ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จากโกรธ และ ความเกลียดชัง สู่การแบ่งปัน อย่างไร้ขีดจำกัด  (อ่าน 872 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ความอดทนจะนำมาซึ่ง "พลังแห่งสันติสุข" จะช่วยให้เราอยู่ร่วมกันได้ | จากโกรธ และ ความเกลียดชัง สู่ "การแบ่งปัน" อย่างไร้ขีดจำกัด

ในขณะที่มนุษย์ร่วมโลกกำลังเผชิญหน้ากับความขัดแย้ง และความรุนแรง อันเนื่องจากการขาดขันติธรรมทางศาสนา (Religious Tolerance) ซึ่งสะท้อนผ่านพฤติกรรมของคนบางคนหรือบางกลุ่มที่อ้างตัวว่าเป็นศาสนิกของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่ขาดการเคารพ และขาดการให้เกียรติต่อหลักการ สัญลักษณ์ และความเชื่อทางศาสนาอื่นๆ ในวิถีทางที่ไม่เหมาะสม โดยการแสดงออกทางกาย และวาจาในเชิงลบมิติต่างๆ เช่น การวาดการ์ตูน การจัดทำภาพยนตร์ หรือคลิปวีดิโอ หรือการลบหลู่คัมภีร์

การดำเนินการดังกล่าว แม้จะตั้งใจ หรือกระทำการด้วยความคึกคะนอง โดยขาดความยั้งคิด แต่เมื่อกระทบอารมณ์ และความรู้สึกของของกลุ่มคนที่มีความเชื่อแตกต่างแล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความขัดแข้ง วิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นได้เดินทางไปสู่สภาวะที่กำลังตีบตัน อีกทั้งอับจนหนทางในการแสวงหาทางออกอย่างสันติระหว่างเพื่อนร่วมโลกโศกนาฏกรรมสุดท้ายที่มักจะเกิดขึ้นคือ ความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ท่ามกลางเสียงร้องไห้ และหยาดน้ำตาของเพื่อนร่วมโลก

คำถามที่สำคัญก็คือ แม้ว่ามนุษยชาติจะแตกต่างกันทั้งศาสนาและความเชื่อ แต่ในฐานะที่เป็นมนุษย์ร่วมโลกที่รักความสุข เกลียดกลัวความทุกข์เช่นเดียวกัน พลังทางศาสนาในมิติต่างๆจะเข้าไปช่วยฟื้นฟู และเชื่อมสมานสังคมโลกให้สามารถปรับวิธีคิด และท่าทีของการอยู่ร่วมกันได้อย่างไร จึงจะทำให้มนุษยชาติสามารถดำรงอยู่ร่วมกันอย่างมีขันติธรรม สามารถยอมรับ และอดทนต่อความแตกต่างทางวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา อุดมการณ์ และดำรงความเชื่ออย่างมีสติ

ผู้เขียนในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ยอมรับเอาคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนเป็นคนดีในสังคมจึงมีความเห็นว่าการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จะต้องมีการกระทบกันบ้างตามเหตุปัจจัยที่ สิ่งสำคัญต้องยอมรับความเห็นที่แตกต่าง หรือข้อคิดเห็นที่ไม่ตรงกันกับตนเอง

ดังที่ศาสตราจารย์สมภาร พรมทา (2545) ได้นำเสนอไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับความขัดแย้งของมนุษย์ไว้ว่า
    “มนุษย์มีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอยู่ด้วยกันเป็นหมู่คณะ มนุษย์ต่างจักสัตว์อื่น เพราะรู้จักไตร่ตรองด้านหลักแห่งเหตุผลด้วยสติสัมปชัญญะ และมีอิทธิพลที่ลึกซึ้งกับองค์ประกอบต่างๆ มีจิตสำนึกรับผิดชอบชั่วดี ใช้ชีวิตที่สอดคล้องกับธรรมชาติ แต่ถ้าใช้ชีวิตไม่สอดคล้องกับธรรมชาติไม่อาจถือว่าเป็นการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง”

สะท้อนให้เห็นความสำคัญที่มนุษย์จะต้องความมีสติในการเรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติได้อย่างเหมาะสม ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า “หากที่ใดมีความขัดแย้งจะทำให้เกิดความสามัคคีได้ยาก” [วิ.ม. (ไทย)5/245/2353]


@@@@@@@

ขอยกบทความส่วนหนึ่งมาแสดง ดังนี้

คุณค่าของศาสนา : จากโกรธ และ ความเกลียดชัง สู่การแบ่งปัน อย่างไร้ขีดจำกัด

1. แบ่งปันความรัก

คำถามที่สำคัญ คือ “เพราะเหตุใด.? มนุษย์จึงต้องรักผู้อื่น สัตว์อื่นและสิ่งอื่น”

เหตุผลเนื่องมาจาก “การที่มนุษย์ไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกใบนี้ได้” มนุษย์สัตว์ทุกชนิด และธรรมชาติสิ่งแวดล้อมมีความจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยและกัน ช่วยเหลือกัน เพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์ และเป็นเครื่องมือสำคัญในการหล่อเลี้ยงวิถีชีวิต ดำเนินชีวิตเพื่อให้สิ่งเหล่านี้รอด เพื่อพัฒนา “คุณค่าอื่นๆ” ต่อไป

ด้วยเหตุผลเช่นนี้ การอยู่รอดของคนอื่น สัตว์อื่น หรือสิ่งอื่นๆ จึงส่งผลในเชิงบวกต่อการอยู่รอดของเราเช่นเดียวกัน ฉะนั้น การเปิดพื้นที่ให้แก่คนอื่นหรือสิ่งอื่นๆ โดยการแบ่งปันความรัก ความปรารถนาดีต่อกัน ให้เกียรติต่อบุคคลที่มีความเชื่อวัฒนธรรม และอุดมการณ์ที่แตกต่าง จึงเป็น “ความจำเป็น” ที่ “มนุษย์” จะต้องมีและแสดงออกต่อกันและกัน

2. แบ่งปันผลประโยชน์และความต้องการ

การดำรงอยู่ของมนุษยชาติที่ต้องสัมพันธ์กับวิถีโลกมีความสัมพันธ์กับปัจจัย 4 และโลกธรรมอย่างแยกไม่ออก เนื่องจากมนุษย์มีความจำเป็นในการของการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด ด้วยเหตุนี้ ในขณะที่ทรัพยากรมีจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัดนั้น การแบ่งปันทรัพยากรเพื่อให้ฝ่ายต่างๆ เกิดความพึงพอใจสูงสุด จึงมีความจำเป็นที่ใส่ใจ โดยใช้กฎกติกามาเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ

นอกจากนั้นการแบ่งปัน “ประโยชน์และความต้องการ” ให้สอดรับกับความต้องการของคนหรือกลุ่มคน ย่อมมีความสำคัญเช่นเดียวกัน คำถามคือ “เราจะแบ่งปันความต้องการด้านทรัพยากรให้สอดรับกับความต้องการของกลุ่มคนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในสังคมโลกได้อย่างไร” จึงจะทำให้กลุ่มต่างๆที่มีความหลากหลายในสังคมเกิดความพึงพอใจสูงสุดตามข้อเสนอและข้อเรียกร้อง

ประเด็นนี้ รัฐ ผู้นำหรือกลุ่มคนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะวางกรอบหรือกติกาอย่างไร จึงจะใช้เป็นเกณฑ์เพื่อรองรับการตัดสินใจดังกล่าว โดยไม่ทำให้แต่ละฝ่ายเกิดความรู้สึก และสงสัยในความเสมอภาคเป็นธรรมและเที่ยงธรรม

3. แบ่งปันความสุข

ความสุขในบริบทนี้ ครอบคลุมถึงความสุขทั้งในระดับปัจเจกครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และสังคมโลก เป็นทั้งความสุขที่ต้องพึ่งพาสิ่งเร้า หรือสิ่งภายนอกและไม่ต้องพึ่งพาในขณะเดียวกัน ความสุขในครอบครัว ย่อมมีความแตกต่างจากความสุขในระดับสังคม ประเทศชาติและสังคมโลก

เราจะนิยามความสุขในระดับต่างๆ เหล่านี้ อย่างไร เพราะการนิยามจะมีผลต่อการออกแบบกิจกรรม หรือการดำเนินการในลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้สอดรับกับแบ่งปัน ทรัพยากรเพื่อให้สอดรับกับสิ่งที่เพื่อนมนุษย์ปรารถนาที่จะมีและเป็น

อย่างไรก็ดี เนื่องจากกลุ่มต่างๆ ล้วนต้องการ และเพรียกหาความสุข ไม่ว่าจะเป็นสุขแท้ หรือเทียม พึ่งพาสิ่งภายนอกหรือไม่ก็ตาม สิ่ง ที่ต้องระมัดระวังและใส่ใจก็คือ การแสวงหาความสุขภายในนับเป็นเรื่องเชิงปัจเจก แต่เราจะแสวงหาความสุขภายนอกอย่างไร จึงจะไม่ทำสุขที่เราแสวงหานั้น ไปกระทบหรือกินพื้นที่ความสุขของคนอื่นๆ จนกลายเป็นความขัดแย้งในเชิงลบและนำไปสู่ความรุนแรงต่อไป

4. แบ่งปันถ้อยคำดีๆ และมีคุณค่า

จะเห็นว่า ถ้อยคำดีๆ และมีคุณค่านั้น เป็นสิ่งที่มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ ล้วนมีความต้องการและปรารถนาที่จะสัมผัสทางหู และภาษากายส่วนอื่นๆ และสิ่งเหล่านี้ หากมองในเชิงโลกธรรม นับได้ว่ามีผลอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของมนุษย์กลุ่มต่างๆ ในสังคม

การออกแบบถ้อยคำโดยผ่านกระบวนการคิดอย่างมีเหตุมีผล ผ่านการปรุงแต่งทางอารมณ์ที่เน้นเรื่องความรู้สึกรัก และใส่ใจกันและกัน จึงนับเป็นความสำคัญ ฉะนั้น ถ้อยคำดีๆ และมีคุณค่าจึงควรประกอบด้วยเกณฑ์ที่ว่า “จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ และมีเมตตา” เกณฑ์นี้จะเป็นกรอบที่จะทาให้การเปล่งเวลาของแต่ละมีเป้าหมายและท่าทีที่เป็นบวกมากยิ่งขึ้น

5. แบ่งปันลมหายใจแห่งสันติภาพ

มนุษย์ทุกคนในโลกนี้อาจจะคิดว่า เรากำลังหายใจเอาอากาศจากภายนอกเข้าไปเท่านั้น กลุ่มคนจำนวนน้อยที่จะคิดว่า อากาศที่มีอยู่ทั่วไปนั้น ล้วนเคยเป็นอากาศที่เพื่อนมนุษย์ของเราเคยหายใจเข้าไปแล้วหายใจออกมาทั้งสิ้น

ประเด็นก็คือ “เรากำลังสูดดมลมหายใจของกันและกันอยู่ทุกวินาที”

ฉะนั้น เมื่อใดก็ตาม ในขณะที่เราหายใจเข้าไป ในขณะนั้น เราโกรธ เกลียด ปองร้าย เกลียดชังเพื่อนของเรา หรือใครคนใดคนหนึ่ง เมื่อหายใจออกมา เพื่อนรอบข้างของเราย่อมจักหายใจเอาลมหายใจแห่งความเกลียดชังความโกรธ ความอิจฉาริษยา และอาฆาตเข้าไปด้วย แต่หากการหายใจของเราเป็นไปในเชิงบวก การหายใจเข้าออกของเพื่อนมนุษย์ที่อยู่รอบข้างเราก็จะเป็นไปในเชิงบวกเช่นเดียวกัน





ขอขอบคุณ : -
บทความ : จาก วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2559)
เรื่อง : ขันติธรรมทางศาสนา กับ ความอยู่รอดของมนุษยชาติ
เขียนโดย : พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
website : www.jmbr.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2017/05/ปีที่-1-ฉบับที่-1-1.pdf
website : www.sabuykid.com
Photo : https://mgronline.com/around/detail/9650000094954
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 05, 2022, 08:21:06 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ