ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมจักร กับ กวางหมอบ  (อ่าน 32040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ธรรมจักร กับ กวางหมอบ
« เมื่อ: มิถุนายน 08, 2010, 11:18:58 am »
0
ธรรมจักรกับกวางหมอบ


เมื่อเราไปที่วัดบ่อยครั้งที่พบรูปธรรมจักร เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดถึงที่ไปที่มานักว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร  เคยมีผู้พยายามให้ความหมายที่เป็นวงล้อแห่งธรรม เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศให้ชาวโลกได้นำไปยึดถือปฏิบัติเพื่อการพ้น ทุกข์ ที่จะขับเคลื่อนธรรมให้คงอยู่คู่กับโลก  แต่ในบางที่นอกจากจะมีรูปธรรมจักรดังกล่าวแล้วยังมีรูปกวางเหลียวหลัง หมอบอยู่ด้านล่าง  จึงน่าจะมีความหมายอะไรสักอย่าง

นั้นมีความเป็นมาในทางพุทธศาสนาในยุคต้น ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของชนเผ่าทราวิฆซึ่งพูดภาษาทมิฬ เป็นชนเผ่าที่ครอบ ครองอินเดียอยู่ก่อนที่ชาวอารยันบุกรุกดินแดนอินเดีย  พวกทราวิฆเป็นพวกที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมของตัวเองแล้ว  พวกอารยันเองก็ได้รับอารยธรรมของพวกทราวิฆ 

 

พวกทราวิฆมีลัทธิศาสนาที่นับถือบูชาพระศิวะ หรือพระวิษณุ ลัทธิบูชาเจ้าแม่กาลี (พระอุึมา) และพระศรี (ลักษมีชายาพระวิษณุ) และใช้รูปกวางเหลียวหลังหมอบอยู่ใต้แท่นรูปเคารพ เช่นเดียวกับพุทธศาสนายุคต้น โดยถือว่ากวางเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์   แต่สัญลักษณ์นี้น่าจะมีทีหลังเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับคนที่เชื่อลัทธิ อื่นให้หันมาสนใจพุทธศาสนาก็เป็นได้  เป็นการประสานระหว่างของเก่าและของใหม่ให้ไปด้วยกันได้ เหมือนกับที่เรียกกันในปัจจุบันว่าสมานฉันท์


ในอีกทางหนึ่งเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีร์ใน ครั้งแรกด้วย ด่วยหลักธรรมที่เรียกว่าธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ทีเปรียบธรรมจักรเหมือนวงล้อราชรถที่พระพุทธองค์เป็นสารถี ทำให้วงล้อธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธมาก่อนที่จะเป็นพระพุทธรูป  ส่วนกวางหมอบที่อยู่ข้างธรรมจักรนั้น อาจเป็นไปได้ว่าได้ปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งมีกวางอาศัยเป็นจำนวนมาก
 

ที่มา  http://www.nstru.ac.th/portal/news/show_news.php?id=398


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ