิมุติสุข ณ โคนไม้เกตก์นั้นตลอด ๗ วัน. มีพ่อค้า ๒ คนชื่อ ตปุสสะ กับภัลลิกะ เดินทางมาจากอุกกละชนบท ถวายข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง. ทรงรับด้วยบาตรที่ท้าวจาตุมหาราชถวาย แล้วเสวยข้าวนั้น. พ่อค้า ๒ คนปฏิญญาตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นสรณะ นับเป็นอุบาสกชุดแรกในโลก ที่เปล่งวาจาถึงรตนะ ๒ (คือพระพุทธ พระธรรม).


เสด็จกลับไปต้นไทรอีก
ครั้นครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้เกตก์ ไปยังต้นไทรที่เด็กเลี้ยงแพะชอบมาพัก (อชปาลนิโครธ) และประทับ ณ โคนไม้ไทรนั้น ทรงพิจารณาเห็นว่า "ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ลึกซึ้ง ยากที่คนอื่นจะตรัสรู้ได้ ก็ทรงน้อมพระหฤทัยไปในที่จะไม่แสดงธรรม"


พระพรหมมาอาราธนา
ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพระพุทธดำริ จึงมาเฝ้ากราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม อ้างเหตุผลว่า ผู้ที่มีกิเลสน้อย พอจะรู้พระธรรมได้มีอยู่. พระผู้มีพระภาคทรงพิจารณาสัตว์เปรียบเทียบด้วยดอกบัว ๓ ชนิด คือที่อยู่ใต้น้ำ, เสมอน้ำ, โผล่พ้นน้ำ อันเทียบด้วยบุคคล ๓ ชนิด (ที่พอจะตรัสรู้ได้ ส่วนประเภท ๔ คือดอกบัวที่ไม่มีหวังจะโผล่ได้ เทียบด้วยบุคคลผู้ไม่มีหวังจะตรัสรู้).
      จึงทรงตกลงพระหฤทัยที่จะแสดงธรรม.
      ทรงปรารภอาฬารดาบส กาลามโคตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่กรรมเสีย ๗ วันแล้ว ทรงปรารภอุททกดาบสรามบุตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่กรรมเสียเมื่อวานนี้เอง จึงตกลงพระหฤทัยเสด็จไปแสดงธรรมโปรดภิกษุปัญจวัคคีย์ (พวก ๕) ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ระหว่างทางทรงพบอุปกาชีวก ได้รับสั่งโต้ตอบกับอาชีวกนั้น แต่อุปกะไม่เชื่อ.


อ้างอิง :-
ความโดยย่อจากพระไตรปิฎกฉบับประชาชน
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prawinai/4.1.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ