ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่  (อ่าน 6976 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สงสัยว่าถ้าเราต้องการบรรลุธรรม ต้องเจริญสมาธิภาวนาอย่างเดียวใช่หรือไม่ ครับ

 :67: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
            ไตรสิกขา 3 เรื่อง จึงจะเข้าถึงได้...1.ศิลสิกขา 2.สมาธิสิกขา 3.ปัญญาสิกขา ...ว่าไปตามลําดับ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สงสัยว่าถ้าเราต้องการบรรลุธรรม ต้องเจริญสมาธิภาวนาอย่างเดียวใช่หรือไม่ ครับ

     

ศีลสิกขา นั้น ชำระกาย, วาจา

สมาธิสิกขา นั้น ชำระจิต

ปัญญาสิกขา นั้น เป็นสภาวะเกิดเองด้วยจิตที่หมดจด มิใช่สภาวะคิดปรุงด้วยผัสสะแห่งอายตนะใดใด




http://sworraras.blogspot.com/2009_05_10_archive.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 30, 2011, 11:58:58 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
หลวงปู่ดูลย์ อตุลโล ได้กล่าวไว้ว่า ไอน์สไตน์เก่ง สามารถรู้ความจริงของธรรมชาติได้

แต่น่าเสียดาย ไอน์สไตน์ ไม่รู้นิพพาน เพราะ ไอน์สไตน์ ไม่รู้ "มรรค ๘"

(มรรคมีองค์ ๘ มีในศาสนาพุทธเพียงศาสนาเดียว ขอให้เราภูมิใจได้เลย)



ดังนั้น การบรรลุธรรม ต้องเริ่มที่ มรรคมีองค์ ๘ ก่อน

หากเราจะย่อ มรรค ๘ ลงเหลือ ๓ ข้อ จะได้ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา



จะย่อไตรสิกขาลงอีก จะได้ วิปัสสนากรรมฐาน กับ สมถกรรมฐาน

หากยังไม่พอใจ จะย่อลงอีก จะเหลือแค่หนึ่ง คือ "การเจริญสติปัฏฐาน"



พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การเจริญสติปัฏฐานเป็นทางสายเอก

เป็นเพียงทางเดียวเท่านั้น ที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้



ขอให้คุณ Akira ศึกษาข้อธรรมต่างๆไปโดยลำดับ

ไม่เข้าใจ ก็ถามได้ครับ

 ;) :58: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
โอกาสการบรรลุธรรม มี 5 วาระ

การภาวนา เป็นวาระสุดท้ายซึ่งมีโอกาสมากกว่าทุกวาระ

เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
บาลี วิมุตตายตนสูตร เป็นหลักธรรม ที่ควรสนใจเป็นพิเศษ คือ บอกให้รู้ว่า

คนเรา สามารถบรรลุธรรม ได้ถึง ๕ เวลา คือ
เมื่อกำลัง ฟังธรรมอยู่,
เมื่อกำลัง แสดงธรรมให้ผู้อื่นอยู่,
เมื่อกำลัง สาธยายธรรมอยู่,
เมื่อเพ่งธรรมอยู่, และ
เมื่อพิจารณา ใคร่ครวญธรรมอยู่; นับว่า โอกาสมีมาก ในการบรรลุธรรม แต่พวกเรา พากันประมาทเสีย ไม่ฉวยเอาได้ แม้แต่ โอกาสเดียว.
Aeva Debug: 0.0004 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิมุตติ  หมายถึง ความหลุดพ้น  ความเป็นอิสระ   เป็นภาวะจิตที่สำคัญเป็นพื้นฐาน   ภาวะความหลุดพ้นเป็นอิสระนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญญา  คือ   เมื่อเห็นตามความเป็นจริง   รู้เท่าทันสังขารแล้ว   จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส  (ความโลภ ความโกรธ ความหลง)    ลักษณะด้านหนึ่งของความเป็นอิสระ ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือ  การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ  อย่างที่ท่านเรียกว่าอารมณ์เป็นที่ตั้งของราคะ หรือ โลภะ โทสะและโมหะ  เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้ไม่หวั่นไหวกับสิ่งเหล่านี้  ยังเป็นหลักประกันให้ประกอบการงานอย่างสุจริตด้วย   สามารถเป็นนายเหนืออารมณ์   วิมุตติประกอบด้วย 5  ประการ คือ
  • ตทังควิมุตติ คือ ความหลุดพ้นชั่วคราว หมายถึง  ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่น เกิดความเจ็บปวด หายจากความโลภ  เกิดเมตตา หายโกรธ เป็นต้น แต่ความโลภ ความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว  อาจจะกลับมาอีก เป็นต้น
  • วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยการสะกดไว้  หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน คือ สะกดไว้ได้ด้วยกำลังฌาน  เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสเกิดขึ้นได้อีก เช่น  เมื่อนั่งสมาธิสามารถสะกดข่มกิเลสไว้  เมื่อออกจากสมาธิกิเลสก็กลับมาอีกครั้ง เป็นต้น
  • สมุจเฉทวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเด็ดขาด หมายถึง ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค (มรรคมีองค์ 8) ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป
  • ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยความสงบ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส เนื่องมาจากอริยมรรคอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอีก
  • นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้นได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อริยบุคคล7ประเภท(ตามการบรรลุ)

พระไตรปิฎก : พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 3 ธาตุกถา - ปุคคลปัญญัติปกรณ์
เอกกนิทเทส

(การแบ่งอริยบุคคลออกเป็น 7 ประเภทในที่นี้ เป็นการแบ่งตามประเภทของการบรรลุธรรม ซึ่งต่างจากเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ที่เป็นการแบ่งตามลำดับขั้นของกิเลสที่ละได้ - ธัมมโชติ)

[๔๐] บุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย (วิโมกข์ ๘ คือสมาบัติ ๘ ได้แก่สมาธิขั้นฌาน ๘ ขั้น คือ รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ - ธัมมโชติ) แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ(กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน - ธัมมโชติ) ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต

(อุภโตภาควิมุต = การหลุดพ้นโดยส่วนสอง คือ หลุดพ้นจากความยินดีในรูปด้วยอรูปสมาบัติก่อน (ดูเรื่องสัญโยชน์ 10 ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) โดยเฉพาะในหัวข้ออรูปราคะ ประกอบ) แล้วเจริญวิปัสสนาจนหลุดพ้นจากความยินดีในนามด้วยวิปัสสนาปัญญา ซึ่งทำให้เป็นพระอรหันต์ด้วยวิปัสสนาปัญญานี้ - ธัมมโชติ)

[๔๑] บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ปัญญาวิมุต

(คือผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิจนถึงขั้นอรูปฌาน เจริญวิปัสสนาจนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงหลุดพ้นจากความยินดีทั้งในรูปและนามด้วยวิปัสสนาปัญญา - ธัมมโชติ)

[๔๒] บุคคลชื่อว่ากายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี

(คล้ายกับอุภโตภาควิมุต ต่างกันที่อุภโตภาควิมุตนั้นเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่กายสักขีเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต่ำกว่าพระอรหันต์ - ธัมมโชติ)

[๔๓] บุคคลชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ

(คล้ายกับปัญญาวิมุต ต่างกันที่ปัญญาวิมุตนั้นเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ทิฏฐิปัตตะเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต่ำกว่าพระอรหันต์ โดยนับตั้งแต่โสดาปัตติผลบุคคลขึ้นไป ดูเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ - ธัมมโชติ)

[๔๔] บุคคลชื่อว่าสัทธาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต

(ต่างจากทิฏฐิปัตตะตรงที่ทิฏฐิปัตตะอาศัยปัญญาเป็นหลัก แต่สัทธาวิมุตอาศัยศรัทธาเป็นใหญ่นำปัญญาให้เกิดขึ้น - ธัมมโชติ)

[๔๕] บุคคลชื่อว่าธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง (ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล = โสดาปัตติมรรคบุคคล - ธัมมโชติ) บุคคลนั้นย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ

(คือขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นธัมมานุสารี ขณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้นไปจนถึงก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นทิฏฐิปัตตะ - ธัมมโชติ)

[๔๖] บุคคลชื่อว่าสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีสัทธาเป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารีบุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุต

(คือขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นสัทธานุสารี ขณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้นไปจนถึงก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นสัทธาวิมุต - ธัมมโชติ)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การใคร่ครวญธรรม ทำอย่างไรคะ

 :25:
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ