ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บทพระพุทธพจน์ "สยํกตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ " บุญที่ทำแล้วด้วย.......  (อ่าน 3456 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สยํกตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
บุญที่ทำแล้วด้วยตนเองนั้น จะเป็นมิตรติดตามไปถึงภพหน้า
พุทธพจน์นี้ อ่านดูแล้วจะว่าเข้าใจง่ายก็ใช่ น่าสงสัยก็มี
ที่ว่าเข้าใจง่าย ก็คือ คำว่า บุญที่ทำด้วยตนเอง ไม่น่าจะสงสัยอะไร เพราะบุญทุกชนิดก็ต้องทำด้วยตนเองทั้งนั้น จะให้คนอื่นทำได้อย่างไรกัน
ที่ว่า เข้าใจยาก คือ เมื่อมีวิเสสนะว่า สยํกตานิ บุญที่ทำด้วยตนเอง ก็ต้องสื่อได้ว่า จะต้องมีความแปลกกันอย่างหนึ่งเกิดขึ้น จึงจำต้องมีวิเสสนะเพื่อสื่อความแปลกกัน (อันนี้ออกแนวหลักภาษาหน่อยนะครับ) เพราะถ้าบุญเหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องมีคำว่า สยํกตานิ มีแค่คำว่า บุญ อย่างเดียวก็น่าจะพอ.
อันนี้แสดงว่า จะต้องมีบุญอีกชนิดหนึ่งที่ต่างจากบุญชนิดที่ต้องทำเอง ซึงจะหมายถึง บุญที่ไม่ต้องทำเอง. คราวนี้แหละ มีปัญหาเกิดขึ้นว่า บุญชนิดหลังนี้ได้แก่บุญอะไรหรือ?
อันที่จริง เมื่อว่าโดยสภาวะบุญกิริยาทั้ง ๑๐ ชื่อว่า ต้องเป็นอันตนทำแล้วนั่นแหละหาได้มีผู้อื่นมาทำให้ไม่.
แต่ในที่นี้ เมื่อตีกรอบการใช้คำนี้ให้แคบลงมาตามเนื้อเรื่องที่กำลังแสดงอยู่. ด้วยคำว่า บุญที่ทำด้วยตนเอง เป็นอันพระพุทธองค์ตรัสถึง ชนิดที่ไม่ได้ทำเอง ไว้ด้วย ซึ่งสามารถสือได้โดยไม่ต้องระบุเลย (วิธีนี้ท่านเรียกว่า อวุตตสิทธินัย สำเร็จความหมายโดยไม่ต้องกล่าว บางทีก็เรียก อัตถาปัตตินัย เข้าถึงความหมายได้ทันที)
ดังนั้น คำว่า สยํกตานิ จึงหมายถึง บุญที่ทำไว้ด้วยตนเอง ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ที่ทำไว้ในภพนี้นั่นเอง. คำนี้จึงถือว่ามีความหมายตรงตัว เพราะทานมัย ศีลมัย ภาวนามัยเป็นต้น ซึ่งเป็นบุญชนิดที่ต้องขวนขวายทำเอาเอง มิใช่บุญที่เกิดจากอนุูโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำแล้วอุทิศให้.
ดังนั้น บุญทั้งหลายที่นอกจากจะแบ่งโดยบุญกิริยาแล้ว ยังสามารถแบ่งเป็น ๒ อีก คือ ชนิดที่ทำด้วยตนเอง (สยํกตํ) และ ชนิดที่มีผู้อื่นอุทิศให้ ซึ่งในบางแห่งเรียกว่า ทักขิณา บ้าง เรียกว่า ปัตติ บ้าง ที่อาจเรียกโดยนัยตรงข้ามกับ สยํกตว่า ปรทาน บ้าง.
เกี่ยวกับเรื่องนี้มีหลักฐานการใช้ ดังนี้ครับ
‘‘น มตฺถิ กมฺมานิ สยํกตานิ, ทตฺวาปิ เม นตฺถิ โย อาทิเสยฺย;
อจฺฉาทนํ สยนมถนฺนปานํ, เตนมฺหิ นคฺโค กสิรา จ วุตฺตี’’ติฯ .
(บาฬีเปตวัตถุ ๒๖/๕๔๖.อัมพสักกรเปตวัตถุ)
แปล ..ข้าพระองค์มิได้มีบุญกรรมที่ทำไว้ด้วยตนเอง ทั้งไม่มีผู้ที่จะพึงถวายผ้านุ่ง ผ้าห่ม ที่นอน ข้าวและน้ำ แล้วอุทิศให้ เหตุนั้นข้าพระองค์จึงเป็นเปรตเปลือยกาย มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง
พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้โดยสรุปว่า เพราะบุญที่เราทำไว้ด้วยตนเองในกาลก่อน ก็ไม่มี, แม้บุญที่เขาถวายทานแก่สมณพราหมณ์แล้วจะพึงอุทิศให้แก่เราว่า ขอบุญนี้จงมีแก่ท่านผู้โน้น ซึ่งล่วงลับไปแล้ว" ดังนี้ก็ไม่มี. ฉะนั้น เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ที่จะพึงได้เพราะบุญกรรมทั้งสองประเภทนั้น ก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้แหละ เราจึงเปลือยกาย มีความเป็นอยู่อย่างลำบาก แร้นแค้น.
----
ยังมีอีกแห่งหนึ่ง คือ ในพระบาฬีเวสสันตรชาตก ก็กล่าวไว้โดยนัยเดียวกัน ดังนี้
‘‘น จาหเมตมิจฺฉามิ, ยํ ปรโต ทานปจฺจยา;
สยํกตานิ ปฺุญานิ, ตํ เม อาเวณิกํ ธนํฯ
(บาฬีเนมิรราชชาดก ๒/๕๘๖)
แปล...หม่อมฉันมิได้ประสงค์สิ่งที่ผู้อื่นให้ บุญทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้เอง เป็นทรัพย์ส่วนเฉพาะของหม่อมฉัน
มีอธิบายโดยสังเขปที่เรียบเรียงจากอรรถกถาเนมิราชชาดกว่า
สิ่งใดที่ได้มาเพราะการให้แต่ผู้อื่น ย่อมเป็นเช่นกับของที่ยืมเขามา ฉะนั้น หม่อมฉันจึงไม่ปรารถนาสิ่งนั้น. ก็บุญทั้งหลายเหล่าใดที่หม่อมฉันกระทำไว้ด้วยตน การกระทำบุญเหล่านั้นของหม่อมฉันนั้นแหละไม่สาธารณะแก่คนเหล่าอื่น.ก็จะเป็นทรัพย์ที่ติดตามหม่อมฉันไปในทุกภพ.
---
ด้วยเหตุนี้ คำว่า สยํกตานิ ในพระบาฬีนี้จึงหมายถึง บุญที่ต้องขวนขวายทำด้วยตนเอง เท่านั้น คือ ทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น แต่ว่าบุญที่ตนไม่ได้ทำด้วยตนเองถูกละไว้ไม่ได้กล่าว แม้จะมีอยู่จริง แต่ก็มิได้ทรงประสงค์เอาในที่นี้ เหตุที่ต้องรอให้ผู้อื่นมาอุทิศให้จึงจะสำเร็จประโยชน์แก่ตน ดังนั้น สยํกตานิ บุญที่ทำด้วยตนเองเท่านั้น จึงเป็นมิตรที่ติดตามไปในทุกภพชาติ ...
---
ขออนุโมทนาสาธุ
สมภพ สงวนพานิช
บันทึกการเข้า