ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อริยสัจจะ 4 เป็นคุณเครื่องศึกษาธรรมเริ่มต้น  (อ่าน 3269 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อริยสัจจะ 4 เป็นคุณเครื่องศึกษาธรรมเริ่มต้น

เมื่ออ่านหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ก็มักจะโดนสรุปไปเรื่อง อริยสัจจะ 4 ประการ

 คือ 1 ทุกข์

     2 สมุทัย

     3 นิโรธ
 
     4 มรรค

และเมื่ออ่านมาถึงคำว่า ปริวัฏ 3 มีอาการ 12 นั้น ก็จบ ไม่รู้ว่า ปริวัฏ 3 อาการ 12 ของอริยสัจจะมีอย่างไรคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อริยสัจจะ 4 เป็นคุณเครื่องศึกษาธรรมเริ่มต้น
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 12:17:39 pm »
0
กิจในอริยสัจ ๔ (หน้าที่อันจะพึงทำต่ออริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง, ข้อที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องและเสร็จสิ้นในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่าง จึงจะชื่อว่ารู้อริยสัจหรือเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว)

๑. ปริญญา (การกำหนดรู้ เป็นกิจในทุกข์ ตามหลักว่า ทุกฺขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ ทุกข์ควรกำหนดรู้ คือ ควรศึกษาให้รู้จักให้เข้าใจชัดตามสภาพที่เป็นจริง ได้แก่ การทำความเข้าใจและกำหนดขอบเขตของปัญหา )

๒. ปหานะ (การละ เป็นกิจในสมุทัย ตามหลักว่า ทุกฺขสมุทโย อริยสจฺจํ ปหาตพฺพํ สมุทัยควรละ คือ กำจัด ทำให้หมดสิ้นไป ได้แก่การแก้ไขกำจัดต้นตอของปัญหา)

๓. สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ)

๔. ภาวนา (การเจริญ เป็นกิจในมรรค ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทา อริยสจฺจํ ภาเวตพฺพํ มรรคควรเจริญ คือ ควรฝึกอบรม ลงมือปฏิบัติ กระทำตามวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย ได้แก่การลงมือแก้ไขปัญหา )
 
ในการแสดงอริยสัจ ก็ดี ในการปฏิบัติธรรมตามหลักอริยสัจก็ดี จะต้องให้อริยสัจแต่ละข้อ สัมพันธ์ตรงกันกับกิจแต่ละอย่าง จึงจะเป็นการแสดงและเป็นการปฏิบัติโดยชอบ ทั้งนี้ วางเป็นหัวข้อได้ดังนี้

๑. ทุกข์ เป็นขั้นแถลงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้ขอบเขต (ปริญญา)

๒. สมุทัย (เป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหา ซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมดสิ้นไป (ปหานะ)

๓. นิโรธ เป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหา อันเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึง ซึ่งจะต้องทำให้สำเร็จ (สัจฉิกิริยา)

๔. มรรค เป็นขั้นกำหนดวิธีการ ขั้นตอน และรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา (ภาวนา)


ความสำเร็จในการปฏิบัติทั้งหมด พึงตรวจสอบด้วยหลัก ญาณ ๓

ญาณ ๓ (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้ )

๑. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา)
 
๒. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ )
 
๓. กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ ๔ แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว )



ปริวัฏฏ์ หมุนเวียน, รอบ;
ญาณทัสสนะมีปริวัฏฏ์ ๓ หรือเวียนรอบ ๓ ในอริยสัจจ์ ๔ หมายถึง
รู้อริยสัจจ์ ๔ แต่ละข้อโดยสัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ รวม ๔ ข้อเป็น ๑๒ เรียกว่า มีอาการ ๑๒


ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)


อริยสัจ ๔ จากวจนะอริยบุคคล ( ๒ .... ปริวัฏ ๓ อาการ ๑๒ )

เหล่านี้เป็นการรวบรวมข้อเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนาและธรรมในข้ออริยสัจ ๔  และ การปริวัฏฏ์ ๓ ( หมุนเวียน ) จากการรจนาของอริยะบุคคลต่างๆ โดยพยายามเรียบเรียงให้เนื้อความติดต่อและสอดคล้องกัน เสมือนหนึ่งรจนาโดยบุคคลคนเดียว เพื่อความเข้าใจในศาสนาที่ดียิ่งขึ้น และเพื่อเป็นหลักฐานทางการศึกษา
......................................................................

อริยสัจ ๔ ปริวัฎฎ์ ๓ มีอาการเป็น ๑๒ ( ปริวัฏ หรือปริวัตร ก็เรียก )

                “ พูดตามหลักอริยสัจว่า มองอริยสัจข้อ ๑ เห็นทุกข์ ทำตามอริยสัจข้อ ๔ เป็นสุข ”


พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต )  ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น  ( หน้า ๑๙๙ )  สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ อมรินทร์บุ๊คพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ๑0๑๗0 พิมพ์ครั้ง
.......................................................................

                        “ ...พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่งมีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่มีญาณทัศนะที่มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔  เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่าได้ตรัสรู้  ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้นจึงปฏิญาณได้ว่าตรัสรู้

หมายความว่า ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ครบ ๓ ด้าน คือทั้งรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจแต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปในทุกข้อ เรียกว่า ๓ ปริวัฏฏ์ ”

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต )  ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น  ( หน้า ๑๖ – ๑๗ )  สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๕ อมรินทร์บุ๊คพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ ๑0๑๗0 พิมพ์ครั้ง
.........................................................................

            “ ญาณ ๓ ( สัจญาณ กิจญาณ กตญาณ ) ที่เกี่ยวกับอริยสัจ เรียกเต็มๆว่า “ ญาณทัสสนะ ” อันมีปริวัฎหรือวนรอบ ๓ รอบ คือการหยั่งรู้เห็นครบ ๓ รอบ ที่เป็นไปในอริสัจ ๔ ครบทุกข้อ รวมเป็น ๑๒ ญาณทัสสนะ หรือมีอาการ ๑๒ ที่ท่านใช้เป็นเกณฑ์วัดความรู้เรื่องอริยสัจ ๔ ว่า เมื่อใดใครก็ตามรู้อริยสัจ ๔ แต่ละอย่างครบปริวัฏ ๓ จนมีอาการ ๑๒ แล้ว เมื่อนั้นจึงจะได้ชื่อว่ารู้อริยสัจ ๔ แท้จริง” ( หน้า ๑๘๒ )

                       “ ความรู้อริยสัจ ๔ แปลกกว่าความรู้อย่างที่เข้าใจกัน คือส่วนมากจะถือว่าความรู้กับการกระทำเป็นคนละเรื่องกัน แต่การรู้อริยสัจนี้ พระพุทธองค์ทรงกำหนด “ การกระทำ ” กำกับ ไว้ด้วยในตอนท้ายของทุกรอบแห่งอริยสัจ ๔ จึงจะถือว่าเป็นความรู้จริง ประเสริฐ สมบูรณ์ เปรียบคล้ายดังการรู้เรื่องยาอะไรสักอย่างหนึ่ง จะถือว่าบุคคลรู้ยาจบได้ต่อเมื่อได้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นยา รู้ว่ายานี้ควรกิน และรู้ว่ายานี้ที่ควรกินได้กินแล้ว ”

                        ดร.อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน พุทธศาสน์ แนวปฏิบัติเพื่อชีวิต  ( หน้า ๑๘๓ ) สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ.. ๒๕๕๑
...........................................................................

“ นอกจากอริยสัจ ๔ จะสมบูรณ์ด้วยภาคภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติแล้ว ยังสมบูรณ์ด้วยภาคผลปฏิบัติอีกด้วย ภาคผลปฏิบัติก็คือนิโรธ ( นิพพาน ) นั่นเอง เราสามารถจัดภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และภาคผลปฏิบัติให้อยู่ในอริยสัจ ๔ ซึ่งมีญาณการหยั่งรู้ ๓ ประการ ปริวัฏการเวียนครบ ๓ รอบ ได้ดังนี้

สัจญาณ หยั่งรู้สัจจะ คือหยั่งรู้ความจริงว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ สมุทัยเป็นอย่างนี้ นิโรธเป็นอย่างนี้ มรรคเป็นอย่างนี้ ซึ่งเห็นตรงสภาพความจริง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นอย่างไร ก็เห็นตรงสภาพความจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าเป็นอย่างนั้น มิใช่ ทุกข์เป็นทุกข์ แต่เห็นเป็นสุข สมุทัยเป็นเหตุเกิดทุกข์

แต่เห็นเป็นเหตุเกิดสุข ( เห็นตัณหาว่าทำให้เกิดความสุข ) นิโรธดับทุกข์ แต่เห็นว่าดับทุกข์ไม่ได้ (เห็นนิโรธอนัตตาว่าเป็นอัตตา ) มรรคทางดับทุกข์ แต่เห็นว่ามิใช่ทางดับทุกข์ ซึ่งเห็นไม่ตรงสภาพความจริง คลาดเคลื่อนออกไปสัจญาณนี้ เกิดขึ้นในปริวัฏแรกรอบหนึ่ง ยังไม่มีภาคปฏิบัติใดๆ เพียงหยั่งรู้อริยสัจ ๔ เห็นตรงสภาพความจริง จึงจัดอยู่ในภาคทฤษฎี

กิจญาณ หยั่งรู้กิจ คือหยั่งรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าควรทำอย่างไร เห็นว่าควรปฏิบัติต่อทุกข์ด้วยการกำหนด สมุทัยด้วยการละ นิโรธด้วยการทำให้แจ้ง มรรคด้วยการเจริญ กล่าวคือ ทุกข์ พึงกำหนดรู้
( ปริญฺเญยฺยํ ) สมุทัย พึงละ (ปหาตพฺพํ ) นิโรธ พึงทำให้แจ้ง (สจฺฉิกาตพฺพํ ) มรรค พึงเจริญ ( ภาวิตพฺพํ )


ซึ่งวางการปฏิบัติตรงสภาพของความจริงของทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในแต่ละประการนั้น
กิจญาณนี้ เกิดขึ้นในการปริวัฏรองรอบสอง ยังไม่เกิดผลปฏิบัติใดๆ เพียงรู้ว่าควรปฏิบัติตรงต่ออริยสัจ ๔ ตามสภาพความเป็นจริง จึงจัดอยู่ในภาคปฏิบัติ

กตญาณ หยั่งรู้การทำสำเร็จ คือหยั่งรุ้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ว่าได้ทำสำเร็จแล้ว เห็นว่าได้ปฏิบัติต่อทุกข์ด้วยการกำหนดรู้ สมุทัย ด้วยการละ นิโรธด้วยการทำให้แจ้ง มรรคด้วยการเจริญ

กล่าวคือ ทุกข์ก็รู้แล้ว ( ปริญฺญาตํ ) สมุทัยก็ละแล้ว (ปหีนํ ) นิโรธก็ทำให้แจ้งแล้ว (สจฺฉิกตํ ) มรรคก็เจริญแล้ว (ภาวิตํ ) กตญาณนี้เกิดขึ้นในปริวัฏหลังรอบสาม มีผลปฏิบัติเกิดขึ้นบริบูรณ์เปี่ยมด้วยญาณทัศน์ที่บริสุทธิ์ ไม่แปรกลับกำเริบอีก จึงจัดอยู่ในภาคผลปฏิบัติ ”

พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์  พระไตรปิฎกร่วมสมัย ๓   ( หน้า ๒๘ – ๒๙ ) สำนักพิมพ์ธรรมดา ๑๑๓ หมู่บ้านจินดาธานี หมู่ ๑0 ถนนบรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพ ๑๐๑๗๐ พิมพ์ครั้งที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๖
.......................................................................
 
ที่มา  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=362129



เรื่องนี้เข้าใจยากครับ สมาชิกท่านใดสามารถอธิบายได้ ช่วยแสดงความเห็นด้วยครับ
 ;) :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 08:41:36 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อริยสัจจะ 4 เป็นคุณเครื่องศึกษาธรรมเริ่มต้น
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 03:11:30 pm »
0
เราทั้งหลายกําลังวิ่งวนอยู่ในวิจิกิจฉาและสมุทัย ใบไม้ทั้งป่่า กับใบไม้กําเดียวอย่างใดน้อยกว่า เราเกิดเป็นพุทธ ทาน ศิล สมาธิ ปัญญา คือธรรมเครื่องนําออก เราจงวางของหนักลงก่อน สิ่งเหล่านั้นวันหนึ่งก็ต้องรู้เอง เห็นเอง (สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด)
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อริยสัจจะ 4 เป็นคุณเครื่องศึกษาธรรมเริ่มต้น
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2011, 08:58:14 pm »
0

และเมื่ออ่านมาถึงคำว่า ปริวัฏ 3 มีอาการ 12 นั้น ก็จบ ไม่รู้ว่า ปริวัฏ 3 อาการ 12 ของอริยสัจจะมีอย่างไรคะ


ขอตอบตามความเข้าใจของผมนะครับ

ปริวัฎฎ์ ๓ มีอาการเป็น ๑๒ เป็นเครื่องมือตรวจสอบความรู้แจ้งในอริยสัจจ์ ๔ ครับ

สิ่งนี้จะมีก็ต่อเมื่อ ผู้ปฏิบัติได้ญาณทัสสนะแล้ว แล้วญาณทัสสนะจะได้เมื่อไหร่

ตอบว่า ต้องขึ้นวิปัสสนาให้ได้ก่อน และได้วิปัสสนาญาณถึงระดับหนึ่ง

อยากรู้รายละเอียดต้องไปศึกษาเรื่องวิปัสสนาญาณ ๙ หรือ ญาณ ๑๖ ให้เข้าใจก่อน

ขอคุยเท่านี้ รู้สึกอึดอัดที่จะตอบ บอกตรงๆว่า ปฏิบัติยังไม่ถึงครับ


 :) ;) :49: :25:

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ