ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กุศล อกุศล อัพยากต | ธรรมเหล่านี้ต้องละทั้งหมด จึงจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้  (อ่าน 663 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





กุศล อกุศล อัพยากต | ธรรมเหล่านี้ต้องละทั้งหมด จึงจะถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

กุศลธรรม (กุสลา ธมฺมา)
– ไม่มีโทษ
– ให้ผลเป็นสุข
– เป็นปฏิปักษ์กับอกุสล (ตรงกันข้ามกับอกุศล)

อกุศลธรรม (อกุสลา ธมฺมา)
– มีโทษ, เป็นความเศร้าหมอง, (ตัวเองก็เศร้าหมอง, ทำให้ธรรมอื่นที่ประกอบกันกับตน เศร้าหมอง เร้าร้อนไปด้วย)
– ให้ผลเป็นทุกข์
– เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล (ตรงกันข้ามกับกุศล)

อัพยากตธรรม (อพฺยากตา ธมฺมา)
– ธรรมที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดงว่าเป็น “กุศล หรือ อกุศล” แต่ทรงแสดงโดยประการอื่น คือ แสดงเป็น วิบากบ้าง กริยาบ้าง…

@@@@@@@

กุศล กับ อกุศล ทรงแสดงในลักษณะเปรียบเทียบ ตรงกันข้ามกัน เช่น กุศล ไม่มีโทษ แต่อกุศล มีโทษ ….ปกิณกะ

– กุศล ไม่มีโทษก็จริง ถึงอย่างนั้น ในท้ายสุด กุศล ก็เป็นธรรมที่จำต้องละไป…บุคคลอาศัย โลกียกุศล เป็นเหตุให้ได้ รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล และโลกุตตรกุศล แต่ท้ายสุด เมื่อบุคคลบรรลุกุศลทั้งหมดเหล่านั้นแล้ว ก็จำต้องละกุศลเหล่านั้นไป เหลือไว้เพียงแต่กริยา

ดังที่ท่านตรัสว่า
    “ปุญญปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภยํ”, “โยธ ปุญฺญญฺจ ปาปญฺจ….ตมหํ พฺรูมิ พฺราหฺมณํ” ฯ
     (โลกุตตรกุศล คือ มรรคจิต เกิดขึ้นแก่พระอริยบุคคลนั้น ๆ เพียงครั้งเดียว ต่อแต่นั้นไป มรรคจิตนั้น ๆ ก็จะไม่เกิดกับท่านอีกต่อไป) ฯ
     อุปมาเหมือนดั่งบุคคลข้ามแม่น้ำโดยอาศัยเรือ เมื่อข้ามถึงฝั่นโน้นแล้ว ก็จำต้องละสละเรือขึ้นฝั่งไป ฉันใด, บุคคลอาศัย กามาวจรกุศล….โลกุตตรกุศล ถึงฝั่งคือพระนิพพานแล้ว ก็จำต้องละกุศลเหล่านั้นไป…ฯ

– โดยปริยายแห่งเทศนา “โลกียกุศล” แม้ไม่มีโทษ ให้ผลเป็นความสุข แต่ก็เป็นทุกข์ เพราะทำให้เกิดวิบาก คือปฏิสนธิวิญญาณ นำให้เกิดในภพภูมิต่าง ๆ มีมนุษย์ เทวดา เป็นต้น วิญญาณที่ถือปฏิสนธิสืบต่อในภพใหม่นั้นและเป็น ชาติ (ชาติปิ ทุกฺขา) ในขณะเดียวกัน ตัวโลกียกุศลเอง ก็ยังจัดว่าเป็นทุกข์ ในทุกขอริยสัจจ์


@@@@@@@

– อัพยากตธรรม ไม่ก่อผล (วิบาก) เช่นเดียวกับ กุศล และอกุศลนั้น ก็จริง, ถึงอย่างนั้น อัพยากตธรรมทั้งหมด ก็เป็นปัจจัยได้ นับเป็นชาติก็ได้ทั้ง ๙ ชาติ มีสหชาตชาติเป็นต้น เมื่อเป็นปัจจัย ก็ต้องมีปัจจยุปบัน (ปัจจัย ก็คือเหตุ, ปัจจยุปบัน ก็คือผล เหมือนดั่งเช่น วิญญาณ-นามรูป-สฬายตนะ-ผัสสะ-เวทนา…)

– กุศลธรรม, อกุศลธรรม ย่อมเข้าถึงความเป็น ปัจจัย และปัจจยุปบัน เช่นเดียวกันกับอัพยากตธรรม เช่น เมื่อว่าโดย อารัมมณชาติ อารมณ์ทั้งปวงเป็นอารัมมณปัจจัย, กุศลธรรม อกุศลธรรม คือจิต และเจตสิก ย่อมเป็น อารัมมณปัจจยุปบัน…

– แท้จริงแล้ว เจตนาที่ประกอบกับกุศลธรรมและอกุศลธรรมนั้น เป็นกรรม และเป็นตัวก่อวิบากโดยตรง คือเจตนานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมกระทำกิจ ๒ อย่าง คือ “สํวิธานกิจ” จัดแจงปรุงแต่งสัมปยุตตธรรมให้ทำหน้าที่ของตน ๆ, และ “พีชนิธานกิจ” สร้างพืช คือก่อวิบาก ได้แก่ปฏิสนธิวิญญาณ ปวัตติวิญญาณ และกัมมชรูป ฯ





ขอขอบคุณ :-
บทความของ : VeeZa
web : dhamma.serichon.us/2021/10/13/กุศลธรรม-อกุศล-อัพยากต/
Posted Date : 13 ตุลาคม 2021, By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ