ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: หลัก และ วิธีการอ่านการเขียน "ภาษาบาลี"  (อ่าน 1104 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



หลัก และ วิธีการอ่านการเขียน "ภาษาบาลี"

ความหมายของบาลี หรือ คำศัพท์ดั้งเดิมว่า ปาลิ

    ๑. แปลว่า “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์”, ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพรพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ภาษามคธ

    ๒. คัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิมที่เป็นพระพุทธวจนะ อันพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือคัมภีร์พระไตรปิฎกที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา, พระพุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก

ความหมายของ "บาลี" หรือ "ปาลิ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๗๕ คือ ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท , พระพุทธพจน์ ( ป. , ส. , ปาลิ ) และตามปทานุกรม บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์ในประเทศอังกฤษแสดงไว้ ๒ รูป คือ ปาลิ, ปาฬิ ให้ความหมาย ๒ นัย คือ     
     
    ๑. แถว ,แนว เช่น ทนฺตปาลิ แปลว่า แถวแห่งฟัน
    ๒. ปริยัติธรรม ,ตำราธรรมของพระพุทธศาสนาที่เป็นหลักดั้งเดิมและใช้เป็นภาษาที่อธิบายขยายความพระพุทธพจน์ เช่น อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และโยชนา ตามลำดับ

@@@@@@@

ประวัติภาษาบาลี

นักปราชญ์ทางภาษาและนักการศาสนาให้ความเห็นว่า คือ ภาษาท้องถิ่นของชาวมคธ และเป็นภาษาที่รวบรวมพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ในปัจจุบันเรียกว่าพระไตรปิฎก

จำนวนตัวอักษรภาษาบาลี

ในภาษาบาลี มีตัวอักษรทั้งสิ้น ๔๑ ตัว เท่านั้น โดยแบ่งเป็น สระ ๘ ตัว ได้แก่ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ

สระในภาษาบาลี มี ๘ ตัว นี้ เมื่อนำไปใช้ก็เขียนแล้ว เฉพาะสระ อะ จะไม่ปรากฏรูปร่าง (สระ อะ จะไม่มีรูปลักษณะเป็น ะ) ส่วนอีก ๗ ตัว รูปสระจะยังคงตัว และสระทุกตัว นิยมอ่านออกเสียงเหมือนในภาษาไทย

ส่วนพยัญชนะในภาษาบาลี มีทั้งสิ้น ๓๓ ตัว ได้แก่
        ก ข ค ฆ ง เรียกว่า ก วรรค
        จ ฉ ช ฌ ญ เรียกว่า จ วรรค
        ฏ ฐ ฑ ฒ ณ เรียกว่า ฏ วรรค
        ต ถ ท ธ น เรียกว่า ต วรรค
        ป ผ พ ภ ม เรียกว่า ป วรรค
พยัญชนะเศษวรรค เรียก อวรรค มี 8 ตัว คือ ย ร ล ว ส ห ฬ (เพราะ มีเสียงเกิดจากฐานต่างกันไป )

หมายเหตุ : พยัญชนะทุกตัวสระ "อะ" อยู่ในตัว เวลาอ่านต้อง อ่านว่า กะ ขะ คะ ฆะ งะ เป็นต้น เหมือนกันทุกวรรค

@@@@@@@

วิธีอ่านและเขียนภาษาบาลี

วิธีการอ่าน เขียน และสะกด ในภาษาบาลี มีหลักการกว้างๆ ดังต่อไปนี้
   
๑. พยัญชนะที่เขียนไว้โดด ๆ โดยไม่มีสระ ให้อ้านออกเสียง "สระ อะ" เสมอ เช่น
            ตป อ่านว่า ตะ-ปะ
            สติ อ่านว่า สะ-ติ
            นโม อ่านว่า นะ-โม
            ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
            อาจริย อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยะ
            อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต

๒. การสะกดในภาษาบาลี ท่านใช้ "พินทุ ( ฺ)" เขียนไว้ใต้ตัวพยัญชนะ มีหลักในการเขียนและอ่านดังนี้

    ๒.๑ พยัญชนะที่ใช้พินทุ หรือจุด ( ฺ)ไว้ใต้ จะใช้เป็นตัวสะกด เสมอ เช่น
            ภิกฺขุ อ่านว่า ภิก-ขุ
            อนิจฺจตา อ่านว่า อะ-นิด-จะ-ตา
            อภิญฺญา อ่านว่า อะ-ภิน-ยา
            เวสฺโส อ่านว่า เวด-โส

     ๒.๒ ถ้าพยัญชนะตัวหน้า ไม่มีสระอยู่ด้วย ท่านใช้พินทุหรือจุด ( ฺ) ที่อยู่ใต้พยัญชนะตัวหลัง เป็นไม้หันอากาศ เสมอ เช่น
            ขนฺติ อ่านว่า ขัน-ติ
            ตสฺส อ่านว่า ตัด-สะ
            ปจฺจตฺตํ อ่านว่า ปัด-จัด-ตัง
            สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส อ่านว่า สำ-มา-สำ-พุด-ธัด-สะ

     ๒.๓ บางครั้งใช้พินทุ หรือจุดไว้ใต้พยัญชนะเพื่อให้เป็นตัวควบกล้ำ ในกรณีนี้ นิยมอ่านออกเสียกึ่งมาตรา เช่น
            ตสฺมา อ่านว่า ตัด-สมา (เสียง สะ หน้า มา อ่านออกกึ่งมาตรา หรือ อ่านอย่างเร็ว)
            พฺรูถะ อ่านว่า พรู-ถะ (เสียง พะ หน้า รู อ่านออกเสียงกึ่งมาตรา คล้ายตัวควบกล้ำ)
            ยาตฺรา อ่านว่า ยาด-ตรา (เสียง ตะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา)
            ภวตฺวนฺตราโย อ่านว่า ภะ-วัด-ตวัน-ตะ-รา-โย (เสียง ตะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา)
            กตฺวา อ่านว่า กัต - ตวา ( เสียง ตะ หน้า วา ออก กึ่งมาตรา )
            พฺยาธิ อ่านว่า พยา - ธิ ( เสียง พะ หน้า ยา ออกกึ่งมาตรา )
            พฺราหฺมณ อ่านว่า พราม - มะ - ณะ ( เสียง พะ หน้า รา ออกเสียงกึ่งมาตรา )

๓. ภาษาบาลีใช้ "นิคคหิต" ซึ่งมีลักษณะเป็นตัววงกลมเล็ก ๆ อยู่บนตัวอักษร) เมื่อประกอบเข้ากับตัวอักษรแล้ว นิยมอ่านออกเสียงดังนี้

     ๓.๑ ถ้าอักษรตัวที่มีนิคคหิตอยู่ด้วยนั้น มีสระผสมอยู่ นิยมอ่านออกเสียงตัวนิคคหิตเป็นตัว ง สะกด (แม่กง) เช่น
            สุคตึ อ่านว่า สุ-คะ-ติง
            วิสุํ อ่านว่า วิ-สุง
            เสตุํ อ่านว่า เส-ตุง
            กาตุํ อ่านว่า กา-ตุง

     ๓.๒ ถ้าอักษรตัวที่มีนิคคหิตอยู่ด้วยนั้น ไม่มีสระผสมอยู่ นิยมอ่านออกเสียงตัวนิคคหิตเป็นสระ อัง เสมอ เช่น
            มยํ อ่านว่า มะ-ยัง
            อรหํ อ่านว่า อะ-ระ-หัง
            พุทฺธํ อ่านว่า พุด-ทัง
            ธมฺมํ อ่านว่า ทำ-มัง
            สงฺฆํ อ่านว่า สัง-คัง





ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ข้อมูล : http://www.watthasai.net/bali.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: หลัก และ วิธีการอ่านการเขียน "ภาษาบาลี"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2022, 10:13:40 am »
0
 


ภาษาบาลีวันนี้ : วิธีอ่านคำบาลี
โดย นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
 
1. พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับ อ่านเหมือนมีสระ อะ
     ภคว อ่านว่า ภะ-คะ-วะ (ภควโต)
     อรห อ่านว่า อะ-ระ-หะ (อรหโต)
     ปน อ่านว่า ปะ-นะ
     จ อ่านว่า จะ
 
2. พยัญชนะที่มีสระกำกับ อ่านตามสระนั้นๆ เหมือนคำไทย
      อิติปิ โส อ่านว่า อิ-ติ-ปิ-โส
 
3. จุดบน เรียกว่า นิคหิต หรือ นฤคหิต พยัญชนะที่มีจุดบน อ่านเหมือน + อัง
      สํ (=ส + อัง) อ่านว่า  สัง
      นํ (=น + อัง) อ่านว่า  นัง
      มํ (=ม + อัง) อ่านว่า  มัง
 
@@@@@@@

4. จุดล่าง เรียกว่า พินทุ ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด

    4.1 หน้าตัวสะกดมีสระกำกับ อ่านตามสระนั้นๆ + ตัวสะกด
         วิชฺชา(มีสระ อิ ที่ ว) = วิด-ชา
         ถ้าเป็น วิชชา (ไม่มีจุดล่าง) ต้องอ่าน วิ-ชะ-ชา
         พุทฺธํ(มีสระ อุ ที่ พ) = พุด-ทัง
         ถ้าเป็น พุทธํ (ไม่มีจุดล่าง) ต้องอ่าน พุ-ทะ-ธัง
         เมตฺตา(มีสระ เอ ที่ ม) = เมด-ตา
         ถ้าเป็น เมตตา (ไม่มีจุดล่าง) ต้องอ่าน เม-ตะ-ตา
 
     4.2 หน้าตัวสะกดไม่มีสระกำกับ อ่านเหมือนมีไม้หันอากาศ
          สตฺถา=สัด-ถา (ตฺ เป็นตัวสะกด หน้า ตฺ คือ ส ไม่มีสระกำกับ)
          ธมฺโม=ธัม-โม (มฺ เป็นตัวสะกด หน้า มฺ คือ ธ ไม่มีสระกำกับ)
          สงฺโฆ=สัง-โฆ (งฺ เป็นตัวสะกด หน้า งฺ คือ ส ไม่มีสระกำกับ)
 
5. มีสระ และมีจุดบนด้วย

    5.1 มีสระ อุ และมีจุดบน อ่านเป็นเสียง อุง
         พาหุํ อ่านว่า พา-หุง
         กาตุํ อ่านว่า กา-ตุง
 
    5.2 มีสระ อิ และมีจุดบน (เขียนคล้ายสระ อึ) อ่านเป็นเสียง อิง
         อหึสก อ่านว่า อะ-หิง-สะ-กะ
 
โปรดจำ : อหึ ไม่ใช่ อะ-หึ (เสียงหัวเราะ หึ หึ) แต่เป็น อะ- หิง

 
@@@@@@@

6. พฺรหฺม ออกเสียง พ และ ห แผ่วนิดหนึ่ง ให้ พ ไปรวมกับ ร และ ห ไปรวมกับ ม (ลองออกเสียงช้าๆ เป็น พะ-ระ-หะ-มะ แล้วรวบให้เร็วขึ้นเป็น พระ-ห-มะ หรือจะออกเสียงเป็น พรำ-มะ ตรงๆ ก็ได้ แต่พึงเข้าใจว่าเสียงจริงๆ คือ พะ ระ หะ มะ หรือ พระ-ห-มะ)
 
7. ทฺว (ในคำว่า ทฺวาร, เทฺว เป็นต้น) ออกเสียง ท แผ่วนิดหนึ่ง ให้ ท รวมกับ ว ไม่ใช่ ทะ ว แต่เป็นเสียงคล้ายคำว่า ทัว
    ทฺวาร= ทัว-อา-ระ(เสียงไทยอ่านว่า ทะ-วา-ระ, ทะ-วาน)
    เทฺว= ทัว-เอ(เสียงไทยอ่านว่า ทะ-เว)
 
8. ตฺวา ไม่ใช่ ตะ วา แต่คล้ายคำว่า ตัวอา ออกเสียงเร็วๆ เช่น
    กตฺวา  =  กัด-ตัวอา (ไม่ใช่ กัด ตะ วา หรือ กัด-วา)
    สุตฺวา  =   สุด-ตัวอา (ไม่ใช่ สุด ตะ วา หรือ สุด-วา)

   



ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ผู้เขียน : นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย
เขียนเมื่อ : 7 พฤษภาคม 2556
website : https://www.mahapali.com/main.php?url=news_view_d&id=51&cat=E


นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย เปรียญ 9 ประโยค ข้าราชการบำนาญชาวราชบุรี ผู้มีความเป็นเลิศทางภาษา กาพย์เห่เรือของสยามประเทศคือตำนานอมตะของท่าน พลังศรัทธาเผยแผ่ความรู้ภาษาบาลีภาษาไทยของท่านนั้นเข้มข้นและควรแก่การคำนับ "ภาษาบาลีวันนี้" ท่านเป็นผู้เขียนและพิมพ์ขึ้นเว็บด้วยตนเองทั้งหมด
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: หลัก และ วิธีการอ่านการเขียน "ภาษาบาลี"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 06, 2022, 10:24:20 am »
0



วิธีอ่านภาษาบาลี

คำในภาษาบาลี เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบการอ่าน ดังนี้

๑. ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านอักษรนั้นมีเสียง "อะ" ทุกตัว เช่น
     อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต
     ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
     นมามิ อ่านว่า นะ-มา-มิ
     โลกวิทู อ่านว่า โล-กะ-วิ-ทู


๒. เมื่อตัวอักษรใดมีเครื่องหมาย  ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้แสดงว่าอักษรนั้นเป็นตัวสะกดของอักษรที่อยู่ข้างหน้า ผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น เช่น
     สมฺมา (สะ+ม = สัม) อ่านว่า สัม-มา
     สงฺโฆ (สะ+ง = สัง) อ่านว่า สัง-โฆ

ยกเว้นในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามีเครื่องหมายสระกำกับอยู่แล้ว ก็ให้อ่านรวมกันตามตัวสะกดนั้น เช่น
     พุทฺโธ       อ่านว่า พุท-โธ
     พุทฺธสฺส    อ่านว่า พุท-ธัส-สะ
     สนฺทิฏฺฐิโย อ่านว่า สัน-ทิฏ-ฐิ-โย
     ปาหุเนยฺโย อ่านว่า ปา-หุ-เนย-โย

@@@@@@@

๓. เมื่ออักษรใดมีเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนตัวอักษร ให้อ่านให้เหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว "ง" เช่น
     อรหํ     อ่านว่า อะ-ระ-หัง
     สงฺฆํ     อ่านว่า สัง-ฆัง
     ธมฺมํ     อ่านว่า ธัม-มัง
     สรณํ    อ่านว่า สะ-ระ-นัง
     อญฺญํ   อ่านว่า อัญ-ญัง

แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีทั้งเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนและมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย ก็ให้อ่านออกเสียงตามสระที่กำกับ + ง (ตัวสะกด) เช่น พาหุํ อ่านว่า พา-หุง


๔. เมื่ออักษรใดเป็นตัวนำแต่มีเครื่องหมาย ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้ด้วย ขอให้อ่านออกเสียง "อะ" ของอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียงควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต





 
ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ข้อมูล : http://www.dhammathai.org/proverb/pali.php
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: หลัก และ วิธีการอ่านการเขียน "ภาษาบาลี"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 08, 2022, 07:03:19 am »
0



อักษรบาลี ไม่มีตัวอะไรบ้าง.?
 
หลักความรู้ภาษาบาลีแบบพื้นๆ แบบชาวบ้านๆ เรื่องหนึ่งก็คือ ในภาษาบาลีไม่มีตัวอะไรบ้าง
 
ผมเคยได้ยินพระท่านคุยกันตั้งแต่สมัยเป็นเด็กวัดว่า
“ภาษาบาลีไม่มี ด เด็ก”
จำได้ติดหูมาตั้งแต่ยังไม่รู้เรื่องบาลีเลย
พอมาเรียนบาลี จึงนึกขึ้นมาว่า เออ นี่ก็เป็นวิธีจำแบบชาวบ้านๆ ที่น่าสนใจดีเหมือนกัน
 
นอกจาก ด เด็ก แล้ว บ ใบไม้ ก็ไม่มีในภาษาบาลี
พอรู้ได้ตัวหนึ่ง ก็อยากรู้ไปถึงตัวอื่นๆ อีก
ซ โซ่ ก็ไม่มี
ฎ ชฎา ก็ไม่มี
ฮ นกฮูก ตัวสุดท้ายในอักษรไทยก็ไม่มี
แล้วก็นำไปสู่คำถามว่า อักษรตัวอะไรบ้างที่ไม่มีในภาษาบาลี
แล้วก็นำไปสู่การท่องจำตัวอักษรในภาษาบาลี
 
ก ข ค ฆ ง
ท่องว่า กะ ขะ คะ ฆะ งะ
ไม่ใช่ กอ ขอ คอ ฆอ งอ
 
ก ข ค ฆ ง
จ ฉ ช ฌ ญ
ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
ต ถ ท ธ น
ป ผ พ ภ ม
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
พอจำตัวอักษรที่มีได้ ก็เท่ากับได้คำตอบไปในตัวว่า
อักษรตัวอะไรบ้างที่ไม่มีในภาษาบาลี
 
วรรคท้ายนี่ ลงท้ายว่า
....สะ หะ ฬะ อัง
 
เคยสงสัยว่า ทำไมต้อง “อัง”
แล้ว อัง นี่เขียนเป็น อ อ่าง มีกลมๆ อยู่ข้างบน
อ่านว่า “อัง”
....สะ หะ ฬะ อัง
จบด้วยเสียง อัง ดังดี แล้วยังเหมือนกับจะส่งต่อไปถึงสระในภาษาบาลีอีกด้วย
 
ตั้งความรู้สึกง่ายๆ เบาๆ แบบนี้ เรียนบาลีไม่ยากหรอกครับ




ขอขอบคุณ :-
Photo : pinterest
เขียนโดย : นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย |เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2556
websie : https://www.mahapali.com/main.php?url=news_view_d&id=56&cat=E
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ