ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "อนุปุพพิกถา" เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจด  (อ่าน 640 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




"อนุปุพพิกถา" เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจด

อนุปุพพิกถา เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นชั้น ๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังอริยสัจสี่ ธรรมส่วนปรมัตถ์

     อนุปุพพิกถา ๕.

     ๑. ทานกถา เรื่องทาน, กล่าวถึงการให้ การเสียสละเผื่อแผ่แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน
     ๒. สีลกถา เรื่องศีล, กล่าวถึงความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม
     ๓. สัคคกถา เรื่องสวรรค์, กล่าวถึงความสุขความเจริญ และผลที่น่าปรารถนาอันเป็นส่วนดีของกามที่จะพึงเข้าถึง​ เมื่อได้ประพฤติดีงามตามหลักธรรมสองข้อต้น
     ๔. กามาทีนวกถา เรื่องโทษแห่งกาม, กล่าวถึงส่วนเสีย ข้อบกพร่องของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่สืบเนื่องมาแต่กาม อันไม่ควรหลงใหลหมกมุ่นมัวเมา จนถึงรู้จักที่จะหน่ายถอนตนออกได้
     ๕. เนกขัมมานิสังสกถา เรื่องอานิสงส์แห่งความออกจากกาม, กล่าวถึงผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินติดอยู่ในกาม และให้มีฉันทะที่จะแสวงความดีงามและความสุขอันสงบที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านั้น

ตามปกติ พระพุทธเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนาแก่คฤหัสถ์ ผู้มีอุปนิสัยสามารถที่จะบรรลุธรรมพิเศษ ทรงแสดงอนุปุพพิกถานี้ก่อน แล้วจึงตรัสแสดงอริยสัจจ์ ๔ เป็นการทำจิตให้พร้อมที่จะรับ ดุจผ้าที่ซักฟอกสะอาดแล้ว ควรรับน้ำย้อมต่างๆ ได้ด้วยดี

@@@@@@@

คำศัพท์นี้ สามารถเขียนติดกันโดยถือว่าเป็นบทสมาส หรือเขียนแยกกันเป็นวากยะก็ได้ ตามคำอธิบายของพระฎีกาจารย์ คือ

     ๑. วิเคราะห์ว่า อนุปุพฺพทีปนี กถา อนุปุพฺพีกถา หรือ อนุปุพฺพิกถา ก็ว่า แปลว่า ถ้อยคำอันแสดงเป็นลำดับ หรือแสดงโดยลำดับ ลบ ทีปนี ศัพท์ท่ามกลาง เอามาต่อกัน ลง อี หรือ อิ อาคมท่ามกลางด้วยมหาสูตร จัดเป็น กัมมธารยสมาส หรือ ตัปปุริสสมาส.

วิเคราะห์ว่า อนุปุพฺเพน กเถตพฺพา อนุปุพฺพิกถา เทศนาที่จะพึงกล่าวโดยลำดับ อนุปุพฺพบทหน้า กถ ธาตุ ในการกล่าว อปัจจัย ในกัมมสาธนะ, อาอิตถีโชตกปัจจัย จัดเป็นกิตันตสมาส บทสมาสที่มีกิตปัจจัยอยู่ท้าย หรือจะเรียกว่า รูปวิเคราะห์กิตที่มีตัปปุริสสมาสอยู่ภายใน

    ๒. ส่วนรูปศัพท์นี้ว่า อนุปุพฺพี กถา ไม่ใช้รูปวิเคราะห์ เป็นแค่วากยะ ไม่ใช่สมาส โดยบททั้งสองนี้เป็น ตุลยาธิกรณะกัน คือ มีวิภัตติ, วจน, ลิงค์ตรงกัน สื่อถึงสิ่งเดียวกัน เป็นวิเสสนะ และวิเสสยะของกันและกัน ในสัททนีติปทมาลาว่าเป็นศัพท์ชุด เรียกว่า ปทสโมธาน เหมือนคำว่า พุทฺโธ ภควา, ราชา มาคโธ เสนิโย พิมฺพิสาโร….นิยมใช้คู่กันเสมอ นำไปแจกวิภัตติตามแบบแจกทั่วไป

อนุปุพฺพึ กถํ, อนุปุพฺพิยา กถาย…
อนุปุพฺพทีปนี กถา อนุปุพฺพีกถา, ยทาทินา มชฺเฌ อีอาคโม, เตสุ วุทฺธีติอาทินา ทีปนีสทฺท-
โลโป. อนุปุพฺพิกถา วา, อิอาคโม. กมฺมธารยสมาโส ตปฺปุริสสมาโส วา มชฺเฌโลปี. สคาถวคฺคฏีกายํ วุตฺตํ สา หิ อนุปุพฺเพน กเถตพฺพตฺตา อนุปุพฺพิกถาติ วุจฺจติ. อิมิสฺสา มเตน ตติยาตปฺปุริสคพฺโภ

กิตวิคฺคโห, กิตนฺตสมาโส วา, กมฺมสาธเน อปจฺจโย โหติ, ปุน อาอิตฺถิโชตโก. อนุปุพฺเพน กเถตพฺพา อนุปุพฺพิกถาติ นิพฺพจนียํ. อปโร นโย – อิทํ อนุปุพฺพี กถา. อนุปุพฺพิ กถาติ พฺยาเสปิ ลพฺภติ. วากฺยเมวาติ อตฺโถ. วุตฺตญฺจ สีลกฺขนฺธวคฺคอภินวฏีกายํ

อนุปุพฺพึ กถนฺติ อนุปุพฺพํ กเถตพฺพํ กถนฺติ.
สทฺทนีติปทมาลายํ วุตฺตํ ธมฺมี กถา, ธมฺมึ กถํ,
ธมฺมิยา กถาย, ธมฺมิยํ กถายํ. เสสํ วิตฺถาเรตพฺพํ. เอวํ อนุปุพฺพี กถา, เอวรูปี กถา. อิมินา นเยน อญฺเญสุปิ ฐาเนสุ ปทสโมธานวเสน ลิงฺคโต จ อนฺตโต จ วจนโต จ อเปกฺขิตพฺพํ. ปทโต จ

นานปฺปการา นามิกปทมาลา โยเชตพฺพาติ.
สารตฺถทีปนิยํ วุตฺตํ อนุปุพฺพึ กถนฺติ ทานานนฺตรํ สีลํ, สีลานนฺตรํ สคฺคํ, สคฺคานนฺตรํ มคฺคนฺติ
เอวมนุปฏิปาฏิกถนฺติ. วิตฺถารกถา​ จ ตตฺเถว วุตฺตา. วิตฺถารตฺถิเกหิ ตโต คเหตพฺพา.





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : Charan Buddhappiya
URL : dhamma.serichon.us/2022/03/16/อนุปุพพิกถา-เทศนาที่แสด/
Posted date : 16 มีนาคม 2022 , By admin.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ