ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขั้นตอนการรวมมรรค ภาคปฏฺบัติ สู่ การรู้ดับกิเลส ( อาสวักขยญาณ )  (อ่าน 4091 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


   ฟังหลายๆ คน พูดเกี่ยวกับ เรื่องตัว รู้ ในภาคปกติ มามากแล้ว วันนี้มาแสดงเรื่องตัว รู้ ในภาคปฏิบัติกันบ้าง นะ จะได้เข้าใจมากขึ้น

   ส่วนเรื่องตัวรู้ จริง แล้ว ในสัปปุริสธรรม ขั้นสูง ก็กล่าวไว้ตรงกัน นะ จะมาแสดงตอนหลังแต่เทียบไว้ให้ก่อน ดังนี้
ใครอยากอ่านเชิงปริยัต ก็ไปเค้นหาอ่านเอานะ แต่ อันนี้จะอธิบาย ความหมายที่แท้จริงในองค์กรรมฐาน ที่เนื่องด้วยการรู้

    1. ธัมมัญญุตา ในองค์กรรมฐานคือการกำหนดธรรม
       ( รู้รอบแล้วในธรรม ไม่ใช่แปลว่า รู้เหตุ สั้น ๆ ไม่ถูกความหมาย )
       ธรรมที่ควรกำหนด ก็คือ มรรคมีองค์ 8 ครอบคลุมแล้ว
   
    2. อัตถัญญตา
       ( รู้รอบแล้วในประโยชน์  ไม่ใช่แปลว่า รู้ผล )
       ประโยขน์ที่ควรกำหนด ก็คือ ประโยชน์ ในภพนี้ ประโยชน์ในภพหน้า

    3. อัตตัญญุตา
       ( รู้รอบแล้วในตนเอง )
       รู้จัก กิเลสของตนเอง ความต้องการของตนเอง ที่จะไปสู่ ประโยชน์ ทั้งสองอย่าง โดยเฉพาะ รู้จักสักกายทิฏฐิ ความที่จิตยึดถือตน ว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา

    4. มัตตัญญุตา
       ( รู้รอบแล้ว ในประมาณ )
       รู้จักการภาวนา ที่เป็นปัจจุบัน ที่สมควรไม่ตึง ไม่หย่อน แม้เสพเสนาสนะปัจจัยทั้ง 4 ก็รู้จักเพียงพอ เพื่อประโยชน์ในภพนี้ และประโยชน์ในภพหน้า

    5. กาลัญญุตา
      ( รู้รอบแล้ว ในการบริหารเวลา )
      กาลที่เหมาะสม ในการภาวนา ปฏฺบัติ กาลที่เหมาะสมในศึกษา ปริยัติ กาลที่เหมาะสมในการตรวจสอบ คุณธรรม ปฏิเวธ ของตนเอง

    6. ปุริสัญญุตา
      ( รู้รอบแล้ว ในการเสพบุคคล ที่ควรเสพ )
      บุคคลที่ควรเข้าไปหา คือ ครูอาจารย์ อุปัชฌาย์ กัลยาณมิตร ที่ไม่ฟุ้งสร้าน ที่จะตอบสนอง ต่อการภาวนาทั้งปัจจุบัน และ อนาคตได้ 

    7. ปุคคปโรปรัญญุตา
     (รู้รอบแล้ว ใน มรรค 4 ผล 4 บุรุษบุคคล 4 คู่ 8 จำพวก )
     การเข้าผลสมาบัติ อันเกิดแต่การปฏิบัติ ที่ถูกต้องดีงาม ต้องอาศัย บรุษ 4 คู่ 8 จำพวกนี้

     นี้เรียกว่า สัปปุริสธรรม ธรรมของ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยประเสริฐ

   
    เจริญธรรม / เจริญพร


   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำอธิบาย ของพระอาจารย์ที่นี่ เหนือความคาดหมายเลย ลองเทียบกับของคนอื่นอธิบายไว้ดูสิ

 287] สัปปุริสธรรม 7๑ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี — qualities of a good man; virtues of a gentleman)
       1. ธัมมัญญุตา (ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆ เป็นต้น — knowing the law; knowing the cause)
       2. อัตถัญญุตา (ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น — knowing the meaning; knowing the purpose; knowing the consequence)
       3. อัตตัญญุตา (ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป — knowing oneself)
       4. มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น — moderation; knowing how to be temperate)
       5. กาลัญญุตา (ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น — knowing the proper time; knowing how to choose and keep time)
       6. ปริสัญญุตา (ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น — knowing the assembly; knowing the society)
       7. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา (ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น — knowing the individual; knowing the different individuals)

       ภิกษุผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ข้อนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยสังฆคุณครบ 9 แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ทรงประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ (ท่านแสดงไว้เฉพาะข้อหลัก 5 ข้อ คือ ข้อ 1-2-4-5-6 องฺ.ปญฺจก. 22/131/166 A.III.148) จึงทรงยังธรรมจักรและอาณาจักรให้เป็นไปด้วยดี.


  ที่มา
  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=287
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12
แสดงถึง การมองเห็น แก่นธรรม ของผู้ภาวนา ต่างจากผู้อ่าน เรียนอย่างเดียว

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

   ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แต่มาพิจารณา จริง ๆ แล้ว ตามที่พระอาจารย์ อธิบาย ดูเหมือนจะเข้าใจง่าย กว่า ในลักษณะการภาวนา

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

noobmany

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 79
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า