ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "ภาษาบาลี" อย่างเดียว ช่วยให้พุทธศาสนายั้งยืน ได้จริงหรือ.?  (อ่าน 532 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




"ภาษาบาลี" อย่างเดียว ช่วยให้พุทธศาสนายั้งยืน ได้จริงหรือ.?

(มงฺคลตฺถทีปนี ปฐโม ภาโค) อาการตฺเถน เหเตน เถโร นานานยปริปุณฺณํ ธมมตฺถเทสนาปฏิเวธคมฺภีรํ สพฺพสตฺเตหิ สกสกภาสานุรูปมุปลกฺขณียสภาวํ สตฺถุ วจนํ ตํ สพพปฺปกาเรน โก สมตฺโถ วิญฺญาตุํ อถโข มยาปิ เอเกนากาเรน สุตํ โสตวิญฺญาณปุพฺพงฺคมาย โสตวิญฺญาณวีถิยา อุปธาริตนฺติ ทีเปติ ฯ

(ด้วย เอวํ ศัพท์ อันมีอาการเป็นอรรถนี้, พระเถระ (อานนท์) ย่อมแสดงว่า พระดำรัสของพระศาสดาเต็มไปด้วยนัยหลายหลาก ลึกโดย เหตุ,ผล,เทศนา,และการบรรลุ มีสภาพที่สรรพสัตว์จะพึงกำหนดรู็ได้ตามสมควรแก่ภาษาของตน ๆ, ที่แท้ แม้ข้าพเจ้าก็ฟังมาโดยอาการอย่างหนึ่ง คือ ทรงจำไว้ได้ ด้วยโสตวิญญาณวิถี ซึ่งมีซึ่งมีโสตวิญญาณเป็นหัวหน้า (โสตวิญญาณวิถี ตามด้วยตทนุวัตติกมโนทวารวิถี ๔ วิถี นับจำนวนวิถีไม่ได้, และมโนทวารวิถีล้วน ๆ ซึ่งเกิดในภายหลังที่ท่านคิดนึก และนำมาแสดง)

คำว่า “มีสภาพที่สรรพสัตว์จะพึงกำหนดได้ตามสมควรแก่ภาษาของตน ๆ” นั้น หมายความว่า เสียงที่ท่านพระอานนท์กล่าวออกมานั้นเป็น มาคธีภาษา หรือเรียกว่า “บาฬี” ในกาลต่อมา เมื่อถูกถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร (อกฺขร) ใช้อักษรไปแทนเสียง (สทฺท), อักษรของชนชาติใด ก็เป็นอักษรหรือภาษาของชนชาตินั้น แต่ภาษาที่เปล่งออกมา ก็ยังเป็นภาษามาคธีหรือบาฬีอย่างเดิม เช่น

   – ใช้อักษรสีหล ไปแทนเสียงมาคธีหรือบาฬีภาษา ก็เรียกว่า “บาลีอักษรสีหล”
   – ใช้อักษรพม่า ไปแทนเสียงมาคธีหรือบาฬีภาษา ก็เรียกว่า “บาลีอักษรพม่า”
   – ใช้อักษรขอม ไปแทนเสียงมาคธีหรือบาฬีภาษา ก็เรียกว่า “บาลีอักษรขอม”
   – ใช้อักษรล้านนา ไปแทนเสียงมาคธีหรือบาฬีภาษา ก็เรียกว่า “บาลีอักษรล้านนา”
   – ใช้อักษรไทย ไปแทนเสียงมาคธีหรือบาฬีภาษา ก็เรียกว่า “บาลีอักษรไทย”
   – ใช้อักษรโรมัน ไปแทนเสียงมาคธีหรือบาฬีภาษา ก็เรียกว่า “บาลีอักษรโรมัน”

เมื่อใช้อักษรของชนชาติใด ๆ ไปแทนเสียงที่เป็นมาคธีหรือบาฬีภาษา นั้น เรียกว่า “อันสรรพสัตว์จะพึงเข้าไปกำหนดได้ตามสมควรแก่ภาษาของตน ๆ”

@@@@@@@

นอกจากนั้น เมื่อใช้อักษรแทนเสียงที่เปล่งออกมาแล้ว ยังต้องแปลความหมายของสัททะ (ศัพท์) นั้น ๆ ออกมาเป็นภาษาที่ชนชาตินั้นๆ จะพึงเข้าใจได้อีกด้วยฯ ไม่ใช่เปล่งคำว่า “นโม” ออกมาแล้ว ใช้อักษรไทยไปแทนเสียงเขียนเป็น “นะโม” คนฟัง คนอ่าน จะรู้เรื่อง เข้าใจทันทีเลยก็ยังไม่ได้ ต้องแปล หรือต้องให้ความหมาย คำนิยาม ความประสงค์ ของคำว่า “นโม” นั้นออกมาอีกครั้ง อาจต้องอธิบายยืดยาวออกไปอีก ว่า คำว่า “นโม” ในความหมายของทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร มุ่งหมายถึงใคร อย่างไรจึงจะเรียกว่า “นโม”

“มาคธีหรือบาฬี” อย่างเดียว ไม่อาจจะดำรงพุทธศาสนาไว้ได้ (ไม่งั้น พุทธศาสนาคงไม่หายไปจากอินเดีย นานถึง ๘๐๐ ปี) ต้องถูกถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาท้องถิ่นนั้น ๆ ได้โดยถูกต้อง ความหมายถูกต้องตามพุทธประสงค์ ทุกคนเข้าใจ และปฏิบัติได้ จึงจะช่วยจรรโลงพุทธศาสนาเอาไว้ได้…ฯ




Thank to : dhamma.serichon.us/2022/03/24/ภาษาบาลีอย่างเดียว-ช่วย/
24 มีนาคม 2022 ,By admin.   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ