ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รักษาศีล ให้เป็น..เพื่อ ความสันติสุข  (อ่าน 2449 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รักษาศีลได้ทุกที่ ไม่จำกัดสถานที่ ไม่จำกัดกาล หากการรักษาศีลจำกัดเฉพาะที่วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรม ถ้าอย่างนั้น พระที่เดินออกจากวัดไปที่อื่น ไม่ต้องศีลหายหมดหรือ  พอกลับวัดจึงจะมีศีลคืน ใช่หรือไม่?  ดังนั้นศีลไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่บ้าน แต่อยู่ที่จิตผู้รักษา

ชนิดของผู้ที่รักษาศีล
1. คนที่ไม่รู้จักศีลต้องให้พระบอกทีละข้อเพื่อให้รู้จัก  หรือผู้ที่ตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะรักษาต่อหน้าพระ(สมาทานวิรัติ)
2. คนที่รักษาศีลเองเพราะหิริโอตัปปะไม่ต้องสมาทานกับใครรักษาศีลได้ทุกสถานที่ ทุกเวลา (สัมปัตตวิรัติ)
3. จิตพระอริยเจ้าที่ีมีศีลเป็นปกติ มีศีลโดยไม่ต้องรักษา (สมุจเฉทวิรัติ)


ดังคำสอนของหลวงปู่ชา ผมตัดมาบางท่อนดังนี้ ชนิดของผู้รักษาศีล

-------------------------------------------------------------
เรื่อง การรักษาศีลนี้ บางคนก็บ่นว่า จะให้ทานกันสักทีก็หาพระที่จะไปให้ศีลก็ไม่มี ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร บางทีให้ทานแล้ว ไปหาน้ำที่จะมากรวดอุทิศให้ก็ไม่มี เลยโง่อยู่ตลอดเวลา เลยโง่เรื่องศีล โง่เรื่องทาน โง่จนตาก็บอด หูก็หนวก ขาก็เป๋ทั้งหมด เสียหมดเลย ศีลนี้เป็น "สัมปัตตวิรัติ" อย่างนี้เป็นศีลให้เรารู้จักมัน ที่เราทำกันมาเป็นปีๆ เป็น "สมาทานวิรัติ" ต้องให้พระบอกความจริง คนที่ให้คนอื่นบอกนั้นคือคนไม่รู้จัก ฉันไม่รู้ว่าศีลนั้นน่ะเป็นอย่างไร? พวกดิฉันทั้งหลายนี่ พวกกระผมทั้งหลายนี่จึงได้กล่าวขอขึ้นว่า มะยัง ภันเตติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ...ฯลฯ พวกข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ยังไม่รู้จักอันนี้เลยเป็นข้อวัตรของพระภิกษุ เมื่อบวชเข้ามาและจะต้องกระทำต่อๆ ไป ความเป็นจริงนั้นเป็นสัมปัตตวิรัติ งดเว้นด้วยตนเอง เมื่อเรารู้แล้ว เมื่อเรารู้แล้วว่าศีลนั้นมันเป็นอย่างนั้นๆ เมื่อเราต้องการศีลเมื่อไรเราก็มีอยู่แล้ว งดเว้นด้วยตนเองก็ได้ ไม่ต้องมีใครมาบอก นี่คือ สัมปัตตวิรัติ

อย่างเรามาทำกันวันนี้เรียก ว่าเป็น "สมาทานวิรัติ" คือเรายังไม่รู้จัก จึงต้องให้พระบอก บอกขนาดนั้นก็ยังไม่รู้จักนะ ต้อง บอกเป็นภาษามคธด้วยนะก็ยังไม่รู้จักอีก บอกแล้วก็ยังไม่รู้จัก นี่ความเป็นจริงมันเป็นอย่างนี้ แต่ถ้าเป็น "สมุจเฉทวิรัติ" ไม่ต้องสมาทานกับใครไม่ต้องขอกับใคร เพราะมันเป็นของมันเองแล้ว คือมันเป็นของที่ขาวสะอาดแล้ว ไม่ต้องทำสะอาดอีก จะไปทำสะอาดที่ไหนอีกล่ะ ก็เพราะตรงนั้นมันสะอาดแล้วไม่ต้องไปทำสะอาดอีก คือหมายความว่าจิตของพระอริยบุคคล ศีลของพระอริยเจ้าไม่ต้องไปรับไม่ต้องไปส่ง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องขัดอะไรอีก เพราะมันสะอาดอยู่แล้ว เป็นสมุจเฉทคือตัดไปเลย ขึ้นชื่อว่าการกระทำบาปทั้งหลายทั้งปวงแล้วเราไม่ทำเลยดังนั้นท่านจึงไม่มี เจตนาที่จะไปกระทำบาป เรื่องกระทำบาปเมื่อไรก็ไม่เป็นบาป อย่างเช่นท่านเดินไป บังเอิญไปเหยียบสัตว์ตาย เหยียบปูตาย เหยียบมดตาย อย่างนี้ตัวท่านก็ไม่เป็นบาป เพราะเจตนาที่จะกระทำบาปนั้นไม่มี มันเป็นไปอย่างนี้ อันนั้นเป็นสมุจเฉทวิรัติ ตัดไปเลย ไม่ต้องทำอะไรอีกแล้ว รักษาจิตอันเดียวเท่านั้นแหละ ไม่ต้องดูอื่นไกลแล้ว สมมติว่าเกิดมีอะไรขึ้นมาก็มีผู้รับผู้รู้ ใครเป็นคนที่รับรู้? คนที่เป็นผู้รับรู้นั้นเราเรียกว่า "จิต" ของเรา

หลวงพ่อชา

อ่านคำสอนฉบับเต็มสำหรับเรื่องนี้ของหลวงพ่อชาได้ที่ลิ้งค์นี้ครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_cha/lp-cha_50.htm

---------------------------------------------------------
เพิ่มเติมความหมายของ วิรัติ
วิรัติ แปลว่า เจตนาเครื่องงดเว้น ผู้งดเว้นจากข้อห้ามในสิกขาบท ๕ ประการ นั้นได้ ชื่อว่า ผู้มีศีล หมายถึง ผู้มีกายวาจาสะอาดปราศจากโทษ กิริยาคืออาการละเว้นที่เรียกว่า วิรัตินั้นมี ๓ ประการคือ

๑. สัมปัตตวิรัติ

๒. สมาทานวิรัติ

๓. สมุจเฉทวิรัติ

อ่านต่อที่นี่
http://www.jariyatam.com/beginner/discipline/521-2009-10-08-08-01-27

--------------------------------------------------------
อนุโมทนาสาธุกับเจ้าของกระทู้ที่มีเจตนารักษาศีลครับ

จากคุณ    : temjung99
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ