ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับเรื่องการถวายสังฆทาน ปานะ ที่ควรรู้คะ  (อ่าน 3676 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Mario

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 208
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เกี่ยวกับเรื่องการถวายสังฆทาน ปานะ ที่ควรรู้คะ
เพราะโดนมาแล้วคะ ไม่เข้าใจมาก่อน



    * โดยถวายท่านหลังเพลแล้ว ไม่ทราบว่าท่านสามารถดื่มได้กี่วันหลังจากรับประเคน 1

ตอบ   ของ ทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่ควรตลอดรับประเคนครั้งเดียวใช้ได้ตลอด (ยาวกาลิก)  ยกเว้น  พระรูปที่รับประเคนไว้ยกให้คารวาสไปแล้ว หรือขาดประเคนด้วยองค์อื่นๆ  อันนี้ถ้าจะฉันต้องประเคนใหม่


    * ถือเป็นปานะหรือไม่ครับ 2

ตอบ  ไม่ถือว่าเป็นปานะ


    * และถ้าเราเอาสองสิ่งนี้ใส่ไว้กับของสังฆทานแทนที่จะเจาะจงให้ท่านโดยตรง จะดีกว่ามั๊ยครับ

ตอบ   2 กรณี   1.สังฆทานกาลิกระคน(อาจถวายก่อนวิกาล)  2.สังฆทานที่ถวายแต่ยาวกาลิกล้วนๆ(ช่วงวิกาล)

   1. สังฆทาน นั้นถวายตอนก่อนเพลเป็นพวกอาหารและมีเจตนาให้ท่านฉันร่วมด้วย  อันนี้เป็นกาลิกระคน  อายุของที่ถวายจะสั้นลงเท่ากับกาลิกตัวสั้น  ฉะนั้นหากจะถวายยาวกาลิกกาแฟกับชานี้ควรแยกถวายเป็นส่วนไม่ควรมีน้ำตาลหรือ อื่นๆ เช่น ขนม  ร่วมถวายในคราวเดียว
   2. สังฆทานที่ถวายหมู่สงฆ์ เป็นยาวกาลิกนี้ล้วนๆ ช่วงหลังเพล(วิกาล)อันนี้ประโยชน์ครบเพราะไม่ทำให้เกิดกาลิกระคน  ท่านใช้ได้ตลอดชีวิต



-------------------------------------------------------------------

กาลิก 4

ของที่พึงกลืนกินให้ล่วงลำคอลงไป ท่านเรียกว่า กาลิก เพราะเป็นของมีกำหนดให้ใช้ชั่วคราว จำแนกเป็น 4 อย่างๆ

1 ยาวกาลิก .. เป็นของที่ให้บริโภคได้ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน มีโภชนะ 5 คือ ข้างสุก ขนมสด ขนม แห้ง ปลา เนื้อ เป็นต้น

2 ยามกาลิก .. เป็นของที่ให้บริโภคได้วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่ ปานะ คือ น้ำดื่มที่คั้นออกจากผลไม้ที่ไม่ใช่ธัญพืช (ข้าว ถั่ว เผือก มัน ) ได้แก่ มะม่วง ชมพู่ ลูกหว้า กล้วย มะซาง ลูกจัน องุ่น เหง้าอุบล ลิ้นจี่ เป็นต้น ปานะนี้ ให้ใช้ผลไม้สดขนาดไม่ใหญ่กว่าผลมะตูม ห้ามต้มด้วยไฟ เป็นของที่อนุสัมบัน (เช่น ฆารวาส ชี ) จึงควรในวิกาล อรุญใหม่ขึ้นแล้วเป็น ..สันนิธิ.. ถ้านำมาฉันอีก เป็นอาบัติทุกกฎ

3 สัตตหกาลิก .. เป็นของที่ให้บริโภคได้ 7 วัน ได้แก่ เภสัช 5 คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ถ้าภิกษุรับประเคนล่วง 7 วันแล้วต้องสละแก่บุคคลอื่น ถ้าได้เภสัชที่สละแล้วคืนมา ท่านห้ามฉันให้ใช้ในกิจภายนอกเช่น ตามไฟ ผสมสี หรือทากาย ได้อยู่

4 ยาวชีวิก .. เป็นของที่ให้บริโภคได้เสมอไป ไม่จำกัดกาลใช้ประกอบเป็นยาเช่น รากไม้ น้ำฝาด ใบไม้บางชนิด ผลไม้บางชนิด (เช่น สมอไทย มะขามป้อม) ยางไม้ หรือ เกลือ เป็นต้น

เมื่อ กาลิกระคนกัน ให้ถือเป็นกาลิกที่อายุสั้น เป็นหลัก หากสามารถจำแนกกาลิกออก จากกันได้ ก็ควรแก่กาลิกนั้นๆ แต่ถ้ายังมีรสระคนกัน ก็ไม่ควร


 :88:
บันทึกการเข้า
hero ผู้ปราบอธรรม มาแว้ว
มาเพราะยายกบ เป็นคนชวน
ฝากตัวด้วยไม่ถนัดเว็บ ธรรม
แต่เป็น hero ต้องไม่กลัว ธรรม