ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อาการสิ้นภพสิ้นชาติ "แบบสมสีสี" : ผู้สิ้นกิเลส พร้อมกับ สิ้นชีวิต  (อ่าน 824 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อาการสิ้นภพสิ้นชาติ "แบบสมสีสี" : ผู้สิ้นกิเลส พร้อมกับ สิ้นชีวิต

สมสีสีบุคคล เป็นไฉน.? : สมสีสีบุคคล คือ บุคคล เมื่อคราวบรรลุอรหัตตมรรค ความสิ้นอาสวะและความสิ้นชีวิต จะเป็นไปในคราวเดียวกัน เหตุเพราะศรีษะทั้งสองประเภท คือ อวิชชาในอกุศลจิตร อันเป็นกิเลสศรีษะ และ ชีวิตินทรีย์ในจุติจิตร อันเป็นปวัตตศรีษะ ถึงความเสื่อมสิ้นกำลังไปพร้อมๆกัน ไม่ก่อนไม่หลังกันเลย คือ...

     ...ในขณะที่บรรลุอรหัตตมรรคนั่นเอง ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่ออรหัตตมรรคญาณ อรหัตตผลญาณ และอรหัตตปัจเวกขณะญาณสิ้นสุดลงตามลำดับแล้ว จิตรก็ลงสู่ภวังค์ถัดไปจุติจิตรก็ปรากฏขึ้น แต่เพราะความสูญสิ้นกำลังของชีวิตินทรีย์ในจุติจิตรนั่นเอง เป็นเหตุให้ปฏิสนธิจิตรเกิดขึ้นไม่ได้
     พระอรหันต์จึงสิ้นภพสิ้นชาติได้ก็ด้วยประการฉะนี้แล

ถามว่า : อาการสิ้นภพสิ้นชาติแบบสมสีสี มีกี่ประเภท
ตอบว่า : มี 3 ประเภท คือ
             1. อริยาปถสมสีสี ที่ใช้อิริยาบถสี่ เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
             2. โรคสมสีสี ที่ใช้โรค(เวทนา)ที่รุมเร้าอยู่เป็นอารมณ์เจริญวิปัสสนา
             3. ชีวิตสมสีสี ใช้อารมณ์(อื่นจากอิริยาบถและโรค) ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ เช่น บาดแผลที่เกิดจากการเชือดคอเป็นต้น

@@@@@@@

เพื่อความเข้าใจประเภทอารมณ์ที่รุนแรงต่อการเบื่อหน่ายปัญจขันธ์ได้ถูกต้องชัดเจน คัมภีร์นิสสยอักษรล้านช้างจึง นำตัวอย่างเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงทราบว่า หมู่ภิกษุ 60 รูปในอตีตชาติ ร่วมกันเป็นพรานฆ่าสัตว์เป็นอาชีพ กรรมนั้นตามมาทันในชาตินี้ คือ ต้องถูกฆ่าตายแล้วก็ต้องเสวยกรรมนั้นในนรก

จึงทรงแนะนำให้เจริญมรณานุสติกรรมฐาน ด้วยวิบากกรรมที่รุนแรง แทนที่จะเบื่อหน่ายด้วยปัญญากลับเบื่อหน่ายด้วยโทสะ รุนแรงถึงกับยับยั้งไม่อยู่ จึงฆ่าซึ่งกันและกันบ้าง ร้องขอหรือจ้างวานด้วยของใช้สอยบ้าง เป็นความเบื่อหน่ายที่รุนแรงด้วยโทสะก็จริง แต่ก็ไม่ได้อาศัยเรือน(กาม) จึงไม่มีกำลังส่งผลนำไปปฏิสนธิในนรกภูมิได้

การที่พระพุธทองค์ทรงพระกรุณาแนะนำมรณานุสติกรรมฐานให้แก่หมู่พระภิกษุเหล่านี้ ก็เพื่อกันไม่ให้พวกพระภิกษุเหล่านั้นตกนรกได้ ก็ด้วยอารมณ์เช่นนี้นั่นเอง

ส่วนตัวอย่างที่เบื่อหน่ายปัญจขันธ์รุนแรงด้วยปัญญาก็ เช่น พวกโจรใช้เถาหัวด้วน มัดพระเถระรูปหนึ่ง ให้นอนอยู่ที่ตัมพปัณณิทวีป เมื่อไฟป่าลามมาถึง เพราะความเบื่อหน่ายเห็นโทษการมีปัญจขันธ์อย่างรุนแรง และเห็นคุณของปาติโมกขสังวรศีลอย่างลึกซึ้ง จึงไม่ย่อมตัดเถาวัลย์ เจริญวิปัสสนา เป็นชีวิตสมสีสีปรินิพพาน (วิสุทธิมรรค ปาติโมกขสังวรศีล)




ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : สมเกียรติ พลเดชอุดมคุณ
website : dhamma.serichon.us/2022/08/04/สมสีสีบุคคล-เป็น-ไฉน-2/
Posted date : 4 สิงหาคม 2022 , By admin.
Photo : pinterst
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


บุคคลชื่อว่า "สมสีสี" เป็นไฉน.?

[๓๒] บุคคลชื่อว่า สมสีสี เป็นไฉน
การสิ้นไปแห่งอาสวะ และการสิ้นไปแห่งชีวิตของบุคคลใด มีไม่ก่อนไม่หลังกัน บุคคลนี้เรียกว่า สมสีสี



ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖  พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=36.2&item=32&items=1&preline=0&pagebreak=0


 :96: :96: :96:

ชีวิตสมสีสี ผู้สิ้นกิเลสพร้อมกับสิ้นชีวิต, ผู้ได้บรรลุธรรมวิเศษแล้วก็ดับจิตพอดี

สมสีสี [สะ-มะ-สี-สี] บุคคลผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต คือ บรรลุอรหัตตผล ในขณะเดียวกับที่สิ้นชีวิต ;
       นี้เป็นความหมายหลักตามพระบาลี แต่ในมโนรถปูรณี อรรถกถาแห่งอังคุตตรนิกาย ให้ความหมายสมสีสี ว่า เป็นการสิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นอย่างอื่นอันใดอันหนึ่งใน ๔ อย่าง

       และแสดงสมสีสีไว้ ๔ ประเภท คือ
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับหายโรค เรียกว่า โรคสมสีสี
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับที่เวทนา ซึ่งกำลังเสวยอยู่สงบระงับไป เรียกว่า เวทนาสมสีสี
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับการสิ้นสุดของอิริยาบถอันใดอันหนึ่ง เรียกว่า อิริยาบถสมสีสี
           ผู้สิ้นอาสวะพร้อมกับสิ้นชีวิต เรียกว่า ชีวิตสมสีสี
       สมสีสีในความหมายหลักข้างต้น ก็คือ ชีวิตสมสีสี ;

อย่างไรก็ดี ในอรรถกถาแห่งปุคคลปัญญัติ เป็นต้น แสดงสมสีสีไว้ ๓ ประเภท และอธิบายต่างออกไปบ้าง ไม่ขอนำมาแสดงในที่นี้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ



ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%C1%CA%D5%CA%D5


 :25: :25: :25:

อรรถกถาสมสีสีบุคคล     
         
วินิจฉัยในนิเทศแห่งสมสีสีบุคคล.

สองบทว่า "อปุพฺพํ อจริมํ" ได้แก่ ไม่ก่อนไม่หลัง. อธิบายว่า พร้อมกันนั่นเอง.
บทว่า "ปริยาทานํ" ได้แก่ ความสิ้นไปรอบ.
บทว่า "อยํ" ความว่า บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกชื่อว่า สมสีสี.

ก็สมสีสีบุคคลนี้ มี ๓ พวก คือ
    ๑. อิริยาปถสมสีสี
    ๒. โรคสมสีสี
    ๓. ชีวิตสมสีสี.

     บรรดาบุคคลเหล่านั้น
     - บุคคลใดกำลังจงกรมอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ยังจงกรมอยู่นั่นแหละ ย่อมปรินิพพานเหมือนพระปทุมเถระ.
     - บุคคลใดกำลังยืนอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตกำลังยืนอยู่นั่นแหละ ย่อมปรินิพพานเหมือนพระติสสเถระผู้อยู่ในวิหารโกฏบรรพต.
     - บุคคลใดกำลังนั่งอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตกำลังนั่งนั่นแหละ ย่อมปรินิพพาน.
     - บุคคลใดกำลังนอนอยู่ เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตกำลังนอนนั่นแหละ ย่อมปรินิพพาน.
     - บุคคลทั้งหมดดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อิริยาปถสมสีสีบุคคล.


@@@@@@@

อนึ่ง บุคคลใด เกิดโรคอย่างหนึ่งแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนาภายในโรคนั่นแหละ แล้วบรรลุพระอรหัต แล้วปรินิพพานด้วยโรคนั้นนั่นแหละ ท่านผู้นี้ชื่อว่า โรคสมสีสีบุคคล.

ถามว่า บุคคลผู้ชื่อว่า ชีวิตสมสีสี เป็นไฉน.?
ตอบว่า คำว่า "สีสะ" มี ๑๓ อย่าง คือ
        ๑. ตัณหา ชื่อว่าปลิโพธสีสะ
        ๒. มานะ ชื่อว่าพันธนสีสะ
        ๓. ทิฏฐิ ชื่อว่าปรามาสสีสะ
        ๔. อุทธัจจะ ชื่อว่าวิกเขปสีสะ
        ๕. อวิชชา ชื่อว่ากิเลสสีสะ
        ๖. ศรัทธา ชื่อว่าอธิโมกขสีสะ
        ๗. วิริยะ ชื่อว่าปัคคหสีสะ
        ๘. สติ ชื่อว่าอุปัฏฐานสีสะ
        ๙. สมาธิ ชื่อว่าอวิกเขปสีสะ
       ๑๐. ปัญญา ชื่อว่าทัสสนสีสะ
       ๑๑. ชีวิตินทรีย์ ชื่อว่า ปวัตตสีสะ
       ๑๒. วิโมกข์ ชื่อว่าโคจรสีสะ
       ๑๓. นิโรธ ชื่อว่าสังขารสีสะ.

บรรดาสีสะเหล่านั้น อรหัตมรรคย่อมครอบงำอวิชชา คือ กิเลสสีสะ จุติจิตย่อมครอบงำชีวิตนทรีย์ คือปวัตตสีสะ จิตที่ครอบงำอวิชชาย่อมไม่อาจเพื่อจะครอบงำชีวิตนทรีย์ได้ จุติจิตที่ครอบงำชีวิตนทรีย์ก็ไม่อาจเพื่อจะครอบงำจิตที่มีอวิชชาได้ จิตที่ครอบงำอวิชชาก็เป็นอย่างหนึ่ง จิตที่ครอบงำชีวิตนทรีย์ก็เป็นอย่างหนึ่ง.

สีสะทั้งสองอย่างนี้ของบุคคลใด ถึงความสิ้นไปพร้อมๆ กัน บุคคลนั้นจึงชื่อว่า ชีวิตสมสีสี.

@@@@@@@

ถามว่า สีสะทั้ง ๒ อย่างนี้ มีพร้อมๆ กันได้อย่างไร.?
ตอบว่า เพราะมีพร้อมๆ กันได้ด้วยวาระ.

อธิบายว่า การออกจากมรรคย่อมมีในวาระใด วาระนั้นชื่อว่ามีพร้อมๆ กัน คือว่า บุคคลใดตั้งอยู่ในปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง คือ
    - ปัจจเวกขณะในโสดาปัตติมรรค ๕ อย่าง
    - ในสกทาคามิมรรค ๕ อย่าง
    - ในอนาคามิมรรค ๕ อย่าง
    - ในอรหัตตมรรค ๔ อย่าง
แล้วหยั่งลงสู่ภวังค์ จึงปรินิพพาน ความสิ้นไปแห่งสีสะทั้งสองอย่างนี้ จึงชื่อว่าพร้อมๆ กัน เพราะความพร้อมๆ กันด้วยวาระเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น บุคคลนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ชีวิตสมสีสี.

ก็บุคคลนี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในสมสีสีนิเทศนี้.


               จบอรรถกถาสมสีสีบุคคล.   
 




ที่มา : อรรถกถา ปุคคลบัญญัติปกรณ์ บุคคลบัญญัติ เอกกนิทเทส , อรรถกถาเอกกนิทเทส , อรรถกถาสมสีสีบุคคล   
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=32         
ขอบคุณภาพจาก : pinterest
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2022, 08:30:00 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ